แท็ก
ภาวะเศรษฐกิจไทย
6. การผลิตและการใช้จ่าย หดตัวรุนแรงในครึ่งแรกของปี
6.1 การลงทุนภาคเอกชน เครื่องชี้การลงทุนยังคงแสดงถึงการลดลงของการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีการลงทุนได้ลดลงจากระดับ 96.3 และ 69.7 ในเดือนมกราคมและธันวาคม ปี 2540 และลดลงต่อเนื่องเป็น 61.0 และ 40.5 ในเดือนมกราคมและเมษายน 2541 ตามลำดับ และคิดเป็นการลดลงร้อยละ 44.5 ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้เทียบกับเฉลี่ยลดลงร้อยละ 18.4 จากช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล ปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์ และปริมาณการจำหน่ายสังกะสีลดลงร้อยละ 71.3 42.9 และ 41.7 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ -4.1 9.7 และ 11.3 ในช่วงเดียวกันกับปีที่แล้วตามลำดับ ในขณะที่มีมูลค่าการนำเข้าสินค้าประเภททุนลดลงร้อยละ 14.0 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 จากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว
6.2 การใช้จ่ายภาคเอกชน ในช่วง 4 เดือนแรกของปีการใช้จ่ายยังคงลดลงต่อเนื่องตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจและอำนาจซื้อของประชาชนที่ลดลง โดยเฉพาะการใช้จ่ายในการซื้อสินค้าคงทนและการก่อสร้าง ทั้งนี้ปริมาณการจำหน่ายหมวดยานยนต์ ได้ลดลงทั้งในการจำหน่ายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และยางรถยนต์ ร้อยละ 71.2 50.5 และ 38.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 11.7 10.5 และ 6.8 ในช่วงเดียวกันกับปีที่แล้วตามลำดับ ปริมาณการจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ได้ลดลงทั้งการจำหน่ายเหล็กเส้น เหล็กชุบสังกะสี และปูนซิเมนต์ ร้อยละ 28.3 23.8 และ 38.9 เทียบกับร้อยละ -0.8 5.3 และ 8.2 ตามลำดับ ส่วนการใช้กระแสไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เทียบกับร้อยละ 7.3 ในช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว เป็นการลดลงในการใช้ไฟฟ้าเพื่อธุรกิจอุตสาหกรรมร้อยละ 2.2 และเพิ่มขึ้นในการใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยร้อยละ 16.7 เทียบกับร้อยละ 7.8 ซึ่งเป็นผลจากสภาพอุณหภูมิที่สูงมากในช่วงที่ผ่านมา สำหรับปริมาณการจำหน่ายเครื่องดื่มได้ลดลงไม่มากนัก โดยการจำหน่ายเบียร์ และสุราได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 และ 5.7 เทียบกับร้อยละ 6.9 และ -10.6 ในช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว ตามลำดับ การจำหน่ายโซดาและน้ำอัดลมได้ลดลงร้อยละ 4.5 เทียบเพิ่มขึ้นกับร้อยละ 18.1 ในช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว
6.3 การผลิตรายสาขา : ภาคอุตสาหกรรมซบเซา ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมและการท่องเที่ยวขยายตัวดี
- ภาคเกษตรกรรม ในปี 2541 ผลผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงกว่าปีที่แล้ว โดยสาขาพืชผล มีผลผลิตเพิ่มขึ้นเกือบทุกชนิด เช่น ข้าวนาปี ข้าวโพด มันสำปะหลัง และยางพารา สำหรับสาขาปศุสัตว์ ผลผลิตเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเนื้อไก่แช่แข็ง ส่วนสาขาประมง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ มีการส่งออกกุ้งแช่แข็งในช่วง 4 เดือนแรก คิดเป็นมูลค่า 21,386 ล้านบาท ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2541 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอดเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งหลังของปี 2540 ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบทุกชนิด เช่น ข้าวเปลือกเจ้าชั้น 1 นาปี ข้าวโพด ยางพารา และมันสำปะหลัง
- ภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2541 ได้ลดลงร้อยละ 14.3 เทียบกับอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว สาเหตุเกิดจากผู้ประกอบการได้ประสบกับปัญหาเศรษฐกิจซบเซาและการขาดสภาพคล่องทางการเงิน จนส่งผลให้มีการลดต้นทุนการผลิตโดยการตัดค่าใช้จ่ายลง เช่น ลดกำลังการผลิต ลดกำลังแรงงาน และบางบริษัทที่มีขนาดเล็กและขนาดกลางจำเป็นต้องเลิกกิจการไป ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2541 ผลผลิตอุตสาหกรรมได้ลดลงเกือบทุกหมวด โดยเฉพาะหมวดยานยนต์ หมวดก่อสร้าง หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ยกเว้นหมวดสินค้าอุตสาหกรรมส่งออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะสินค้าสัตว์น้ำกระป๋อง สับปะรดกระป๋อง ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และแผนวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบมีอัตราเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 102.2, 57.1, 72.7 และ 35.6 เทียบกับร้อยละ 8.0, 28.4, -2.8 และ 5.7 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว ตามลำดับ
