แท็ก
ภาวะเศรษฐกิจไทย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ได้ประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรกและแนวโน้มปี2539โดยจัดทำเป็นรายงานเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเพื่อสเถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เพื่อทราบเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2539 ทั้งนี้สรุปได้ว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามที่คาดหมายทั้งด้านการลงทุน และการบริโภคเอกชน ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินนโยบายการเงินรัดตัว เพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้ออย่างไรก็ตามการส่งออกชะลอตัวลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจาก ปัจจัยทั้งด้านตลาดโลกและการผลิตในประเทศ ภาวะเงินเฟ้อซึ่งมีอัตราสูงในช่วงต้นปีส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 แต่มีแนวโน้มลดลงอย่างน้อยถึงแม้การนำเข้าจะชะลอตัวลงมากแล้วก็ตามคาดว่าเศรษฐกิจในปี2539 จะขยายตัวร้อยละ 8.0 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจจะดีขึ้น เนื่องจาก เงินเฟ้อคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เทียบกับร้อยละ 5.8 ของปีที่แล้ว และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณว่าจะเทียบเท่ากับร้อยละ8.0ของผลผลิตรวม ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ8.2 ของปี 2538
ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจ ที่สำคัญในช่วงครึ่งหลังของปี 2539 ได้แก่ การแก้ไขการปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด การเร่งรัดการกระจายโครงสร้างพื้นฐานสู่ภูมิภาค การกระจายอำนาจการคลัง และจัดสรรงบประมาณสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น การรักษาความมั่นคงของเงินบาทและการบริหารจัดการนโยบายเศรษฐกิจที่มีเอกภาพ
รายงานนี้ประกอบด้วย 4 ส่วนได้แก่ ส่วนที่หนึ่ง ภาวะเศรษฐกิจโลก ส่วนที่สอง เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรก 2539 ส่วนที่สาม แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2539 และส่วนที่สี่ ประเด็นการบริหารนโยบายที่สำคัญในครึ่งปีหลัง 2539
1. เศรษฐกิจโลก
ภาวะเศราฐกิจโลกในช่วงครึ่งปีแรกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมซึ่งขยายตัวดีขึ้นมากเนื่องจาก ปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจ อันได้แก่ การปรับตัวของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลหลัก และการลดลงของแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้นโยบายการเงินอยู่ในภาวะผ่อนคลายเป็นปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียในช่วงครึ่งปีแรกชะลอตัวลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่และกลุ่มประเทศอาเซียน เนื่องจากการขยายตัวอย่างร้อนแรงในช่วงที่ผ่านมา ได้สร้างความกดดันต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ทำให้ประเทศต่าง ๆ ดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจอย่างระมัดระวังมากขึ้นในปีนี้ ประกอบกับการประสบผลกระทบจากการชะลอตัวของภาวะการค้าโลก
คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.8 ในปี 2539 เทียบกับร้อยละ 3.5 ในปีที่แล้ว เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเซียจะขยายตัวประมาณร้อยละ 8.2 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 8.4 ในปีที่แล้ว โดยกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่และกลุ่มอาเซียนจะขยายตัวประมาณร้อยละ 6.5 และ 7.5 ตามลำดับ เทียบกับร้อยละ 8.4 ในปีที่แล้ว โดยกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่และกลุ่มอาเซียนจะขยายตัวประมาณร้อยละ 6.5 และ 7.5 ตามลำดับ เทียบกับร้อยละ 6.9 และ 7.7 ในปี 2538
อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกที่ต่ำกว่าดอกเบี้ยภายในประเทศ ทำให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อหาประโยชน์จากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีแรกส่วนการชะลอตัวของความต้องการสินค้าจากตลาดหลักของสินค้าไทย เช่น สหรัฐฯ และกลุ่มประเทศอาเซียน มีผลให้การส่งออกชะลอตัวลง อย่างไรก็ตามความต้องการสินค้าส่งออกในครึ่งปีหลังคาดว่าจะมีมากขึ้นเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกในปีนี้ คาดว่ายังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี
2. เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรก 2539 : เศรษฐกิจชะลอตัวและเงินเฟ้อลดลงอย่างต่อเนื่องจากต้นปี
เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรกมีแนวโน้มชะลอตัวลงเนื่องจาก การชะลอของการลงทุนภาคเอกชนการผลิตภาคอุตสาหกรรมและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกซึ่งชะลอมากปัญหาเสถียรภาพทางด้านเงินเฟ้อบรรเทาลง เนื่องจาก อัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในอัตราสูงตอนต้นปีมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจนอัตราเงินเฟ้อครึ่งปีแรกเฉลี่ยร้อยละ 6.8 ส่วนการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 4 เดือนแรกมีมูลค่า 126,300ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.3 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.8 ในระยะเดียวกันของปีที่แล้ว
2.1 ปัจจัยที่มีผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง
(1) การลงทุนภาคเอกชน
ดัชนีการลงทุนในช่วง4 เดือนแรกของปี 2539 ลดลงร้อยละ 8.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างลดลงร้อยละ 16.8 และปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์สังกะสีและการนำเข้าสินค้าประเภททุน เพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัวลงมาก ทั้งนี้มีสาเหตุส่วนหนึ่งจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงการจำกัดสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และการชะลอการก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์
