เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เปิดเผยผลการศึกษาระยะที่หนึ่ง (ม.ค.38-เม.ย.39) ของโครงการเมืองแฝดเชียงใหม่-ลำพูน ซึ่งเป็นโครงการศึกษาเพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาเมืองเชียงใหม่-ลำพูนให้เป็นระบบทั้งในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ระยะกลางและระยะยาว (20-30 ปี) ว่า จากการศึกษาในระยะที่ 1 ได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนาหลัก สำหรับการพัฒนาพื้นที่ในเขตต่าง ๆ ของเมืองแฝดเชียงใหม่-ลำพูน ดังนี้
ในเขตอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเดิมเชียงใหม่-ลำพูน ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายครอบคลุมบริเวณเมืองเก่าและตัวเมืองปัจจุบันของเมืองเชียงใหม่และลำพูน และบริเวณ 2 ฝั่งทางหลวงหมายเลข 106 ที่เชื่อมระหว่างตัวเมืองเชียงใหม่กับตัวเมืองลำพูน ได้เสนอแนะให้สนับสนุนการใช้มาตรการทางผังเมืองและมาตรการส่งเสริมสนับสนุนด้านภาษีแหล่งทุนและด้านเทคนิคในการจัดการเขตอนุรักษ์ โดยให้ท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบ ตลอดจนเสนอแนะให้สร้างองค์กรและเครือข่ายองค์กรท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
ในเขตการพัฒนาใหม่ ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ครอบคลุมบริเวณด้านเหนือของชุมชนสันกำแพงไล่ลงมาถึงเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ชิ-แม่ติ่ง และแม่สาร รวมทั้งพื้นที่ตอนล่างของเมืองลำพูน ในระยะยาวพื้นที่ดังกล่าวนี้มีโอกาสที่จะเป็นทางเลือกใหม่รองรับการขยายตัวของเมืองและอุตสาหกรรมจากเมืองเดิมเชียงใหม่-ลำพูน อีกทั้งมีศักยภาพที่จะสนับสนุนบทบาทความเป็นศูนย์กลางการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงนั้น จากการศึกษาในระยะที่ 1 ได้เสนอแนะให้พัฒนาพื้นที่ใหม่นี้ ให้เป็นเมืองที่มีมาตรฐานมีความเป็นระเบียบและงดงาม มีการเชื่อมโยงทั้งภายในชุมชนและระหว่างชุมชนเดิมด้วยระบบโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่ได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันมิให้เกิดการพัฒนาเป็นริ้ว (Ribbon Development)
ในเขตส่งเสริมด้านเกษตรกรรม ซึ่งครอบคลุมพื้นที่การเกษตรริมลำน้ำปิงและลำน้ำอื่น ๆ ในตอนเหนือและตอนใต้ของตัวเมืองเชียงใหม่จนถึงเขตอำเภอบ้างโฮ่ง จ.ลำพูน ได้เสนอแนะให้สนับสนุนใช้มาตรการช่วยเหลือและส่งเสริมเกษตรกรให้สามารถดำรงอาชีพเกษตรกรได้ และมีผลตอบแทนจากการผลิตที่เหมาะสม ควบคู่กับการคุ้มครองสภาพแวดล้อมให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่พื้นที่ และป้องกันผลกระทบการเปลี่ยนแปลงจากการใช้ประโยชน์ที่ดินในแถบบริเวณพื้นที่บริเวณดังกล่าว
นอกจากนี้ ผลจากการศึกษาระยะที่ 1 ยังได้เสนอแนะให้ปรับปรุงแก้ไขปัญหาบริการโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อมของเมืองเชียงใหม่-ลำพูน ด้านต่าง ๆ เช่น การจราจรและขนส่งระบบประปา ระบบกำจัดขยะมูลฝอย ระบบจัดการน้ำเสีย เป็นต้น
สศช.ยังได้เปิดเผยด้วยว่า การดำเนินงานในระยะต่อไป ซึ่งเป็นการศึกษาในระยะที่ 2 นั้นจะเป็นการศึกษารายละเอียดความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ และการออกแบบวิศวกรรมเบื้องต้นของโครงการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่มีลำดับความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งได้รับการเสนอแนะจากการศึกษาระยะที่หนึ่ง โดยในขั้นตอนนี้จะมีการทำ "ประชาพิจารณ์" เพื่อให้ท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะความต้องการ เพื่อให้การศึกษาดังกล่าวสอดคล้องตามความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่และเกิดประโยชน์กับท้องถิ่นอย่างแท้จริง ทั้งนี้การศึกษาในระยะที่ 2มีระยะเวลาสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2539
