- เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 3.3 ในไตรมาสแรกชะลอตัวลงจากปี 2547 จากปัจจัยราคาน้ำมันเงิน
เฟ้อที่สูงขึ้น เศรษฐกิจโลกชะลอตัวและปัญหาการส่งออกไก่และ ภาวะภัยแล้ง ผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย และอัตรา
ดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้น
- คาดว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีเมื่อปัจจัยกระทบชั่วคราวหมดไป และมีการเร่งรัด
การใช้จ่ายภาครัฐ และส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรมส่งออกที่ใช้สัดส่วนการนำเข้าต่ำ
ภาพรวม
ภาพรวมเศรษฐกิจไตรมาสแรกและแนวโน้มปี2548
ประเด็นหลัก
-เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 3.3 ในไตรมาสแรกปี 2548 ช้าลงกว่าการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 6.1 ใน
ปี 2547 เนื่องจากผลกระทบราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและปัญหาการส่งออกไก่และ
กุ้ง ภัยแล้ง ผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้น
-แรงกดดันราคาสินค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 2.8 ในไตรมาสแรก ร้อยละ
3.2 ในเดือนเมษายน และร้อยละ 3.6 ในเดือนพฤษภาคม โดยที่ราคาในหมวดที่มิใช่อาหารเพิ่มขึ้นเร็ว และจะกดดัน
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมากขึ้นในระยะต่อไป
- มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5 เร็วกว่ามูลค่าการ ส่งออกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 เนื่อง
จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมาก และความต้องการสินค้าทุนเพื่อขยายการลงทุนและวัตถุดิบเพื่อป้อนการผลิตโดยเฉพาะการ
ผลิตเพื่อการ ส่งออก ดุลการค้าจึงขาดดุล
- การท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวจากผลกระทบธรณีพิบัติภัย ดุลบริการเกินดุลแต่ไม่มากพอที่จะชดเชยการขาด
ดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงขาดดุล และดุลการชำระเงินเกินดุลลดลงเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนลงในเดือน
มีนาคมและเมษายน
- คาดว่าในครึ่งหลังของปี เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ดีขึ้น จากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวได้ชัดเจนมากขึ้น ผล
กระทบจากภัยแล้งหมดไป หมดช่วงของการเฝ้าระวังของไข้หวัดนกและการรับรองโรงงานเพิ่มขึ้นจะทำให้สามารถส่ง
ออกไก่สดแช่แข็งได้เพิ่มขึ้น การเร่งรัดการใช้จ่ายภาครัฐจะเห็นผลมากขึ้นและโครงการลงทุนขนาดใหญ่เริ่มดำเนินการ
ในบางส่วน รวมทั้งการเร่งรัดการส่งออกสินค้าเกษตรในกลุ่ม ไก่ กุ้ง ยางพารา และข้าว รวมทั้งสินค้าอุตสาหกรรมที่
ใช้ สัดส่วนวัตถุดิบนำเข้าต่ำ
- โดยรวมปี 2548 เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.5-5.5 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3.6
และดุลบัญชีเดินสะพัดยังเกินดุลเล็กน้อยประมาณร้อยละ 0.1 ของ GDP
1. เศรษฐกิจไตรมาสแรก ปี 2548 : ขยายตัวร้อยละ 3.3
1.1 ภาพรวมเศรษฐกิจไทย
การขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ในไตรมาสแรกเศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับข้อจำกัดหลายด้าน ได้แก่
เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและทำให้การส่งออกขยายตัวได้ช้าลง ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ผลกระทบจากภัยแล้ง การส่งออกไก่
สดแช่แข็งยังมีปัญหา และการส่งออกกุ้งได้รับผลกระทบจากการที่ฟาร์มเลี้ยงกุ้งเสียหายจากธรณีพิบัติภัยและการถูกเรียก
เก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด ภายใต้ข้อจำกัดดังกล่าวเศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 3.3 ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ
6.1 ในปี 2547 โดยที่ในด้านอุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวได้ช้าลงทั้งการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งขยายตัว
ร้อยละ 4.5 ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 5.7 ในปี 2547 และการลงทุนเอกชนขยายตัวร้อยละ 10.6 ต่ำกว่าการ
ขยายตัวร้อยละ 15.3 ในปี 2547 แต่การใช้จ่ายภาครัฐบาลและการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 และ 29.2
ตามลำดับ
สำหรับด้านต่างประเทศ การส่งออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่มูลค่า
การนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28.5 สูงกว่าการขยายตัวของการส่งออกมากและทำให้ในไตรมาสแรกดุลการค้าขาดดุล
รวม 3,225 ล้านดอลลาร์ สรอ.
เสถียรภาพเศรษฐกิจ แรงกดดันราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น ในไตรมาสแรก อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย
เท่ากับร้อยละ 2.8 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.2 ใน 5 เดือนแรก อัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 2.29 ลดลงเล็ก
น้อยจากร้อยละ 2.37 ในไตรมาสแรกปี 2547 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 1,499 ล้านดอลลาร์ สรอ. และขาดดุลเพิ่ม
ขึ้นเป็น 3,108 ล้านดอลลาร์ สรอ. ใน 4 เดือนแรก ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ณ สิ้นเดือนเมษายน เท่ากับ
49,237 ล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นประมาณ 3.8 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น หนี้สาธารณะต่อ GDP เท่ากับ
ร้อยละ 43.5 ลดลงจากร้อยละ 47.5 ณ สิ้นปี 2547
1.2 ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงมากในไตรมาสแรก: เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ราคาน้ำมันที่สูง
ขึ้น และปัจจัยต่าง ๆ ภายในประเทศซึ่งเป็นปัจจัยชั่วคราว
(1) เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ในไตรมาสแรกเศรษฐกิจโลกชะลอตัวชัดเจนจากการที่เศรษฐกิจหลักของ
โลกและเศรษฐกิจเอเชียชะลอตัวลง โดยเฉพาะประเทศที่ต้องพึ่งพิงการนำเข้าน้ำมัน และการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ
ญี่ปุ่น และยุโรป เป็นตลาดหลัก ในไตรมาสแรกเศรษฐกิจสหรัฐฯ นอกจากจะต้องเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันแพงแล้วใน
ขณะเดียวกันก็ต้องปรับเพิ่มดอกเบี้ยขึ้นตามลำดับเพื่อลดแรงกดดันต่อเงินเฟ้อและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และ
เศรษฐกิจญี่ปุ่นและยุโรปได้รับผลกระทบจากค่าเงินที่แข็งขึ้นและการส่งออกที่ชะลอตัวนอกจากปัญหาราคาน้ำมันแพง
ในไตรมาสแรกเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.7 ชะลอลงจากร้อยละ 3.9 ในไตรมาสสุดท้ายปี
2547 และเฉลี่ยร้อยละ 4.4 ของทั้งปี เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ ประเทศเศรษฐกิจหลักมีผลกระทบต่อเนื่องต่อ
การส่งออกของประเทศในเอเชีย และเมื่อรวมกับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้ในไตรมาสแรกเศรษฐกิจของ
ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียชะลอตัวลง ยกเว้นเศรษฐกิจจีนซึ่งขยายตัวร้อยละ 9.4 ประเทศที่เศรษฐกิจชะลอตัวมาก
ประกอบด้วย เศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.7 สิงคโปร์ร้อยละ 2.5 และไต้หวันร้อยละ 2.5 สำหรับ
ประเทศที่ชะลอตัวไม่มาก ประกอบด้วย ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย ซึ่งสองประเทศหลังเป็น
ประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน
(2) ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นและการปรับราคาขายปลีกน้ำมันภายในประเทศเพิ่มขึ้น ในไตรมาสแรกปี
2548 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกสูงขึ้นมากและค่อนข้างผันผวน ราคาน้ำมันดิบโอมานเฉลี่ยเท่ากับ 42.50 ดอลลาร์ต่อ
