สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2539 สรุปได้ว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวในอัตราชะลอลง โดยเฉพาะการส่งออกชะลอตัวลงมากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้คาดว่าในปี 2539 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเพียงร้อยละ 6.8 เครื่องชี้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ได้แก่ เงินเฟ้ออยู่ในอัตราร้อยละ 5.9 และดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลคิดเป็นร้อยละ 8.3 ของผลผลิตรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 8.2 ของปีที่แล้ว สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2540 นั้น คาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในอัตราร้อยละ 7.1 เนื่องจากคาดว่าการส่งออกและการลงทุนจะฟื้นตัวดีขึ้น ส่วนประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญมี 2 เรื่อง ได้แก่ การส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการปรับโครงสร้างการผลิตให้เข้มแข็ง
1. การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2538
เศรษฐกิจไทยขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องติดต่อกันมาเป็นเวลา 3 ปี ในอัตราร้อยละ 8.3, 8.7 และ 8.6 ในปี 2536, 2537 และ 2538 ตามลำดับ โดยที่เครื่องชี้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจหลายประการยังคงแสดงถึงความมั่นคง เช่น ฐานะการคลังของรัฐบาลเกินดุลอย่างต่อเนื่อง ภาระหนี้ต่างประเทศภาครัฐอยู่ในระดับต่ำ ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศอยู่ในระดับมากกว่า 6 เดือนของมูลค่าการนำเข้า และค่าเงินบาทยังมีเสถียรภาพ อย่างไรก็ดีอัตราเงินเฟ้อได้เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 3.3 ในปี 2536 เป็นร้อยละ 5.8 ในปี 2538 และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลคิดเป็นร้อยละ 5.1 ของผลผลิตรวม เป็นร้อยละ 8.2 ในช่วงเวลาเดียวกัน ดังนั้นการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2538 ซึ่งมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจในปี 2539 จึงมุ่งเน้นชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเอื้ออำนวยต่อการลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินนโยบายทางการเงินค่อนข้างเข้มงวดตั้งแต่ปี 2538 ต่อเนื่องถึงปี 2539
2. เศรษฐกิจไทยในปี 2539 : ขยายตัวชะลอลง เงินเฟ้อและดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
เศรษฐกิจไทยในปี 2539 ขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปี 2538 เนื่องจากการชะลอตัวของการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคของประชาชน การลงทุนภาคเอกชน การผลิตในสาขาอุตสาหกรรม และการส่งออก ซึ่งเป็นไปในทิศทางที่สนองตอบนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่ต้องการลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามได้มีผลกระทบจากปัจจัยที่ไม่ได้คาดหมาย คือ การส่งออกได้ลดลงมาก และส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ จนทำให้ระบบเศรษฐกิจชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม ดังนั้นจึงคาดได้ว่าเศรษฐกิจไทยตลอดทั้งปี 2539 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 6.8 ต่ำกว่าร้อยละ 8.6 ในปีที่แล้ว
การดำเนินนโยบายการเงินทั้งอัตราดอกเบี้ยและการจำกัดสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ ได้เริ่มผ่อนคลายลงตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2539 ในช่วงเดียวกันนี้ปัญหาเสถียรภาพทางด้านเงินเฟ้อได้บรรเทาลงโดยลำดับ ดังจะเห็นได้จากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในอัตราสูงเฉลี่ยร้อยละ 7.4 ในไตรมาสแรกมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน อัตราเงินเฟ้อทั้งปี 2539 ลดลงเหลือเฉลี่ยร้อยละ 5.9
การผลิต ส่วนใหญ่ชะลอตัวลง โดยสาขาอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7.8 เทียบกับร้อยละ 11.0 ในปีที่แล้ว เนื่องจากความต้องการสินค้าเพื่อส่งออกและบริโภคภายในประเทศชะลอตัวลง การก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 5.0 เทียบกับร้อยละ 10.7 เนื่องจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในสาขาบริการและอื่น ๆ ซึ่งประกอบด้วยสาธารณูปโภค พาณิชยกรรม ธนาคาร และบริการอื่น ๆ ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจส่วนรวม ส่งผลให้มีการขยายตัวร้อยละ 6.9 เทียบกับร้อยละ 8.2 ในปี 2538 การผลิตในสาขาเกษตรกรรมเป็นสาขาเดียวที่มีการขยายตัวในปี 2539 มากกว่าปีที่แล้ว โดยขยายตัวร้อยละ 3.6 เทียบกับร้อยละ 3.0 ในปี 2538
การใช้จ่าย การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลง เนื่องจากรายได้ของประชาชนซึ่งเพิ่มน้อยกว่าปีก่อน ๆ และอัตราดอกเบี้ยซึ่งอยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยขยายตัวร้อยละ 5.7 และ 7.4 เทียบกับร้อยละ 7.9 และ 10.3 ในปี 2538 การบริโภคและการลงทุนภาครัฐชะลอลงเล็กน้อย แต่การขยายตัวของการลงทุนภาครัฐยังอยู่ในระดับสูงร้อยละ 15 เทียบกับร้อยละ 16 ในปี 2538
