สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้ร่วมกันจัดประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ หรือ Greater Mekong Subregional (GMS) ครั้งที่ ครั้งที่ 8 ในระหว่างวันที่ 2-3 กรกฎาคม 2541 ณ โรงแรม JW Marriot กรุงเทพมหานคร โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ไทย กัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) สหภาพพม่า เวียดนาม และจีนตอนใต้ (มณฑลยูนาน)
สำหรับโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการขยายตัวด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การค้า การลงทุนและบริการ เพื่อให้เกิดการจ้างงานและยกระดับการครองชีพ รวมทั้งให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการศึกษาร่วมกัน ตลอดจนให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพในอันที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสการแข่งขันในเวทีการค้าโลก ในการดำเนินงานตามโครงการ GMS ดังกล่าว ADB ได้ให้การสนับสนุนทางวิชาการเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาความร่วมมือในกรอบ GMS ใน 7 สาขาหลัก ได้แก่ สาขาคมนาคมขนส่ง สื่อสาร และโทรคมนาคม พลังงาน ท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการค้าและการลงทุน ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการศึกษาการจัดทำวิสัยทัศน์ความร่วมมือในกรอบ GMS จนถึงปี 2563 หรือ GMS 2020
ในโอกาสนี้นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม โดยได้กล่าวต้อนรับและแสดงปาฐกถาพิเศษสรุปได้ว่าจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทำให้รัฐบาลไทยยอมรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศพร้อมด้วยพันธกรณีที่จะต้องให้ความสำคัญต่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจสูงสุดเพื่อความอยู่รอดของประเทศ โดยได้กำหนดแนวทางการพื้นฟูและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไว้โดยมุ่งการรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับเหมาะสม และรักษาวินัยทางการคลังอย่างเข้มงวด พร้อมทั้งส่งเสริมการออมในประเทศอย่างจริงจัง ขณะเดียวกันต้องพยายามลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและสร้างความเข้มแข็งของระบบการเงิน รวมทั้งต้องจัดสรรเงินทุนอย่างพอเพียงให้แก่โครงการพัฒนาต่าง ๆ โดยเฉพาะโครงการความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
รองนายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า แม้ว่าเรากำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นในอนุภูมิภาคนี้ยังคงเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของการพัฒนาในกลุ่มสมาชิก ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ทั้งนี้เพื่อโอกาสในการก้าวไปสู่ความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคที่กว้างขวางขึ้น รวมทั้งความร่วมมือในระดับโลกต่อไป โดยได้เสนอแนวทาง 3 ประเด็น คือ 1) ทุกประเทศต้องปรับเศรษฐกิจภายในให้เข้ากับเศรษฐกิจโลก 2) ต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในการดำเนินการตามโครงการที่วางไว้ และ 3) หาแนวทางความร่วมมือในกิจการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน ภายใต้วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่ต้องการความร่วมมืออย่างจริงจังของทุกฝ่ายในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น จังนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะกระตุ้นให้มีการผนึกกำลังร่วมกันคิด ร่วมกันวางแผน และร่วมกันสร้างศักยภาพเพื่อชักจูงให้นักลงทุนต่างประเทศสนใจที่จะเข้ามาลงทุนภายใต้กรอบแนวทางและเงื่อนไขของโครงการพัฒนาต่าง ๆ ที่กำหนดไว้
นอกจากนี้เพื่อให้ประเทศในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงทั้ง 6 ประเทศ มีนโยบายเปิดกว้างสู่นานาชาติมากขึ้น จะต้องมีการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า ผ่อนคลายข้อจำกัดต่าง ๆ และไม่ปกป้องอุตสาหกรรมของตนเองมากเกินไป ตลอดทั้งให้มีการกระจายอำนาจการบริหารงานเศรษฐกิจไปสู่ส่วนภูมิภาค โดยยึดกลไกตลาดและภาคเอกชนเป็นตัวหลัก ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจพัฒนาก้าวหน้ายิ่งขึ้น นอกจากนี้รัฐจะต้องเป็นผู้นำในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยส่งเสริมการจัดตั้งองค์กรเอกชนให้มีความเข้มแข็ง และส่งเสริมให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนในอุตสาหกรรมและบริการพื้นฐานที่คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีต่อไปในอนาคตโดยหน่วยงานของ GMS ของทุกประเทศ และ ADB ต้องทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็งมีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ ADB ต้องมีผู้ดำเนินการและเงินทุนเพียงพอในการพัฒนาขั้นต่อไปในอนาคต
