แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
กระทรวงสาธารณสุข
จังหวัดนนทบุรี
การท่องเที่ยว
ทีดีอาร์ไอ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน อาทิ กระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ร่วมกับจังหวัดนนทบุรี และประชาชน ตำบลเกาะเกร็ด ได้ทำการศึกษาและวางแผนการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนที่ ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
นายไพโรจน์ สุจินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ตามที่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่ได้เน้นการพัฒนาชนบทและภูมิภาค เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของคนและความเข้มแข็งของชุมชน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนา พร้อมกันนี้ก็ได้ให้ความสำคัญกับการกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปสู่ชนบทประกอบกับนโยบายรัฐบาล ที่กำหนดให้ปี 2541-2542 เป็นช่วงปีอะเมซิ่งไทยแลนด์ ซึ่งการท่องเที่ยวจะเป็นกิจกรรมหนึ่งในการที่จะสนับสนุนเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน
จากแนวความคิดดังกล่าว สศช. จึงได้พิจารณาเลือกพื้นที่ ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นพื้นที่นำร่องเนื่องจากเกาะเกร็ดมีความน่าสนใจหลายประการ กล่าวคือ มีลักษณะเป็นเกาะ มีศิลปวัฒนธรรมมอญที่ยังคงรักษาไว้ มีโบราณสถานที่เก่าแก่ มีการทำศิลปหัตถกรรมด้านเครื่องปั้นดินเผา และอยู่ใกล้กรุงเทพฯ สะดวกต่อการเดินทาง ดังนั้น สศช.จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าไปส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ของตนเอง และพัฒนาทางด้านการท่องเที่ยวให้เป็นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน อันจะเป็นการสร้างงานและกระจายรายได้สู่ชนบท ตลอดจนช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชาวบ้านและชุมชน และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม
สำหรับเป้าหมายของการพัฒนาและส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนที่เกาะเกร็ดนี้มี 2 ประการคือ ประการแรก เพื่อก่อให้เกิดเศรษฐกิจในระดับชุมชน เช่นการส่งเสริมการผลิตสินค้าพื้นบ้านเพื่อขายให้แก่นักท่องเที่ยวอาชีพบริการต่าง ๆ ร้านอาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสมุนไพรและเกษตรธรรมชาติ เป็นต้น ประการที่สอง เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตและอาชีพความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชนต่าง ๆ เช่นในเรื่องของอนามัยสิ่งแวดล้อม การรักษาความสะอาด และการพัฒนาคุณภาพของสินค้าเป็นต้น
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สศช.ได้เริ่มเข้าไปศึกษาสภาพพื้นที่ ความเป็นอยู่และข้อเท็จจริงในพื้นที่ เพื่อนำข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ในการวางแนวทางในการพัฒนาเกาะเกร็ดตั้งแต่เดือนกันยายน 2540 เป็นต้นมา นอกจากนี้ ทาง สศช. ยังได้ร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยจัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจและระดมความคิดเห็น เพื่อให้ทราบถึงความต้องการของประชาชนบนเกาะเกร็ดในการส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยวเกาะเกร็ด เพื่อหาข้อตกลงและแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาในลักษณะที่สอดคล้องกับศักยภาพและความต้องการของชุมชนต่อไป
สำหรับข้อมูลทางด้านกายภาพ เกาะเกร็ดเป็นชุมชนเก่าแก่ที่ก่อตั้งและเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีพื้นที่ประมาณ 2,820 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตร 1,266 ไร่ มีประชากรทั้งสิ้น 6,205 คน ส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายมอญ อาชีพโดยทั่วไปเป็นชาวสวน ช่างปั้นเครื่องดินเผา มีวัฒนธรรมประเพณีที่น่าสนใจ อาทิ ประเพณีตักบาตรทางน้ำ ประเพณีตักบาตรดอกไม้ ประเพณีแห่น้ำหวาน ประเพณีแห่หางหงส์ และประเพณีแห่ข้าวแช่ เป็นต้น รวมทั้งยังมีโบราณสถานเก่าแก่ที่สมควรสนับสนุนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว คือ วัดปรมัยยิกาวาส วัดไผ่ล้อม วัดเสาธงทอง วัดฉิมพลี วัดป่าเลไลยก์ และวัดศาลากุล
