แท็ก
การส่งออก
บทนำ
จากการที่การค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน ได้มุ่งสู่การเปิดเสรีทางการค้า ส่งผลให้การแข่งขัน
เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หลายประเทศได้นำมาตรการกีดกันทางการค้า
ในรูปแบบใหม่ๆ ที่มิใช่มาตรการทางภาษีมาปฏิบัติเพื่อปกป้องตลาดการค้าของตน ดังนั้น ข้อกำหนดทางเทคนิค และมาตรฐานใหม่ๆ ทางการค้า อาทิ มาตรฐานของสินค้า กระบวนการผลิต และการควบคุมคุณภาพ ได้กลายเป็นอุปสรรคสำคัญประการหนึ่งในการดำเนินธุรกิจการค้า ดังนั้น การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศของไทยให้เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ และแข่งขันได้อย่างยั่งยืน จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมทางด้านการผลิตของภาคอุตสาหกรรม เฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเกี่ยวกับการวัดและการควบคุมคุณภาพ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในระบบคุณภาพของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
บทบาทของมาตรวิทยากับการส่งออก
มาตรวิทยา (Metrology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการวัด ดังคำจำกัดความของ The American
Heritage Dictionary of the Thai Language ว่า "The science that deals with measurement, a system of measurement"
ในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม กิจกรรมพื้นฐานสำคัญอันหนึ่ง คือ กิจกรรมการวัดเพื่อ
ควบคุมกระบวนการผลิต ได้แก่ การวัดค่าความดัน (pressure) ของหม้อไอน้ำเพื่อควบคุมด้านความปลอดภัย การวัดค่าอุณหภูมิเพื่อควบคุมกระบวนการฆ่าเชื้อ (pasteurization) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการวัดค่าในการซื้อขายประจำวัน เช่น การชั่งน้ำหนัก ตวงปริมาตรของเหลว หรือวัดความยาวผ้า เป็นต้น
สถาบันมาตรวิทยาของสหรัฐอเมริกา (National Institute of Standards and Technology-NIST) ได้ทำการศึกษาค่าใช้จ่ายของประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ใช้ในด้านการวัด และกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง พบว่า มีมูลค่าประมาณร้อยละ 3-6 ของมูลค่า GDP หรือกล่าวได้ว่าค่าใช้จ่ายในกิจกรรมด้านการวัดและ
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องในกลุ่มประเทศตลาดร่วมยุโรป มีมูลค่าหลายแสนล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับกรณีประเทศไทย พบว่า ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการวัดมีมูลค่าประมาณ 1.5-3.0 แสนล้านบาทของมูลค่า GDP ในปี 2540 (ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 5 ล้านล้านบาท) ดังนั้น จึงต้องมีการจัดระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ เพื่อทำหน้าที่สร้างหลักประกันความถูกต้องแม่นยำของผลการวัดของเครื่องมือวัดต่างๆ ภายในประเทศแก่ภาคอุตสาหกรรมและภาคเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ในอันที่จะเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดโลก โดยผ่าน 1 สรุปจากการสัมมนาเรื่อง The Role of Metrology in Supporting Thai Industries จัดโดยสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2548 ณ ห้อง
แกรนด์บอลรูม โรงแรมเซ็นจูรี่ ปาร์ค กรุงเทพฯ ระบบสอบกลับได้ (traceability) จากเครื่องมือวัดในระดับทำงานในภาคอุตสาหกรรม ไปสู่มาตรฐานอ้างอิงซึ่งอยู่ในห้องปฏิบัติการสอบเทียบ และไปสู่มาตรฐานแห่งชาติที่รักษาโดยสถาบันแห่งชาติ และมาตรฐานนานาชาติในที่สุด
สำหรับบทบาทของมาตรวิทยาต่อการสนับสนุนการส่งออก งานมาตรวิทยาถือเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนอุตสาหกรรมทั้งขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และมีบทบาทอย่างมากต่อความสำเร็จของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในด้านการลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื่องจากประเทศคู่ค้าในทวีปยุโรปและอเมริกา จะมีข้อกำหนดทางเทคนิค หรือมาตรฐานใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่งกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในทางการค้าระหว่างประเทศ เฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการไม่ยอมรับผลการทดสอบ (testing) หรือผลการตรวจสอบ (inspection) ซึ่งมีรากฐานมาจากการไม่เชื่อถือในผลการวัด ดังนั้น การพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติให้ที่เป็นที่ยอมรับเชื่อถือได้ จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างความมั่นใจต่อผลการวัด อันจะนำไปสู่การยอมรับในระบบการทดสอบและระบบตรวจสอบของไทย ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกในด้านการค้าระหว่างประเทศให้กับหน่วยงานเอกชนและภาคอุตสาหกรรม
ระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ ยังมีส่วนสนับสนุนการขอรับรองมาตรฐาน ISO 9000 และช่วยในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และลดต้นทุนในการผลิต เนื่องจากจะช่วยพัฒนาความตื่นตัว ความเข้าใจ และสร้างขีดความสามารถในการวัดค่าอย่างถูกต้องแก่ภาคอุตสาหกรรม และภาคเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะนำไปสู่การลดจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานลง และลดความสูญเสียจากการผลิต นับเป็นการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอีกส่วนหนึ่ง รวมทั้ง แนวโน้มการผลิตในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนจากการใช้แรงงานหรือทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก ไปสู่การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพที่เน้นขีดความสามารถทางเทคโนโลยีที่มีความละเอียดแม่นยำสูง มีความคลาด
เคลื่อนต่ำถึงหนึ่งในล้านเมตรหรือหนึ่งในล้านกรัม เป็นต้น ซึ่งมาตรวิทยาจะช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการวัดให้มีความถูกต้องแม่นยำสูง
นอกจากนี้ มาตรวิทยายังมีส่วนช่วยลดความสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการสอบเทียบเครื่องมือ เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9000 ประมาณ 700 บริษัท มีห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่ได้รับการรับรอง ISO/IEC Guide 25 ประมาณ 10 แห่ง และคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หน่วยงานเหล่านี้มีความจำเป็นต้องสร้างหลักประกันให้เกิดการสอบกลับสู่มาตรฐานแห่งชาติและมาตรฐานสากลในที่สุด ซึ่งเมื่อประเทศไทยมีการสถาปนามาตรฐานแห่งชาติขึ้น หน่วยงานจำนวนหนึ่งจึงไม่จำเป็นต้องนำเครื่องมือไปทำการสอบกลับกับมาตรฐานแห่งชาติในประเทศอื่นๆ ซึ่งช่วยลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศจำนวนหลายสิบล้านบาทต่อปี ตลอดจน มีส่วนในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต อาทิ การซื้อขายในชีวิตประจำวัน (การ ชั่ง ตวง วัด) การดูแลความปลอดภัยในท้องถนน (การวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจ การวัดปริมาณ COx/NOx ในท่อไอเสีย) และการดูแลสุขภาพอนามัย (การวัดค่าทางการแพทย์ เช่น คลื่นหัวใจ คลื่นสมอง) เป็นต้น
สำหรับหน่วยงานที่ดำเนินการด้านมาตรวิทยาในประเทศไทย อาทิ
สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่บริหารงานเป็นอิสระ ภายใต้
การกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีพันธกิจหลัก คือ พัฒนามาตรฐานการวัดแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ถ่ายทอดความถูกต้องด้านการวัดสู่กิจกรรมการวัดต่างๆ ในประเทศ เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านมาตรวิทยาสู่สังคมไทย และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร เนื่องจากไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องมาตรวิทยาในสถาบันการศึกษาโดยตรง จำเป็นที่จะต้องศึกษาจากสถาบันมาตรวิทยาของต่างประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น (JICA) เยอรมนี (PTB) ออสเตรเลีย (NARL/AGAL) เวียดนาม (VMI) จีน (NIM) อินเดีย (NPLI) ฮังการี (OMH) มาเลเซีย (SIRIM) และฟิลิปปินส์
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2512 ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานทั้งในระดับประเทศ ระหว่างประเทศ และภูมิภาค ออกใบรับรองผลิตภัณฑ์มาตรฐาน ส่งเสริมมาตรฐาน จดทะเบียนผลิตภัณฑ์ ให้ข้อมูลและข้อสนเทศด้านมาตฐาน และปฏิบัติตามพันธกรณีด้านระเบียบมาตรฐานที่ต่างประเทศกำหนดขึ้น โดยเฉพาะมาตรฐานและกฎระเบียบระหว่างประเทศด้าน ยานยนต์ ประกอบด้วย ISO และมาตรฐานของ UN สหภาพยุโรป (ECE) และ WP 29 เป็นต้น
บทสรุป
