เมื่อ 18 กรกฎาคม 2548 นายกฯ ทักษิณ ได้เห็นชอบแผนการจัดการโครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์เพื่อประหยัดการนำเข้าน้ำมัน ระยะสั้น 6-12 เดือน โดยปรับรูปแบบการขนส่งจากถนนสู่ระบบราง และ/หรือทางน้ำ และเปลี่ยนรูปแบบพลังงานที่ใช้ดีเซลมาเป็นเอ็นจีวี คาดว่าจะสามารถประหยัดการใช้ดีเซลได้ถึง 167 ล้านลิตรต่อเดือน หรือลดการนำเข้าน้ำมันดิบได้ถึงเดือนละ 5,260 ล้านบาท และให้ สศช.เตรียมเสนอ ครม. พิจารณาต่อไป
ดร.อำพน กิตติอำพน เปิดเผยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เห็นชอบในหลักการตามที่ สศช. เสนอแผนการจัดการโครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์เพื่อประหยัดการนำเข้าน้ำมัน ซึ่งเป็นแผนระยะสั้นในช่วง 6-12 เดือน โดยคาดว่าจะสามารถประหยัดการใช้น้ำมันดีเซลได้ประมาณ 167 ล้านลิตรต่อเดือน หรือลดการใช้น้ำมันดิบได้ถึง 2.6 ล้านบาร์เรล คิดเป็นมูลค่าถึง 5,260 ล้านบาท หรือประมาณ 129 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สำหรับกลยุทธ์การประหยัดพลังงาน แบ่งเป็น 2 ด้านคือ หนึ่ง การปรับรูปแบบการขนส่งจากถนนไปเป็นระบบราง หรือการขนส่งทางน้ำที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า และประหยัดต้นทุนพลังงานมากกว่า โดยมีเป้าหมายการปรับรูปแบการขนส่งสินค้าภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันตก จากทางถนนด้วยรถบรรทุกเป็นระบบรางร้อยละ 30 ของการขนส่ง ภาคใต้ ร้อยละ 32.5 และทางน้ำชายฝั่งทะเลร้อยละ 29.5 ส่วนการขนส่งวัสดุก่อสร้าง หิน ดิน ทราย และปูนซีเมนต์ จะปรับไปสู่ระบบรางร้อยละ 5 โดยมีมาตรการเร่งด่วนด้านกายภาพและการบริหารจัดการ ได้แก่ การจัดหารถจักร รถบรรทุกสินค้า การพัฒนาสถานีขนส่งสินค้า การพัฒนาท่าเรือชายฝั่ง การพัฒนาโครงข่ายถนนเชื่อมต่อสถานีรถไฟและท่าเรือ และการปรับปรุงการบริหารจัดการระบบรถไฟและศุลกากร
ดร.อำพน กล่าวต่อไปว่า สำหรับกลยุทธ์ที่สองคือ การเปลี่ยนรูปแบบพลังงานที่ใช้จากน้ำมันดีเซลไปเป็นก๊าซเอ็นจีวี โดยมีเป้าหมายให้ปรับปรุงรถขนส่งผู้โดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) รถร่วมบริการ และบริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.) ไปใช้ก๊าซเอ็นจีวี จำนวนร้อยละ 50 ของรถทั้งหมด (23,726 คัน) และปรับปรุงรถขนส่งสินค้าไปใช้ก๊าซเอ็นจีวี ร้อยละ 10 ของจำนวนรถทั้งหมด (674,657 คัน) รวมทั้งปรับปรุงเรือประมงร้อยละ 50 โดยมีมาตรการที่สำคัญที่ต้องดำเนินการ เช่น การเร่งจัดตั้งสถานีให้บริการเอ็นจีวี และการสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชน
ที่ประชุมยังได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมและกระทรวงพลังงาน พิจารณาความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการดำเนินการตามกลยุทธ์การประหยัดการนำเข้านำมัน และส่งกลับมายัง สศช. เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป นอกจากนี้ ยังมอบหมายให้ สศช. ทำการศึกษาระบบคลัสเตอร์ของกลุ่มสินค้าประเภทต่างๆ และให้กระทรวงพลังงานจัดทีมงานร่วมกับบริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) เร่งมาตรการใช้เอ็นจีวี ภายใน 1 เดือน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ดร.อำพน กิตติอำพน เปิดเผยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เห็นชอบในหลักการตามที่ สศช. เสนอแผนการจัดการโครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์เพื่อประหยัดการนำเข้าน้ำมัน ซึ่งเป็นแผนระยะสั้นในช่วง 6-12 เดือน โดยคาดว่าจะสามารถประหยัดการใช้น้ำมันดีเซลได้ประมาณ 167 ล้านลิตรต่อเดือน หรือลดการใช้น้ำมันดิบได้ถึง 2.6 ล้านบาร์เรล คิดเป็นมูลค่าถึง 5,260 ล้านบาท หรือประมาณ 129 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สำหรับกลยุทธ์การประหยัดพลังงาน แบ่งเป็น 2 ด้านคือ หนึ่ง การปรับรูปแบบการขนส่งจากถนนไปเป็นระบบราง หรือการขนส่งทางน้ำที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า และประหยัดต้นทุนพลังงานมากกว่า โดยมีเป้าหมายการปรับรูปแบการขนส่งสินค้าภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันตก จากทางถนนด้วยรถบรรทุกเป็นระบบรางร้อยละ 30 ของการขนส่ง ภาคใต้ ร้อยละ 32.5 และทางน้ำชายฝั่งทะเลร้อยละ 29.5 ส่วนการขนส่งวัสดุก่อสร้าง หิน ดิน ทราย และปูนซีเมนต์ จะปรับไปสู่ระบบรางร้อยละ 5 โดยมีมาตรการเร่งด่วนด้านกายภาพและการบริหารจัดการ ได้แก่ การจัดหารถจักร รถบรรทุกสินค้า การพัฒนาสถานีขนส่งสินค้า การพัฒนาท่าเรือชายฝั่ง การพัฒนาโครงข่ายถนนเชื่อมต่อสถานีรถไฟและท่าเรือ และการปรับปรุงการบริหารจัดการระบบรถไฟและศุลกากร
ดร.อำพน กล่าวต่อไปว่า สำหรับกลยุทธ์ที่สองคือ การเปลี่ยนรูปแบบพลังงานที่ใช้จากน้ำมันดีเซลไปเป็นก๊าซเอ็นจีวี โดยมีเป้าหมายให้ปรับปรุงรถขนส่งผู้โดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) รถร่วมบริการ และบริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.) ไปใช้ก๊าซเอ็นจีวี จำนวนร้อยละ 50 ของรถทั้งหมด (23,726 คัน) และปรับปรุงรถขนส่งสินค้าไปใช้ก๊าซเอ็นจีวี ร้อยละ 10 ของจำนวนรถทั้งหมด (674,657 คัน) รวมทั้งปรับปรุงเรือประมงร้อยละ 50 โดยมีมาตรการที่สำคัญที่ต้องดำเนินการ เช่น การเร่งจัดตั้งสถานีให้บริการเอ็นจีวี และการสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชน
ที่ประชุมยังได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมและกระทรวงพลังงาน พิจารณาความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการดำเนินการตามกลยุทธ์การประหยัดการนำเข้านำมัน และส่งกลับมายัง สศช. เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป นอกจากนี้ ยังมอบหมายให้ สศช. ทำการศึกษาระบบคลัสเตอร์ของกลุ่มสินค้าประเภทต่างๆ และให้กระทรวงพลังงานจัดทีมงานร่วมกับบริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) เร่งมาตรการใช้เอ็นจีวี ภายใน 1 เดือน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-