เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยคณะกรรมการพัฒนาบุคลากรสำนักงานฯ ได้จัดการฝึกอบรม "โครงการเพิ่มขีดความสามารถเจ้าหน้าที่ สศช." แก่เจ้าหน้าที่ สศช. ระดับ 7
นายบุญยงค์ เวชมณีศรี ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะรองประธานกรรมการพัฒนาบุคลากร สศช.ได้กล่าวรายงานถึงเหตุผลสำคัญของการจัดฝึกอบรมครั้งนี้ว่า นับเนื่องจากการปรับแผนคิดของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มาสู่การวางแผนและการดำเนินการในลักษณะองค์รวม ซึ่งนับเป็นเรื่องใหม่แม้กับเจ้าหน้าที่ระดับ 7 ที่มิได้มีส่วนเข้าร่วมอย่างใกล้ชิดในกระบวนการวางแผนฯ 8 ซึ่งเจ้าหน้าที่กลุ่มนี้จะเป็นกำลังสำคัญในการกำหนดดูแลให้เกิดความต่อเนื่องของแนวทางการพัฒนาที่มีคนเป็นศูนย์กลางในแผนต่อ ๆ ไป
ผู้ช่วยเลขาธิการฯ กล่าวด้วยว่า การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ สศช. ระดับ 7 ครั้งนี้ เป็นการฝึกอบรมครั้งแรกภายในสำนักงาน ซึ่งดำเนินการและกำหนดหลักสูตรโดยคณะกรรมการพัฒนาบุคลากร สศช. ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถเจ้าหน้าที่ สศช. ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก CIDA ภายใต้โครงการ NESDB Institutional Support Project
สำหรับวัตถุประสงค์สำคัญของการจัดฝึกอบรมครั้งนี้ผู้ช่วยเลขาธิการฯ กล่าวว่า ประการแรก เพื่อปรับฐานความรู้ของเจ้าหน้าที่ระดับ 7 ให้มีพื้นฐานความรู้และความเข้าใจถึงแนวความคิดและภารกิจของ สศช. ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และประการที่สอง เพื่อให้การฝึกอบรมครั้งนี้เป็นการสร้างกระบวนความคิดในการทำงานร่วมกันของเจ้าหน้าที่ สศช. ของกองต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับแผนฯ 8
นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สศช.ประธานในพิธีโครงการจัดฝึกอบรมในครั้งนี้ กล่าวว่า สศช.ได้แสดงเจตนารมย์อย่างเด่นชัดในการสนับสนุนการพัฒนาคน และเป็นเวลาที่ สศช. จะได้หันมาเน้นการพัฒนาคนของ สศช. เองบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่ประเทศกำลังประสบปัญหาขณะนี้ ทรัพยากรที่เหลืออยู่อย่างเดียวก็คือ คน การฝึกอบรมครั้งนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการทำงานกันใหม่ เราจะคิดและทำแบบคนเดียวแบบเดิมมิได้ เราจำเป็นที่จะต้องคิดแบบแผนฯ 8 คือ ทำอย่างไรที่เราจะเปลี่ยนวิธีคิดกันใหม่เรียนรู้ร่วมกัน เป็นองค์กรที่รู้จักการทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนความคิดร่วมกัน คือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่เรียกว่า องค์รวม
ผู้ทรงคุณวุฒิ สศช. กล่าวด้วยว่า โลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เปลี่ยนไปเป็นพลวัตร และเชื่อมโยงส่งผลกระทบถึงกันอย่างรวดเร็ว เราจะต้องเรียนรู้ร่วมกันในการที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาวิกฤตของภูมิภาค ของโลกไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของแผนฯ 8 ดังนั้น เราต้องหันหน้าเข้าหากันทำนองเดียวกับประเทศต่าง ๆ ในโลกขณะนี้ที่ต่างก็หันหน้าเข้าหากัน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 11/พฤศจิกายน 2540--
นายบุญยงค์ เวชมณีศรี ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะรองประธานกรรมการพัฒนาบุคลากร สศช.ได้กล่าวรายงานถึงเหตุผลสำคัญของการจัดฝึกอบรมครั้งนี้ว่า นับเนื่องจากการปรับแผนคิดของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มาสู่การวางแผนและการดำเนินการในลักษณะองค์รวม ซึ่งนับเป็นเรื่องใหม่แม้กับเจ้าหน้าที่ระดับ 7 ที่มิได้มีส่วนเข้าร่วมอย่างใกล้ชิดในกระบวนการวางแผนฯ 8 ซึ่งเจ้าหน้าที่กลุ่มนี้จะเป็นกำลังสำคัญในการกำหนดดูแลให้เกิดความต่อเนื่องของแนวทางการพัฒนาที่มีคนเป็นศูนย์กลางในแผนต่อ ๆ ไป
ผู้ช่วยเลขาธิการฯ กล่าวด้วยว่า การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ สศช. ระดับ 7 ครั้งนี้ เป็นการฝึกอบรมครั้งแรกภายในสำนักงาน ซึ่งดำเนินการและกำหนดหลักสูตรโดยคณะกรรมการพัฒนาบุคลากร สศช. ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถเจ้าหน้าที่ สศช. ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก CIDA ภายใต้โครงการ NESDB Institutional Support Project
สำหรับวัตถุประสงค์สำคัญของการจัดฝึกอบรมครั้งนี้ผู้ช่วยเลขาธิการฯ กล่าวว่า ประการแรก เพื่อปรับฐานความรู้ของเจ้าหน้าที่ระดับ 7 ให้มีพื้นฐานความรู้และความเข้าใจถึงแนวความคิดและภารกิจของ สศช. ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และประการที่สอง เพื่อให้การฝึกอบรมครั้งนี้เป็นการสร้างกระบวนความคิดในการทำงานร่วมกันของเจ้าหน้าที่ สศช. ของกองต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับแผนฯ 8
นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สศช.ประธานในพิธีโครงการจัดฝึกอบรมในครั้งนี้ กล่าวว่า สศช.ได้แสดงเจตนารมย์อย่างเด่นชัดในการสนับสนุนการพัฒนาคน และเป็นเวลาที่ สศช. จะได้หันมาเน้นการพัฒนาคนของ สศช. เองบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่ประเทศกำลังประสบปัญหาขณะนี้ ทรัพยากรที่เหลืออยู่อย่างเดียวก็คือ คน การฝึกอบรมครั้งนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการทำงานกันใหม่ เราจะคิดและทำแบบคนเดียวแบบเดิมมิได้ เราจำเป็นที่จะต้องคิดแบบแผนฯ 8 คือ ทำอย่างไรที่เราจะเปลี่ยนวิธีคิดกันใหม่เรียนรู้ร่วมกัน เป็นองค์กรที่รู้จักการทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนความคิดร่วมกัน คือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่เรียกว่า องค์รวม
ผู้ทรงคุณวุฒิ สศช. กล่าวด้วยว่า โลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เปลี่ยนไปเป็นพลวัตร และเชื่อมโยงส่งผลกระทบถึงกันอย่างรวดเร็ว เราจะต้องเรียนรู้ร่วมกันในการที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาวิกฤตของภูมิภาค ของโลกไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของแผนฯ 8 ดังนั้น เราต้องหันหน้าเข้าหากันทำนองเดียวกับประเทศต่าง ๆ ในโลกขณะนี้ที่ต่างก็หันหน้าเข้าหากัน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 11/พฤศจิกายน 2540--