(2) การผลิตภาคอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2539 ขยายตัวร้อยละ 7.6 ชะลอลงจากอัตราร้อยละ 14.7 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว โดยเป็นการชะลอตัวของหมวดอาหารและเครื่องดื่มหมวดวัสดุก่อสร้างและหมวดยานยนต์ ดังจะเห็นได้จากการผลิจแผ่นเหล็กชุบสังกะสี และปูนซีเมนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 และ 10.6 เทียบกับร้อยละ 25.9 และ 18.4 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว ในขณะที่การผลิตรถยนต์รถจักรยานยนต์ และยางรถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 17.6, - 4.6 และ 8.4 เมื่อเทียบกับร้อยละ 20.7, 20.9 และ 19.0 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว
(3) การส่งออก
การส่งออกในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2539 มีมูลค่าประมาณ 580,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.7 ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงมาก เมื่อเทียบกับร้อยละ 26.8 ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การชะลอการส่งออกเกิดขึ้นในหมวดสินค้าเกษตรกรรม ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 1.5 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.1 ในระยะเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเฉพาะการชะลอลงของการส่งออกยางพารา และการลดลงของการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง การส่งออกในหมวดสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญและสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 และ 11.8 เทียบกับร้อยละ 20.1 และ 49.3 ในระยะเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วนอาหารทะเลกระป๋อง และผลิตภัณฑ์ยาง มีมูลค่าลดลงมาก
ตลาดส่งออกที่สำคัญ่ของสินค้าไทย ซึ่งมีแนวโน้มชะลอตัวในช่วง 5 เดือนแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อาเซี่ยน และญี่ปุ่น ซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.0, 10.3 และ 8.7 เทียบกับร้อยละ 9.4, 31.5,และ 14.7 ในช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว ตลาดสหภาพยุโรปชะลอลงเล็กน้อย โดยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 19 เทียบกับร้อยละ 20.9 ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตลาดที่หดตัวลงได้แก่ แอฟริกา ออสเตรเลีย และยุโรปตะวันออก
สาเหตุของการชะลอตัวของการส่งออก ได้แก่
(3.1)ขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมบางประเภทลดลง เช่น กลุ่มสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วนอาหารทะเลกระป๋อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดระดับล่าง เช่น ยุโรปตะวันออก แอฟริกา ตะวันออกกลาง ซึ่งมีคู่แข่งสำคัญ ๆ คือ จีน เวียดนาม
(3.2)ในปีที่แล้วมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมสูงเป็นประวัติการณ์ ประกอบกับปีนี้มีปัญหาการผลิตสินค้าบางรายการในประเทศไทย เช่น การประสบปัญหาโรคระบาดในการเลี้ยงกุ้ง
(3.3) การชะลอตัวลงของภาวะการค้าโลก ซึ่งทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้า ของกลุ่มประเทศอาเซียนและกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในช่วงไตรมาสแรกของปี มีมูลค่าชะลอตัวลงเกือบทุกประเทศ
2.2 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
(1) เงินเฟ้อ
เงินเฟ้อในช่วงครึ่งแรกของปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 โดยเป็นการเพิ่มสูงถึงร้อยละ 7.4 ในไตรมาสแรก และร้อยละ 6.2 ในไตรมาสที่สอง การเพิ่มสูงของระดับราคานำโดยการเพิ่มขึ้นในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่มิใช่แอลกอฮอล์ร้อยละ 10.2 ในขณะที่หมวดสินค้าอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เงินเฟ้อชะลอลง ได้แก่ ราคาสินค้าในหมวดอาหารที่เริ่มลดลงในเดือนมิถุนายน โดยลดลงร้อยละ 0.1 จากเดือนพฤษภาคม ส่งผลให้เงินเฟ้อ ณ เดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5
(2) ดุลบัญชีเดินสะพัด
ในขณะที่การส่งออกชะลอตัวลง การนำเข้าก็ชะลอลงมากเช่นกัน โดยในช่วง 5 เดือนแรกมีมูลค่าสินค้าเข้าทั้งสิ้น 763,300 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับร้อยละ 33.8 ในระยะเดียวกันของปีที่แล้ว การนำเข้าชะลอตัวในทุกหมวดสินค้า ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง สินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สินค้าอุปโภคบริโภค และยานพาหนะ การชะลอตัวของการนำเข้าเป็นจากปัจจัยสำคัญ คือ
(2.1) การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจทั้งภาคการผลิต ภาคการลงทุน และภาคการส่งออก ทำให้ความต้องการนำเข้าสินค้าในหมวดสินค้าทุน หมวดวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีแนวโน้มชะลอตัวลง
(2.2) ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้ม ลดลง อันเนื่องมาจากการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรอิรัก ทำให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าในหมวดเชื้อเพลิงชะลอตัวลง
(2.3) การดำเนินมาตรการทางด้านการเงิน โดยการควบคุมสินเชื่อและบัตรเครดิตของสถาบันการเงินได้ส่งผลกระทบต่อมูลค่าการนำเข้าสินค้าในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค
ดุลการค้า ในช่วง 5 เดือนแรกขาดดุลทั้งสิ้นประมาณ 183,200 ล้านบาท การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีข้อมูลล่าสุด 4 เดือนแสดงการขาดดุลประมาณ 126,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.3 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 85.8 ในระยะเดียวกันของปีที่แล้ว
(3) ดุลการคลัง
