ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สอง และแนวโน้มปี 2557

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 18, 2014 13:59 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

สำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค          18 สิงหาคม 2557

ประมาณการเศรษฐกิจปี 2557

ประมาณการเศรษฐกิจปี 2557

(% YOY)                            2556              2557
                                Q4     ทั้งปี     Q1     Q2    ทั้งปี (f)
GDP (ณ ราคาคงที่)                0.6     2.9   -0.5    0.4   1.5-2.0
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่)       -11.4    -2.0   -9.3   -6.9      -2.0
   ภาคเอกชน                  -13.2    -2.8   -7.4   -7.0      -2.9
   ภาครัฐ                      -4.7     1.3  -16.6   -6.7       1.0
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่)       -3.3     1.1   -1.9    0.5       1.3
   ภาคเอกชน                   -4.1     0.3   -3.0    0.2       0.8
   ภาครัฐบาล                    0.8     4.9    4.2    1.9       3.7
มูลค่าการส่งออกสินค้า              -0.9    -0.2   -0.8    0.4       2.0
   ปริมาณ                       0.3     0.2    0.9    1.5       3.0
มูลค่าการนำเข้าสินค้า              -7.5    -0.5  -14.8  -11.8      -4.9
   ปริมาณ                      -6.1     1.6  -13.8  -11.7      -4.4
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%)         3.1    -0.5    8.8    0.4       2.6
เงินเฟ้อทั่วไป                     1.7     2.2    2.0    2.5   1.9-2.4
อัตราการว่างงาน                  0.7     0.7    0.9    1.0       0.9
          - เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2557  ขยายตัวร้อยละ 0.4 ปรับตัวดีขึ้น จากการหดตัวร้อยละ 0.5 ในไตรมาสแรกของปี 2557 และเมื่อปรับผลของฤดูกาล ออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2557 ขยายตัวจากไตรมาสแรกของปี 2557  ร้อยละ 0.9 (QoQ_SA %) รวมครึ่งแรกของปี 2557 เศรษฐกิจไทยหดตัวร้อยละ 0.1
          - ในด้านการใช้จ่าย มีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐ การบริโภคภาคเอกชน และ การส่งออก แต่การลงทุนภาคเอกชนหดตัว ในด้านการผลิต สาขาเกษตรขยายตัว ในขณะที่สาขาอุตสาหกรรม และสาขาก่อสร้างหดตัวช้าลง แต่สาขาโรงแรมและภัตตาคารหดตัวต่อเนื่อง
          - เศรษฐกิจไทยในปี 2557 มีแนวโน้มขยายตัวต่ากว่าที่ประมาณการไว้ เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ยืดเยื้อในช่วงห้าเดือนแรกของปี  การฟื้นตัวอย่างล่าช้าของ การส่งออก และการหดตัวต่อเนื่องของปริมาณการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรกยังหดตัว ในช่วงครึ่งปีหลัง เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้น ตามการปรับตัวดีขึ้นของความเชื่อมั่นและการปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติของการบริหารงานและการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐแต่การขยายตัวยังมีแนวโน้มต่ำกว่าศักยภาพ เนื่องจากข้อจำกัดสำคัญ 4 ประการ คือ (1) การขยายตัวของการส่งออกยังมีข้อจำกัดจากการฟื้นตัว อย่างล่าช้าของเศรษฐกิจโลกและราคาสินค้าส่งออกที่ลดลง  (2) การฟื้นตัวของ การท่องเที่ยวยังต้องใช้เวลาและตลาดท่องเที่ยวมีการแข่งขันกันมากขึ้นทำให้นักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งเปลี่ยนจุดหมายการเดินทางท่องเที่ยว (3) การขยายตัวของการลงทุน ยังมีข้อจำกัดจากการใช้กำลังการผลิตที่ยังอยู่ในระดับต่ำและความล่าช้าในการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในช่วงครึ่งปีแรก และ (4) การจำหน่ายและการผลิตรถยนต์ยังคงปรับตัวลดลง จากฐานการจำหน่ายที่สูงในปีก่อน ในขณะที่เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี  โดยอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ
          - เศรษฐกิจไทยในปี 2557 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5 - 2.0 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 2.0 การบริโภคของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 0.8 การลงทุนรวมหดตัวร้อยละ 2.0 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วงร้อยละ 1.9 - 2.4 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ร้อยละ 2.6 ของ GDP
          - ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2557 ควรให้ความสำคัญกับ  (1) การเร่งรัดการส่งออกให้สามารถขยายตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มรายได้จากตลาดหลักและตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ รวมทั้งส่งเสริมการค้าชายแดนและการค้าในภูมิภาค (2) การฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวโดยการสร้างความเชื่อมั่นและแก้ไขปัญหาสำคัญๆ ในภาคการท่องเที่ยว (3) การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2557 และการเบิกจ่ายในช่วง ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2558 ให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 31 (4) การเร่งรัดอนุมัติส่งเสริมการลงทุนและสนับสนุนให้การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมแล้วเริ่มการลงทุนและมีเม็ดเงินลงทุนเข้าสู่เศรษฐกิจโดยเร็ว (5) การสร้างความเชื่อมั่น โดยการเร่งรัดโครงการลงทุนที่สำคัญๆ ของภาครัฐ และ (6) การดำเนินนโยบายการเงินที่เอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการดูแลรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2557 และแนวโน้มปี 2557
          เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 0.4 ปรับตัวดีขึ้นจากการหดตัวร้อยละ 0.5 ในไตรมาสแรก ในด้านการใช้จ่าย มีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการใช้จ่ายภาครัฐ การบริโภคภาคเอกชน และการส่งออก แต่การลงทุนภาคเอกชนหดตัว ในด้านการผลิต สาขาเกษตรขยายตัว ในขณะที่สาขาอุตสาหกรรม และก่อสร้างหดตัวช้าลง แต่สาขาโรงแรมและภัตตาคารหดตัวต่อเนื่องตามการหดตัวของจำนวนนักท่องเที่ยว และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2557 ขยายตัวจากไตรมาสแรกของปี 2557 ร้อยละ 0.9 (QoQ_SA %) เมื่อรวมกับไตรมาสแรก เศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกของปี 2557 หดตัวร้อยละ 0.1

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2557
          (1) การใช้จ่ายภาคครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 0.2 ปรับตัวดีขึ้นจากการหดตัวร้อยละ 3.0 ในไตรมาสแรก สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า และการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ราคาคงที่) ซึ่งขยายตัวร้อยละ 3.1 และร้อยละ 0.1 ตามลำดับ ในขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 61.2 จากระดับ 60.0 ในไตรมาสแรก เนื่องจากสถานการณ์ในประเทศ มีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงปลายไตรมาส
          รวมครึ่งแรกของปี 2557 การใช้จ่ายภาคครัวเรือนหดตัวร้อยละ 1.4
          (2) การลงทุนรวม ลดลงร้อยละ 6.9 เทียบกับการลดลงร้อยละ 9.3 ในไตรมาสแรก โดยการลงทุนภาครัฐลดลง ร้อยละ 6.7 ดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 16.6 ในไตรมาสแรก ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวดีขึ้นของการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ส่วนการลงทุนภาคเอกชน ลดลงต่อเนื่องร้อยละ 7.0  ใกล้เคียงกับการลดลงร้อยละ 7.4 ในไตรมาสแรก เนื่องจากการลดลงของการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักร และการก่อสร้าง ในขณะที่ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ลดลงร้อยละ 69.4 แต่จำนวนโครงการที่ยื่นขอรับ การส่งเสริมการลงทุนเริ่มปรับตัวดีขึ้นในช่วงปลายไตรมาสภายหลังการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนชุดใหม่เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2557 ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สี่ แม้ว่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นบ้างในช่วงปลายไตรมาส แต่นักลงทุนยังรอประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและนโยบายของรัฐบาล
          รวมครึ่งแรกของปี 2557 การลงทุนรวมหดตัวร้อยละ 8.1 โดยการลงทุนภาครัฐหดตัวร้อยละ 11.3 และ การลงทุนภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 7.2
          (3) การส่งออกสินค้า มีมูลค่า 55,765 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 0.4  ดีขึ้นจากการหดตัวร้อยละ 0.8 ในไตรมาสแรก เนื่องจากการปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯ และยุโรปเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ปริมาณการส่งออกขยายตัวร้อยละ 1.5 อย่างไรก็ตาม ราคาส่งออกลดลงร้อยละ 0.9  เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 0.2 และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 8.9 สินค้าส่งออกที่มีมูลค่าขยายตัว ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ปิโตรเคมี เครื่องจักรและอุปกรณ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง ได้แก่ ยางพารา กุ้ง ปูกระป๋องและแปรรูป ยานยนต์ และผลิตภัณฑ์โลหะ มูลค่าการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ และยุโรปขยายตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในตลาดหลัก แต่มูลค่าการส่งออกไปยังญี่ปุ่น และจีน ปรับตัวลดลงตามภาวะ การชะลอตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นและเศรษฐกิจจีน
          รวมครึ่งแรกของปี 2557  มูลค่าการส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ 0.2 โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ราคาส่งออกลดลงร้อยละ 1.3 และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8
          (4) สาขาเกษตรกรรม ขยายตัวเร่งขึ้นจากร้อยละ 1.4 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นร้อยละ 2.2 โดยที่ปศุสัตว์และพืชผลสำคัญ โดยเฉพาะข้าวนาปรัง ยางพารา ไม้ผล และปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผลผลิตมันสำปะหลัง และกุ้งขาวแวนนาไมลดลง ราคาสินค้าเกษตรสำคัญลดลง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 2.6
          รวมครึ่งแรกของปี 2557 สาขาเกษตรกรรมขยายตัวร้อยละ 1.8 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 และร้อยละ 0.8 ตามลำดับ แต่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 3.4
          (5) สาขาก่อสร้าง หดตัวร้อยละ 3.2 ปรับตัวดีขึ้นจากการหดตัวร้อยละ 11.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นทั้งการก่อสร้างภาครัฐและเอกชน สอดคล้องกับปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ต่อเนื่องจากร้อยละ 0.4 ในไตรมาสแรก
          รวมครึ่งแรกของปี 2557  การผลิตสาขาก่อสร้างหดตัวร้อยละ 7.5 โดยการก่อสร้างภาครัฐหดตัวร้อยละ 7.2 และการก่อสร้างภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 6.5
          (6) สาขาอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 1.6 ปรับตัวดีขึ้นจากการหดตัวร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศยังหดตัว และปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ 29.3 สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมซึ่งหดตัวร้อยละ 5.0 ช้าลงจากการหดตัวร้อยละ 7.1 ในไตรมาสแรก อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 59.5 ต่ำสุดในรอบ 10 ไตรมาส
          รวมครึ่งแรกของปี 2557 การผลิตสาขาอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 2.1 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลง ร้อยละ 6.1 อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 60.7
          (7) สาขาโรงแรมและภัตตาคาร หดตัวร้อยละ 4.2 ต่อเนื่องจากการหดตัวร้อยละ 3.1 ในไตรมาสแรก ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงร้อยละ 12.3 เนื่องจาก (1) การประกาศเตือนพลเมืองของประเทศต่างๆ (2) ปัญหาการไม่คุ้มครองการประกันภัยการเดินทางของนักท่องเที่ยวในช่วงที่มีการบังคับใช้กฎอัยการศึก และ (3) การแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศอื่นๆ ทำให้นักท่องเที่ยวเปลี่ยนจุดหมายปลายทาง สอดคล้องกับรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงร้อยละ 8.4 และอัตราการเข้าพักเฉลี่ยร้อยละ 47.5 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 15 ไตรมาสอย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวจากยุโรป โอเชียเนีย และแอฟริกา ยังขยายตัว
          รวมครึ่งแรกของปี 2557 การผลิตสาขาโรงแรมและภัตตาคารหดตัวร้อยละ 3.6

แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2557
          สศช. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2557 จะขยายตัวร้อยละ 1.5 -  2.0  โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นในครึ่งหลังของปีตามการใช้จ่ายภาครัฐ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักธุรกิจที่ปรับตัวดีขึ้นและส่งผลดีต่อการใช้จ่ายและการลงทุน รวมทั้งการส่งออกจะปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ในการแถลงข่าว เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2557 สศช. ปรับลดค่าการประมาณกรณีสูงลงจากร้อยละ 2.5 ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่  19 พฤษภาคม 2557 เป็นร้อยละ 2.0 เนื่องจาก (1)เศรษฐกิจในไตรมาสที่สองขยายตัวได้ต่ากว่าที่คาดการณ์ไว้เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองยืดเยื้อต่อเนื่อง การส่งออกขยายตัวช้า และการหดตัวของ การจำหน่ายรถยนต์ และ (2) การขยายตัวในครึ่งปีหลังมีแนวโน้มต่ำกว่าศักยภาพ เพราะยังมีข้อจำกัดสำคัญ 4 ประการ คือ ประการแรก การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ล่าช้า และราคาสินค้าส่งออกลดลง ประการที่สอง การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวยังต้องใช้เวลาและตลาดท่องเที่ยวมีการแข่งขันกันมากขึ้นทำให้นักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งเปลี่ยนจุดหมายการเดินทางท่องเที่ยว ประการที่สาม อัตราการใช้กำลังการผลิตที่ยังอยู่ในระดับต่ำและความล่าช้าในการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในช่วงครึ่งปีแรกยังเป็นข้อจำกัดที่สำคัญต่อการขยายตัวของการลงทุน และ ประการที่สี่ การจำหน่ายรถยนต์และการผลิตรถยนต์ยังคงปรับตัวลงจากฐานการจำหน่ายที่สูงในปีก่อน ข้อจำกัดดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่ำ แม้ว่าการแก้ไขปัญหาทางการเมืองจะทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุรกิจและการเบิกจ่ายของภาครัฐดีขึ้นก็ตาม โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. จะขยายตัวร้อยละ 2.0 การบริโภคของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 0.8 การลงทุนรวมหดตัวร้อยละ 2.0 อัตรา เงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วงร้อยละ 1.9 - 2.4 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.6 ของ GDP

1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สองของปี 2557 ในด้านต่างๆ เป็นดังนี้

          - ด้านการใช้จ่าย
          การใช้จ่ายภาคครัวเรือน: ปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากหดตัวติดต่อกัน 3 ไตรมาส ในขณะที่ความเชื่อมั่น ของผู้บริโภคเริ่มปรับตัวดีขึ้นในช่วงปลายไตรมาส ในไตรมาสที่สองของปี 2557 การใช้จ่ายภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 0.2 ปรับตัวดีขึ้นจากการหดตัวร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ราคาคงที่) และปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้าซึ่งขยายตัวร้อยละ 0.1 และร้อยละ 3.1 เทียบกับ การหดตัวร้อยละ 0.3 และร้อยละ 3.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนหดตัวช้าลง ตามปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งซึ่งลดลงร้อยละ 44.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 52.3 ในไตรมาสก่อนหน้า  ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งภายหลังจากการสิ้นสุดมาตรการ คืนภาษีให้กับผู้ซื้อรถยนต์คันแรก การใช้จ่ายในหมวดอื่นๆ ยังได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว โดยเฉพาะการลดลงของราคาสินค้าเกษตร การหดตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว และการลดลงต่อเนื่องของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในช่วงต้นไตรมาสที่สองซึ่งสถานการณ์ทางการเมืองยังมีความเปราะบาง โดยปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค และปริมาณการจำหน่ายเบียร์ หดตัว ร้อยละ 15.2 5.0 และ 4.5 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ในไตรมาสนี้ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 61.2 จากระดับ 60.0 ในไตรมาสแรก เนื่องจากสถานการณ์ ในประเทศที่มีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงปลายไตรมาส1
          รวมครึ่งแรกของปี 2557  การใช้จ่ายภาคครัวเรือนหดตัวร้อยละ 1.4
          การลงทุนภาคเอกชน: ปรับตัวลดลงตามการหดตัวของการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักร และการก่อสร้างในไตรมาสที่สองของปี 2557 การลงทุนภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 7.0 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 7.4 ใน ไตรมาสก่อนหน้า การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรลดลงร้อยละ 7.5 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 7.3 ใน ไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากการลดลงของมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุน และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศที่หดตัวร้อยละ 9.2 และร้อยละ 39.1 ตามลำดับ การลงทุนก่อสร้างลดลงร้อยละ 5.2 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 7.8 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในไตรมาสนี้คิดเป็นมูลค่า 103.4 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 69.4 แต่จำนวนโครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนเริ่มหดตัวช้าลง เป็นร้อยละ 14.9 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 48.4 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากนักลงทุนเริ่มกลับมายื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนมากขึ้นในช่วงปลายไตรมาสภายหลังจากการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนชุดใหม่ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2557 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในไตรมาสนี้ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สี่โดยปรับตัวจากระดับ 47.1 ในไตรมาสก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 47.0 ในไตรมาสนี้ เนื่องจากผู้ประกอบการบางส่วนยังรอประเมินความชัดเจนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและแนวนโยบายต่างๆ  ของภาครัฐ
          รวมครึ่งแรกของปี 2557  การลงทุนภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 7.2 โดยการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรหดตัวร้อยละ 7.4 และการลงทุนก่อสร้างหดตัวร้อยละ 6.5
          การส่งออก: มูลค่าการส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากหดตัวต่อเนื่อง 4 ไตรมาส เนื่องจากปริมาณการส่งออกปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการฟื้นตัวของอุปสงค์ในตลาดสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตามราคาส่งออกยังคงลดลงต่อเนื่องตามการลดลงของราคาสินค้าเกษตร  การส่งออกสินค้าในไตรมาสที่สองของปี 2557 มีมูลค่าทั้งสิ้น 55,765 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 0.4 ปรับตัวดีขึ้นจากการหดตัวร้อยละ 0.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ในขณะที่ราคาสินค้าส่งออกลดลงร้อยละ 0.9 เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.2 และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท การส่งออกมีมูลค่า 1,810,003 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 8.8 ในไตรมาสก่อนหน้า
          รวมครึ่งแรกของปี 2557 การส่งออกสินค้าคิดเป็นมูลค่า 111,338 ล้านดอลลาร์ สรอ. หดตัวร้อยละ 0.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.0 ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 แต่ราคาส่งออกลดลงร้อยละ 1.3 และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท การส่งออกมีมูลค่ารวม 3,624,544 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 3.2 ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
          การส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 2.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการหดตัวร้อยละ 2.0 ในไตรมาสแรก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานการขยายตัวที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และการเพิ่มขึ้นของปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตร (ขยายตัวร้อยละ 16.1) โดยเฉพาะข้าว และมันสำปะหลัง แต่ราคาส่งออกสินค้าสำคัญๆ เช่น ข้าว ยางพารา และมันสำปะหลังยังคงลดลงต่อเนื่อง และส่งผลให้ราคาส่งออกสินค้าเกษตรโดยรวมลดลงร้อยละ 11.6 การส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญๆ ประกอบด้วย ข้าว มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.5 เนื่องจากปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.8 ตามการเร่งระบายข้าวของรัฐบาล เช่นเดียวกับมูลค่าการส่งออก  มันส่าปะหลัง ที่ขยายตัวร้อยละ 14.2 เนื่องจากปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกไปยัง ประเทศจีนซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญและมีความต้องการมันสำปะหลังเพื่อผลิตเอทานอลเพิ่มขึ้น มูลค่าการส่งออกยางพาราลดลงร้อยละ 24.0 โดยราคาส่งออกลดลงร้อยละ 28.9 เนื่องจากสต็อกยางพาราของจีนซึ่งเป็น ผู้นำเข้าหลักของโลกยังอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 มูลค่าการส่งออกน่าตาลลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 ที่ร้อยละ 29.8 เนื่องจากการลดลงของทั้งปริมาณและราคา สินค้าอุตสาหกรรมหดตัวเล็กน้อย เนื่องจากอุปสงค์ในตลาดโลกยังฟื้นตัวอย่างช้าๆ รวมทั้งข้อจำกัดของภาคการผลิตสินค้าสำคัญๆ ซึ่งทำให้ปริมาณและมูลค่าการส่งออกหดตัวร้อยละ 0.2 และร้อยละ 0.3 ตามลำดับ สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง ได้แก่ กุ้ง ปูกระป๋องและแปรรูป ยานยนต์ และผลิตภัณฑ์โลหะ อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญๆ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ปิโตรเคมี และเครื่องจักรและอุปกรณ์ ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ โดยขยายตัวร้อยละ 2.0 11.2 และร้อยละ 10.0 ตามลำดับ สินค้าประมงขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ไตรมาส ที่ร้อยละ 2.3 ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากฐานการขยายตัวที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
          ตลาดส่งออก: การส่งออกไปตลาดหลักขยายตัวต่อเนื่องทั้งสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป (15) แต่การส่งออกไปตลาดญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้หดตัว สอดคล้องกับการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจโลก ที่ยังกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม ในขณะที่เศรษฐกิจจีนและเอเซียยังอยู่ในภาวะฟื้นตัวอย่างช้าๆ การส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป (15) ขยายตัวร้อยละ 4.9 และร้อยละ 11.0 เร่งตัวขึ้นจาก การขยายตัวร้อยละ 0.6 และร้อยละ 4.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจยูโรโซน อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น และจีน หดตัวร้อยละ 6.3 และร้อยละ 4.2 ตามลำดับ ตามภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นและเศรษฐกิจจีน ในขณะที่การส่งออกไปยังตลาดออสเตรเลียหดตัวต่อเนื่องร้อยละ 20.3 โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเหล็กและเหล็กกล้า เช่นเดียวกับการส่งออกไปยังตลาดเกาหลีใต้ที่ยังคงหดตัวต่อเนื่องร้อยละ 3.9
          การนำเข้า: ปริมาณการนำเข้าปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สี่ ตามอุปสงค์ในประเทศและการส่งออกที่ยังฟื้นตัวอย่างช้าๆ รวมทั้งการปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นหลายแห่งซึ่งส่งผลให้มีการน่าเข้าน้ำมันดิบลดลง ในขณะที่ราคานำเข้าลดลง จึงส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าหดตัวต่อเนื่อง ในไตรมาสที่สองของปี 2557 การนำเข้ามีมูลค่าทั้งสิ้น 49,835 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 11.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 14.8 ใน ไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 11.7 และเป็นการลดลงในทุกหมวดสินค้าโดยเฉพาะสินค้าวัตถุดิบและสินค้าทุน ในขณะที่ราคานำเข้าลดลงร้อยละ 0.2 ปรับตัวดีขึ้นจากการหดตัวร้อยละ 1.4  ในไตรมาสก่อนหน้า เมื่อหักการนำเข้าทองคำแล้ว มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 9.4  ในรูปของเงินบาท การนำเข้ามีมูลค่ารวม 1,617,271 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 6.6 ในไตรมาสก่อนหน้า
          รวมครึ่งแรกของปี 2557 การนำเข้าสินค้าคิดเป็นมูลค่า 98,889 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 13.3 โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 12.7 ราคานำเข้าลดลงร้อยละ 0.8 และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท การนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 3,220,097 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.4 ในรายหมวด มูลค่าสินค้านำเข้าลดลงในทุกหมวด โดยมูลค่าการน่าเข้าหมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง ลดลงร้อยละ 10.0 สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง ได้แก่ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ สินแร่ วัสดุก่อสร้าง วัสดุที่ทำด้วยโลหะ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น สอดคล้องกับภาวะการผลิตภาคอุตสาหกรรม และการลงทุนในประเทศ รวมทั้งการปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นหลายแห่งซึ่งส่งผลให้มีการนำเข้าน้ำมันดิบลดลง มูลค่าการน่าเข้าหมวดสินค้าทุนลดลงร้อยละ 9.2 สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง ได้แก่ คอมพิวเตอร์ เครื่องจักรกลอื่นๆ และชิ้นส่วน อากาศยาน เรือ แท่น และรถไฟ มูลค่าการนำเข้าหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ลดลงร้อยละ 4.5 สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์และประมง เครื่องประดับ (ยกเว้นไข่มุกและอัญมณี) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์เซรามิก เป็นต้น สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าขยายตัว ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์นม
          อัตราการค้า (Term of Trade): อยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากราคาส่งออกลดลงร้อยละ 0.9 ในขณะที่ราคานำเข้าลดลงร้อยละ 0.2 ทำให้อัตราการค้าในไตรมาสที่สองของปี 2557 อยู่ที่ 101.6 เทียบกับ 101.2 ในไตรมาสก่อนหน้า
          รวมครึ่งแรกของปี 2557  อัตราการค้าอยู่ที่ 101.4 เทียบกับอัตรา 101.9 ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า  โดยราคาส่งออกลดลงร้อยละ 1.3 ราคานำเข้าลดลงร้อยละ 0.8
          ดุลการค้า: เกินดุลต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4  ดุลการค้าในไตรมาสที่สองของปี 2557 เกินดุล 5,930 ล้านดอลลาร์ สรอ. (192,732 ล้านบาท) เทียบกับการเกินดุล 6,519 ล้านดอลลาร์ สรอ. (211,715  ล้านบาท) ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกเริ่มขยายตัว ในขณะที่มูลค่าการนำเข้ายังปรับตัวลดลงต่อเนื่อง
          รวมครึ่งแรกของปี 2557  ดุลการค้าเกินดุล 12,449 ล้านดอลลาร์ สรอ. (404,448 ล้านบาท) เทียบกับการขาดดุล 2,500 ล้านดอลลาร์ สรอ. (73,748 ล้านบาท) ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

