ที่นำเสนอต่อไปนี้ เป็นรายงานเพิ่มเติมจากฉบับที่แล้ว เกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่สรุปจากแบบสอบถามผู้เข้าร่วมสัมมนาปฐมทัศน์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จำนวน 470รายซึ่งเป็นการสัมมนาที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2539 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์
ส่วนที่ 2 : แนวความคิดในการวางแผน
1. ผลการพัฒนาที่ขาดความสมดุล คือ "เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน" และการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ ทำให้มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว จะทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรโดยไม่มีขอบเขตจำกัด ก่อให้เกิดปัญหาการอยู่ร่วมกันในสังคม และเกิดความขัดแย้งระหว่างสังคมมนุษย์กับธรรมชาติโดยไม่สิ้นสุด
เห็นด้วย (93%)
ไม่เห็นด้วย (2%)
อื่น ๆ (3%)
ไม่ตอบ (2%)
2. สภาพสังคมไทยที่พึงปรารถนาในอนาคต จะต้องประกอบด้วยคนไทยที่มีการพัฒนาเต็มศัยกภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติ ปัญญาและความสามารถ มีสังคมที่เป็นสุข ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็งมีเศรษฐกิจที่แข็งแรงมั่นคงที่เปิดโอกาสให้กับคนไทยทุกคนอย่างทั่วถึง มีการจัดการทรัยากรธรรมชาติที่ยั่งยืนและมีสิ่งแวดล้อม ที่ดีเหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
เห็นด้วย (97%)
ไม่เห็นด้วย (0%)
อื่น ๆ (1%)
ไม่ตอบ (2%)
3. การพัฒนาประเทศไปสู่วิสัยทัศน์ที่พึงปรารถนามีคนเป็นปัจจัยชี้ขาดของความสำเร็จในทุกเรื่อง ดังนั้น แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จึงเป็นจุดเริ่มต้นของวิถีทางการพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางหรือจุดมุ่งหมายหลักของการพัฒนา โดยมองการพัฒนาในลักษณะรวม คือ ให้ความสำคัญในด้านการพัฒนาตัวคนให้เต็มศักยภาพและในขณะเดียวกัน ต้องพัฒนาสภาวะแวดล้อมที่อยู่รอบตัวคนทั้ง สังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาคน
เห็นด้วย (96%)
ไม่เห็นด้วย (1%)
อื่น ๆ (1%)
ไม่ตอบ (2%)
4.การพัฒนาประเทศจะประสบความสำเร็จตรงตามความพอใจของประชาชนก็ต่อเมื่อมีการปรับแนวคิดการพัฒนาให้เป็นการพัฒนาของประชาชน โดยต้องเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาประเทศทั้งร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมติดตามประเมินผล ให้เป็นกระบวนการพัฒนาที่มีผนึกกำลังอย่างสมานฉันท์ สร้างความเข้าใจและเอื้ออาทรต่อกัน
เห็นด้วย (94%)
ไม่เห็นด้วย (1%)
อื่น ๆ (2%)
ไม่ตอบ (3%)
5.การวางแผนพัฒนาประเทศจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการและกระบวนการวางแผน จากการวางแผนแยกส่วนรายสาขา ที่ขาดความเชื่อมโยงเกื้อกูลต่อกัน มาเป็นการพัฒนาแบบรวมส่วนที่ให้ความสำคัญทั้งในด้านการพัฒนาตัวคนและสภาวะแวดล้อมรอบตัวคน ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคมทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
เห็นด้วย (94%)
ไม่เห็นด้วย (1%)
อื่น ๆ (2%)
ไม่ตอบ (3%)
ส่วนที่ 3 : ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
1. แนวทางที่สำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพของคนให้มีคุณธรรม คุณภาพ มีความรู้ความสามารถ รู้จักตัวเอง รู้เท่าทันโลก และสามารถปรับตัวเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่า คือ การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ให้สามารถสร้างคนให้มีปัญญา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักค้นคว้า และสามารถเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในวิถีทางที่หลากหลายตามความเหมาะสมของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