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 5 / พฤษภาคม 2539--
ในเขตอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเดิมเชียงใหม่-ลำพูน ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายครอบคลุมบริเวณเมืองเก่าและตัวเมืองปัจจุบันของเมืองเชียงใหม่และลำพูน และบริเวณ 2 ฝั่งทางหลวงหมายเลข 106 ที่เชื่อมระหว่างตัวเมืองเชียงใหม่กับตัวเมืองลำพูน ได้เสนอแนะให้สนับสนุนการใช้มาตรการทางผังเมืองและมาตรการส่งเสริมสนับสนุนด้านภาษีแหล่งทุนและด้านเทคนิคในการจัดการเขตอนุรักษ์ โดยให้ท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบ ตลอดจนเสนอแนะให้สร้างองค์กรและเครือข่ายองค์กรท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
ในเขตการพัฒนาใหม่ ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ครอบคลุมบริเวณด้านเหนือของชุมชนสันกำแพงไล่ลงมาถึงเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ชิ-แม่ติ่ง และแม่สาร รวมทั้งพื้นที่ตอนล่างของเมืองลำพูน ในระยะยาวพื้นที่ดังกล่าวนี้มีโอกาสที่จะเป็นทางเลือกใหม่รองรับการขยายตัวของเมืองและอุตสาหกรรมจากเมืองเดิมเชียงใหม่-ลำพูน อีกทั้งมีศักยภาพที่จะสนับสนุนบทบาทความเป็นศูนย์กลางการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงนั้น จากการศึกษาในระยะที่ 1 ได้เสนอแนะให้พัฒนาพื้นที่ใหม่นี้ ให้เป็นเมืองที่มีมาตรฐานมีความเป็นระเบียบและงดงาม มีการเชื่อมโยงทั้งภายในชุมชนและระหว่างชุมชนเดิมด้วยระบบโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่ได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันมิให้เกิดการพัฒนาเป็นริ้ว (Ribbon Development)
ในเขตส่งเสริมด้านเกษตรกรรม ซึ่งครอบคลุมพื้นที่การเกษตรริมลำน้ำปิงและลำน้ำอื่น ๆ ในตอนเหนือและตอนใต้ของตัวเมืองเชียงใหม่จนถึงเขตอำเภอบ้างโฮ่ง จ.ลำพูน ได้เสนอแนะให้สนับสนุนใช้มาตรการช่วยเหลือและส่งเสริมเกษตรกรให้สามารถดำรงอาชีพเกษตรกรได้ และมีผลตอบแทนจากการผลิตที่เหมาะสม ควบคู่กับการคุ้มครองสภาพแวดล้อมให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่พื้นที่ และป้องกันผลกระทบการเปลี่ยนแปลงจากการใช้ประโยชน์ที่ดินในแถบบริเวณพื้นที่บริเวณดังกล่าว
นอกจากนี้ ผลจากการศึกษาระยะที่ 1 ยังได้เสนอแนะให้ปรับปรุงแก้ไขปัญหาบริการโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อมของเมืองเชียงใหม่-ลำพูน ด้านต่าง ๆ เช่น การจราจรและขนส่งระบบประปา ระบบกำจัดขยะมูลฝอย ระบบจัดการน้ำเสีย เป็นต้น
สศช.ยังได้เปิดเผยด้วยว่า การดำเนินงานในระยะต่อไป ซึ่งเป็นการศึกษาในระยะที่ 2 นั้นจะเป็นการศึกษารายละเอียดความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ และการออกแบบวิศวกรรมเบื้องต้นของโครงการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่มีลำดับความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งได้รับการเสนอแนะจากการศึกษาระยะที่หนึ่ง โดยในขั้นตอนนี้จะมีการทำ "ประชาพิจารณ์" เพื่อให้ท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะความต้องการ เพื่อให้การศึกษาดังกล่าวสอดคล้องตามความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่และเกิดประโยชน์กับท้องถิ่นอย่างแท้จริง ทั้งนี้การศึกษาในระยะที่ 2มีระยะเวลาสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2539
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 5 / พฤษภาคม 2539--