โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle หรือ IMT-GT)เริ่มขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2536 โดยสืบเนื่องมาจากความต้องการร่วมกันของรัฐบาล 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่จะพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดต่อใกล้เคียงกัน โดยได้เริ่มต้นขึ้นด้วยการปรึกษาหารือกันอย่างไม่เป็นทางการ และเห็นชอบในการหลักการของการพัฒนาความร่วมมือดังกล่าว จึงได้มีดำริที่จะจัดทำให้เป็นรูปธรรมขึ้น ในการนี้ ประเทศภาคีทั้งสามได้ขอความร่วมมือจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bandk หรือ ADB) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ และกำหนดขอบเขตความร่วมมือระหว่างกัน
โครงการ IMT-GT มีพื้นที่ดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ใน 3 ประเทศดังกล่าวอันได้แก่ จังหวัดสุมาตราเหนือ และจังหวัดอาเซของประเทศอินโดนีเซีย 4 รัฐด้านตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซีย คือ รัฐเคดาห์ ปีนัง เปรัก และเปอร์ลิศ และ 5 จังหวัดทางภาคใต้ของไทย คือ สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุน และเร่งรัดการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่โครงการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการผลิต รวมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านการค้า การลงทุน การถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อลดต้นทุนในการผลิตให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก และร่วมกันพัฒนาความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งโครงข่ายคมนาคมระบบ สาธารณูปโภค สาธารณูปการต่าง ๆ ตลอดจน ร่วมกันปรับปรุงฐานะความเป็นอยู่ของประชากรในเขตพื้นที่โครงการให้ดียิ่งขึ้น
สำหรับประเทศไทย สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบจัดทำร่างขอบเขตการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ และการกำหนดขอบเขตความร่วมมือระหว่างกัน รวมทั้งประสานงานกับอีกสองประเทศ ซึ่ง สศช.ได้ดำเนินการจัดทำร่างขอบเขตการศึกษาดังกล่าวแล้วเสร็จ พร้อมทั้งได้จัดส่งให้หน่วยงานวางแผนกลางของมาเลเซีย และอินโดเซียพิจารณา เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2536
การประชุมไตรภาคี : นำไปสู่การดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม
ในการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้มีการจัดประชุมไตรภาคีโครงการ IMT-GT ขึ้นมาแล้วทั้งสิ้นรวม 5 ครั้ง ดังจะได้กล่าวถึงต่อไปนี้
การประชุมครั้งที่ 1-4
ในครั้งที่ 1 ประเทศมาเลเซียรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโส ในระหว่างวันที่ 19-20 กรกฎาคม 2536 ซึ่งที่ประชุมครั้งนี้ได้เห็นชอบกับหลักเกณฑ์และแนวทางความร่วมมือของทั้งสามประเทศ และเห็นควรให้มีการส่งเสริมบทบาทของภาคธุรกิจเอกชน โดยผ่านสภาธุรกิจ (Business Council) ของทั้งสามประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นกลไกนำในการพัฒนาให้โครงการดังกล่าวดำเนินไปอย่างรวดเร็ว และให้หภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนการดำเนินงาน
