Asian Strategy & Leadership Institute2 ได้จัดให้มีการสัมมนาเรื่อง " Basel II : Capital Adequacy & Risk Management Conference for Banks and Financial Institutions " ขึ้นในระหว่างวันที่ 27-28 มิถุนายน 2548 ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจของสถาบันการเงินและหน่วยงานกำกับดูแล ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ในการกำกับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินที่เป็นหลักปฏิบัติสากลของ Bank for International Settlement (BIS) หรือที่เรียกว่า Basel II ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้กับ การกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ให้มีมาตรฐานเดียวกับนานาประเทศ ธนาคารพาณิชย์จึงจำเป็นต้องปรับวิธีการ ดำเนินงานให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าว
การสัมมนาครั้งนี้มีวิทยากรมาจากหน่วยงานต่างๆ เช่น Asian Bond Market Forum ธนาคารพาณิชย์ บริษัทจัดอันดับเครดิต และบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน ผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่มาจากธนาคารพาณิชย์ในหลาย ประเทศ รูปแบบการสัมมนาเป็นการอภิปรายจากวิทยากร และมีการตอบข้อซักถาม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และ ความคืบหน้าของการดำเนินการในประเทศต่างๆ ทั้งนี้ สาระสำคัญจากการสัมมนาสรุปได้เป็น 3 ส่วนหลัก ดังนี้ 1) หลักการของ Basel II 2) การปฏิบัติตามเกณฑ์ของ Basel II และผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 3) ความท้าทายและ ปัญหาอุปสรรค
สาระสำคัญจากการสัมมนา
1) หลักการของ Basel II
Basel II คือ หลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงิน ที่ BIS ได้ปรับปรุงขึ้นจากหลักปฏิบัติเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ซึ่งจะนำมาใช้กับสถาบันการเงินในประเทศสมาชิกกว่า 130 ประเทศ วัตถุประสงค์ที่ BIS ปรับปรุงหลักเกณฑ์ขึ้นใหม่ เนื่องจากต้องการสร้างเสถียรภาพให้ระบบสถาบันการเงินทั่วโลก โดยกำหนดให้ สง. ดำรงเงินกองทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยง มีระเบียบปฏิบัติ ระบบควบคุมภายในและการเปิดเผยข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และได้มาตรฐาน ทั้งนี้ ได้ริเริ่มการปรับปรุงมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยมีการประชุมระหว่างธนาคารกลางของประเทศสมาชิกเพื่อหาข้อสรุปหลายครั้ง และเมื่อสิ้นเดือน มิ.ย. 2548 ได้มีการลงนามให้ความเห็นชอบต่อหลักเกณฑ์ Basel II จากผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่มประเทศ G-10 ซึ่งคาดว่ากลุ่ม G-10 จะเริ่มปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ในปี 2549 สำหรับประเทศอื่นๆ นั้น BIS ได้ให้แต่ละประเทศพิจารณาตามความเหมาะสมและความพร้อม ในส่วนของประเทศไทย ธปท. กำหนดจะนำ Basel II มาใช้อย่างเต็มรูปแบบในสิ้นปี 2551
1 โดย นภัสชล ชัยจิราภรณ์ ส่วนนโยบายการเงินและตลาดทุน สำนักวางแผนเศรษฐกิจมหภาค
2 Asian Strategy & Leadership Institute (ASLI) เป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร ที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการเสริมสร้างภาวะ
ผู้นำและการคิดเชิงยุทธศาสตร์ โดยเน้นการสร้างความร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ และองค์ความรู้ระหว่างภาคส่วนต่างๆ นอกจากนี้
ASLI ยังมีผลงานในเรื่องการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นำ จัดทำสิ่งพิมพ์เผยแพร่ และจัดประชุมทั้งในระดับประเทศและนานาประเทศ
หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุนตาม Basel II ประกอบด้วย หลักการที่ 1 การดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำ (Pillar 1: Miinimum Capital Requirement) หลักการที่ 2 การกำกับดูแลโดยทางการ (Pillar 2 : Supervisory Review Process) หลักการที่ 3 การใช้กลไกตลาดในการกำกับดูแล (Pillar 3 : Market Dicipline)
หลักการที่ 1 การดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำ Basel II กำหนดให้ สง. จะต้องดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำเพื่อรองรับความเสี่ยง 3 ประเภทได้แก่ ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) ความเสี่ยงด้านตลาด (Market Risk) และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operation Risk) ซึ่งในการสัมมนานี้ได้เน้นเฉพาะความเสี่ยงด้านเครดิตและด้านปฏิบัติการ
ความเสี่ยงด้านเครดิตสามารถ วัดได้ใน 4 มิติ ได้แก่ ค่าความน่าจะเป็นในการผิดนัดชำระหนี้ (Probability of Default) ค่าความสูญเสียที่เกิดจากการผิดนัดชำระหนี้ (Loss Given Default) ยอดหนี้คงค้างที่ผิดนัดชำระ (Expected exposure on Default) และระยะเวลาครบกำหนดของหนี้ (Impact on Maturity) ซึ่งวิธีประเมินความเสี่ยงด้านเครดิต มี 2 วิธี ได้แก่ Standardised Approach : SA ซึ่งหน่วยงานกำกับดูแลเป็นผู้กำหนดน้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละรายการ แยกตามประเภทและคุณภาพของสินทรัพย์ตามการจัดอันดับของสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก และ Internal Rating- Based Approach : IRB เป็นการจัดอันดับความเสี่ยงภายใน สง. เอง ซึ่งยังแบ่งย่อยได้เป็น Foundation IRB และ Advanced IRB ซึ่ง สง. จะใช้วิธี IRB ได้จะต้องผ่านเกณฑ์การวัดความเสี่ยงมาตรฐานขั้นต่ำที่หน่วยงานกำกับดูแลเป็นผู้กำหนด
ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการประกอบด้วย ความเสี่ยงอันเกิดจากบุคคล กระบวนการ ระบบ และ ปัจจัยภายนอก สง. จะต้องสร้างระบบ เครื่องมือ และกระบวนการในการวัดระดับความเสี่ยง ควบคุมความเสี่ยง และลดระดับความเสี่ยง ตลอดจนจะต้องมีการรายงานความเสียหายอย่างโปร่งใส Basel II กำหนดระดับของการป้องกันความเสี่ยงเป็น 3 ระดับ (Three lines of Defense) ได้แก่ ระดับหน่วยธุรกิจ (Business Unit) ระดับคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Operation Risk Committee) และระดับหน่วยควบคุมภายใน (Internal Audit) ซึ่ง สง. จะต้องกำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละระดับไว้ให้ชัดเจน ซึ่งในการเลือกวิธีประเมินความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ 6 ด้านดังนี้ วัตถุประสงค์ของผู้บริหาร กรอบนโยบายในการบริหารจัดการความเสี่ยง ความสามารถของบุคลากร ความเพียงพอของข้อมูล ระบบงานสนับสนุน และความร่วมมือภายในหน่วยงาน
2) การปฏิบัติตามเกณฑ์ของ Basel II และผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
Basel II จะช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการความเสี่ยงของ สง. โดย สง. จะต้องพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยง วิธีการประเมินความเสี่ยง สร้างระบบฐานข้อมูลลูกค้า และพัฒนาทักษะความรู้ของบุคลากร ทำให้ สง. มีความแข็งแกร่งขึ้น ส่งผลต่อเสถียรภาพของระบบธนาคารทั้งในระดับประเทศและในระดับภูมิภาค โดยใช้ระดับของการดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่เป้าหมาย
ระดับของการดำรงเงินกองทุนของจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ขึ้นอยู่กับประเภทและคุณภาพของสินทรัพย์ที่ถือครอง รวมถึงวิธีการที่จะใช้ประเมินความเสี่ยง ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ (Hybrid Capital Instrument) เกิดขึ้นมาก ซึ่งมักจะมีระดับความเสี่ยงสูงกว่าสินทรัพย์ทางการเงินทั่วไป จึงต้องมีหลักเกณฑ์ในการประเมินผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอย่างรัดกุม สง.ที่มีสินทรัพย์ที่มีระดับความเสี่ยงต่ำเป็นส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะใช้วิธีประเมินในระดับ advanced (IRB) เพราะจะสามารถลดระดับของเงินกองทุนขั้นต่ำลงได้ ในขณะที่
สง. ที่มีสินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์ที่มีระดับความเสี่ยงสูงมักจะใช้วิธีประเมินแบบมาตรฐาน (SA) นอกจากนี้การกระจายการถือครองสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่างๆ กันให้เหมาะสมจะช่วยลดระดับการดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำได้เช่นกัน
ธนาคารขนาดใหญ่ซึ่งมีความสามารถในการบริหารความเสี่ยงได้ดีกว่า จะมีความได้เปรียบในการแข่งขันสามารถเสนออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำกว่าเพื่อจูงใจลูกค้ารายใหญ่ จึงเปิดโอกาสให้ธนาคารขนาดเล็กเข้ามาให้บริการแก่ธุรกิจขนาดเล็กได้มากขึ้น
Basel II เน้นให้ สง. มีการประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้รู้สถานะของตนเองและบริหารด้วยความระมัดระวัง อีกทั้งเน้นให้มีการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ
การออกแบบโครงสร้างหน่วยงานบริหารความเสี่ยงจะขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะขององค์กรและบุคลากรในองค์กร ซึ่งคณะกรรมการของ สง. จะเป็นผู้กำหนดกรอบนโยบาย วางกลยุทธ พัฒนาระบบ และพิจารณาว่าโครงสร้างของการบริหารความเสี่ยงควรมีลักษณะ Centralised หรือ Decentralised แนวนโยบายการบริหารความเสี่ยงทางด้านเครดิตและด้านปฏิบัติการที่กำหนดขึ้นอย่างเป็นระบบ จะช่วยให้การบริหารความเสี่ยงมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะช่วยสร้างความสมดุลระหว่างความเสี่ยงและผลกำไรจากลูกค้าแต่ละราย ช่วยกำหนดทิศทางการบริหาร ทำให้การตัดสินใจของผู้บริหารเป็นไปอย่างเที่ยงตรงและช่วยลดค่าใช้จ่ายด้าน
ปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังสามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของตลาดและความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
หน่วยควบคุมภายในขององค์กรจะต้องมีความเข้าใจในกระบวนการบริหารความเสี่ยง มีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการดำเนินธุรกิจ ช่วยสร้างความมั่นใจในการจัดการความเสี่ยงให้กับฝ่ายบริหาร และสามารถเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมในการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง
สถาบันจัดอันดับ บริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน ผู้ผลิต software และบริษัทตรวจสอบบัญชีภายนอกจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ในระดับองค์กรงานด้านบริหารความเสี่ยงรวมถึงงานด้านการบริหารจัดการจะมีความสำคัญมากขึ้นเทียบเท่ากับงานด้านการตลาด
จากการสำรวจ สง. จำนวน 294 แห่ง ใน 38 ประเทศ พบว่า สง. มากกว่าร้อยละ 90 ได้มีการเตรียมตัวเพื่อรองรับ Basel II และร้อยละ 50 อยู่ในขั้นตอนของการศึกษาเบื้องต้น และ สง. ที่เริ่มดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านเครดิต มีน้อยกว่าร้อยละ 20 และ สง. ที่ประเมินความเสี่ยงด้านปฏิบัติการมีไม่ถึงร้อยละ 10 และอีกร้อยละ 10 อยู่ระหว่างดำเนินการทดสอบระบบ
3) ความท้าทายและปัญหาอุปสรรค
อุปสรรคที่นานาประเทศเห็นร่วมกัน คือ ต้นทุนการดำเนินการที่สูงขึ้น ยังไม่มีการจัดเก็บข้อมูลต่อเนื่อง (Time Series) ที่จะใช้ประเมินความเสี่ยงของลูกค้า ระบบ IT และขีดความสามารถของบุคลากรใน สง. ยังมีจำกัด