บาร์เรล และราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเท่ากับ 41.27 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.9 และร้อยละ
42.9 จากระยะเดียวกันของปี 2547 เนื่องมาจากความต้องการในตลาดโลกยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องแต่กำลังการผลิตส่วนที่
เหลืออยู่และสามารถดำเนินการผลิตได้ทันทีภายใน 30 วันอยู่ในระดับที่ต่ำ ประกอบกับปัจจัยเชิงจิตวิทยาที่ทำให้ราคา
น้ำมันเพิ่มสูงขึ้นเป็นครั้งคราวจากข่าวสารต่าง ๆ อาทิ การประท้วงของคนงาน การหยุดซ่อมโรงกลั่น และการ
ประกาศตัวเลขปริมาณการสำรองน้ำมันของสหรัฐฯ และ OECD โดยรวม
ราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศปรับสูงขึ้นตาม ภายหลังจากที่ได้ยกเลิกการตรึง
ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 และ 91 ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2547 เป็นต้นมา สำหรับราคาน้ำมันดีเซลได้มีการ
ปรับเพดานราคาขึ้นลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์เป็นราคาลิตรละ 15.19 บาทและปรับขึ้นอีกลิตรละ
3 บาท เป็นราคาลิตรละ 18.19 บาท ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2548 จนถึงปัจจุบัน(*****)
ผลกระทบสำคัญจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น มีดังนี้
- ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมากและการลดการชดเชยราคาน้ำมันส่งผลกระทบต่อการใช้จ่าย ราคาน้ำมันดิบใน
ตลาดโลกที่สูงขึ้นทำให้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมาก และเร็วกว่าการขยายตัวของการส่งออกจึงเป็นปัจจัยฉุด
เศรษฐกิจ ในไตรมาสแรกมูลค่าการนำเข้าน้ำมันและน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.9 จากระยะเดียวกันของปี
2547 โดยที่ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 และราคานำเข้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.4
-เมื่อราคานำเข้าถูกส่งผ่านมายังราคาขายปลีกน้ำมันและราคาสินค้าซึ่งผู้บริโภครับภาระ ทำให้กำลังซื้อที่
แท้จริงลดลงและกระทบการใช้จ่าย ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลกระทบกำลังซื้อโดยตรงจากรายจ่ายค่าน้ำมันที่สูง
ขึ้นและผลกระทบด้านราคาสินค้าที่ทำให้กำลังซื้อที่แท้จริงลดลง จะเห็นว่าแรงกดดันต่อเงินเฟ้อสูงขึ้นตามลำดับจาก
ร้อยละ 2.8 ในไตรมาสแรก เป็นร้อยละ 3.6 ในเดือนเมษายน และร้อยละ 3.7 ในเดือนพฤษภาคม และเมื่อ
ประกอบกับอิทธิพลตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทำให้การใช้จ่ายภาคเอกชนในไตรมาสแรกขยายตัวเพียงร้อยละ
4.5 เปรียบเทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 5.7 ในปี 2547 โดยที่การใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าคงทนซึ่งเป็นสินค้าประเภท
รถยนต์และยานพาหนะต่าง ๆ ลดลงร้อยละ 0.2 ในไตรมาสแรก ซึ่งชะลอตัวลงมากจากการขยายตัวร้อยละ 12.9
ในปี 2547 เช่นเดียวกับการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้ากึ่งคงทนประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์ และเครื่องคอมพิวเตอร์
เป็นต้น ซึ่งรวมกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ชะลอลงเล็กน้อยจากการขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปี 2547
--------------------------------------------------------------------------------
(*****)และล่าสุดคณะรัฐมนตรีประกาศลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลแบบบริหารจัดการ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2548
เป็นต้นไป โดยจะปรับลดภาษีสรรพสามิตของน้ำมันดีเซลเป็นเวลา 10 เดือน และจะทยอยลดการอุดหนุนราคาน้ำมัน
ดีเซลไปจนถึงปี 49 เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาไม่ให้รุนแรงจนเกินไป
--------------------------------------------------------------------------------
-ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น แม้จะเป็นระดับราคาในระยะยาว แต่ปี 2547-2548 นับว่ายังเป็นช่วงเปลี่ยน
ผ่านไปสู่ราคาที่เป็นดุลยภาพใหม่ที่โลกจะต้องเผชิญ จึงเป็นการปรับตัวที่แรง (overshooting) ก่อนที่ประชาชนและ
ภาคธุรกิจเอกชนจะปรับตัวรับกับสถานการณ์ใหม่ได้ตามปกติและที่สำคัญ การดำเนินมาตรการของรัฐบาลในการส่งเสริม
การประหยัดพลังงาน และการพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือกจะปรากฏผลชัดเจนมากขึ้นตามลำดับ เช่นกระทรวง
พลังงานร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตั้งเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ที่จะผสมไบโอดีเซลเป็นสัดส่วนร้อยละ 10 ใน
น้ำมันดีเซลทั่วประเทศภายในปี 2555 เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ประเทศมีความอ่อนไหวต่อราคาน้ำมันน้อยลง
(3) ผลกระทบจากภัยแล้งทำให้ปริมาณการผลิตพืชผลเกษตรในไตรมาสแรกลดลงร้อยละ 11.7 และ
สาขาเกษตรรวมหดตัวร้อยละ 8.2 โดยเฉพาะผลผลิตที่ลดลงมากคือ อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวนาปรัง ลดลงร้อย
ละ 22.7 20.7 และ 17.2 ตามลำดับ ปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมลดลงร้อยละ 3.6 แต่ราคาที่สูงขึ้นช้า
กว่าการนำเข้าทำให้มูลค่าการส่งออกลดลงเช่นกัน
(4) ผลกระทบจากการระบาดของไข้หวัดนกที่ยังอยู่ในช่วงของการเฝ้าระวังทำให้ไม่สามารถส่งออกไก่
สดแช่แข็งไปยังตลาดยุโรปและญี่ปุ่นได้ ในไตรมาสแรกมูลค่าการส่งออกไก่สดแช่แข็งลดลงร้อยละ 98.7 และเป็นร้อย
ละ 97.5 ในเดือนเมษายน อย่างไรก็ตามการส่งออกไก่สุกเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 89.2 ในไตรมาสแรก และร้อยละ
79.7 ในเดือนเมษายน
(5) ผลกระทบจากการที่การส่งออกกุ้งของไทยถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดในตลาดสหรัฐฯ ฐาน
การส่งออกกุ้งที่สูงในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ก่อนที่จะถูกไต่สวนการทุ่มตลาด และผลกระทบจากธรณีพิบัติที่ทำให้
ฟาร์มกุ้งเสียหาย ทำให้การส่งออกกุ้งสดและกุ้งแช่แข็งลดลงร้อยละ 12.0 ในไตรมาสแรก
(6) การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย ในไตรมาสแรกจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงร้อยละ
6.9 และสาขาภัตตาคารและโรงแรมหดตัวร้อยละ 2.0
2. ประมาณการเศรษฐกิจปี 2548: ขยายตัว ร้อยละ 4.5-5.5 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3.6
และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเล็กน้อย
ในปี 2548 เศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2547 แต่อัตราการขยายตัวเริ่มช้าลงตาม
แนวโน้มวัฏจักรเศรษฐกิจภายหลังจากที่ขยายตัวมาอย่างต่อเนื่อง 6 ปีที่ผ่านมา การขยายตัวร้อยละ 3.3 ในไตรมาส
แรกนั้นนับต่ำกว่าแนวโน้มปกติมาก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบชั่วคราวเป็นสำคัญ ดังนั้นจึงคาดว่าเมื่อปัจจัย
ลบชั่วคราว ทั้งภัยแล้ง ปัญหาการส่งออกไก่และกุ้ง ผลกระทบต่อการท่องเที่ยวจากธรณีพิบัติภัยหมดไป และราคาน้ำมัน
ปรับเข้าสู่ระดับที่มีเสถียรภาพมากขึ้น เศรษฐกิจจะกลับมาขยายตัวได้ในอัตราที่สูงขึ้น
ปัจจุบันมีปัจจัยบวกในด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป อาทิ
-ราคาสินค้าส่งออกโดยเฉลี่ยยังเพิ่มขึ้นในระดับที่น่าพอใจและทำให้มูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้น โดยที่
เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ 18 ประเทศของไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 3.4 ในปี 2548 นี้
-จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.1 ในเดือนมีนาคม สำหรับในไตรมาสแรกจำนวน
นักท่องเที่ยวจะลดลงร้อยละ 6.9 ประเมินว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงร้อยละ 1.1 ในเดือนเมษายนน่าจะเป็นผล
