แท็ก
สหประชาชาติ
เมื่อเร็ว ๆ นี้ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ UNDP ได้จัดทำเอกสารนโยบายเรื่อง Governance for Sustainable Human Developtment โดยได้ประกาศนโยบายที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศต่าง ๆ ในการพัฒนาประชารัฐ (Governance) เพื่อการพัฒนาคนอย่างยั่งยืน (Sustainable human Development) ในประเทศของตนต่อไป
จากประกาศนโยบายของ UNDP ในการที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศต่าง ๆ ในการพัฒนาประชารัฐนั้น เนื่องจากการพัฒนาคนอย่างยั่งยืนได้นั้นจำเป็นที่จะต้องทำให้ทุกคนในสังคมมีทางเลือกของตนเอง โดยเฉพาะคนยากจนและคนด้อยโอกาส และการที่จะให้ทุกคนมีทางเลือกเพื่อการพัมนาคนที่ยั่งยืนนั้นจะต้องมีการพัฒนาในประเด็นที่สำคัญ 5 ประการ คือ การสร้างศักยภาพให้กับทุกคนเพื่อให้สามารถกำหนดทางเลือกของตนเองได้ การสร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการมีการคำนึงถึงความต้องการของคนรุ่นต่อไป ตลอดจนมีความมั่นคงในสังคม/ชุมชนที่อยู่อาศัย รวมทั้งต้องสร้างความร่วมมือกันโดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนา
การที่จะบรรลุการพัฒนาคนอย่างยั่งยืนดังกล่าวข้างต้น UNDP เห็นว่า จำเป็นจะต้องมีประชารัฐที่ดี ทั้งนี้ เนื่องจากประชารัฐประกอบด้วยรัฐที่รวมภาคเอกชนและองค์กรทางสังคมต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ประชารัฐที่ดีของ UNDP มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการดำเนินงานจากทุกฝ่ายในสังคม มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
นอกจากนี้ UNDP ยังได้กำหนดนโยบายเป้าหมายที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศต่าง ๆ ใน 5 เรื่องด้วยกันเพื่อให้ประเทศเหล่านี้สามารถพัฒนาประชารัฐที่ดีได้ ได้แก่
1. สถาบันต่าง ๆ ของรัฐ เน้นการให้ความสนับสนุนเกี่ยวกับการร่างกฎหมาย ระบบศาล และองค์กรการเลือกตั้งเพื่ออำนวยความสะดวกให้เกิดประชารัฐที่ดี
2. การบริหารจัดการภาครัฐและเอกชน เน้นให้ความสนับสนุนเกี่ยวกับการพัฒนาผู้นำที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงานพัฒนา การปฏิรูประบบราชการ การบริหารจัดการงานพัฒนา การเงิน และการพัฒนาเมือง
3. การกระจายอำนาจและสนับสนุนรัฐบาลท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาและการตัดสินใจ
4. องค์กรทางสังคมต่าง ๆ เพื่อเป็นพลังทางสังคมที่ประชาชนมาร่วมกันทำงาน โดยมีจุดประสงค์ร่วมกัน
5. ประเทศที่ประสบกับภาวะยากลำบากต่าง ๆ เช่นเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เป็นต้น เนื่องจากภายใต้วิกฤติการณ์การเปลี่ยนแปลงระบบและสถาบันต่าง ๆ ที่ช่วยเหลือคนด้อยโอกาสในสังคมมักจะเป็นสิ่งแรกที่ถูกยกเลิกไป จึงจำเป็นต้องช่วยเหลือให้กลับมีขึ้นเช่นเดิมเพื่อรักษาการพัฒนาประชารัฐที่ดีไว้ในประเทศเหล่านี้
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาประชารัฐดังกล่าวนี้สอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ซึ่งได้กำหนดให้การพัฒนาประชารัฐ เป็น 1 ใน 7 ยุทธศาสตร์ของแผนฯ โดยมุ่งให้รัฐและประชาชนมีความเข้าใจที่ดี มีความรับผิดชอบและมีความเอื้ออาทรต่อกัน ทั้งนี้ เพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและประชาชนดำเนินไปในเชิงสร้างสรรค์และเสริมสร้างสมรรถนะซึ่งกันและกัน อันจะส่งผลให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างยั่งยืนต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 11/พฤศจิกายน 2540--