ในการปฏิบัติตาม Basel II จะมีต้นทุนในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น โดยธนาคารที่ดำเนินธุรกิจในประเทศเป็นส่วนใหญ่ (Local Bank) จะต้องลงทุนประมาณร้อยละ 7-10 ของงบประมาณด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในช่วง 4-6 ปี ในขณะที่ธนาคารในระดับภูมิภาค (Regional Bank) และธนาคารระหว่างประเทศ (Global Bank) จะต้องลงทุนประมาณร้อยละ 6-8 และร้อยละ 4.5 - 6.5 ใน 3-4 ปี ตามลำดับ
Basel II ต้องการความมีมาตรฐานในการการวัดระดับความเสี่ยง ซึ่งสถาบันจัดอันดับเครดิตในประเทศและระดับนานาชาติยังมีเกณฑ์ในการจัดอันดับที่แตกต่างกัน
ในปัจจุบันคณะกรรมการส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจไม่เพียงพอในเรื่องความเสี่ยงขององค์กร และไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับดูแลการทำงานของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่มากนัก Basel II จะทำให้ผู้บริหารองค์กรมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดมากขึ้น
ข้อสังเกตและ Implication สำหรับประเทศไทย
เมื่อต้นปี พ.ศ. 2548 ธปท. ได้ส่งร่างหลักเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำสำหรับความเสี่ยงด้านเครดิตและความเสี่ยงด้านปฏิบัติการให้ สง. พิจารณาให้ความเห็น เพื่อจะได้นำข้อคิดเห็นจาก สง. มาปรับปรุงร่างหลักเกณฑ์ฯ และในเดือน มิ.ย. 2549 กำหนดให้ สง. ยื่นแผนการปฏิบัติงาน ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2550 สง. ทุกแห่งต้องทดลองคำนวณเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ Basel II พร้อมกับหลักเกณฑ์เดิมควบคู่กัน จากนั้นภายในปี พ.ศ. 2551 ให้ สง. ดำเนินงานตาม Basel II อย่างเต็มรูปแบบ
มาตรฐานเงินกองทุนใหม่จะช่วยสร้างเสถียรภาพให้ระบบการเงินของไทย และจะกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันระหว่าง สง. มากขึ้น เช่น การแข่งขันด้านราคา โดย สง. อาจเสนออัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าให้กับลูกค้ารายใหญ่ที่มีอันดับเครดิตดี เพื่อเพิ่มคุณภาพของ portfolio นอกจากนี้การกำหนดให้ สง. จะต้องประเมินความเสี่ยงด้วยความระมัดระวังจะช่วยลดการปล่อยกู้ที่ไม่สมเหตุผลในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวลงได้
ในการปฏิบัติตาม Basel II จะต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลายด้าน ในส่วนของ สง.จะต้องพัฒนาระบบงาน จัดโครงสร้างองค์กรใหม่ พัฒนาเครื่องมือในการวิเคราะห์ความเสี่ยง รวมถึงพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อม ฯลฯ ซึ่งในการดำเนินดังกล่าวจะทำให้ต้นทุนการดำเนินการของ สง.เพิ่มสูงขึ้น ทั้งต้นทุนในช่วงของการเตรียมการ และต้นทุนการปฏิบัติการ ซึ่งอาจเป็นภาระที่หนักสำหรับ สง. ขนาดเล็ก
นอกจากนี้ทางการจะต้องมีมาตรการต่างๆ เพื่อรองรับ Basel II เช่น สร้างมาตรฐานการจัดอันดับเครดิตระหว่างสถาบันต่างๆ ให้มีความโปร่งใส และมีมาตรฐานเดียวกัน สนับสนุนหรืออำนวยความสะดวกให้กับ สง. ในการเข้าถึงข้อมูลประวัติของบริษัทเอกชน หน่วยงานกำกับดูแลต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมระหว่าง สง.ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ และจะต้องสร้างมาตรฐานในการประเมินหลักประกันเพื่อใช้ลดระดับความเสี่ยงของลูกค้าของ สง.ต่างๆ
