เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยกองประเมินผลการพัฒนา ได้จัดให้มีการสัมมนาเรื่อง รายงานผลการศึกษาขั้นสุดท้ายการจัดทำดัชนีชี้วัดเพื่อการติดตามประเมินผลแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ขึ้น ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพมหานคร
ในการสัมมนาครั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญได้เสนอให้ใช้แนวคิดด้าน "ความอยู่ดีมีสุข" หรือ "Well-Being" เป็นกรอบแนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาตัวชี้วัดการติดตามประเมินผลแผนฯ 8 ซึ่งเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับปรัชญาและทิศทางการพัฒนาในช่วงแผนฯ 8 ที่กำหนดให้ "คน" เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา รวมทั้งแนวทางการพัฒนาเป็นแบบองค์รวมด้วย
สำหรับกรอบแนวความคิด "ความอยู่ดีมีสุข" ดังกล่าว มีองค์ประกอบย่อย 7 ด้าน ที่ครอบคลุมทุกมิติของการดำรงชีวิต คือ สุขภาพอนามัยและโภชนาการ การศึกษา ชีวิตการทำงาน ชีวิตครอบครัว การพัฒนาเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย และประชารัฐ โดยในแต่ละองค์ประกอบย่อยได้มีการแจกแจงเครื่องชี้วัดที่เกี่ยวข้องไว้ด้วย
สำหรับการพัฒนาเครื่องชี้วัดนั้น ผู้เชี่ยวชาญได้ผลสรุปด้านเทคนิควิธีการสร้างดัชนีวัดด้านความอยู่ดีมีสุขที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่
1) การให้ความสำคัญกับเครื่องชี้วัดทั้งในระดับภาพรวมและระดับพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการจัดเตรียมแผนงาน/โครงการของหน่วยปฏิบัติให้ตรงกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่
2) การให้ความสำคัญกับการสร้าง "กลุ่มดัชนี" มากกว่าดัชนีเพียงตัวเดียว เนื่องจากแนวคิด "ความอยู่ดีมีสุข" ประกอบไปด้วยการพัฒนาในหลายมิติ จึงต้องใช้ดัชนีชี้วัดหลายตัว เพื่อให้ถูกต้องและครอบคลุมทุกมิติ ซึ่งมีความเหมาะสมและนำไปสู่การนำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดมากกว่า
3) การให้ความสำคัญกับการติดตามการเปลี่ยนแปลง (Performance) ของตัวแปรในลักษณะที่ไม่เป็นเส้นตรง (non-linear) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของเครื่องชี้วัดความอยู่ดีมีสุข กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงในหน่วยที่เพิ่มขึ้นเท่ากันของเครื่องชี้วัดความอยู่ดีมีสุข กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงในหน่วยที่เพิ่มขึ้นเท่ากันของเครื่องชี้วัดแต่ละตัวจะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันในแต่ละระดับของมาตรฐานการดำรงชีวิต
นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังได้พัฒนาเครื่องชี้วัดทางด้านเศรษฐกิจใหม่ ๆ ขึ้นมาจำนวน 5 ตัว เพื่อนำมาใช้ร่วมหรือทดแทนเครื่องชี้วัดในปัจจุบันบางตัว เพื่อให้การวัดผลสามารถสะท้อนภาพ "ความอยู่ดีมีสุข" และปรัชญาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ด้วย ได้แก่ เครื่องชี้วัดความเติบโตทางเศรษฐกิจที่ได้พิจารณาปรับค่าความเหลื่อมล้ำระหว่างภูมิภาคแล้ว (Regional Inequality Adijusted Growth Rates) เครื่องชี้วัดการกระจายตัวของตลาดส่งออกของสินค้าจากประเทศไทย (Export Diversity Index) ดัชนีราคารายพื้นที่ที่ใช้เปรียบเทียบความแตกต่างในระดับค่าครองชีพระหว่างภูมิภาคและพื้นที่ (Spatial Price Indices) เส้นความยากจนใหม่ (New Poverty Line) ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้การวัดขนาดคนจนที่สามารถสะท้อนความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละครอบครัว และสะท้อนระดับราคาที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ภายใต้เกณฑ์มาตรฐานความเป็นอยู่เดียวกันในช่วงเวลาที่ทำการศึกษาเปรียบเทียบและเครื่องชี้วัดการคำนวณอายุขัยเฉลี่ย (Accurate Estimation of Life Expectancy) ในทุกอายุการตายจากข้อมูลจริงรายจังหวัดของกระทรวงมหาดไทย