การส่งออก คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 1,385,000 ล้านบาท ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.2 จากปี 2538 สินค้าส่งออกที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงในปี 2539 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์พลาสติก รองเท้าและชิ้นส่วน เครื่องวีดีโอและเครื่องเสียง เสื้อผ้าสำเร็จรูป กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์ยาง โดยคาดว่าจะมีมูลค่าลดลงร้อยละ 54.9, 45.0, 29.1, 25.3, 22.3 และ 10.0 ตามลำดับ สินค้าส่งออกซึ่งขยายตัวดีในปี 2539 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ผลไม้กระป๋อง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ข้าว และน้ำตาลทราย โดยขยายตัวในอัตราร้อยละ 30.6, 26.7, 24.3, 14.7, 12.2 และ 10.4 ตามลำดับ
การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เนื่องจากการนำเข้าชะลอตัวลงมาก โดยคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 1,815,000 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.4 เทียบกับร้อยละ 30.5 ในปี 2538 จึงจะส่งผลให้มีการขาดดุลการค้าเป็นมูลค่า 430,000 ล้านบาท ดุลบริการคาดว่าจะเกินดุลประมาณ 45,000 ล้านบาท เนื่องจากรายได้จากการท่องเที่ยวซึ่งมีนักท่องเที่ยวเฉลี่ยในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะขาดดุลประมาณ 385,000 ล้านบาท หรือเทียบเท่ากับสัดส่วนร้อยละ 8.3 ของผลผลิตรวมของประเทศ เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากร้อยละ 8.2 ในปี 2538
ฐานะการคลังภาครัฐบาล ยังคงเกินดุลต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 โดยเกินดุลงบประมาณ 99,977 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากการจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
3. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2540 : ขยายตัวดีขึ้นเล็กน้อย เสถียรภาพเศรษฐกิจดีขึ้นทั้งด้านเงินเฟ้อและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
เศรษฐกิจไทยในปี 2540 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวสูงกว่าปี 2539 โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 7.1 ทั้งนี้เนื่องจากการส่งออกเริ่มฟื้นตัวหลังจากที่ได้ชะลอตัวลงอย่างมากในปี 2539 ประกอบกับมาตรการผ่อนคลายทางการเงินจะช่วยสนับสนุนการขยายการลงทุนของภาคเอกชน ส่วนเสถียรภาพด้านระดับราคานั้น คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง และอยู่ในระดับร้อยละ 5.0
การผลิต ภาคเกษตรคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3 ลดลงเล็กน้อย จากการขยายตัวระดับสูงติดต่อกันมาแล้วถึง 3 ปี การฟื้นตัวของการส่งออกจะช่วยกระตุ้นให้สาขาอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราร้อยละ 8.1 เทียบกับร้อยละ 7.8 ในปี 2539 ภาคการก่อสร้างคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในอัตราใกล้เคียงกับปี 2539 โดยขยายตัวร้อยละ 5.4 เนื่องจากภาวะอสังหาริมทรัพย์ล้นตลาดยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการปรับตัวสาขาบริการและอื่น ๆ คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4
การใช้จ่าย การบริโภคและการลงทุนภาครัฐยังคงขยายตัวในระดับใกล้เคียงกับปี 2539 เนื่องจากความจำเป็นต้องระมัดระวังในการใช้จ่ายงบประมาณ ในขณะที่สูญเสียรายได้ภาษีจากการปรับลดภาษีหลายรายการ การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะเป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยขยายตัวร้อยละ 6.0 และ 7.7 ซึ่งเป็นอัตราสูงกว่าปี 2539 แต่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับอดีต
การส่งออก จะฟื้นตัวจากภาวะซบเซามากในปี 2539 เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อภาวะการส่งออกในปีที่ผ่านมามีแนวโน้มปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยมีปัจจัยที่สนับสนุนทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในประเทศดังนี้
ในด้านปัจจัยต่างประเทศ ภาวะเศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราสูงขึ้นในอัตราร้อยละ 4.1 และร้อยละ 7.8 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงที่สุดในรอบ 9 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นมาก ซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกของไทยไปยังทั้งสองตลาดนี้ ในขณะเดียวกันแนวโน้มการใช้นโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2539 และการพื้นตัวของภาวะการค้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่และกลุ่มประเทศอาเซียนฟื้นตัวขึ้น และส่งผลดีต่อปริมาณการค้าในภูมิภาคและการส่งออกของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกไปยังตลาดอาเซียนที่ประสบภาวะชะลอตัวลงมากในปีที่ผ่านมา นอกจากนั้นค่าเงินบาทซึ่งมีแนวโน้มอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐจะมีส่วนช่วยสนับสนุนการส่งออกของไทยบ้างเล็กน้อย