ในปัจจุบันภาคเอกชนของไทยมีความตื่นตัวในการพัฒนามาตรฐานการวัด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม ผู้ส่งออกไก่ (Betagro Group) ซึ่งได้รับเอามาตรฐานทั้งในและต่างประเทศมาปฏิบัติเพื่อประโยชน์ต่อการส่งออกใน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ Animal Health, Food Safety และ Animal Welfare กลุ่มผู้ส่งออกกุ้งแช่แข็ง (บริษัท Pakfood Public) ได้นำเอามาตรฐานการส่งออกของประเทศญี่ปุ่น สหภาพยุโป และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่ไทยส่งออกกุ้งไปจำหน่ายมาปฏิบัติ หรือกลุ่มผู้ส่งออกข้าว (บริษัท Global Inspection) มีการลงทุนจัดซื้อเครื่องมือสอบเทียบและตรวจสอบคุณภาพสินค้า ซึ่งช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการส่งไปสอบเทียบจากหน่วยงานภายนอก
กล่าวได้ว่า มาตรวิทยามีส่วนช่วยเอาชนะอุปสรรคการค้าระหว่างประเทศอันเนื่องจากปัญหาทางเทคนิค (Technical Barrier on Trade) ด้วยการสร้างความมั่นใจต่อระบบการตรวจสอบและระบบการทดสอบ อันเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกในด้านการค้าระหว่างประเทศ และช่วยพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และลดต้นทุนในการผลิต โดยมีส่วนในการสร้างความตื่นตัว ความเข้าใจ และขีดความสามารถในการวัดค่าอย่างถูกต้องแก่ภาคอุตสาหกรรมและภาคเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนำไปสู่การลดความสูญเสียจากการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานลง นอกจากนี้ ยังช่วยลดความสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการสอบเทียบเครื่องมือเป็นจำนวนเงินหลายสิบล้านบาทต่อปี จากการที่หน่วยงานไม่จำเป็นต้องนำเครื่องมือไปทำการสอบกลับกับมาตรฐานแห่งชาติในประเทศอื่นๆ
กล่าวโดยสรุป มาตรวิทยาช่วยให้การส่งออกสินค้าและบริการมีคุณภาพ และมีความสม่ำเสมอในคุณภาพ สอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐานต่างๆ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค รวมทั้ง มีส่วนในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตประจำวัน เช่น การซื้อขายในชีวิตประจำวัน (การ ชั่ง ตวง วัด) ความปลอดภัยในท้องถนน (การวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจ และการวัดปริมาณ COx/NOx ในท่อ ไอเสีย) และการดูแลสุขภาพอนามัย (การวัดค่าทางการแพทย์ เช่น คลื่นหัวใจ คลื่นสมอง) เป็นต้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
จากการที่การค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน ได้มุ่งสู่การเปิดเสรีทางการค้า ส่งผลให้การแข่งขัน
เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หลายประเทศได้นำมาตรการกีดกันทางการค้า
ในรูปแบบใหม่ๆ ที่มิใช่มาตรการทางภาษีมาปฏิบัติเพื่อปกป้องตลาดการค้าของตน ดังนั้น ข้อกำหนดทางเทคนิค และมาตรฐานใหม่ๆ ทางการค้า อาทิ มาตรฐานของสินค้า กระบวนการผลิต และการควบคุมคุณภาพ ได้กลายเป็นอุปสรรคสำคัญประการหนึ่งในการดำเนินธุรกิจการค้า ดังนั้น การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศของไทยให้เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ และแข่งขันได้อย่างยั่งยืน จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมทางด้านการผลิตของภาคอุตสาหกรรม เฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเกี่ยวกับการวัดและการควบคุมคุณภาพ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในระบบคุณภาพของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
บทบาทของมาตรวิทยากับการส่งออก
มาตรวิทยา (Metrology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการวัด ดังคำจำกัดความของ The American
Heritage Dictionary of the Thai Language ว่า "The science that deals with measurement, a system of measurement"
ในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม กิจกรรมพื้นฐานสำคัญอันหนึ่ง คือ กิจกรรมการวัดเพื่อ
ควบคุมกระบวนการผลิต ได้แก่ การวัดค่าความดัน (pressure) ของหม้อไอน้ำเพื่อควบคุมด้านความปลอดภัย การวัดค่าอุณหภูมิเพื่อควบคุมกระบวนการฆ่าเชื้อ (pasteurization) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการวัดค่าในการซื้อขายประจำวัน เช่น การชั่งน้ำหนัก ตวงปริมาตรของเหลว หรือวัดความยาวผ้า เป็นต้น
สถาบันมาตรวิทยาของสหรัฐอเมริกา (National Institute of Standards and Technology-NIST) ได้ทำการศึกษาค่าใช้จ่ายของประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ใช้ในด้านการวัด และกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง พบว่า มีมูลค่าประมาณร้อยละ 3-6 ของมูลค่า GDP หรือกล่าวได้ว่าค่าใช้จ่ายในกิจกรรมด้านการวัดและ
