เมื่อวันที่8สิงหาคม2539 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายบรรหาร ศิลปอาชา ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค และท้องถิ่น (กนภ.) ครั้งที่ 4/2539ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในเรื่องสำคัญ 3 เรื่อง ดังนี้
1.เห็นชอบในการจัดตั้งบรรษัทพัฒนาองค์กรชุมชน เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนในการจัดตั้งการขยายปรับปรุงการพัฒนาองค์กรชุมชนและองค์กรการเงินของผู้มีรายได้น้อยทั้งในชนบทและในเมือง รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายที่ยากจน ซึ่งจะมีส่วนในการสนับสนุนและพัฒนาด้านการจัดการเกี่ยวกับการประกอบอาชีพการเพิ่มรายได้ การพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่สภาพแวดล้อมตลอดจนที่ทำกินและที่อยู่อาศัยอันจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ขององค์กรชุมชนและโครงข่ายองค์กรชุมชนให้มีความสามารถในการจัดการ รวมถึงความสามารถในการตัดสินใจแก้ไขและปรับปรุงพัฒนาด้วยตนเอง โดยให้องค์กรชุมชนมีสถาบันการเงินของตนเอง สามารถเป็นเจ้าของและกำกับดูแลการบริหารจัดการได้เอง
ทั้งนี้ คณะกรรมการ กนภ. ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการยกร่างออกเป็นพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งและกำกับดูแล "บรรษัทพัฒนาองค์กรชุมชน"เพื่อนำไปเสนอคณะกรรมการ กนภ. พิจารณาในครั้งต่อไป ขณะเดียวกันได้เห็นชอบให้แต่งตั้ง "คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจส่งเสริมพัฒนาองค์กรชุมชน" ขึ้น ภายใต้ระบบ กนภ. เพื่อทำหน้าที่ประสานและสร้างความพร้อมในการจัดตั้งบรรษัทพัฒนาองค์กรชุมชน ทั้งนี้โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่ประธาน กนภ. เห็นชอบเป็นประธาน และให้มีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (สศช.) ธนาคารแห่งประเทศไทยธนาคารออมสิน กรมการปกครอง องค์กรพัฒนาเอกชน ฯลฯ เป็นกรรมการ และให้กระทรวงการคลังและสศช.เป็นฝ่ายเลขานุการ
2. เห็นชอบให้มีการส่งเสริมกระบวนการ "ประชาคมจังหวัด" ซึ่งเป็นองค์กรในระดับจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางของการรวมตัวของกลุ่มและองค์กรประเภทต่าง ๆ ของประชาชน เพื่อร่วมกันคิดและกำหนดแนวทางการพัฒนาโดยเน้น "คน" และการทำงานร่วมกันหลาย ๆ ฝ่ายในการพัฒนาทุกระดับอย่างไรก็ตาม การริเริ่มของแต่ละจังหวัดนั้น ควรให้เป็นไปตามธรรมชาติบนพื้นฐานความพร้อมและความตระหนักของทุกฝ่ายในจังหวัดเป็นสำคัญ รวมทั้งให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับไปดำเนินการทางด้านการศึกษาทดลองเกี่ยวกับประชาคมจังหวัดให้กว้างขวางขึ้น เพื่อให้ได้รูปแบบการทำงานร่วมกันที่สอดคล้องกับพื้นฐาน ทัศนคติและความสนใจของจังหวัดต่าง ๆ เพื่อเป็นรูปแบบในการส่งเสริมการดำเนินงานของประชาคมจังหวัดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการ กนภ.ยังได้มอบหมาย ให้กระทรวงมหาดไทยแจ้งให้จังหวัดต่าง ๆ ได้ทราบถึงบทบาทการดำเนินงานของประชาคมจังหวัดต่อไป
