เมื่อเร็ว ๆ นี้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ ครั้งที่ กศร.1/2540 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ในการประชุมดังกล่าว ฝ่ายเลขานุการได้รายงานถึงผลความก้าวหน้าของการดำเนินงาน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2539 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ ครั้งที่ กศร.3/2539 ในเรื่องต่าง ๆ รวม 4 เรื่อง คือ การศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นที่ตั้งศูนย์ราชการของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การจัดทำผังแม่บทสถานที่ราชการในที่ราชพัสดุบริเวณถนนแจ้งวัฒนะ เรื่องแผนการใช้ที่ดินของหน่วยงานของรัฐในศูนย์กลางความเจริญภาคใต้ : ภูเก็ต และเรื่องแผนการใช้ที่ดินของหน่วยงานของรัฐในศูนย์กลางความเจริญภาคใต้ : กระบี่
นอกจากนี้ ฝ่ายเลขานุการยังได้นำเสนอเรื่องกรอบแนวความคิดหลักการจัดระบบศูนย์ราชการและเมืองใหม่ ดังนี้
1. การคัดเลือกที่ตั้งที่เหมาะสมของศูนย์ราชการและเมืองใหม่นั้นจำเป็นต้องมีความสอดคล้องกับนโยบายและแนวคิดในการพัฒนาประเทศโดยส่วนรวมด้วย เพื่อให้สามารถช่วยกระจายกิจกรรมต่าง ๆ ออกจากกรุงเทพมหานครได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งการดำเนินงานในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 นี้ ได้มีแนวคิดในการพัฒนาระบบชุมชนและพื้นที่ทั้งประเทศที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1.1 ควรมีรูปแบบการพัฒนาภาคและระบบชุมชนที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสู่นานาชาติได้
1.2 ควรแก้ไขรูปแบบการพัฒนาเดิมที่กระจุกตัวเฉพาะภาคมหานคร
1.3 ควรให้การพัฒนาพื้นที่และระบบชุมชนได้มีบทบาทที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน เพื่อเสริมสมรรถะการพัฒนาพื้นที่และชุมชนให้เกิดความยั่งยืน
2. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้มีการศึกษาการวางผังเค้าโครงการพัฒนาภาคทั่วประเทศ ซึ่งได้เสนอแนะการพัฒนาพื้นที่และชุมชนที่สำคัญ ๆ ตามแนวคิดดังกล่าว ดังนี้
2.1 พัฒนาชุมชนที่มีศักยภาพใหม่ในการรองรับเศรษฐกิจนานาชาติ ได้แก่ ชุมชนชายแดน เช่น หนองคาย มุกดาหาร เชียงราย ชุมชนที่มีโครงข่ายนานาชาติพาดผ่าน เช่น นครราชสีมา สระบุรี ชุมชนโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกที่ได้มีการพัฒนาแต่เดิม และชุมชนโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้
2.2 พัฒนาชุมชนและกลุ่มชุมชนที่จะพัฒนาให้เกิดความสมดุล เพื่อแก้ไขปัญหาการกระจุกตัวของกรุงเทพมหานคร และปรับรูปแบบจากเดิมที่พัฒนาในแนวเหนือใต้ ได้แก่ ชุมชนที่อยู่ตามแนวโครงข่ายคมนาคมสายหลัก เชื่อมโยงในแนวทิศทางตะวันออก-ตะวันตก และชุมชนที่เป็นแหล่งอนุรักษ์และท่องเที่ยว
2.3 พัฒนากลุ่มชุมชนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน ได้แก่ การเชื่อมโยงชุมชนเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกันให้เกิดบทบาทเกื้อหนุนกันทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม
3. สำหรับการจัดระบบชุมชนภาคมหานครซึ่งมีบทบาทเป็นฐานเศรษฐกิจด่านหน้าของภูมิภาคและเสริมบทบาทต่าง ๆ ซึ่งกันและกัน โดยมีการเชื่อมโยงด้วยระบบโครงข่ายบริการพื้นฐานหลักที่มีมาตรฐานสากล เช่น กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจวิทยาการที่ทันสมัยพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกเป็นฐานการผลิต การส่งออกและท่าเรือน้ำลึก เป็นต้น
4. การจัดระบบศูนย์ราชการจะเกี่ยวข้องกับระบบชุมชนมหานครโดยตรง ซึ่งผลการศึกษาได้เสนอแนะบทบาทและชุมชนในรัศมีประมาณ 25-100 กิโลเมตร จากกรุงเทพมหานคร เช่น บริเวณทิศเหนือ บางปะอิน (อยุธยา) เป็นพื้นที่เตรียมไว้รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ปลอดมลพิษ
นอกจากนี้พื้นที่ชุมชนใจกลางกรุงเทพมหานคร ให้เป็นการพัฒนาในแนวตั้ง 3 บริเวณ คือ แจ้งวัฒนะ พหลโยธิน และคลองเตย
5. จากการพิจารณาพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสม เพื่อจัดระบบศูนย์ราชการและเมืองใหม่ โดยวิเคราะห์ความเหมาะสมเบื้องต้น ด้านความพร้อมของที่ดิน ความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แหล่งน้ำ และสภาพแวดล้อม ปรากฎว่า มี 5 บริเวณ ได้แก่ บริเวณวังน้อย-บางปะอิน-บางไทร บริเวณมีนบุรี-ลำลูกกา บริเวณพื้นที่รอบสนามบินหนองงูเห่า-ฉะเชิงเทรา บริเวณตลิ่งชัน นครปฐม และบริเวณเขาชะโงก จังหวัดนครนายก ซึ่งมีความเหมาะสมเบื้องต้นสูง
สำหรับรายละเอียดการดำเนินงานเห็นควรมอบหมายให้คณะอนุกรรมการฯ ชุดหนึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเรื่องนี้ต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. เห็นชอบกับการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ เพื่อช่วยปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ และปฏิบัติภารกิจต่อเนื่องต่อไป จำนวน 4 ชุด คือ คณะอนุกรรมการพิจารณาสถานที่ทำงานของหน่วยราชการในเขตกรุงเทพมหานครและเมืองหลัก คณะอนุกรรมการกำหนดมาตรการการจัดระบบศูนย์ราชการ และคณะอนุกรรมการกำกับการพัฒนาพื้นที่เพื่อเป็นศูนย์ราชการของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
2. เห็นชอบให้กรมบังคับคดีดำเนินการก่อสร้างอาคารกรมบังคับคดี 2 ในพื้นที่เดียวกันกับอาคารเดิม เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และการให้บริการประชาชน โดยอาคารใหม่ดังกล่าวเป็นอาคาร 5 ชั้น กว้าง 14 เมตร ยาวประมาณ 52 เมตร มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 3,500 ตารางเมตร ซึ่งโครงการนี้ได้รับอนุมัติงบประมาณจากสำนักงบประมาณแล้ว จำนวน 51,793,000 บาท ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยสำนักงานคณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการแจ้งความเห็นชอบของคณะกรรมการฯ เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป
3. เรื่องการขออนุญาตก่อสร้างต่อเติมอาคารสถานที่ราชการของกรมยุทธโยธาทหารบก รวม 4 โครงการนั้นที่ประชุมเห็นชอบให้ดำเนินการเพียง 3 โครงการ ที่มีความพร้อม คือ โครงการปรับปรุงต่อเติมอาคารบัญชาการกรมยุทธโยธาทหารบก โครงการพัฒนาพื้นที่กองดุริยางค์ทหารบก และโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานและห้องเรียนรวมของโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ส่วนโครงการก่อสร้างอาคารกองบัญชาการ กรมสรรพาวุธทหารบก ให้ไปจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ในครั้งต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 3/มีนาคม 2540--