การจัดประชุมไตรภาคีครั้งที่ 2 ไทยรับเป็นเจ้าภาพ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 19-21 มกราคม 2537 ซึ่งเป็นการประชุมทั้ง 3 ระดับคือ ในระดับสภา-ธุรกิจ ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีในครั้งที่ 2 ที่ประชุมมีการพิจารณารายงานผลการศึกษาเบื้องต้นที่เสนอโดย ADB และพิจารณาโครงการความร่วมมือที่เสนอโดยสภาธุรกิจของ 3 ประเทศ รวม 23 โครงการ ใน 6 สาขา อันได้แก่ สาขาคมนาคมขนส่ง สาขาอุตสาหกรรมและพลังงาน สาขาเกษตรและประมง สาขาการท่องเที่ยว สาขาการค้า การลงทุน และสาขาด้านแรงงาน
การประชุมไตรภาคีครั้งที่ 3 มีขึ้นระหว่างวันที่ 31 พฤษาคม-3 มิถุนายน 2537 โดยมีอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรี และสภาธุรกิจ โดยที่ประชุมได้มีการพิจารณาข้อเสนอของสภาธุรกิจที่เพิ่มเติมโครงการความร่วมมือเป็น 97 โครงการ ใน 7 สาขา และได้เห็นชอบให้แยกสาขาพลังงานออกจากสาขาอุตสาหกรรมรวมทั้งยังมีมติให้เอกชนเข้าร่วมในการประชุมผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดผลในการเร่งรัดการลงทุนมากขึ้น
การประชุมไตรภาคีครั้งที่ 4 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-16 ธันวาคม 2537 เป็นการประชุมระดับสภาธุรกิจ เจ้าหน้าที่อาวุโสและระดับรัฐมนตรี โดยมีประเทศมาเลเซียเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเป็นการประชุม เพื่อพิจารณารายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ของ ADB และแนวทางการดำเนินงานในรายสาขา
ผลจากการประชุมไตรภาคีทั้ง 4 ครั้ง ได้นำไปสู่การดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมหลายด้าน โดยในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นภายใต้โครงการ IMT-GT ได้เป็นไปอย่างรวดเร็วเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ และมีความก้าวหน้าในเชิงรูปธรรมหลายด้าน อาทิ การขยายเวลาเปิดด่านชายแดนไทย-มาเลเซีย (ด่านสะเดา-บูกิตกายู ฮิตัม/ด่านสุไหงโกลก-รันตูบันยัง/และด่านทุ่งหมอ-ปาดังเบซาร์) ออกไป 3 ชั่วโมง (6.00-22.00 น. เวลาไทย) การลงนามในข้อตกลงขยายโครงข่ายเชื่อมเส้นทางบินใหม่ระหว่าง 3 ประเทศ รวมทั้งการเร่งขอความสนับสนุนจากภาครัฐในโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการสะพานเศรษฐกิจปีนัง-สงขลา โครงการโรงไฟฟ้า-สตูล โครงการโทรทัศน์ร่วม 3 ฝ่าย และโครงการ Teleport เป็นต้น
การประชุมไตรภาคี ครั้งที่ 5
สำหรับการประชุมครั้งที่ 5 ซึ่งเป็นการประชุมครั้งล่าสุดนี้ ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ณ โรงแรมเกนติ้ง อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ระหว่างวันที่ 19-22 ธันวาคม 2538 โดยในวันที่ 19 ธันวาคม เป็นการประชุมระดับสภาธุรกิจร่วม 3 ฝ่าย วันที่ 20-21 ธันวาคม เป็นการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และการประชุมระดับรัฐมนตรีในวันที่ 22 ธันวาคม ซึ่ง ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี นายอำนวย วีรวรรณ ได้ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมระดับรัฐมนตรี ดังกล่าวด้วย
สาระสำคัญของการประชุมในครั้งที่ 5 นี้ ประกอบด้วยการพิจารณาผลการประชุมของคณะทำงานรายสาขาที่ดำเนินการเสร็จแล้ว ข้อเสนอโครงการความร่วมมือของสภาธุรกิจสามฝ่าย และแนวทางดำเนินการต่อไปของโครงการต่าง ๆ ใน 8 สาขาหลัก อันได้แก่ สาขาคมนาคมขนส่ง สาขาสื่อสารโทรคมนาคม สาขาพลังงาน สาขาเกษตรและประมง สาขาอุตสาหกรรม สาขาท่องเที่ยว สาขาการค้า การลงทุนและการเงิน สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการเคลื่อนย้ายแรงงาน ทั้ง 8 สาขานี้ ประกอบด้วย แผนงานและโครงการรวม 97 โครงการ ซึ่งผลการประชุมทั้ง 3 ระดับ สรุปได้ดังนี้
