เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดให้มีการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "แนวทางการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกระยะที่ 2" ณ โรงแรม รอยัลคลิฟ บีช รีสอร์ท จังหวัดชลบุรี
นายสมเจตน์ เตรคุพ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานในพิธีได้กล่าวเปิดการสัมมนาว่า โครงการศึกษาแผนพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ระยะที่ 2 (ESB=II) นี้ ถือเป็นความก้าวหน้าสำคัญประการหนึ่งของการพัฒนา ซึ่งครอบคลุมการพัฒนาในสาขาต่าง ๆ ทั้งในด้านการพัมนาชุมชนเมืองที่สำคัญ การวางแผน การใช้ประโยชน์ของที่ดิน การกำหนดโครงข่ายบริการโครงสร้างพื้นฐานหลัก การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจัดรูปองค์กรที่จะชี้นำการพัฒนาในระยะยาว ทั้งนี้เพื่อให้หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนในพื้นที่สามารถใช้วางแผนและประสานการปฏิบัติงานซึ่งกันและกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ระยะที่ 2 นี้ สำนักงานฯ ได้จัดให้มีการศึกษาขึ้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่องจากระยะที่ 1 ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดมีการเชื่อมโยงที่สมบูรณ์ในพื้นที่โครงการซึ่งครอบคลุมเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 11 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก สระแก้ว จันทรบุรี ตราด พระนครศรีอยุธยา สระบุรี และลพบุรี โดยการศึกษาดังกล่าวจะครอบคลุมการพัฒนาหลัก 3 ประการ ได้แก่
ประการแรก มุ่งเน้นการเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์โครงข่ายบริการพื้นฐานหลักที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และประสานโครงข่ายบริการพื้นฐานหลักที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และประสานโครงข่ายพื้นฐานหลักระยะแรกให้สอดคล้องกับระบบโครงข่ายบริการของพื้นที่ตอนใน เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกเข้ากับพื้นที่ภูมิภาคอื่นภายในประเทศ และประเทศกลุ่มอินโดจีน
ประการที่สอง มุ่งเน้นการวางระบบการพัฒนาชุมชนเมืองให้สอดคล้องและสมดุลกันระหว่างการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจกับการป้องกันและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม อาทิ ที่อยู่อาศัยการศึกษาและการสาธารณสุข เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายของประชากรเข้าสู่พื้นที่เขตเศรษฐกิจใหม่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก
ประการที่สาม มุ่งเน้นการวางระบบประสานงานระหว่างหน่วยงาน ซึ่งครอบคลุมการกำหนดบทบาท ภารกิจ และขั้นตอนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน รวมทั้งการสนับสนุนให้องค์กรท้องถิ่นมีขีดความสามารถในการพัฒนาชุมชนของตนเอง
สำหรับผลการประชุมสัมมนา สรุปประเด็นหลัก ๆ ได้ดังนี้
1. ภาพรวมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ภาพวิสัยทัศน์การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกยังขาดความชัดเจนอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาดการมองภาพบทบาทหลักของพื้นที่ในการเป็นฐานเศรษฐกิจและประตูส่งออกของประเทศ ซึ่งองค์ประกอบสำคัญคือ ความเชื่อมโยงของท่าเรือน้ำลึกกับการคมนาคมขนส่งด้านอื่น ๆ เช่น ถนน ทางรถไฟ ทั้งนี้ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น
2. การจัดการในการพัฒนาอุตสาหกรรม ควรให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดเล็ก ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ระยะที่ 2 (ESB=II) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นของความเชื่อมโยงกันระหว่างอุตสาหกรรมขนาดใหญ่กับอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดเล็ก ซึ่งจะต้องวิเคราะห์ให้ชัดเจนในแต่ละสาขารายย่อย รวมทั้งการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร ควรจะกำหนดพื้นที่เป้าหมายให้ชัดเจนว่าสมควรจะก่อตั้งขึ้นในเขตพื้นที่ใด เพื่อป้องกันปัญหาขัดแย้งกันระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม
3. โครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานระดับภาค ตามที่ได้เสนอให้มีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำสำหรับอุตสาหกรรมเช่น อ่างเก็บน้ำสียัด และเขื่อนกั้นน้ำบางปะกงนั้น ควรให้มีการวางแผนการก่อสร้างอย่างเป็นระบบทั้งอ่างเก็บน้ำและท่อส่งน้ำเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำได้ทันที รวมทั้งควรจะมีการกำหนดทางเลือกแหล่งที่มาของการผลิตกระแสไฟฟ้าให้ชัดเจน เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากการก่อสร้างเขื่อนมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อม
4. การจัดโครงสร้างพื้นฐานด้านสังคมเมือง
- ด้านการศึกษา ควรพิจารณาแนวทางยกระดับการศึกษาของ 11 จังหวัด ใน ESB =II เพื่อเป็นตัวอย่างการพัฒนาด้านการศึกษาของภูมิภาคอื่นต่อไป และควรมีการวิเคราะห์ในระดับสาขาวิชาด้วยว่า ตลาดมีความต้องการบุคลากรด้านใดบ้างในส่วนของตลาดแรงงาน ควรมีการเสนอให้ชัดเจน ทั้งระดับฝีมือแรงงานและปริมาณแรงงานที่ต้องการ โดยประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐและเอกชน
- ด้านสาธารณสุข ควรเพิ่มการป้องกันและรักษาสุขภาพการฟื้นฟูสุขภาพ และโรคภัยไข้เจ็บอันมีสาเหตุมาจากการพัฒนาอุตสาหกรรมด้วย เนื่องจากมีสถิติอัตราการตายโดยอุบัติภัยและแนวโน้มปัญหาสุขภาพจิต ในจังหวัดในเขต 3 ของการส่งเสริมการลงทุนสูง
5. การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ควรพิจารณาเพิ่มเติมประเด็นการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมที่ยังขาดอยู่ โดยเฉพาะปัญหามลพิษทางอากาศในพื้นที่ ESB = II รวมทั้งควรให้คำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะมีผลกระทบต่อเรื่องของ "น้ำ" โดย ให้ความสำคัญกับแนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำ ตลอดจนให้ความสำคัญกับแนวทางการจัดการน้ำเสีย โดยส่งเสริมให้มีการใช้มาตรการนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle และ reuse) เพื่อนำน้ำกลับมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า
6. การพัฒนาสถาบันและองค์กร ข้อเสนอโครงสร้างการบริหารจัดการในรูปแบบองค์กรต่าง ๆ ควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับรูปแบบเดิมที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดความเป็นไปได้ ไม่เกิดความซ้ำซ้อนขัดแย้งกันในทางปฏิบัติ
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 5/พฤษภาคม 2540--
นายสมเจตน์ เตรคุพ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานในพิธีได้กล่าวเปิดการสัมมนาว่า โครงการศึกษาแผนพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ระยะที่ 2 (ESB=II) นี้ ถือเป็นความก้าวหน้าสำคัญประการหนึ่งของการพัฒนา ซึ่งครอบคลุมการพัฒนาในสาขาต่าง ๆ ทั้งในด้านการพัมนาชุมชนเมืองที่สำคัญ การวางแผน การใช้ประโยชน์ของที่ดิน การกำหนดโครงข่ายบริการโครงสร้างพื้นฐานหลัก การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจัดรูปองค์กรที่จะชี้นำการพัฒนาในระยะยาว ทั้งนี้เพื่อให้หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนในพื้นที่สามารถใช้วางแผนและประสานการปฏิบัติงานซึ่งกันและกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ระยะที่ 2 นี้ สำนักงานฯ ได้จัดให้มีการศึกษาขึ้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่องจากระยะที่ 1 ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดมีการเชื่อมโยงที่สมบูรณ์ในพื้นที่โครงการซึ่งครอบคลุมเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 11 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก สระแก้ว จันทรบุรี ตราด พระนครศรีอยุธยา สระบุรี และลพบุรี โดยการศึกษาดังกล่าวจะครอบคลุมการพัฒนาหลัก 3 ประการ ได้แก่
ประการแรก มุ่งเน้นการเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์โครงข่ายบริการพื้นฐานหลักที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และประสานโครงข่ายบริการพื้นฐานหลักที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และประสานโครงข่ายพื้นฐานหลักระยะแรกให้สอดคล้องกับระบบโครงข่ายบริการของพื้นที่ตอนใน เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกเข้ากับพื้นที่ภูมิภาคอื่นภายในประเทศ และประเทศกลุ่มอินโดจีน