ในช่วง8เดือนแรกของปีงบประมาณ2539 รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 504,378 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 ชะลอตัวลงจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 ของระยะเดียวกันกับปีงบประมาณ 2538เนื่องจากภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีอากรขาเข้า ภาษีน้ำมัน และภาษีรถยนต์ เพิ่มในอัตราชะลอกว่าปีก่อนตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง การเบิกจ่ายงบประมาณปี 2539 จนถึง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคมมีจำนวน 378,357 ล้านบาท เทียบเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 44.9 ต่ำกว่าอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 46.5 ของระยะเดียวกันของปีงบประมาณ 2538 รัฐบาลจึงเกิดดุลเงินสดกว่า 55,000 ล้านบาท และเกินดุลงบประมาณกว่า 45,000 ล้านบาท
3. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2539
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2539 จะขยายตัวดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเริ่มลดลงจะส่งผลกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจช่วงปลายปี และการส่งออกซึ่งมีแนวโน้มจะขยายตัวดีขึ้นจากครึ่งปีแรกอย่างไรก็ตามการขยายตัวของระบบเศรษบกิจในปี 2539 จะชะลอจากปี2538 โดยคาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 8 ชะลอลงจากร้อยละ 8.6 ของปีที่แล้ว เนื่องจาก อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะลดลงเป็นร้อยละ 5.5 ตามความคาดหมาย การชะลอตัวการส่งออกทำให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไม่ลดลงมากเท่าที่คาดการณ์ไว้เดิม แต่คาดว่ายังจะลดลงจากปีที่แล้วเล็กน้อย โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.0 ของผลผลิตรวม เทียบกับร้อยละ 8.2 ของผลผลิตรวมในปีที่แล้ว
3.1 การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าจะชะลอเป็นร้อยละ 8.0 เป็นการชะลอตัวลงในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.3 เทียบกับร้อยละ 11.0 ของปีที่แล้ว โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้างและสินค้าส่งออกที่ประสบปัญหา เช่น สิ่งทอและรองเท้าภาคการก่อสร้างคาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 10.0 ชะลอลงจากร้อยละ 10.7 ของปีที่แล้ว เนื่องจากการะชะลอการเริ่มโครงการอสังหาริมทรัพย์ใหม่ ๆ แต่มีปัจจัยสนับสนุนจากการเร่งก่อสร้างโครงการลงทุนของรัฐ เช่น ถนนและโครงการขนส่งมวลชน ส่วนสาขาบริการและอื่น ๆ ชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจ และการบริโภคของภาคเอกชน รวมทั้งการท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีแนกซึ่งชะลอตัวกว่าปีที่แล้ว จึงคาดว่าสาขาบริการจะขยายตัวร้อยละ 7.9 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 8.2 ของปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ภาคเกษตรกรจะเป็นภาคการผลิตที่ขยายตัวดีขึ้นกว่าปีที่แล้วโดยขยายตัวร้อยละ 3.6 เทียบกับร้อยละ 3.0 ของปีที่แล้วเนื่องจากมีปริมาณน้ำอย่างพอเพียงการผลิต และราคาสินค้าเกษตรยังสูงเป็นเครื่องจูงใจในการผลิต
3.2 การใช๋จ่ายเพื่อการบริโภคและการลงทุน มีแนวโน้มชะลอตัวลง ยกเว้นการลงทุนภาครัฐบาล ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามแนวโน้มที่จะมีการเร่งรัดโครงการลงทุนที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ การเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงปลายปีงบประมาณ 2539 และการที่รัฐบาลไม่อนุมัติให้มีการกันเงินข้ามปี ในกรณีที่ไม่มีหนี้ผูกพันงบประมาณการบริโภคภาคเอกชน จะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 เทียบกับร้อยละ7.9ของปี 2538 เนื่องจากมาตรการด้านการเงิน และการคลังเพื่อชะลอการบริโภค เช่น มาตรการเข้มงวดการออกบัตรเครดิตรายใหม่ และการขึ้นภาษีสินค้าฟุ่มเฟื่อย นอกจากนั้น ภาวะตลาดหุ้นซบเซาจะกระทบถึงกลุ่มผู้บริโภคที่เคยที่กำลังซื้อสูงการใช้จ่ายภาครัฐบาลว่าจะขยายตัวน้อยละ 7.5 เทียบกับร้อยละ8.2 ในปีที่แล้ว การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าชะลอตัวจากอัตราเพิ่มร้อยละ 10.3ในปี2538เป็นร้อยละ 2539 เนื่องจาก อัตราดอกเบี้ยที่สูงในช่วงต้นปี ประกอบกับการลงทุน ในเครื่องจักรเครื่องมือ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตที่เพิ่มสูงมาหลายปีเริ่มอิ่มตัว การเร่งรัดการลงทุนในโครงการพื้นฐาน เพื่อกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคและเพิ่มสมรรถนะของระบบเศรษฐกิจทำให้การลงทุนภาครัฐบาลในปีนี้จะขยายตัวในอัตราร้อยละ 17.0 สูงกว่าร้อยละ 16.0 ในปี 2538
3.3 อัตราเงินเฟ้อ ซึ่งได้เริ่มลดลงจากเฉลี่ยร้อยละ 7.4 ในไตรมาสแรก เป็นร้อยละ 5.5ณเดือนมิถุนายนคาดว่าจะชะลอต่อไปถึงปลายปี เนื่องจากการชะลอของการบริโภคและแนวโน้มราคาผลิตเกษตร ซึ่งเริ่มอ่อนตัวลงจากระดับที่สูงมากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา คาดว่าเงินเฟ้อจะเพิ่มขุึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5.0 ต่อเดือนในช่วงไตรมาสที่สาม และเฉลี่ยลดลงร้อยละ 0.3 ต่อเดือนในไตรมาสที่สี่ของปี ถ้าผลผลิตพืชผลเกษตรเป็นไปตามฤดูกาลและไม่มีภาวะน้ำท่วมเช่นปีก่อน ส่งผลให้เงินเฟ้อทั้งปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ตามที่ได้คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี
3.4 การส่งออก การส่งออกที่ชะลอตัวในครึ่งปีแรกทำให้มูลค่าการส่งออกในปี 2539 ไม่สูงเท่าที่คาดไว้เดิม การส่งออกในปี 2539 คาดว่าจะมีมูลค่า 1,570,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ13.6 เทียบกับร้อยละ 23.6 ในปี 2538 มูลค่าการส่งออกตามคำจำกัดความของระบบบัญชีการชำระเงินนี้ หากปรับเป็นข้อมูลตามระบบของกระทรวงพาณิชย์แล้วจะได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายมูลค่าการส่งออก 1,600,000 ล้านบาท การส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังจะมีแนวโน้มดีกว่าครึ่งแรกของปี เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ คือ