ในช่วงที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ไทยได้มีการเตรียมการในบางส่วนแล้ว เช่น พัฒนาระบบการประเมินความเสี่ยง การจัดอันดับเครดิตของลูกค้าในองค์กร การทำแบบจำลองเพื่อประเมินความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาตลาด รวมทั้งการประเมินความเสี่ยงในลักษณะที่สัมพันธ์กับเงินกองทุน และจะได้มีการพัฒนาในเรื่องอื่นๆ ไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นคาดว่า เมื่อถึงเวลาที่ ธปท. กำหนดให้ดำเนินการตาม Basel II อย่างเต็มรูปแบบในปี 2551 สง. ของไทยคงจะมีความพร้อมมากขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
การสัมมนาครั้งนี้มีวิทยากรมาจากหน่วยงานต่างๆ เช่น Asian Bond Market Forum ธนาคารพาณิชย์ บริษัทจัดอันดับเครดิต และบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน ผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่มาจากธนาคารพาณิชย์ในหลาย ประเทศ รูปแบบการสัมมนาเป็นการอภิปรายจากวิทยากร และมีการตอบข้อซักถาม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และ ความคืบหน้าของการดำเนินการในประเทศต่างๆ ทั้งนี้ สาระสำคัญจากการสัมมนาสรุปได้เป็น 3 ส่วนหลัก ดังนี้ 1) หลักการของ Basel II 2) การปฏิบัติตามเกณฑ์ของ Basel II และผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 3) ความท้าทายและ ปัญหาอุปสรรค
สาระสำคัญจากการสัมมนา
1) หลักการของ Basel II
Basel II คือ หลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงิน ที่ BIS ได้ปรับปรุงขึ้นจากหลักปฏิบัติเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ซึ่งจะนำมาใช้กับสถาบันการเงินในประเทศสมาชิกกว่า 130 ประเทศ วัตถุประสงค์ที่ BIS ปรับปรุงหลักเกณฑ์ขึ้นใหม่ เนื่องจากต้องการสร้างเสถียรภาพให้ระบบสถาบันการเงินทั่วโลก โดยกำหนดให้ สง. ดำรงเงินกองทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยง มีระเบียบปฏิบัติ ระบบควบคุมภายในและการเปิดเผยข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และได้มาตรฐาน ทั้งนี้ ได้ริเริ่มการปรับปรุงมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยมีการประชุมระหว่างธนาคารกลางของประเทศสมาชิกเพื่อหาข้อสรุปหลายครั้ง และเมื่อสิ้นเดือน มิ.ย. 2548 ได้มีการลงนามให้ความเห็นชอบต่อหลักเกณฑ์ Basel II จากผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่มประเทศ G-10 ซึ่งคาดว่ากลุ่ม G-10 จะเริ่มปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ในปี 2549 สำหรับประเทศอื่นๆ นั้น BIS ได้ให้แต่ละประเทศพิจารณาตามความเหมาะสมและความพร้อม ในส่วนของประเทศไทย ธปท. กำหนดจะนำ Basel II มาใช้อย่างเต็มรูปแบบในสิ้นปี 2551
1 โดย นภัสชล ชัยจิราภรณ์ ส่วนนโยบายการเงินและตลาดทุน สำนักวางแผนเศรษฐกิจมหภาค
2 Asian Strategy & Leadership Institute (ASLI) เป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร ที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการเสริมสร้างภาวะ
ผู้นำและการคิดเชิงยุทธศาสตร์ โดยเน้นการสร้างความร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ และองค์ความรู้ระหว่างภาคส่วนต่างๆ นอกจากนี้
ASLI ยังมีผลงานในเรื่องการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นำ จัดทำสิ่งพิมพ์เผยแพร่ และจัดประชุมทั้งในระดับประเทศและนานาประเทศ
หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุนตาม Basel II ประกอบด้วย หลักการที่ 1 การดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำ (Pillar 1: Miinimum Capital Requirement) หลักการที่ 2 การกำกับดูแลโดยทางการ (Pillar 2 : Supervisory Review Process) หลักการที่ 3 การใช้กลไกตลาดในการกำกับดูแล (Pillar 3 : Market Dicipline)