สาขาการค้า การลงทุน อุตสาหกรรมและการเงิน
ที่ประชุมเร่งรัดแผนงาน/โครงการตามข้อเสนอของ ADB รวมทั้ง เห็นชอบให้คณะทำงานศึกษาในรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลดมาตรการที่มิใช่ภาษี (non-taiff barriers) ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการค้าและการลงทุน และเห็นชอบให้รอผลจากการศึกษาในรายละเอียดเพิ่มเติมของโครงการผลิตร่วมด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (The ASEAN Industrial Cooperation Scheme)
ที่ประชุมสนับสนุนการจัดตั้งธนาคารปลอดดอกเบี้ย (Interest Free Banking) ในพื้นที่ IMT-GT ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
สาขาด้านภาษีศุลกากร
ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอการขยายเวลาเปิดด่านไทย มาเลเซีย ทุกด่าน นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบที่จะให้มีแบบฟอร์มศุลกากรเดียวกันในเขต IMT-GT รวมทั้ง ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอเกี่ยวกับเรื่องการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในพิธีการศุลกากรในช่วงปี 2540-2541 ในเขตชายแดนไทย-มาเลเซีย
สาขาการท่องเที่ยว
ที่ประชุมตกลงที่จะให้มีการสนับสนุนข้อเสนอเกี่ยวกับ โครงการเขตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในเขตตะรุเตา-ลังกาวี โดยมุ่งเน้นที่จะให้เป็นเขตอุทยานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และยังแนะนำให้มีการจัดทัวร์ในเขตดังกล่าวด้วย ซึ่งในเรื่องดังกล่าว ได้มอบหมายให้คณะทำงานด้านการท่องเที่ยวไปศึกษาเพิ่มเติม
นอกจากนี้ที่ประชุมยังรับทราบข้อเสนอในเรื่องการนำเอาระบบ Smart Card มาใช้ในเขต IMT-GT รวมถึงรับทราบข้อเสนอของฝ่ายอินโดนีเซียที่จะเข้าร่วมในโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวและข้อเรียกร้องของฝ่ายไทยในการขยายเวลาเปิดด่านเบตง-บางกาลัน ฮูลู ออกไปอีก 3 ชั่วโมง
ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอของฝ่ายอินโดนีเซีย ที่รัฐบาลอินโดนีเซียจะอำนวยความสะดวกเรื่องการเข้า-ออกของยานพาหนะต่าง ๆ ที่จะผ่านจุดผ่านแดนใหม่ที่เกาะสุมาตรา โดยในกรณีดังกล่าว รัฐบาลอินโดนีเซียจะนำระเบียบพิธีการด้านศุลกากรใหม่ ๆ มาใช้รวมถึงการอำนวยความสะดวกด้านการประกันภัยยานพาหนะ การศุลกากร และอื่น ๆ
สาขาการคมนาคมและขนส่ง
ทางทะเล
ที่ประชุมรับทราบ ข้อเสนอของคณะผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาด้านกฎระเบียบและข้อบังคับสำหรับเรือประเภท Non-Convention หรือเรือที่มีระวางต่ำกว่า 500 ตัน และไม่อยู่ใน Safety Of Life At Sea Convention (SOLAS)
ทางอากาศ
ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอที่จะให้ภูเก็ตเข้าร่วมใน IMT-GT ในด้านการขนส่งทางอากาศ ทั้งนี้เพราะภูเก็ตกำลังพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางทางอากาศนานาชาติ รวมทั้งยังรับทราบการนำจังหวัดสุมาตราตะวันตก (ปาดัง) เข้าร่วมในการขนส่งทางอากาศในเขต IMT-GT ด้วย
สาขาการสื่อสารโทรคมนาคม