3. เห็นชอบกับการทบทวนเพิ่มเป้าหมายแผนงานเร่งรัด จัดหาน้ำสะอาดด้วยระบบประปาที่เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ทั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากผลการดำเนินงานก่อสร้างระบบประปาชนบท ในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 7 ตั้งแต่ปี 2535-2539 ปรากฎว่าสามารถดำเนินการได้สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดคือการก่อสร้างระบบประปาชนบทของกระทรวงต่าง ๆ มีจำนวนทั้งสิ้น 22,893 แห่ง และรวมกับการก่อสร้างระบบประปาของจังหวัดที่ดำเนินการเองโดยใช้งบโครงการพัฒนาจังหวัด ตั้งแต่ปี 2535-2538 อีกจำนวน4,441 แห่ง รวมจำนวนที่ดำเนินการได้ทั้งสิ้น 27,334 แห่ง หรือเฉลี่ยปีละ 5,460 แห่ง เทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้เพียงปีละ 3,300 แห่ง จึงสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้เกือบเท่าตัว ขณะเดียวกันในปีงบประมาณ 2540 รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณ สำหรับการก่อสร้างระบบประปาชนบทอีกจำนวน 7,063แห่ง จึงมีจำนวนทั้งสิ้น 42,056 แห่ง ดังนั้นภายในปี 2540 นี้ การก่อสร้างระบบประปาชนบทก็จะบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้และก่อนกำหนดระยะเวลาถึง 4 ปี อย่างไรก็ตาม ในระยะต่อไปควรให้ความสำคัญทางด้านคุณภาพและประสิทธิภาพของระบบประปามากขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการได้อย่างเต็มที่
ทั้งนี้ คณะกรรมการ กนภ. ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นฝ่ายรับผิดชอบในการดำเนินการทบทวนเพิ่มเป้าหมายแผนงาน เร่งรัดจัดหาน้ำสะอาดด้วยระบบประปาดังกล่าว เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดสรรงบประมาณ และการดำเนินงานของหน่วยงานปฏิบัติในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยให้แต่งตั้งคณะทำงานชุดหนึ่งอันประกอบด้วยผู้แทนสำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมพิจารณา เพื่อเสนอให้คณะกรรมการ กนภ. พิจารณาต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 8 / สิงหาคม 2539--
1.เห็นชอบในการจัดตั้งบรรษัทพัฒนาองค์กรชุมชน เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนในการจัดตั้งการขยายปรับปรุงการพัฒนาองค์กรชุมชนและองค์กรการเงินของผู้มีรายได้น้อยทั้งในชนบทและในเมือง รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายที่ยากจน ซึ่งจะมีส่วนในการสนับสนุนและพัฒนาด้านการจัดการเกี่ยวกับการประกอบอาชีพการเพิ่มรายได้ การพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่สภาพแวดล้อมตลอดจนที่ทำกินและที่อยู่อาศัยอันจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ขององค์กรชุมชนและโครงข่ายองค์กรชุมชนให้มีความสามารถในการจัดการ รวมถึงความสามารถในการตัดสินใจแก้ไขและปรับปรุงพัฒนาด้วยตนเอง โดยให้องค์กรชุมชนมีสถาบันการเงินของตนเอง สามารถเป็นเจ้าของและกำกับดูแลการบริหารจัดการได้เอง
ทั้งนี้ คณะกรรมการ กนภ. ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการยกร่างออกเป็นพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งและกำกับดูแล "บรรษัทพัฒนาองค์กรชุมชน"เพื่อนำไปเสนอคณะกรรมการ กนภ. พิจารณาในครั้งต่อไป ขณะเดียวกันได้เห็นชอบให้แต่งตั้ง "คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจส่งเสริมพัฒนาองค์กรชุมชน" ขึ้น ภายใต้ระบบ กนภ. เพื่อทำหน้าที่ประสานและสร้างความพร้อมในการจัดตั้งบรรษัทพัฒนาองค์กรชุมชน ทั้งนี้โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่ประธาน กนภ. เห็นชอบเป็นประธาน และให้มีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (สศช.) ธนาคารแห่งประเทศไทยธนาคารออมสิน กรมการปกครอง องค์กรพัฒนาเอกชน ฯลฯ เป็นกรรมการ และให้กระทรวงการคลังและสศช.เป็นฝ่ายเลขานุการ
