เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ห้องประชุมเดช สนิทวงศ์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ได้มีพิธีลงนามในสัญญาว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาโครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาศูนย์กลางการผลิตและขนส่งทางอากาศยานนานาชาติ (GlobalTransPark : GTP) ที่สนามบินอู่ตะเภา ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติโดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กับกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาประกอบด้วย TAMS Consultants, Inc.(TAMS) โดยนาย Lyle H. Hixenbaugh/Wilbur Smith Associates, Inc. (WSA) โดยนาย ThomasS.Wright/ACT Consultants Co., Ltd. (ACT) โดยนายมนูญ อารยะศิริ/และ Thai DCI Co., Ltd. (TDCI) โดยนายวิศิษฐ์ เจริญนิตย์
การลงนามในสัญญาว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาโครงการศึกษา/จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาศูนย์กลางการผลิตและขนส่งทางอากาศยานนานาชาติ(GlobalTransPark:GTP)ที่สนามบินอู่ตะเภาดังกล่าวเป็นการลงนามว่าจ้างเพื่อการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภาเพื่อรองรับการพัฒนาศูนย์กลางการผลิตและขนส่งทางอากาศยานนานาชาติ ซึ่งการว่าจ้างศึกษาในส่วนนี้ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดย USTDA : United State Trade and Development Agency เป็นจำนวน 495,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 12 ล้านบาท)
สำหรับโครงการศูนย์กลางการผลิตและขนส่งทางอากาศยานนานาชาติ (Global TransPark : GTP)ซึ่งจะพัฒนาขึ้นที่สนามบินอู่ตะเภานั้น จะได้รับการพัฒนาให้เป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีสูง สามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบเศรษฐกิจโลก เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมและการค้ายุคใหม่ในทศวรรษหน้าโดยเป็นฐานการผลิตที่มีการผสมผสานระบบการผลิตเข้ากับระบบขนส่งทางอากาศทางบกและเทคโนโลยีระบบข้อมูลสารสนเทศความเร็วสูง เพื่อทำการผลิตระบบ just-in-time หรือการผลิตตามสั่งโดยฉับพลัน เพื่อส่งออกแก่ลูกค้าในส่วนต่าง ๆ ของโลก ต่อไป
ดังนั้น โครงการศึกษาที่มีการลงนามในสัญญาว่าจ้างครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้สามารถใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ซึ่งจะช่วยผลักดันการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเข้าสู่การพัฒนาในระยะที่ 2 จากปัจจุบันที่เป็นฐานการผลิตและขนส่งทางทะเลผ่านท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังและมาบตาพุด เข้าสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและขนส่งทางอากาศยานนานาชาติ (Airtran Gateway) ตลอดจนเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรม/เศรษฐกิจในทศวรรษหน้าของประเทศไทย โดยจะมีขอบเขตการศึกษาดังนี้
- การจัดเตรียมแผนงาน/แผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก/โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งภาคพื้นดิน/สาธารณูปโภค/สาธารณูปการ
- แผนแม่บท/แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาสนามบินและโครงสร้างพื้นฐานหลัก
- การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (ด้านกายภาพ)
- แผนการเงิน
ทั้งนี้การศึกษาดังกล่าวนี้จะใช้ระยะเวลาศึกษาประมาณ 1 ปี โดยจะเริ่มการศึกษาประมาณเดือนตุลาคม 2539 นี้ ซึ่งผลที่จะได้จากการศึกษา สศช. จะได้นำเสนอเป็นแผนแม่บทต่อรัฐบาลเพื่อพิจารณาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการศูนย์กลางการผลิตขนส่งทางอากาศยานนานาชาติ (Global TransPark : GTP) ที่สนามบินอู่ตะเภาต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 10/ตุลาคม 2539--
การลงนามในสัญญาว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาโครงการศึกษา/จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาศูนย์กลางการผลิตและขนส่งทางอากาศยานนานาชาติ(GlobalTransPark:GTP)ที่สนามบินอู่ตะเภาดังกล่าวเป็นการลงนามว่าจ้างเพื่อการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภาเพื่อรองรับการพัฒนาศูนย์กลางการผลิตและขนส่งทางอากาศยานนานาชาติ ซึ่งการว่าจ้างศึกษาในส่วนนี้ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดย USTDA : United State Trade and Development Agency เป็นจำนวน 495,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 12 ล้านบาท)
สำหรับโครงการศูนย์กลางการผลิตและขนส่งทางอากาศยานนานาชาติ (Global TransPark : GTP)ซึ่งจะพัฒนาขึ้นที่สนามบินอู่ตะเภานั้น จะได้รับการพัฒนาให้เป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีสูง สามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบเศรษฐกิจโลก เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมและการค้ายุคใหม่ในทศวรรษหน้าโดยเป็นฐานการผลิตที่มีการผสมผสานระบบการผลิตเข้ากับระบบขนส่งทางอากาศทางบกและเทคโนโลยีระบบข้อมูลสารสนเทศความเร็วสูง เพื่อทำการผลิตระบบ just-in-time หรือการผลิตตามสั่งโดยฉับพลัน เพื่อส่งออกแก่ลูกค้าในส่วนต่าง ๆ ของโลก ต่อไป
ดังนั้น โครงการศึกษาที่มีการลงนามในสัญญาว่าจ้างครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้สามารถใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ซึ่งจะช่วยผลักดันการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเข้าสู่การพัฒนาในระยะที่ 2 จากปัจจุบันที่เป็นฐานการผลิตและขนส่งทางทะเลผ่านท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังและมาบตาพุด เข้าสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและขนส่งทางอากาศยานนานาชาติ (Airtran Gateway) ตลอดจนเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรม/เศรษฐกิจในทศวรรษหน้าของประเทศไทย โดยจะมีขอบเขตการศึกษาดังนี้
- การจัดเตรียมแผนงาน/แผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก/โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งภาคพื้นดิน/สาธารณูปโภค/สาธารณูปการ
- แผนแม่บท/แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาสนามบินและโครงสร้างพื้นฐานหลัก
- การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (ด้านกายภาพ)
- แผนการเงิน
ทั้งนี้การศึกษาดังกล่าวนี้จะใช้ระยะเวลาศึกษาประมาณ 1 ปี โดยจะเริ่มการศึกษาประมาณเดือนตุลาคม 2539 นี้ ซึ่งผลที่จะได้จากการศึกษา สศช. จะได้นำเสนอเป็นแผนแม่บทต่อรัฐบาลเพื่อพิจารณาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการศูนย์กลางการผลิตขนส่งทางอากาศยานนานาชาติ (Global TransPark : GTP) ที่สนามบินอู่ตะเภาต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 10/ตุลาคม 2539--