- การท่องเที่ยว ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2541 มีจำนวนนักท่องเที่ยวได้เดินทางเข้ามายังประเทศไทยทั้งสิ้น 2,043,292 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เทียบกับร้อยละ 2.7 ในระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว ทั้งนี้เนื่องจากการลดลงของนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันประมาณร้อยละ 53.4 ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรป อเมริกา ทวีปออสเตรเลีย และตะวันออกกลางจะเพิ่มขึ้นในอัตราสูงก็ตาม แต่การขยายตัวของนักท่องเที่ยวในไตรมาสแรกดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ทั้งปีที่กำหนดไว้ประมาณร้อยละ 7 สาเหตุสำคัญมาจากภาวะวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนได้ส่งผลดีต่อการขยายตัวของนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอื่น ๆ อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายตัวของนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรป อเมริกา และตะวันออกกลาง ซึ่งมีระยะเวลาพำนักเฉลี่ยสูงกว่านักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชีย
7. การค้าระหว่างประเทศ การส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สรอ. ลดลง แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดยังเกินดุลสูง
7.1 การส่งออก การส่งออกในช่วง 4 เดือนแรกของปีในรูปเงินดอลลาร์สรอ. ได้ลดลงประมาณร้อยละ 2.7* ทั้งนี้เนื่องจากผลทางด้านราคา ซึ่งลดลงเฉลี่ยร้อยละ 15.9 ในช่วง 4 เดือนแรกของปี แม้ว่าปริมาณการส่งออกจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 15.6 ก็ตาม รวมทั้งผลจากภาวะวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศที่เป็นตลาดสำคัญ และปัญหาสภาพคล่องภายในประเทศ
- การส่งออกสินค้าสำคัญ การส่งออกสินค้าสำคัญ 20 รายการแรก ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันประมาณร้อยละ 56.2 ของมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น มีสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง 13 รายการ และมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 7 รายการ และเมื่อพิจารณาเป็นรายหมวดสินค้า สินค้าเกษตรกรรม มูลค่าการส่งออกได้ลดลงร้อยละ 2.8 สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงได้แก่ ยางพาราซึ่งลดลงร้อยละ 32.2 ในขณะที่มูลค่าการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 22.1 และมูลค่าการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรมูลค่าการส่งออกได้ลดลงร้อยละ 10.4 แม้ว่าราคาสินค้าหลายชนิดจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นก็ตาม สินค้าสำคัญ ๆ ที่มีมูลค่าการส่งออกได้ลดลง ได้แก่ น้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังซึ่งลดลงร้อยละ 38.0 และร้อยละ 17.0 ตามลำดับ ในขณะที่มูลค่าการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและผลิตภัณฑ์ยางเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.6 และร้อยละ 13.7 ตามลำดับ สินค้าอุตสาหกรรม มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 5.1 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าส่วนใหญ่มีแนวโน้มชะลอตัวลงหรือลดลง สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน เครื่องปรับอากาศ ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์พลาสติก ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ รถยนต์และส่วนประกอบ
- ตลาดส่งออก ภาวะวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงในขีดความสามารถในการแข่งขันอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในค่าเงินทำให้มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สรอ. ไปยังตลาดหลักในภูมิภาคเอเชียมีมูลค่าลดลง โดยมูลค่าการส่งออกไปยังตลาด ญี่ปุ่น อาเซียน ฮ่องกง เกาหลีใต้ได้ลดลงร้อยละ 15.6, 21.4, และ 8.8 และร้อยละ 40.5 ตามลำดับ รวมทั้งส่งผลให้มูลค่าการส่งออกไปยังตลาดตะวันออกกลางและยุโรปตะวันออกลดลงร้อยละ 9.1 และร้อยละ 26.0 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 และร้อยละ 13.7 ตามลำดับเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องและค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์และสกุลเงินยุโรป
7.2 การนำเข้า การนำเข้าในช่วง 4 เดือนแรกของปีในรูปเงินดอลลาร์สรอ. ได้ลดลงประมาณร้อยละ 39.6 โดยเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องและลดลงในทุกหมวดสินค้าเนื่องจากปัญหาภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศทั้งด้านการผลิต การส่งออก การลงทุนและการบริโภคภาคเอกชน ปัญหาการขาดสภาพคล่องและการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยน มูลค่าการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 45.7 เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบที่ลดลงร้อยละ 42.0 สินค้าทุน มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 31.7 โดยมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรสิ่งทอ เครื่องยนต์และส่วนประกอบ ไดโอตทรานซิสเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบลดลงร้อยละ 69.0, 67.9, 10.7, 15.5 และร้อยละ 25.9 ตามลำดับ ส่วนสินค้าวัตถุดิบ ได้ลดลงร้อยละ 36.7 สินค้าสำคัญ ๆ ที่มูลค่าการนำเข้าลดลง ได้แก่ เพชรพลอยและอัญมณี เหล็กและเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ ผ้าผืน ด้ายและเส้นใยซึ่งลดลงร้อยละ 45.9, 59.5, 27.7 และร้อยละ 13.4 ตามลำดับ สินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้ายานพาหนะฯ มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 34.3 และร้อยละ 89.9 ตามลำดับ