นอกจากผู้เชี่ยวชาญจะได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเครื่องชี้วัดด้านเศรษฐกิจให้มีความเชื่อมโยงกับเครื่องชี้วัดด้านสังคมหรือสะท้อนภาพ "ความอยู่ดีมีสุข" ของประชาชนแล้ว ยังได้ทดสอบเครื่องชี้วัดที่ได้พัฒนาขึ้นใหม่ข้างต้นด้วยข้อมูลในระดับภาพรวมและในระดับพื้นที่ ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้ได้ช่วยให้การวิเคราะห์ผลกระทบนโยบายการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและการกระจายรายได้มีความเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันได้ให้ภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวคือ เป็นการเจริญเติบโตที่คำนึงถึงการเพิ่มความสามารถในการส่งออก การกระจายตลาดส่งออก และการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างภูมิภาค ซึ่งการศึกษาวิเคราะห์ครั้งนี้สามารถสรุปผลการพัฒนาประเทศได้ใน 4 ประเด็นสำคัญ คือ
1. ด้านกระจายรายได้และกระจายความเจริญ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ใช้เส้นความยากจนใหม่ ที่มีค่าเฉลี่ยทั้งประเทศเท่ากับ 636 บาท/คน/เดือน ในปี 2537 เทียบกับ 473 บาท ในปี 2531 เป็นเกณฑ์วัดคนจนของประเทศ
2. ความเหลื่อมล้ำระหว่างภูมิภาค (Disparity) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์จากโครงสร้างเศรษฐกิจในข้อมูลบัญชีประชาชาติ
3. ความไม่เท่าเทียมกันด้านรายได้ (Inequality) วิเคราะห์จากรายได้ครัวเรือนในข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐสังคมของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
4. ผลการวิเคราะห์ด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งพิจารณาจากข้อมูลการส่งออกและการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจที่พิจารณาความเหลื่อมล้ำระหว่างภูมิภาค
นอกเหนือจากกรอบแนวคิด "ความอยู่ดีมีสุข" เทคนิควิธีการสร้างเครื่องชี้วัด และเครื่องมือใหม่ ๆ รวมทั้งผลการวิเคราะห์เครื่องชี้วัดที่สำคัญด้านการกระจายรายได้และการเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าวข้างต้นที่ได้ผ่านการเห็นชอบจากการระดมความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องในการสัมมนารายงานผลการศึกษาการจัดทำดัชนีชี้วัดเพื่อการติดตามประเมินผลแผนฯ 8 แล้ว ที่ประชุมยังได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้วยว่า การกำหนดตัวชี้วัดในแต่ละองค์ประกอบย่อยควรได้คำนึงถึงความสอดคล้องเหมาะสมกับวิธีการทำงานและโครงสร้างเศรษฐกิจสังคมไทย ตลอดจนให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับตัวชี้วัดด้านกระบวนการและการมีส่วนร่วมขององค์กรต่าง ๆ ในการพัฒนาด้วย
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 7/กรกฎาคม 2540--
ในการสัมมนาครั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญได้เสนอให้ใช้แนวคิดด้าน "ความอยู่ดีมีสุข" หรือ "Well-Being" เป็นกรอบแนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาตัวชี้วัดการติดตามประเมินผลแผนฯ 8 ซึ่งเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับปรัชญาและทิศทางการพัฒนาในช่วงแผนฯ 8 ที่กำหนดให้ "คน" เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา รวมทั้งแนวทางการพัฒนาเป็นแบบองค์รวมด้วย
สำหรับกรอบแนวความคิด "ความอยู่ดีมีสุข" ดังกล่าว มีองค์ประกอบย่อย 7 ด้าน ที่ครอบคลุมทุกมิติของการดำรงชีวิต คือ สุขภาพอนามัยและโภชนาการ การศึกษา ชีวิตการทำงาน ชีวิตครอบครัว การพัฒนาเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย และประชารัฐ โดยในแต่ละองค์ประกอบย่อยได้มีการแจกแจงเครื่องชี้วัดที่เกี่ยวข้องไว้ด้วย
สำหรับการพัฒนาเครื่องชี้วัดนั้น ผู้เชี่ยวชาญได้ผลสรุปด้านเทคนิควิธีการสร้างดัชนีวัดด้านความอยู่ดีมีสุขที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่
1) การให้ความสำคัญกับเครื่องชี้วัดทั้งในระดับภาพรวมและระดับพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการจัดเตรียมแผนงาน/โครงการของหน่วยปฏิบัติให้ตรงกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่
2) การให้ความสำคัญกับการสร้าง "กลุ่มดัชนี" มากกว่าดัชนีเพียงตัวเดียว เนื่องจากแนวคิด "ความอยู่ดีมีสุข" ประกอบไปด้วยการพัฒนาในหลายมิติ จึงต้องใช้ดัชนีชี้วัดหลายตัว เพื่อให้ถูกต้องและครอบคลุมทุกมิติ ซึ่งมีความเหมาะสมและนำไปสู่การนำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดมากกว่า
3) การให้ความสำคัญกับการติดตามการเปลี่ยนแปลง (Performance) ของตัวแปรในลักษณะที่ไม่เป็นเส้นตรง (non-linear) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของเครื่องชี้วัดความอยู่ดีมีสุข กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงในหน่วยที่เพิ่มขึ้นเท่ากันของเครื่องชี้วัดความอยู่ดีมีสุข กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงในหน่วยที่เพิ่มขึ้นเท่ากันของเครื่องชี้วัดแต่ละตัวจะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันในแต่ละระดับของมาตรฐานการดำรงชีวิต
นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังได้พัฒนาเครื่องชี้วัดทางด้านเศรษฐกิจใหม่ ๆ ขึ้นมาจำนวน 5 ตัว เพื่อนำมาใช้ร่วมหรือทดแทนเครื่องชี้วัดในปัจจุบันบางตัว เพื่อให้การวัดผลสามารถสะท้อนภาพ "ความอยู่ดีมีสุข" และปรัชญาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ด้วย ได้แก่ เครื่องชี้วัดความเติบโตทางเศรษฐกิจที่ได้พิจารณาปรับค่าความเหลื่อมล้ำระหว่างภูมิภาคแล้ว (Regional Inequality Adijusted Growth Rates) เครื่องชี้วัดการกระจายตัวของตลาดส่งออกของสินค้าจากประเทศไทย (Export Diversity Index) ดัชนีราคารายพื้นที่ที่ใช้เปรียบเทียบความแตกต่างในระดับค่าครองชีพระหว่างภูมิภาคและพื้นที่ (Spatial Price Indices) เส้นความยากจนใหม่ (New Poverty Line) ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้การวัดขนาดคนจนที่สามารถสะท้อนความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละครอบครัว และสะท้อนระดับราคาที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ภายใต้เกณฑ์มาตรฐานความเป็นอยู่เดียวกันในช่วงเวลาที่ทำการศึกษาเปรียบเทียบและเครื่องชี้วัดการคำนวณอายุขัยเฉลี่ย (Accurate Estimation of Life Expectancy) ในทุกอายุการตายจากข้อมูลจริงรายจังหวัดของกระทรวงมหาดไทย
นอกจากผู้เชี่ยวชาญจะได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเครื่องชี้วัดด้านเศรษฐกิจให้มีความเชื่อมโยงกับเครื่องชี้วัดด้านสังคมหรือสะท้อนภาพ "ความอยู่ดีมีสุข" ของประชาชนแล้ว ยังได้ทดสอบเครื่องชี้วัดที่ได้พัฒนาขึ้นใหม่ข้างต้นด้วยข้อมูลในระดับภาพรวมและในระดับพื้นที่ ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้ได้ช่วยให้การวิเคราะห์ผลกระทบนโยบายการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและการกระจายรายได้มีความเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันได้ให้ภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวคือ เป็นการเจริญเติบโตที่คำนึงถึงการเพิ่มความสามารถในการส่งออก การกระจายตลาดส่งออก และการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างภูมิภาค ซึ่งการศึกษาวิเคราะห์ครั้งนี้สามารถสรุปผลการพัฒนาประเทศได้ใน 4 ประเด็นสำคัญ คือ
1. ด้านกระจายรายได้และกระจายความเจริญ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ใช้เส้นความยากจนใหม่ ที่มีค่าเฉลี่ยทั้งประเทศเท่ากับ 636 บาท/คน/เดือน ในปี 2537 เทียบกับ 473 บาท ในปี 2531 เป็นเกณฑ์วัดคนจนของประเทศ
2. ความเหลื่อมล้ำระหว่างภูมิภาค (Disparity) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์จากโครงสร้างเศรษฐกิจในข้อมูลบัญชีประชาชาติ
3. ความไม่เท่าเทียมกันด้านรายได้ (Inequality) วิเคราะห์จากรายได้ครัวเรือนในข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐสังคมของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
4. ผลการวิเคราะห์ด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งพิจารณาจากข้อมูลการส่งออกและการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจที่พิจารณาความเหลื่อมล้ำระหว่างภูมิภาค
นอกเหนือจากกรอบแนวคิด "ความอยู่ดีมีสุข" เทคนิควิธีการสร้างเครื่องชี้วัด และเครื่องมือใหม่ ๆ รวมทั้งผลการวิเคราะห์เครื่องชี้วัดที่สำคัญด้านการกระจายรายได้และการเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าวข้างต้นที่ได้ผ่านการเห็นชอบจากการระดมความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องในการสัมมนารายงานผลการศึกษาการจัดทำดัชนีชี้วัดเพื่อการติดตามประเมินผลแผนฯ 8 แล้ว ที่ประชุมยังได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้วยว่า การกำหนดตัวชี้วัดในแต่ละองค์ประกอบย่อยควรได้คำนึงถึงความสอดคล้องเหมาะสมกับวิธีการทำงานและโครงสร้างเศรษฐกิจสังคมไทย ตลอดจนให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับตัวชี้วัดด้านกระบวนการและการมีส่วนร่วมขององค์กรต่าง ๆ ในการพัฒนาด้วย
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 7/กรกฎาคม 2540--