กระทบชั่วคราวต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวจากเหตุการณ์ระเบิดพร้อมกัน 3 จุดที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
- บรรยากาศและเงื่อนไขด้านการลงทุน ที่แสดงว่าการลงทุนภาคเอกชนยังมีแนวโน้มดีเมื่อพิจารณาจาก
เครื่องชี้หลายรายการ ได้แก่ เงินทุนไหลเข้าสุทธิเพื่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 117 ใน
ไตรมาสแรก และมีการลงทุนภาคเอกชนที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 110.7 ในปี 2547 ซึ่งคาดว่าส่วนหนึ่ง
จะเริ่มเปิดดำเนินการได้ภายในปี 2548 นี้ นอกจากนี้มี กิจการลงทุนที่ขอรับการส่งเสริมเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 111.2 ใน
ไตรมาสแรกซึ่งสะท้อนถึงบรรยากาศและความเชื่อมั่นในการลงทุนที่จะทำให้การลงทุนยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระยะต่อ
ไป
- ค่าใช้จ่ายภาครัฐทั้งงบกลางประจำปีงบประมาณ 2548 จำนวน 50,000 ล้านบาท เงินค้างจ่ายจากปี
งบประมาณ 2546-2547 จำนวน 48,471 ล้านบาท และการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่ขออนุมัติขยายวงเงินลงทุนเป็น
316,747 ล้านบาท ซึ่งครอบคลุมถึงการลงทุนโครงการใหญ่ที่คาดว่าจะเริ่มต้นดำเนินงานได้บางส่วน
2.1 สมมุติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2548: ปรับเพิ่มราคาน้ำมันดิบและปรับลดการขยายตัว
เศรษฐกิจโลก
(1) เศรษฐกิจโลกขยายตัวร้อยละ 3.4 ในปี 2548 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.7 ในปี 2547
การประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2548 ในครั้งนี้ได้ปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
ลงเล็กน้อยจากร้อยละ 3.8 โดยเป็นการปรับลดการประมาณการเศรษฐกิจของประเทศหลัก ๆ อาทิ สหรัฐฯ จากร้อย
ละ 3.8 เป็นร้อยละ 3.6 ญี่ปุ่นจากร้อยละ 1.1 เป็นร้อยละ 0.8 และกลุ่มยูโรจากร้อยละ 1.5 เป็นร้อยละ 1.1
รวม ทั้งการขยายตัวของกลุ่มเอเชียที่ปรับลดการขยายตัวของ สิงค์โปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และฮ่องกง แต่ยังคงอัตรา
การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนไว้ที่ร้อยละ 8.5 อินโดนีเซียที่ร้อยละ 5.5 และมาเลเซียที่ร้อยละ6.0
การปรับลดประมาณการเป็นไปตามข้อมูลล่าสุดของการขยายตัวในไตรมาสแรกที่แสดงว่าเศรษฐกิจของ
ประเทศส่วนใหญ่ขยายตัวได้ต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดเนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากกว่าที่คาดไว้เดิมและมีแนว
โน้มว่าจะยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งผลต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจอื่น ๆ และทำให้การ
ส่งออกของหลายประเทศชะลอตัวในไตรมาสแรกและมีแนวโน้มต่อเนื่องในไตรมาสต่อ ๆ ไป ผลกระทบจากเศรษฐกิจ
โลกจะรุนแรงในประเทศที่กำลังดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น เพื่อลดแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น
(2) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยบาเรลละ 44 ดอลลาร์ สรอ.ปรับข้อสมมุติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบสูงขึ้น
จากบาเรลละ 38 ดอลลาร์ สรอ. ในการประมาณการในเดือนมีนาคมเป็นบาเรลละ 44 ดอลลาร์ สรอ. สูงกว่า
ราคาเฉลี่ยในปี 2547 ประมาณร้อยละ 30.8 โดยที่ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2548 ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเท่ากับ
บาเรลละ 43.2 ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 39.5 และสำหรับในช่วงที่เหลือของปีนี้
คาดว่าราคาจะมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ระดับประมาณบาเรลละ 44-45 ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งจะเห็นว่าราคาน้ำมันดิบไม่ได้
ปรับลดลงในช่วงไตรมาสที่สองแม้ว่าจะเป็นช่วงหน้าร้อนเนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันจะเปลี่ยนจาก heating
oil มาเป็น gasoline ราคาจะปรับสูงขึ้นเล็กน้อยในไตรมาสที่สาม และสูงขึ้นชัดเจนในไตรมาสสุดท้ายซึ่งเป็นช่วง
หน้าหนาว ทั้งนี้กรมสารนิเทศการพลังงาน กระทรวงพลังงานของสหรัฐฯได้คาดการณ์เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2548
ว่าราคาน้ำมันดิบอ้างอิง West Texas Index จะอยู่ในช่วงประมาณ 50-51 ดอลลาร์ต่อบาเรล ตั้งแต่เดือน
กรกฎาคมปี 2548 จนถึงปี 2549 และใน 2 ปีที่ผ่านมาราคาอ้างอิงนี้สูงกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบประมาณบาเรลละ 4-
5 ดอลลาร์ สรอ. จากการคาดการณ์ราคาน้ำมันเฉลี่ยบาเรลละ 44 ดอลลาร์ สรอ. จะทำให้ราคาน้ำมันขายปลีก
น้ำมันเบนซิน 95 จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นลิตรละ 23.10 บาท ราคาน้ำมันเบนซิน 91 ลิตรละ 22.40 บาท และราคาน้ำมัน
ดีเซลหมุนเร็วจะเป็น ลิตรละ 21.50 บาท สูงขึ้นจากราคาที่ใช้ในการประมาณการครั้งเดือนมีนาคมลิตรละ 21.6
บาท 20.90 บาท และ19.50 บาท ตามลำดับ
(3) ราคาส่งออกและนำเข้าสินค้าของไทย ในการประมาณการครั้งนี้ตั้งสมมุติฐานราคาส่งออกสินค้า
โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 ปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.3 ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากใน 4 เดือน
แรกราคาส่งออกโดยเฉลี่ยในรูปของเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 สูงกว่าที่คาดไว้เดิมโดยเฉพาะในกลุ่ม
สินค้าอุตสาหกรรม แต่นับว่าเป็นการชะลอตัวกว่าในปี 2547 ซึ่งราคาส่งออกสินค้าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8
สำหรับในช่วงที่เหลือของปีคาดว่าราคาจะชะลอตัวต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการสินค้าในตลาดโลกขยายตัวได้ช้า
ลง โดยที่ปริมาณการค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 7.4 ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 9.9 ในปี 2547
ทั้งนี้คาดว่าสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ อัญมณี เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย และเครื่องใช้ไฟฟ้า จะมีราคา
เพิ่มขึ้นไม่มาก พืชเกษตรสำคัญ เช่น ยางพารา ราคาส่งออกเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในเดือนเมษายนที่ผ่านมา เนื่องจาก
ความต้องการในตลาดสำคัญ เช่น จีน ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยในไตรมาสแรกความต้องการ tire และ tube เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 10 และเป็นความต้องการที่มีมากกว่าปริมาณการผลิตภายในประเทศ ในขณะที่ความต้องการยาง
สังเคราะห์ ลดลงประมาณร้อยละ 15.3 เนื่องจากราคาที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมัน
สำหรับราคาสินค้านำเข้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าโดยเฉลี่ยทั้งปีจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ
13.0 จากที่เดิมคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 และใกล้เคียงกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 ในปี 2547 ทั้งนี้ใน 4
เดือนแรกราคานำเข้าเฉลี่ยในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบและน้ำมันเชื้อ
เพลิงนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นมากถึงร้อยละ 39 เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ราคานำเข้าหมวดอื่น
ๆ ทั้งหมวดสินค้าวัตถุดิบ อุปโภคบริโภค และสินค้าทุนราคาเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง
สำหรับในช่วง 8 เดือนต่อจากนี้ไป คาดว่าราคาสินค้านำเข้าจะยังเพิ่มขึ้นแต่ในอัตราที่ชะลอลงเนื่องจาก
ความต้องการในตลาดโลกมีแนวโน้มขยายตัวช้าลง สำหรับราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูง แต่เปรียบ
