สศช. สำรวจพบประชาชนรู้จัก “เศรษฐกิจพอเพียง” เกินร้อยละ 90 โดยเข้าใจว่า คือการดำเนินชีวิตบนทางสายกลาง และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ แต่ยังไม่เข้าใจถึงการใช้ชีวิตบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงว่าสามารถใช้ของหรูหราได้หากต้องรู้จักความพอดี และกู้เงินได้ถ้านำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เผยว่า สศช. ได้ทำการวิจัยตามโครงการสำรวจความรู้ความเข้าใจของประชาชนที่มีต่อ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งทำการสำรวจประชาชนทั่วประเทศที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 7,549 ตัวอย่าง
ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่รู้จักและเคยได้ยินคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” อยู่ในระดับเกินร้อยละ 90 กลุ่มที่รู้จักในระดับมากที่สุดคือ กลุ่มที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป โดยสิ่งที่ประชาชนรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือ การรู้จักความพอดี การใช้ชีวิตบนทางสายกลาง การนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตการทำงานได้ แต่ประเด็นที่ประชาชนยังมีความเข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่องของการใช้ของฟุ่มเฟือยได้ แต่ต้องรู้จักความพอดี การใช้ชีวิตบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงสามารถกู้เงินได้ ถ้านำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งนี้ จะเห็นว่า ประชาชนยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับน้อยอยู่ จะเข้าใจแต่เพียงว่า หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือ ความพอดี การเดินทางสายกลาง การไม่เป็นหนี้ และจะต้องไม่ใช้สิ่งของฟุ่มเฟือย
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ผลจากการสำรวจการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวันของประชาชน ส่วนใหญ่นำไปใช้ในด้านการรู้จักอดออม การรู้จักประหยัดใช้เงินอย่างรู้ค่า ไม่ใช้ของฟุ่มเฟือย พอใจในสิ่งที่ตนเองมี แต่โดยหลักปรัชญาที่แท้จริงของหลักเศรษฐกิจพอเพียง ยังมีความหมายและสิ่งที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ได้แก่ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทำให้รู้จักรากเหง้าความเป็นมาของวัฒนธรรมประเพณีไทย ให้คงอยู่บนพื้นฐานของความมีเหตุผล การเป็นหนี้หรือการกู้ยืมเงินอย่างพอประมาณเพื่อนำมาใช้ลงทุนให้เกิดประโยชน์ เป็นส่วนหนึ่งตามหลักปรัชญาเช่นกัน
ด้านการรับรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนใหญ่รับรู้มานานผ่านสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และวิทยุ โดยมีการรับรู้แตกต่างกันตามสถานภาพ กล่าวคือ กลุ่มประชาชนส่วนใหญ่ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี การศึกษาระดับประถม อาชีพเกษตรกร และรับจ้าง ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงถึงวิธีการที่จะนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้หรือนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เพราะกลุ่มตัวอย่างยังไม่มีความรู้มากพอ ไม่ได้มีการศึกษาอย่างถ่องแท้ และยังมีความเข้าใจว่า หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปใช้กับภาคเกษตรเท่านั้น โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุสูงกว่า 50 ปี กลุ่มนักศึกษา เกษตรประมง และที่พักอาศัยอยู่ในภาคกลาง
นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความละเอียดอ่อน การทำความเข้าใจต้องใช้เวลาและต้องใช้การนำเสนอให้รับรู้โดยวิธีการยกตัวอย่าง การนำประสบการณ์มาถ่ายทอดผ่านสื่อให้เห็นเป็นรูปธรรม มีการนำเสนอที่มีตัวตนสัมผัสได้ และสามารถเห็นภาพที่ชัดเจนในการนำหลักปรัชญาไปใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น การที่จะทำให้ทุกคนเข้าใจจึงต้องปลูกฝังและหมั่นให้ความรู้กับเยาวชน ชุมชน หรือคนในระดับรากหญ้าเป็นสำคัญ