7.3 ดุลการค้า จากมูลค่าการส่งออกที่ลดลงร้อยละ 2.7 ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 39.6 ทำให้ดุลการค้าในช่วง 4 เดือนแรกเกินดุลประมาณ 3,759 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือประมาณ 170,500 ล้านบาท เทียบกับขาดดุล 4,726 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือประมาณ 122,299 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว
7.4 ดุลบริการ บริจาค และดุลบัญชีเดินสะพัด เมื่อรวมกับดุลบริการ บริจาคซึ่งเกินดุลประมาณ 1,309 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือประมาณ 59,800 ล้านบาท ทำให้ฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณ 5,068 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือประมาณ 230,300 ล้านบาท เทียบกับขาดดุล 3,458 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือประมาณ 89,571 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
7.5 ดุลการชำระเงิน ในช่วง 4 เดือนแรก ฐานะดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายภาคเอกชนขาดดุลถึง 4,350 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือประมาณ 214,400 ล้านบาท เนื่องจากมีชำระคืนหนี้สินต่างประเทศจำนวนมาก เมื่อรวมกับบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายทางการซึ่งเกินดุล 652 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือประมาณ 27,100 ล้านบาท และเงินกู้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยนำเข้ามาจำนวน 2,274 ล้านดอลลาร์สรอ. ทำให้ฐานะดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิขาดดุล 1,424 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือ 86,700 ล้านบาท และดุลการชำระเงินในช่วง 4 เดือนแรก เกินดุล 2,580 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือประมาณ 95,700 ล้านบาท
7.6 ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ฐานะทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2541 มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 26.1 พันล้านดอลลาร์สรอ. โดยมียอดคงค้างภาระ Swap 12.0 พันล้านดอลลาร์สรอ.
8. ฐานะการคลัง ขาดดุลเงินสดประมาณ 18,600 ล้านบาท
ฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2541 รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 520,275 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.6 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ของระยะเดียวกันกับงบประมาณปีที่แล้ว เนื่องจากจัดเก็บภาษีรถยนต์ สุรา และอากรขาเข้าลดลง ตามภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยและมูลค่าการนำเข้าลดลงมาก การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีนิติบุคคลและภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันค่อนข้างทรงตัวระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว มีเพียงการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้เพิ่มขึ้นค่อนข้างสูง ส่วนหนึ่งจากการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อเดือนสิงหาคม 2540 ขณะที่มีรายจ่ายรวม 506,351 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.3 เทียบกับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24.22 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว เนื่องจากการเข้มงวดในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดเก็บรายได้ และกรอบข้อตกลงที่มีต่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามดุลเงินสดในช่วง 8 เดือนแรกยังขาดดุล 18,661 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ปัญหาเสถียรภาพของค่าเงินได้ลดลงระดับหนึ่ง แต่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของภาคเศรษฐกิจและธุรกิจในหลายสาขาที่ประสบปัญหาจากการขาดสภาพคล่อง แนวโน้มเสถียรภาพของค่าเงินบาทที่ดีขึ้นนับเป็นโอกาสที่รัฐบาลจะได้ปรับนโยบายการคลัง ให้มีส่วนในการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น เพื่อมิให้เกิดการหดตัวที่รุนแรงจนเป็นปัญหาการปิดกิจการและการว่างงานโดยไม่จำเป็น ทั้งนี้รัฐบาลได้เริ่มดำเนินการแล้วในการเจรจากับ IMF ครั้งที่ 4 ที่ทำให้การขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลอยู่ในระดับร้อยละ 3 ของผลผลิตมวลรวม เทียบกับเป้าหมายที่ต้องเกินดุลร้อยละ 1 ในข้อตกลงฉบับแรก กล่าวคือ รัฐบาลได้ดำเนินการเพิ่มงบประมาณรายจ่ายประมาณ 117,000 ล้านบาท เพิ่มเติมเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
9. ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2541
ความสามารถในการฟื้นของเศรษฐกิจไทยภายในปี 2541 ขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายนอกและภายในประเทศ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ความไม่แน่นอนของการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินเยนในอนาคต และผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ส่วนปัจจัยภายในที่สำคัญ ได้แก่ การปรับระบบการเงินให้สามารถทำหน้าที่สนับสนุนเศรษฐกิจสาขาอื่น ๆ อย่างเป็นปกติมากขึ้น ประสบการณ์ของประเทศที่ประสบวิกฤตทางการเงิน แสดงให้เห็นว่าระบบการเงินจะต้องเริ่มดำเนินการได้ดีขึ้นจึงจะมีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ภาระในการฟื้นฟูระบบการเงินคิดเป็นร้อยละ 1.6 ของผลผลิตของประเทศในกรณีวิกฤตการณ์ SAL ของสหรัฐอเมริกา และคิดเป็นร้อยละ 3.3-9.0 ในกรณีวิกฤตการณ์ทางสถาบันการเงินของประเทศนอร์เวย์ สวีเดน และฟินแลนด์
ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วงครึ่งหลังของปี 2541 ที่ต้องเร่งรัด
(1) การเพิ่มทุนของสถาบันการเงินให้ได้มาตรฐาน เพื่อสร้างความมั่นคงของระบบการเงินธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนมีกำหนดการเสนอแผนการเพิ่มทุนต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ตามหนังสือแสดงเจตจำนงต่อ IMF ภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2541
ในกรณีของญี่ปุ่นซึ่งใช้มาตรฐานทุนสำรองต่อสินทรัพย์เพียงร้อยละ 4 คาดว่าจะต้องมีการเพิ่มทุนของธนาคารทั้งระบบประมาณ 441-14,527 พันล้านเยน
(2) การประนอมหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ ได้มีการเตรียมการพร้อมแล้วทั้งการประกาศกฎระเบียบ มาตรการสนับสนุนด้านภาษี และกลไกประสานการประนอมหนี้ อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติการประนอมหนี้จะใช้เวลานาน ดังนันกลไกประสานการประนอมหนี้จึงต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้ส่งผลต่อระบบการเงินส่วนรวมและช่วยเศรษฐกิจภายในประเทศในครึ่งหลังของปี 2541
(3) ในระหว่างที่ระบบสถาบันการเงินภาคเอกชนประสบปัญหา สถาบันการเงินเฉพาะกิจภาครัฐ ทำหน้าที่เป็นกลไกในการกระจายเงินกู้จากต่างประเทศเพื่อเสริมสภาพคล่องไปสู่ธุรกิจในสาขาต่าง ๆ โดยเฉพาะการผลิตเพื่อส่งออก และอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดย่อมในชนบท จึงต้องเร่งรัดการดำเนินการผ่านสถาบันการเงินดังกล่าว ได้แก่ ธกส., ธอส., IFCT, บอย., ธสน. และปรับปรุงประสิทธิภาพองค์กรให้สามารถรับบทบาทได้เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี
(4) การออกพันธบัตรรัฐบาลในต่างประเทศ เพื่อสร้างสภาพคล่อง
(5) การดึงดูดทุนต่างประเทศโดยการเพิ่มบทบาทเอกชนในรัฐวิสาหกิจในระยะสั้น ยังทำได้อย่างจำกัด เนื่องจากในทางปฏิบัติประสบปัญหาต่าง ๆ เช่น ความไม่เหมาะสมของราคาหุ้นในภาวะตลาดหุ้นตกต่ำ ข้อขัดแย้งจากฝ่ายแรงงานหรือผู้บริหารเดิม การขาดความเข้าใจที่ถูกต้องของประชาชน เป็นต้น
(6) การสร้างเสถียรภาพของเงินบาทเพื่อสร้างความมั่นใจของนักลงทุน ความผันผวนของเงินเยนอาจส่งผลถึงความระมัดระวังของนักลงทุนต่างประเทศ เกี่ยวกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินนโยบายในทิศทางที่ให้ความสำคัญกับเสถียรภาพเงินบาท เพื่อให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจ และนำไปสู่เงินทุนไหลเข้าประเทศเพื่อการลงทุนตามกลไกปกติ
(7) เงินกู้จากต่างประเทศของรัฐที่ยังรอการนำมาใช้ ได้แก่ เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ (SAL) และเงินกู้เพื่อโครงการสังคม (SIP) จากธนาคารโลก และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย จึงต้องเร่งรัดให้เริ่มนำมาใช้ในการบรรเทาผลกระทบทางสังคมและปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(8) ความสามารถในการหารายได้เงินตราต่างประเทศจากการส่งออกในช่วงครึ่งแรกของปี 2541 นั้นลดลง จึงต้องเร่งรัดแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการส่งออกต่อไป โดยเฉพาะในตลาดที่ยังคงขยายตัว และสินค้าที่มีราคาดีในตลาดโลก นอกจากนี้ควรอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว และจูงใจให้นักท่องเที่ยวใช้จ่ายในประเทศให้มากขึ้น
(9) การเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณที่จัดสรรเพิ่มเติมสำหรับปีงบประมาณ 2541 ให้ได้ตามเป้าหมาย โดยให้แต่ละกระทรวงดูแลให้มีการเร่งเบิกจ่ายเงิน โดยเฉพาะในกรณีการรับเหมาก่อสร้าง เร่งช่วยแก้ไขอุปสรรคในกรณีที่มีปัญหาการดำเนินการเพื่อให้ส่งมอบงานตามสัญญาได้ และผ่อนปรนกฎระเบียบงบประมาณที่เป็นอุปสรรคต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาค เช่น การห้ามการจัดสัมมนาของหน่วยราชการในต่างจังหวัด เป็นต้น
* ข้อมูลเบื้องต้นจากกรมศุลกากร การส่งออกในช่วง 5 เดือนแรก ลดลงร้อยละ 4.6
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 15 ฉบับที่ 8/สิงหาคม 2541--