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องในกลุ่มประเทศตลาดร่วมยุโรป มีมูลค่าหลายแสนล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับกรณีประเทศไทย พบว่า ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการวัดมีมูลค่าประมาณ 1.5-3.0 แสนล้านบาทของมูลค่า GDP ในปี 2540 (ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 5 ล้านล้านบาท) ดังนั้น จึงต้องมีการจัดระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ เพื่อทำหน้าที่สร้างหลักประกันความถูกต้องแม่นยำของผลการวัดของเครื่องมือวัดต่างๆ ภายในประเทศแก่ภาคอุตสาหกรรมและภาคเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ในอันที่จะเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดโลก โดยผ่าน 1 สรุปจากการสัมมนาเรื่อง The Role of Metrology in Supporting Thai Industries จัดโดยสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2548 ณ ห้อง
แกรนด์บอลรูม โรงแรมเซ็นจูรี่ ปาร์ค กรุงเทพฯ ระบบสอบกลับได้ (traceability) จากเครื่องมือวัดในระดับทำงานในภาคอุตสาหกรรม ไปสู่มาตรฐานอ้างอิงซึ่งอยู่ในห้องปฏิบัติการสอบเทียบ และไปสู่มาตรฐานแห่งชาติที่รักษาโดยสถาบันแห่งชาติ และมาตรฐานนานาชาติในที่สุด
สำหรับบทบาทของมาตรวิทยาต่อการสนับสนุนการส่งออก งานมาตรวิทยาถือเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนอุตสาหกรรมทั้งขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และมีบทบาทอย่างมากต่อความสำเร็จของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในด้านการลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื่องจากประเทศคู่ค้าในทวีปยุโรปและอเมริกา จะมีข้อกำหนดทางเทคนิค หรือมาตรฐานใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่งกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในทางการค้าระหว่างประเทศ เฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการไม่ยอมรับผลการทดสอบ (testing) หรือผลการตรวจสอบ (inspection) ซึ่งมีรากฐานมาจากการไม่เชื่อถือในผลการวัด ดังนั้น การพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติให้ที่เป็นที่ยอมรับเชื่อถือได้ จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างความมั่นใจต่อผลการวัด อันจะนำไปสู่การยอมรับในระบบการทดสอบและระบบตรวจสอบของไทย ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกในด้านการค้าระหว่างประเทศให้กับหน่วยงานเอกชนและภาคอุตสาหกรรม
ระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ ยังมีส่วนสนับสนุนการขอรับรองมาตรฐาน ISO 9000 และช่วยในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และลดต้นทุนในการผลิต เนื่องจากจะช่วยพัฒนาความตื่นตัว ความเข้าใจ และสร้างขีดความสามารถในการวัดค่าอย่างถูกต้องแก่ภาคอุตสาหกรรม และภาคเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะนำไปสู่การลดจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานลง และลดความสูญเสียจากการผลิต นับเป็นการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอีกส่วนหนึ่ง รวมทั้ง แนวโน้มการผลิตในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนจากการใช้แรงงานหรือทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก ไปสู่การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพที่เน้นขีดความสามารถทางเทคโนโลยีที่มีความละเอียดแม่นยำสูง มีความคลาด
เคลื่อนต่ำถึงหนึ่งในล้านเมตรหรือหนึ่งในล้านกรัม เป็นต้น ซึ่งมาตรวิทยาจะช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการวัดให้มีความถูกต้องแม่นยำสูง
นอกจากนี้ มาตรวิทยายังมีส่วนช่วยลดความสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการสอบเทียบเครื่องมือ เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9000 ประมาณ 700 บริษัท มีห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่ได้รับการรับรอง ISO/IEC Guide 25 ประมาณ 10 แห่ง และคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หน่วยงานเหล่านี้มีความจำเป็นต้องสร้างหลักประกันให้เกิดการสอบกลับสู่มาตรฐานแห่งชาติและมาตรฐานสากลในที่สุด ซึ่งเมื่อประเทศไทยมีการสถาปนามาตรฐานแห่งชาติขึ้น หน่วยงานจำนวนหนึ่งจึงไม่จำเป็นต้องนำเครื่องมือไปทำการสอบกลับกับมาตรฐานแห่งชาติในประเทศอื่นๆ ซึ่งช่วยลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศจำนวนหลายสิบล้านบาทต่อปี ตลอดจน มีส่วนในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต อาทิ การซื้อขายในชีวิตประจำวัน (การ ชั่ง ตวง วัด) การดูแลความปลอดภัยในท้องถนน (การวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจ การวัดปริมาณ COx/NOx ในท่อไอเสีย) และการดูแลสุขภาพอนามัย (การวัดค่าทางการแพทย์ เช่น คลื่นหัวใจ คลื่นสมอง) เป็นต้น
