เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2548 ดร. อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงข่าวแก่สื่อมวลชนว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กำหนดจัดการประชุมประจำปี 2548 เรื่อง “ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ : 5 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10” ในวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2548 ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์บอลรูม ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี จ. นนทบุรี โดยได้รับเกียรติจากนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมและแสดงปาฐกถาพิเศษ
ลั่นฆ้องจัดทำแผนฯ 10
การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในช่วง 3 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2547) ตลอดจนให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้มีส่วนร่วมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางที่ท้าทายแห่งการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)
ทั้งนี้ การจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 จะจัดทำเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ในระยะยาว ที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนของสังคม การจัดทำยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญหรือผลกระทบสูงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย รวมทั้งให้มีการเพิ่มบทบาทการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาของภาคส่วนต่างๆ ในสังคมที่มิใช่ภาครัฐมากยิ่งขึ้น ตลอดจนมีความสอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
นายกรัฐมนตรีเปิดการประชุมและปาฐกถาพิเศษ
การประชุมภาคเช้า เปิดการประชุมและปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ทศวรรษที่ท้าทายแห่งการพัฒนาประเทศ” โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จากนั้น จะเป็นการนำเสนอและอภิปรายเรื่อง “ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10” โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้แก่ ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ประธานคณะกรรมการอำนวยการธนาคารสมอง นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการ สศช.
ส่วนภาคบ่าย เป็นการประชุมกลุ่มย่อย เพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ “ทิศทางที่ท้าทายแห่งการพัฒนาประเทศ ในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10” แบ่งเป็น 5 กลุ่ม คือ (1) การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาต่อทิศทางการพัฒนาประเทศไทย (2) การสร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน (3) การเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยฐานความรู้ (4) การพัฒนาสังคมเชิงรุก (5) การเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค
ตัวแทนทั่วประเทศร่วมระดมความคิด
ผู้เข้าร่วมประชุมจะเป็นตัวแทนของทุกภาคส่วนในสังคมไทยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั่วประเทศ ประกอบด้วย คณะรัฐมนตรี นักการเมือง สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ องค์กรพัฒนาเอกชน นักธุรกิจ นักวิชาการ ผู้นำชุมชน ผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าหน้าที่ภาครัฐ สื่อมวลชน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป รวมทั้งสิ้น ประมาณ 1,500 คน
ถ่ายทอดสดให้ทั่วประเทศมีส่วนร่วม
สศช. ได้รับความร่วมมือจากกรมประชาสัมพันธ์ถ่ายทอดสดการประชุมในครั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบและเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอทิศทางการพัฒนาประเทศ ได้แก่ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ตั้งแต่เวลา 9.30-11.30 น. และทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย 2 คลื่น ได้แก่ เอฟเอ็ม 92.5 เมกกะเฮิรตซ์ และ เอเอ็ม 891 กิโลเฮิรตซ์ ช่วงเวลา 9.30-12.00 น. นอกจากนี้ สศช. ยังถ่ายทอดสดผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงานฯ ระหว่างเวลา 9.30-12.15 น. อีกด้วย เข้าชมได้ที่ www.nesdb.go.th
เอกสารประกอบการประชุม
ด้านเอกสารประกอบการประชุมมีถึง 8 เล่ม ประกอบด้วย (1) ภาพรวมการพัฒนาประเทศ (2) การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาต่อทิศทางการพัฒนาประเทศไทย (3) การสร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน (4) การเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยฐานความรู้ (5) การพัฒนาสังคมเชิงรุก (6) การเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค (7) รายงานการติดตามประเมินผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ : 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (8) วารสารเศรษฐกิจและสังคม ฉบับ “ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม ก้าวต่อไปของการพัฒนาประเทศ” ผู้สนใจสามารถเข้าดูเอกสารเหล่านี้ได้ทางเว็บไซต์ของ สศช.