ในด้านปัจจัยภายในประเทศ คาดว่ามาตรการต่าง ๆ ที่รัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการส่งออกในปีที่ผ่านมา และภาวะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงจะสามารถช่วยบรรเทาภาวะความกดดันด้านต้นทุนการผลิตและการขาดแคลนวัตถุดิบให้แก่ผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตามอุปสรรคในการส่งออกที่เกิดจากมาตรการของประเทศคู่ค้ายังคงมีอยู่ เช่น การลดสิทธิประโยชน์ GSP ในตลาดยุโรปของสินค้าไทยลงครึ่งหนึ่ง และการพิจารณาใช้การอนุรักษ์ป่าชายเลนเป็นมาตรการห้ามนำเข้ากุ้งไทยของตลาดสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
ดังนั้นจึงคาดว่าการส่งออกในปี 2540 จะมีมูลค่า 1,546,000 ล้านบาท เทียบเป็นการขยายตัวร้อยละ 11.6 ทั้งนี้สินค้าที่มีศักยภาพในการขยายตัวในปี 2539 คาดว่าจะยังขยายตัวต่อเนื่อง เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องรับวิทยุ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และข้าว เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 26.0, 22.0, 13.0, 11.4 และ 10.0 ตามลำดับ ในขณะที่สินค้าที่ประสบปัญหาการส่งออกในปีนี้ เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป และกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง คาดว่าจะฟื้นตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณร้อยละ 2.0 และ3.0 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามเพื่อให้การส่งออกสามารถขยายตัวได้ตามการคาดการณ์นี้ จะต้องมีการดำเนินมาตรการเพื่อส่งเสริมการส่งออกในด้านต่าง ๆ ดังที่เสนอไว้ในหัวข้อเรื่องประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญในปี 2540
การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด การนำเข้าในปี 2540 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 1,987,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 จากปี 2539 ซึ่งเป็นอัตราไม่สูงนัก เนื่องจากการเร่งขยายการผลิตและลงทุนก่อนปี 2539 ได้สร้างกำลังการผลิตสะสมที่ค่อนข้างอิ่มตัว ดังนั้นการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะมีมูลค่า 441,000 และ 396,000 ล้านบาท หรือเทียบเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.5 และ 7.7 ของผลผลิตรวมของประเทศตามลำดับ ซึ่งจะส่งผลให้ปี 2540 เป็นปีที่เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นในด้านดุลบัญชีเดินสะพัด
ดุลการคลัง ปีงบประมาณ 2540 คาดว่ารัฐบาลจะจัดเก็บรายได้สุทธิรวม 962,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 แต่ต่ำกว่าประมาณการรายได้ตาม พ.ร.บ.งบประมาณปี 2540 กำหนดไว้ 984,000 ล้านบาท เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัวลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในขณะที่มีรายจ่ายรวม 886,300 ล้านบาท ส่งผลให้มีการเกินดุลเงินสดในงบประมาณ 76,200 ล้านบาท การเกินดุลงบประมาณนี้ได้เริ่มลดลงจากปีงบประมาณ 2538 และ 2539 ซึ่งมีการเกินดุล 117,500 ล้านบาท และ 99,977 ล้านบาท ตามลำดับ
4. ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2540
แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2540 คาดว่าระบบเศรษฐกิจจะขยายตัวในระดับปานกลาง เนื่องจากการส่งออกยังฟื้นตัวไม่มากนักเทียบกับการขยายตัวในอดีต ในขณะที่ยังคงมีปัญหาด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ดังนั้นประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2540 จึงควรเน้นการเพิ่มเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยดำเนินมาตรการด้านดุลบัญชีเดินสะพัดให้เริ่มมีแนวโน้มลดลงในปี 2540 เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ และการบริหารนโยบายด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจระยะยาว ควรเพิ่มบทบาทนโยบายการคลังในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และผ่อนคลายนโยบายการเงินให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ ตามที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในระดับสูง และได้กำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติของหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน
นอกจากนี้การบริหารนโยบายเศรษฐกิจจะต้องให้ความสำคัญกับการวางรากฐานของระบบเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง โดยการปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าใหม่ ๆ ที่มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก การกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจสู่ภูมิภาคเพื่อสร้างฐานการผลิตในประเทศ และการวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระยะยาว
ประเด็นการบริหารนโยบายและมาตรการทางเศรษฐกิจในปี 2540 ที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
4.1 การเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
(1) ดูแลประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณปี 2540 ทั้งด้านรายจ่ายประจำและรายจ่ายด้านการลงทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และควบคุมต้นทุนการดำเนินงานไม่ให้เกิดการสูญเสียที่ไม่จำเป็น
(2) วางแผนงบประมาณปี 2541 อย่างสมดุลและรัดกุมต่อไป ในขณะที่รายได้ของรัฐเพิ่มขึ้นไม่มากเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและการลดภาษีตามข้อผูกพันตามข้อตกลงการเปิดเสรีการค้าระดับภูมิภาคและระดับโลก
(3) วางแผนการใช้จ่ายภาครัฐระยะยาว 5 ปี ซึ่งครอบคลุมการใช้จ่ายของรัฐบาลกลาง รัฐวิสาหกิจ และราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นกรอบการบริหารการคลังเพื่อความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจรวมถึงการลดการลงทุนซ้ำซ้อนและชะลอการลงทุนที่ไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ
(4) เพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนภาครัฐ โดยวิเคราะห์อย่างรอบคอบและเน้นการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายของโครงการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยใช้ทรัพยากรน้อยลง ขจัดความสูญเสียจากระบบการประมูลก่อสร้าง และลดปัญหาการขอเพิ่มวงเงินหลังจากโครงสร้างได้รับอนุมัติแล้ว
(5) สนับสนุนให้มีการกระจายเงินทุนไปสู่ภูมิภาคเศรษฐกิจสำคัญและกิจกรรมที่มีประโยชน์โดยคำนึงถึงความมั่นคงของสถาบันการเงิน
(6) ปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนให้มีสัดส่วนหนี้ระยะยาวเพิ่มมากขึ้น
(7) เร่งรัดการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของรัฐวิสาหกิจและเอกชน เพื่อสนับสนุนการออมระยะยาวของประเทศ รวมถึงการมีส่วนช่วยเพิ่มสภาพคล่องและการลงทุนประเภทสถาบันในตลาดหลักทรัพย์
4.2 การวางรากฐานเศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็ง
(1) การเพิ่มศักยภาพการส่งออกสินค้าและบริการ
(1.1) ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมและการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมจากสินค้าดั้งเดิมที่พึ่งแรงงานไร้ฝีมือและการนำเข้าชิ้นส่วนจำนวนมาก ไปสู่สินค้าใหม่ ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตสูงขึ้นมีความเชื่อมโยงกับอุตนสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศมาก และสร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศสูง
(1.2) เร่งพัฒนาคุณภาพของสินค้าส่งออกให้สอดคล้องกับมาตรฐานและรสนิยมของผู้บริโภคในตลาดต่าง ๆ เช่น พัฒนาผลิตภัณฑ์และการออกแบบ การพัฒนาฝีมือแรงงาน การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรที่ล้าสมัย และการเพิ่มเทคโนโยลีการผลิต
(1.3) อำนวยความสะดวกด้านการค้า โดยปรับปรุงระเบียบและการดำเนินการด้านพิธีศุลกากรและบริการขนส่งสินค้าบริเวณท่าเรือให้มีประสิทธิภาพและความโปร่งใสในมาตรฐานสูง เร่งรัดกระบวนการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้มีความรวดเร็ว และปรับปรุงระเบียบการอนุญาตนำเข้าและส่งออก การจดทะเบียนการค้า และการยื่นขอใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า
(1.4) ปกป้องและแก้ไขปัญหาการกีดกันการค้า เช่น เร่งเสนอกฎหมายป้องกันการทุ่มตลาด (Anti-Dumping and Countervailing Duties) และเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาการค้าทั้งในกรอบพหุภาคี ภูมิภาค อนุภูมิภาค และทวิภาคี
(1.5) วางนโยบายและกลไกบริหารนโยบายเศรษฐกิจด้านต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพและเอกภาพสามารถดูแลผลประโยชน์ของประเทศในเวทีเจรจาการค้า และให้ข้อชี้แนะแก่หน่วยงานและเอกชนถึงปัญหาอุปสรรคใหม่ที่จะเกิดขึ้นในด้านการค้าระหว่างประเทศอย่างทันท่วงที
(1.6) ส่งเสริมความสามารถในการหารายได้เงินตราต่างประเทศจากสาขาท่องเที่ยว โดยสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และเร่งสร้างความร่วมมือในการเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน
(2) ชะลอการนำเข้าสินค้า
(2.1) รณรงค์สร้างค่านิยมของประเทศในการใช้สินค้าไทย โดยภาคราชการเป็นผู้นำและปฏิบัติเป็นตัวอย่าง
(2.2) ชะลอโครงการลงทุนของรัฐที่มีมูลค่าการนำเข้าสินค้าสูงและไม่สร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจโดยตรง
(2.3) ส่งเสริมขีดความสามารถของประเทศในอุตสาหกรรมผลิตสินค้าทุนและสินค้าขั้นกลาง
(3) เร่งรัดการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและวางระบบพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการขยายฐานการผลิตในพื้นที่ที่มีศักยภาพ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการพัฒนาคน
(3.1) พัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจและฐานการผลิตที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่ต่าง ๆ และเร่งรัดความร่วมมือภายใต้กรอบเหลี่ยมเศรษฐกิจตามแผนงานต่าง ๆ
(3.2) เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในการร่วมพัฒนาและให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาบทบาทของภาครัฐในการเป็นผู้ควบคุมดูแลให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 1/มกราคม 2540--
1. การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2538
เศรษฐกิจไทยขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องติดต่อกันมาเป็นเวลา 3 ปี ในอัตราร้อยละ 8.3, 8.7 และ 8.6 ในปี 2536, 2537 และ 2538 ตามลำดับ โดยที่เครื่องชี้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจหลายประการยังคงแสดงถึงความมั่นคง เช่น ฐานะการคลังของรัฐบาลเกินดุลอย่างต่อเนื่อง ภาระหนี้ต่างประเทศภาครัฐอยู่ในระดับต่ำ ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศอยู่ในระดับมากกว่า 6 เดือนของมูลค่าการนำเข้า และค่าเงินบาทยังมีเสถียรภาพ อย่างไรก็ดีอัตราเงินเฟ้อได้เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 3.3 ในปี 2536 เป็นร้อยละ 5.8 ในปี 2538 และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลคิดเป็นร้อยละ 5.1 ของผลผลิตรวม เป็นร้อยละ 8.2 ในช่วงเวลาเดียวกัน ดังนั้นการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2538 ซึ่งมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจในปี 2539 จึงมุ่งเน้นชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเอื้ออำนวยต่อการลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินนโยบายทางการเงินค่อนข้างเข้มงวดตั้งแต่ปี 2538 ต่อเนื่องถึงปี 2539
2. เศรษฐกิจไทยในปี 2539 : ขยายตัวชะลอลง เงินเฟ้อและดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
เศรษฐกิจไทยในปี 2539 ขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปี 2538 เนื่องจากการชะลอตัวของการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคของประชาชน การลงทุนภาคเอกชน การผลิตในสาขาอุตสาหกรรม และการส่งออก ซึ่งเป็นไปในทิศทางที่สนองตอบนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่ต้องการลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามได้มีผลกระทบจากปัจจัยที่ไม่ได้คาดหมาย คือ การส่งออกได้ลดลงมาก และส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ จนทำให้ระบบเศรษฐกิจชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม ดังนั้นจึงคาดได้ว่าเศรษฐกิจไทยตลอดทั้งปี 2539 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 6.8 ต่ำกว่าร้อยละ 8.6 ในปีที่แล้ว
การดำเนินนโยบายการเงินทั้งอัตราดอกเบี้ยและการจำกัดสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ ได้เริ่มผ่อนคลายลงตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2539 ในช่วงเดียวกันนี้ปัญหาเสถียรภาพทางด้านเงินเฟ้อได้บรรเทาลงโดยลำดับ ดังจะเห็นได้จากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในอัตราสูงเฉลี่ยร้อยละ 7.4 ในไตรมาสแรกมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน อัตราเงินเฟ้อทั้งปี 2539 ลดลงเหลือเฉลี่ยร้อยละ 5.9
การผลิต ส่วนใหญ่ชะลอตัวลง โดยสาขาอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7.8 เทียบกับร้อยละ 11.0 ในปีที่แล้ว เนื่องจากความต้องการสินค้าเพื่อส่งออกและบริโภคภายในประเทศชะลอตัวลง การก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 5.0 เทียบกับร้อยละ 10.7 เนื่องจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในสาขาบริการและอื่น ๆ ซึ่งประกอบด้วยสาธารณูปโภค พาณิชยกรรม ธนาคาร และบริการอื่น ๆ ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจส่วนรวม ส่งผลให้มีการขยายตัวร้อยละ 6.9 เทียบกับร้อยละ 8.2 ในปี 2538 การผลิตในสาขาเกษตรกรรมเป็นสาขาเดียวที่มีการขยายตัวในปี 2539 มากกว่าปีที่แล้ว โดยขยายตัวร้อยละ 3.6 เทียบกับร้อยละ 3.0 ในปี 2538
การใช้จ่าย การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลง เนื่องจากรายได้ของประชาชนซึ่งเพิ่มน้อยกว่าปีก่อน ๆ และอัตราดอกเบี้ยซึ่งอยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยขยายตัวร้อยละ 5.7 และ 7.4 เทียบกับร้อยละ 7.9 และ 10.3 ในปี 2538 การบริโภคและการลงทุนภาครัฐชะลอลงเล็กน้อย แต่การขยายตัวของการลงทุนภาครัฐยังอยู่ในระดับสูงร้อยละ 15 เทียบกับร้อยละ 16 ในปี 2538