          - ด้านการผลิต
          สาขาเกษตรกรรม: ขยายตัวตามผลผลิตข้าวนาปรัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อย ไม้ผลและปศุสัตว์  ในไตรมาสที่สอง การผลิตสาขาเกษตรขยายตัวเร่งขึ้นจากร้อยละ 1.4 ในไตรมาสก่อน เป็นร้อยละ 2.2  ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าวนาปรัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อย ไม้ผลและปศุสัตว์ ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก (1) ปริมาณน้ำชลประทานเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปรังสูงกว่าปีก่อน (2) ผลผลิตข้าวโพดเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตต่อไร่ (3) พื้นที่ให้ผลผลิตยางพาราและปาล์มเพิ่มขึ้น (4) สภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการผลิตไม้ผล และ (5) ผลผลิตปศุสัตว์เพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ผลผลิตมันสำปะหลัง และกุ้งขาวแวนนาไมลดลง เนื่องจาก การปรับเปลี่ยนพื้นที่เพื่อปลูกอ้อยทดแทนการปลูกมันสำปะหลังและการฟื้นตัวของผลผลิตกุ้งขาวแวนนาไม จากปัญหาโรคตายด่วนยังเป็นไปอย่างล่าช้า รวมทั้งไตรมาส ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 2อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 6.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.1 ในไตรมาสแรก เนื่องจาก (1) การเร่งระบายสต็อกข้าวรัฐบาล (2) ผลผลิตยางพาราโลกเพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการซื้อ ของประเทศจีนลดลง ประกอบกับสต็อกยางพาราของไทยและจีนอยู่ในระดับสูง และ (3) การชะลอตัวของราคาปาล์มน้ำมันและกุ้ง การลดลงของราคาสินค้าเกษตรส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 2.6  เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.2 ในไตรมาสแรกของปี
          รวมครึ่งแรกของปี 2557 การผลิตสาขาเกษตรกรรมขยายตัวร้อยละ 1.8 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 และร้อยละ 0.8 ตามลำดับ แต่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 3.4
          สาขาอุตสาหกรรม: ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ห้า แต่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนตามการเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออก ในไตรมาสที่สอง การผลิตสาขาอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 1.6 ปรับตัว ดีขึ้นจากการหดตัวร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อน โดยอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกขยายตัวร้อยละ 0.8 ซึ่งเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส ตามการเพิ่มขึ้นของการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของความต้องการใช้ในระบบ Cloud Computing 3ของสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศยังคงหดตัว โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30 หดตัวร้อยละ 0.9 เนื่องจากการหดตัวของผลผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ (ร้อยละ 3.2) มอลต์ลิกเคอและมอลต์ (ร้อยละ 5.3) เส้นใยสิ่งทอ (ร้อยละ 5.4) และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 30-60 หดตัวร้อยละ 21.2 ตามภาวะการผลิตรถยนต์ที่ยังหดตัวถึงร้อยละ 29.3 รวมทั้งไตรมาส ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 5.0 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการหดตัวร้อยละ 7.1 ในไตรมาสแรก อุตสาหกรรมการผลิตที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องหนัง (ร้อยละ 3.0) ปิโตรเลียม (ร้อยละ 2.5) เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี (ร้อยละ 1.3) ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก (ร้อยละ 4.2) อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 10.4) และฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (ร้อยละ 2.2) อุตสาหกรรมการผลิตที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม (ร้อยละ 4.8) สิ่งทอ (ร้อยละ 3.1) เครื่องแต่งกาย (ร้อยละ 2.4) เครื่องจักรและอุปกรณ์ (ร้อยละ 7.4) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า (ร้อยละ 7.1) และยานยนต์ (ร้อยละ 29.3) การ หดตัวของการผลิตในอุตสาหกรรมสำคัญสอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยร้อยละ 59.5 ต่ำกว่าร้อยละ 64.0 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเป็นอัตราการใช้กำลังการผลิตต่ำสุดในรอบ 10 ไตรมาส
          รวมครึ่งแรกของปี 2557 การผลิตสาขาอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 2.1 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 6.1 อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 60.7
          สาขาก่อสร้าง: ปรับตัวดีขึ้นทั้งการก่อสร้างภาครัฐและเอกชน ในไตรมาสที่สอง การผลิตสาขาก่อสร้างลดลงต่อเนื่องร้อยละ 3.2 แต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการหดตัวร้อยละ 11.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการก่อสร้างภาครัฐและเอกชนหดตัวร้อยละ 0.3 และร้อยละ 5.2 ตามลำดับ ปรับตัวดีขึ้นจากการหดตัวร้อยละ 14.3 และร้อยละ 7.8 ในไตรมาสแรก สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เทียบกับร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อนหน้า สำหรับราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ตามการเพิ่มขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบและค่าแรง
          รวมครึ่งแรกของปี 2557 การผลิตสาขาก่อสร้างหดตัวร้อยละ 7.5 โดยการก่อสร้างภาครัฐหดตัวร้อยละ 7.2 และการก่อสร้างภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 6.5
          สาขาอสังหาริมทรัพย์: หดตัวตามการชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่ของผู้ประกอบการ เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจและสถานการณ์ทางการเมืองส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุน ในไตรมาสที่สอง การผลิตสาขาอสังหาริมทรัพย์หดตัวร้อยละ 0.7 แต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการหดตัวร้อยละ 1.6 ในไตรมาสแรก ในด้านอุปสงค์ การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลอยู่ในภาวะทรงตัว แต่ยอด คงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 10.3 ในด้านอุปทานที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนลดลงร้อยละ 23.2 และจำนวนโครงการอสังหาริมทรัพย์เปิดตัวใหม่ลดลงร้อยละ 16.9 ทั้งอาคารพาณิชย์อาคารชุด และทาวน์เฮ้าส์ ซึ่งลดลงร้อยละ 65.7 ร้อยละ 24.6 และร้อยละ 20.8 ตามลำดับ โดยมีสาเหตุสำคัญจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในภาวะชะลอตัวและสถานการณ์ทางการเมืองในช่วง  2 เดือนแรกของไตรมาสที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุน ในด้านราคา  ราคาที่ดินและราคาที่อยู่อาศัยปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะราคาที่ดินและอาคารชุดซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 และร้อยละ 9.7 ตามลำดับ
          รวมครึ่งแรกของปี 2557 สาขาอสังหาริมทรัพย์หดตัวร้อยละ 1.2
          สาขาโรงแรมและภัตตาคาร: หดตัวเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมือง ในไตรมาสที่สอง การผลิตสาขาโรงแรมและภัตตาคาร หดตัวร้อยละ 4.2 ต่อเนื่องจากการหดตัวร้อยละ 3.1 ในไตรมาสแรกเนื่องจากการประกาศเตือนพลเมืองของประเทศต่างๆ ที่เป็นตลาดท่องเที่ยวของไทย การจำกัดเวลาออกนอกเคหะสถาน ปัญหาการไม่คุ้มครองการประกันภัยการเดินทางของนักท่องเที่ยวในช่วงที่มีการบังคับใช้ กฎอัยการศึก รวมทั้งการแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศอื่นๆ ทำให้นักท่องเที่ยวเปลี่ยนจุดหมายปลายทาง  การหดตัวของการผลิตสาขาโรงแรมและภัตตาคาร สอดคล้องกับการลดลงของเครื่องชี้สำคัญๆ ประกอบด้วย (1) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมีจำนวน 5.3 ล้านคน ลดลงร้อยละ 12.3 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 7.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นการลดลงของนักท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย อเมริกา และตะวันออกกลาง (2) รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติมีมูลค่าประมาณ 2.6 แสนล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.4 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 4.2 ในไตรมาสก่อนหน้า และ (3) อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 47.5 ลดลงจากร้อยละ 60.3 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นอัตราการเข้าพักเฉลี่ยต่ำสุดในรอบ 15 ไตรมาส (ตั้งแต่ไตรมาสที่สาม ปี 2553)
          เป็นที่น่าสังเกตว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางผ่านด่านสำคัญลดลงในเกือบทุกแห่งโดยเฉพาะ ด่านสุวรรณภูมิ (ลดลงร้อยละ 24.4) ดอนเมือง (ลดลงร้อยละ 10.8) และภูเก็ต (ลดลงร้อยละ 0.9) ในขณะที่สมุย และเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 407.3 และร้อยละ 71.1 ตามลำดับ รวมนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางผ่านด่านในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลลดลงร้อยละ 22.6 และด่านในภูมิภาคเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9
          อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรป โอเชียเนีย และแอฟริกายังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ร้อยละ 3.6 และร้อยละ 6.1 ตามลำดับ โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ลาว สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี และออสเตรเลีย ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.0 ร้อยละ 15.2 ร้อยละ 10.2  ร้อยละ 10.0 และร้อยละ 5.1 ตามลำดับ
          รวมครึ่งแรกของปี 2557 การผลิตสาขาโรงแรมและภัตตาคารหดตัวร้อยละ 3.6
          สาขาการค้าส่งค้าปลีก: เพิ่มขึ้นตามการปรับตัวดีขึ้นของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและรัฐบาล รวมทั้ง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น ในไตรมาสที่สอง การค้าส่งค้าปลีกขยายตัวร้อยละ 0.3 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ในด้านการค้าส่ง การค้าส่งในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์หดตัวช้าลง ในขณะที่การค้าส่งในหมวดวัตถุดิบการเกษตร อาหาร เชื้อเพลิง วัสดุก่อสร้าง ขยายตัวเร่งขึ้น ในด้านการค้าปลีกการค้าปลีกหมวดอาหารและเครื่องดื่มและห้างสรรพสินค้าขยายตัว ในขณะที่การค้าปลีกหมวดรถยนต์และเชื้อเพลิงหดตัวช้าลง การปรับตัวดีขึ้นของสาขาการค้าส่งและค้าปลีก สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นในช่วงปลายไตรมาส และส่งผลให้ดัชนีเฉลี่ยทั้งไตรมาสอยู่ที่ระดับ 61.2 เทียบกับระดับ 60.0 ในไตรมาสแรก
          รวมครึ่งแรกของปี 2557  การผลิตสาขาค้าส่งค้าปลีกหดตัวร้อยละ 0.1
          การจ้างงาน: ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ ในขณะที่การว่างงานเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับต่ำ ในไตรมาสที่สอง การจ้างงานมีจำนวน 37.81 ล้านคน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.2 โดยการจ้างงานภาคเกษตรลดลงจำนวน 391,757 คน (ลดลงร้อยละ3.1) เนื่องจากภูมิอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยและระดับราคาสินค้าเกษตรที่ไม่จูงใจในการเพิ่มปริมาณการเพาะปลูกส่วนการจ้างงานนอกภาคเกษตรลดลงจำนวน 61,410 คน (ลดลงร้อยละ 0.2) เนื่องจาก (1) สาขาก่อสร้างจ้างงานลดลง 152,117 คน หรือลดลงร้อยละ 6.0 ตาม การหดตัวของการก่อสร้างภาครัฐและเอกชนซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ทางการเมืองส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุน (2) สาขาค้าปลีกและค้าส่งจ้างงานลดลง 177,997 คน หรือลดลงร้อยละ 2.8 สอดคล้องกับการหดตัวของดัชนีค้าปลีกและค้าส่งร้อยละ 7.8 และร้อยละ 7.0 ตามลำดับ และ (3) สาขาโรงแรมและภัตตาคารจ้างงานลดลง 35,163 คน หรือลดลงร้อยละ 1.3 สอดคล้องกับการหดตัวของสาขาโรงแรมและภัตตาคารและจำนวนนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี สาขาอุตสาหกรรมมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 84,397 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 โดยส่วนใหญ่เป็นการจ้างงานในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์
          สำหรับผู้ว่างงานเฉลี่ยในไตรมาสนี้มีจำนวน 385,700 คน เพิ่มขึ้น 97,654 คน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.0
          เฉลี่ยครึ่งแรกของปี 2557  การจ้างงานลดลงร้อยละ 0.8 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.9