เห็นด้วย (97%)
ไม่เห็นด้วย (1%)
อื่น ๆ (0%)
ไม่ตอบ (2%)
2.กลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคมจะต้องได้รับบริการพื้นฐานทางสังคม สวัสดิการสังคมและสวัสดิการแรงงาน หลักประกันด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน และการทำงาน ตลอดจนการพิทักษ์ และคุ้มครองสิทธิต่าง ๆ อย่างทั่วถึงถ้วนหน้า
เห็นด้วย (97%)
ไม่เห็นด้วย (0%)
อื่น ๆ (1%)
ไม่ตอบ (2%)
3.การพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคม ให้สนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาคน จำเป็นต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและครอบครัว ตลอดจนส่งเสริมวัฒนธรรม และค่านิยมให้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของคน
เห็นด้วย (95%)
ไม่เห็นด้วย (1%)
อื่น ๆ (0%)
ไม่ตอบ (4%)
4.การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ดีของสังคมจำเป็นต้องส่งเสริมให้ครอบครัวโรงเรียน ชุมชนสถาบันศาสนา และสถานประกอบการมีบทบาทร่วมกับภาครัฐมากขึ้นในการป้องกัน และแก้ไขสังคม เช่นอาชญากรรมสิ่งเสพติดปัญหาเยาวชนเป็นต้นแล้วยังจำเป็นต้องพัฒนาความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิต โดยการปรับปรุงระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ อุบัติภัย และสาธารณภัยด้วย
เห็นด้วย (95%)
ไม่เห็นด้วย (1%)
อื่น ๆ (2%)
ไม่ตอบ (2%)
5. การสนับสนุนธุรกิจเอชนให้มีบทบาทช่วยเหลือชุมชน ทั้งด้านการจัดการธุรกิจ ทุน และเทคโนโลยีการผลิต เพื่อให้ชุมชนสามารถพัฒนาธุรกิจเป็นของตนเอง เป็นกระบวนการที่จะนำไปสู่การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการของชุมชน
เห็นด้วย (93%)
ไม่เห็นด้วย (2%)
อื่น ๆ (2%)
ไม่ตอบ (3%)
6. การปรับกระบวนการทำงานของภาครัฐ เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชนให้มีความร่วมมือกันหลายฝ่าย โดยเริ่มดำเนินการในระดับจังหวัดก่อนในลักษณะของ "ประชาคมจังหวัด" เป็นกลไกการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนมากที่สุดเป็นการสร้างการพัฒนาร่วมกัน เพื่อให้จังหวัดเป็นจุดประสานระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
เห็นด้วย (89%)
ไม่เห็นด้วย (5%)
อื่น ๆ (4%)
ไม่ตอบ (2%)
7. การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคนและคุณภาพชีวิตในช่วงแผนฯ 8 มียุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ การพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของพื้นที่ในทุกส่วนของประเทศให้มีองค์ประกอบของชุมชนที่สมบูรณ์มีการรักษาและแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อม กระจายบริการทางสังคมและพัฒนาโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมเมืองและชนบทเพื่อขยายโอกาสการลงทุนรายได้ และการบริการแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง
เห็นด้วย (96%)
ไม่เห็นด้วย (1%)
อื่น ๆ (0%)
ไม่ตอบ (3%)
8. การเร่งรัดกระจายความเจริญออกจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑลไปสู่พื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของประเทศ ควบคู่กับการเสริมสร้างโอกาสใหม่ทางเศรษฐกิจ โดยการพัฒนาพื้นที่กลุ่มจังหวัดในภูมิภาคและพื้นที่ชายแดนให้เชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน และนานาชาติจะเห็นการเพิ่มโอกาสการมีงานทำ สร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และนำไปสู่การพัฒนาฐานการผลิตใหม่ของประเทศในระยะยาว