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยกล่าวว่า สศช.ในฐานะฝ่ายเลขานุการโครงการ GMS ร่วมกับ ADB ได้จัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสครั้งนี้ขึ้น เพื่อพิจารณาแผนงาน/โครงการและแนวทางการดำเนินงานเพื่อเตรียมเสนอต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรี โดยจะพิจารณาในรายละเอียดเกี่ยวกับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีต่อแผนงานโครงการ รวมทั้งพิจารณาทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือภายใต้ภาวะวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ เพื่อนำไปสู่การปรับกรอบแผนงาน/โครงการที่มีลำดับความสำคัญสูง 7 สาขาหลักดังกล่าว ตลอดจนเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
ทั้งนี้ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าของโครงการความร่วมมือดังกล่าว พร้อมทั้งเห็นชอบการกำหนดแนวทางการดำเนินงานต่อไปของแต่ละสาขาโดยเน้นถึงการประสานงานให้โครงการที่กำหนดไว้ตามแผนงานบังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นได้มีการสรุปผลการประชุมรายสาขา ระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องภายใต้ความร่วมมือ การรวบรวมแผนชาติและแผนงาน/โครงการความร่วมมือในอนุภูมิภาค แนวทางการพัฒนาความร่วมมือในอนุภูมิภาค ทั้งนี้จะได้จัดเตรียมวาระการประชุมและนำเสนอผลการศึกษาต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรีซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในเดือนกันยายน 2541 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า จากการที่ประเทศต่าง ๆ ในอนุภูมิภาคนี้ ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ จึงต้องการความช่วยเหลือและสนับสนุนอย่างยิ่งจาก ADB ในการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และร่วมเสริมสร้างวิสัยทัศน์การพัฒนาความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ตลอดจนการจัดทำแผนปฏิบัติการความร่วมมือ ทั้งนี้เพื่อให้ความร่วมมือบังเกิดผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น และก่อให้เกิดความสำเร็จในการพัฒนาความร่วมมือในอนุภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 15 ฉบับที่ 7/กรกฎาคม 2541--
สำหรับโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการขยายตัวด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การค้า การลงทุนและบริการ เพื่อให้เกิดการจ้างงานและยกระดับการครองชีพ รวมทั้งให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการศึกษาร่วมกัน ตลอดจนให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพในอันที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสการแข่งขันในเวทีการค้าโลก ในการดำเนินงานตามโครงการ GMS ดังกล่าว ADB ได้ให้การสนับสนุนทางวิชาการเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาความร่วมมือในกรอบ GMS ใน 7 สาขาหลัก ได้แก่ สาขาคมนาคมขนส่ง สื่อสาร และโทรคมนาคม พลังงาน ท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการค้าและการลงทุน ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการศึกษาการจัดทำวิสัยทัศน์ความร่วมมือในกรอบ GMS จนถึงปี 2563 หรือ GMS 2020
ในโอกาสนี้นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม โดยได้กล่าวต้อนรับและแสดงปาฐกถาพิเศษสรุปได้ว่าจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทำให้รัฐบาลไทยยอมรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศพร้อมด้วยพันธกรณีที่จะต้องให้ความสำคัญต่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจสูงสุดเพื่อความอยู่รอดของประเทศ โดยได้กำหนดแนวทางการพื้นฟูและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไว้โดยมุ่งการรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับเหมาะสม และรักษาวินัยทางการคลังอย่างเข้มงวด พร้อมทั้งส่งเสริมการออมในประเทศอย่างจริงจัง ขณะเดียวกันต้องพยายามลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและสร้างความเข้มแข็งของระบบการเงิน รวมทั้งต้องจัดสรรเงินทุนอย่างพอเพียงให้แก่โครงการพัฒนาต่าง ๆ โดยเฉพาะโครงการความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
รองนายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า แม้ว่าเรากำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นในอนุภูมิภาคนี้ยังคงเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของการพัฒนาในกลุ่มสมาชิก ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ทั้งนี้เพื่อโอกาสในการก้าวไปสู่ความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคที่กว้างขวางขึ้น รวมทั้งความร่วมมือในระดับโลกต่อไป โดยได้เสนอแนวทาง 3 ประเด็น คือ 1) ทุกประเทศต้องปรับเศรษฐกิจภายในให้เข้ากับเศรษฐกิจโลก 2) ต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในการดำเนินการตามโครงการที่วางไว้ และ 3) หาแนวทางความร่วมมือในกิจการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน ภายใต้วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่ต้องการความร่วมมืออย่างจริงจังของทุกฝ่ายในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น จังนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะกระตุ้นให้มีการผนึกกำลังร่วมกันคิด ร่วมกันวางแผน และร่วมกันสร้างศักยภาพเพื่อชักจูงให้นักลงทุนต่างประเทศสนใจที่จะเข้ามาลงทุนภายใต้กรอบแนวทางและเงื่อนไขของโครงการพัฒนาต่าง ๆ ที่กำหนดไว้
นอกจากนี้เพื่อให้ประเทศในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงทั้ง 6 ประเทศ มีนโยบายเปิดกว้างสู่นานาชาติมากขึ้น จะต้องมีการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า ผ่อนคลายข้อจำกัดต่าง ๆ และไม่ปกป้องอุตสาหกรรมของตนเองมากเกินไป ตลอดทั้งให้มีการกระจายอำนาจการบริหารงานเศรษฐกิจไปสู่ส่วนภูมิภาค โดยยึดกลไกตลาดและภาคเอกชนเป็นตัวหลัก ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจพัฒนาก้าวหน้ายิ่งขึ้น นอกจากนี้รัฐจะต้องเป็นผู้นำในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยส่งเสริมการจัดตั้งองค์กรเอกชนให้มีความเข้มแข็ง และส่งเสริมให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนในอุตสาหกรรมและบริการพื้นฐานที่คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีต่อไปในอนาคตโดยหน่วยงานของ GMS ของทุกประเทศ และ ADB ต้องทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็งมีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ ADB ต้องมีผู้ดำเนินการและเงินทุนเพียงพอในการพัฒนาขั้นต่อไปในอนาคต
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยกล่าวว่า สศช.ในฐานะฝ่ายเลขานุการโครงการ GMS ร่วมกับ ADB ได้จัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสครั้งนี้ขึ้น เพื่อพิจารณาแผนงาน/โครงการและแนวทางการดำเนินงานเพื่อเตรียมเสนอต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรี โดยจะพิจารณาในรายละเอียดเกี่ยวกับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีต่อแผนงานโครงการ รวมทั้งพิจารณาทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือภายใต้ภาวะวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ เพื่อนำไปสู่การปรับกรอบแผนงาน/โครงการที่มีลำดับความสำคัญสูง 7 สาขาหลักดังกล่าว ตลอดจนเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
ทั้งนี้ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าของโครงการความร่วมมือดังกล่าว พร้อมทั้งเห็นชอบการกำหนดแนวทางการดำเนินงานต่อไปของแต่ละสาขาโดยเน้นถึงการประสานงานให้โครงการที่กำหนดไว้ตามแผนงานบังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นได้มีการสรุปผลการประชุมรายสาขา ระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องภายใต้ความร่วมมือ การรวบรวมแผนชาติและแผนงาน/โครงการความร่วมมือในอนุภูมิภาค แนวทางการพัฒนาความร่วมมือในอนุภูมิภาค ทั้งนี้จะได้จัดเตรียมวาระการประชุมและนำเสนอผลการศึกษาต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรีซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในเดือนกันยายน 2541 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า จากการที่ประเทศต่าง ๆ ในอนุภูมิภาคนี้ ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ จึงต้องการความช่วยเหลือและสนับสนุนอย่างยิ่งจาก ADB ในการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และร่วมเสริมสร้างวิสัยทัศน์การพัฒนาความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ตลอดจนการจัดทำแผนปฏิบัติการความร่วมมือ ทั้งนี้เพื่อให้ความร่วมมือบังเกิดผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น และก่อให้เกิดความสำเร็จในการพัฒนาความร่วมมือในอนุภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 15 ฉบับที่ 7/กรกฎาคม 2541--