2. เห็นชอบให้มีการส่งเสริมกระบวนการ "ประชาคมจังหวัด" ซึ่งเป็นองค์กรในระดับจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางของการรวมตัวของกลุ่มและองค์กรประเภทต่าง ๆ ของประชาชน เพื่อร่วมกันคิดและกำหนดแนวทางการพัฒนาโดยเน้น "คน" และการทำงานร่วมกันหลาย ๆ ฝ่ายในการพัฒนาทุกระดับอย่างไรก็ตาม การริเริ่มของแต่ละจังหวัดนั้น ควรให้เป็นไปตามธรรมชาติบนพื้นฐานความพร้อมและความตระหนักของทุกฝ่ายในจังหวัดเป็นสำคัญ รวมทั้งให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับไปดำเนินการทางด้านการศึกษาทดลองเกี่ยวกับประชาคมจังหวัดให้กว้างขวางขึ้น เพื่อให้ได้รูปแบบการทำงานร่วมกันที่สอดคล้องกับพื้นฐาน ทัศนคติและความสนใจของจังหวัดต่าง ๆ เพื่อเป็นรูปแบบในการส่งเสริมการดำเนินงานของประชาคมจังหวัดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการ กนภ.ยังได้มอบหมาย ให้กระทรวงมหาดไทยแจ้งให้จังหวัดต่าง ๆ ได้ทราบถึงบทบาทการดำเนินงานของประชาคมจังหวัดต่อไป
3. เห็นชอบกับการทบทวนเพิ่มเป้าหมายแผนงานเร่งรัด จัดหาน้ำสะอาดด้วยระบบประปาที่เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ทั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากผลการดำเนินงานก่อสร้างระบบประปาชนบท ในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 7 ตั้งแต่ปี 2535-2539 ปรากฎว่าสามารถดำเนินการได้สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดคือการก่อสร้างระบบประปาชนบทของกระทรวงต่าง ๆ มีจำนวนทั้งสิ้น 22,893 แห่ง และรวมกับการก่อสร้างระบบประปาของจังหวัดที่ดำเนินการเองโดยใช้งบโครงการพัฒนาจังหวัด ตั้งแต่ปี 2535-2538 อีกจำนวน4,441 แห่ง รวมจำนวนที่ดำเนินการได้ทั้งสิ้น 27,334 แห่ง หรือเฉลี่ยปีละ 5,460 แห่ง เทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้เพียงปีละ 3,300 แห่ง จึงสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้เกือบเท่าตัว ขณะเดียวกันในปีงบประมาณ 2540 รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณ สำหรับการก่อสร้างระบบประปาชนบทอีกจำนวน 7,063แห่ง จึงมีจำนวนทั้งสิ้น 42,056 แห่ง ดังนั้นภายในปี 2540 นี้ การก่อสร้างระบบประปาชนบทก็จะบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้และก่อนกำหนดระยะเวลาถึง 4 ปี อย่างไรก็ตาม ในระยะต่อไปควรให้ความสำคัญทางด้านคุณภาพและประสิทธิภาพของระบบประปามากขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการได้อย่างเต็มที่
ทั้งนี้ คณะกรรมการ กนภ. ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นฝ่ายรับผิดชอบในการดำเนินการทบทวนเพิ่มเป้าหมายแผนงาน เร่งรัดจัดหาน้ำสะอาดด้วยระบบประปาดังกล่าว เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดสรรงบประมาณ และการดำเนินงานของหน่วยงานปฏิบัติในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยให้แต่งตั้งคณะทำงานชุดหนึ่งอันประกอบด้วยผู้แทนสำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมพิจารณา เพื่อเสนอให้คณะกรรมการ กนภ. พิจารณาต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 8 / สิงหาคม 2539--