          - ด้านการคลัง
          การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลต่ากว่าประมาณการและต่ากว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ในไตรมาสที่สามของปีงบประมาณ 2557 (เมษายน - มิถุนายน 2557) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 611,514.1 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ และต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ  4.7 และ 13.4 ตามลำดับ ตามการลดลงของการจัดเก็บภาษีจากฐานการบริโภค และฐานรายได้ ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจาก (1) เศรษฐกิจที่ยังอยู่ในช่วงการฟื้นตัวอย่างช้าๆ (2) การปรับลดอัตราภาษีเงินได้ และการขยายฐานภาษีไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และ (3) การลดลงของการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ เนื่องจากการหดตัวของปริมาณจำหน่ายรถยนต์ในช่วงหลังนโยบายคืนภาษีให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์คันแรก
          รวม 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,552,635.6 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการและช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.2 และร้อยละ 6.6 ตามลำดับ
          การเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ ในไตรมาสที่สามของปีงบประมาณ 2557 (เมษายน-มิถุนายน) รัฐบาลมีการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 641,847.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14.4 แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 435,178.9 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4) และรายจ่ายลงทุน 206,668.3 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.6) โดยจำแนกเป็น (1) งบประมาณรายจ่ายประจ่าปีงบประมาณ 2557  ในไตรมาส ที่สามมีการเบิกจ่ายจำนวน 476,772.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 5.4 มีอัตราเบิกจ่ายอยู่ที่ร้อยละ 18.9 ของวงเงินงบประมาณ ต่ำกว่าเป้าหมายซึ่งกำหนดไว้ที่ร้อยละ 24 โดยเป็น การเบิกจ่ายรายจ่ายประจำ 418,532.1 ล้านบาท (อัตราเบิกจ่ายอยู่ที่ร้อยละ 20.0 ใกล้เคียงกับอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 20.2 ในไตรมาสเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว) และการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน 58,240.4  ล้านบาท (อัตราการเบิกจ่ายอยู่ที่ร้อยละ 13.6 สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 12.6 ในไตรมาสเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว) ซึ่งแม้ว่าจะมีมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายของภาครัฐ เช่น การปรับปรุงกฎระเบียบเงื่อนไขในการจัดซื้อจัดจ้างโครงการภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้นก็ตาม แต่การเร่งรัดการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนยังมีอุปสรรคที่ทำให้อัตราการเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามเป้าหมายโดยเฉพาะการเบิกจ่ายของหน่วยงานที่มีการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ เนื่องจากมีปัญหาการขาดแคลนผู้รับจ้าง การเปลี่ยนแบบก่อสร้าง ความล่าช้าในขั้นตอนการประกวดราคา และการยินยอมให้ดำเนินโครงการจากประชาชนในบางพื้นที่ นอกจากนี้การเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในช่วงสองไตรมาสก่อนหน้ายังส่งผลให้การเบิกจ่ายในไตรมาสนี้ลดลง (2) งบประมาณกันไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 38,017.3 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.1 (อัตราการเบิกจ่ายอยู่ที่ ร้อยละ 12.6) เนื่องจากปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการลงทุน เช่น การขาดแคลนผู้รับจ้าง การเปลี่ยนแบบก่อสร้าง ความล่าช้าในขั้นตอนการประกวดราคา  (3) เงินกู้นอกงบประมาณ มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 3,087.9 ล้านบาท ประกอบด้วย เงินกู้ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 217.8 ล้านบาท เงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน (Development Policy Loan: DPL) 1,551.8 ล้านบาท และเงินกู้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 จำนวน 1,318.3 ล้านบาท และ (4) งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ (รวมบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)) คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนจำนวน 123,969.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 53,501.2 ล้านบาท สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 75.9 โดย ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
          รวม 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557  การใช้จ่ายภาครัฐอยู่ที่ 2,205,739.7 ล้านบาท ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.1 โดยเป็นรายจ่ายประจำ 1,594,206.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 รายจ่ายลงทุน 611,533.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.9 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยทางการเมืองที่ ส่งผลกระทบต่อการเบิกจ่ายของรัฐบาลโดยเฉพาะความล่าช้าของการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน รวมถึงปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการลงทุน
          ฐานะการคลัง: ในไตรมาสที่สามของปีงบประมาณ 2557 รัฐบาลเกินดุลการคลังตามระบบกระแสเงินสดจำนวน 180,426.4 ล้านบาท โดยเป็นการเกินดุลงบประมาณ 109,229.5 ล้านบาท การเกินดุลเงิน นอกงบประมาณ 10,200.5 ล้านบาท ทั้งนี้รัฐบาลได้มีการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 57,727 ล้านบาท
          รวม 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557  รัฐบาลขาดดุลงบประมาณ และขาดดุลเงินนอกงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 340,848 ล้านบาท และ 60,809 ล้านบาท ตามลำดับ โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการ ขาดดุลรวมทั้งสิ้น 187,887 ล้านบาท (กรอบวงเงินการขาดดุลประจำปีงบประมาณ 2557 เท่ากับ 250,000 ล้านบาท) ส่งผลให้ฐานะเงินคงคลัง ณ สิ้นงวด มีจำนวน 391,282 ล้านบาท
          หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2557 มีจำนวน 5,642,430.04 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 46.6 ของ GDP) เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 0.3 โดยจำแนกเป็น หนี้ของรัฐบาล 3,933,234.3 ล้านบาท  หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 1,084,682.35 ล้านบาท  และหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 620,861.22 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 69.7 ร้อยละ 19.2 และร้อยละ 11.0 ของ หนี้สาธารณะคงค้าง ตามลำดับ

