เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดสัมมนา เรื่อง "วิกฤติเศรษฐกิจไทยกับการปรับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8" ณ ห้องบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา กรุงเทพมหานคร
นายวิรัตน์ วัฒนศิริธรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวในการเปิดการสัมมนาครั้งนี้ว่า เพื่อให้เป็นไปตามปรัชญาหลักของแผนฯ 8 ในการเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ สำนักงานฯ จึงได้จัดการสัมมนาครั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก เพื่อระดมความคิดเห็นจากประชาชนทุกกลุ่มอาชีพและผู้ที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจไทย ประการที่สอง เพื่อรายงานผลการดำเนินงานด้านกระบวนการซึ่งเป็นนิมิตใหม่ในช่วงแรกของแผนฯ 8 และประการที่สาม เพื่อนำข้อคิดเห็นที่ได้จากการสัมมนาไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงทิศทางการปรับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ให้สมบูรณ์ชัดเจน โดยเฉพาะทิศทางในการฟื้นฟูประเทศเพื่อนำไปสู่การสร้างรากฐานที่มั่นคงในช่วง 3 ปีที่เหลือของแผนฯ 8
นอกจากนี้ เลขาธิการ สศช.ยังได้กล่าวอภิปรายถึงเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจไทยในครั้งนี้ด้วยว่า สาเหตุสำคัญประการหนึ่งของภาวะวิกฤตินี้ คือ ปัญหาความอ่อนด้อยของโครงการสร้างทางเศรษฐกิจการผลิตที่พึ่งพิงเศรษฐกิจภายนอกมากเกินไป โดยเป็นการอาศัยรายได้จากการส่งออกเกินกว่า 70% บนพื้นฐานข้อได้เปรียบด้านแรงงาน ทรัพยากร ตลอดจนระบบโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมที่ผ่านมารวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลาง รวมทั้งการบริหารจัดการนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวม การกำหนดแผนงานโครงการที่ยังคงมีลักษณะต่างคนต่างทำ ขาดการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประชารัฐ
นายวิรัตน์ วัฒนศิริธรรม ยังได้กล่าวด้วยว่า ผลของวิกฤติเศรษฐกิจในขณะนี้ มีผลกระทบต่อการพัฒนาศักยภาพคนในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้ด้อยโอกาสและผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญในแผนฯ 8 ในส่วนที่ช่วยพัฒนาศักยภาพโดยตรง เช่น การศึกษา สาธารณสุข บริการพื้นฐานทางสังคม หรือโดยสรุปเป็นการขาดงบประมาณที่จะพัฒนาสติปัญญาของประเทศอันเป็นปัจจัยสำคัญในเชิงศักยภาพในการแข่งขันของประเทศในอนาคต
สำหรับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจในระยะสั้น มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คือ เสถียรภาพค่าเงินบาท การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเพื่อป้องกันผลกระทบที่สำคัญตามมา คือ ปัญหาการว่างงานของคนในเมืองและในชนบท ในกลุ่มแรงงานผู้มีการศึกษา แรงงานที่ขาดความรู้ความชำนาญ อันเนื่องจากการปรับลดงบประมาณและการชะลอโครงการลงทุนของภาครัฐ ทั้งนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะต้องพิจารณาในขณะนี้ คือ การใช้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด ไปในกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการจ้างงาน การหารายได้จากเงินตราต่างประเทศ รวมตลอดถึงการลดค่าใช้จ่ายในการบริโภคของภาครัฐ และพิจารณาลงทุนในโครงการต่อเนื่อง เพื่อเร่งรัดให้เกิดผลประโยชน์ของการลงทุนทางเศรษฐกิจและสังคมโดยเร็ว
เลขาธิการ สศช.ได้กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า แนวทางการพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ยังคงยึดหลักสำคัญ 3 ประการ คือ การเร่งรัด ปรับปรุง และเพิ่มเติมภายใต้แนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจและข้อจำกัดด้านทรัพยากรของประเทศใน 4 เรื่อง คือ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การลดผลกระทบที่จะเกิดกับคนและสังคมไทย การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และการปรับระบบบริหารจัดการเพื่อรับการเปลี่ยนแปลง