ประการที่สอง มุ่งเน้นการวางระบบการพัฒนาชุมชนเมืองให้สอดคล้องและสมดุลกันระหว่างการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจกับการป้องกันและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม อาทิ ที่อยู่อาศัยการศึกษาและการสาธารณสุข เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายของประชากรเข้าสู่พื้นที่เขตเศรษฐกิจใหม่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก
ประการที่สาม มุ่งเน้นการวางระบบประสานงานระหว่างหน่วยงาน ซึ่งครอบคลุมการกำหนดบทบาท ภารกิจ และขั้นตอนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน รวมทั้งการสนับสนุนให้องค์กรท้องถิ่นมีขีดความสามารถในการพัฒนาชุมชนของตนเอง
สำหรับผลการประชุมสัมมนา สรุปประเด็นหลัก ๆ ได้ดังนี้
1. ภาพรวมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ภาพวิสัยทัศน์การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกยังขาดความชัดเจนอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาดการมองภาพบทบาทหลักของพื้นที่ในการเป็นฐานเศรษฐกิจและประตูส่งออกของประเทศ ซึ่งองค์ประกอบสำคัญคือ ความเชื่อมโยงของท่าเรือน้ำลึกกับการคมนาคมขนส่งด้านอื่น ๆ เช่น ถนน ทางรถไฟ ทั้งนี้ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น
2. การจัดการในการพัฒนาอุตสาหกรรม ควรให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดเล็ก ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ระยะที่ 2 (ESB=II) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นของความเชื่อมโยงกันระหว่างอุตสาหกรรมขนาดใหญ่กับอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดเล็ก ซึ่งจะต้องวิเคราะห์ให้ชัดเจนในแต่ละสาขารายย่อย รวมทั้งการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร ควรจะกำหนดพื้นที่เป้าหมายให้ชัดเจนว่าสมควรจะก่อตั้งขึ้นในเขตพื้นที่ใด เพื่อป้องกันปัญหาขัดแย้งกันระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม
3. โครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานระดับภาค ตามที่ได้เสนอให้มีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำสำหรับอุตสาหกรรมเช่น อ่างเก็บน้ำสียัด และเขื่อนกั้นน้ำบางปะกงนั้น ควรให้มีการวางแผนการก่อสร้างอย่างเป็นระบบทั้งอ่างเก็บน้ำและท่อส่งน้ำเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำได้ทันที รวมทั้งควรจะมีการกำหนดทางเลือกแหล่งที่มาของการผลิตกระแสไฟฟ้าให้ชัดเจน เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากการก่อสร้างเขื่อนมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อม
4. การจัดโครงสร้างพื้นฐานด้านสังคมเมือง
- ด้านการศึกษา ควรพิจารณาแนวทางยกระดับการศึกษาของ 11 จังหวัด ใน ESB =II เพื่อเป็นตัวอย่างการพัฒนาด้านการศึกษาของภูมิภาคอื่นต่อไป และควรมีการวิเคราะห์ในระดับสาขาวิชาด้วยว่า ตลาดมีความต้องการบุคลากรด้านใดบ้างในส่วนของตลาดแรงงาน ควรมีการเสนอให้ชัดเจน ทั้งระดับฝีมือแรงงานและปริมาณแรงงานที่ต้องการ โดยประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐและเอกชน
- ด้านสาธารณสุข ควรเพิ่มการป้องกันและรักษาสุขภาพการฟื้นฟูสุขภาพ และโรคภัยไข้เจ็บอันมีสาเหตุมาจากการพัฒนาอุตสาหกรรมด้วย เนื่องจากมีสถิติอัตราการตายโดยอุบัติภัยและแนวโน้มปัญหาสุขภาพจิต ในจังหวัดในเขต 3 ของการส่งเสริมการลงทุนสูง
5. การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ควรพิจารณาเพิ่มเติมประเด็นการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมที่ยังขาดอยู่ โดยเฉพาะปัญหามลพิษทางอากาศในพื้นที่ ESB = II รวมทั้งควรให้คำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะมีผลกระทบต่อเรื่องของ "น้ำ" โดย ให้ความสำคัญกับแนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำ ตลอดจนให้ความสำคัญกับแนวทางการจัดการน้ำเสีย โดยส่งเสริมให้มีการใช้มาตรการนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle และ reuse) เพื่อนำน้ำกลับมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า
6. การพัฒนาสถาบันและองค์กร ข้อเสนอโครงสร้างการบริหารจัดการในรูปแบบองค์กรต่าง ๆ ควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับรูปแบบเดิมที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดความเป็นไปได้ ไม่เกิดความซ้ำซ้อนขัดแย้งกันในทางปฏิบัติ
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 5/พฤษภาคม 2540--