          - ด้านการเงิน
          อัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัว ในไตรมาสที่สองของปี 2557  คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2 ต่อปี ตลอดทั้งไตรมาส หลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในเดือนมีนาคม 2557 เนื่องจากประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2 ต่อปี เป็นระดับที่ผ่อนคลายเพียงพอในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย หลังจากที่สถานการณ์ทางการเมืองได้คลี่คลายลงและการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 สามารถดำเนินการ ได้ทันตามกำหนด ทั้งนี้ ประเทศอุตสาหกรรมหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำ ยกเว้นสหภาพยุโรปที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่วนธนาคารกลางของประเทศในภูมิภาคอาเซียนส่วนใหญ่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม ยกเว้นธนาคารกลางเกาหลีใต้ที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี (เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557) ทั้งนี้ เมื่อวันที่  6 สิงหาคม 2557 กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2 ต่อปี เนื่องจากเห็นว่านโยบายการเงิน ผ่อนปรนในระดับปัจจุบัน ยังมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของประเทศ ยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้
          อัตราดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ยและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสที่สองของปี 2557 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 0.10 เป็นร้อยละ 1.85 ต่อปี โดยมีสาเหตุมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบชั่วคราวของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่หนึ่งแห่งในเดือนมิถุนายน ก่อนที่จะปรับลดลงมาอยู่ระดับเดิมในเดือนกรกฎาคม ในขณะที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ อีกสามแห่ง ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเงินฝากประจำ 12 เดือนไว้ที่ระดับเดิม อัตราดอกเบี้ย MLR เฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่งทรงตัวที่ระดับร้อยละ 6.75 ต่อปีจากไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ทรงตัว สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดกลาง และสถาบันการเงินเฉพาะกิจปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 0.19 และ 0.10 ตามลำดับ เป็นร้อยละ 1.83 และ 2.24 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ย MLR ของธนาคารพาณิชย์ขนาดกลาง และสถาบันการเงินเฉพาะกิจทรงตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.17 และ 6.92 ต่อปี ตามลำดับ
          อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงปรับตัวลดลงจากร้อยละ 0.36 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นร้อยละ 0.50 ต่อปี  ซึ่งสอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงที่ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 4.64 เป็นร้อยละ 4.40 ต่อปี เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น
          เงินฝากและการลงทุนในตั๋วแลกเงิน (B/E) ของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 3.6 ชะลอตัวลงมากจากร้อยละ 6.4 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ได้ลดระดับการเร่งระดมเงินฝากลง โดยการคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไว้ในระดับต่ำ ตามการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจที่ยังได้รับผลกระทบจากปัจจัย ทั้งภายในและนอกประเทศ ส่งผลให้ผู้ฝากเงินได้ปรับเปลี่ยนการออมไปเป็นการลงทุนในสินทรัพย์อื่นที่ได้รับผลตอบแทนสูงกว่าโดยเฉพาะการลงทุนในกองทุนรวมที่มีผลตอบแทนค่อนข้างสูงในไตรมาสนี้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีหลังเงินฝากมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นตามการแข่งขันระดมเงินฝากเพื่อรองรับการขยายตัว ของสินเชื่อ เนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น
          สินเชื่อภาคเอกชน (ไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับ) ของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราชะลอตัวลงจากร้อยละ 8.1 ในไตรมาสก่อนหน้าเป็นร้อยละ 5.2 ในไตรมาสที่สอง ซึ่งเป็นการชะลอตัวทั้งสินเชื่อภาคธุรกิจและครัวเรือน โดยสินเชื่อภาคธุรกิจขยายตัวร้อยละ 5.2 เทียบกับร้อยละ 8.3 ในไตรมาสที่แล้ว ซึ่งเป็นการชะลอตัวในทุกสาขาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาธุรกิจการเกษตรและอุตสาหกรรมการผลิตที่ชะลอตัวลงค่อนข้างมาก ประกอบกับสินเชื่อภาคการเงินหดตัว ส่วนสินเชื่อครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 8.9 เทียบกับร้อยละ 11.4 ในไตรมาสก่อน โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการหดตัวของสินเชื่อเพื่อการซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ อย่างไรก็ตาม สินเชื่อในการจัดหาที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเพื่อการศึกษาและการเดินทางไปต่างประเทศยังคงขยายตัวได้ดี การชะลอตัวลงของสินเชื่อภาคธุรกิจและครัวเรือนในไตรมาสที่สอง ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากความเข้มงวดของมาตรฐานการให้สินเชื่อตามความกังวลของสถาบันการเงินต่อภาวะเศรษฐกิจ และภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ในขณะที่ความต้องการสินเชื่อ SME ปรับตัวลดลง ในด้านสินเชื่อบัตรเครดิต จำนวนบัตรเครดิตและยอดสินเชื่อคงค้างยังคงเพิ่มขึ้นโดยมูลค่าการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของคนไทยในไตรมาสนี้ขยายตัวเร่งขึ้นเล็กน้อยเป็นร้อยละ 8.9 แม้ว่าจะมีฐานสูงในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.3 แต่เมื่อพิจารณารายสาขาพบว่า NPL ในสาขาอุตสาหกรรม อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง สินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่อส่วนบุคคลเร่งตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีหลังสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นตามการปรับตัวดีขึ้นของความเชื่อมั่นและบรรยากาศการลงทุนภายหลังปัญหาการเมืองคลี่คลายลง ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้น ผลประกอบการธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสนี้มีกำไรสุทธิ 59.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการลดลงของการแข่งขันระดมเงินฝากและภาระการกันเงินสำรอง
          สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับ การปรับตัวลดลงของสภาพคล่องส่วนเกิน4 โดยสัดส่วนสินเชื่อ (ไม่รวมเงินให้กู้ยืมผ่านธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร) ต่อเงินฝากที่รวมตั๋วแลกเงินของธนาคารพาณิชย์ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 100.6 ในไตรมาสแรก เป็นร้อยละ 102.6 เนื่องจากเงินฝากชะลอตัวลงมากกว่าสินเชื่อ สอดคล้องกับสภาพคล่องส่วนเกินที่ปรับตัวลดลงจาก 1,389.0 พันล้านบาท มาอยู่ที่ 1,251.3 พันล้านบาท
          ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนตามสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศเป็นส่าคัญ ในไตรมาสที่สอง  ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนตลอดทั้งไตรมาส โดยปรับตัวอ่อนค่าลงในช่วงสองเดือนแรกของไตรมาส ตามสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ค่าเงินบาทเฉลี่ยอ่อนค่ามากสุดเป็น 32.86 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. ก่อนที่จะปรับตัวแข็งค่าขึ้น หลังจากสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายลงและทำให้นักลงทุน มีความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมากขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินบาทเฉลี่ยทั้งไตรมาสแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 32.45 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. หรือแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.65 จากไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตามการปรับลด ขนาดมาตรการ QE อย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำให้ค่าเงินบาทเฉลี่ยในไตรมาสที่สอง ยังคงอ่อนค่าร้อยละ 8.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า รวมครึ่งแรกของปี 2557  ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 32.56 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
          ในเดือนกรกฎาคม 2557 เงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องเป็นเฉลี่ย 32.10 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. (แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.26 จากเดือนก่อนหน้า) และในช่วงวันที่ 1-15 สิงหาคม เงินบาทยังทรงตัวอยู่ที่ 32.10 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
          ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับสกุลเงินของประเทศคู่ค้า/คู่แข่งอื่นๆ5 ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าและช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย ณ สิ้นไตรมาสที่สองของปี 2557 ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อยู่ที่ 102.61 แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.69 และร้อยละ 3.95 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าและช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง (REER) ซึ่งแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.79 และร้อยละ 4.56 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ
          เงินทุนเคลื่อนย้ายยังเป็นการไหลออกสุทธิแต่ลดลงมากจากไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสที่สอง ของปี 2557 มีเงินทุนไหลออกสุทธิ 0.73 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงมากเมื่อเทียบกับการไหลออกสุทธิ 6.12 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากการปรับเปลี่ยนฐานะของการเคลื่อนย้ายเงินทุนของภาครัฐและภาคธนาคารจากการไหลออกสุทธิในไตรมาสก่อนหน้าเป็นการไหลเข้าสุทธิในไตรมาสที่สองและการเพิ่มขึ้นของเงินทุนไหลเข้าสุทธิของธนาคารแห่งประเทศไทย อย่างไรก็ตาม นักลงทุนไทยยังคงเพิ่มการลงทุนในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อแสวงหาผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนในประเทศ ทั้งการลงทุนโดยตรงและการลงทุนในหลักทรัพย์ ส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายโดยรวมยังคงเป็นการไหลออกสุทธิ  รวมครึ่งแรกของปี 2557 เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออกสุทธิ 6.85 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
          ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ (SET index) เคลื่อนไหวผันผวนในทิศทางที่เพิ่มขึ้นตลอดทั้งไตรมาส ใน ไตรมาสที่สอง SET Index เคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 1,369.6 จุด- 1,493.1 จุด ณ สิ้นไตรมาสที่สอง SET Index ปิดที่ 1,376.3 จุด เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นไตรมาสแรก ร้อยละ 8.0 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นเป็น 38.9 พันล้านบาท แม้ว่านักลงทุนต่างชาติจะมียอดขายสุทธิ 20.2 พันล้านบาท เนื่องจากความกังวลต่อปัญหาการเมืองที่รุนแรงมากขึ้นในเดือนพฤษภาคมก็ตาม แต่นักลงทุนสถาบันยังคงซื้อสุทธิ 28.0 พันล้านบาท เนื่องจากการให้น้ำหนักความสำคัญกับการลดขนาดมาตรการ QE อย่างต่อเนื่อง (เดือนละ 10,000  ล้านเหรียญ สรอ.) และการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ มากกว่าสถานการณ์การเมืองภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ยอดขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติลดลงมากในเดือนมิถุนายนหลังจากสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายลง ส่งผลให้ดัชนีราคาในภาพรวมยังคงปรับเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกับ ตลาดหลักทรัพย์อื่นในภูมิภาค รวมครึ่งแรกของปี 2557 SET index ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 41.0 พันล้านบาท
          ในเดือนกรกฎาคม 2557  SET Index ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 1,548.2 จุด ซึ่งเป็นจุดสูงสุดในปี 2557  ก่อนที่จะปรับตัวลดลงมาปิดที่ 1,502.4 จุด ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม โดยมีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 49.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนมิถุนายน โดยนักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 13.8 พันล้านบาท  สะท้อนการปรับตัวดีขึ้นของความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ในขณะที่นักลงทุนสถาบันมียอดขายสุทธิ 15.2 พันล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการขายเพื่อทำกำไรจากดัชนีราคาที่เพิ่มขึ้น ล่าสุดวันที่ 1- 15 สิงหาคม SET Index ยังคงเคลื่อนไหวผันผวนตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลก และนักลงทุนมีการซื้อขายเพื่อทำกำไรและลดความเสี่ยงจากดัชนีที่ปรับตัวสูงขึ้นมากจากต้นปี
          มูลค่าการซื้อขายพันธบัตรปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ มูลค่าซื้อขายเฉพาะธุรกรรมซื้อขายขาด (Outright Transaction) เฉลี่ยต่อวันในไตรมาสที่สองอยู่ที่ 87.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 75.2 พันล้านบาท ในไตรมาสแรก โดยนักลงทุนต่างชาติกลับมามียอดซื้อสุทธิ 69.3 พันล้านบาท เทียบกับยอดขายสุทธิ 0.3 พันล้านบาท ในไตรมาสแรก ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดอื่นๆ ในภูมิภาค ภายหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงขนาดการปรับลดมาตรการ QE ไว้ที่ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือนอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับ การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.25 ต่อปี ซึ่งส่งผลให้ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับ ที่จูงใจให้เงินไหลเข้ามาลงทุนในภูมิภาค แม้ว่าสถานการณ์การเมืองจะส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติมีการขายสุทธิ 37.2 พันล้านบาท ในเดือนพฤษภาคมก็ตาม แต่เมื่อสถานการณ์ผ่อนคลายลงนักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ อีกครั้ง โดยในเดือนมิถุนายนนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิ 64.8 พันล้านบาท ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล (Yield) ณ สิ้นไตรมาส ปรับตัวลดลงเกือบทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะพันธบัตรอายุระยะปานกลางและระยะยาว เนื่องจากความต้องการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ยังคงอยู่ในระดับสูง และการคาดการณ์ ของนักลงทุนเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่เหลือของปี 2557 ว่าจะยังคงอยู่ในระดับเดียวกับในช่วงครึ่งปีแรกรวมครึ่งแรกของปี 2557  นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 69.0 พันล้านบาท
          ในเดือนกรกฎาคม 2557 มูลค่าซื้อขายเฉพาะธุรกรรมซื้อขายขาดเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 79.3 พันล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากมูลค่าการซื้อขายในเดือนมิถุนายน 2557 โดยนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 170.2 พันล้านบาท เนื่องจากการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดในภูมิภาค
          ดุลบัญชีเดินสะพัด: ในไตรมาสที่สองของปี 2557 บัญชีเดินสะพัดเกินดุล 409 ล้านดอลลาร์ สรอ. (หรือเท่ากับ 13,441 ล้านบาท) น้อยกว่าการเกินดุล 8,226 ล้านดอลลาร์ สรอ. (หรือเท่ากับ 267,929 ล้านบาท) ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการเกินดุลการค้า 5,930 ล้านดอลลาร์ สรอ. และการขาดดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิ 5,521 ล้านดอลลาร์ สรอ.
          รวมครึ่งแรกของปี 2557  ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 8,635 ล้านดอลลาร์ สรอ. (281,370 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น จากการขาดดุล 6,153 ล้านดอลลาร์ สรอ. (182,292 ล้านบาท) ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
          เงินส่ารองระหว่างประเทศ: ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2557 เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 168.21 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (และมี net forward position อีก 23.73 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) ซึ่งคิดเป็นประมาณ 2.8 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น (ณ สิ้นไตรมาสแรก ปี 2557) และเทียบเท่ามูลค่าการนำเข้า 10.1 เดือน (ค่าเฉลี่ยมูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่สอง ปี 2557)
          อัตราเงินเฟ้อทั่วไป: ในไตรมาสที่สองของปี 2557 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 2.5 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารสำเร็จรูป และราคาพลังงานโดยเฉพาะราคาเชื้อเพลิงในบ้านและค่ากระแสไฟฟ้า โดยดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 4.1 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากมีการทยอยปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือน (LPG) ในช่วงเดือนกันยายน 2556 ถึง 31 พฤษภาคม 2557 ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนและราคาอาหารสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น ในขณะที่ดัชนีราคาในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 0.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับขึ้นราคาพลังงานทั้งในส่วนของราคาเชื้อเพลิงในบ้าน (ก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือน) และ ค่ากระแสไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นตามอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) ในงวดเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม 2557  ที่ปรับขึ้นอีก 10 สตางค์ต่อหน่วย จึงส่งผลให้ราคาสินค้าในหมวดพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.7 เทียบกับร้อยละ 1.2 ในไตรมาสก่อนหน้ารวมครึ่งแรกของปี 2557  อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 2.2  อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.4
          ดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสที่สองของปี 2557 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 1.2 ในไตรมาส ก่อนหน้า เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาผลิตภัณฑ์จากเหมือง และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเป็นหลัก  โดยราคาผลิตภัณฑ์จากเหมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาลิกไนต์ ปิโตรเลียมและ ก๊าซธรรมชาติ ในขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นสำคัญ ส่วนราคาผลผลิตเกษตรกรรมหดตัวร้อยละ 0.9 เนื่องจากการลดลงของราคาผลผลิตการเกษตร รวมครึ่งแรกของปี 2557  ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4