สำหรับหน่วยงานที่ดำเนินการด้านมาตรวิทยาในประเทศไทย อาทิ
สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่บริหารงานเป็นอิสระ ภายใต้
การกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีพันธกิจหลัก คือ พัฒนามาตรฐานการวัดแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ถ่ายทอดความถูกต้องด้านการวัดสู่กิจกรรมการวัดต่างๆ ในประเทศ เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านมาตรวิทยาสู่สังคมไทย และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร เนื่องจากไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องมาตรวิทยาในสถาบันการศึกษาโดยตรง จำเป็นที่จะต้องศึกษาจากสถาบันมาตรวิทยาของต่างประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น (JICA) เยอรมนี (PTB) ออสเตรเลีย (NARL/AGAL) เวียดนาม (VMI) จีน (NIM) อินเดีย (NPLI) ฮังการี (OMH) มาเลเซีย (SIRIM) และฟิลิปปินส์
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2512 ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานทั้งในระดับประเทศ ระหว่างประเทศ และภูมิภาค ออกใบรับรองผลิตภัณฑ์มาตรฐาน ส่งเสริมมาตรฐาน จดทะเบียนผลิตภัณฑ์ ให้ข้อมูลและข้อสนเทศด้านมาตฐาน และปฏิบัติตามพันธกรณีด้านระเบียบมาตรฐานที่ต่างประเทศกำหนดขึ้น โดยเฉพาะมาตรฐานและกฎระเบียบระหว่างประเทศด้าน ยานยนต์ ประกอบด้วย ISO และมาตรฐานของ UN สหภาพยุโรป (ECE) และ WP 29 เป็นต้น
บทสรุป
ในปัจจุบันภาคเอกชนของไทยมีความตื่นตัวในการพัฒนามาตรฐานการวัด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม ผู้ส่งออกไก่ (Betagro Group) ซึ่งได้รับเอามาตรฐานทั้งในและต่างประเทศมาปฏิบัติเพื่อประโยชน์ต่อการส่งออกใน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ Animal Health, Food Safety และ Animal Welfare กลุ่มผู้ส่งออกกุ้งแช่แข็ง (บริษัท Pakfood Public) ได้นำเอามาตรฐานการส่งออกของประเทศญี่ปุ่น สหภาพยุโป และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่ไทยส่งออกกุ้งไปจำหน่ายมาปฏิบัติ หรือกลุ่มผู้ส่งออกข้าว (บริษัท Global Inspection) มีการลงทุนจัดซื้อเครื่องมือสอบเทียบและตรวจสอบคุณภาพสินค้า ซึ่งช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการส่งไปสอบเทียบจากหน่วยงานภายนอก
กล่าวได้ว่า มาตรวิทยามีส่วนช่วยเอาชนะอุปสรรคการค้าระหว่างประเทศอันเนื่องจากปัญหาทางเทคนิค (Technical Barrier on Trade) ด้วยการสร้างความมั่นใจต่อระบบการตรวจสอบและระบบการทดสอบ อันเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกในด้านการค้าระหว่างประเทศ และช่วยพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และลดต้นทุนในการผลิต โดยมีส่วนในการสร้างความตื่นตัว ความเข้าใจ และขีดความสามารถในการวัดค่าอย่างถูกต้องแก่ภาคอุตสาหกรรมและภาคเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนำไปสู่การลดความสูญเสียจากการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานลง นอกจากนี้ ยังช่วยลดความสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการสอบเทียบเครื่องมือเป็นจำนวนเงินหลายสิบล้านบาทต่อปี จากการที่หน่วยงานไม่จำเป็นต้องนำเครื่องมือไปทำการสอบกลับกับมาตรฐานแห่งชาติในประเทศอื่นๆ
กล่าวโดยสรุป มาตรวิทยาช่วยให้การส่งออกสินค้าและบริการมีคุณภาพ และมีความสม่ำเสมอในคุณภาพ สอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐานต่างๆ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค รวมทั้ง มีส่วนในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตประจำวัน เช่น การซื้อขายในชีวิตประจำวัน (การ ชั่ง ตวง วัด) ความปลอดภัยในท้องถนน (การวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจ และการวัดปริมาณ COx/NOx ในท่อ ไอเสีย) และการดูแลสุขภาพอนามัย (การวัดค่าทางการแพทย์ เช่น คลื่นหัวใจ คลื่นสมอง) เป็นต้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-