(1) ความต้องการสินค้าจากประเทศนำเข้าสำคัญ ซึ่งลดลงในช่วงครึ่งปีแรกและกระทบต่อการส่งออกของประเทศในแถบภูมิภาคนี้ เป็นการลดลงชั่วคราว และในครึ่งปีหลังจะดีขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกและการค้าโลกในปีนี้ยังมีแนวโน้มขยายตัวดี
(2)ปัญหาการผลิตภายในประเทศของสินค้าบางชนิด เช่น โรคระบาดของกุ้ง จะแก้ไขได้และทำให้มีผลผลิตสามารถส่งออกสู่ตลาดโลกได้
(3) รัฐบาลดำเนินมาตรการ เพื่อส่งเสริมและเร่งกระตุ้นการส่งออก เช่น มาตรการภาษี เพื่อลดต้นทุนการผลิตการเจรจาแก้ไขข้อกีดขวางทางการส่งออกกับประเทศคู่ค้า การช่วยค่าการตลาดส่งออกข้าว เป็นต้น 3.5 การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด การชะลอตัวของการส่งออก การลงทุน และการบริโภคส่งผลให้การนำเข้าสินค้าลดลงโดยเฉพาะสินค้าทุนและสินค้าขั้นกลางและวัตถุดิบการนำเข้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 ชะลอจากร้อยละ 30.5 ของปีที่แล้วการนำเข้าคาดว่ามีมูลค่า 1,985,000 ล้านบาท ดังนั้นการขาดดุลการค้าจะมีมูลค่าประมาณ 415,000 ล้านบาท เมื่อรวมกับการเกินดุลบริการ ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่า 45,000 ล้านบาท จะทำให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมีมูลค่าประมาณ 370,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.0 ของผลผลิตรวมของประเทศ ลดลงจากร้อยละ 8.2 ของปีที่แล้ว
3.6ฐานะการคลังภาครัฐบาล หากเป็นไปตามแนวโน้มปัจจุบันและไม่มีการเร่งรัดการเบิกจ่าย การเบิกจ่ายงบประมาณปี 2539 จะไม่เกินร้อยละ 79 โดยเฉพาะงบลงทุนนั้นในระยะครึ่งปีงบประมาณมีการเบิกจ่ายเพียงร้อยละ 15.81 ในขณะที่รายได้ภาษีชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจ ดังนั้น คาดว่ารายได้สุทธิของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2539 จะมีมูลค่า 860,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 ในขณะที่การเบิกจ่ายมีมูลค่า 768,500 ล้านบาท และจะส่งผลให้มีการเกินดุลเงินสดในงบประมาณ ประมาณ 91,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.0 ของผลผลิตรวมของประเทศ
4. ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง 2539
การประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกของปี2539พบว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลง ซึ่งช่วยลดแรงกดดันต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ปัญหาด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาถึงปลายปี 2538 อันได้แก่ เงินเฟ้อ และ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด มีแนวโน้มว่าปัญหาภาวะเงินเฟ้อได้บรรเทาลงและจะคลี่คลายต่อไปในช่วงปลายปี อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวของการส่งออกมากกว่าที่คาดไว้ในครึ่งปีแรก อาจส่งผลให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไม่สามารถลดลงได้อย่างรวดเร็วในปีนี้ในช่วงครึ่งหลังของปี2539 รัฐบาลควรเร่งรัดการแก้ไขปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพื่อสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนและดำเนินมาตรการ เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้เงินเฟ้อลดลงต่อไป
4.1 แก้ไขปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ควรเร่งรัดพิจารณาและดำเนินมาตรการทั้งด้านการส่งเสริมดุลการค้าและดุลบริหาร และการระดมการออมในประเทศ เพื่อวางรากฐานในการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงอย่างชัดเจนในปี 2540 โดย
4.1.1 มาตรการที่ควรพิจารณาดำเนินการโดยเร็ว
(1) ลดขั้นตอนและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของรัฐ เพื่อสนับสนุนการส่งออก เช่น ลดขั้นตอนพิธีการศุลกากรให้มีการบริการสะดวกและรวดเร็ว ปรับปรุงการบริการท่าเรือและกิจกรรมเกี่ยวเนื่องให้มีประสิทธิภาพ
(2) เร่งรัดมาตรการลดอัตราภาษีขาเข้าปัจจัยการผลิตเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมของประเทศอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน
(3) เร่งพิจารณามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการออมระยะยาว เช่น การออมเพื่อการศึกษาการออมเพื่อซื้อบ้าน หลังแรก และการออม เพื่อไว้ใช้หลังเกษียณอายุ เป็นต้น
(4) เร่งรัดมาตรการแก้ไขปัญหาดุลบัญชีเดินสะพัดที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว เช่น มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการพิณิชยนาวี การให้รัฐวิสาหกิจมีบทบาทสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้า การส่งเสริมให้ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจสินค้าไทยเพิ่มขึ้น เป็นต้น
4.1.2 มาตรการที่ควรพิจารณาดำเนินการตามแนวนโยบายระยะยาว
(1)วางนโยบายและระบบสนับสนุนทั้งมาตรการภาษีและการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสินค้าขั้นกลาง ชิ้นส่วนและสินค้าทุนในประเทศ รวมทั้งเพิ่มสมรรถนะในการพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศ
(2) ระดมการออมระยะยาวผ่อนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยพิจารณาดำเนินมาตรการกำหนดให้บริษัทที่ได้รับสิทธิประโยชน์จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และบริษัทเอกชนที่รับสัมปทานจากรัฐ ให้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(3) เพิ่มโอกาสการออม โดยพัฒนาตลาดตรสารหนี้ภาครัฐและเอกชนให้แพร่หลายและมั่นคง
4.2 พัฒนาภูมิภาคและท้องถิ่น โโยดำเนินแผนพัมนาตามศักยภาพของกลุ่มจังหวัด และเร่งรัดการกระจายโครงสร้างพื้นฐานสู่ภูมิภาค เพื่อส่งเสริมการกระจายรายได้และสนับสนุนการลงทุนในภูมิภาค
4.3 พิจารณาข้อเสนอการกระจายอำนาจการคลังและการจัดสรรรายได้สนับสนุนท้องถิ่นของคณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น (กนอ.) อย่างรอบคอบและเร่งรัดให้มีผลทางปฏิบัติ