จากประกาศนโยบายของ UNDP ในการที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศต่าง ๆ ในการพัฒนาประชารัฐนั้น เนื่องจากการพัฒนาคนอย่างยั่งยืนได้นั้นจำเป็นที่จะต้องทำให้ทุกคนในสังคมมีทางเลือกของตนเอง โดยเฉพาะคนยากจนและคนด้อยโอกาส และการที่จะให้ทุกคนมีทางเลือกเพื่อการพัมนาคนที่ยั่งยืนนั้นจะต้องมีการพัฒนาในประเด็นที่สำคัญ 5 ประการ คือ การสร้างศักยภาพให้กับทุกคนเพื่อให้สามารถกำหนดทางเลือกของตนเองได้ การสร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการมีการคำนึงถึงความต้องการของคนรุ่นต่อไป ตลอดจนมีความมั่นคงในสังคม/ชุมชนที่อยู่อาศัย รวมทั้งต้องสร้างความร่วมมือกันโดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนา
การที่จะบรรลุการพัฒนาคนอย่างยั่งยืนดังกล่าวข้างต้น UNDP เห็นว่า จำเป็นจะต้องมีประชารัฐที่ดี ทั้งนี้ เนื่องจากประชารัฐประกอบด้วยรัฐที่รวมภาคเอกชนและองค์กรทางสังคมต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ประชารัฐที่ดีของ UNDP มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการดำเนินงานจากทุกฝ่ายในสังคม มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
นอกจากนี้ UNDP ยังได้กำหนดนโยบายเป้าหมายที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศต่าง ๆ ใน 5 เรื่องด้วยกันเพื่อให้ประเทศเหล่านี้สามารถพัฒนาประชารัฐที่ดีได้ ได้แก่
1. สถาบันต่าง ๆ ของรัฐ เน้นการให้ความสนับสนุนเกี่ยวกับการร่างกฎหมาย ระบบศาล และองค์กรการเลือกตั้งเพื่ออำนวยความสะดวกให้เกิดประชารัฐที่ดี
2. การบริหารจัดการภาครัฐและเอกชน เน้นให้ความสนับสนุนเกี่ยวกับการพัฒนาผู้นำที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงานพัฒนา การปฏิรูประบบราชการ การบริหารจัดการงานพัฒนา การเงิน และการพัฒนาเมือง
3. การกระจายอำนาจและสนับสนุนรัฐบาลท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาและการตัดสินใจ
4. องค์กรทางสังคมต่าง ๆ เพื่อเป็นพลังทางสังคมที่ประชาชนมาร่วมกันทำงาน โดยมีจุดประสงค์ร่วมกัน
5. ประเทศที่ประสบกับภาวะยากลำบากต่าง ๆ เช่นเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เป็นต้น เนื่องจากภายใต้วิกฤติการณ์การเปลี่ยนแปลงระบบและสถาบันต่าง ๆ ที่ช่วยเหลือคนด้อยโอกาสในสังคมมักจะเป็นสิ่งแรกที่ถูกยกเลิกไป จึงจำเป็นต้องช่วยเหลือให้กลับมีขึ้นเช่นเดิมเพื่อรักษาการพัฒนาประชารัฐที่ดีไว้ในประเทศเหล่านี้
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาประชารัฐดังกล่าวนี้สอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ซึ่งได้กำหนดให้การพัฒนาประชารัฐ เป็น 1 ใน 7 ยุทธศาสตร์ของแผนฯ โดยมุ่งให้รัฐและประชาชนมีความเข้าใจที่ดี มีความรับผิดชอบและมีความเอื้ออาทรต่อกัน ทั้งนี้ เพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและประชาชนดำเนินไปในเชิงสร้างสรรค์และเสริมสร้างสมรรถนะซึ่งกันและกัน อันจะส่งผลให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างยั่งยืนต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 11/พฤศจิกายน 2540--