การส่งออก คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 1,385,000 ล้านบาท ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.2 จากปี 2538 สินค้าส่งออกที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงในปี 2539 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์พลาสติก รองเท้าและชิ้นส่วน เครื่องวีดีโอและเครื่องเสียง เสื้อผ้าสำเร็จรูป กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์ยาง โดยคาดว่าจะมีมูลค่าลดลงร้อยละ 54.9, 45.0, 29.1, 25.3, 22.3 และ 10.0 ตามลำดับ สินค้าส่งออกซึ่งขยายตัวดีในปี 2539 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ผลไม้กระป๋อง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ข้าว และน้ำตาลทราย โดยขยายตัวในอัตราร้อยละ 30.6, 26.7, 24.3, 14.7, 12.2 และ 10.4 ตามลำดับ
การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เนื่องจากการนำเข้าชะลอตัวลงมาก โดยคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 1,815,000 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.4 เทียบกับร้อยละ 30.5 ในปี 2538 จึงจะส่งผลให้มีการขาดดุลการค้าเป็นมูลค่า 430,000 ล้านบาท ดุลบริการคาดว่าจะเกินดุลประมาณ 45,000 ล้านบาท เนื่องจากรายได้จากการท่องเที่ยวซึ่งมีนักท่องเที่ยวเฉลี่ยในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะขาดดุลประมาณ 385,000 ล้านบาท หรือเทียบเท่ากับสัดส่วนร้อยละ 8.3 ของผลผลิตรวมของประเทศ เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากร้อยละ 8.2 ในปี 2538
ฐานะการคลังภาครัฐบาล ยังคงเกินดุลต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 โดยเกินดุลงบประมาณ 99,977 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากการจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
3. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2540 : ขยายตัวดีขึ้นเล็กน้อย เสถียรภาพเศรษฐกิจดีขึ้นทั้งด้านเงินเฟ้อและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
เศรษฐกิจไทยในปี 2540 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวสูงกว่าปี 2539 โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 7.1 ทั้งนี้เนื่องจากการส่งออกเริ่มฟื้นตัวหลังจากที่ได้ชะลอตัวลงอย่างมากในปี 2539 ประกอบกับมาตรการผ่อนคลายทางการเงินจะช่วยสนับสนุนการขยายการลงทุนของภาคเอกชน ส่วนเสถียรภาพด้านระดับราคานั้น คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง และอยู่ในระดับร้อยละ 5.0
การผลิต ภาคเกษตรคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3 ลดลงเล็กน้อย จากการขยายตัวระดับสูงติดต่อกันมาแล้วถึง 3 ปี การฟื้นตัวของการส่งออกจะช่วยกระตุ้นให้สาขาอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราร้อยละ 8.1 เทียบกับร้อยละ 7.8 ในปี 2539 ภาคการก่อสร้างคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในอัตราใกล้เคียงกับปี 2539 โดยขยายตัวร้อยละ 5.4 เนื่องจากภาวะอสังหาริมทรัพย์ล้นตลาดยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการปรับตัวสาขาบริการและอื่น ๆ คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4
การใช้จ่าย การบริโภคและการลงทุนภาครัฐยังคงขยายตัวในระดับใกล้เคียงกับปี 2539 เนื่องจากความจำเป็นต้องระมัดระวังในการใช้จ่ายงบประมาณ ในขณะที่สูญเสียรายได้ภาษีจากการปรับลดภาษีหลายรายการ การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะเป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยขยายตัวร้อยละ 6.0 และ 7.7 ซึ่งเป็นอัตราสูงกว่าปี 2539 แต่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับอดีต
การส่งออก จะฟื้นตัวจากภาวะซบเซามากในปี 2539 เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อภาวะการส่งออกในปีที่ผ่านมามีแนวโน้มปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยมีปัจจัยที่สนับสนุนทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในประเทศดังนี้
ในด้านปัจจัยต่างประเทศ ภาวะเศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราสูงขึ้นในอัตราร้อยละ 4.1 และร้อยละ 7.8 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงที่สุดในรอบ 9 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นมาก ซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกของไทยไปยังทั้งสองตลาดนี้ ในขณะเดียวกันแนวโน้มการใช้นโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2539 และการพื้นตัวของภาวะการค้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่และกลุ่มประเทศอาเซียนฟื้นตัวขึ้น และส่งผลดีต่อปริมาณการค้าในภูมิภาคและการส่งออกของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกไปยังตลาดอาเซียนที่ประสบภาวะชะลอตัวลงมากในปีที่ผ่านมา นอกจากนั้นค่าเงินบาทซึ่งมีแนวโน้มอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐจะมีส่วนช่วยสนับสนุนการส่งออกของไทยบ้างเล็กน้อย
