แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
จังหวัดอุบลราชธานี
กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงมหาดไทย
นักธุรกิจ
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ร่วมกันจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการแผนยุทธศาสตร์ การลงทุนกลุ่มจังหวัดขึ้น ณ โรงแรม เกษศิริ จ.ศรีสะเกษ โดยมีนักธุรกิจและเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด ของจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ยโสธร และจังหวัดร้อยเอ็ด รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ประมาณ 100 ท่าน
ในการประชุมสัมมนาครั้งนี้ นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนาและมอบนโยบายกระจายรายได้ และความเจริญไปสู่ภูมิภาค โดยสรุปสาระสำคัญได้ว่าการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การลงทุนกลุ่มจังหวัดเป็นกิจกรรมใหม่ที่เสริมมาตรการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นซึ่งในปัจจุบันได้มีความพยายามหลายประการ เช่น การส่งเสริมการลงทุนในเขต 3 พิเศษ เพื่อชักจูงนักลงทุนไปลงทุนในเขตจังหวัดที่มีรายได้ประชากรต่ำมาก ๆ การสนับสนุนให้มีการย้ายฐานการผลิตไปสู่ภูมิภาค และการส่งเสริมให้เกิดการรับช่วงงานหรือช่วงการผลิตในระดับท้องที่เพื่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลต่อความเจริญทางเศรษฐกิจในระดับพื้นที่อย่างแท้จริง
ทั้งนี้ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การลงทุนกลุ่มจังหวัด เป็นความพยายามที่จะทำให้นักลงทุนหรือนักธุรกิจในท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และยอมรับร่วมกันว่าพื้นที่ในกลุ่มจังหวัดของตนมีจุดอ่อนและจุดแข็งในเรื่องใดเหมาะที่จะสนับสนุนการลงทุนอุตสาหกรรมประเภทใดที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่นของกลุ่มจังหวัดมากที่สุด โดยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ การลงทุนกลุ่มจังหวัดดังกล่าว จะเป็นการฉายภาพจุดแข็งของพื้นที่กลุ่มจังหวัดต่าง ๆ ที่จังหวัดนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเชิญชวนนักลงทุนทั้งจากภายในท้องถิ่น ส่วนกลางและต่างประเทศให้เกิดความสนใจที่จะมาลงทุนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดนั้น ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
สำหรับปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนให้ผู้ลงทุนจากนอกท้องถิ่นย้ายฐานการผลิตมายังพื้นที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับความเข้าใจของนักลงทุนและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกลุ่มจังหวัดที่จะต้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน รวมทั้งคนในพื้นที่จะต้องมีบทบาทอย่างสำคัญในการต้อนรับและอำนวยความสะดวกต่อนักลงทุนที่จะมาลงทุนในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องในกลุ่มจังหวัดของตนต่อไป
หลังจากนั้น นายสมชาย กรุสวนสมบัติ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้นำเสนอร่างแผนยุทธศาสตร์การลงทุนกลุ่มจังหวัด โดยกล่าวว่า การจัดทำยุทธศาสตร์การลงทุนกลุ่มจังหวัดเป็นมาตรการสำคัญในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยเป็นการเสริมการจัดทำแผนลงทุนกลุ่มจังหวัดและแผนลงทุนจังหวัดที่ได้จัดทำไปแล้ว เพื่อชี้ให้เห็นถึงโอกาสศักยภาพในระดับพื้นที่ รวมถึงความเหมาะสมของประเภทอุตสาหกรรมที่มีลู่ทางในการลงทุนในกลุ่มจังหวัด เช่น ในกลุ่มจังหวัดนี้มีความเหมาะสมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวประเภทโรงแรม และรีสอร์ท อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วน และการประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเป็นต้น สำหรับในการสัมมนาครั้งนี้เป็นการพิจารณาตามร่างแผนที่เสนอนี้ ว่ามีความครอบคลุมประเภทอุตสาหกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่เพียงใดยุทธศาสตร์การลงทุนกลุ่มจังหวัดใดที่มีลู่ทางที่จะลงทุนได้ และข้อจำกัดที่มีอยู่คืออะไร จะแก้ไขกันอย่างไร
