เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ (กศร.) ขึ้น ที่ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบรัฐบาล
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ได้กล่าวถึงการประชุมว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบกับการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ (สศร.) ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ พ.ศ. 2539 ที่ กศร. นำเสนอโดยกำหนดให้ สศร. เป็นหน่วยงานภายใน สศช. ทำหน้าที่เป็นเลขานุการของ กศร. ด้วย
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่าสำหรับอำนาจและหน้าที่ของ สศร. นั้น นอกเหนือจากการประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในการจัดเตรียมแผนงานและโครงการต่าง ๆ ตามแผนการจัดระบบศูนย์ราชการ ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการจัดระบบศูนย์ราชการ รวมทั้งสอดส่อง ดูแล และให้คำแนะนำแก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการดำเนินงานหรือดำเนินกิจการเพื่อให้การปฏิบัติที่ถูกต้องแล้ว สำนักงานคณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการหรือ สศร. นี้ ยังมีอำนาจหน้าที่บริหารแผนงานร่วม และประสานการบริหาร/การปฏิบัติการตามแผนการจัดระบบศูนย์ราชการ ตลอดจนดำเนินงานร่วมกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในการเจรจาขอรับความช่วยเหลือด้านเงินกู้ เงินให้เปล่า และความช่วยเหลือรูปแบบอื่น ๆ ทั้งจากต่างประเทศและภายในประเทศ รวมถึงติดตามวิเคราะห์และประเมินผลความก้าวหน้าของการจัดระบบศูนย์ราชการเพื่อเสนอต่อ กศร. ด้วย
รองเลขาธิการฯ ยังกล่าวด้วยว่า ตามที่ที่ประชุม กศร. ได้แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาเพื่อพิจารณากำหนดสถานที่ตั้งศูนย์ราชการของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่เหมาะสมนั้น คณะที่ปรึกษาฯ ได้มีการประชุมหารือและร่วมเดินทางสำรวจลักษณะภูมิประเทศเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่จากปัจจัยต่าง ๆ เช่น แหล่งน้ำความพร้อมของที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น ประกอบกับการศึกษาสำรวจลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่ที่มีศักยภาพการพัฒนาระบบศูนย์ราชการ รวม 5 บริเวณ ได้แก่ 1) บริเวณวังน้อย-บางปะอิน-บางไทร 2) บริเวณมีนบุรี-ลำลูกกา 3) บริเวณพื้นที่รอบสนามบินหนองงูเห่า-ฉะเชิงเทรา 4) บริเวณตลิ่งชัน-นครปฐม และ 5) บริเวณเขาชะโงก จ.นครนายก
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กล่าวว่า คณะที่ปรึกษาฯ ได้สรุปผลการศึกษาว่าพื้นที่บริเวณเขาชะโงก จ.นครนายก เป็นบริเวณที่มีศักยภาพและลำดับความสำคัญสูง มีความเหมาะสมเป็นที่ตั้งศูนย์ราชการซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร ที่ดินแปลงใหญ่ติดต่อกันเป็นที่ราชพัสดุ การเดินทางเข้าถึงสะดวก มีแหล่งน้ำใต้ดินและผิวดินและอยู่ในเส้นทางเชื่อมโยงเข้าสู่อินโดจีนได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม คณะที่ปรึกษาฯ ได้มีข้อคิดเห็นร่วมกันในแนวทางการจัดระบบศูนย์ราชการที่ควรดำเนินการเป็น 3 ระยะ ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะที่ปรึกษาฯ ทุกประการ ได้แก่
ระยะสั้น
ควรเร่งรัดดำเนินการโยกย้ายส่วนราชการต่าง ๆ ไปที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะตามแผนแม่บทที่ได้ศึกษาไว้แล้ว
ระยะกลาง
ควรสงวนที่ราชพัสดุในรัศมี 100 กิโลเมตร รอบกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการเตรียมการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้เหมาะสม รวมทั้งให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และการดำเนินการ ขั้นตอนการโยกย้ายหน่วยราชการต่าง ๆ ให้ชัดเจน
ระยะยาว
พิจารณาวางแผนเพื่อจัดระบบศูนย์ราชการอย่างเต็มรูปแบบ อาทิ การศึกษารายละเอียดด้านการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ความเหมาะสมและความพร้อมของพื้นที่ ผลกระทบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการเป็นเมืองที่น่าอยู่ ทั้งนี้ ควรศึกษาเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ต่าง ๆ ประกอบกันไปด้วย