เทียบกับราคาใน 8 เดือนหลังของปี 2547 จะเป็นการเพิ่มในอัตราที่ไม่สูง เนื่องจากฐานราคาน้ำมันใน 8 เดือน
หลัง ของปีที่แล้วสูงมาก โดยที่ราคานำเข้าหมวดน้ำมันและเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 38.9 และ 45.5 ใน 3
ไตรมาสหลังของปี 2547
ดังนั้นในปี 2548 นี้ประเทศไทยจะเสียเปรียบอัตราการค้า(Term of trade) เป็นปีแรกนับตั้งแต่ปี
2545 ซึ่งเป็นผลลบต่อรายได้ของประเทศ และความเสียเปรียบด้านราคาโดยเปรียบเทียบระหว่างการส่งออกและการ
นำเข้าของไทยจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยมีแรงกดดันต่อการขาดดุลการค้ามากขึ้น ในขณะที่ความต้องการสินค้านำ
เข้าในเชิงปริมาณยังเพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนการผลิตภายในประเทศ ทั้งเพื่อการส่งออกและการใช้ในประเทศ รวมทั้ง
ความต้องการสินค้าทุนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความต้องการขยายการลงทุนที่นับว่ายังอยู่ในช่วงของวัฏจักรการขยายตัว
2.2 การปรับประมาณการเศรษฐกิจปี 2548
(1) จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป สศช. จึงปรับประมาณการเศรษฐกิจลงจากร้อยละ 5.5-6.5 ซึ่ง
แถลงข่าวเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2548 เป็นร้อยละ 4.5-5.5 และ อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3.6 สูงกว่าร้อยละ
3.2 ที่คาดการณ์ไว้เดิม เนื่องจากราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นมากและราคาพืชผลที่สูงขึ้นจากผลกระทบภัยแล้ง รวมทั้งอัตรา
แลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงเล็กน้อยจะเพิ่มแรงกดดันต่อราคาสินค้า และคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลเพียง
เล็กน้อยคิดเป็นร้อยละ 0.1 ของ GDP ต่ำกว่าการเกินดุลร้อยละ 1.0 ของ GDP ที่คาดไว้เดิม การปรับลดการ
ประมาณลงเป็นนับว่าเป็นผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ซึ่งได้ทำให้เศรษฐกิจในไตรมาสแรกชะลอ
ลงมากและฉุดการขยายตัวทั้งปีลง
(2) ปรับลดอัตราการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนลงจากร้อยละ 5.3 เป็นร้อยละ 4.6 เช่น
เดียวกับการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับลดการประมาณการลงตามแนวโน้มในไตรมาสแรก และตามเงื่อนไขปริมาณความ
ต้องการสินค้าภายในประเทศและการส่งออกที่คาดว่าจะขยายตัวได้ช้าลงกว่าที่คาดไว้เดิม การปรับลดปริมาณการส่ง
ออกนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะขยายตัวช้าลงซึ่งจะเห็นว่าในช่วงที่ผ่านมาการเคลื่อนไหวของการ
ส่งออกของไทยเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศอื่นๆ การปรับลดการขยายตัวของการใช้จ่าย การส่งออก และการลง
ทุน จะทำให้ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าที่ คาดการณ์ในเดือนมีนาคม
3) เศรษฐกิจจะยังมีเสถียรภาพต่อเนื่อง โดยอัตราการว่างงานจะอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 2 ทุน
สำรองเงินตราระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง หนี้ต่างประเทศระยะสั้นทรงตัว สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลง
และอัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวในช่วงแคบ ๆ แต่มีแรงกดดันมากขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อ และการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่
ลดลงมากจากการนำเข้าที่ยังขยายตัวสูง แม้คาดว่าจะเริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวลงบ้างในครึ่งหลังจากการที่ได้สะสม
สต๊อกในช่วงต้นปี
2.3 ในกรณีการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 5.5: ต้องกระตุ้นการส่งออก การท่องเที่ยว และเร่ง
รัดการเบิกจ่ายงบกลางตามแผนโครงการที่กำหนด
(1) เร่งรัดการส่งออกให้ขยายตัวประมาณร้อยละ 18 หรือเป็นการเพิ่มมูลค่าการส่งออกจากกรณีแนวโน้ม
อีกประมาณ 2,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการคาดการณ์กรณีแนวโน้มซึ่งขยายตัวร้อยละ 15.7 โดยจะเป็นการเร่ง
ขยายการส่งออกสินค้าเกษตร ในกลุ่มยางพารา กุ้งไก่ ข้าว และอาหารทะเลกระป๋อง และสินค้าอุตสาหกรรมที่มีสัด
ส่วนการใช้วัตถุดิบนำเข้าต่ำ
(2) เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวอีกประมาณ 200,000 คน จากกรณีแนวโน้ม รวมเป็นเป้าหมายจำนวนนัก
ท่องเที่ยวต่างชาติ 12.57 ล้านคน และรายได้ท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 6,400 ล้านบาท
(3) เบิกจ่ายงบกลางประจำปีงบประมาณ 2548 รวม 50,000 ล้านบาทตามเป้าหมาย และเบิกจ่ายงบ
ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมและค่าใช้จ่ายในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันที่ค้างจ่ายอีกจำนวนประมาณ
48,471 ล้านบาท (สศช. ได้รวมการเบิกจ่ายงบกลาง ประจำปีงบประมาณ 2548 จำนวน 50,000 ล้านบาท และ
งบค้างจ่ายไว้แล้ว 16,000 ล้านบาทในการประมาณ การเศรษฐกิจเมื่อ วันที่ 7 มีนาคม 2548)
2.4 การขยายตัวในกรณีต่ำร้อยละ 4.5 จะมีโอกาสเป็นไปได้ถ้าราคาน้ำมันดิบดูไบหรือโอมานอยู่ที่ระดับ
ใกล้เคียง 50 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาเรล อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน ซึ่งจะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น
กว่าร้อยละ 4
3. ความน่าจะเป็นของภาวะเศรษฐกิจปี 2548 ในกรณีต่าง ๆ
โอกาสที่ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยทั้งปีจะต่ำหรือสูงกว่า 44 ดอลลาร์ต่อบาเรลนั้นมีความเป็นไปได้ใกล้เคียง
กัน เนื่องจากปัจจัยเชิงเทคนิคและจิตวิทยาทำให้ราคาน้ำมันตอบสนองต่อข่าวสารสถานการณ์น้ำมันทั้งทางด้านความ
ต้องการใช้และเงื่อนไขด้านการผลิต ทั้งที่เป็นข่าวบวกหรือลบอย่างรวดเร็ว และจากความเคลื่อนไหวในช่วงที่
ผ่านมาจะเห็นว่ามีทั้งข่าวที่เป็นบวกและลบ เช่น ข้อมูล ความต้องการน้ำมันที่ชะลอตัว หรือ ข้อมูลการสะสมสะ
ต็อคที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น เช่นเดียวกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่จะขยายตัวได้สูงกว่าหรือต่ำกว่าร้อยละ 3.4 โดยมีตัวแปร
ที่สำคัญคือเศรษฐกิจสหรัฐฯ นั้น มีโอกาสเท่า ๆ กัน
ดังนั้นโอกาสความน่าจะเป็นที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2548 จะมีค่าสูงหรือต่ำกว่าค่ากลางร้อยละ
5.0 มีค่าใกล้เคียงกัน เป็นการกระจายของความน่าจะเป็นของการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สมมาตร (Symmetric
probability distribution) โดยที่ค่าความน่าจะเป็นที่การขยายตัวของเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยทั้งปี 2548 จะอยู่ใน
ช่วงร้อยละ 4.5-5.5 เป็นร้อยละ 86.1
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2548
ข้อมูลเบื้องต้น ประมาณการ ปี 2548
2546 2547 7 มี.ค.48 6 มิ.ย.48
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 5,930.4 6,576.8 7,198.8 7,195.0
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 6.9 6.1 5.5 - 6.5 4.5-5.5
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 11.9 14.4 15.6 11.9
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 17.5 15.3 15.7 10.6
ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) -0.8 11.7 15.3 15.3
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 5.8 5.4 5.7 5.1
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 6.4 5.6 5.3 4.6
ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 2.0 4.1 8.6 8.6
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 7.0 7.8 5.9 5.2
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 78.1 96.1 110.3 111.1