ผลการพัฒนาช่วง 3 ปีแรกของแผนฯ 9
การประเมินผลกระทบการพัฒนาประเทศ ในช่วง 3 ปีแรกของแผนฯ 9 โดยใช้ดัชนีชี้วัด 3 ชุด คือ ดัชนีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ดัชนีความอยู่ดีมีสุข และดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่า ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของไทยดีขึ้น โดยมีค่าดัชนีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 71.42 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 73.24 ในปี 2546 และลดลงเหลือร้อยละ 72.46 ในปี 2547 เนื่องมาจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโลกและของภูมิภาคเริ่มชะลอตัวลง ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น การเกิดความไม่สงบในตะวันออกกลาง การแพร่ระบาดของโรคซาร์สและไข้หวัดนก
ส่วน ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยมีมากขึ้น ค่าดัชนีความอยู่ดีมีสุขเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 67.7 ในปี 2544 เป็นร้อยละ 76.6 ในปี 2547 อันเป็นผลมาจากภาวะการมีงานทำที่เพิ่มขึ้น จนเกือบเข้าสู่ระดับการจ้างงานเต็มที่ และการแก้ไขปัญหาความยากจนประสบผลสัมฤทธิ์เกินเป้าหมายของแผนฯ ที่ตั้งไว้ การพัฒนาที่ยั่งยืนในภาพรวมมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีค่าดัชนีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 57.3 ในปี 2542 เป็นร้อยละ 63.6 และ 71.9 ในปี 2544 และ 2547 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจได้รับการแก้ไขจนฟื้นตัวขึ้น มีการเติบโตอย่างมีคุณภาพ เสถียรภาพ มีการกระจายการพัฒนา รวมทั้งการพัฒนาทางด้านสังคมมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม พบว่าในด้านสิ่งแวดล้อมมีระดับการพัฒนาต่ำกว่าด้านเศรษฐกิจและสังคมมาโดยตลอด
ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่สำคัญของแผนฯ 9
ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่สำคัญในช่วง 3 ปีแรกของแผนฯ 9 พบว่า การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศมีมากขึ้น โดย IMD (Insitute for Management Development) และ WEF (World Economic Forum) พบว่า ประเทศไทยสามารถยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้มาอยู่ในระดับปานกลางในบรรดากลุ่มประเทศที่มีพลวัตด้านการแข่งขันสูงได้
การแก้ปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ โดยอัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 3.2 ในปี 2544 เหลือเพียงร้อยละ 2 ในปี 2547 คนยากจนลดลงจาก 12.8 ล้านคนในปี 2543 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.1 ของประชากรทั้งประเทศ เหลือเพียง 7.5 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12 ของประชากรทั้งประเทศในปี 2547 ซึ่งบรรลุเป้าหมายของแผนฯ 9 ที่กำหนดให้สัดส่วนคนยากจนลดลงเหลือไม่เกินร้อยละ 12 ของประชากรในปี 2549
การพัฒนาทุนทางสังคมมีทิศทางปรับตัวดีขึ้น เพราะนโยบายรัฐบาลจริงจังกับการแก้ปัญหาโดยเฉพาะการปราบปรามยาเสพติด และการแก้ปัญหาความยากจน อย่างไรก็ตามสังคมไทยต้องเผชิญกับความรุนแรงยิ่งขึ้นในเรื่อง พฤติกรรมบริโภคนิยม การเลียนแบบต่างประเทศ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขณะที่สถาบันครอบครัวอ่อนแอลง ซึ่งเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการในการนำทุนทางสังคมที่มีอยู่มาพัฒนา และปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไป
การพัฒนาที่ยั่งยืนยังขาดความสมดุลของการพัฒนาในแต่ละมิติ โดยเฉพาะทางด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อเป็นทุนสำรองและฐานการพัฒนาให้แก่คนรุ่นอนาคต ยังไม่มีการบริหารจัดการที่จะสร้างความเชื่อมั่นว่าจะนำไปสู่ความยั่งยืนได้ ยังมีการใช้ทรัพยากรและพลังงานในการผลิต การขนส่ง และการดำรงชีพอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่คุณภาพสิ่งแวดล้อมก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐาน
การบริหารจัดการที่ดี ในภาพรวมยังมีปัญหาความโปร่งใสและการขาดคุณธรรมของการบริหารจัดการ อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการการใช้จ่ายภาครัฐมีความคุ้มค่ามากขึ้น และมีการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการพัฒนาเพิ่มขึ้น
การพัฒนาภาค พบว่า เศรษฐกิจของทุกภาคขยายตัวดีอย่างมีเสถียรภาพและต่อเนื่อง อัตราว่างงานลดลงอยู่ในภาวะปกติ หรือเข้าสู่ระดับการจ้างงานเต็มที่ มีการกระจายรายได้ที่ดีขึ้น และคนไทยในทุกภูมิภาคมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่ยังต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพ จากพฤติกรรมใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ปัญหาความเปราะบางจากการหย่าร้าง และปัญหาทางด้านทรัพยากรและคุณภาพสิ่งแวดล้อมยังต้องได้รับการแก้ไขปรับปรุง
เลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า การประชุมครั้งนี้จะช่วยให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้รับทราบสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่วัดด้วยตัวชี้วัดที่ชัดเจน และมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่ง สศช. จะได้นำความคิดเห็นไปเป็นแนวทางในการจัดทำกรอบทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ให้มีประสิทธิภาพสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วนในสังคมไทยต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ลั่นฆ้องจัดทำแผนฯ 10
การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในช่วง 3 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2547) ตลอดจนให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้มีส่วนร่วมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางที่ท้าทายแห่งการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)
ทั้งนี้ การจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 จะจัดทำเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ในระยะยาว ที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนของสังคม การจัดทำยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญหรือผลกระทบสูงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย รวมทั้งให้มีการเพิ่มบทบาทการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาของภาคส่วนต่างๆ ในสังคมที่มิใช่ภาครัฐมากยิ่งขึ้น ตลอดจนมีความสอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
นายกรัฐมนตรีเปิดการประชุมและปาฐกถาพิเศษ
การประชุมภาคเช้า เปิดการประชุมและปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ทศวรรษที่ท้าทายแห่งการพัฒนาประเทศ” โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จากนั้น จะเป็นการนำเสนอและอภิปรายเรื่อง “ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10” โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้แก่ ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ประธานคณะกรรมการอำนวยการธนาคารสมอง นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการ สศช.