หลักการที่ 1 การดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำ Basel II กำหนดให้ สง. จะต้องดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำเพื่อรองรับความเสี่ยง 3 ประเภทได้แก่ ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) ความเสี่ยงด้านตลาด (Market Risk) และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operation Risk) ซึ่งในการสัมมนานี้ได้เน้นเฉพาะความเสี่ยงด้านเครดิตและด้านปฏิบัติการ
ความเสี่ยงด้านเครดิตสามารถ วัดได้ใน 4 มิติ ได้แก่ ค่าความน่าจะเป็นในการผิดนัดชำระหนี้ (Probability of Default) ค่าความสูญเสียที่เกิดจากการผิดนัดชำระหนี้ (Loss Given Default) ยอดหนี้คงค้างที่ผิดนัดชำระ (Expected exposure on Default) และระยะเวลาครบกำหนดของหนี้ (Impact on Maturity) ซึ่งวิธีประเมินความเสี่ยงด้านเครดิต มี 2 วิธี ได้แก่ Standardised Approach : SA ซึ่งหน่วยงานกำกับดูแลเป็นผู้กำหนดน้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละรายการ แยกตามประเภทและคุณภาพของสินทรัพย์ตามการจัดอันดับของสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก และ Internal Rating- Based Approach : IRB เป็นการจัดอันดับความเสี่ยงภายใน สง. เอง ซึ่งยังแบ่งย่อยได้เป็น Foundation IRB และ Advanced IRB ซึ่ง สง. จะใช้วิธี IRB ได้จะต้องผ่านเกณฑ์การวัดความเสี่ยงมาตรฐานขั้นต่ำที่หน่วยงานกำกับดูแลเป็นผู้กำหนด
ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการประกอบด้วย ความเสี่ยงอันเกิดจากบุคคล กระบวนการ ระบบ และ ปัจจัยภายนอก สง. จะต้องสร้างระบบ เครื่องมือ และกระบวนการในการวัดระดับความเสี่ยง ควบคุมความเสี่ยง และลดระดับความเสี่ยง ตลอดจนจะต้องมีการรายงานความเสียหายอย่างโปร่งใส Basel II กำหนดระดับของการป้องกันความเสี่ยงเป็น 3 ระดับ (Three lines of Defense) ได้แก่ ระดับหน่วยธุรกิจ (Business Unit) ระดับคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Operation Risk Committee) และระดับหน่วยควบคุมภายใน (Internal Audit) ซึ่ง สง. จะต้องกำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละระดับไว้ให้ชัดเจน ซึ่งในการเลือกวิธีประเมินความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ 6 ด้านดังนี้ วัตถุประสงค์ของผู้บริหาร กรอบนโยบายในการบริหารจัดการความเสี่ยง ความสามารถของบุคลากร ความเพียงพอของข้อมูล ระบบงานสนับสนุน และความร่วมมือภายในหน่วยงาน
2) การปฏิบัติตามเกณฑ์ของ Basel II และผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
Basel II จะช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการความเสี่ยงของ สง. โดย สง. จะต้องพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยง วิธีการประเมินความเสี่ยง สร้างระบบฐานข้อมูลลูกค้า และพัฒนาทักษะความรู้ของบุคลากร ทำให้ สง. มีความแข็งแกร่งขึ้น ส่งผลต่อเสถียรภาพของระบบธนาคารทั้งในระดับประเทศและในระดับภูมิภาค โดยใช้ระดับของการดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่เป้าหมาย
ระดับของการดำรงเงินกองทุนของจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ขึ้นอยู่กับประเภทและคุณภาพของสินทรัพย์ที่ถือครอง รวมถึงวิธีการที่จะใช้ประเมินความเสี่ยง ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ (Hybrid Capital Instrument) เกิดขึ้นมาก ซึ่งมักจะมีระดับความเสี่ยงสูงกว่าสินทรัพย์ทางการเงินทั่วไป จึงต้องมีหลักเกณฑ์ในการประเมินผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอย่างรัดกุม สง.ที่มีสินทรัพย์ที่มีระดับความเสี่ยงต่ำเป็นส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะใช้วิธีประเมินในระดับ advanced (IRB) เพราะจะสามารถลดระดับของเงินกองทุนขั้นต่ำลงได้ ในขณะที่
