แท็ก
สภาพัฒน์
เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2542 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น เรื่อง นโยบายการกระจายการถือครองที่ดิน ครั้งที่ 4 ณ โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร
นายพายัพ พยอมยนต์ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวรายงานว่า การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ เป็นไปตามบัญชาของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2540 ที่ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยนำรายงานผลการศึกษาของคณะกรรมการศึกษานโยบายการกระจายการถือครองที่ดิน ที่มีอธิบดีกรมที่ นายวิเชียร รัตนะพีระพงศ์ เป็นประธาน ซึ่งผลการศึกษาสรุปว่า ให้มีการพิจารณานำมาตรการด้านภาษีที่ดินหรือภาษีทรัพย์สินในอัตราก้าวหน้า เป็นเครื่องมือในการกระจายการถือครองที่ดินและคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรรม
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวได้ยึดหลักพื้นฐานของการมีส่วนร่วมโดยให้ทุกๆ ฝ่ายของสังคม โดยเฉพาะประชาชนทุกกลุ่มในหลากหลายอาชีพและครอบคลุมทั่วประเทศให้เข้ามามีส่วนร่วมในการประชุมและแสดงความคิดเห็น ดังจะเห็นได้จากการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในเรื่อง การกระจายการถือครองที่ดินที่กำหนดไว้ 4 ครั้ง ตามภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ได้แก่ ภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดขอนแก่น ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา และกรุงเทพมหานคร เป็นครั้งสุดท้าย โดยกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมในกิจกรรมนี้ จะเป็นผู้แทนจากภาครัฐบาลทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ เกษตรกร ประชาชน ผู้แทนพรรคการเมืองต่างๆ ในสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน
สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ เช่นเดียวกับการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นที่ได้เคยจัดมาแล้ว 3 ครั้ง ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ กล่าวคือ เพื่อระดมความเห็นจากประชาชนอย่างกว้างขวาง ต่อทางออกในการกระจายการถือครองที่ดินและการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม และเพื่อหาข้อยุติในเรื่องการกระจายการถือครองที่ดิน และการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม สำหรับในส่วนประเด็นที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ ให้นำเสนอรัฐบาลเพื่อพิจารณาต่อไป รวมทั้งเพื่อให้มีการแปลงแนวนโยบายและมาตรการไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
นายอำนวย ปะติเส รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ประธานในพิธีเปิดการประชุมได้กล่าวว่า ปัญหาที่ดินไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย และที่ดินทำกิน ได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ราคาที่ดินและที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากตัวชี้วัดที่สำคัญ 2 ประการ ดังนี้
ประการแรก : ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาชนบทในระดับหมู่บ้าน (กชช. 2 ค.) ปี 2539 แสดงให้เห็นว่าครัวเรือนในชนบทไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง รวม 514,717 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 6.77 ของครัวเรือนชนบททั่วประเทศ ส่วนครัวเรือนที่มีที่ดินทำกิน แต่จะต้องเช่าเพิ่มบางส่วนมี 893,266 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 11.75 ของครัวเรือนชนบททั่วประเทศ
ประการที่สอง : ผลการศึกษาของการเคหะแห่งชาติในช่วงปี 2535-2539 ปรากฎว่า ความต้องการที่อยู่อาศัยของประชาชนกลุ่มรายได้ต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลมีรวมทั้งสิ้น 376,520 หน่วย ในจำนวนดังกล่าวเป็นความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้ไม่สามารถรับภาระรายจ่ายได้ จำนวน 203,838 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 54.13 ของความต้องการของประชาชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม จากการที่ได้เข้าร่วมประชุมนโยบายการกระจายการถือครองที่ดินในครั้งที่ 1 ที่จังหวัดเชียงใหม่ และครั้งที่ 2 ที่จังหวัดขอนแก่น และเท่าที่รับทราบจากรายงานของการจัดเวทีฯ ทั้ง 3 ครั้ง ที่ผ่านมานั้น กล่าวโดยสรุปได้ว่า รัฐควรใช้มาตรการทางด้านภาษี เพื่อเสริมความเข้มแข็งในการกระจายการถือครองที่ดินให้มีความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้นและมาตรการนี้ยังสามารถคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมได้เป็นอย่างดี โดยการจัดเก็บภาษีแบบก้าวหน้าต่อที่ดินที่ทิ้งรกร้างว่างเปล่าที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประชาชนและประเทศโดยส่วนรวมและหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายจะบรรลุถึงความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ เพราะความร่วมมือของทุก ๆ ท่านที่จะช่วยกันแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์และก่อให้เกิดแนวทางในการปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน อีกทั้งจะเป็นการพัฒนาแนวคิดของประชาชน และชุมชนเพื่อดำเนินการไปสู่การพัฒนาประชารัฐอันเป็นจุดหมายของการพัฒนาแบบยั่งยืนในอนาคตอันใกล้นี้