2. ความเคลื่อนไหวราคาน้ำมันในไตรมาสที่สองของปี 2557
          ราคาน่ามันดิบในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสที่สองของปี 2557 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย 4 ตลาด (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และเวสท์เท็กซัส) อยู่ที่ 106.27 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (%YOY) และอยู่ในระดับสูงกว่าราคาเฉลี่ยของทั้งปี 2556 และไตรมาสแรกของปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ 103.98 และ 103.76 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ตามลำดับ
          การปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในไตรมาสนี้ มีสาเหตุสำคัญมาจาก (1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม ทำให้มีความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น (2) การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์น่ามันดิบในจีน (ผู้บริโภคน้ำมันดิบรายใหญ่เป็นอันดับสองของโลก คิดเป็นร้อยละ 11.8 ของอุปสงค์รวมของโลก) โดยในไตรมาสที่สองของปี 2557 ความต้องการใช้น้ำมันของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 (%YOY)  เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 1.0 (%YOY) ในไตรมาสก่อนหน้า และ (3) การปรับลดก่าลังการผลิตของกลุ่มโอเปคเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศลิเบีย อิรัก และความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย ทำให้กลุ่มโอเปคมีการผลิตน้ำมันลดลง 0.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือลดลงร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า
          รวมครึ่งแรกของปี 2557  ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย 4 ตลาด (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และเวสท์เท็กซัส)  อยู่ที่ 105.01 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (%YOY) ซึ่งอยู่ที่ 102.91 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล
3. เศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่สองของปี 2557
          เศรษฐกิจโลก ในไตรมาสสองของปี 2557 ในภาพรวมปรับตัวดีขึ้นตามการขยายตัวเร่งขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่รับปัจจัยสนับสนุนส่วนหนึ่งมาจากการเร่งกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อชดเชยการหดตัวในช่วง ไตรมาสแรกที่ได้รับผลกระทบชั่วคราวจากอากาศหนาวเย็นผิดปกติ และการปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจจีน อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังขาดความต่อเนื่องจากผลกระทบของการ เพิ่มภาษีบริโภค เช่นเดียวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซนซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ ในขณะที่อุปสงค์ในประเทศยังอยู่ในภาวะอ่อนแอและ แรงกดดันจากภาวะเงินฝืดยังอยู่ในเกณฑ์สูง การฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจและแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่าท่าให้ประเทศพัฒนาแล้วส่าคัญๆ ยังคงด่าเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง
          - เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่สองปี 2557 ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 4.0 (%QoQ saar.) เทียบกับ การหดตัวร้อยละ 2.1 ในไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวร้อยละ 2.4 (%YOY) เร่งขึ้นจากขยายตัวร้อยละ 1.9 ในไตรมาสแรก และส่งผลให้เศรษฐกิจในครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 2.2  อย่างไรก็ตามการเร่งตัวขึ้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่สองส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการลดลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดจากอากาศหนาวเย็นผิดปกติในช่วงไตรมาสแรก ซึ่งจะเห็นได้จาก การขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นของอุปสงค์ภาคเอกชนในประเทศทั้งการบริโภคสินค้าคงทน และการลงทุนภาคเอกชนในสินค้าคงคลังหมวดอุตสาหกรรม การขยายตัวเร่งขึ้นของอุปสงค์ในประเทศสอดคล้องกับการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนี ISM ที่แสดงถึงการฟื้นตัวของภาคการผลิต เช่นเดียวกับตลาดแรงงานที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราการว่างงานในเดือนมิถุนายนลดลงเป็นร้อยละ 6.1 ซึ่งเป็นอัตราการว่างงานต่ำสุด นับจากเดือนกันยายน 2551 เช่นเดียวกับยอดขอรับสวัสดิการการว่างงานที่ลดลงต่ำกว่า 350,000 คน เป็นครั้งแรกนับจากปี 2551 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเร่งขึ้นจากเฉลี่ยร้อยละ 1.4 เป็นร้อยละ 2.1  ตามการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน การปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และตลาดแรงงาน รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในกรอบเป้าหมายของนโยบายการเงิน ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับลด ขนาดของมาตรการขยายปริมาณเงิน (QE) อย่างต่อเนื่อง โดยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC) ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 29-30 กรกฎาคม 2557 มีการปรับลดขนาดมาตรการ QE เป็น 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อเดือน ก่อนที่จะมีการยุติมาตรการดังกล่าวในเดือนตุลาคม 2557 รวมทั้ง การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในช่วงร้อยละ 0 - 0.25 เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
          - เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซน เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2557 เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซนใน ไตรมาสที่สองอยู่ในภาวะทรงตัว เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.2 (%QoQ sa.) ซึ่งมีสาเหตุมาจากการหดตัวของเศรษฐกิจเยอรมันเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาสที่ร้อยละ 0.2 รวมทั้งการหดตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจอิตาลีร้อยละ 0.2 และเศรษฐกิจฝรั่งเศสไม่ขยายตัวติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สอง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซนขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7 (%YoY) ชะลอตัวลงจากร้อยละ 0.9 ใน ไตรมาสแรก ส่งผลให้เศรษฐกิจในครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 0.8 โดยการชะลอตัวของเศรษฐกิจมีสาเหตุสำคัญ มาจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ชะลอตัวจากวิกฤตการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัสเซียและยูเครน ในขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังฟื้นตัวอย่างช้าๆ เนื่องจากอัตราการว่างงานที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงกว่า ร้อยละ 10.0 ต่อเนื่องกัน 30 เดือน และแรงกดดันจากภาวะเงินฝืดยังอยู่ในเกณฑ์สูง โดยอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.6 และต่ำกว่าร้อยละ 1.0 ติดต่อกัน 3 ไตรมาส เงื่อนไขดังกล่าวทำให้ธนาคารกลางยุโรป ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำร้อยละ 0.15 และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากติดลบร้อยละ 0.10 ต่อปี
          - เศรษฐกิจญี่ปุ่น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสที่สองหดตัวร้อยละ 0.1  (%YoY) เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.0 ในไตรมาสแรก และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าเศรษฐกิจหดตัวร้อยละ 1.7 (%QoQ sa) ซึ่งเป็นการหดตัวแรงที่สุดนับจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในช่วงไตรมาสแรกของ ปี 2554 อย่างไรก็ตามการหดตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสที่สองส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการเพิ่มภาษีบริโภคในเดือนเมษายนซึ่งส่งผลให้มีการเร่งการใช้จ่ายในช่วงก่อนหน้า และส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในไตรมาสนี้หดตัว โดยดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 50.3 ลดลงจาก 55.2 ในไตรมาสแรก เช่นเดียวกับการใช้จ่ายภายในประเทศซึ่งหดตัวร้อยละ 2.5 นอกจากนั้น การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรภาคเอกชนปรับตัวลดลงมากโดยเฉพาะการลงทุนก่อสร้างที่อยู่อาศัย และการส่งออกชะลอตัว อย่างไรก็ตามอัตราการว่างงานปรับตัวลดลงเป็นร้อยละ 3.7 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปี และอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นเป็นร้อยละ 3.6 ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 23 ปี เนื่องจากการขึ้นภาษีบริโภค การกระตุ้นการใช้จ่ายในช่วง ก่อนหน้า และการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดในวันที่ 15 กรกฎาคม 2557 คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติให้คงมาตรการเพิ่มปริมาณเงินและการซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน ในขณะที่ค่าเงินเยนเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นหลังจากเริ่มแข็งค่าอย่างต่อเนื่องนับจากต้นปี 2557
          - เศรษฐกิจจีน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่สองขยายตัวร้อยละ 7.5 (%YoY) เร่งตัวขึ้นเล็กน้อยจากการขยายตัวร้อยละ 7.4 ในไตรมาสแรก และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 2.0 (%QoQ) เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.5 ในไตรมาสแรก ตามการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ โดยยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 เร่งขึ้นจากไตรมาสแรก และการปรับตัวดีขึ้นของ การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรซึ่งเป็นผลจากมาตรการเร่งรัดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐและการลงทุนภาคอุตสาหกรรมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับมูลค่าการส่งออกซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากการหดตัว ในไตรมาสแรกเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.9 ในไตรมาสที่สอง ในขณะที่การนำเข้าชะลอลง ส่งผลให้เกินดุลการค้ามากที่สุดในรอบ 5 ปี สำหรับอัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 2 เริ่มชะลอลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 2.2  ตามราคาอาหารและราคาวัสดุก่อสร้างที่ลดลง
          - เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (Newly Industrial Economies) ในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 เศรษฐกิจไต้หวันขยายตัวร้อยละ 3.8 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.1 ไตรมาสแรก โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของการบริโภคภาคเอกชนและการขยายตัวของการส่งออก ในขณะที่เศรษฐกิจเกาหลีใต้ สิงคโปร์ และฮ่องกงขยายตัวร้อยละ 3.6, 2.1 และ 1.8 ชะลอลงจากร้อยละ 3.9, 4.7 และ 2.6 ในไตรมาสแรก  โดยการชะลอตัวของเศรษฐกิจเกาหลีใต้เป็นผลมาจากการชะลอตัวของภาคการก่อสร้าง การผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการชะลอตัวของการลงทุนและการใช้จ่ายภาคเอกชน ในขณะที่การชะลอตัวของเศรษฐกิจสิงคโปร์มีสาเหตุมาจากการชะลอตัวของภาคการผลิต การก่อสร้าง และภาคบริการ เช่นเดียวกับเศรษฐกิจฮ่องกงชะลอตัวลงตามการใช้จ่ายครัวเรือนและผลกระทบจากนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ลดลง ในขณะที่อัตราการว่างงานเฉลี่ยไตรมาสที่ 2 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 เร่งตัวขึ้นจากเฉลี่ยร้อยละ 3.0 ในไตรมาสแรก สำหรับอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นในทุกประเทศ ตามการเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร และค่าใช้จ่ายด้านการขนส่ง ยกเว้นประเทศฮ่องกงที่อัตราเงินเฟ้อเริ่มชะลอลง
          - เศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียน ในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 เศรษฐกิจเวียดนาม และมาเลเซียขยายตัวร้อยละ 5.3 และร้อยละ 6.4 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 5.1 และร้อยละ 6.2 ในไตรมาสแรก ตามลำดับ โดยเศรษฐกิจเวียดนามขยายตัวเร่งขึ้นตามการขยายตัวในภาคบริการและการส่งออกที่ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 15.7 เช่นเดียวกับเศรษฐกิจมาเลเซียยังขยายตัวดีต่อเนื่องตามการขยายตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการส่งออกที่ยังขยายตัวสูงตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก เช่นเดียวกับเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ที่คาดว่าจะยังขยายตัวดี สอดคล้องกับเงินส่งกลับของแรงงานที่ทำงานอยู่ในต่างประเทศที่ขยายตัว ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของการบริโภคภาคครัวเรือน ในขณะที่ เศรษฐกิจอินโดนีเซียขยายตัว ร้อยละ 5.1 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 5.2 ในไตรมาสแรก โดยการชะลอตัวของเศรษฐกิจอินโดนีเซีย มีสาเหตุหลักมาจากการหดตัวของการส่งออกและการใช้จ่ายภาครัฐ อุปสงค์ภายในประเทศยังขยายตัวดี ขณะที่ค่าเงินรูเปียมีเสถียรภาพดีขึ้นและอัตราเงินเฟ้อชะลอลง

4. แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2557
          เศรษฐกิจโลกในปี 2557 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 3.3 ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ จากการขยายตัวร้อยละ 3.0 ในปี 2556 แต่ปรับลดลงต่ากว่าการคาดการณ์ครั้งก่อน เนื่องจากการปรับลดประมาณการของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย ส่วนเศรษฐกิจจีนคาดว่าจะชะลอลงจากปีก่อน ในขณะที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นจากการประมาณการในครั้งก่อนหน้า และเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซน ยังมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้าๆ จากการหดตัวต่อเนื่องในช่วงปี 2555-2556 แม้กระนั้นก็ตาม การปรับลดประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวต่ำกว่าการคาดการณ์ของเศรษฐกิจสำคัญๆ ในช่วงครึ่งปีแรก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ประสบปัญหาสภาพอากาศหนาวเย็นผิดปกติในไตรมาสแรก แต่ขยายตัวเร่งขึ้นในไตรมาสที่สองและต่อเนื่องในครึ่งปีหลัง เช่นเดียวกับเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซนซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤตการณ์ความขัดแย้งในยูเครนทำให้พลวัตการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจขาดความต่อเนื่องและชะลอตัวในไตรมาสที่สอง แต่มีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังโดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลาย การฟื้นตัวของความเชื่อมั่นและความจำเป็นในการใช้มาตรการการคลังเข้มงวดลดลงตามความคืบหน้าของการปฏิรูปเศรษฐกิจ รวมทั้งเศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น แม้ว่าการเร่งการใช้จ่ายในช่วงก่อนการขึ้นภาษีบริโภคจะทำให้เศรษฐกิจในไตรมาสที่สองหดตัวก็ตาม เงื่อนไขดังกล่าวคาดว่าจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในภาพรวมมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีแม้ว่าจะเป็นไปอย่างช้าๆ อย่างไรก็ตามผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้งในยูเครน และการระบาดของไวรัสอีโบลาต่อเศรษฐกิจประเทศสำคัญๆ ยังเป็นเงื่อนไขที่จะต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง
          - เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 2.0 ในปี 2557 เทียบกับร้อยละ 1.9 ในปี 2556 ปรับลดจากร้อยละ 2.8 ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสแรกหดตัวมากกว่าที่คาดไว้เดิม อันเป็นผลจากปัจจัยชั่วคราวอันเนื่องมาจากการลดลงของสินค้าคงคลังตามการผลิตที่ชะลอตัวลงเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติ และการส่งออกสุทธิที่ลดลง อย่างไรก็ดี ในไตรมาสที่สองเศรษฐกิจขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 4.0 (%QoQ saar) เทียบกับการหดตัวร้อยละ 2.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงครึ่งหลังของปีน่าจะฟื้นตัวได้ดีกว่าครึ่งแรกสะท้อนจากเครื่องชี้ ทางเศรษฐกิจในเดือนกรกฎาคมยังคงแสดงการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนที่ขยายตัวได้แข็งแกร่งตามภาวะการจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้น และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่สูงขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2550 รวมทั้งผลจากการดำเนินนโยบายทางการเงินผ่อนคลาย และการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำร้อยละ 0-0.25 ต่อไปอีกระยะหนึ่ง โดยยังไม่มีสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยภายในปี 2557 และต่อเนื่องถึงครึ่งแรกของปี 2558 นอกจากนี้การส่งออกสินค้าในช่วงครึ่งหลังของปีมีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
          - เศรษฐกิจยูโรโซน ยังคงคาดว่าในปี 2557 จะขยายตัวร้อยละ 1.0 เท่ากับการประมาณการครั้งก่อน เทียบกับการหดตัวร้อยละ 0.4 ในปี 2556 เป็นการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ภายหลังจากหลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง การส่งออกที่ขยายตัวเนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มการชะลอตัวของค่าแรงที่แท้จริงซึ่งส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาปรับตัวดีขึ้น รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การขยายตัวทางเศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงจากเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่ยังคงเปราะบาง โดยอัตรา การว่างงานทรงตัวระดับสูง อัตราเงินเฟ้ออยู่ระดับต่ำ ขณะเดียวกันหนี้สินทั้งภาครัฐและภาคเอกชนยังอยู่ในระดับสูงและแนวโน้มสินเชื่อภาคธุรกิจยังคงตึงตัว นอกจากนี้ ยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากผลกระทบวิกฤตการณ์ในยูเครนที่ยังคงหาข้อยุติไม่ได้ และอาจได้รับผลกระทบจากการที่รัสเซียได้ออกมาตรการ ห้ามนำเข้าอาหารเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2557 จากสหภาพยุโรป รวมถึงสหรัฐฯ ออสเตรเลีย แคนาดา และนอร์เวย์ เป็นเวลา 1 ปี เพื่อเป็นการตอบโต้ที่ถูกออกมาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติม
          - เศรษฐกิจญี่ปุ่น ในปี 2557 มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นจากการประมาณการครั้งก่อน โดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.4 แต่ยังคงมีแนวโน้มชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 1.5 ในปี 2556 โดยการปรับเพิ่มประมาณการเป็นผลจากตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาสแรกที่ออกมาสูง ในขณะที่ผลกระทบของการปรับเพิ่มภาษีการบริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจในไตรมาสที่สองต่ำกว่าที่คาดไว้ และคาดว่าจะมีผลกระทบเพียงระยะสั้นเท่านั้น เนื่องจากเครื่องชี้ในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจเริ่มมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นไปยังช่วงครึ่งหลังของปี โดยเป็นผลเนื่องจากการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ช่วยชดเชยการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และการดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินโดยการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0-0.1 ต่อปี รวมทั้งการเพิ่มฐานปริมาณเงินอย่างต่อเนื่อง
          - เศรษฐกิจจีน ในปี 2557 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.4 ชะลอลงจากร้อยละ 7.7 ในปีก่อน ตามการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและภาคอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่ชะลอตัว เนื่องจากการดำเนินนโยบายปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อสร้างสมดุล อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจในไตรมาสที่สองเร่งตัวขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสแรก สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลจีนยังคงให้ความสำคัญกับการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อรักษาอัตราการขยายตัว ทางเศรษฐกิจและรองรับการจ้างงาน โดยเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเร่งรัดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ประกอบกับนโยบายการผ่อนคลายทางภาษี เพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมออกไปจนถึงสิ้นปี 2559 ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อเนื่อง นอกจากนี้ คาดว่าการส่งออกจะยังคงขยายตัวได้ดีในช่วงครึ่งหลังของปีและเป็น แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงนับตั้งแต่ต้นปีจะช่วยสนับสนุนการส่งออกได้ต่อไป
          - เศรษฐกิจกลุ่มประเทศ NIEs ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2557 มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น เศรษฐกิจเกาหลีใต้และไต้หวัน มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นเป็นร้อยละ 3.8 และ 3.8 ตามลำดับ สูงขึ้นจากในปี 2556  ที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 และ 2.1 ตามลำดับ โดยได้รับแรงสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการขยายตัวของภาคการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งการขยายตัวของภาคการบริโภคภาคเอกชนในแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจเกาหลีใต้ยังอาจเผชิญกับความเสี่ยงจากปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนที่จะส่งผลกระทบต่อการบริโภคภาคเอกชน ส่วนเศรษฐกิจสิงคโปร์ ปี 2557 คาดว่าขยายตัวร้อยละ 3.4 ชะลอตัวจากการขยายตัวร้อยละ 4.1 ในปี 2556 ตามการชะลอตัวของภาคบริการ และเศรษฐกิจฮ่องกง ปี 2557 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 ทรงตัวจากปีก่อน โดยการใช้จ่ายครัวเรือนชะลอตัวกว่าที่คาด
          - เศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียน ในปี 2557 เศรษฐกิจอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนามมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวตามอุปสงค์ภายในประเทศที่ชะลอลง ในขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจมาเลเซียจะขยายตัวดีขึ้น โดยคาดว่าเศรษฐกิจอินโดนีเซียในปี 2557 จะขยายตัวร้อยละ 5.4 ชะลอลงจากร้อยละ 5.8 ในปี 2556 ตามการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศเนื่องจากผลของการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังแบบตึงตัว อย่างไร ก็ตาม มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี เนื่องจากนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลอินโดนีเซียชุดใหม่จะเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น เช่นเดียวกับเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.0 ชะลอลงจาก ร้อยละ 7.2 ในปี 2556 โดยเป็นผลจากการดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวโดยการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดภาวะแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจเวียดนามคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.3 ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 5.4 ในปี 2556 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัญหากรณีข้อพิพาททางทะเลระหว่างจีนที่มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกให้ชะลอลง ส่วนเศรษฐกิจมาเลเซีย คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.3  เร่งขึ้นจากร้อยละ 4.7 ในปี 2556 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศและการส่งออกที่ปรับตัว ดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ในขณะเดียวกันแรงกดดันเงินเฟ้อเริ่มลดลงภายหลังจากธนาคารกลางเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

5. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2557
          เศรษฐกิจไทยในปี 2557 มีแนวโน้มขยายตัวในช่วงต่ำของการประมาณการครั้งที่ผ่านมาเมื่อวันที่  19 พฤษภาคม 2557 ตามการหดตัวของเศรษฐกิจร้อยละ 0.1 ในช่วงครึ่งปีแรก แม้ว่าการปรับตัวดีขึ้นของสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นฟื้นตัว และการเบิกจ่ายงบประมาณกลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวของการใช้จ่ายในประเทศก็ตาม แต่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังยังมีข้อจำกัดจาก (1) แนวโน้มการฟื้นตัวอย่างล่าช้าของเศรษฐกิจโลกซึ่งจะเป็นข้อจำกัด ต่อการขยายตัวของภาคการส่งออก (2) ภาคการท่องเที่ยวยังต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวจากปัญหาทางการเมืองในช่วงครึ่งปีแรก โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรงของตลาดท่องเที่ยว (3) อัตราการใช้กำลังการผลิตที่ยังอยู่ในระดับต่ำและความล่าช้าในการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในช่วงครึ่งปีแรกยังเป็นข้อจำกัดที่สำคัญต่อการขยายตัวของการลงทุนในช่วงที่เหลือของปี และ (4) การปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติของการบริโภคและผลิตรถยนต์ยังคงมีแนวโน้มที่จะเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
          ปัจจัยดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังยังขยายตัวต่ำกว่าศักยภาพแม้ว่าจะเร่งขึ้นจากครึ่งปีแรกก็ตาม ในขณะที่เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ดุลการค้าและบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ทั้งนี้ ปัจจัยสนับสนุน ข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2557 มีดังนี้

          - ปัจจัยสนับสนุน
          1) การใช้จ่ายภาครัฐ การปรับตัวดีขึ้นของสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศส่งผลให้กระบวนการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐกลับเข้าสู่ภาวะปกติและสามารถเร่งรัดเม็ดเงินงบประมาณเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ 2557 โดยคาดว่าการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2557 จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 91.3 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 90.4 ในการคาดการณ์ครั้งก่อน รวมทั้งสามารถจัดทำงบประมาณประจำปี 2558 เพื่อประกาศใช้ได้ตามกำหนดรวมถึงการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับการเร่งรัดโครงการลงทุนของภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ด้านคมนาคมขนส่ง สำหรับโครงการที่มีความพร้อมและสามารถดำเนินการได้ภายในปี 2557 ซึ่งจะทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณในปีปฏิทิน 2557 สูงกว่าที่คาดไว้เดิม
          2) การปรับตัวดีขึ้นของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ การเริ่มปรับตัวดีขึ้นของสถานการณ์ ทางการเมืองในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมซึ่งส่งผลให้การบริหารราชการแผ่นดินกลับเข้าสู่ภาวะปกติและทิศทางของนโยบายภาครัฐมีความชัดเจนมากขึ้นส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มปรับตัวดีขึ้นในเดือนกรกฎาคมหลังจากการลดลงอย่างต่อเนื่องนับจากเดือนเมษายน 2556 โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 57.7 ในเดือนเมษายน เป็นระดับ 60.7 65.3 และ 68.5 ในเดือนพฤษภาคม มิถุนายน และกรกฎาคม ตามลำดับ ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 11 เดือน ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นเป็น 48.0 แม้ว่าจะยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ก็ตาม การปรับตัวดีขึ้นของความเชื่อมั่นคาดว่าจะส่งผลให้การใช้จ่ายของภาคเอกชนในช่วงครึ่งปีหลังขยายตัวเร่งขึ้น
          3) ราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มที่จะอยู่ในเกณฑ์ต่ำ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก  (1) แนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังมีแนวโน้มทรงตัว แม้จะมีความผันผวนเล็กน้อยในระยะสั้นๆ เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศผู้ผลิตสำคัญๆ ก็ตาม (2) การดำเนินมาตรการตรึงราคาเชื้อเพลิงและก๊าซหุงต้มของภาครัฐทำให้การส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาสินค้าภายในประเทศมีข้อจำกัด และ (3) อุปสงค์ภายในประเทศยังมีแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวทำให้อัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีหลังยังมีแนวโน้มที่จะอยู่ในระดับต่ำ และเอื้ออำนวยต่อการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

          - ปัจจัยเสี่ยงและข้อจำกัด
          1) การขยายตัวของการส่งออกยังมีข้อจ่ากัดจากการฟื้นตัวอย่างล่าช้าของเศรษฐกิจโลกและการลดลง ของราคาสินค้าส่งออก แม้ว่าเศรษฐกิจโลกในครึ่งปีหลังจะมีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นและเอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวของการส่งออกของไทยมากขึ้นกว่าในช่วงครึ่งปีแรกก็ตาม แต่การขยายตัวของภาคการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังยังมีข้อจำกัดจาก (1) การฟื้นตัวอย่างล่าช้าของเศรษฐกิจโลก โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศยูโรโซนยังเป็นไป อย่างช้าๆ และขาดความต่อเนื่องซึ่งจะเห็นได้จากการหดตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ร้อยละ 1.7 และการ ชะลอตัวของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซน เมื่อรวมกับการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนและการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี เงื่อนไขดังกล่าวยังคงเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจสำคัญๆ ในภูมิภาคเอเชีย และ (2) ราคาส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังยังมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากครึ่งปีแรกเนื่องจากปริมาณผลผลิตและสต็อกสินค้าเกษตรในตลาดโลกยังอยู่ในเกณฑ์สูง ทั้งนี้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2557 ราคาสินค้าเกษตรส่งออกลดลงร้อยละ 11.2 และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาส่งออกในภาพรวมลดลงร้อยละ 1.3
          2) การลงทุนภาคเอกชนยังมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้าๆ เนื่องจาก (1) อัตราการใช้กำลังการผลิตที่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำเพียง 59.5 ในไตรมาสที่สองซึ่งถือเป็นอัตราการใช้กำลังการผลิตต่ำสุดในรอบ 10 ไตรมาส และ (2) การลดลงของการขอรับการส่งเสริมและการอนุมัติการลงทุนต่อเนื่องนับจากครึ่งหลังของปี 2556 จนถึงในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2557 โดยวงเงินลงทุนที่ขอรับการส่งเสริมและขออนุมัติการลงทุน ลดลง ร้อยละ 43.7 และ 58.9 ตามลำดับ แม้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนชุดใหม่ในวันที่  6 มิถุนายน 2557 จะส่งผลให้การอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่สามารถดำเนินการได้ แต่การอนุมัติยังคงเป็นไปอย่างช้าๆ และแม้ว่าการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจะมีแนวโน้มเร่งขึ้นในช่วง ที่เหลือของปีก็ตามแต่การดำเนินโครงการจะต้องอาศัยระยะเวลาในการปฏิบัติตามขั้นตอนทางกฎหมายต่างๆ ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างและใช้จ่ายเม็ดเงินลงทุนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
          3) จำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2557 มีแนวโน้มลดลงจากปีก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ ซึ่งทำให้ประเทศต่างๆ ประกาศแจ้งเตือนพลเมืองของตนเองในการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยและส่งผลกระทบต่อการคุ้มครองด้านประกันภัยเดินทางของนักท่องเที่ยว โดยในช่วงครึ่งแรกของปีมีนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 11.8 ล้านคนต่ำกว่า 13.1 ล้านคนในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นในช่วงปลายไตรมาสที่สองและภาครัฐได้ดำเนินมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยการยกเว้นวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวจีนและจีนไทเปเป็นการชั่วคราว(สิงหาคมตตุลาคม 2557) รวมทั้งแก้ไขปัญหาด้านประกันภัยโดยการพิจารณาจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเยียวยานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเพื่อคุ้มครองนักท่องเที่ยวก็ตาม แต่การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวยังคงต้องใช้ระยะเวลาเนื่องจาก (1) ในเดือนสิงหาคมยังมีประเทศต่างๆ จำนวน 60 ประเทศที่ยังคงมาตรการการแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวแม้จะลดระดับการแจ้งเตือนลง เทียบกับ 66 ประเทศในเดือนมิถุนายน (2) การแข่งขันในตลาดการท่องเที่ยวยังอยู่ในระดับสูงซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวเปลี่ยนจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวมากขึ้น โดยเฉพาะการเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการประกาศยกเว้น การตรวจลงตรา (Visa) ให้กับนักท่องเที่ยวในบางประเทศ รวมทั้งมีแรงดึงดูดจากการอ่อนค่าของเงินเยน และมีการขยายสายการบินต้นทุนต่ำในภูมิภาค และ (3) การเดินทางของนักท่องเที่ยวระยะไกลยังมี ความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสอีโบล่าที่อาจจะทำให้นักท่องเที่ยวระมัดระวังการเดินทางมากขึ้น
          4) การลดลงจากฐานที่สูงของปริมาณการจ่าหน่ายและผลิตรถยนต์ยังเป็นข้อจ่ากัดต่อการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ในครึ่งแรกของปี 2557 ปริมาณการผลิตและจำหน่ายรถยนต์นั่ง ในประเทศหดตัวร้อยละ 24.1 และร้อยละ 44.4 ตามลำดับ และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การบริโภคและการผลิตภาคอุตสาหกรรมในครึ่งปีแรกอยู่ในภาวะหดตัวซึ่งสอดคล้องกับการปรับลดเป้าหมายการผลิตรถยนต์ของภาคเอกชนในปี 2557 จาก 2.4 ล้านคัน เป็น 2.2 ล้านคัน โดยเป็นการปรับลดปริมาณผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศจาก 1.2 ล้านคันเป็น 1 ล้านคัน แต่ยังคงเป้าหมายการผลิตเพื่อส่งออกไว้ที่ 1.2 ล้านคัน อย่างไรก็ตามปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2557 ยังอยู่ที่ 964,968 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 24.1 และยังมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องในไตรมาสที่สาม รวมทั้ง ยังมีความเสี่ยงที่การผลิตทั้งปีจะต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้และส่งผลให้การผลิตในไตรมาสสุดท้าย อยู่ในภาวะหดตัวอย่างต่อเนื่อง และเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