สง. ที่มีสินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์ที่มีระดับความเสี่ยงสูงมักจะใช้วิธีประเมินแบบมาตรฐาน (SA) นอกจากนี้การกระจายการถือครองสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่างๆ กันให้เหมาะสมจะช่วยลดระดับการดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำได้เช่นกัน
ธนาคารขนาดใหญ่ซึ่งมีความสามารถในการบริหารความเสี่ยงได้ดีกว่า จะมีความได้เปรียบในการแข่งขันสามารถเสนออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำกว่าเพื่อจูงใจลูกค้ารายใหญ่ จึงเปิดโอกาสให้ธนาคารขนาดเล็กเข้ามาให้บริการแก่ธุรกิจขนาดเล็กได้มากขึ้น
Basel II เน้นให้ สง. มีการประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้รู้สถานะของตนเองและบริหารด้วยความระมัดระวัง อีกทั้งเน้นให้มีการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ
การออกแบบโครงสร้างหน่วยงานบริหารความเสี่ยงจะขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะขององค์กรและบุคลากรในองค์กร ซึ่งคณะกรรมการของ สง. จะเป็นผู้กำหนดกรอบนโยบาย วางกลยุทธ พัฒนาระบบ และพิจารณาว่าโครงสร้างของการบริหารความเสี่ยงควรมีลักษณะ Centralised หรือ Decentralised แนวนโยบายการบริหารความเสี่ยงทางด้านเครดิตและด้านปฏิบัติการที่กำหนดขึ้นอย่างเป็นระบบ จะช่วยให้การบริหารความเสี่ยงมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะช่วยสร้างความสมดุลระหว่างความเสี่ยงและผลกำไรจากลูกค้าแต่ละราย ช่วยกำหนดทิศทางการบริหาร ทำให้การตัดสินใจของผู้บริหารเป็นไปอย่างเที่ยงตรงและช่วยลดค่าใช้จ่ายด้าน
ปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังสามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของตลาดและความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
หน่วยควบคุมภายในขององค์กรจะต้องมีความเข้าใจในกระบวนการบริหารความเสี่ยง มีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการดำเนินธุรกิจ ช่วยสร้างความมั่นใจในการจัดการความเสี่ยงให้กับฝ่ายบริหาร และสามารถเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมในการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง
สถาบันจัดอันดับ บริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน ผู้ผลิต software และบริษัทตรวจสอบบัญชีภายนอกจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ในระดับองค์กรงานด้านบริหารความเสี่ยงรวมถึงงานด้านการบริหารจัดการจะมีความสำคัญมากขึ้นเทียบเท่ากับงานด้านการตลาด
จากการสำรวจ สง. จำนวน 294 แห่ง ใน 38 ประเทศ พบว่า สง. มากกว่าร้อยละ 90 ได้มีการเตรียมตัวเพื่อรองรับ Basel II และร้อยละ 50 อยู่ในขั้นตอนของการศึกษาเบื้องต้น และ สง. ที่เริ่มดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านเครดิต มีน้อยกว่าร้อยละ 20 และ สง. ที่ประเมินความเสี่ยงด้านปฏิบัติการมีไม่ถึงร้อยละ 10 และอีกร้อยละ 10 อยู่ระหว่างดำเนินการทดสอบระบบ
3) ความท้าทายและปัญหาอุปสรรค
อุปสรรคที่นานาประเทศเห็นร่วมกัน คือ ต้นทุนการดำเนินการที่สูงขึ้น ยังไม่มีการจัดเก็บข้อมูลต่อเนื่อง (Time Series) ที่จะใช้ประเมินความเสี่ยงของลูกค้า ระบบ IT และขีดความสามารถของบุคลากรใน สง. ยังมีจำกัด
ในการปฏิบัติตาม Basel II จะมีต้นทุนในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น โดยธนาคารที่ดำเนินธุรกิจในประเทศเป็นส่วนใหญ่ (Local Bank) จะต้องลงทุนประมาณร้อยละ 7-10 ของงบประมาณด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในช่วง 4-6 ปี ในขณะที่ธนาคารในระดับภูมิภาค (Regional Bank) และธนาคารระหว่างประเทศ (Global Bank) จะต้องลงทุนประมาณร้อยละ 6-8 และร้อยละ 4.5 - 6.5 ใน 3-4 ปี ตามลำดับ