6.1 การลงทุนภาคเอกชน เครื่องชี้การลงทุนยังคงแสดงถึงการลดลงของการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีการลงทุนได้ลดลงจากระดับ 96.3 และ 69.7 ในเดือนมกราคมและธันวาคม ปี 2540 และลดลงต่อเนื่องเป็น 61.0 และ 40.5 ในเดือนมกราคมและเมษายน 2541 ตามลำดับ และคิดเป็นการลดลงร้อยละ 44.5 ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้เทียบกับเฉลี่ยลดลงร้อยละ 18.4 จากช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล ปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์ และปริมาณการจำหน่ายสังกะสีลดลงร้อยละ 71.3 42.9 และ 41.7 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ -4.1 9.7 และ 11.3 ในช่วงเดียวกันกับปีที่แล้วตามลำดับ ในขณะที่มีมูลค่าการนำเข้าสินค้าประเภททุนลดลงร้อยละ 14.0 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 จากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว
6.2 การใช้จ่ายภาคเอกชน ในช่วง 4 เดือนแรกของปีการใช้จ่ายยังคงลดลงต่อเนื่องตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจและอำนาจซื้อของประชาชนที่ลดลง โดยเฉพาะการใช้จ่ายในการซื้อสินค้าคงทนและการก่อสร้าง ทั้งนี้ปริมาณการจำหน่ายหมวดยานยนต์ ได้ลดลงทั้งในการจำหน่ายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และยางรถยนต์ ร้อยละ 71.2 50.5 และ 38.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 11.7 10.5 และ 6.8 ในช่วงเดียวกันกับปีที่แล้วตามลำดับ ปริมาณการจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ได้ลดลงทั้งการจำหน่ายเหล็กเส้น เหล็กชุบสังกะสี และปูนซิเมนต์ ร้อยละ 28.3 23.8 และ 38.9 เทียบกับร้อยละ -0.8 5.3 และ 8.2 ตามลำดับ ส่วนการใช้กระแสไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เทียบกับร้อยละ 7.3 ในช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว เป็นการลดลงในการใช้ไฟฟ้าเพื่อธุรกิจอุตสาหกรรมร้อยละ 2.2 และเพิ่มขึ้นในการใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยร้อยละ 16.7 เทียบกับร้อยละ 7.8 ซึ่งเป็นผลจากสภาพอุณหภูมิที่สูงมากในช่วงที่ผ่านมา สำหรับปริมาณการจำหน่ายเครื่องดื่มได้ลดลงไม่มากนัก โดยการจำหน่ายเบียร์ และสุราได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 และ 5.7 เทียบกับร้อยละ 6.9 และ -10.6 ในช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว ตามลำดับ การจำหน่ายโซดาและน้ำอัดลมได้ลดลงร้อยละ 4.5 เทียบเพิ่มขึ้นกับร้อยละ 18.1 ในช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว
6.3 การผลิตรายสาขา : ภาคอุตสาหกรรมซบเซา ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมและการท่องเที่ยวขยายตัวดี
- ภาคเกษตรกรรม ในปี 2541 ผลผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงกว่าปีที่แล้ว โดยสาขาพืชผล มีผลผลิตเพิ่มขึ้นเกือบทุกชนิด เช่น ข้าวนาปี ข้าวโพด มันสำปะหลัง และยางพารา สำหรับสาขาปศุสัตว์ ผลผลิตเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเนื้อไก่แช่แข็ง ส่วนสาขาประมง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ มีการส่งออกกุ้งแช่แข็งในช่วง 4 เดือนแรก คิดเป็นมูลค่า 21,386 ล้านบาท ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2541 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอดเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งหลังของปี 2540 ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบทุกชนิด เช่น ข้าวเปลือกเจ้าชั้น 1 นาปี ข้าวโพด ยางพารา และมันสำปะหลัง
- ภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2541 ได้ลดลงร้อยละ 14.3 เทียบกับอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว สาเหตุเกิดจากผู้ประกอบการได้ประสบกับปัญหาเศรษฐกิจซบเซาและการขาดสภาพคล่องทางการเงิน จนส่งผลให้มีการลดต้นทุนการผลิตโดยการตัดค่าใช้จ่ายลง เช่น ลดกำลังการผลิต ลดกำลังแรงงาน และบางบริษัทที่มีขนาดเล็กและขนาดกลางจำเป็นต้องเลิกกิจการไป ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2541 ผลผลิตอุตสาหกรรมได้ลดลงเกือบทุกหมวด โดยเฉพาะหมวดยานยนต์ หมวดก่อสร้าง หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ยกเว้นหมวดสินค้าอุตสาหกรรมส่งออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะสินค้าสัตว์น้ำกระป๋อง สับปะรดกระป๋อง ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และแผนวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบมีอัตราเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 102.2, 57.1, 72.7 และ 35.6 เทียบกับร้อยละ 8.0, 28.4, -2.8 และ 5.7 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว ตามลำดับ