เห็นด้วย (94%)
ไม่เห็นด้วย (2%)
อื่น ๆ (1%)
ไม่ตอบ (3%)
9. การกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ต้องสนับสนุนการย้ายฐานอุตสาหกรรม และบริหารการทางการเงินจากเขตกรุงเทพมหานครไปสู่ภูมิภาค และสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมชนบท และอุตสาหกรรมชุมชน ให้เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมของประเทศเพื่อสร้างโอกาสการมีงานทำและเพิ่มรายได้แก่ชุมชนและกลุ่มคนในภูมิภาคและชนบท
เห็นด้วย (91%)
ไม่เห็นด้วย (2%)
อื่น ๆ (3%)
ไม่ตอบ (4%)
10. ในการสร้างฐานการผลิตของประเทศให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในตลาดโลกและเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว จำเป็นที่จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจและรักษาความสมดุลระหว่างการผลิตกับอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เห็นด้วย (95%)
ไม่เห็นด้วย (1%)
อื่น ๆ (2%)
ไม่ตอบ (2%)
11. การสร้างระบบเศรษฐกิจให้เข้มแข็งและมีเสถียรภาพในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ต้องให้ความสำคัญกับการลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด การเพิ่มระดับเงินออมของประเทศ และการรักษาเสถียรภาพของระดับราคาผู้บริโภค
เห็นด้วย (90%)
ไม่เห็นด้วย (3%)
อื่น ๆ (3%)
ไม่ตอบ (4%)
12. เงื่อนไขสำคัญของ ความสำเร็จในการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม คือประชาชนและชุมชนจะต้องมีบทบาทสำคัญและมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนตัดสินใจร่วมดำเนินงาน การตรวจสอบและติดตามประเมินผล โดยรัฐสนับสนุนให้มีแผนปฏิบัติการและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
เห็นด้วย (95%)
ไม่เห็นด้วย (1%)
อื่น ๆ (1%)
ไม่ตอบ (3%)
13.การเสริมสร้างโอกาสมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงขีดความสามารถของหน่วยงานภาครัฐ ระเบียบกฎหมาย งบประมาณ การพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศ รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชน และการปรับเปลี่ยนบทบาทภาครัฐให้เป็นการสนับสนุน ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกแก่ภาคเอกชน
เห็นด้วย (93%)
ไม่เห็นด้วย (1%)
อื่น ๆ (3%)
ไม่ตอบ (3%)
ส่วนที่ 4 : การแปลงแผนสู่การปฏิบัติ
1. เป้าหมายการพัฒนาประเทศที่แท้จริง คือ "การพัฒนาประชารัฐ" ซึ่งเป็นการพัฒนาในลักษณะที่รัฐและประชาชนมีความเข้าใจอันดีต่อกัน มีความรับผิดชอบร่วมกัน และเสริมสร้างสมรรถนะซึ่งกันและกัน เพื่อให้คนทุกคนในสังคมและศักยภาพทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา สุขภาพอนามัย มีความสามารถในการพึ่งตนเองการประกอบอาชีพการปรับตัวให้ทันกับกระแสโลกาภิวัฒน์ และการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
เห็นด้วย (95%)
ไม่เห็นด้วย (1%)
อื่น ๆ (2%)
ไม่ตอบ (2%)
2. เพื่อให้เกิดประชารัฐดังกล่าวข้างต้น ภาครัฐจำเป็นต้องเสริมสร้างโอกาสและกลไกที่นำไปสู่การปฏิบัติ ดังนี้
(1)เสริมสร้างหลักประกันและสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล และชุมชนทางการเมืองและการรับรู้ข่าวสาร
(2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในสังคม ในกระบวนการพัฒนาและการจัดการแก้ไขข้อขัดแย้งในสังคมด้วยสันติวิธี
(3) ลดบทบาทระบบราชการ การให้มีขนาดกระทัดรัด และการปรับปรุงสิทธิภาพใน การบริหารจัดการ
(4) สร้างความต่อเนื่องและเสถียรภาพของการบริหารนโยบายของรัฐ