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1/มกราคม 2541--
นายวิรัตน์ วัฒนศิริธรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวในการเปิดการสัมมนาครั้งนี้ว่า เพื่อให้เป็นไปตามปรัชญาหลักของแผนฯ 8 ในการเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ สำนักงานฯ จึงได้จัดการสัมมนาครั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก เพื่อระดมความคิดเห็นจากประชาชนทุกกลุ่มอาชีพและผู้ที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจไทย ประการที่สอง เพื่อรายงานผลการดำเนินงานด้านกระบวนการซึ่งเป็นนิมิตใหม่ในช่วงแรกของแผนฯ 8 และประการที่สาม เพื่อนำข้อคิดเห็นที่ได้จากการสัมมนาไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงทิศทางการปรับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ให้สมบูรณ์ชัดเจน โดยเฉพาะทิศทางในการฟื้นฟูประเทศเพื่อนำไปสู่การสร้างรากฐานที่มั่นคงในช่วง 3 ปีที่เหลือของแผนฯ 8
นอกจากนี้ เลขาธิการ สศช.ยังได้กล่าวอภิปรายถึงเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจไทยในครั้งนี้ด้วยว่า สาเหตุสำคัญประการหนึ่งของภาวะวิกฤตินี้ คือ ปัญหาความอ่อนด้อยของโครงการสร้างทางเศรษฐกิจการผลิตที่พึ่งพิงเศรษฐกิจภายนอกมากเกินไป โดยเป็นการอาศัยรายได้จากการส่งออกเกินกว่า 70% บนพื้นฐานข้อได้เปรียบด้านแรงงาน ทรัพยากร ตลอดจนระบบโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมที่ผ่านมารวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลาง รวมทั้งการบริหารจัดการนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวม การกำหนดแผนงานโครงการที่ยังคงมีลักษณะต่างคนต่างทำ ขาดการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประชารัฐ
นายวิรัตน์ วัฒนศิริธรรม ยังได้กล่าวด้วยว่า ผลของวิกฤติเศรษฐกิจในขณะนี้ มีผลกระทบต่อการพัฒนาศักยภาพคนในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้ด้อยโอกาสและผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญในแผนฯ 8 ในส่วนที่ช่วยพัฒนาศักยภาพโดยตรง เช่น การศึกษา สาธารณสุข บริการพื้นฐานทางสังคม หรือโดยสรุปเป็นการขาดงบประมาณที่จะพัฒนาสติปัญญาของประเทศอันเป็นปัจจัยสำคัญในเชิงศักยภาพในการแข่งขันของประเทศในอนาคต
สำหรับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจในระยะสั้น มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คือ เสถียรภาพค่าเงินบาท การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเพื่อป้องกันผลกระทบที่สำคัญตามมา คือ ปัญหาการว่างงานของคนในเมืองและในชนบท ในกลุ่มแรงงานผู้มีการศึกษา แรงงานที่ขาดความรู้ความชำนาญ อันเนื่องจากการปรับลดงบประมาณและการชะลอโครงการลงทุนของภาครัฐ ทั้งนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะต้องพิจารณาในขณะนี้ คือ การใช้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด ไปในกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการจ้างงาน การหารายได้จากเงินตราต่างประเทศ รวมตลอดถึงการลดค่าใช้จ่ายในการบริโภคของภาครัฐ และพิจารณาลงทุนในโครงการต่อเนื่อง เพื่อเร่งรัดให้เกิดผลประโยชน์ของการลงทุนทางเศรษฐกิจและสังคมโดยเร็ว
เลขาธิการ สศช.ได้กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า แนวทางการพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ยังคงยึดหลักสำคัญ 3 ประการ คือ การเร่งรัด ปรับปรุง และเพิ่มเติมภายใต้แนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจและข้อจำกัดด้านทรัพยากรของประเทศใน 4 เรื่อง คือ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การลดผลกระทบที่จะเกิดกับคนและสังคมไทย การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และการปรับระบบบริหารจัดการเพื่อรับการเปลี่ยนแปลง
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1/มกราคม 2541--