ที่ประชุมเห็นชอบกับข้อเสนอของคณะทำงาน ที่จะให้มีการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในด้านการลงทุนด้านการสื่อสารโทรคมนาคม นอกจากนี้ ยังเห็นด้วยกับโครงการพัฒนาเขตพิเศษด้านการสื่อสาร (Special Telecommunications Zone Profect) ซึ่งจำเป็นที่จะต้องเร่งสร้างเครือข่ายการสื่อสารระหว่างกัน ในการนี้อาจขอความช่วยเหลือจาก ADB มาศึกษารายละเอียดของโครงการดังกล่าวในลำดับต่อไป
สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการเคลื่อนย้ายแรงงาน
ที่ประชุมเห็นชอบที่จะให้มีการประสานความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการสามฝ่าย ทั้งนี้ก็เพื่อหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ซ้ำซ้อนระหว่างกัน นอกจากนี้ที่ประชุมยังเสนอให้มีการศึกษาความต้องการกำลังแรงงานในเขต IMT-GT ในการประชุมของคณะทำงานครั้งต่อไปด้วย
ที่ประชุมยังสนับสนุนโครงการ IMT-GT Uninet ที่ประเทศไทยเสนอเพื่อการพัฒนาบุคลากรระหว่างกัน โดยมีมหาวิทยาลัย 7 แห่งในพื้นที่เป็นศูนย์กลาง และให้รวมศูนย์จัดหางานใน IMT-GT Uninet ด้วย
สาขาการเกษตรกรรมและประมง
ที่ประชุมเห็นชอบกับ Technical Working Group ด้านประมงที่จะรับผิดชอบดำเนินโครงการสำรวจแหล่งทรัพยากรสัตว์น้ำ การต่อเรือและการดัดแปลงเรือประมงการพัฒนา ท่าเรือและโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งที่ประชุมยังเห็นชอบกับ Technical Working Group ด้านการจัดตั้งตลาดกลางร่วมตามแนวชายแดน โดยให้มีการอำนวยความสะดวกในการขนส่งผลิตผลการเกษตร และการแลกเปลี่ยนข้อมูลผลิตผลพืช ผัก ผลไม้ รวมทั้งการศึกษาเพิ่มเติม เรื่องสินค้าเกษตรและประมง
ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอของฝ่ายไทยที่จะเป็นประเทศผู้นำโครงการ Joint Survey and Fisheries Resource Assessment, Fishery Vessel and Gear Manufacurint, and Development of Coastal Aquaculture.
สาขาพลังงาน
ที่ประชุมตกลงให้เร่งผลักดันโครงการความร่วมมือด้านพลังงานในเขต IMT-GT โดยมีการส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาลงทุนด้านนี้ให้มากขึ้นนอกจากนี้ ยังรับทราบว่ามีแหล่งแก๊สธรรมชาติในบริเวณตอนเหนือของสุมาตรา และนาตูนาของอินโดนีเซียที่สามารถพัฒนามาใช้ประโยชน์ได้
นอกจากการพิจารณาในรายสาขาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ที่ประชุมร่วมสามฝ่ายยังได้มีการพิจารณาเรื่องการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลและแลกเปลี่ยนข่าวสาร (Information Exchange Service Center) เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในเขต IMT-GT ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบกับการนำเอาระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล และติดต่อสื่อสารในบริเวณเขตพื้นที่โครงการ รวมทั้งเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายไปทั่วโลก โดยที่ประชุมรับทราบข้อเสนอของ SITTDEC (South Investment Trade and Technology Data Exchange Center) และข้อเสนอของ NECTEC (National Electronics and Computer Technology Center) ในประเด็นที่เกี่ยวกับการจะนำเทคโนโลยี่มาพัฒนาใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลในโครงการฯ
ในตอนท้ายของการประชุม รองนายกรัฐมนตรี นายอำนวย วีรวรรณ ได้กล่าวปิดการประชุม มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า "ความร่วมมือระหว่างสามประเทศในโครงการ IMT-GT นี้ จะเป็นการปูทางนำไปสู่การกระชับสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคแถบนี้ ในการนี้ ทั้ง 3 ประเทศ จะต้องพยายามให้มากขึ้นในอันที่จะเสริมสร้างศักยภาพของประเทศให้มากขึ้น เพื่อประโยชน์ในการแข่งขันบนเวทีเศรษฐกิจโลก และจะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในเขต IMT-GT ให้ดีขึ้นต่อไป"
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 / มีนาคม 2539--
โครงการ IMT-GT มีพื้นที่ดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ใน 3 ประเทศดังกล่าวอันได้แก่ จังหวัดสุมาตราเหนือ และจังหวัดอาเซของประเทศอินโดนีเซีย 4 รัฐด้านตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซีย คือ รัฐเคดาห์ ปีนัง เปรัก และเปอร์ลิศ และ 5 จังหวัดทางภาคใต้ของไทย คือ สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุน และเร่งรัดการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่โครงการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการผลิต รวมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านการค้า การลงทุน การถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อลดต้นทุนในการผลิตให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก และร่วมกันพัฒนาความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งโครงข่ายคมนาคมระบบ สาธารณูปโภค สาธารณูปการต่าง ๆ ตลอดจน ร่วมกันปรับปรุงฐานะความเป็นอยู่ของประชากรในเขตพื้นที่โครงการให้ดียิ่งขึ้น
สำหรับประเทศไทย สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบจัดทำร่างขอบเขตการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ และการกำหนดขอบเขตความร่วมมือระหว่างกัน รวมทั้งประสานงานกับอีกสองประเทศ ซึ่ง สศช.ได้ดำเนินการจัดทำร่างขอบเขตการศึกษาดังกล่าวแล้วเสร็จ พร้อมทั้งได้จัดส่งให้หน่วยงานวางแผนกลางของมาเลเซีย และอินโดเซียพิจารณา เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2536
การประชุมไตรภาคี : นำไปสู่การดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม
ในการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้มีการจัดประชุมไตรภาคีโครงการ IMT-GT ขึ้นมาแล้วทั้งสิ้นรวม 5 ครั้ง ดังจะได้กล่าวถึงต่อไปนี้
การประชุมครั้งที่ 1-4
ในครั้งที่ 1 ประเทศมาเลเซียรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโส ในระหว่างวันที่ 19-20 กรกฎาคม 2536 ซึ่งที่ประชุมครั้งนี้ได้เห็นชอบกับหลักเกณฑ์และแนวทางความร่วมมือของทั้งสามประเทศ และเห็นควรให้มีการส่งเสริมบทบาทของภาคธุรกิจเอกชน โดยผ่านสภาธุรกิจ (Business Council) ของทั้งสามประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นกลไกนำในการพัฒนาให้โครงการดังกล่าวดำเนินไปอย่างรวดเร็ว และให้หภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนการดำเนินงาน
การจัดประชุมไตรภาคีครั้งที่ 2 ไทยรับเป็นเจ้าภาพ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 19-21 มกราคม 2537 ซึ่งเป็นการประชุมทั้ง 3 ระดับคือ ในระดับสภา-ธุรกิจ ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีในครั้งที่ 2 ที่ประชุมมีการพิจารณารายงานผลการศึกษาเบื้องต้นที่เสนอโดย ADB และพิจารณาโครงการความร่วมมือที่เสนอโดยสภาธุรกิจของ 3 ประเทศ รวม 23 โครงการ ใน 6 สาขา อันได้แก่ สาขาคมนาคมขนส่ง สาขาอุตสาหกรรมและพลังงาน สาขาเกษตรและประมง สาขาการท่องเที่ยว สาขาการค้า การลงทุน และสาขาด้านแรงงาน