- การท่องเที่ยว ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2541 มีจำนวนนักท่องเที่ยวได้เดินทางเข้ามายังประเทศไทยทั้งสิ้น 2,043,292 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เทียบกับร้อยละ 2.7 ในระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว ทั้งนี้เนื่องจากการลดลงของนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันประมาณร้อยละ 53.4 ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรป อเมริกา ทวีปออสเตรเลีย และตะวันออกกลางจะเพิ่มขึ้นในอัตราสูงก็ตาม แต่การขยายตัวของนักท่องเที่ยวในไตรมาสแรกดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ทั้งปีที่กำหนดไว้ประมาณร้อยละ 7 สาเหตุสำคัญมาจากภาวะวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนได้ส่งผลดีต่อการขยายตัวของนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอื่น ๆ อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายตัวของนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรป อเมริกา และตะวันออกกลาง ซึ่งมีระยะเวลาพำนักเฉลี่ยสูงกว่านักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชีย
7. การค้าระหว่างประเทศ การส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สรอ. ลดลง แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดยังเกินดุลสูง
7.1 การส่งออก การส่งออกในช่วง 4 เดือนแรกของปีในรูปเงินดอลลาร์สรอ. ได้ลดลงประมาณร้อยละ 2.7* ทั้งนี้เนื่องจากผลทางด้านราคา ซึ่งลดลงเฉลี่ยร้อยละ 15.9 ในช่วง 4 เดือนแรกของปี แม้ว่าปริมาณการส่งออกจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 15.6 ก็ตาม รวมทั้งผลจากภาวะวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศที่เป็นตลาดสำคัญ และปัญหาสภาพคล่องภายในประเทศ
- การส่งออกสินค้าสำคัญ การส่งออกสินค้าสำคัญ 20 รายการแรก ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันประมาณร้อยละ 56.2 ของมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น มีสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง 13 รายการ และมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 7 รายการ และเมื่อพิจารณาเป็นรายหมวดสินค้า สินค้าเกษตรกรรม มูลค่าการส่งออกได้ลดลงร้อยละ 2.8 สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงได้แก่ ยางพาราซึ่งลดลงร้อยละ 32.2 ในขณะที่มูลค่าการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 22.1 และมูลค่าการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรมูลค่าการส่งออกได้ลดลงร้อยละ 10.4 แม้ว่าราคาสินค้าหลายชนิดจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นก็ตาม สินค้าสำคัญ ๆ ที่มีมูลค่าการส่งออกได้ลดลง ได้แก่ น้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังซึ่งลดลงร้อยละ 38.0 และร้อยละ 17.0 ตามลำดับ ในขณะที่มูลค่าการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและผลิตภัณฑ์ยางเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.6 และร้อยละ 13.7 ตามลำดับ สินค้าอุตสาหกรรม มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 5.1 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าส่วนใหญ่มีแนวโน้มชะลอตัวลงหรือลดลง สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน เครื่องปรับอากาศ ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์พลาสติก ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ รถยนต์และส่วนประกอบ
- ตลาดส่งออก ภาวะวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงในขีดความสามารถในการแข่งขันอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในค่าเงินทำให้มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สรอ. ไปยังตลาดหลักในภูมิภาคเอเชียมีมูลค่าลดลง โดยมูลค่าการส่งออกไปยังตลาด ญี่ปุ่น อาเซียน ฮ่องกง เกาหลีใต้ได้ลดลงร้อยละ 15.6, 21.4, และ 8.8 และร้อยละ 40.5 ตามลำดับ รวมทั้งส่งผลให้มูลค่าการส่งออกไปยังตลาดตะวันออกกลางและยุโรปตะวันออกลดลงร้อยละ 9.1 และร้อยละ 26.0 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 และร้อยละ 13.7 ตามลำดับเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องและค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์และสกุลเงินยุโรป
7.2 การนำเข้า การนำเข้าในช่วง 4 เดือนแรกของปีในรูปเงินดอลลาร์สรอ. ได้ลดลงประมาณร้อยละ 39.6 โดยเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องและลดลงในทุกหมวดสินค้าเนื่องจากปัญหาภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศทั้งด้านการผลิต การส่งออก การลงทุนและการบริโภคภาคเอกชน ปัญหาการขาดสภาพคล่องและการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยน มูลค่าการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 45.7 เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบที่ลดลงร้อยละ 42.0 สินค้าทุน มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 31.7 โดยมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรสิ่งทอ เครื่องยนต์และส่วนประกอบ ไดโอตทรานซิสเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบลดลงร้อยละ 69.0, 67.9, 10.7, 15.5 และร้อยละ 25.9 ตามลำดับ ส่วนสินค้าวัตถุดิบ ได้ลดลงร้อยละ 36.7 สินค้าสำคัญ ๆ ที่มูลค่าการนำเข้าลดลง ได้แก่ เพชรพลอยและอัญมณี เหล็กและเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ ผ้าผืน ด้ายและเส้นใยซึ่งลดลงร้อยละ 45.9, 59.5, 27.7 และร้อยละ 13.4 ตามลำดับ สินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้ายานพาหนะฯ มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 34.3 และร้อยละ 89.9 ตามลำดับ
