เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2542 นายพายัพ พยอมยนต์ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้แถลงผลการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น เรื่อง นโยบายการกระจายการถือครองที่ดิน ครั้งที่ 4 ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ณ โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร
รองเลขาธิการ สศช. กล่าวว่าจากการบรรยายสรุปผลการศึกษาเรื่อง นโยบายการถือครองที่ดิน ซึ่งมีผู้ร่วมอภิปราย ประกอบด้วย นายวิเชียร รัตนะพีระพงศ์ อธิบดีกรมที่ดิน นายทองโรจน์ อ่อนจันทร์ ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และ นายโสภณ ชมชาญ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการวางแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดินสามารถสรุปถึงเหตุผลความจำเป็นของประเด็นต่าง ๆ ซึ่งคล้ายคลึงกับที่คณะผู้จัดได้ดำเนินการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ที่ผ่านมา โดยมีข้อสรุปโดยสังเขป ดังนี้
1. ยังมีความไม่เป็นธรรมในสังคม การกระจายการถือครองที่ดินยังไม่มีประสิทธิภาพ คนจนคือผู้ด้อยโอกาสในการถือครองที่ดิน
2. ที่ดินมีจำนวนจำกัดและถูกใช้ในหลากหลายวัตถุประสงค์ ประกอบกับการเพิ่มของประชากร ทำให้ขนาดการถือครองที่ดินโดยเฉลี่ยเล็กลง
3. ผู้ที่ได้เปรียบในสังคมสามารถถือครองที่ดินผืนใหญ่ ๆ ได้ เนื่องจากความเชื่อเรื่องความมั่นคงในชีวิต และการเก็งกำไรตามมูลค่าเพิ่ม โดยไม่มีข้อกฎหมายบังคับเรื่องจำนวนการถือครอง
4. มีการนำที่ดินที่มีศักยภาพในด้านการเกษตรไปใช้ผิดประเภท
สำหรับการจัดเวทีระดมความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวในครั้งนี้ ที่ประชุมได้แบ่งการอภิปรายออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก อภิปรายเรื่อง การกระจายการถือครองที่ดินและการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม กลุ่มที่สอง เรื่อง ภาษีที่ดิน
นายเดชา วาณิชวโรตม์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนเศรษฐกิจ สศช. ผู้ดำเนินการอภิปรายกลุ่มแรกได้กล่าวสรุปถึงผลการอภิปรายในเรื่องการกระจายการถือครองที่ดินและคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งได้ข้อคิดเห็นสรุปได้ว่า
สภาพปัญหา
1. เกษตรกรบุกรุกที่ดินของรัฐเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะภายหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ แรงงานได้อพยพกลับสู่ภาคเกษตรมากขึ้น ทำให้เกิดการแย่งที่ทำกิน
2. ขนาดการถือครองของครัวเรือนเกษตรมีแนวโน้มลดลง และลักษณะการถือครองของเกษตรกรมีลักษณะเป็นเจ้าของที่ดินน้อยลง แต่เป็นผู้เช่ามากขึ้น
3. การปฏิรูปที่ดินส่วนใหญ่เป็นการนำพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่เกิดจากการบุกรุกของราษฎรมาปฏิรูปแทนที่จะนำที่ดินที่มีอยู่เดิมมาปฏิรูป ทำให้พื้นที่ป่าไม้ได้ลดลงไปเป็นลำดับ
สำหรับแนวคิดในการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม มีดังนี้
1. จำกัดขนาดการถือครองที่ดิน
2. ใช้มาตรการทางภาษี ทั้งภาษีที่ดิน ภาษีทรัพย์สินและภาษีมรดก