เห็นด้วย (93%)
ไม่เห็นด้วย (2%)
อื่น ๆ (3%)
ไม่ตอบ (2%)
3.ในการสร้างพันธมิตรเพื่อกำหนดภารกิจของชาติควรจัดให้มีการประชุมระหว่างพรรคการเมืองหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรประชาชน สื่อมวลชนและตัวแทนกลุ่มอาชีพต่างๆเพื่อกำหนดและทบทวนวิสัยทัศน์และภารกิจของชาติเป็นประจำทุกปีอย่างต่อเนื่อง
เห็นด้วย (90%)
ไม่เห็นด้วย (5%)
อื่น ๆ (7%)
ไม่ตอบ (3%)
4.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานกลางในการแปลงแผน ไปสู่การปฏิบัติควรปรับบทบาทของสำนักคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในการประสานงาน งบประมาณ และกำลังคนพร้อมทั้งการติดตามประเมินผลแผนงานโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดในแผนพัฒนาฯ
เห็นด้วย (92%)
ไม่เห็นด้วย (1%)
อื่น ๆ (4%)
ไม่ตอบ (3%)
5. ในการแปลงแผนสู่การปฏิบัติ ควรปรับเปลี่ยนการจัดทำแผนงานและงบประมาณที่เน้นการเป็นหน่วยหลัก มาเป็นพื้นที่และชุมชน คือ จังหวัด อำเภอ และตำบล และควรพิจารณาให้หน่วยงานราชการระดับพื้นที่ คือ จังหวัด ให้สามารถเข้ามาอยู่ในกระบวนการการจัดสรรทรัพยากรของรัฐได้
เห็นด้วย (89%)
ไม่เห็นด้วย (5%)
อื่น ๆ (4%)
ไม่ตอบ (2%)
6. การเปิดโอกาสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกิจกรรมทางการพัฒนาควรดำเนินการเป็น2ระบบควบคู่กันไป คือ ระบบที่มีการปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งรัฐมีบทบาทนำและประชาชนมีส่วนร่วมกิจกรรมการพัฒนา และระบบการจัดการกิจกรรมการพัฒนาใหม่ ซึ่งประชาชนมีบทบาทนำและภาครัฐเป็นฝ่ายสนับสนุน
เห็นด้วย (87%)
ไม่เห็นด้วย (5%)
อื่น ๆ (3%)
ไม่ตอบ (5%)
7.ในการติดตามประเมินผลแผนพัฒนาฯ ควรมีการจัดประชุม เพื่อติดตามประเมินผล โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง
ในปีสุดท้ายของแผนฯ (4%)
ครึ่งแผนฯ และปีสุดท้ายของแผนฯ (24%)
เป็นประจำทุกปี (69%)
ไม่ตอบ (3%)
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 5 / พฤษภาคม 2539--
ส่วนที่ 2 : แนวความคิดในการวางแผน
1. ผลการพัฒนาที่ขาดความสมดุล คือ "เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน" และการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ ทำให้มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว จะทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรโดยไม่มีขอบเขตจำกัด ก่อให้เกิดปัญหาการอยู่ร่วมกันในสังคม และเกิดความขัดแย้งระหว่างสังคมมนุษย์กับธรรมชาติโดยไม่สิ้นสุด
เห็นด้วย (93%)
ไม่เห็นด้วย (2%)
อื่น ๆ (3%)
ไม่ตอบ (2%)
2. สภาพสังคมไทยที่พึงปรารถนาในอนาคต จะต้องประกอบด้วยคนไทยที่มีการพัฒนาเต็มศัยกภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติ ปัญญาและความสามารถ มีสังคมที่เป็นสุข ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็งมีเศรษฐกิจที่แข็งแรงมั่นคงที่เปิดโอกาสให้กับคนไทยทุกคนอย่างทั่วถึง มีการจัดการทรัยากรธรรมชาติที่ยั่งยืนและมีสิ่งแวดล้อม ที่ดีเหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
เห็นด้วย (97%)
ไม่เห็นด้วย (0%)
อื่น ๆ (1%)
ไม่ตอบ (2%)
3. การพัฒนาประเทศไปสู่วิสัยทัศน์ที่พึงปรารถนามีคนเป็นปัจจัยชี้ขาดของความสำเร็จในทุกเรื่อง ดังนั้น แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จึงเป็นจุดเริ่มต้นของวิถีทางการพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางหรือจุดมุ่งหมายหลักของการพัฒนา โดยมองการพัฒนาในลักษณะรวม คือ ให้ความสำคัญในด้านการพัฒนาตัวคนให้เต็มศักยภาพและในขณะเดียวกัน ต้องพัฒนาสภาวะแวดล้อมที่อยู่รอบตัวคนทั้ง สังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาคน
เห็นด้วย (96%)
ไม่เห็นด้วย (1%)
อื่น ๆ (1%)
ไม่ตอบ (2%)
4.การพัฒนาประเทศจะประสบความสำเร็จตรงตามความพอใจของประชาชนก็ต่อเมื่อมีการปรับแนวคิดการพัฒนาให้เป็นการพัฒนาของประชาชน โดยต้องเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาประเทศทั้งร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมติดตามประเมินผล ให้เป็นกระบวนการพัฒนาที่มีผนึกกำลังอย่างสมานฉันท์ สร้างความเข้าใจและเอื้ออาทรต่อกัน
เห็นด้วย (94%)
ไม่เห็นด้วย (1%)
อื่น ๆ (2%)
ไม่ตอบ (3%)
5.การวางแผนพัฒนาประเทศจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการและกระบวนการวางแผน จากการวางแผนแยกส่วนรายสาขา ที่ขาดความเชื่อมโยงเกื้อกูลต่อกัน มาเป็นการพัฒนาแบบรวมส่วนที่ให้ความสำคัญทั้งในด้านการพัฒนาตัวคนและสภาวะแวดล้อมรอบตัวคน ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคมทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
เห็นด้วย (94%)
ไม่เห็นด้วย (1%)
อื่น ๆ (2%)
ไม่ตอบ (3%)
ส่วนที่ 3 : ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
1. แนวทางที่สำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพของคนให้มีคุณธรรม คุณภาพ มีความรู้ความสามารถ รู้จักตัวเอง รู้เท่าทันโลก และสามารถปรับตัวเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่า คือ การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ให้สามารถสร้างคนให้มีปัญญา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักค้นคว้า และสามารถเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในวิถีทางที่หลากหลายตามความเหมาะสมของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
เห็นด้วย (97%)
ไม่เห็นด้วย (1%)
อื่น ๆ (0%)
ไม่ตอบ (2%)
2.กลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคมจะต้องได้รับบริการพื้นฐานทางสังคม สวัสดิการสังคมและสวัสดิการแรงงาน หลักประกันด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน และการทำงาน ตลอดจนการพิทักษ์ และคุ้มครองสิทธิต่าง ๆ อย่างทั่วถึงถ้วนหน้า
เห็นด้วย (97%)
ไม่เห็นด้วย (0%)
อื่น ๆ (1%)
ไม่ตอบ (2%)
3.การพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคม ให้สนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาคน จำเป็นต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและครอบครัว ตลอดจนส่งเสริมวัฒนธรรม และค่านิยมให้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของคน
เห็นด้วย (95%)
ไม่เห็นด้วย (1%)
อื่น ๆ (0%)
ไม่ตอบ (4%)
4.การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ดีของสังคมจำเป็นต้องส่งเสริมให้ครอบครัวโรงเรียน ชุมชนสถาบันศาสนา และสถานประกอบการมีบทบาทร่วมกับภาครัฐมากขึ้นในการป้องกัน และแก้ไขสังคม เช่นอาชญากรรมสิ่งเสพติดปัญหาเยาวชนเป็นต้นแล้วยังจำเป็นต้องพัฒนาความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิต โดยการปรับปรุงระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ อุบัติภัย และสาธารณภัยด้วย
เห็นด้วย (95%)
ไม่เห็นด้วย (1%)
อื่น ๆ (2%)
ไม่ตอบ (2%)
5. การสนับสนุนธุรกิจเอชนให้มีบทบาทช่วยเหลือชุมชน ทั้งด้านการจัดการธุรกิจ ทุน และเทคโนโลยีการผลิต เพื่อให้ชุมชนสามารถพัฒนาธุรกิจเป็นของตนเอง เป็นกระบวนการที่จะนำไปสู่การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการของชุมชน
เห็นด้วย (93%)
ไม่เห็นด้วย (2%)
อื่น ๆ (2%)
ไม่ตอบ (3%)