7.3 ดุลการค้า จากมูลค่าการส่งออกที่ลดลงร้อยละ 2.7 ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 39.6 ทำให้ดุลการค้าในช่วง 4 เดือนแรกเกินดุลประมาณ 3,759 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือประมาณ 170,500 ล้านบาท เทียบกับขาดดุล 4,726 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือประมาณ 122,299 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว
7.4 ดุลบริการ บริจาค และดุลบัญชีเดินสะพัด เมื่อรวมกับดุลบริการ บริจาคซึ่งเกินดุลประมาณ 1,309 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือประมาณ 59,800 ล้านบาท ทำให้ฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณ 5,068 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือประมาณ 230,300 ล้านบาท เทียบกับขาดดุล 3,458 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือประมาณ 89,571 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
7.5 ดุลการชำระเงิน ในช่วง 4 เดือนแรก ฐานะดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายภาคเอกชนขาดดุลถึง 4,350 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือประมาณ 214,400 ล้านบาท เนื่องจากมีชำระคืนหนี้สินต่างประเทศจำนวนมาก เมื่อรวมกับบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายทางการซึ่งเกินดุล 652 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือประมาณ 27,100 ล้านบาท และเงินกู้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยนำเข้ามาจำนวน 2,274 ล้านดอลลาร์สรอ. ทำให้ฐานะดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิขาดดุล 1,424 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือ 86,700 ล้านบาท และดุลการชำระเงินในช่วง 4 เดือนแรก เกินดุล 2,580 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือประมาณ 95,700 ล้านบาท
7.6 ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ฐานะทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2541 มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 26.1 พันล้านดอลลาร์สรอ. โดยมียอดคงค้างภาระ Swap 12.0 พันล้านดอลลาร์สรอ.
8. ฐานะการคลัง ขาดดุลเงินสดประมาณ 18,600 ล้านบาท
ฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2541 รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 520,275 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.6 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ของระยะเดียวกันกับงบประมาณปีที่แล้ว เนื่องจากจัดเก็บภาษีรถยนต์ สุรา และอากรขาเข้าลดลง ตามภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยและมูลค่าการนำเข้าลดลงมาก การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีนิติบุคคลและภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันค่อนข้างทรงตัวระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว มีเพียงการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้เพิ่มขึ้นค่อนข้างสูง ส่วนหนึ่งจากการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อเดือนสิงหาคม 2540 ขณะที่มีรายจ่ายรวม 506,351 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.3 เทียบกับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24.22 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว เนื่องจากการเข้มงวดในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดเก็บรายได้ และกรอบข้อตกลงที่มีต่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามดุลเงินสดในช่วง 8 เดือนแรกยังขาดดุล 18,661 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ปัญหาเสถียรภาพของค่าเงินได้ลดลงระดับหนึ่ง แต่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของภาคเศรษฐกิจและธุรกิจในหลายสาขาที่ประสบปัญหาจากการขาดสภาพคล่อง แนวโน้มเสถียรภาพของค่าเงินบาทที่ดีขึ้นนับเป็นโอกาสที่รัฐบาลจะได้ปรับนโยบายการคลัง ให้มีส่วนในการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น เพื่อมิให้เกิดการหดตัวที่รุนแรงจนเป็นปัญหาการปิดกิจการและการว่างงานโดยไม่จำเป็น ทั้งนี้รัฐบาลได้เริ่มดำเนินการแล้วในการเจรจากับ IMF ครั้งที่ 4 ที่ทำให้การขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลอยู่ในระดับร้อยละ 3 ของผลผลิตมวลรวม เทียบกับเป้าหมายที่ต้องเกินดุลร้อยละ 1 ในข้อตกลงฉบับแรก กล่าวคือ รัฐบาลได้ดำเนินการเพิ่มงบประมาณรายจ่ายประมาณ 117,000 ล้านบาท เพิ่มเติมเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
9. ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2541
ความสามารถในการฟื้นของเศรษฐกิจไทยภายในปี 2541 ขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายนอกและภายในประเทศ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ความไม่แน่นอนของการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินเยนในอนาคต และผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ส่วนปัจจัยภายในที่สำคัญ ได้แก่ การปรับระบบการเงินให้สามารถทำหน้าที่สนับสนุนเศรษฐกิจสาขาอื่น ๆ อย่างเป็นปกติมากขึ้น ประสบการณ์ของประเทศที่ประสบวิกฤตทางการเงิน แสดงให้เห็นว่าระบบการเงินจะต้องเริ่มดำเนินการได้ดีขึ้นจึงจะมีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ภาระในการฟื้นฟูระบบการเงินคิดเป็นร้อยละ 1.6 ของผลผลิตของประเทศในกรณีวิกฤตการณ์ SAL ของสหรัฐอเมริกา และคิดเป็นร้อยละ 3.3-9.0 ในกรณีวิกฤตการณ์ทางสถาบันการเงินของประเทศนอร์เวย์ สวีเดน และฟินแลนด์
ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วงครึ่งหลังของปี 2541 ที่ต้องเร่งรัด
(1) การเพิ่มทุนของสถาบันการเงินให้ได้มาตรฐาน เพื่อสร้างความมั่นคงของระบบการเงินธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนมีกำหนดการเสนอแผนการเพิ่มทุนต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ตามหนังสือแสดงเจตจำนงต่อ IMF ภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2541
ในกรณีของญี่ปุ่นซึ่งใช้มาตรฐานทุนสำรองต่อสินทรัพย์เพียงร้อยละ 4 คาดว่าจะต้องมีการเพิ่มทุนของธนาคารทั้งระบบประมาณ 441-14,527 พันล้านเยน
(2) การประนอมหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ ได้มีการเตรียมการพร้อมแล้วทั้งการประกาศกฎระเบียบ มาตรการสนับสนุนด้านภาษี และกลไกประสานการประนอมหนี้ อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติการประนอมหนี้จะใช้เวลานาน ดังนันกลไกประสานการประนอมหนี้จึงต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้ส่งผลต่อระบบการเงินส่วนรวมและช่วยเศรษฐกิจภายในประเทศในครึ่งหลังของปี 2541
(3) ในระหว่างที่ระบบสถาบันการเงินภาคเอกชนประสบปัญหา สถาบันการเงินเฉพาะกิจภาครัฐ ทำหน้าที่เป็นกลไกในการกระจายเงินกู้จากต่างประเทศเพื่อเสริมสภาพคล่องไปสู่ธุรกิจในสาขาต่าง ๆ โดยเฉพาะการผลิตเพื่อส่งออก และอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดย่อมในชนบท จึงต้องเร่งรัดการดำเนินการผ่านสถาบันการเงินดังกล่าว ได้แก่ ธกส., ธอส., IFCT, บอย., ธสน. และปรับปรุงประสิทธิภาพองค์กรให้สามารถรับบทบาทได้เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี
(4) การออกพันธบัตรรัฐบาลในต่างประเทศ เพื่อสร้างสภาพคล่อง
(5) การดึงดูดทุนต่างประเทศโดยการเพิ่มบทบาทเอกชนในรัฐวิสาหกิจในระยะสั้น ยังทำได้อย่างจำกัด เนื่องจากในทางปฏิบัติประสบปัญหาต่าง ๆ เช่น ความไม่เหมาะสมของราคาหุ้นในภาวะตลาดหุ้นตกต่ำ ข้อขัดแย้งจากฝ่ายแรงงานหรือผู้บริหารเดิม การขาดความเข้าใจที่ถูกต้องของประชาชน เป็นต้น
(6) การสร้างเสถียรภาพของเงินบาทเพื่อสร้างความมั่นใจของนักลงทุน ความผันผวนของเงินเยนอาจส่งผลถึงความระมัดระวังของนักลงทุนต่างประเทศ เกี่ยวกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินนโยบายในทิศทางที่ให้ความสำคัญกับเสถียรภาพเงินบาท เพื่อให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจ และนำไปสู่เงินทุนไหลเข้าประเทศเพื่อการลงทุนตามกลไกปกติ
(7) เงินกู้จากต่างประเทศของรัฐที่ยังรอการนำมาใช้ ได้แก่ เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ (SAL) และเงินกู้เพื่อโครงการสังคม (SIP) จากธนาคารโลก และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย จึงต้องเร่งรัดให้เริ่มนำมาใช้ในการบรรเทาผลกระทบทางสังคมและปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(8) ความสามารถในการหารายได้เงินตราต่างประเทศจากการส่งออกในช่วงครึ่งแรกของปี 2541 นั้นลดลง จึงต้องเร่งรัดแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการส่งออกต่อไป โดยเฉพาะในตลาดที่ยังคงขยายตัว และสินค้าที่มีราคาดีในตลาดโลก นอกจากนี้ควรอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว และจูงใจให้นักท่องเที่ยวใช้จ่ายในประเทศให้มากขึ้น
(9) การเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณที่จัดสรรเพิ่มเติมสำหรับปีงบประมาณ 2541 ให้ได้ตามเป้าหมาย โดยให้แต่ละกระทรวงดูแลให้มีการเร่งเบิกจ่ายเงิน โดยเฉพาะในกรณีการรับเหมาก่อสร้าง เร่งช่วยแก้ไขอุปสรรคในกรณีที่มีปัญหาการดำเนินการเพื่อให้ส่งมอบงานตามสัญญาได้ และผ่อนปรนกฎระเบียบงบประมาณที่เป็นอุปสรรคต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาค เช่น การห้ามการจัดสัมมนาของหน่วยราชการในต่างจังหวัด เป็นต้น
* ข้อมูลเบื้องต้นจากกรมศุลกากร การส่งออกในช่วง 5 เดือนแรก ลดลงร้อยละ 4.6
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 15 ฉบับที่ 8/สิงหาคม 2541--