ในด้านผลการสัมมนากลุ่มย่อยของนักธุรกิจและเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด สามารถสรุปประเด็นสำคัญ ๆ ได้ดังนี้
1. ประเภทอุตสาหกรรมและการลงทุนอื่น ๆ ที่นักลงทุนสนใจ ได้แก่ อุตสาหกรรมบริการ ประเภทการศึกษาโรงแรมโรงพยาบาลอุตสาหกรรมการผลิตเยื่อกระดาษ การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น
2. บทบาทภาคธุรกิจเอกชนและนักลงทุน เห็นควรให้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และชักชวนนักลงทุนจากส่วนกลาง และต่างประเทศให้เห็นลู่ทางการลงทุนที่สอดคล้องกับความเป็นจริงตลอดจนภาคเอกชนควรมีบทบาทในการพัฒนาประสิทธิภาพ การตลาด คุณภาพสินค้า และพัฒนาฝีมือแรงงาน ในท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งควรมีการประสานงานภาครัฐผ่าน กรอ.จังหวัดในการให้สิทธิประโยชน์การลงทุนมากขึ้น และให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง
3. ความต้องการสนับสนุนจากภาครัฐ ได้แก่ การลดต้นทุนการผลิต ด้านค่าบริการสาธารณูปโภคการจัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำระยะยาว และการปรับปรุงกฎหมายสภาตำบลองค์การบริหารส่วนตำบล ให้สามารถนำเงินงบประมาณมาร่วมทุนกับภาคธุรกิจเอกชนในพื้นที่ได้ เป็นต้น
4. บทบาทขององค์กรท้องถิ่นและชุมชนที่จะเข้าร่วมดำเนินการให้เกิดการลงทุน ได้แก่ การเสริมสร้างศักยภาพด้านการบริการจัดการการตลาดให้กับองค์กรท้องถิ่นและชุมชนสนับสนุนองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้น และเพิ่มบทบาทภาครัฐในพื้นที่ เช่น การพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นต้น
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 11/พฤศจิกายน 2539--
ในการประชุมสัมมนาครั้งนี้ นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนาและมอบนโยบายกระจายรายได้ และความเจริญไปสู่ภูมิภาค โดยสรุปสาระสำคัญได้ว่าการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การลงทุนกลุ่มจังหวัดเป็นกิจกรรมใหม่ที่เสริมมาตรการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นซึ่งในปัจจุบันได้มีความพยายามหลายประการ เช่น การส่งเสริมการลงทุนในเขต 3 พิเศษ เพื่อชักจูงนักลงทุนไปลงทุนในเขตจังหวัดที่มีรายได้ประชากรต่ำมาก ๆ การสนับสนุนให้มีการย้ายฐานการผลิตไปสู่ภูมิภาค และการส่งเสริมให้เกิดการรับช่วงงานหรือช่วงการผลิตในระดับท้องที่เพื่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลต่อความเจริญทางเศรษฐกิจในระดับพื้นที่อย่างแท้จริง
ทั้งนี้ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การลงทุนกลุ่มจังหวัด เป็นความพยายามที่จะทำให้นักลงทุนหรือนักธุรกิจในท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และยอมรับร่วมกันว่าพื้นที่ในกลุ่มจังหวัดของตนมีจุดอ่อนและจุดแข็งในเรื่องใดเหมาะที่จะสนับสนุนการลงทุนอุตสาหกรรมประเภทใดที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่นของกลุ่มจังหวัดมากที่สุด โดยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ การลงทุนกลุ่มจังหวัดดังกล่าว จะเป็นการฉายภาพจุดแข็งของพื้นที่กลุ่มจังหวัดต่าง ๆ ที่จังหวัดนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเชิญชวนนักลงทุนทั้งจากภายในท้องถิ่น ส่วนกลางและต่างประเทศให้เกิดความสนใจที่จะมาลงทุนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดนั้น ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
สำหรับปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนให้ผู้ลงทุนจากนอกท้องถิ่นย้ายฐานการผลิตมายังพื้นที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับความเข้าใจของนักลงทุนและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกลุ่มจังหวัดที่จะต้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน รวมทั้งคนในพื้นที่จะต้องมีบทบาทอย่างสำคัญในการต้อนรับและอำนวยความสะดวกต่อนักลงทุนที่จะมาลงทุนในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องในกลุ่มจังหวัดของตนต่อไป
หลังจากนั้น นายสมชาย กรุสวนสมบัติ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้นำเสนอร่างแผนยุทธศาสตร์การลงทุนกลุ่มจังหวัด โดยกล่าวว่า การจัดทำยุทธศาสตร์การลงทุนกลุ่มจังหวัดเป็นมาตรการสำคัญในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยเป็นการเสริมการจัดทำแผนลงทุนกลุ่มจังหวัดและแผนลงทุนจังหวัดที่ได้จัดทำไปแล้ว เพื่อชี้ให้เห็นถึงโอกาสศักยภาพในระดับพื้นที่ รวมถึงความเหมาะสมของประเภทอุตสาหกรรมที่มีลู่ทางในการลงทุนในกลุ่มจังหวัด เช่น ในกลุ่มจังหวัดนี้มีความเหมาะสมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวประเภทโรงแรม และรีสอร์ท อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วน และการประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเป็นต้น สำหรับในการสัมมนาครั้งนี้เป็นการพิจารณาตามร่างแผนที่เสนอนี้ ว่ามีความครอบคลุมประเภทอุตสาหกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่เพียงใดยุทธศาสตร์การลงทุนกลุ่มจังหวัดใดที่มีลู่ทางที่จะลงทุนได้ และข้อจำกัดที่มีอยู่คืออะไร จะแก้ไขกันอย่างไร
ในด้านผลการสัมมนากลุ่มย่อยของนักธุรกิจและเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด สามารถสรุปประเด็นสำคัญ ๆ ได้ดังนี้
1. ประเภทอุตสาหกรรมและการลงทุนอื่น ๆ ที่นักลงทุนสนใจ ได้แก่ อุตสาหกรรมบริการ ประเภทการศึกษาโรงแรมโรงพยาบาลอุตสาหกรรมการผลิตเยื่อกระดาษ การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น
2. บทบาทภาคธุรกิจเอกชนและนักลงทุน เห็นควรให้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และชักชวนนักลงทุนจากส่วนกลาง และต่างประเทศให้เห็นลู่ทางการลงทุนที่สอดคล้องกับความเป็นจริงตลอดจนภาคเอกชนควรมีบทบาทในการพัฒนาประสิทธิภาพ การตลาด คุณภาพสินค้า และพัฒนาฝีมือแรงงาน ในท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งควรมีการประสานงานภาครัฐผ่าน กรอ.จังหวัดในการให้สิทธิประโยชน์การลงทุนมากขึ้น และให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง
3. ความต้องการสนับสนุนจากภาครัฐ ได้แก่ การลดต้นทุนการผลิต ด้านค่าบริการสาธารณูปโภคการจัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำระยะยาว และการปรับปรุงกฎหมายสภาตำบลองค์การบริหารส่วนตำบล ให้สามารถนำเงินงบประมาณมาร่วมทุนกับภาคธุรกิจเอกชนในพื้นที่ได้ เป็นต้น
4. บทบาทขององค์กรท้องถิ่นและชุมชนที่จะเข้าร่วมดำเนินการให้เกิดการลงทุน ได้แก่ การเสริมสร้างศักยภาพด้านการบริการจัดการการตลาดให้กับองค์กรท้องถิ่นและชุมชนสนับสนุนองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้น และเพิ่มบทบาทภาครัฐในพื้นที่ เช่น การพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นต้น
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 11/พฤศจิกายน 2539--