การประชุมไตรภาคีครั้งที่ 3 มีขึ้นระหว่างวันที่ 31 พฤษาคม-3 มิถุนายน 2537 โดยมีอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรี และสภาธุรกิจ โดยที่ประชุมได้มีการพิจารณาข้อเสนอของสภาธุรกิจที่เพิ่มเติมโครงการความร่วมมือเป็น 97 โครงการ ใน 7 สาขา และได้เห็นชอบให้แยกสาขาพลังงานออกจากสาขาอุตสาหกรรมรวมทั้งยังมีมติให้เอกชนเข้าร่วมในการประชุมผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดผลในการเร่งรัดการลงทุนมากขึ้น
การประชุมไตรภาคีครั้งที่ 4 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-16 ธันวาคม 2537 เป็นการประชุมระดับสภาธุรกิจ เจ้าหน้าที่อาวุโสและระดับรัฐมนตรี โดยมีประเทศมาเลเซียเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเป็นการประชุม เพื่อพิจารณารายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ของ ADB และแนวทางการดำเนินงานในรายสาขา
ผลจากการประชุมไตรภาคีทั้ง 4 ครั้ง ได้นำไปสู่การดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมหลายด้าน โดยในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นภายใต้โครงการ IMT-GT ได้เป็นไปอย่างรวดเร็วเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ และมีความก้าวหน้าในเชิงรูปธรรมหลายด้าน อาทิ การขยายเวลาเปิดด่านชายแดนไทย-มาเลเซีย (ด่านสะเดา-บูกิตกายู ฮิตัม/ด่านสุไหงโกลก-รันตูบันยัง/และด่านทุ่งหมอ-ปาดังเบซาร์) ออกไป 3 ชั่วโมง (6.00-22.00 น. เวลาไทย) การลงนามในข้อตกลงขยายโครงข่ายเชื่อมเส้นทางบินใหม่ระหว่าง 3 ประเทศ รวมทั้งการเร่งขอความสนับสนุนจากภาครัฐในโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการสะพานเศรษฐกิจปีนัง-สงขลา โครงการโรงไฟฟ้า-สตูล โครงการโทรทัศน์ร่วม 3 ฝ่าย และโครงการ Teleport เป็นต้น
การประชุมไตรภาคี ครั้งที่ 5
สำหรับการประชุมครั้งที่ 5 ซึ่งเป็นการประชุมครั้งล่าสุดนี้ ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ณ โรงแรมเกนติ้ง อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ระหว่างวันที่ 19-22 ธันวาคม 2538 โดยในวันที่ 19 ธันวาคม เป็นการประชุมระดับสภาธุรกิจร่วม 3 ฝ่าย วันที่ 20-21 ธันวาคม เป็นการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และการประชุมระดับรัฐมนตรีในวันที่ 22 ธันวาคม ซึ่ง ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี นายอำนวย วีรวรรณ ได้ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมระดับรัฐมนตรี ดังกล่าวด้วย
สาระสำคัญของการประชุมในครั้งที่ 5 นี้ ประกอบด้วยการพิจารณาผลการประชุมของคณะทำงานรายสาขาที่ดำเนินการเสร็จแล้ว ข้อเสนอโครงการความร่วมมือของสภาธุรกิจสามฝ่าย และแนวทางดำเนินการต่อไปของโครงการต่าง ๆ ใน 8 สาขาหลัก อันได้แก่ สาขาคมนาคมขนส่ง สาขาสื่อสารโทรคมนาคม สาขาพลังงาน สาขาเกษตรและประมง สาขาอุตสาหกรรม สาขาท่องเที่ยว สาขาการค้า การลงทุนและการเงิน สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการเคลื่อนย้ายแรงงาน ทั้ง 8 สาขานี้ ประกอบด้วย แผนงานและโครงการรวม 97 โครงการ ซึ่งผลการประชุมทั้ง 3 ระดับ สรุปได้ดังนี้
สาขาการค้า การลงทุน อุตสาหกรรมและการเงิน