อัตราการขยายตัว (%) 18.2 23.0 14.8 15.7
(ยังมีต่อ)
เฟ้อที่สูงขึ้น เศรษฐกิจโลกชะลอตัวและปัญหาการส่งออกไก่และ ภาวะภัยแล้ง ผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย และอัตรา
ดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้น
- คาดว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีเมื่อปัจจัยกระทบชั่วคราวหมดไป และมีการเร่งรัด
การใช้จ่ายภาครัฐ และส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรมส่งออกที่ใช้สัดส่วนการนำเข้าต่ำ
ภาพรวม
ภาพรวมเศรษฐกิจไตรมาสแรกและแนวโน้มปี2548
ประเด็นหลัก
-เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 3.3 ในไตรมาสแรกปี 2548 ช้าลงกว่าการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 6.1 ใน
ปี 2547 เนื่องจากผลกระทบราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและปัญหาการส่งออกไก่และ
กุ้ง ภัยแล้ง ผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้น
-แรงกดดันราคาสินค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 2.8 ในไตรมาสแรก ร้อยละ
3.2 ในเดือนเมษายน และร้อยละ 3.6 ในเดือนพฤษภาคม โดยที่ราคาในหมวดที่มิใช่อาหารเพิ่มขึ้นเร็ว และจะกดดัน
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมากขึ้นในระยะต่อไป
- มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5 เร็วกว่ามูลค่าการ ส่งออกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 เนื่อง
จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมาก และความต้องการสินค้าทุนเพื่อขยายการลงทุนและวัตถุดิบเพื่อป้อนการผลิตโดยเฉพาะการ
ผลิตเพื่อการ ส่งออก ดุลการค้าจึงขาดดุล
- การท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวจากผลกระทบธรณีพิบัติภัย ดุลบริการเกินดุลแต่ไม่มากพอที่จะชดเชยการขาด
ดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงขาดดุล และดุลการชำระเงินเกินดุลลดลงเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนลงในเดือน
มีนาคมและเมษายน
- คาดว่าในครึ่งหลังของปี เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ดีขึ้น จากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวได้ชัดเจนมากขึ้น ผล
กระทบจากภัยแล้งหมดไป หมดช่วงของการเฝ้าระวังของไข้หวัดนกและการรับรองโรงงานเพิ่มขึ้นจะทำให้สามารถส่ง
ออกไก่สดแช่แข็งได้เพิ่มขึ้น การเร่งรัดการใช้จ่ายภาครัฐจะเห็นผลมากขึ้นและโครงการลงทุนขนาดใหญ่เริ่มดำเนินการ
ในบางส่วน รวมทั้งการเร่งรัดการส่งออกสินค้าเกษตรในกลุ่ม ไก่ กุ้ง ยางพารา และข้าว รวมทั้งสินค้าอุตสาหกรรมที่
ใช้ สัดส่วนวัตถุดิบนำเข้าต่ำ
- โดยรวมปี 2548 เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.5-5.5 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3.6
และดุลบัญชีเดินสะพัดยังเกินดุลเล็กน้อยประมาณร้อยละ 0.1 ของ GDP
1. เศรษฐกิจไตรมาสแรก ปี 2548 : ขยายตัวร้อยละ 3.3
1.1 ภาพรวมเศรษฐกิจไทย
การขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ในไตรมาสแรกเศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับข้อจำกัดหลายด้าน ได้แก่
เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและทำให้การส่งออกขยายตัวได้ช้าลง ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ผลกระทบจากภัยแล้ง การส่งออกไก่
สดแช่แข็งยังมีปัญหา และการส่งออกกุ้งได้รับผลกระทบจากการที่ฟาร์มเลี้ยงกุ้งเสียหายจากธรณีพิบัติภัยและการถูกเรียก
เก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด ภายใต้ข้อจำกัดดังกล่าวเศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 3.3 ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ
6.1 ในปี 2547 โดยที่ในด้านอุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวได้ช้าลงทั้งการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งขยายตัว
ร้อยละ 4.5 ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 5.7 ในปี 2547 และการลงทุนเอกชนขยายตัวร้อยละ 10.6 ต่ำกว่าการ
ขยายตัวร้อยละ 15.3 ในปี 2547 แต่การใช้จ่ายภาครัฐบาลและการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 และ 29.2
ตามลำดับ
สำหรับด้านต่างประเทศ การส่งออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่มูลค่า
การนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28.5 สูงกว่าการขยายตัวของการส่งออกมากและทำให้ในไตรมาสแรกดุลการค้าขาดดุล
รวม 3,225 ล้านดอลลาร์ สรอ.
เสถียรภาพเศรษฐกิจ แรงกดดันราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น ในไตรมาสแรก อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย
เท่ากับร้อยละ 2.8 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.2 ใน 5 เดือนแรก อัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 2.29 ลดลงเล็ก
น้อยจากร้อยละ 2.37 ในไตรมาสแรกปี 2547 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 1,499 ล้านดอลลาร์ สรอ. และขาดดุลเพิ่ม
ขึ้นเป็น 3,108 ล้านดอลลาร์ สรอ. ใน 4 เดือนแรก ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ณ สิ้นเดือนเมษายน เท่ากับ
49,237 ล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นประมาณ 3.8 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น หนี้สาธารณะต่อ GDP เท่ากับ
ร้อยละ 43.5 ลดลงจากร้อยละ 47.5 ณ สิ้นปี 2547
1.2 ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงมากในไตรมาสแรก: เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ราคาน้ำมันที่สูง
ขึ้น และปัจจัยต่าง ๆ ภายในประเทศซึ่งเป็นปัจจัยชั่วคราว
(1) เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ในไตรมาสแรกเศรษฐกิจโลกชะลอตัวชัดเจนจากการที่เศรษฐกิจหลักของ
โลกและเศรษฐกิจเอเชียชะลอตัวลง โดยเฉพาะประเทศที่ต้องพึ่งพิงการนำเข้าน้ำมัน และการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ
ญี่ปุ่น และยุโรป เป็นตลาดหลัก ในไตรมาสแรกเศรษฐกิจสหรัฐฯ นอกจากจะต้องเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันแพงแล้วใน
ขณะเดียวกันก็ต้องปรับเพิ่มดอกเบี้ยขึ้นตามลำดับเพื่อลดแรงกดดันต่อเงินเฟ้อและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และ
เศรษฐกิจญี่ปุ่นและยุโรปได้รับผลกระทบจากค่าเงินที่แข็งขึ้นและการส่งออกที่ชะลอตัวนอกจากปัญหาราคาน้ำมันแพง
ในไตรมาสแรกเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.7 ชะลอลงจากร้อยละ 3.9 ในไตรมาสสุดท้ายปี
2547 และเฉลี่ยร้อยละ 4.4 ของทั้งปี เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ ประเทศเศรษฐกิจหลักมีผลกระทบต่อเนื่องต่อ
การส่งออกของประเทศในเอเชีย และเมื่อรวมกับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้ในไตรมาสแรกเศรษฐกิจของ
ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียชะลอตัวลง ยกเว้นเศรษฐกิจจีนซึ่งขยายตัวร้อยละ 9.4 ประเทศที่เศรษฐกิจชะลอตัวมาก
ประกอบด้วย เศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.7 สิงคโปร์ร้อยละ 2.5 และไต้หวันร้อยละ 2.5 สำหรับ
ประเทศที่ชะลอตัวไม่มาก ประกอบด้วย ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย ซึ่งสองประเทศหลังเป็น
ประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน
(2) ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นและการปรับราคาขายปลีกน้ำมันภายในประเทศเพิ่มขึ้น ในไตรมาสแรกปี
2548 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกสูงขึ้นมากและค่อนข้างผันผวน ราคาน้ำมันดิบโอมานเฉลี่ยเท่ากับ 42.50 ดอลลาร์ต่อ
