ในระหว่างวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2539 ณ โรงแรมรอยัลการ์เด้น วิลเลจ ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ได้มีการประชุมของคณะอนุกรรมการประมวลและยกร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานในที่ประชุม ทั้งนี้สืบเนื่องจากคณะอนุกรรมการจัดทำรายละเอียดของแผนฯ 8 ทั้ง 3 ด้าน คือ การพัฒนาคนและสังคม การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจของประเทศไทย และการพัฒนาชนบท ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการประมวลและยกร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นประธานอนุกรรมการฯ เพื่อนำสาระรายละเอียดของการพัฒนาทั้ง 3 ด้าน ดังกล่าวมาประมวลและยกร่าง เข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ฉบับสมบูรณ์ ทั้งนี้โดยได้คำนึงถึงแนวทางการพัฒนาในแต่ละด้านให้มีการประสานสอดคล้องกัน
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ในฐานะประธานอนุกรรมการประมวลและยกร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8ได้เปิดเผยว่าในการประชุมคณะอนุกรรมการประมวลและยกร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ครั้งนี้ ที่ประชุมเห็นว่า เนื่องจาก ในปี พ.ศ.2539 เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองราชย์เป็นปีที่ 50 จึงได้ถือโอกาสนี้เป็นมหามงคล สำหรับการพัฒนาประเทศด้วยการกล่าวเทิดพระเกียรติพระองค์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจที่ทรงพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ไว้ในบทนำของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
สำหรับการกำหนดเป้าหมายและแนวทางในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ซึ่งประกอบด้วยการพัฒนาศักยภาพของคนไทยการพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคนการเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาของภูมิภาคและชนบทเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของประชาชนอย่างทั่วถึง การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคนและคุณภาพชีวิตการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาประชารัฐ และการบริหารจัดการเพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัตินั้น คณะอนุกรรมการฯ ได้พิจารณากำหนดให้การพัฒนาทุกด้านมีเป้าหมายที่มุ่งไปสู่การพัฒนาคนในลักษณะที่เกิดการประสานเชื่อมโยงกัน โดยในส่วมมาตรการต่าง ๆและรายละเอียดของเป้าหมายต่าง ๆ จะได้พิจารณานำไปบรรจุไว้ในท้ายภาคผนวกของแผนฯสำหรับรายละเอียดส่วนที่ไม่มีปรากฏอยู่ในแผนฯ 8 ฉบับสมบูรณ์ ได้พิจารณาให้ปรากฏอยู่ในเอกสารรายละเอียดของแผนพัฒนา ทั้ง 3 ด้านของแผนฯ 8 ที่จัดทำโดยคณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 3 คณะ
ดร.สุเมธ เปิดเผยว่า ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 นอกจากจะมีส่วนที่ว่าด้วยการบริหารจัดการเพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายของแผนฯ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของแผนฯ 8 นั้น คณะอนุกรรมการฯ ยังได้พิจารณาบรรจุแนวทางการบริหารจัดการสำหรับการพัฒนาในแต่ละด้านด้วย เช่น การบริหารจัดการนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวม การบริหารจัดการด้านบริการโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น
"นอกจากนี้ ภายหลังจากที่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คณะอนุกรรมการฯ ยังเห็นควรให้ สศช.นำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ฉบับสมบูรณ์ที่เป็นทางการไปแปลงเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ และจัดพิมพ์เผยแพร่เป็นรูปเล่มที่น่าสนใจ เช่น มีรูปภาพประกอบ เพื่อให้เป็นฉบับสำหรับประชาชน ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้กลุ่มประชาชนโดยทั่วไปได้เกิดความเข้าใจด้านการพัฒนาประเทศ และทราบถึงบทบาทหน้าที่ของตนในการเข้ามามีส่วนร่วม และการรับประโยชน์จากผลการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ด้วย" ดร.สุเมธ ได้กล่าวในตอนท้าย
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 / มีนาคม 2539--
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ในฐานะประธานอนุกรรมการประมวลและยกร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8ได้เปิดเผยว่าในการประชุมคณะอนุกรรมการประมวลและยกร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ครั้งนี้ ที่ประชุมเห็นว่า เนื่องจาก ในปี พ.ศ.2539 เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองราชย์เป็นปีที่ 50 จึงได้ถือโอกาสนี้เป็นมหามงคล สำหรับการพัฒนาประเทศด้วยการกล่าวเทิดพระเกียรติพระองค์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจที่ทรงพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ไว้ในบทนำของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
สำหรับการกำหนดเป้าหมายและแนวทางในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ซึ่งประกอบด้วยการพัฒนาศักยภาพของคนไทยการพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคนการเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาของภูมิภาคและชนบทเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของประชาชนอย่างทั่วถึง การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคนและคุณภาพชีวิตการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาประชารัฐ และการบริหารจัดการเพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัตินั้น คณะอนุกรรมการฯ ได้พิจารณากำหนดให้การพัฒนาทุกด้านมีเป้าหมายที่มุ่งไปสู่การพัฒนาคนในลักษณะที่เกิดการประสานเชื่อมโยงกัน โดยในส่วมมาตรการต่าง ๆและรายละเอียดของเป้าหมายต่าง ๆ จะได้พิจารณานำไปบรรจุไว้ในท้ายภาคผนวกของแผนฯสำหรับรายละเอียดส่วนที่ไม่มีปรากฏอยู่ในแผนฯ 8 ฉบับสมบูรณ์ ได้พิจารณาให้ปรากฏอยู่ในเอกสารรายละเอียดของแผนพัฒนา ทั้ง 3 ด้านของแผนฯ 8 ที่จัดทำโดยคณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 3 คณะ
ดร.สุเมธ เปิดเผยว่า ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 นอกจากจะมีส่วนที่ว่าด้วยการบริหารจัดการเพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายของแผนฯ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของแผนฯ 8 นั้น คณะอนุกรรมการฯ ยังได้พิจารณาบรรจุแนวทางการบริหารจัดการสำหรับการพัฒนาในแต่ละด้านด้วย เช่น การบริหารจัดการนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวม การบริหารจัดการด้านบริการโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น
"นอกจากนี้ ภายหลังจากที่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คณะอนุกรรมการฯ ยังเห็นควรให้ สศช.นำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ฉบับสมบูรณ์ที่เป็นทางการไปแปลงเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ และจัดพิมพ์เผยแพร่เป็นรูปเล่มที่น่าสนใจ เช่น มีรูปภาพประกอบ เพื่อให้เป็นฉบับสำหรับประชาชน ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้กลุ่มประชาชนโดยทั่วไปได้เกิดความเข้าใจด้านการพัฒนาประเทศ และทราบถึงบทบาทหน้าที่ของตนในการเข้ามามีส่วนร่วม และการรับประโยชน์จากผลการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ด้วย" ดร.สุเมธ ได้กล่าวในตอนท้าย
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 / มีนาคม 2539--