ส่วนภาคบ่าย เป็นการประชุมกลุ่มย่อย เพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ “ทิศทางที่ท้าทายแห่งการพัฒนาประเทศ ในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10” แบ่งเป็น 5 กลุ่ม คือ (1) การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาต่อทิศทางการพัฒนาประเทศไทย (2) การสร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน (3) การเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยฐานความรู้ (4) การพัฒนาสังคมเชิงรุก (5) การเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค
ตัวแทนทั่วประเทศร่วมระดมความคิด
ผู้เข้าร่วมประชุมจะเป็นตัวแทนของทุกภาคส่วนในสังคมไทยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั่วประเทศ ประกอบด้วย คณะรัฐมนตรี นักการเมือง สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ องค์กรพัฒนาเอกชน นักธุรกิจ นักวิชาการ ผู้นำชุมชน ผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าหน้าที่ภาครัฐ สื่อมวลชน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป รวมทั้งสิ้น ประมาณ 1,500 คน
ถ่ายทอดสดให้ทั่วประเทศมีส่วนร่วม
สศช. ได้รับความร่วมมือจากกรมประชาสัมพันธ์ถ่ายทอดสดการประชุมในครั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบและเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอทิศทางการพัฒนาประเทศ ได้แก่ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ตั้งแต่เวลา 9.30-11.30 น. และทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย 2 คลื่น ได้แก่ เอฟเอ็ม 92.5 เมกกะเฮิรตซ์ และ เอเอ็ม 891 กิโลเฮิรตซ์ ช่วงเวลา 9.30-12.00 น. นอกจากนี้ สศช. ยังถ่ายทอดสดผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงานฯ ระหว่างเวลา 9.30-12.15 น. อีกด้วย เข้าชมได้ที่ www.nesdb.go.th
เอกสารประกอบการประชุม
ด้านเอกสารประกอบการประชุมมีถึง 8 เล่ม ประกอบด้วย (1) ภาพรวมการพัฒนาประเทศ (2) การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาต่อทิศทางการพัฒนาประเทศไทย (3) การสร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน (4) การเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยฐานความรู้ (5) การพัฒนาสังคมเชิงรุก (6) การเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค (7) รายงานการติดตามประเมินผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ : 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (8) วารสารเศรษฐกิจและสังคม ฉบับ “ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม ก้าวต่อไปของการพัฒนาประเทศ” ผู้สนใจสามารถเข้าดูเอกสารเหล่านี้ได้ทางเว็บไซต์ของ สศช.