3. ใช้แรงจูงใจด้านการเงิน เช่น ซื้อที่ดินโดยรัฐ การซื้อสิทธิในการพัฒนา การโอนสิทธิการพัฒนา
4. ออกกฎหมายกำหนดเขตการใช้ที่ดิน Zoning เพื่อคุ้มครองพื้นที่เกษตรทั่วไป
5. ควบคุมการก่อสร้างสาธารณูปโภคไปสู่ที่ดินใหม่
นายวันชัย ตัณฑ์สกุล ผู้อำนวยการกองนิติการ กรมที่ดิน ผู้ดำเนินการอภิปรายในกลุ่มสอง เรื่อง ภาษีที่ดิน ได้กล่าวสรุปผลการอภิปรายกลุ่มย่อยว่า ที่ประชุมได้ตกลงว่าจะนำร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงแก้ไขโดยคณะกรรมการกฤษฎีกามาพิจารณาด้วย สำหรับประเด็นการอภิปรายและข้อคิดเห็นมีดังนี้
ประเด็นปัญหา
1. ราคาที่ดินในปัจจุบันมีราคาสูงมาก เจ้าของที่ดินไม่ได้ใช้ทำกินเอง และเกษตรกรผู้เช่าไม่มีแรงจูงใจในการพัฒนาที่ดิน
2. ที่ดินมีศักยภาพเหมาะสมกับการเกษตรถูกทิ้งร้างเนื่องจากได้มีการโอนกรรมสิทธิ์จากเกษตรกรไปสู่นายทุนที่ดินเพื่อเก็งกำไร
สำหรับแนวคิดในเรื่องภาษีที่ดิน : การประเมินราคาทรัพย์สินและมาตรการจูงใจ มีดังนี้
1. นโยบายการกระจายการถือครองที่ดินเป็นนโยบายระดับชาติ มาตรการด้านภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้าเพียงด้านเดียวไม่อาจจะทำให้เกิดประสิทธิภาพทั้งระบบได้ ควรมีการพิจารณาเพิ่มเติมคือ การจำกัดการถือครองที่ดิน การจำแนกที่ดิน กองทุนที่ดิน เพื่อกระจายการถือครองที่ดิน
2. ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายอำนาจการคลังส่วนท้องถิ่น มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายการถือครองที่ดิน เพียงแต่มีบางส่วนที่ช่วยสนับสนุนการกระจายการถือครองที่ดิน เช่น การกำหนดอัตราภาษีก้าวหน้าสำหรับที่ดินว่างเปล่า แต่ก็ยังเห็นว่าการที่จะปรับปรุงกฎหมายฉบับดังกล่าว เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะกระจายการถือครองที่ดินนั้นคงทำไม่ได้ แต่สามารถที่จะนำไปใช้เกื้อหนุนมาตรการได้เท่านั้น
3. การจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า ทำให้ต้นทุนการเก็บที่ดินไว้สูงขึ้น จะส่งผลให้ผู้ถือครองที่ดินรายใหญ่ต้องขายที่ดิน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการกระจายการถือครอง รวมทั้งจะช่วยให้ราคาที่ดินลดลงด้วย
อย่างไรก็ตาม นายพายัพ พยอมยนต์ รองเลขาธิการ สศช. ได้สรุปภาพรวมผลการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 4 นี้ว่า ที่ประชุมเห็นด้วยกับการใช้มาตรการด้านภาษีควบคู่กับการจำกัดการถือครองที่ดินโดยตรง และเห็นด้วยกับการเปิดเผยข้อมูลการครอบครองที่ดินของรัฐและประชาชน และควรให้มีการจัดเก็บข้อมูลการถือครองเป็นรายบุคคลต่อการถือครองที่ดินทั่วประเทศ รวมทั้งสมควรให้มีการประกาศเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Zoning) โดยเร็ว และให้องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) มีส่วนร่วมในการจัดทำและนำผังดังกล่าวมาใช้เพื่อจัดเก็บภาษีท้องถิ่น สำหรับร่าง พ.ร.บ. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ควรมีวัตถุประสงค์เพื่ออุดหนุนองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ส่วนการกระจายการถือครองที่ดินควรมี พ.ร.บ. ที่สนับสนุนโดยตรง นอกจากนี้ ควรจัดทำแนวเขตที่ดินสาธารณะประโยชน์ให้ชัดเจนและให้ อบต. ดูแล เพื่อรักษาที่ดินของรัฐ ตลอดจนรัฐควรหามาตรการการกระจายการถือครองที่ดินไปสู่เกษตรกรรายย่อยที่ขาดเงินทุนด้วย