ในการประชุมดังกล่าว ฝ่ายเลขานุการได้รายงานถึงผลความก้าวหน้าของการดำเนินงาน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2539 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ ครั้งที่ กศร.3/2539 ในเรื่องต่าง ๆ รวม 4 เรื่อง คือ การศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นที่ตั้งศูนย์ราชการของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การจัดทำผังแม่บทสถานที่ราชการในที่ราชพัสดุบริเวณถนนแจ้งวัฒนะ เรื่องแผนการใช้ที่ดินของหน่วยงานของรัฐในศูนย์กลางความเจริญภาคใต้ : ภูเก็ต และเรื่องแผนการใช้ที่ดินของหน่วยงานของรัฐในศูนย์กลางความเจริญภาคใต้ : กระบี่
นอกจากนี้ ฝ่ายเลขานุการยังได้นำเสนอเรื่องกรอบแนวความคิดหลักการจัดระบบศูนย์ราชการและเมืองใหม่ ดังนี้
1. การคัดเลือกที่ตั้งที่เหมาะสมของศูนย์ราชการและเมืองใหม่นั้นจำเป็นต้องมีความสอดคล้องกับนโยบายและแนวคิดในการพัฒนาประเทศโดยส่วนรวมด้วย เพื่อให้สามารถช่วยกระจายกิจกรรมต่าง ๆ ออกจากกรุงเทพมหานครได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งการดำเนินงานในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 นี้ ได้มีแนวคิดในการพัฒนาระบบชุมชนและพื้นที่ทั้งประเทศที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1.1 ควรมีรูปแบบการพัฒนาภาคและระบบชุมชนที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสู่นานาชาติได้
1.2 ควรแก้ไขรูปแบบการพัฒนาเดิมที่กระจุกตัวเฉพาะภาคมหานคร
1.3 ควรให้การพัฒนาพื้นที่และระบบชุมชนได้มีบทบาทที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน เพื่อเสริมสมรรถะการพัฒนาพื้นที่และชุมชนให้เกิดความยั่งยืน
2. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้มีการศึกษาการวางผังเค้าโครงการพัฒนาภาคทั่วประเทศ ซึ่งได้เสนอแนะการพัฒนาพื้นที่และชุมชนที่สำคัญ ๆ ตามแนวคิดดังกล่าว ดังนี้
2.1 พัฒนาชุมชนที่มีศักยภาพใหม่ในการรองรับเศรษฐกิจนานาชาติ ได้แก่ ชุมชนชายแดน เช่น หนองคาย มุกดาหาร เชียงราย ชุมชนที่มีโครงข่ายนานาชาติพาดผ่าน เช่น นครราชสีมา สระบุรี ชุมชนโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกที่ได้มีการพัฒนาแต่เดิม และชุมชนโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้
2.2 พัฒนาชุมชนและกลุ่มชุมชนที่จะพัฒนาให้เกิดความสมดุล เพื่อแก้ไขปัญหาการกระจุกตัวของกรุงเทพมหานคร และปรับรูปแบบจากเดิมที่พัฒนาในแนวเหนือใต้ ได้แก่ ชุมชนที่อยู่ตามแนวโครงข่ายคมนาคมสายหลัก เชื่อมโยงในแนวทิศทางตะวันออก-ตะวันตก และชุมชนที่เป็นแหล่งอนุรักษ์และท่องเที่ยว
2.3 พัฒนากลุ่มชุมชนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน ได้แก่ การเชื่อมโยงชุมชนเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกันให้เกิดบทบาทเกื้อหนุนกันทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม
3. สำหรับการจัดระบบชุมชนภาคมหานครซึ่งมีบทบาทเป็นฐานเศรษฐกิจด่านหน้าของภูมิภาคและเสริมบทบาทต่าง ๆ ซึ่งกันและกัน โดยมีการเชื่อมโยงด้วยระบบโครงข่ายบริการพื้นฐานหลักที่มีมาตรฐานสากล เช่น กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจวิทยาการที่ทันสมัยพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกเป็นฐานการผลิต การส่งออกและท่าเรือน้ำลึก เป็นต้น
