เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายสาวิตต์ โพธิวิหค รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้กล่าวอภิปรายในการสัมมนาเรื่อง "วิกฤติเศรษฐกิจไทยกับการปรับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8" ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ว่า จากการเปลี่นแปลงทางเศรษฐกิจ ขณะนี้ได้ก่อให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องทบทวนปรับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ซึ่งจะเป็นไปในทิศทางใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาจะได้ช่วยกันกำหนดทิศทางต่อไป
นายสาวิตต์ โพธิวิหค ยังได้กล่าวให้ข้อคิดเห็นและข้อสังเกตเกี่ยวกับเงื่อนไขสำคัญในการกำหนดกรอบการวางแผนพัฒนาประเทศในอนาคตไว้ 3 ประการ ได้แก่
1. กรอบหรือมาตรการในระดับเวทีนานาชาติ โครงสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น ส่วนหนึ่งจะถูกกำหนดจากภายนอกไม่ว่าจะเป็นบทบาทของสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการค้าระหว่างประเทศ เช่น องค์การค้าโลก (WTO) หรือ APEC ที่ประเทศไทยเราได้เข้าเป็นสมาชิก เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า โครงสร้างของการดำเนินการทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเรานั้น ส่วนหนึ่งถูกกำหนดมาจากเวทีโลก ซึ่งจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจกับข้อตกลงต่าง ๆ ดังกล่าว
2. เงื่อนไขจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF เป็นเงื่อนไขใหม่ที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่เราจำเป็นต้องรับมาพิจารณาในการกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อไป รวมถึงปัญหาเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ซึ่งเป็นเรื่องที่เรายังไม่อาจสามารถหาข้อยุติได้ว่าจะรับสถานการณ์อย่างไรต่อไป ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแต่อยู่ในช่วงเวลาของการปรับตัวทั้งสิ้น
3. เงื่อนไขจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นเงื่อนไขใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งสาระสำคัญในรัฐธรรมนูญมีหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับประชาชนและได้มีการระบุไว้อย่างชัดเจนโดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เช่น ในหมวดที่ 5 ว่าด้วยนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มี 2 มาตรา ได้แก่มาตรา 76 ที่ระบุว่ารัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ และมาตรา 89 ระบุว่า ให้รัฐกำหนดให้มีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อรัฐมนตรี เป็นต้น
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวต่อไปด้วยว่า สำหรับประเด็นการปรับทิศทางการพัฒนาประเทศที่สำคัญมี 4 ประการ ได้แก่
ประเภทแรก จัดทำแผนพัฒนา แผนการเงิน และแผนบุคลากรให้สอดคล้องกันซึ่งจำเป็นที่จะต้องเร่งปฏิรูประบบงบประมาณ ระบบราชการและองค์กรของรัฐ โดยจะต้องกำหนดทิศทางอย่างชัดเจนในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 นี้
ประการที่สองส่งเสริมการเปิดประเทศเสรีในระดับนานาชาติ การเปิดเสรีมากขึ้นภายใต้เงื่อนไขขององค์กรระหว่างประเทศจะนำไปสู่ภาวะ Liberalization ของโลคยุคโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจที่จะต้องยอมรับว่า จะมีคนต่างชาติเข้ามามีบทบาทในประเทศมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถาบันการเงิน ธุรกิจการค้า การบริการและทางด้านสังคม รวมทั้งการบริหารรัฐวิสาหกิจเหล่านี้ล้วนเป็นเงื่อนไขที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในข้อตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
ประการที่สาม จัดทำแผนระยะสั้นหรือระยะเร่งด่วนโดยกำหนดภาระที่ชัดเจนในเรื่องการดูแลสถาบันการเงินที่ล้มละลาย ซึ่งจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายหลายฉบับ และการหามาตรการรองรับผู้ตกงานและผู้ด้อยโอกาสในสังคม ซึ่งเป็นแผนระยะสั้นที่กำลังจะประกาศหรือได้ประกาศใช้แล้วนอกจากนี้ยังต้องจัดทำแผนระยะปานกลาง เพื่อดูแลการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพ ซึ่ง สศช. คงจะได้มีการนำเสนอทั้ง 2 แผนนี้ในโอกาสต่อไป