ที่ประชุมเร่งรัดแผนงาน/โครงการตามข้อเสนอของ ADB รวมทั้ง เห็นชอบให้คณะทำงานศึกษาในรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลดมาตรการที่มิใช่ภาษี (non-taiff barriers) ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการค้าและการลงทุน และเห็นชอบให้รอผลจากการศึกษาในรายละเอียดเพิ่มเติมของโครงการผลิตร่วมด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (The ASEAN Industrial Cooperation Scheme)
ที่ประชุมสนับสนุนการจัดตั้งธนาคารปลอดดอกเบี้ย (Interest Free Banking) ในพื้นที่ IMT-GT ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
สาขาด้านภาษีศุลกากร
ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอการขยายเวลาเปิดด่านไทย มาเลเซีย ทุกด่าน นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบที่จะให้มีแบบฟอร์มศุลกากรเดียวกันในเขต IMT-GT รวมทั้ง ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอเกี่ยวกับเรื่องการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในพิธีการศุลกากรในช่วงปี 2540-2541 ในเขตชายแดนไทย-มาเลเซีย
สาขาการท่องเที่ยว
ที่ประชุมตกลงที่จะให้มีการสนับสนุนข้อเสนอเกี่ยวกับ โครงการเขตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในเขตตะรุเตา-ลังกาวี โดยมุ่งเน้นที่จะให้เป็นเขตอุทยานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และยังแนะนำให้มีการจัดทัวร์ในเขตดังกล่าวด้วย ซึ่งในเรื่องดังกล่าว ได้มอบหมายให้คณะทำงานด้านการท่องเที่ยวไปศึกษาเพิ่มเติม
นอกจากนี้ที่ประชุมยังรับทราบข้อเสนอในเรื่องการนำเอาระบบ Smart Card มาใช้ในเขต IMT-GT รวมถึงรับทราบข้อเสนอของฝ่ายอินโดนีเซียที่จะเข้าร่วมในโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวและข้อเรียกร้องของฝ่ายไทยในการขยายเวลาเปิดด่านเบตง-บางกาลัน ฮูลู ออกไปอีก 3 ชั่วโมง
ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอของฝ่ายอินโดนีเซีย ที่รัฐบาลอินโดนีเซียจะอำนวยความสะดวกเรื่องการเข้า-ออกของยานพาหนะต่าง ๆ ที่จะผ่านจุดผ่านแดนใหม่ที่เกาะสุมาตรา โดยในกรณีดังกล่าว รัฐบาลอินโดนีเซียจะนำระเบียบพิธีการด้านศุลกากรใหม่ ๆ มาใช้รวมถึงการอำนวยความสะดวกด้านการประกันภัยยานพาหนะ การศุลกากร และอื่น ๆ
สาขาการคมนาคมและขนส่ง
ทางทะเล
ที่ประชุมรับทราบ ข้อเสนอของคณะผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาด้านกฎระเบียบและข้อบังคับสำหรับเรือประเภท Non-Convention หรือเรือที่มีระวางต่ำกว่า 500 ตัน และไม่อยู่ใน Safety Of Life At Sea Convention (SOLAS)
ทางอากาศ
ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอที่จะให้ภูเก็ตเข้าร่วมใน IMT-GT ในด้านการขนส่งทางอากาศ ทั้งนี้เพราะภูเก็ตกำลังพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางทางอากาศนานาชาติ รวมทั้งยังรับทราบการนำจังหวัดสุมาตราตะวันตก (ปาดัง) เข้าร่วมในการขนส่งทางอากาศในเขต IMT-GT ด้วย
สาขาการสื่อสารโทรคมนาคม
ที่ประชุมเห็นชอบกับข้อเสนอของคณะทำงาน ที่จะให้มีการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในด้านการลงทุนด้านการสื่อสารโทรคมนาคม นอกจากนี้ ยังเห็นด้วยกับโครงการพัฒนาเขตพิเศษด้านการสื่อสาร (Special Telecommunications Zone Profect) ซึ่งจำเป็นที่จะต้องเร่งสร้างเครือข่ายการสื่อสารระหว่างกัน ในการนี้อาจขอความช่วยเหลือจาก ADB มาศึกษารายละเอียดของโครงการดังกล่าวในลำดับต่อไป
สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการเคลื่อนย้ายแรงงาน