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำอย่างจริงจังและควรสร้างตัวอย่างให้ประชาชนรับรู้อย่างเป็นรูปธรรม ให้เข้าใจว่าสามารถที่จะนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้กับเรื่องต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา การใช้ชีวิตในสังคม หรือแม้กระทั่งการดำเนินธุรกิจ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เผยว่า สศช. ได้ทำการวิจัยตามโครงการสำรวจความรู้ความเข้าใจของประชาชนที่มีต่อ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งทำการสำรวจประชาชนทั่วประเทศที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 7,549 ตัวอย่าง
ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่รู้จักและเคยได้ยินคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” อยู่ในระดับเกินร้อยละ 90 กลุ่มที่รู้จักในระดับมากที่สุดคือ กลุ่มที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป โดยสิ่งที่ประชาชนรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือ การรู้จักความพอดี การใช้ชีวิตบนทางสายกลาง การนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตการทำงานได้ แต่ประเด็นที่ประชาชนยังมีความเข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่องของการใช้ของฟุ่มเฟือยได้ แต่ต้องรู้จักความพอดี การใช้ชีวิตบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงสามารถกู้เงินได้ ถ้านำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งนี้ จะเห็นว่า ประชาชนยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับน้อยอยู่ จะเข้าใจแต่เพียงว่า หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือ ความพอดี การเดินทางสายกลาง การไม่เป็นหนี้ และจะต้องไม่ใช้สิ่งของฟุ่มเฟือย
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ผลจากการสำรวจการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวันของประชาชน ส่วนใหญ่นำไปใช้ในด้านการรู้จักอดออม การรู้จักประหยัดใช้เงินอย่างรู้ค่า ไม่ใช้ของฟุ่มเฟือย พอใจในสิ่งที่ตนเองมี แต่โดยหลักปรัชญาที่แท้จริงของหลักเศรษฐกิจพอเพียง ยังมีความหมายและสิ่งที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ได้แก่ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทำให้รู้จักรากเหง้าความเป็นมาของวัฒนธรรมประเพณีไทย ให้คงอยู่บนพื้นฐานของความมีเหตุผล การเป็นหนี้หรือการกู้ยืมเงินอย่างพอประมาณเพื่อนำมาใช้ลงทุนให้เกิดประโยชน์ เป็นส่วนหนึ่งตามหลักปรัชญาเช่นกัน
ด้านการรับรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนใหญ่รับรู้มานานผ่านสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และวิทยุ โดยมีการรับรู้แตกต่างกันตามสถานภาพ กล่าวคือ กลุ่มประชาชนส่วนใหญ่ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี การศึกษาระดับประถม อาชีพเกษตรกร และรับจ้าง ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงถึงวิธีการที่จะนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้หรือนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เพราะกลุ่มตัวอย่างยังไม่มีความรู้มากพอ ไม่ได้มีการศึกษาอย่างถ่องแท้ และยังมีความเข้าใจว่า หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปใช้กับภาคเกษตรเท่านั้น โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุสูงกว่า 50 ปี กลุ่มนักศึกษา เกษตรประมง และที่พักอาศัยอยู่ในภาคกลาง
นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความละเอียดอ่อน การทำความเข้าใจต้องใช้เวลาและต้องใช้การนำเสนอให้รับรู้โดยวิธีการยกตัวอย่าง การนำประสบการณ์มาถ่ายทอดผ่านสื่อให้เห็นเป็นรูปธรรม มีการนำเสนอที่มีตัวตนสัมผัสได้ และสามารถเห็นภาพที่ชัดเจนในการนำหลักปรัชญาไปใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น การที่จะทำให้ทุกคนเข้าใจจึงต้องปลูกฝังและหมั่นให้ความรู้กับเยาวชน ชุมชน หรือคนในระดับรากหญ้าเป็นสำคัญ
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำอย่างจริงจังและควรสร้างตัวอย่างให้ประชาชนรับรู้อย่างเป็นรูปธรรม ให้เข้าใจว่าสามารถที่จะนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้กับเรื่องต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา การใช้ชีวิตในสังคม หรือแม้กระทั่งการดำเนินธุรกิจ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-