4.4รักษาเสถียรภาพของเงินบาทดูแลสภาพคล่องของตลาดเงินในขณะที่อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ปรับตัวตามกลไกตลาด และพัฒนาบทบาทในการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์เพื่อรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบการเงิน เพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการเงินต่อไปในอนาคต
4.5บริหารจัดการนโยบายเศรษฐกิจ อย่างมีเอกภาพ โดยเฉพาะการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจที่จะมีผลกระทบต่อไปในอนาคต ต้องมีความชัดเจน เป็นระบบ สอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกัน ทั้งนโยบายการเงิน การคลัง การค้าต่างประเทศและการพัฒนาอุตสาหกรรม ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักธุรกิจและนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 9 / กันยายน 2539--
ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจ ที่สำคัญในช่วงครึ่งหลังของปี 2539 ได้แก่ การแก้ไขการปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด การเร่งรัดการกระจายโครงสร้างพื้นฐานสู่ภูมิภาค การกระจายอำนาจการคลัง และจัดสรรงบประมาณสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น การรักษาความมั่นคงของเงินบาทและการบริหารจัดการนโยบายเศรษฐกิจที่มีเอกภาพ
รายงานนี้ประกอบด้วย 4 ส่วนได้แก่ ส่วนที่หนึ่ง ภาวะเศรษฐกิจโลก ส่วนที่สอง เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรก 2539 ส่วนที่สาม แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2539 และส่วนที่สี่ ประเด็นการบริหารนโยบายที่สำคัญในครึ่งปีหลัง 2539
1. เศรษฐกิจโลก
ภาวะเศราฐกิจโลกในช่วงครึ่งปีแรกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมซึ่งขยายตัวดีขึ้นมากเนื่องจาก ปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจ อันได้แก่ การปรับตัวของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลหลัก และการลดลงของแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้นโยบายการเงินอยู่ในภาวะผ่อนคลายเป็นปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียในช่วงครึ่งปีแรกชะลอตัวลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่และกลุ่มประเทศอาเซียน เนื่องจากการขยายตัวอย่างร้อนแรงในช่วงที่ผ่านมา ได้สร้างความกดดันต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ทำให้ประเทศต่าง ๆ ดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจอย่างระมัดระวังมากขึ้นในปีนี้ ประกอบกับการประสบผลกระทบจากการชะลอตัวของภาวะการค้าโลก
คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.8 ในปี 2539 เทียบกับร้อยละ 3.5 ในปีที่แล้ว เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเซียจะขยายตัวประมาณร้อยละ 8.2 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 8.4 ในปีที่แล้ว โดยกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่และกลุ่มอาเซียนจะขยายตัวประมาณร้อยละ 6.5 และ 7.5 ตามลำดับ เทียบกับร้อยละ 8.4 ในปีที่แล้ว โดยกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่และกลุ่มอาเซียนจะขยายตัวประมาณร้อยละ 6.5 และ 7.5 ตามลำดับ เทียบกับร้อยละ 6.9 และ 7.7 ในปี 2538
อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกที่ต่ำกว่าดอกเบี้ยภายในประเทศ ทำให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อหาประโยชน์จากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีแรกส่วนการชะลอตัวของความต้องการสินค้าจากตลาดหลักของสินค้าไทย เช่น สหรัฐฯ และกลุ่มประเทศอาเซียน มีผลให้การส่งออกชะลอตัวลง อย่างไรก็ตามความต้องการสินค้าส่งออกในครึ่งปีหลังคาดว่าจะมีมากขึ้นเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกในปีนี้ คาดว่ายังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี
2. เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรก 2539 : เศรษฐกิจชะลอตัวและเงินเฟ้อลดลงอย่างต่อเนื่องจากต้นปี
เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรกมีแนวโน้มชะลอตัวลงเนื่องจาก การชะลอของการลงทุนภาคเอกชนการผลิตภาคอุตสาหกรรมและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกซึ่งชะลอมากปัญหาเสถียรภาพทางด้านเงินเฟ้อบรรเทาลง เนื่องจาก อัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในอัตราสูงตอนต้นปีมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจนอัตราเงินเฟ้อครึ่งปีแรกเฉลี่ยร้อยละ 6.8 ส่วนการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 4 เดือนแรกมีมูลค่า 126,300ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.3 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.8 ในระยะเดียวกันของปีที่แล้ว
2.1 ปัจจัยที่มีผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง
(1) การลงทุนภาคเอกชน
ดัชนีการลงทุนในช่วง4 เดือนแรกของปี 2539 ลดลงร้อยละ 8.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างลดลงร้อยละ 16.8 และปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์สังกะสีและการนำเข้าสินค้าประเภททุน เพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัวลงมาก ทั้งนี้มีสาเหตุส่วนหนึ่งจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงการจำกัดสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และการชะลอการก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์
(2) การผลิตภาคอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2539 ขยายตัวร้อยละ 7.6 ชะลอลงจากอัตราร้อยละ 14.7 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว โดยเป็นการชะลอตัวของหมวดอาหารและเครื่องดื่มหมวดวัสดุก่อสร้างและหมวดยานยนต์ ดังจะเห็นได้จากการผลิจแผ่นเหล็กชุบสังกะสี และปูนซีเมนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 และ 10.6 เทียบกับร้อยละ 25.9 และ 18.4 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว ในขณะที่การผลิตรถยนต์รถจักรยานยนต์ และยางรถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 17.6, - 4.6 และ 8.4 เมื่อเทียบกับร้อยละ 20.7, 20.9 และ 19.0 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว
(3) การส่งออก
การส่งออกในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2539 มีมูลค่าประมาณ 580,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.7 ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงมาก เมื่อเทียบกับร้อยละ 26.8 ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การชะลอการส่งออกเกิดขึ้นในหมวดสินค้าเกษตรกรรม ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 1.5 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.1 ในระยะเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเฉพาะการชะลอลงของการส่งออกยางพารา และการลดลงของการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง การส่งออกในหมวดสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญและสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 และ 11.8 เทียบกับร้อยละ 20.1 และ 49.3 ในระยะเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วนอาหารทะเลกระป๋อง และผลิตภัณฑ์ยาง มีมูลค่าลดลงมาก
ตลาดส่งออกที่สำคัญ่ของสินค้าไทย ซึ่งมีแนวโน้มชะลอตัวในช่วง 5 เดือนแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อาเซี่ยน และญี่ปุ่น ซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.0, 10.3 และ 8.7 เทียบกับร้อยละ 9.4, 31.5,และ 14.7 ในช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว ตลาดสหภาพยุโรปชะลอลงเล็กน้อย โดยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 19 เทียบกับร้อยละ 20.9 ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตลาดที่หดตัวลงได้แก่ แอฟริกา ออสเตรเลีย และยุโรปตะวันออก
สาเหตุของการชะลอตัวของการส่งออก ได้แก่
(3.1)ขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมบางประเภทลดลง เช่น กลุ่มสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วนอาหารทะเลกระป๋อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดระดับล่าง เช่น ยุโรปตะวันออก แอฟริกา ตะวันออกกลาง ซึ่งมีคู่แข่งสำคัญ ๆ คือ จีน เวียดนาม
(3.2)ในปีที่แล้วมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมสูงเป็นประวัติการณ์ ประกอบกับปีนี้มีปัญหาการผลิตสินค้าบางรายการในประเทศไทย เช่น การประสบปัญหาโรคระบาดในการเลี้ยงกุ้ง
(3.3) การชะลอตัวลงของภาวะการค้าโลก ซึ่งทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้า ของกลุ่มประเทศอาเซียนและกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในช่วงไตรมาสแรกของปี มีมูลค่าชะลอตัวลงเกือบทุกประเทศ
2.2 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
(1) เงินเฟ้อ
เงินเฟ้อในช่วงครึ่งแรกของปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 โดยเป็นการเพิ่มสูงถึงร้อยละ 7.4 ในไตรมาสแรก และร้อยละ 6.2 ในไตรมาสที่สอง การเพิ่มสูงของระดับราคานำโดยการเพิ่มขึ้นในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่มิใช่แอลกอฮอล์ร้อยละ 10.2 ในขณะที่หมวดสินค้าอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เงินเฟ้อชะลอลง ได้แก่ ราคาสินค้าในหมวดอาหารที่เริ่มลดลงในเดือนมิถุนายน โดยลดลงร้อยละ 0.1 จากเดือนพฤษภาคม ส่งผลให้เงินเฟ้อ ณ เดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5
(2) ดุลบัญชีเดินสะพัด
ในขณะที่การส่งออกชะลอตัวลง การนำเข้าก็ชะลอลงมากเช่นกัน โดยในช่วง 5 เดือนแรกมีมูลค่าสินค้าเข้าทั้งสิ้น 763,300 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับร้อยละ 33.8 ในระยะเดียวกันของปีที่แล้ว การนำเข้าชะลอตัวในทุกหมวดสินค้า ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง สินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สินค้าอุปโภคบริโภค และยานพาหนะ การชะลอตัวของการนำเข้าเป็นจากปัจจัยสำคัญ คือ
(2.1) การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจทั้งภาคการผลิต ภาคการลงทุน และภาคการส่งออก ทำให้ความต้องการนำเข้าสินค้าในหมวดสินค้าทุน หมวดวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีแนวโน้มชะลอตัวลง
(2.2) ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้ม ลดลง อันเนื่องมาจากการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรอิรัก ทำให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าในหมวดเชื้อเพลิงชะลอตัวลง
(2.3) การดำเนินมาตรการทางด้านการเงิน โดยการควบคุมสินเชื่อและบัตรเครดิตของสถาบันการเงินได้ส่งผลกระทบต่อมูลค่าการนำเข้าสินค้าในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค
ดุลการค้า ในช่วง 5 เดือนแรกขาดดุลทั้งสิ้นประมาณ 183,200 ล้านบาท การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีข้อมูลล่าสุด 4 เดือนแสดงการขาดดุลประมาณ 126,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.3 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 85.8 ในระยะเดียวกันของปีที่แล้ว
(3) ดุลการคลัง
ในช่วง8เดือนแรกของปีงบประมาณ2539 รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 504,378 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 ชะลอตัวลงจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 ของระยะเดียวกันกับปีงบประมาณ 2538เนื่องจากภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีอากรขาเข้า ภาษีน้ำมัน และภาษีรถยนต์ เพิ่มในอัตราชะลอกว่าปีก่อนตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง การเบิกจ่ายงบประมาณปี 2539 จนถึง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคมมีจำนวน 378,357 ล้านบาท เทียบเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 44.9 ต่ำกว่าอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 46.5 ของระยะเดียวกันของปีงบประมาณ 2538 รัฐบาลจึงเกิดดุลเงินสดกว่า 55,000 ล้านบาท และเกินดุลงบประมาณกว่า 45,000 ล้านบาท
3. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2539
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2539 จะขยายตัวดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเริ่มลดลงจะส่งผลกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจช่วงปลายปี และการส่งออกซึ่งมีแนวโน้มจะขยายตัวดีขึ้นจากครึ่งปีแรกอย่างไรก็ตามการขยายตัวของระบบเศรษบกิจในปี 2539 จะชะลอจากปี2538 โดยคาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 8 ชะลอลงจากร้อยละ 8.6 ของปีที่แล้ว เนื่องจาก อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะลดลงเป็นร้อยละ 5.5 ตามความคาดหมาย การชะลอตัวการส่งออกทำให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไม่ลดลงมากเท่าที่คาดการณ์ไว้เดิม แต่คาดว่ายังจะลดลงจากปีที่แล้วเล็กน้อย โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.0 ของผลผลิตรวม เทียบกับร้อยละ 8.2 ของผลผลิตรวมในปีที่แล้ว
3.1 การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าจะชะลอเป็นร้อยละ 8.0 เป็นการชะลอตัวลงในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.3 เทียบกับร้อยละ 11.0 ของปีที่แล้ว โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้างและสินค้าส่งออกที่ประสบปัญหา เช่น สิ่งทอและรองเท้าภาคการก่อสร้างคาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 10.0 ชะลอลงจากร้อยละ 10.7 ของปีที่แล้ว เนื่องจากการะชะลอการเริ่มโครงการอสังหาริมทรัพย์ใหม่ ๆ แต่มีปัจจัยสนับสนุนจากการเร่งก่อสร้างโครงการลงทุนของรัฐ เช่น ถนนและโครงการขนส่งมวลชน ส่วนสาขาบริการและอื่น ๆ ชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจ และการบริโภคของภาคเอกชน รวมทั้งการท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีแนกซึ่งชะลอตัวกว่าปีที่แล้ว จึงคาดว่าสาขาบริการจะขยายตัวร้อยละ 7.9 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 8.2 ของปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ภาคเกษตรกรจะเป็นภาคการผลิตที่ขยายตัวดีขึ้นกว่าปีที่แล้วโดยขยายตัวร้อยละ 3.6 เทียบกับร้อยละ 3.0 ของปีที่แล้วเนื่องจากมีปริมาณน้ำอย่างพอเพียงการผลิต และราคาสินค้าเกษตรยังสูงเป็นเครื่องจูงใจในการผลิต
3.2 การใช๋จ่ายเพื่อการบริโภคและการลงทุน มีแนวโน้มชะลอตัวลง ยกเว้นการลงทุนภาครัฐบาล ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามแนวโน้มที่จะมีการเร่งรัดโครงการลงทุนที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ การเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงปลายปีงบประมาณ 2539 และการที่รัฐบาลไม่อนุมัติให้มีการกันเงินข้ามปี ในกรณีที่ไม่มีหนี้ผูกพันงบประมาณการบริโภคภาคเอกชน จะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 เทียบกับร้อยละ7.9ของปี 2538 เนื่องจากมาตรการด้านการเงิน และการคลังเพื่อชะลอการบริโภค เช่น มาตรการเข้มงวดการออกบัตรเครดิตรายใหม่ และการขึ้นภาษีสินค้าฟุ่มเฟื่อย นอกจากนั้น ภาวะตลาดหุ้นซบเซาจะกระทบถึงกลุ่มผู้บริโภคที่เคยที่กำลังซื้อสูงการใช้จ่ายภาครัฐบาลว่าจะขยายตัวน้อยละ 7.5 เทียบกับร้อยละ8.2 ในปีที่แล้ว การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าชะลอตัวจากอัตราเพิ่มร้อยละ 10.3ในปี2538เป็นร้อยละ 2539 เนื่องจาก อัตราดอกเบี้ยที่สูงในช่วงต้นปี ประกอบกับการลงทุน ในเครื่องจักรเครื่องมือ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตที่เพิ่มสูงมาหลายปีเริ่มอิ่มตัว การเร่งรัดการลงทุนในโครงการพื้นฐาน เพื่อกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคและเพิ่มสมรรถนะของระบบเศรษฐกิจทำให้การลงทุนภาครัฐบาลในปีนี้จะขยายตัวในอัตราร้อยละ 17.0 สูงกว่าร้อยละ 16.0 ในปี 2538
3.3 อัตราเงินเฟ้อ ซึ่งได้เริ่มลดลงจากเฉลี่ยร้อยละ 7.4 ในไตรมาสแรก เป็นร้อยละ 5.5ณเดือนมิถุนายนคาดว่าจะชะลอต่อไปถึงปลายปี เนื่องจากการชะลอของการบริโภคและแนวโน้มราคาผลิตเกษตร ซึ่งเริ่มอ่อนตัวลงจากระดับที่สูงมากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา คาดว่าเงินเฟ้อจะเพิ่มขุึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5.0 ต่อเดือนในช่วงไตรมาสที่สาม และเฉลี่ยลดลงร้อยละ 0.3 ต่อเดือนในไตรมาสที่สี่ของปี ถ้าผลผลิตพืชผลเกษตรเป็นไปตามฤดูกาลและไม่มีภาวะน้ำท่วมเช่นปีก่อน ส่งผลให้เงินเฟ้อทั้งปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ตามที่ได้คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี
3.4 การส่งออก การส่งออกที่ชะลอตัวในครึ่งปีแรกทำให้มูลค่าการส่งออกในปี 2539 ไม่สูงเท่าที่คาดไว้เดิม การส่งออกในปี 2539 คาดว่าจะมีมูลค่า 1,570,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ13.6 เทียบกับร้อยละ 23.6 ในปี 2538 มูลค่าการส่งออกตามคำจำกัดความของระบบบัญชีการชำระเงินนี้ หากปรับเป็นข้อมูลตามระบบของกระทรวงพาณิชย์แล้วจะได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายมูลค่าการส่งออก 1,600,000 ล้านบาท การส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังจะมีแนวโน้มดีกว่าครึ่งแรกของปี เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ คือ
(1) ความต้องการสินค้าจากประเทศนำเข้าสำคัญ ซึ่งลดลงในช่วงครึ่งปีแรกและกระทบต่อการส่งออกของประเทศในแถบภูมิภาคนี้ เป็นการลดลงชั่วคราว และในครึ่งปีหลังจะดีขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกและการค้าโลกในปีนี้ยังมีแนวโน้มขยายตัวดี
(2)ปัญหาการผลิตภายในประเทศของสินค้าบางชนิด เช่น โรคระบาดของกุ้ง จะแก้ไขได้และทำให้มีผลผลิตสามารถส่งออกสู่ตลาดโลกได้