ในด้านปัจจัยภายในประเทศ คาดว่ามาตรการต่าง ๆ ที่รัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการส่งออกในปีที่ผ่านมา และภาวะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงจะสามารถช่วยบรรเทาภาวะความกดดันด้านต้นทุนการผลิตและการขาดแคลนวัตถุดิบให้แก่ผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตามอุปสรรคในการส่งออกที่เกิดจากมาตรการของประเทศคู่ค้ายังคงมีอยู่ เช่น การลดสิทธิประโยชน์ GSP ในตลาดยุโรปของสินค้าไทยลงครึ่งหนึ่ง และการพิจารณาใช้การอนุรักษ์ป่าชายเลนเป็นมาตรการห้ามนำเข้ากุ้งไทยของตลาดสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
ดังนั้นจึงคาดว่าการส่งออกในปี 2540 จะมีมูลค่า 1,546,000 ล้านบาท เทียบเป็นการขยายตัวร้อยละ 11.6 ทั้งนี้สินค้าที่มีศักยภาพในการขยายตัวในปี 2539 คาดว่าจะยังขยายตัวต่อเนื่อง เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องรับวิทยุ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และข้าว เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 26.0, 22.0, 13.0, 11.4 และ 10.0 ตามลำดับ ในขณะที่สินค้าที่ประสบปัญหาการส่งออกในปีนี้ เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป และกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง คาดว่าจะฟื้นตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณร้อยละ 2.0 และ3.0 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามเพื่อให้การส่งออกสามารถขยายตัวได้ตามการคาดการณ์นี้ จะต้องมีการดำเนินมาตรการเพื่อส่งเสริมการส่งออกในด้านต่าง ๆ ดังที่เสนอไว้ในหัวข้อเรื่องประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญในปี 2540
การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด การนำเข้าในปี 2540 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 1,987,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 จากปี 2539 ซึ่งเป็นอัตราไม่สูงนัก เนื่องจากการเร่งขยายการผลิตและลงทุนก่อนปี 2539 ได้สร้างกำลังการผลิตสะสมที่ค่อนข้างอิ่มตัว ดังนั้นการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะมีมูลค่า 441,000 และ 396,000 ล้านบาท หรือเทียบเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.5 และ 7.7 ของผลผลิตรวมของประเทศตามลำดับ ซึ่งจะส่งผลให้ปี 2540 เป็นปีที่เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นในด้านดุลบัญชีเดินสะพัด
ดุลการคลัง ปีงบประมาณ 2540 คาดว่ารัฐบาลจะจัดเก็บรายได้สุทธิรวม 962,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 แต่ต่ำกว่าประมาณการรายได้ตาม พ.ร.บ.งบประมาณปี 2540 กำหนดไว้ 984,000 ล้านบาท เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัวลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในขณะที่มีรายจ่ายรวม 886,300 ล้านบาท ส่งผลให้มีการเกินดุลเงินสดในงบประมาณ 76,200 ล้านบาท การเกินดุลงบประมาณนี้ได้เริ่มลดลงจากปีงบประมาณ 2538 และ 2539 ซึ่งมีการเกินดุล 117,500 ล้านบาท และ 99,977 ล้านบาท ตามลำดับ
4. ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2540
แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2540 คาดว่าระบบเศรษฐกิจจะขยายตัวในระดับปานกลาง เนื่องจากการส่งออกยังฟื้นตัวไม่มากนักเทียบกับการขยายตัวในอดีต ในขณะที่ยังคงมีปัญหาด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ดังนั้นประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2540 จึงควรเน้นการเพิ่มเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยดำเนินมาตรการด้านดุลบัญชีเดินสะพัดให้เริ่มมีแนวโน้มลดลงในปี 2540 เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ และการบริหารนโยบายด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจระยะยาว ควรเพิ่มบทบาทนโยบายการคลังในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และผ่อนคลายนโยบายการเงินให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ ตามที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในระดับสูง และได้กำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติของหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน
นอกจากนี้การบริหารนโยบายเศรษฐกิจจะต้องให้ความสำคัญกับการวางรากฐานของระบบเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง โดยการปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าใหม่ ๆ ที่มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก การกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจสู่ภูมิภาคเพื่อสร้างฐานการผลิตในประเทศ และการวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระยะยาว
ประเด็นการบริหารนโยบายและมาตรการทางเศรษฐกิจในปี 2540 ที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
4.1 การเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
(1) ดูแลประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณปี 2540 ทั้งด้านรายจ่ายประจำและรายจ่ายด้านการลงทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และควบคุมต้นทุนการดำเนินงานไม่ให้เกิดการสูญเสียที่ไม่จำเป็น