บาร์เรล และราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเท่ากับ 41.27 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.9 และร้อยละ
42.9 จากระยะเดียวกันของปี 2547 เนื่องมาจากความต้องการในตลาดโลกยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องแต่กำลังการผลิตส่วนที่
เหลืออยู่และสามารถดำเนินการผลิตได้ทันทีภายใน 30 วันอยู่ในระดับที่ต่ำ ประกอบกับปัจจัยเชิงจิตวิทยาที่ทำให้ราคา
น้ำมันเพิ่มสูงขึ้นเป็นครั้งคราวจากข่าวสารต่าง ๆ อาทิ การประท้วงของคนงาน การหยุดซ่อมโรงกลั่น และการ
ประกาศตัวเลขปริมาณการสำรองน้ำมันของสหรัฐฯ และ OECD โดยรวม
ราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศปรับสูงขึ้นตาม ภายหลังจากที่ได้ยกเลิกการตรึง
ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 และ 91 ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2547 เป็นต้นมา สำหรับราคาน้ำมันดีเซลได้มีการ
ปรับเพดานราคาขึ้นลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์เป็นราคาลิตรละ 15.19 บาทและปรับขึ้นอีกลิตรละ
3 บาท เป็นราคาลิตรละ 18.19 บาท ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2548 จนถึงปัจจุบัน(*****)
ผลกระทบสำคัญจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น มีดังนี้
- ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมากและการลดการชดเชยราคาน้ำมันส่งผลกระทบต่อการใช้จ่าย ราคาน้ำมันดิบใน
ตลาดโลกที่สูงขึ้นทำให้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมาก และเร็วกว่าการขยายตัวของการส่งออกจึงเป็นปัจจัยฉุด
เศรษฐกิจ ในไตรมาสแรกมูลค่าการนำเข้าน้ำมันและน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.9 จากระยะเดียวกันของปี
2547 โดยที่ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 และราคานำเข้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.4
-เมื่อราคานำเข้าถูกส่งผ่านมายังราคาขายปลีกน้ำมันและราคาสินค้าซึ่งผู้บริโภครับภาระ ทำให้กำลังซื้อที่
แท้จริงลดลงและกระทบการใช้จ่าย ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลกระทบกำลังซื้อโดยตรงจากรายจ่ายค่าน้ำมันที่สูง
ขึ้นและผลกระทบด้านราคาสินค้าที่ทำให้กำลังซื้อที่แท้จริงลดลง จะเห็นว่าแรงกดดันต่อเงินเฟ้อสูงขึ้นตามลำดับจาก
ร้อยละ 2.8 ในไตรมาสแรก เป็นร้อยละ 3.6 ในเดือนเมษายน และร้อยละ 3.7 ในเดือนพฤษภาคม และเมื่อ
ประกอบกับอิทธิพลตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทำให้การใช้จ่ายภาคเอกชนในไตรมาสแรกขยายตัวเพียงร้อยละ
4.5 เปรียบเทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 5.7 ในปี 2547 โดยที่การใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าคงทนซึ่งเป็นสินค้าประเภท
รถยนต์และยานพาหนะต่าง ๆ ลดลงร้อยละ 0.2 ในไตรมาสแรก ซึ่งชะลอตัวลงมากจากการขยายตัวร้อยละ 12.9
ในปี 2547 เช่นเดียวกับการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้ากึ่งคงทนประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์ และเครื่องคอมพิวเตอร์
เป็นต้น ซึ่งรวมกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ชะลอลงเล็กน้อยจากการขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปี 2547
--------------------------------------------------------------------------------
(*****)และล่าสุดคณะรัฐมนตรีประกาศลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลแบบบริหารจัดการ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2548
เป็นต้นไป โดยจะปรับลดภาษีสรรพสามิตของน้ำมันดีเซลเป็นเวลา 10 เดือน และจะทยอยลดการอุดหนุนราคาน้ำมัน
ดีเซลไปจนถึงปี 49 เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาไม่ให้รุนแรงจนเกินไป
--------------------------------------------------------------------------------
-ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น แม้จะเป็นระดับราคาในระยะยาว แต่ปี 2547-2548 นับว่ายังเป็นช่วงเปลี่ยน
ผ่านไปสู่ราคาที่เป็นดุลยภาพใหม่ที่โลกจะต้องเผชิญ จึงเป็นการปรับตัวที่แรง (overshooting) ก่อนที่ประชาชนและ
ภาคธุรกิจเอกชนจะปรับตัวรับกับสถานการณ์ใหม่ได้ตามปกติและที่สำคัญ การดำเนินมาตรการของรัฐบาลในการส่งเสริม
การประหยัดพลังงาน และการพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือกจะปรากฏผลชัดเจนมากขึ้นตามลำดับ เช่นกระทรวง
พลังงานร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตั้งเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ที่จะผสมไบโอดีเซลเป็นสัดส่วนร้อยละ 10 ใน
น้ำมันดีเซลทั่วประเทศภายในปี 2555 เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ประเทศมีความอ่อนไหวต่อราคาน้ำมันน้อยลง
(3) ผลกระทบจากภัยแล้งทำให้ปริมาณการผลิตพืชผลเกษตรในไตรมาสแรกลดลงร้อยละ 11.7 และ
สาขาเกษตรรวมหดตัวร้อยละ 8.2 โดยเฉพาะผลผลิตที่ลดลงมากคือ อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวนาปรัง ลดลงร้อย
ละ 22.7 20.7 และ 17.2 ตามลำดับ ปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมลดลงร้อยละ 3.6 แต่ราคาที่สูงขึ้นช้า
กว่าการนำเข้าทำให้มูลค่าการส่งออกลดลงเช่นกัน
(4) ผลกระทบจากการระบาดของไข้หวัดนกที่ยังอยู่ในช่วงของการเฝ้าระวังทำให้ไม่สามารถส่งออกไก่
สดแช่แข็งไปยังตลาดยุโรปและญี่ปุ่นได้ ในไตรมาสแรกมูลค่าการส่งออกไก่สดแช่แข็งลดลงร้อยละ 98.7 และเป็นร้อย
ละ 97.5 ในเดือนเมษายน อย่างไรก็ตามการส่งออกไก่สุกเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 89.2 ในไตรมาสแรก และร้อยละ
79.7 ในเดือนเมษายน
(5) ผลกระทบจากการที่การส่งออกกุ้งของไทยถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดในตลาดสหรัฐฯ ฐาน
การส่งออกกุ้งที่สูงในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ก่อนที่จะถูกไต่สวนการทุ่มตลาด และผลกระทบจากธรณีพิบัติที่ทำให้
ฟาร์มกุ้งเสียหาย ทำให้การส่งออกกุ้งสดและกุ้งแช่แข็งลดลงร้อยละ 12.0 ในไตรมาสแรก
(6) การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย ในไตรมาสแรกจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงร้อยละ
6.9 และสาขาภัตตาคารและโรงแรมหดตัวร้อยละ 2.0
2. ประมาณการเศรษฐกิจปี 2548: ขยายตัว ร้อยละ 4.5-5.5 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3.6
และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเล็กน้อย
ในปี 2548 เศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2547 แต่อัตราการขยายตัวเริ่มช้าลงตาม
แนวโน้มวัฏจักรเศรษฐกิจภายหลังจากที่ขยายตัวมาอย่างต่อเนื่อง 6 ปีที่ผ่านมา การขยายตัวร้อยละ 3.3 ในไตรมาส
แรกนั้นนับต่ำกว่าแนวโน้มปกติมาก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบชั่วคราวเป็นสำคัญ ดังนั้นจึงคาดว่าเมื่อปัจจัย
ลบชั่วคราว ทั้งภัยแล้ง ปัญหาการส่งออกไก่และกุ้ง ผลกระทบต่อการท่องเที่ยวจากธรณีพิบัติภัยหมดไป และราคาน้ำมัน
ปรับเข้าสู่ระดับที่มีเสถียรภาพมากขึ้น เศรษฐกิจจะกลับมาขยายตัวได้ในอัตราที่สูงขึ้น
ปัจจุบันมีปัจจัยบวกในด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป อาทิ
-ราคาสินค้าส่งออกโดยเฉลี่ยยังเพิ่มขึ้นในระดับที่น่าพอใจและทำให้มูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้น โดยที่
เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ 18 ประเทศของไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 3.4 ในปี 2548 นี้
-จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.1 ในเดือนมีนาคม สำหรับในไตรมาสแรกจำนวน
นักท่องเที่ยวจะลดลงร้อยละ 6.9 ประเมินว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงร้อยละ 1.1 ในเดือนเมษายนน่าจะเป็นผล