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 5/พฤษภาคม 2542--
รองเลขาธิการ สศช. กล่าวว่าจากการบรรยายสรุปผลการศึกษาเรื่อง นโยบายการถือครองที่ดิน ซึ่งมีผู้ร่วมอภิปราย ประกอบด้วย นายวิเชียร รัตนะพีระพงศ์ อธิบดีกรมที่ดิน นายทองโรจน์ อ่อนจันทร์ ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และ นายโสภณ ชมชาญ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการวางแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดินสามารถสรุปถึงเหตุผลความจำเป็นของประเด็นต่าง ๆ ซึ่งคล้ายคลึงกับที่คณะผู้จัดได้ดำเนินการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ที่ผ่านมา โดยมีข้อสรุปโดยสังเขป ดังนี้
1. ยังมีความไม่เป็นธรรมในสังคม การกระจายการถือครองที่ดินยังไม่มีประสิทธิภาพ คนจนคือผู้ด้อยโอกาสในการถือครองที่ดิน
2. ที่ดินมีจำนวนจำกัดและถูกใช้ในหลากหลายวัตถุประสงค์ ประกอบกับการเพิ่มของประชากร ทำให้ขนาดการถือครองที่ดินโดยเฉลี่ยเล็กลง
3. ผู้ที่ได้เปรียบในสังคมสามารถถือครองที่ดินผืนใหญ่ ๆ ได้ เนื่องจากความเชื่อเรื่องความมั่นคงในชีวิต และการเก็งกำไรตามมูลค่าเพิ่ม โดยไม่มีข้อกฎหมายบังคับเรื่องจำนวนการถือครอง
4. มีการนำที่ดินที่มีศักยภาพในด้านการเกษตรไปใช้ผิดประเภท
สำหรับการจัดเวทีระดมความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวในครั้งนี้ ที่ประชุมได้แบ่งการอภิปรายออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก อภิปรายเรื่อง การกระจายการถือครองที่ดินและการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม กลุ่มที่สอง เรื่อง ภาษีที่ดิน
นายเดชา วาณิชวโรตม์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนเศรษฐกิจ สศช. ผู้ดำเนินการอภิปรายกลุ่มแรกได้กล่าวสรุปถึงผลการอภิปรายในเรื่องการกระจายการถือครองที่ดินและคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งได้ข้อคิดเห็นสรุปได้ว่า
สภาพปัญหา
1. เกษตรกรบุกรุกที่ดินของรัฐเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะภายหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ แรงงานได้อพยพกลับสู่ภาคเกษตรมากขึ้น ทำให้เกิดการแย่งที่ทำกิน
2. ขนาดการถือครองของครัวเรือนเกษตรมีแนวโน้มลดลง และลักษณะการถือครองของเกษตรกรมีลักษณะเป็นเจ้าของที่ดินน้อยลง แต่เป็นผู้เช่ามากขึ้น
3. การปฏิรูปที่ดินส่วนใหญ่เป็นการนำพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่เกิดจากการบุกรุกของราษฎรมาปฏิรูปแทนที่จะนำที่ดินที่มีอยู่เดิมมาปฏิรูป ทำให้พื้นที่ป่าไม้ได้ลดลงไปเป็นลำดับ
สำหรับแนวคิดในการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม มีดังนี้
1. จำกัดขนาดการถือครองที่ดิน
2. ใช้มาตรการทางภาษี ทั้งภาษีที่ดิน ภาษีทรัพย์สินและภาษีมรดก
3. ใช้แรงจูงใจด้านการเงิน เช่น ซื้อที่ดินโดยรัฐ การซื้อสิทธิในการพัฒนา การโอนสิทธิการพัฒนา
4. ออกกฎหมายกำหนดเขตการใช้ที่ดิน Zoning เพื่อคุ้มครองพื้นที่เกษตรทั่วไป
5. ควบคุมการก่อสร้างสาธารณูปโภคไปสู่ที่ดินใหม่