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 12/ธันวาคม 2539--
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ได้กล่าวถึงการประชุมว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบกับการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ (สศร.) ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ พ.ศ. 2539 ที่ กศร. นำเสนอโดยกำหนดให้ สศร. เป็นหน่วยงานภายใน สศช. ทำหน้าที่เป็นเลขานุการของ กศร. ด้วย
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่าสำหรับอำนาจและหน้าที่ของ สศร. นั้น นอกเหนือจากการประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในการจัดเตรียมแผนงานและโครงการต่าง ๆ ตามแผนการจัดระบบศูนย์ราชการ ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการจัดระบบศูนย์ราชการ รวมทั้งสอดส่อง ดูแล และให้คำแนะนำแก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการดำเนินงานหรือดำเนินกิจการเพื่อให้การปฏิบัติที่ถูกต้องแล้ว สำนักงานคณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการหรือ สศร. นี้ ยังมีอำนาจหน้าที่บริหารแผนงานร่วม และประสานการบริหาร/การปฏิบัติการตามแผนการจัดระบบศูนย์ราชการ ตลอดจนดำเนินงานร่วมกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในการเจรจาขอรับความช่วยเหลือด้านเงินกู้ เงินให้เปล่า และความช่วยเหลือรูปแบบอื่น ๆ ทั้งจากต่างประเทศและภายในประเทศ รวมถึงติดตามวิเคราะห์และประเมินผลความก้าวหน้าของการจัดระบบศูนย์ราชการเพื่อเสนอต่อ กศร. ด้วย
รองเลขาธิการฯ ยังกล่าวด้วยว่า ตามที่ที่ประชุม กศร. ได้แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาเพื่อพิจารณากำหนดสถานที่ตั้งศูนย์ราชการของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่เหมาะสมนั้น คณะที่ปรึกษาฯ ได้มีการประชุมหารือและร่วมเดินทางสำรวจลักษณะภูมิประเทศเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่จากปัจจัยต่าง ๆ เช่น แหล่งน้ำความพร้อมของที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น ประกอบกับการศึกษาสำรวจลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่ที่มีศักยภาพการพัฒนาระบบศูนย์ราชการ รวม 5 บริเวณ ได้แก่ 1) บริเวณวังน้อย-บางปะอิน-บางไทร 2) บริเวณมีนบุรี-ลำลูกกา 3) บริเวณพื้นที่รอบสนามบินหนองงูเห่า-ฉะเชิงเทรา 4) บริเวณตลิ่งชัน-นครปฐม และ 5) บริเวณเขาชะโงก จ.นครนายก
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กล่าวว่า คณะที่ปรึกษาฯ ได้สรุปผลการศึกษาว่าพื้นที่บริเวณเขาชะโงก จ.นครนายก เป็นบริเวณที่มีศักยภาพและลำดับความสำคัญสูง มีความเหมาะสมเป็นที่ตั้งศูนย์ราชการซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร ที่ดินแปลงใหญ่ติดต่อกันเป็นที่ราชพัสดุ การเดินทางเข้าถึงสะดวก มีแหล่งน้ำใต้ดินและผิวดินและอยู่ในเส้นทางเชื่อมโยงเข้าสู่อินโดจีนได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม คณะที่ปรึกษาฯ ได้มีข้อคิดเห็นร่วมกันในแนวทางการจัดระบบศูนย์ราชการที่ควรดำเนินการเป็น 3 ระยะ ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะที่ปรึกษาฯ ทุกประการ ได้แก่
ระยะสั้น
ควรเร่งรัดดำเนินการโยกย้ายส่วนราชการต่าง ๆ ไปที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะตามแผนแม่บทที่ได้ศึกษาไว้แล้ว
ระยะกลาง
ควรสงวนที่ราชพัสดุในรัศมี 100 กิโลเมตร รอบกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการเตรียมการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้เหมาะสม รวมทั้งให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และการดำเนินการ ขั้นตอนการโยกย้ายหน่วยราชการต่าง ๆ ให้ชัดเจน
ระยะยาว
พิจารณาวางแผนเพื่อจัดระบบศูนย์ราชการอย่างเต็มรูปแบบ อาทิ การศึกษารายละเอียดด้านการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ความเหมาะสมและความพร้อมของพื้นที่ ผลกระทบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการเป็นเมืองที่น่าอยู่ ทั้งนี้ ควรศึกษาเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ต่าง ๆ ประกอบกันไปด้วย
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 12/ธันวาคม 2539--