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 5/พฤษภาคม 2542--
นายพายัพ พยอมยนต์ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวรายงานว่า การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ เป็นไปตามบัญชาของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2540 ที่ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยนำรายงานผลการศึกษาของคณะกรรมการศึกษานโยบายการกระจายการถือครองที่ดิน ที่มีอธิบดีกรมที่ นายวิเชียร รัตนะพีระพงศ์ เป็นประธาน ซึ่งผลการศึกษาสรุปว่า ให้มีการพิจารณานำมาตรการด้านภาษีที่ดินหรือภาษีทรัพย์สินในอัตราก้าวหน้า เป็นเครื่องมือในการกระจายการถือครองที่ดินและคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรรม
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวได้ยึดหลักพื้นฐานของการมีส่วนร่วมโดยให้ทุกๆ ฝ่ายของสังคม โดยเฉพาะประชาชนทุกกลุ่มในหลากหลายอาชีพและครอบคลุมทั่วประเทศให้เข้ามามีส่วนร่วมในการประชุมและแสดงความคิดเห็น ดังจะเห็นได้จากการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในเรื่อง การกระจายการถือครองที่ดินที่กำหนดไว้ 4 ครั้ง ตามภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ได้แก่ ภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดขอนแก่น ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา และกรุงเทพมหานคร เป็นครั้งสุดท้าย โดยกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมในกิจกรรมนี้ จะเป็นผู้แทนจากภาครัฐบาลทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ เกษตรกร ประชาชน ผู้แทนพรรคการเมืองต่างๆ ในสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน
สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ เช่นเดียวกับการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นที่ได้เคยจัดมาแล้ว 3 ครั้ง ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ กล่าวคือ เพื่อระดมความเห็นจากประชาชนอย่างกว้างขวาง ต่อทางออกในการกระจายการถือครองที่ดินและการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม และเพื่อหาข้อยุติในเรื่องการกระจายการถือครองที่ดิน และการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม สำหรับในส่วนประเด็นที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ ให้นำเสนอรัฐบาลเพื่อพิจารณาต่อไป รวมทั้งเพื่อให้มีการแปลงแนวนโยบายและมาตรการไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
นายอำนวย ปะติเส รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ประธานในพิธีเปิดการประชุมได้กล่าวว่า ปัญหาที่ดินไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย และที่ดินทำกิน ได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ราคาที่ดินและที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากตัวชี้วัดที่สำคัญ 2 ประการ ดังนี้
ประการแรก : ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาชนบทในระดับหมู่บ้าน (กชช. 2 ค.) ปี 2539 แสดงให้เห็นว่าครัวเรือนในชนบทไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง รวม 514,717 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 6.77 ของครัวเรือนชนบททั่วประเทศ ส่วนครัวเรือนที่มีที่ดินทำกิน แต่จะต้องเช่าเพิ่มบางส่วนมี 893,266 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 11.75 ของครัวเรือนชนบททั่วประเทศ
ประการที่สอง : ผลการศึกษาของการเคหะแห่งชาติในช่วงปี 2535-2539 ปรากฎว่า ความต้องการที่อยู่อาศัยของประชาชนกลุ่มรายได้ต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลมีรวมทั้งสิ้น 376,520 หน่วย ในจำนวนดังกล่าวเป็นความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้ไม่สามารถรับภาระรายจ่ายได้ จำนวน 203,838 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 54.13 ของความต้องการของประชาชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม จากการที่ได้เข้าร่วมประชุมนโยบายการกระจายการถือครองที่ดินในครั้งที่ 1 ที่จังหวัดเชียงใหม่ และครั้งที่ 2 ที่จังหวัดขอนแก่น และเท่าที่รับทราบจากรายงานของการจัดเวทีฯ ทั้ง 3 ครั้ง ที่ผ่านมานั้น กล่าวโดยสรุปได้ว่า รัฐควรใช้มาตรการทางด้านภาษี เพื่อเสริมความเข้มแข็งในการกระจายการถือครองที่ดินให้มีความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้นและมาตรการนี้ยังสามารถคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมได้เป็นอย่างดี โดยการจัดเก็บภาษีแบบก้าวหน้าต่อที่ดินที่ทิ้งรกร้างว่างเปล่าที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประชาชนและประเทศโดยส่วนรวมและหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายจะบรรลุถึงความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ เพราะความร่วมมือของทุก ๆ ท่านที่จะช่วยกันแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์และก่อให้เกิดแนวทางในการปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน อีกทั้งจะเป็นการพัฒนาแนวคิดของประชาชน และชุมชนเพื่อดำเนินการไปสู่การพัฒนาประชารัฐอันเป็นจุดหมายของการพัฒนาแบบยั่งยืนในอนาคตอันใกล้นี้
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 5/พฤษภาคม 2542--