กระทบชั่วคราวต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวจากเหตุการณ์ระเบิดพร้อมกัน 3 จุดที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
- บรรยากาศและเงื่อนไขด้านการลงทุน ที่แสดงว่าการลงทุนภาคเอกชนยังมีแนวโน้มดีเมื่อพิจารณาจาก
เครื่องชี้หลายรายการ ได้แก่ เงินทุนไหลเข้าสุทธิเพื่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 117 ใน
ไตรมาสแรก และมีการลงทุนภาคเอกชนที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 110.7 ในปี 2547 ซึ่งคาดว่าส่วนหนึ่ง
จะเริ่มเปิดดำเนินการได้ภายในปี 2548 นี้ นอกจากนี้มี กิจการลงทุนที่ขอรับการส่งเสริมเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 111.2 ใน
ไตรมาสแรกซึ่งสะท้อนถึงบรรยากาศและความเชื่อมั่นในการลงทุนที่จะทำให้การลงทุนยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระยะต่อ
ไป
- ค่าใช้จ่ายภาครัฐทั้งงบกลางประจำปีงบประมาณ 2548 จำนวน 50,000 ล้านบาท เงินค้างจ่ายจากปี
งบประมาณ 2546-2547 จำนวน 48,471 ล้านบาท และการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่ขออนุมัติขยายวงเงินลงทุนเป็น
316,747 ล้านบาท ซึ่งครอบคลุมถึงการลงทุนโครงการใหญ่ที่คาดว่าจะเริ่มต้นดำเนินงานได้บางส่วน
2.1 สมมุติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2548: ปรับเพิ่มราคาน้ำมันดิบและปรับลดการขยายตัว
เศรษฐกิจโลก
(1) เศรษฐกิจโลกขยายตัวร้อยละ 3.4 ในปี 2548 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.7 ในปี 2547
การประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2548 ในครั้งนี้ได้ปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
ลงเล็กน้อยจากร้อยละ 3.8 โดยเป็นการปรับลดการประมาณการเศรษฐกิจของประเทศหลัก ๆ อาทิ สหรัฐฯ จากร้อย
ละ 3.8 เป็นร้อยละ 3.6 ญี่ปุ่นจากร้อยละ 1.1 เป็นร้อยละ 0.8 และกลุ่มยูโรจากร้อยละ 1.5 เป็นร้อยละ 1.1
รวม ทั้งการขยายตัวของกลุ่มเอเชียที่ปรับลดการขยายตัวของ สิงค์โปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และฮ่องกง แต่ยังคงอัตรา
การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนไว้ที่ร้อยละ 8.5 อินโดนีเซียที่ร้อยละ 5.5 และมาเลเซียที่ร้อยละ6.0
การปรับลดประมาณการเป็นไปตามข้อมูลล่าสุดของการขยายตัวในไตรมาสแรกที่แสดงว่าเศรษฐกิจของ
ประเทศส่วนใหญ่ขยายตัวได้ต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดเนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากกว่าที่คาดไว้เดิมและมีแนว
โน้มว่าจะยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งผลต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจอื่น ๆ และทำให้การ
ส่งออกของหลายประเทศชะลอตัวในไตรมาสแรกและมีแนวโน้มต่อเนื่องในไตรมาสต่อ ๆ ไป ผลกระทบจากเศรษฐกิจ
โลกจะรุนแรงในประเทศที่กำลังดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น เพื่อลดแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น
(2) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยบาเรลละ 44 ดอลลาร์ สรอ.ปรับข้อสมมุติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบสูงขึ้น
จากบาเรลละ 38 ดอลลาร์ สรอ. ในการประมาณการในเดือนมีนาคมเป็นบาเรลละ 44 ดอลลาร์ สรอ. สูงกว่า
ราคาเฉลี่ยในปี 2547 ประมาณร้อยละ 30.8 โดยที่ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2548 ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเท่ากับ
บาเรลละ 43.2 ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 39.5 และสำหรับในช่วงที่เหลือของปีนี้
คาดว่าราคาจะมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ระดับประมาณบาเรลละ 44-45 ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งจะเห็นว่าราคาน้ำมันดิบไม่ได้
ปรับลดลงในช่วงไตรมาสที่สองแม้ว่าจะเป็นช่วงหน้าร้อนเนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันจะเปลี่ยนจาก heating
oil มาเป็น gasoline ราคาจะปรับสูงขึ้นเล็กน้อยในไตรมาสที่สาม และสูงขึ้นชัดเจนในไตรมาสสุดท้ายซึ่งเป็นช่วง
หน้าหนาว ทั้งนี้กรมสารนิเทศการพลังงาน กระทรวงพลังงานของสหรัฐฯได้คาดการณ์เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2548
ว่าราคาน้ำมันดิบอ้างอิง West Texas Index จะอยู่ในช่วงประมาณ 50-51 ดอลลาร์ต่อบาเรล ตั้งแต่เดือน
กรกฎาคมปี 2548 จนถึงปี 2549 และใน 2 ปีที่ผ่านมาราคาอ้างอิงนี้สูงกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบประมาณบาเรลละ 4-
5 ดอลลาร์ สรอ. จากการคาดการณ์ราคาน้ำมันเฉลี่ยบาเรลละ 44 ดอลลาร์ สรอ. จะทำให้ราคาน้ำมันขายปลีก
น้ำมันเบนซิน 95 จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นลิตรละ 23.10 บาท ราคาน้ำมันเบนซิน 91 ลิตรละ 22.40 บาท และราคาน้ำมัน
ดีเซลหมุนเร็วจะเป็น ลิตรละ 21.50 บาท สูงขึ้นจากราคาที่ใช้ในการประมาณการครั้งเดือนมีนาคมลิตรละ 21.6
บาท 20.90 บาท และ19.50 บาท ตามลำดับ
(3) ราคาส่งออกและนำเข้าสินค้าของไทย ในการประมาณการครั้งนี้ตั้งสมมุติฐานราคาส่งออกสินค้า
โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 ปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.3 ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากใน 4 เดือน
แรกราคาส่งออกโดยเฉลี่ยในรูปของเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 สูงกว่าที่คาดไว้เดิมโดยเฉพาะในกลุ่ม
สินค้าอุตสาหกรรม แต่นับว่าเป็นการชะลอตัวกว่าในปี 2547 ซึ่งราคาส่งออกสินค้าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8
สำหรับในช่วงที่เหลือของปีคาดว่าราคาจะชะลอตัวต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการสินค้าในตลาดโลกขยายตัวได้ช้า
ลง โดยที่ปริมาณการค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 7.4 ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 9.9 ในปี 2547
ทั้งนี้คาดว่าสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ อัญมณี เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย และเครื่องใช้ไฟฟ้า จะมีราคา
เพิ่มขึ้นไม่มาก พืชเกษตรสำคัญ เช่น ยางพารา ราคาส่งออกเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในเดือนเมษายนที่ผ่านมา เนื่องจาก
ความต้องการในตลาดสำคัญ เช่น จีน ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยในไตรมาสแรกความต้องการ tire และ tube เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 10 และเป็นความต้องการที่มีมากกว่าปริมาณการผลิตภายในประเทศ ในขณะที่ความต้องการยาง
สังเคราะห์ ลดลงประมาณร้อยละ 15.3 เนื่องจากราคาที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมัน
สำหรับราคาสินค้านำเข้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าโดยเฉลี่ยทั้งปีจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ
13.0 จากที่เดิมคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 และใกล้เคียงกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 ในปี 2547 ทั้งนี้ใน 4
เดือนแรกราคานำเข้าเฉลี่ยในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบและน้ำมันเชื้อ
เพลิงนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นมากถึงร้อยละ 39 เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ราคานำเข้าหมวดอื่น
ๆ ทั้งหมวดสินค้าวัตถุดิบ อุปโภคบริโภค และสินค้าทุนราคาเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง
สำหรับในช่วง 8 เดือนต่อจากนี้ไป คาดว่าราคาสินค้านำเข้าจะยังเพิ่มขึ้นแต่ในอัตราที่ชะลอลงเนื่องจาก
ความต้องการในตลาดโลกมีแนวโน้มขยายตัวช้าลง สำหรับราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูง แต่เปรียบ