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 15 ฉบับที่ 2/กุมภาพันธ์ 2541--
นายไพโรจน์ สุจินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ตามที่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่ได้เน้นการพัฒนาชนบทและภูมิภาค เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของคนและความเข้มแข็งของชุมชน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนา พร้อมกันนี้ก็ได้ให้ความสำคัญกับการกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปสู่ชนบทประกอบกับนโยบายรัฐบาล ที่กำหนดให้ปี 2541-2542 เป็นช่วงปีอะเมซิ่งไทยแลนด์ ซึ่งการท่องเที่ยวจะเป็นกิจกรรมหนึ่งในการที่จะสนับสนุนเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน
จากแนวความคิดดังกล่าว สศช. จึงได้พิจารณาเลือกพื้นที่ ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นพื้นที่นำร่องเนื่องจากเกาะเกร็ดมีความน่าสนใจหลายประการ กล่าวคือ มีลักษณะเป็นเกาะ มีศิลปวัฒนธรรมมอญที่ยังคงรักษาไว้ มีโบราณสถานที่เก่าแก่ มีการทำศิลปหัตถกรรมด้านเครื่องปั้นดินเผา และอยู่ใกล้กรุงเทพฯ สะดวกต่อการเดินทาง ดังนั้น สศช.จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าไปส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ของตนเอง และพัฒนาทางด้านการท่องเที่ยวให้เป็นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน อันจะเป็นการสร้างงานและกระจายรายได้สู่ชนบท ตลอดจนช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชาวบ้านและชุมชน และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม
สำหรับเป้าหมายของการพัฒนาและส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนที่เกาะเกร็ดนี้มี 2 ประการคือ ประการแรก เพื่อก่อให้เกิดเศรษฐกิจในระดับชุมชน เช่นการส่งเสริมการผลิตสินค้าพื้นบ้านเพื่อขายให้แก่นักท่องเที่ยวอาชีพบริการต่าง ๆ ร้านอาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสมุนไพรและเกษตรธรรมชาติ เป็นต้น ประการที่สอง เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตและอาชีพความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชนต่าง ๆ เช่นในเรื่องของอนามัยสิ่งแวดล้อม การรักษาความสะอาด และการพัฒนาคุณภาพของสินค้าเป็นต้น
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สศช.ได้เริ่มเข้าไปศึกษาสภาพพื้นที่ ความเป็นอยู่และข้อเท็จจริงในพื้นที่ เพื่อนำข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ในการวางแนวทางในการพัฒนาเกาะเกร็ดตั้งแต่เดือนกันยายน 2540 เป็นต้นมา นอกจากนี้ ทาง สศช. ยังได้ร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยจัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจและระดมความคิดเห็น เพื่อให้ทราบถึงความต้องการของประชาชนบนเกาะเกร็ดในการส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยวเกาะเกร็ด เพื่อหาข้อตกลงและแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาในลักษณะที่สอดคล้องกับศักยภาพและความต้องการของชุมชนต่อไป
สำหรับข้อมูลทางด้านกายภาพ เกาะเกร็ดเป็นชุมชนเก่าแก่ที่ก่อตั้งและเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีพื้นที่ประมาณ 2,820 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตร 1,266 ไร่ มีประชากรทั้งสิ้น 6,205 คน ส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายมอญ อาชีพโดยทั่วไปเป็นชาวสวน ช่างปั้นเครื่องดินเผา มีวัฒนธรรมประเพณีที่น่าสนใจ อาทิ ประเพณีตักบาตรทางน้ำ ประเพณีตักบาตรดอกไม้ ประเพณีแห่น้ำหวาน ประเพณีแห่หางหงส์ และประเพณีแห่ข้าวแช่ เป็นต้น รวมทั้งยังมีโบราณสถานเก่าแก่ที่สมควรสนับสนุนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว คือ วัดปรมัยยิกาวาส วัดไผ่ล้อม วัดเสาธงทอง วัดฉิมพลี วัดป่าเลไลยก์ และวัดศาลากุล
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 15 ฉบับที่ 2/กุมภาพันธ์ 2541--