(2) วางแผนงบประมาณปี 2541 อย่างสมดุลและรัดกุมต่อไป ในขณะที่รายได้ของรัฐเพิ่มขึ้นไม่มากเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและการลดภาษีตามข้อผูกพันตามข้อตกลงการเปิดเสรีการค้าระดับภูมิภาคและระดับโลก
(3) วางแผนการใช้จ่ายภาครัฐระยะยาว 5 ปี ซึ่งครอบคลุมการใช้จ่ายของรัฐบาลกลาง รัฐวิสาหกิจ และราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นกรอบการบริหารการคลังเพื่อความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจรวมถึงการลดการลงทุนซ้ำซ้อนและชะลอการลงทุนที่ไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ
(4) เพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนภาครัฐ โดยวิเคราะห์อย่างรอบคอบและเน้นการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายของโครงการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยใช้ทรัพยากรน้อยลง ขจัดความสูญเสียจากระบบการประมูลก่อสร้าง และลดปัญหาการขอเพิ่มวงเงินหลังจากโครงสร้างได้รับอนุมัติแล้ว
(5) สนับสนุนให้มีการกระจายเงินทุนไปสู่ภูมิภาคเศรษฐกิจสำคัญและกิจกรรมที่มีประโยชน์โดยคำนึงถึงความมั่นคงของสถาบันการเงิน
(6) ปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนให้มีสัดส่วนหนี้ระยะยาวเพิ่มมากขึ้น
(7) เร่งรัดการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของรัฐวิสาหกิจและเอกชน เพื่อสนับสนุนการออมระยะยาวของประเทศ รวมถึงการมีส่วนช่วยเพิ่มสภาพคล่องและการลงทุนประเภทสถาบันในตลาดหลักทรัพย์
4.2 การวางรากฐานเศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็ง
(1) การเพิ่มศักยภาพการส่งออกสินค้าและบริการ
(1.1) ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมและการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมจากสินค้าดั้งเดิมที่พึ่งแรงงานไร้ฝีมือและการนำเข้าชิ้นส่วนจำนวนมาก ไปสู่สินค้าใหม่ ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตสูงขึ้นมีความเชื่อมโยงกับอุตนสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศมาก และสร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศสูง
(1.2) เร่งพัฒนาคุณภาพของสินค้าส่งออกให้สอดคล้องกับมาตรฐานและรสนิยมของผู้บริโภคในตลาดต่าง ๆ เช่น พัฒนาผลิตภัณฑ์และการออกแบบ การพัฒนาฝีมือแรงงาน การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรที่ล้าสมัย และการเพิ่มเทคโนโยลีการผลิต
(1.3) อำนวยความสะดวกด้านการค้า โดยปรับปรุงระเบียบและการดำเนินการด้านพิธีศุลกากรและบริการขนส่งสินค้าบริเวณท่าเรือให้มีประสิทธิภาพและความโปร่งใสในมาตรฐานสูง เร่งรัดกระบวนการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้มีความรวดเร็ว และปรับปรุงระเบียบการอนุญาตนำเข้าและส่งออก การจดทะเบียนการค้า และการยื่นขอใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า
(1.4) ปกป้องและแก้ไขปัญหาการกีดกันการค้า เช่น เร่งเสนอกฎหมายป้องกันการทุ่มตลาด (Anti-Dumping and Countervailing Duties) และเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาการค้าทั้งในกรอบพหุภาคี ภูมิภาค อนุภูมิภาค และทวิภาคี
(1.5) วางนโยบายและกลไกบริหารนโยบายเศรษฐกิจด้านต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพและเอกภาพสามารถดูแลผลประโยชน์ของประเทศในเวทีเจรจาการค้า และให้ข้อชี้แนะแก่หน่วยงานและเอกชนถึงปัญหาอุปสรรคใหม่ที่จะเกิดขึ้นในด้านการค้าระหว่างประเทศอย่างทันท่วงที
(1.6) ส่งเสริมความสามารถในการหารายได้เงินตราต่างประเทศจากสาขาท่องเที่ยว โดยสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และเร่งสร้างความร่วมมือในการเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน
(2) ชะลอการนำเข้าสินค้า
(2.1) รณรงค์สร้างค่านิยมของประเทศในการใช้สินค้าไทย โดยภาคราชการเป็นผู้นำและปฏิบัติเป็นตัวอย่าง
(2.2) ชะลอโครงการลงทุนของรัฐที่มีมูลค่าการนำเข้าสินค้าสูงและไม่สร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจโดยตรง
(2.3) ส่งเสริมขีดความสามารถของประเทศในอุตสาหกรรมผลิตสินค้าทุนและสินค้าขั้นกลาง
(3) เร่งรัดการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและวางระบบพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการขยายฐานการผลิตในพื้นที่ที่มีศักยภาพ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการพัฒนาคน
(3.1) พัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจและฐานการผลิตที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่ต่าง ๆ และเร่งรัดความร่วมมือภายใต้กรอบเหลี่ยมเศรษฐกิจตามแผนงานต่าง ๆ
(3.2) เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในการร่วมพัฒนาและให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาบทบาทของภาครัฐในการเป็นผู้ควบคุมดูแลให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 1/มกราคม 2540--