4. การจัดระบบศูนย์ราชการจะเกี่ยวข้องกับระบบชุมชนมหานครโดยตรง ซึ่งผลการศึกษาได้เสนอแนะบทบาทและชุมชนในรัศมีประมาณ 25-100 กิโลเมตร จากกรุงเทพมหานคร เช่น บริเวณทิศเหนือ บางปะอิน (อยุธยา) เป็นพื้นที่เตรียมไว้รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ปลอดมลพิษ
นอกจากนี้พื้นที่ชุมชนใจกลางกรุงเทพมหานคร ให้เป็นการพัฒนาในแนวตั้ง 3 บริเวณ คือ แจ้งวัฒนะ พหลโยธิน และคลองเตย
5. จากการพิจารณาพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสม เพื่อจัดระบบศูนย์ราชการและเมืองใหม่ โดยวิเคราะห์ความเหมาะสมเบื้องต้น ด้านความพร้อมของที่ดิน ความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แหล่งน้ำ และสภาพแวดล้อม ปรากฎว่า มี 5 บริเวณ ได้แก่ บริเวณวังน้อย-บางปะอิน-บางไทร บริเวณมีนบุรี-ลำลูกกา บริเวณพื้นที่รอบสนามบินหนองงูเห่า-ฉะเชิงเทรา บริเวณตลิ่งชัน นครปฐม และบริเวณเขาชะโงก จังหวัดนครนายก ซึ่งมีความเหมาะสมเบื้องต้นสูง
สำหรับรายละเอียดการดำเนินงานเห็นควรมอบหมายให้คณะอนุกรรมการฯ ชุดหนึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเรื่องนี้ต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. เห็นชอบกับการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ เพื่อช่วยปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ และปฏิบัติภารกิจต่อเนื่องต่อไป จำนวน 4 ชุด คือ คณะอนุกรรมการพิจารณาสถานที่ทำงานของหน่วยราชการในเขตกรุงเทพมหานครและเมืองหลัก คณะอนุกรรมการกำหนดมาตรการการจัดระบบศูนย์ราชการ และคณะอนุกรรมการกำกับการพัฒนาพื้นที่เพื่อเป็นศูนย์ราชการของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
2. เห็นชอบให้กรมบังคับคดีดำเนินการก่อสร้างอาคารกรมบังคับคดี 2 ในพื้นที่เดียวกันกับอาคารเดิม เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และการให้บริการประชาชน โดยอาคารใหม่ดังกล่าวเป็นอาคาร 5 ชั้น กว้าง 14 เมตร ยาวประมาณ 52 เมตร มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 3,500 ตารางเมตร ซึ่งโครงการนี้ได้รับอนุมัติงบประมาณจากสำนักงบประมาณแล้ว จำนวน 51,793,000 บาท ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยสำนักงานคณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการแจ้งความเห็นชอบของคณะกรรมการฯ เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป
3. เรื่องการขออนุญาตก่อสร้างต่อเติมอาคารสถานที่ราชการของกรมยุทธโยธาทหารบก รวม 4 โครงการนั้นที่ประชุมเห็นชอบให้ดำเนินการเพียง 3 โครงการ ที่มีความพร้อม คือ โครงการปรับปรุงต่อเติมอาคารบัญชาการกรมยุทธโยธาทหารบก โครงการพัฒนาพื้นที่กองดุริยางค์ทหารบก และโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานและห้องเรียนรวมของโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ส่วนโครงการก่อสร้างอาคารกองบัญชาการ กรมสรรพาวุธทหารบก ให้ไปจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ในครั้งต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 3/มีนาคม 2540--