Basel II ต้องการความมีมาตรฐานในการการวัดระดับความเสี่ยง ซึ่งสถาบันจัดอันดับเครดิตในประเทศและระดับนานาชาติยังมีเกณฑ์ในการจัดอันดับที่แตกต่างกัน
ในปัจจุบันคณะกรรมการส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจไม่เพียงพอในเรื่องความเสี่ยงขององค์กร และไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับดูแลการทำงานของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่มากนัก Basel II จะทำให้ผู้บริหารองค์กรมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดมากขึ้น
ข้อสังเกตและ Implication สำหรับประเทศไทย
เมื่อต้นปี พ.ศ. 2548 ธปท. ได้ส่งร่างหลักเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำสำหรับความเสี่ยงด้านเครดิตและความเสี่ยงด้านปฏิบัติการให้ สง. พิจารณาให้ความเห็น เพื่อจะได้นำข้อคิดเห็นจาก สง. มาปรับปรุงร่างหลักเกณฑ์ฯ และในเดือน มิ.ย. 2549 กำหนดให้ สง. ยื่นแผนการปฏิบัติงาน ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2550 สง. ทุกแห่งต้องทดลองคำนวณเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ Basel II พร้อมกับหลักเกณฑ์เดิมควบคู่กัน จากนั้นภายในปี พ.ศ. 2551 ให้ สง. ดำเนินงานตาม Basel II อย่างเต็มรูปแบบ
มาตรฐานเงินกองทุนใหม่จะช่วยสร้างเสถียรภาพให้ระบบการเงินของไทย และจะกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันระหว่าง สง. มากขึ้น เช่น การแข่งขันด้านราคา โดย สง. อาจเสนออัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าให้กับลูกค้ารายใหญ่ที่มีอันดับเครดิตดี เพื่อเพิ่มคุณภาพของ portfolio นอกจากนี้การกำหนดให้ สง. จะต้องประเมินความเสี่ยงด้วยความระมัดระวังจะช่วยลดการปล่อยกู้ที่ไม่สมเหตุผลในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวลงได้
ในการปฏิบัติตาม Basel II จะต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลายด้าน ในส่วนของ สง.จะต้องพัฒนาระบบงาน จัดโครงสร้างองค์กรใหม่ พัฒนาเครื่องมือในการวิเคราะห์ความเสี่ยง รวมถึงพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อม ฯลฯ ซึ่งในการดำเนินดังกล่าวจะทำให้ต้นทุนการดำเนินการของ สง.เพิ่มสูงขึ้น ทั้งต้นทุนในช่วงของการเตรียมการ และต้นทุนการปฏิบัติการ ซึ่งอาจเป็นภาระที่หนักสำหรับ สง. ขนาดเล็ก
นอกจากนี้ทางการจะต้องมีมาตรการต่างๆ เพื่อรองรับ Basel II เช่น สร้างมาตรฐานการจัดอันดับเครดิตระหว่างสถาบันต่างๆ ให้มีความโปร่งใส และมีมาตรฐานเดียวกัน สนับสนุนหรืออำนวยความสะดวกให้กับ สง. ในการเข้าถึงข้อมูลประวัติของบริษัทเอกชน หน่วยงานกำกับดูแลต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมระหว่าง สง.ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ และจะต้องสร้างมาตรฐานในการประเมินหลักประกันเพื่อใช้ลดระดับความเสี่ยงของลูกค้าของ สง.ต่างๆ
ในช่วงที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ไทยได้มีการเตรียมการในบางส่วนแล้ว เช่น พัฒนาระบบการประเมินความเสี่ยง การจัดอันดับเครดิตของลูกค้าในองค์กร การทำแบบจำลองเพื่อประเมินความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาตลาด รวมทั้งการประเมินความเสี่ยงในลักษณะที่สัมพันธ์กับเงินกองทุน และจะได้มีการพัฒนาในเรื่องอื่นๆ ไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นคาดว่า เมื่อถึงเวลาที่ ธปท. กำหนดให้ดำเนินการตาม Basel II อย่างเต็มรูปแบบในปี 2551 สง. ของไทยคงจะมีความพร้อมมากขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-