6. การปรับกระบวนการทำงานของภาครัฐ เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชนให้มีความร่วมมือกันหลายฝ่าย โดยเริ่มดำเนินการในระดับจังหวัดก่อนในลักษณะของ "ประชาคมจังหวัด" เป็นกลไกการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนมากที่สุดเป็นการสร้างการพัฒนาร่วมกัน เพื่อให้จังหวัดเป็นจุดประสานระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
เห็นด้วย (89%)
ไม่เห็นด้วย (5%)
อื่น ๆ (4%)
ไม่ตอบ (2%)
7. การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคนและคุณภาพชีวิตในช่วงแผนฯ 8 มียุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ การพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของพื้นที่ในทุกส่วนของประเทศให้มีองค์ประกอบของชุมชนที่สมบูรณ์มีการรักษาและแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อม กระจายบริการทางสังคมและพัฒนาโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมเมืองและชนบทเพื่อขยายโอกาสการลงทุนรายได้ และการบริการแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง
เห็นด้วย (96%)
ไม่เห็นด้วย (1%)
อื่น ๆ (0%)
ไม่ตอบ (3%)
8. การเร่งรัดกระจายความเจริญออกจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑลไปสู่พื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของประเทศ ควบคู่กับการเสริมสร้างโอกาสใหม่ทางเศรษฐกิจ โดยการพัฒนาพื้นที่กลุ่มจังหวัดในภูมิภาคและพื้นที่ชายแดนให้เชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน และนานาชาติจะเห็นการเพิ่มโอกาสการมีงานทำ สร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และนำไปสู่การพัฒนาฐานการผลิตใหม่ของประเทศในระยะยาว
เห็นด้วย (94%)
ไม่เห็นด้วย (2%)
อื่น ๆ (1%)
ไม่ตอบ (3%)
9. การกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ต้องสนับสนุนการย้ายฐานอุตสาหกรรม และบริหารการทางการเงินจากเขตกรุงเทพมหานครไปสู่ภูมิภาค และสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมชนบท และอุตสาหกรรมชุมชน ให้เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมของประเทศเพื่อสร้างโอกาสการมีงานทำและเพิ่มรายได้แก่ชุมชนและกลุ่มคนในภูมิภาคและชนบท
เห็นด้วย (91%)
ไม่เห็นด้วย (2%)
อื่น ๆ (3%)
ไม่ตอบ (4%)
10. ในการสร้างฐานการผลิตของประเทศให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในตลาดโลกและเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว จำเป็นที่จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจและรักษาความสมดุลระหว่างการผลิตกับอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เห็นด้วย (95%)
ไม่เห็นด้วย (1%)
อื่น ๆ (2%)
ไม่ตอบ (2%)
11. การสร้างระบบเศรษฐกิจให้เข้มแข็งและมีเสถียรภาพในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ต้องให้ความสำคัญกับการลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด การเพิ่มระดับเงินออมของประเทศ และการรักษาเสถียรภาพของระดับราคาผู้บริโภค
เห็นด้วย (90%)
ไม่เห็นด้วย (3%)
อื่น ๆ (3%)
ไม่ตอบ (4%)
12. เงื่อนไขสำคัญของ ความสำเร็จในการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม คือประชาชนและชุมชนจะต้องมีบทบาทสำคัญและมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนตัดสินใจร่วมดำเนินงาน การตรวจสอบและติดตามประเมินผล โดยรัฐสนับสนุนให้มีแผนปฏิบัติการและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
เห็นด้วย (95%)
ไม่เห็นด้วย (1%)
อื่น ๆ (1%)
ไม่ตอบ (3%)