ที่ประชุมเห็นชอบที่จะให้มีการประสานความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการสามฝ่าย ทั้งนี้ก็เพื่อหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ซ้ำซ้อนระหว่างกัน นอกจากนี้ที่ประชุมยังเสนอให้มีการศึกษาความต้องการกำลังแรงงานในเขต IMT-GT ในการประชุมของคณะทำงานครั้งต่อไปด้วย
ที่ประชุมยังสนับสนุนโครงการ IMT-GT Uninet ที่ประเทศไทยเสนอเพื่อการพัฒนาบุคลากรระหว่างกัน โดยมีมหาวิทยาลัย 7 แห่งในพื้นที่เป็นศูนย์กลาง และให้รวมศูนย์จัดหางานใน IMT-GT Uninet ด้วย
สาขาการเกษตรกรรมและประมง
ที่ประชุมเห็นชอบกับ Technical Working Group ด้านประมงที่จะรับผิดชอบดำเนินโครงการสำรวจแหล่งทรัพยากรสัตว์น้ำ การต่อเรือและการดัดแปลงเรือประมงการพัฒนา ท่าเรือและโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งที่ประชุมยังเห็นชอบกับ Technical Working Group ด้านการจัดตั้งตลาดกลางร่วมตามแนวชายแดน โดยให้มีการอำนวยความสะดวกในการขนส่งผลิตผลการเกษตร และการแลกเปลี่ยนข้อมูลผลิตผลพืช ผัก ผลไม้ รวมทั้งการศึกษาเพิ่มเติม เรื่องสินค้าเกษตรและประมง
ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอของฝ่ายไทยที่จะเป็นประเทศผู้นำโครงการ Joint Survey and Fisheries Resource Assessment, Fishery Vessel and Gear Manufacurint, and Development of Coastal Aquaculture.
สาขาพลังงาน
ที่ประชุมตกลงให้เร่งผลักดันโครงการความร่วมมือด้านพลังงานในเขต IMT-GT โดยมีการส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาลงทุนด้านนี้ให้มากขึ้นนอกจากนี้ ยังรับทราบว่ามีแหล่งแก๊สธรรมชาติในบริเวณตอนเหนือของสุมาตรา และนาตูนาของอินโดนีเซียที่สามารถพัฒนามาใช้ประโยชน์ได้
นอกจากการพิจารณาในรายสาขาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ที่ประชุมร่วมสามฝ่ายยังได้มีการพิจารณาเรื่องการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลและแลกเปลี่ยนข่าวสาร (Information Exchange Service Center) เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในเขต IMT-GT ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบกับการนำเอาระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล และติดต่อสื่อสารในบริเวณเขตพื้นที่โครงการ รวมทั้งเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายไปทั่วโลก โดยที่ประชุมรับทราบข้อเสนอของ SITTDEC (South Investment Trade and Technology Data Exchange Center) และข้อเสนอของ NECTEC (National Electronics and Computer Technology Center) ในประเด็นที่เกี่ยวกับการจะนำเทคโนโลยี่มาพัฒนาใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลในโครงการฯ
ในตอนท้ายของการประชุม รองนายกรัฐมนตรี นายอำนวย วีรวรรณ ได้กล่าวปิดการประชุม มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า "ความร่วมมือระหว่างสามประเทศในโครงการ IMT-GT นี้ จะเป็นการปูทางนำไปสู่การกระชับสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคแถบนี้ ในการนี้ ทั้ง 3 ประเทศ จะต้องพยายามให้มากขึ้นในอันที่จะเสริมสร้างศักยภาพของประเทศให้มากขึ้น เพื่อประโยชน์ในการแข่งขันบนเวทีเศรษฐกิจโลก และจะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในเขต IMT-GT ให้ดีขึ้นต่อไป"
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 / มีนาคม 2539--