(3) รัฐบาลดำเนินมาตรการ เพื่อส่งเสริมและเร่งกระตุ้นการส่งออก เช่น มาตรการภาษี เพื่อลดต้นทุนการผลิตการเจรจาแก้ไขข้อกีดขวางทางการส่งออกกับประเทศคู่ค้า การช่วยค่าการตลาดส่งออกข้าว เป็นต้น 3.5 การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด การชะลอตัวของการส่งออก การลงทุน และการบริโภคส่งผลให้การนำเข้าสินค้าลดลงโดยเฉพาะสินค้าทุนและสินค้าขั้นกลางและวัตถุดิบการนำเข้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 ชะลอจากร้อยละ 30.5 ของปีที่แล้วการนำเข้าคาดว่ามีมูลค่า 1,985,000 ล้านบาท ดังนั้นการขาดดุลการค้าจะมีมูลค่าประมาณ 415,000 ล้านบาท เมื่อรวมกับการเกินดุลบริการ ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่า 45,000 ล้านบาท จะทำให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมีมูลค่าประมาณ 370,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.0 ของผลผลิตรวมของประเทศ ลดลงจากร้อยละ 8.2 ของปีที่แล้ว
3.6ฐานะการคลังภาครัฐบาล หากเป็นไปตามแนวโน้มปัจจุบันและไม่มีการเร่งรัดการเบิกจ่าย การเบิกจ่ายงบประมาณปี 2539 จะไม่เกินร้อยละ 79 โดยเฉพาะงบลงทุนนั้นในระยะครึ่งปีงบประมาณมีการเบิกจ่ายเพียงร้อยละ 15.81 ในขณะที่รายได้ภาษีชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจ ดังนั้น คาดว่ารายได้สุทธิของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2539 จะมีมูลค่า 860,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 ในขณะที่การเบิกจ่ายมีมูลค่า 768,500 ล้านบาท และจะส่งผลให้มีการเกินดุลเงินสดในงบประมาณ ประมาณ 91,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.0 ของผลผลิตรวมของประเทศ
4. ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง 2539
การประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกของปี2539พบว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลง ซึ่งช่วยลดแรงกดดันต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ปัญหาด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาถึงปลายปี 2538 อันได้แก่ เงินเฟ้อ และ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด มีแนวโน้มว่าปัญหาภาวะเงินเฟ้อได้บรรเทาลงและจะคลี่คลายต่อไปในช่วงปลายปี อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวของการส่งออกมากกว่าที่คาดไว้ในครึ่งปีแรก อาจส่งผลให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไม่สามารถลดลงได้อย่างรวดเร็วในปีนี้ในช่วงครึ่งหลังของปี2539 รัฐบาลควรเร่งรัดการแก้ไขปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพื่อสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนและดำเนินมาตรการ เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้เงินเฟ้อลดลงต่อไป
4.1 แก้ไขปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ควรเร่งรัดพิจารณาและดำเนินมาตรการทั้งด้านการส่งเสริมดุลการค้าและดุลบริหาร และการระดมการออมในประเทศ เพื่อวางรากฐานในการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงอย่างชัดเจนในปี 2540 โดย
4.1.1 มาตรการที่ควรพิจารณาดำเนินการโดยเร็ว
(1) ลดขั้นตอนและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของรัฐ เพื่อสนับสนุนการส่งออก เช่น ลดขั้นตอนพิธีการศุลกากรให้มีการบริการสะดวกและรวดเร็ว ปรับปรุงการบริการท่าเรือและกิจกรรมเกี่ยวเนื่องให้มีประสิทธิภาพ
(2) เร่งรัดมาตรการลดอัตราภาษีขาเข้าปัจจัยการผลิตเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมของประเทศอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน
(3) เร่งพิจารณามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการออมระยะยาว เช่น การออมเพื่อการศึกษาการออมเพื่อซื้อบ้าน หลังแรก และการออม เพื่อไว้ใช้หลังเกษียณอายุ เป็นต้น
(4) เร่งรัดมาตรการแก้ไขปัญหาดุลบัญชีเดินสะพัดที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว เช่น มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการพิณิชยนาวี การให้รัฐวิสาหกิจมีบทบาทสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้า การส่งเสริมให้ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจสินค้าไทยเพิ่มขึ้น เป็นต้น
4.1.2 มาตรการที่ควรพิจารณาดำเนินการตามแนวนโยบายระยะยาว
(1)วางนโยบายและระบบสนับสนุนทั้งมาตรการภาษีและการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสินค้าขั้นกลาง ชิ้นส่วนและสินค้าทุนในประเทศ รวมทั้งเพิ่มสมรรถนะในการพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศ
(2) ระดมการออมระยะยาวผ่อนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยพิจารณาดำเนินมาตรการกำหนดให้บริษัทที่ได้รับสิทธิประโยชน์จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และบริษัทเอกชนที่รับสัมปทานจากรัฐ ให้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(3) เพิ่มโอกาสการออม โดยพัฒนาตลาดตรสารหนี้ภาครัฐและเอกชนให้แพร่หลายและมั่นคง
4.2 พัฒนาภูมิภาคและท้องถิ่น โโยดำเนินแผนพัมนาตามศักยภาพของกลุ่มจังหวัด และเร่งรัดการกระจายโครงสร้างพื้นฐานสู่ภูมิภาค เพื่อส่งเสริมการกระจายรายได้และสนับสนุนการลงทุนในภูมิภาค
4.3 พิจารณาข้อเสนอการกระจายอำนาจการคลังและการจัดสรรรายได้สนับสนุนท้องถิ่นของคณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น (กนอ.) อย่างรอบคอบและเร่งรัดให้มีผลทางปฏิบัติ
4.4รักษาเสถียรภาพของเงินบาทดูแลสภาพคล่องของตลาดเงินในขณะที่อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ปรับตัวตามกลไกตลาด และพัฒนาบทบาทในการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์เพื่อรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบการเงิน เพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการเงินต่อไปในอนาคต
4.5บริหารจัดการนโยบายเศรษฐกิจ อย่างมีเอกภาพ โดยเฉพาะการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจที่จะมีผลกระทบต่อไปในอนาคต ต้องมีความชัดเจน เป็นระบบ สอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกัน ทั้งนโยบายการเงิน การคลัง การค้าต่างประเทศและการพัฒนาอุตสาหกรรม ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักธุรกิจและนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 9 / กันยายน 2539--