13.การเสริมสร้างโอกาสมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงขีดความสามารถของหน่วยงานภาครัฐ ระเบียบกฎหมาย งบประมาณ การพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศ รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชน และการปรับเปลี่ยนบทบาทภาครัฐให้เป็นการสนับสนุน ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกแก่ภาคเอกชน
เห็นด้วย (93%)
ไม่เห็นด้วย (1%)
อื่น ๆ (3%)
ไม่ตอบ (3%)
ส่วนที่ 4 : การแปลงแผนสู่การปฏิบัติ
1. เป้าหมายการพัฒนาประเทศที่แท้จริง คือ "การพัฒนาประชารัฐ" ซึ่งเป็นการพัฒนาในลักษณะที่รัฐและประชาชนมีความเข้าใจอันดีต่อกัน มีความรับผิดชอบร่วมกัน และเสริมสร้างสมรรถนะซึ่งกันและกัน เพื่อให้คนทุกคนในสังคมและศักยภาพทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา สุขภาพอนามัย มีความสามารถในการพึ่งตนเองการประกอบอาชีพการปรับตัวให้ทันกับกระแสโลกาภิวัฒน์ และการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
เห็นด้วย (95%)
ไม่เห็นด้วย (1%)
อื่น ๆ (2%)
ไม่ตอบ (2%)
2. เพื่อให้เกิดประชารัฐดังกล่าวข้างต้น ภาครัฐจำเป็นต้องเสริมสร้างโอกาสและกลไกที่นำไปสู่การปฏิบัติ ดังนี้
(1)เสริมสร้างหลักประกันและสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล และชุมชนทางการเมืองและการรับรู้ข่าวสาร
(2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในสังคม ในกระบวนการพัฒนาและการจัดการแก้ไขข้อขัดแย้งในสังคมด้วยสันติวิธี
(3) ลดบทบาทระบบราชการ การให้มีขนาดกระทัดรัด และการปรับปรุงสิทธิภาพใน การบริหารจัดการ
(4) สร้างความต่อเนื่องและเสถียรภาพของการบริหารนโยบายของรัฐ
เห็นด้วย (93%)
ไม่เห็นด้วย (2%)
อื่น ๆ (3%)
ไม่ตอบ (2%)
3.ในการสร้างพันธมิตรเพื่อกำหนดภารกิจของชาติควรจัดให้มีการประชุมระหว่างพรรคการเมืองหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรประชาชน สื่อมวลชนและตัวแทนกลุ่มอาชีพต่างๆเพื่อกำหนดและทบทวนวิสัยทัศน์และภารกิจของชาติเป็นประจำทุกปีอย่างต่อเนื่อง
เห็นด้วย (90%)
ไม่เห็นด้วย (5%)
อื่น ๆ (7%)
ไม่ตอบ (3%)
4.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานกลางในการแปลงแผน ไปสู่การปฏิบัติควรปรับบทบาทของสำนักคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในการประสานงาน งบประมาณ และกำลังคนพร้อมทั้งการติดตามประเมินผลแผนงานโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดในแผนพัฒนาฯ
เห็นด้วย (92%)
ไม่เห็นด้วย (1%)
อื่น ๆ (4%)
ไม่ตอบ (3%)
5. ในการแปลงแผนสู่การปฏิบัติ ควรปรับเปลี่ยนการจัดทำแผนงานและงบประมาณที่เน้นการเป็นหน่วยหลัก มาเป็นพื้นที่และชุมชน คือ จังหวัด อำเภอ และตำบล และควรพิจารณาให้หน่วยงานราชการระดับพื้นที่ คือ จังหวัด ให้สามารถเข้ามาอยู่ในกระบวนการการจัดสรรทรัพยากรของรัฐได้
เห็นด้วย (89%)
ไม่เห็นด้วย (5%)
อื่น ๆ (4%)
ไม่ตอบ (2%)
6. การเปิดโอกาสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกิจกรรมทางการพัฒนาควรดำเนินการเป็น2ระบบควบคู่กันไป คือ ระบบที่มีการปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งรัฐมีบทบาทนำและประชาชนมีส่วนร่วมกิจกรรมการพัฒนา และระบบการจัดการกิจกรรมการพัฒนาใหม่ ซึ่งประชาชนมีบทบาทนำและภาครัฐเป็นฝ่ายสนับสนุน
เห็นด้วย (87%)
ไม่เห็นด้วย (5%)
อื่น ๆ (3%)
ไม่ตอบ (5%)
7.ในการติดตามประเมินผลแผนพัฒนาฯ ควรมีการจัดประชุม เพื่อติดตามประเมินผล โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง
ในปีสุดท้ายของแผนฯ (4%)
ครึ่งแผนฯ และปีสุดท้ายของแผนฯ (24%)
เป็นประจำทุกปี (69%)
ไม่ตอบ (3%)
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 5 / พฤษภาคม 2539--