นายวันชัย ตัณฑ์สกุล ผู้อำนวยการกองนิติการ กรมที่ดิน ผู้ดำเนินการอภิปรายในกลุ่มสอง เรื่อง ภาษีที่ดิน ได้กล่าวสรุปผลการอภิปรายกลุ่มย่อยว่า ที่ประชุมได้ตกลงว่าจะนำร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงแก้ไขโดยคณะกรรมการกฤษฎีกามาพิจารณาด้วย สำหรับประเด็นการอภิปรายและข้อคิดเห็นมีดังนี้
ประเด็นปัญหา
1. ราคาที่ดินในปัจจุบันมีราคาสูงมาก เจ้าของที่ดินไม่ได้ใช้ทำกินเอง และเกษตรกรผู้เช่าไม่มีแรงจูงใจในการพัฒนาที่ดิน
2. ที่ดินมีศักยภาพเหมาะสมกับการเกษตรถูกทิ้งร้างเนื่องจากได้มีการโอนกรรมสิทธิ์จากเกษตรกรไปสู่นายทุนที่ดินเพื่อเก็งกำไร
สำหรับแนวคิดในเรื่องภาษีที่ดิน : การประเมินราคาทรัพย์สินและมาตรการจูงใจ มีดังนี้
1. นโยบายการกระจายการถือครองที่ดินเป็นนโยบายระดับชาติ มาตรการด้านภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้าเพียงด้านเดียวไม่อาจจะทำให้เกิดประสิทธิภาพทั้งระบบได้ ควรมีการพิจารณาเพิ่มเติมคือ การจำกัดการถือครองที่ดิน การจำแนกที่ดิน กองทุนที่ดิน เพื่อกระจายการถือครองที่ดิน
2. ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายอำนาจการคลังส่วนท้องถิ่น มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายการถือครองที่ดิน เพียงแต่มีบางส่วนที่ช่วยสนับสนุนการกระจายการถือครองที่ดิน เช่น การกำหนดอัตราภาษีก้าวหน้าสำหรับที่ดินว่างเปล่า แต่ก็ยังเห็นว่าการที่จะปรับปรุงกฎหมายฉบับดังกล่าว เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะกระจายการถือครองที่ดินนั้นคงทำไม่ได้ แต่สามารถที่จะนำไปใช้เกื้อหนุนมาตรการได้เท่านั้น
3. การจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า ทำให้ต้นทุนการเก็บที่ดินไว้สูงขึ้น จะส่งผลให้ผู้ถือครองที่ดินรายใหญ่ต้องขายที่ดิน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการกระจายการถือครอง รวมทั้งจะช่วยให้ราคาที่ดินลดลงด้วย
อย่างไรก็ตาม นายพายัพ พยอมยนต์ รองเลขาธิการ สศช. ได้สรุปภาพรวมผลการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 4 นี้ว่า ที่ประชุมเห็นด้วยกับการใช้มาตรการด้านภาษีควบคู่กับการจำกัดการถือครองที่ดินโดยตรง และเห็นด้วยกับการเปิดเผยข้อมูลการครอบครองที่ดินของรัฐและประชาชน และควรให้มีการจัดเก็บข้อมูลการถือครองเป็นรายบุคคลต่อการถือครองที่ดินทั่วประเทศ รวมทั้งสมควรให้มีการประกาศเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Zoning) โดยเร็ว และให้องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) มีส่วนร่วมในการจัดทำและนำผังดังกล่าวมาใช้เพื่อจัดเก็บภาษีท้องถิ่น สำหรับร่าง พ.ร.บ. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ควรมีวัตถุประสงค์เพื่ออุดหนุนองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ส่วนการกระจายการถือครองที่ดินควรมี พ.ร.บ. ที่สนับสนุนโดยตรง นอกจากนี้ ควรจัดทำแนวเขตที่ดินสาธารณะประโยชน์ให้ชัดเจนและให้ อบต. ดูแล เพื่อรักษาที่ดินของรัฐ ตลอดจนรัฐควรหามาตรการการกระจายการถือครองที่ดินไปสู่เกษตรกรรายย่อยที่ขาดเงินทุนด้วย
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 5/พฤษภาคม 2542--