ผลการพัฒนาช่วง 3 ปีแรกของแผนฯ 9
การประเมินผลกระทบการพัฒนาประเทศ ในช่วง 3 ปีแรกของแผนฯ 9 โดยใช้ดัชนีชี้วัด 3 ชุด คือ ดัชนีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ดัชนีความอยู่ดีมีสุข และดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่า ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของไทยดีขึ้น โดยมีค่าดัชนีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 71.42 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 73.24 ในปี 2546 และลดลงเหลือร้อยละ 72.46 ในปี 2547 เนื่องมาจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโลกและของภูมิภาคเริ่มชะลอตัวลง ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น การเกิดความไม่สงบในตะวันออกกลาง การแพร่ระบาดของโรคซาร์สและไข้หวัดนก
ส่วน ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยมีมากขึ้น ค่าดัชนีความอยู่ดีมีสุขเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 67.7 ในปี 2544 เป็นร้อยละ 76.6 ในปี 2547 อันเป็นผลมาจากภาวะการมีงานทำที่เพิ่มขึ้น จนเกือบเข้าสู่ระดับการจ้างงานเต็มที่ และการแก้ไขปัญหาความยากจนประสบผลสัมฤทธิ์เกินเป้าหมายของแผนฯ ที่ตั้งไว้ การพัฒนาที่ยั่งยืนในภาพรวมมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีค่าดัชนีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 57.3 ในปี 2542 เป็นร้อยละ 63.6 และ 71.9 ในปี 2544 และ 2547 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจได้รับการแก้ไขจนฟื้นตัวขึ้น มีการเติบโตอย่างมีคุณภาพ เสถียรภาพ มีการกระจายการพัฒนา รวมทั้งการพัฒนาทางด้านสังคมมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม พบว่าในด้านสิ่งแวดล้อมมีระดับการพัฒนาต่ำกว่าด้านเศรษฐกิจและสังคมมาโดยตลอด
ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่สำคัญของแผนฯ 9
ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่สำคัญในช่วง 3 ปีแรกของแผนฯ 9 พบว่า การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศมีมากขึ้น โดย IMD (Insitute for Management Development) และ WEF (World Economic Forum) พบว่า ประเทศไทยสามารถยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้มาอยู่ในระดับปานกลางในบรรดากลุ่มประเทศที่มีพลวัตด้านการแข่งขันสูงได้
การแก้ปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ โดยอัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 3.2 ในปี 2544 เหลือเพียงร้อยละ 2 ในปี 2547 คนยากจนลดลงจาก 12.8 ล้านคนในปี 2543 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.1 ของประชากรทั้งประเทศ เหลือเพียง 7.5 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12 ของประชากรทั้งประเทศในปี 2547 ซึ่งบรรลุเป้าหมายของแผนฯ 9 ที่กำหนดให้สัดส่วนคนยากจนลดลงเหลือไม่เกินร้อยละ 12 ของประชากรในปี 2549
การพัฒนาทุนทางสังคมมีทิศทางปรับตัวดีขึ้น เพราะนโยบายรัฐบาลจริงจังกับการแก้ปัญหาโดยเฉพาะการปราบปรามยาเสพติด และการแก้ปัญหาความยากจน อย่างไรก็ตามสังคมไทยต้องเผชิญกับความรุนแรงยิ่งขึ้นในเรื่อง พฤติกรรมบริโภคนิยม การเลียนแบบต่างประเทศ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขณะที่สถาบันครอบครัวอ่อนแอลง ซึ่งเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการในการนำทุนทางสังคมที่มีอยู่มาพัฒนา และปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไป
การพัฒนาที่ยั่งยืนยังขาดความสมดุลของการพัฒนาในแต่ละมิติ โดยเฉพาะทางด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อเป็นทุนสำรองและฐานการพัฒนาให้แก่คนรุ่นอนาคต ยังไม่มีการบริหารจัดการที่จะสร้างความเชื่อมั่นว่าจะนำไปสู่ความยั่งยืนได้ ยังมีการใช้ทรัพยากรและพลังงานในการผลิต การขนส่ง และการดำรงชีพอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่คุณภาพสิ่งแวดล้อมก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐาน
การบริหารจัดการที่ดี ในภาพรวมยังมีปัญหาความโปร่งใสและการขาดคุณธรรมของการบริหารจัดการ อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการการใช้จ่ายภาครัฐมีความคุ้มค่ามากขึ้น และมีการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการพัฒนาเพิ่มขึ้น
การพัฒนาภาค พบว่า เศรษฐกิจของทุกภาคขยายตัวดีอย่างมีเสถียรภาพและต่อเนื่อง อัตราว่างงานลดลงอยู่ในภาวะปกติ หรือเข้าสู่ระดับการจ้างงานเต็มที่ มีการกระจายรายได้ที่ดีขึ้น และคนไทยในทุกภูมิภาคมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่ยังต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพ จากพฤติกรรมใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ปัญหาความเปราะบางจากการหย่าร้าง และปัญหาทางด้านทรัพยากรและคุณภาพสิ่งแวดล้อมยังต้องได้รับการแก้ไขปรับปรุง
เลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า การประชุมครั้งนี้จะช่วยให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้รับทราบสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่วัดด้วยตัวชี้วัดที่ชัดเจน และมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่ง สศช. จะได้นำความคิดเห็นไปเป็นแนวทางในการจัดทำกรอบทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ให้มีประสิทธิภาพสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วนในสังคมไทยต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-