เทียบกับราคาใน 8 เดือนหลังของปี 2547 จะเป็นการเพิ่มในอัตราที่ไม่สูง เนื่องจากฐานราคาน้ำมันใน 8 เดือน
หลัง ของปีที่แล้วสูงมาก โดยที่ราคานำเข้าหมวดน้ำมันและเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 38.9 และ 45.5 ใน 3
ไตรมาสหลังของปี 2547
ดังนั้นในปี 2548 นี้ประเทศไทยจะเสียเปรียบอัตราการค้า(Term of trade) เป็นปีแรกนับตั้งแต่ปี
2545 ซึ่งเป็นผลลบต่อรายได้ของประเทศ และความเสียเปรียบด้านราคาโดยเปรียบเทียบระหว่างการส่งออกและการ
นำเข้าของไทยจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยมีแรงกดดันต่อการขาดดุลการค้ามากขึ้น ในขณะที่ความต้องการสินค้านำ
เข้าในเชิงปริมาณยังเพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนการผลิตภายในประเทศ ทั้งเพื่อการส่งออกและการใช้ในประเทศ รวมทั้ง
ความต้องการสินค้าทุนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความต้องการขยายการลงทุนที่นับว่ายังอยู่ในช่วงของวัฏจักรการขยายตัว
2.2 การปรับประมาณการเศรษฐกิจปี 2548
(1) จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป สศช. จึงปรับประมาณการเศรษฐกิจลงจากร้อยละ 5.5-6.5 ซึ่ง
แถลงข่าวเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2548 เป็นร้อยละ 4.5-5.5 และ อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3.6 สูงกว่าร้อยละ
3.2 ที่คาดการณ์ไว้เดิม เนื่องจากราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นมากและราคาพืชผลที่สูงขึ้นจากผลกระทบภัยแล้ง รวมทั้งอัตรา
แลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงเล็กน้อยจะเพิ่มแรงกดดันต่อราคาสินค้า และคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลเพียง
เล็กน้อยคิดเป็นร้อยละ 0.1 ของ GDP ต่ำกว่าการเกินดุลร้อยละ 1.0 ของ GDP ที่คาดไว้เดิม การปรับลดการ
ประมาณลงเป็นนับว่าเป็นผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ซึ่งได้ทำให้เศรษฐกิจในไตรมาสแรกชะลอ
ลงมากและฉุดการขยายตัวทั้งปีลง
(2) ปรับลดอัตราการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนลงจากร้อยละ 5.3 เป็นร้อยละ 4.6 เช่น
เดียวกับการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับลดการประมาณการลงตามแนวโน้มในไตรมาสแรก และตามเงื่อนไขปริมาณความ
ต้องการสินค้าภายในประเทศและการส่งออกที่คาดว่าจะขยายตัวได้ช้าลงกว่าที่คาดไว้เดิม การปรับลดปริมาณการส่ง
ออกนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะขยายตัวช้าลงซึ่งจะเห็นว่าในช่วงที่ผ่านมาการเคลื่อนไหวของการ
ส่งออกของไทยเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศอื่นๆ การปรับลดการขยายตัวของการใช้จ่าย การส่งออก และการลง
ทุน จะทำให้ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าที่ คาดการณ์ในเดือนมีนาคม
3) เศรษฐกิจจะยังมีเสถียรภาพต่อเนื่อง โดยอัตราการว่างงานจะอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 2 ทุน
สำรองเงินตราระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง หนี้ต่างประเทศระยะสั้นทรงตัว สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลง
และอัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวในช่วงแคบ ๆ แต่มีแรงกดดันมากขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อ และการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่
ลดลงมากจากการนำเข้าที่ยังขยายตัวสูง แม้คาดว่าจะเริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวลงบ้างในครึ่งหลังจากการที่ได้สะสม
สต๊อกในช่วงต้นปี
2.3 ในกรณีการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 5.5: ต้องกระตุ้นการส่งออก การท่องเที่ยว และเร่ง
รัดการเบิกจ่ายงบกลางตามแผนโครงการที่กำหนด
(1) เร่งรัดการส่งออกให้ขยายตัวประมาณร้อยละ 18 หรือเป็นการเพิ่มมูลค่าการส่งออกจากกรณีแนวโน้ม
อีกประมาณ 2,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการคาดการณ์กรณีแนวโน้มซึ่งขยายตัวร้อยละ 15.7 โดยจะเป็นการเร่ง
ขยายการส่งออกสินค้าเกษตร ในกลุ่มยางพารา กุ้งไก่ ข้าว และอาหารทะเลกระป๋อง และสินค้าอุตสาหกรรมที่มีสัด
ส่วนการใช้วัตถุดิบนำเข้าต่ำ
(2) เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวอีกประมาณ 200,000 คน จากกรณีแนวโน้ม รวมเป็นเป้าหมายจำนวนนัก
ท่องเที่ยวต่างชาติ 12.57 ล้านคน และรายได้ท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 6,400 ล้านบาท
(3) เบิกจ่ายงบกลางประจำปีงบประมาณ 2548 รวม 50,000 ล้านบาทตามเป้าหมาย และเบิกจ่ายงบ
ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมและค่าใช้จ่ายในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันที่ค้างจ่ายอีกจำนวนประมาณ
48,471 ล้านบาท (สศช. ได้รวมการเบิกจ่ายงบกลาง ประจำปีงบประมาณ 2548 จำนวน 50,000 ล้านบาท และ
งบค้างจ่ายไว้แล้ว 16,000 ล้านบาทในการประมาณ การเศรษฐกิจเมื่อ วันที่ 7 มีนาคม 2548)
2.4 การขยายตัวในกรณีต่ำร้อยละ 4.5 จะมีโอกาสเป็นไปได้ถ้าราคาน้ำมันดิบดูไบหรือโอมานอยู่ที่ระดับ
ใกล้เคียง 50 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาเรล อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน ซึ่งจะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น
กว่าร้อยละ 4
3. ความน่าจะเป็นของภาวะเศรษฐกิจปี 2548 ในกรณีต่าง ๆ
โอกาสที่ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยทั้งปีจะต่ำหรือสูงกว่า 44 ดอลลาร์ต่อบาเรลนั้นมีความเป็นไปได้ใกล้เคียง
กัน เนื่องจากปัจจัยเชิงเทคนิคและจิตวิทยาทำให้ราคาน้ำมันตอบสนองต่อข่าวสารสถานการณ์น้ำมันทั้งทางด้านความ
ต้องการใช้และเงื่อนไขด้านการผลิต ทั้งที่เป็นข่าวบวกหรือลบอย่างรวดเร็ว และจากความเคลื่อนไหวในช่วงที่
ผ่านมาจะเห็นว่ามีทั้งข่าวที่เป็นบวกและลบ เช่น ข้อมูล ความต้องการน้ำมันที่ชะลอตัว หรือ ข้อมูลการสะสมสะ
ต็อคที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น เช่นเดียวกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่จะขยายตัวได้สูงกว่าหรือต่ำกว่าร้อยละ 3.4 โดยมีตัวแปร
ที่สำคัญคือเศรษฐกิจสหรัฐฯ นั้น มีโอกาสเท่า ๆ กัน
ดังนั้นโอกาสความน่าจะเป็นที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2548 จะมีค่าสูงหรือต่ำกว่าค่ากลางร้อยละ
5.0 มีค่าใกล้เคียงกัน เป็นการกระจายของความน่าจะเป็นของการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สมมาตร (Symmetric
probability distribution) โดยที่ค่าความน่าจะเป็นที่การขยายตัวของเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยทั้งปี 2548 จะอยู่ใน
ช่วงร้อยละ 4.5-5.5 เป็นร้อยละ 86.1
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2548
ข้อมูลเบื้องต้น ประมาณการ ปี 2548
2546 2547 7 มี.ค.48 6 มิ.ย.48
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 5,930.4 6,576.8 7,198.8 7,195.0
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 6.9 6.1 5.5 - 6.5 4.5-5.5
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 11.9 14.4 15.6 11.9
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 17.5 15.3 15.7 10.6
ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) -0.8 11.7 15.3 15.3
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 5.8 5.4 5.7 5.1
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 6.4 5.6 5.3 4.6
ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 2.0 4.1 8.6 8.6
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 7.0 7.8 5.9 5.2
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 78.1 96.1 110.3 111.1
อัตราการขยายตัว (%) 18.2 23.0 14.8 15.7
(ยังมีต่อ)