ประการสุดท้าย ดูแลและส่งเสริมบทบาทของทรัพยากรมนุษย์ในเวทีโลก โดยเฉพาะเพื่อการเตรียมความพร้อมของบุคคลากรที่จะเข้าไปเจรจาต่อรองผลประโยชน์ของประเทศในระดับเวทีนานาชาติหรือตลาดการค้าโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการค้า สิ่งแวดล้อม หรือสิทธิมนุษยชน ซึ่งส่วนหนึ่งจำเป็นต้องดึงภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1/มกราคม 2541--
นายสาวิตต์ โพธิวิหค ยังได้กล่าวให้ข้อคิดเห็นและข้อสังเกตเกี่ยวกับเงื่อนไขสำคัญในการกำหนดกรอบการวางแผนพัฒนาประเทศในอนาคตไว้ 3 ประการ ได้แก่
1. กรอบหรือมาตรการในระดับเวทีนานาชาติ โครงสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น ส่วนหนึ่งจะถูกกำหนดจากภายนอกไม่ว่าจะเป็นบทบาทของสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการค้าระหว่างประเทศ เช่น องค์การค้าโลก (WTO) หรือ APEC ที่ประเทศไทยเราได้เข้าเป็นสมาชิก เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า โครงสร้างของการดำเนินการทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเรานั้น ส่วนหนึ่งถูกกำหนดมาจากเวทีโลก ซึ่งจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจกับข้อตกลงต่าง ๆ ดังกล่าว
2. เงื่อนไขจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF เป็นเงื่อนไขใหม่ที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่เราจำเป็นต้องรับมาพิจารณาในการกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อไป รวมถึงปัญหาเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ซึ่งเป็นเรื่องที่เรายังไม่อาจสามารถหาข้อยุติได้ว่าจะรับสถานการณ์อย่างไรต่อไป ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแต่อยู่ในช่วงเวลาของการปรับตัวทั้งสิ้น
3. เงื่อนไขจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นเงื่อนไขใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งสาระสำคัญในรัฐธรรมนูญมีหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับประชาชนและได้มีการระบุไว้อย่างชัดเจนโดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เช่น ในหมวดที่ 5 ว่าด้วยนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มี 2 มาตรา ได้แก่มาตรา 76 ที่ระบุว่ารัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ และมาตรา 89 ระบุว่า ให้รัฐกำหนดให้มีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อรัฐมนตรี เป็นต้น
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวต่อไปด้วยว่า สำหรับประเด็นการปรับทิศทางการพัฒนาประเทศที่สำคัญมี 4 ประการ ได้แก่
ประเภทแรก จัดทำแผนพัฒนา แผนการเงิน และแผนบุคลากรให้สอดคล้องกันซึ่งจำเป็นที่จะต้องเร่งปฏิรูประบบงบประมาณ ระบบราชการและองค์กรของรัฐ โดยจะต้องกำหนดทิศทางอย่างชัดเจนในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 นี้
ประการที่สองส่งเสริมการเปิดประเทศเสรีในระดับนานาชาติ การเปิดเสรีมากขึ้นภายใต้เงื่อนไขขององค์กรระหว่างประเทศจะนำไปสู่ภาวะ Liberalization ของโลคยุคโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจที่จะต้องยอมรับว่า จะมีคนต่างชาติเข้ามามีบทบาทในประเทศมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถาบันการเงิน ธุรกิจการค้า การบริการและทางด้านสังคม รวมทั้งการบริหารรัฐวิสาหกิจเหล่านี้ล้วนเป็นเงื่อนไขที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในข้อตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
ประการที่สาม จัดทำแผนระยะสั้นหรือระยะเร่งด่วนโดยกำหนดภาระที่ชัดเจนในเรื่องการดูแลสถาบันการเงินที่ล้มละลาย ซึ่งจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายหลายฉบับ และการหามาตรการรองรับผู้ตกงานและผู้ด้อยโอกาสในสังคม ซึ่งเป็นแผนระยะสั้นที่กำลังจะประกาศหรือได้ประกาศใช้แล้วนอกจากนี้ยังต้องจัดทำแผนระยะปานกลาง เพื่อดูแลการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพ ซึ่ง สศช. คงจะได้มีการนำเสนอทั้ง 2 แผนนี้ในโอกาสต่อไป
ประการสุดท้าย ดูแลและส่งเสริมบทบาทของทรัพยากรมนุษย์ในเวทีโลก โดยเฉพาะเพื่อการเตรียมความพร้อมของบุคคลากรที่จะเข้าไปเจรจาต่อรองผลประโยชน์ของประเทศในระดับเวทีนานาชาติหรือตลาดการค้าโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการค้า สิ่งแวดล้อม หรือสิทธิมนุษยชน ซึ่งส่วนหนึ่งจำเป็นต้องดึงภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1/มกราคม 2541--