          - ประมาณการเศรษฐกิจปี 2557
          เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวในช่วงร้อยละ 1.5 - 2.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.9 ในปี 2556  อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มอยู่ในช่วงร้อยละ 1.9 - 2.4 เทียบกับร้อยละ 2.2 ปี 2556 และดุลบัญชีเดินสะพัด คาดว่าจะเกินดุลร้อยละ 2.6 ของ GDP ปรับตัวดีขึ้นจากการขาดดุลร้อยละ 0.5 ในปี 2556
          ในการแถลงข่าววันที่ 18 สิงหาคม 2557 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ปรับลดช่วงประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากร้อยละ 1.5 - 2.5 ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2557 เป็นร้อยละ 1.5 - 2.0 ในการแถลงข่าวครั้งนี้ โดยมีเหตุผลในการปรับประมาณการ ดังนี้
          1) เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สอง ขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่ำกว่าร้อยละ 0.8 ซึ่งเป็นค่ากลางในไตรมาสที่สองของช่วงการประมาณการร้อยละ 1.5 - 2.5 ในการแถลงข่าวครั้งที่ผ่านมา เมื่อรวมกับการหดตัวร้อยละ 0.5 ในไตรมาสแรก ทำให้เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรกยังหดตัวร้อยละ 0.1 การขยายตัวต่ำกว่า การคาดการณ์ของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สอง และการหดตัวของเศรษฐกิจในครึ่งปีแรกทำให้โอกาส ที่เศรษฐกิจไทยในปี 2557 จะขยายตัวเกินร้อยละ 2.0 ลดลง
          2) แม้ว่าการปรับตัวดีขึ้นของสถานการณ์ทางการเมืองจะทำให้ความเชื่อมั่นของภาคครัวเรือนปรับตัวดีขึ้น รวมทั้งทำให้สามารถจัดทำงบประมาณและเร่งรัดการเบิกจ่ายซึ่งจะทำให้อุปสงค์ในประเทศขยายตัว เร่งขึ้นจากครึ่งปีแรก และการส่งออกในครึ่งปีหลังมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากครึ่งปีแรกก็ตาม  แต่การขยายตัวทางเศรษฐกิจยังมีข้อจำกัดจากการฟื้นตัวอย่างล่าช้าของเศรษฐกิจโลก การฟื้นตัว อย่างช้าๆ ของการลงทุนภาคเอกชน แนวโน้มการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยว และข้อจำกัดจาก การลดลงจากฐานที่สูงของการผลิตและจำหน่ายรถยนต์นั่ง เงื่อนไขดังกล่าวสะท้อนจากการปรับสมมติฐานการประมาณการเศรษฐกิจที่สำคัญๆ ได้แก่
                    2.1) การปรับลดสมมติฐานด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกจากร้อยละ 3.4 และร้อยละ 4.2 ในการประมาณการครั้งก่อนหน้า เป็นร้อยละ 3.3 และ 4.0 โดยมีสาเหตุหลัก มาจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียหลายประเทศที่มีแนวโน้ม ต่ำกว่าสมมติฐานการประมาณครั้งที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ความต้องการสินค้าส่งออกขยายตัวช้ากว่า ในการประมาณการครั้งก่อนหน้า
                    2.2) การปรับลดสมมติฐานด้านจำนวนนักท่องเที่ยวจาก 27.0 ล้านคน ในการประมาณการครั้งก่อนหน้า เป็น 25.7 ล้านคน ในการประมาณการครั้งนี้ เนื่องจาก (1) ในช่วง 6 เดือนแรกของปี มีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 11.8 ล้านคน ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 13.1 ล้านคน (2) ล่าสุดในเดือน สิงหาคมยังมีประเทศต่างๆ ประกาศแจ้งเตือนพลเมืองในการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยจำนวน 60 ประเทศใกล้เคียงกับ 66 ประเทศในเดือนมิถุนายน (2) ความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวยังได้รับผลกระทบจากการระงับการคุ้มครองของบริษัทประกันภัยต่างชาติ ในขณะที่กองทุนช่วยเหลือเยียวยานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเพื่อคุ้มครองนักท่องเที่ยวยังอยู่ในช่วงของการจัดตั้ง (3) การเปลี่ยนแปลงเป้าหมายการเดินทางของนักท่องเที่ยวไปยังประเทศที่ให้สิทธิพิเศษด้านการยกเว้นวีซ่า ค่าเงินอ่อนค่าและมีการขยายตัวของธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำระหว่างประเทศต้นทางและปลายทาง
                    2.3) การปรับสมมติฐานราคาส่งออกจากร้อยละ (-1.0) - 0.0 เป็นร้อยละ (-1.5) - (-0.5) ตามการลดลงของราคาสินค้าส่งออกร้อยละ 1.3 ในช่วงครึ่งปีแรก และยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน ในช่วงครึ่งปีหลังโดยเฉพาะในด้านราคาสินค้าเกษตรซึ่งสต็อกในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูงและปริมาณผลผลิตในประเทศผู้ผลิตสำคัญๆ ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ราคานำเข้าคาดว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ (-1.0) - 0.0 เท่ากับสมมติฐานการประมาณการครั้งที่ผ่านมา โดยในช่วงครึ่งแรก ของปี 2557 ราคานำเข้าเฉลี่ยหดตัวร้อยละ 0.8
                    2.4) การปรับสมมติฐานด้านการเบิกจ่ายงบประมาณ ประกอบด้วย (1) การปรับเพิ่มสมมติฐานการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2557 ตามเงื่อนไขสถานการณ์ทางการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดินที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติเร็วกว่าในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อนหน้า จากสมมติฐาน การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2557 ที่ร้อยละ 90.4 ในการประมาณครั้งก่อน เป็นร้อยละ 91.3 ในการประมาณการครั้งนี้ ทั้งนี้อัตราการเบิกจ่าย ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2557 อยู่ที่ร้อยละ 75.6 เร่งขึ้นจากร้อยละ 49.2 ณ สิ้นเดือนเมษายน และ (2) การปรับสมมติฐานการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2558 ในไตรมาสแรก จากการใช้งบประมาณพลางก่อนในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน เป็นการประกาศใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ตามกำหนดปกติ และสามารถเร่งรัดให้มีอัตรา การเบิกจ่ายไม่ต่ำกว่าอัตราการเบิกจ่ายในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2557 (ร้อยละ 30.1)
                    2.5) ปริมาณการผลิตรถยนต์นั่งทั้งปีจำนวน 1.98-2.05 ล้านคัน โดยปริมาณการผลิตในไตรมาสสุดท้ายของปี 2557 ไม่ต่ำกว่าปริมาณการผลิตในไตรมาสเดียวกันของปี 2556  และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในไตรมาสที่สาม หดตัวประมาณร้อยละ 20 - 30 ก่อนที่จะเริ่มขยายตัวในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี

          - องค์ประกอบการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
          1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภครวม คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.3 เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.1 ในปี 2556 และเป็นการปรับเพิ่มจากการขยายตัวร้อยละ 1.0 ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากการปรับเพิ่มประมาณการการใช้จ่ายภาครัฐจากการขยายตัวร้อยละ 1.8 ในการประมาณการครั้งก่อนเป็นร้อยละ 3.7 ในการประมาณการครั้งนี้ ตามการปรับสมมติฐานการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2557 และการปรับสมมติฐานการเบิกจ่ายงบประมาณในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2558 ในขณะที่การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.8 เท่ากับการประมาณการครั้งก่อนหน้า
          2) การลงทุนรวม คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 2.0 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 2.0 ในปี 2556 และการหดตัวร้อยละ 1.3 ในการประมาณการครั้งก่อน โดยการลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 2.9 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 2.8 ในปี 2556 และการหดตัวร้อยละ 0.2 ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจาก เศรษฐกิจในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าประมาณการครั้งที่ผ่านมา การใช้กำลังการผลิตที่ยังอยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 59.5 ในไตรมาสที่สอง รวมทั้งการลดลงของการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในช่วง ครึ่งแรกของปี 2557 การลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.0 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 5.0  ในการประมาณการครั้งก่อน ซึ่งเป็นการปรับตามการปรับเปลี่ยนสมมติฐานการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2557 และการปรับสมมติฐานการเบิกจ่ายงบประมาณในไตรมาสแรก ของปี 2558 จากการใช้งบประมาณพลางก่อนเป็นการประกาศใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ตามกำหนดปกติและมีการเร่งรัดเบิกจ่ายเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเช่นเดียวกับในไตรมาสแรก ของปีงบประมาณ 2557 ที่มีอัตราการเบิกจ่ายสูง
          3) มูลค่าการส่งออกสินค้า ในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.0 ปรับตัวดีขึ้นจากการ หดตัวร้อยละ 0.2 ในปี 2556 แต่เป็นการปรับลดลงจากการขยายตัวร้อยละ 3.7 ในการประมาณการ ครั้งก่อน เนื่องจาก (1) การปรับลดสมมติฐานราคาสินค้าส่งออกจากการหดตัวร้อยละ 1.0 - 0.0  ในการประมาณการครั้งก่อน เป็นการหดตัวร้อยละ 1.5 - 0.5 ในการประมาณการครั้งนี้ (2) การขยายตัวที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ของการส่งออกในช่วงครึ่งปีแรก และ (3) การปรับลดสมมติฐานการขยายตัว ของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกจากร้อยละ 3.4 และร้อยละ 4.2 เป็นร้อยละ 3.3 และร้อยละ 4.0 ตามลำดับ เงื่อนไขดังกล่าวทำให้ปริมาณการส่งออกขยายตัวร้อยละ 3.0 เทียบกับร้อยละ 4.2 ในการประมาณการครั้งก่อนหน้า เมื่อรวมกับการปรับลดสมมติฐานด้านจำนวนนักท่องเที่ยวจาก 27.0 ล้านคน ลดลงเป็น 25.7 ล้านคน ทำให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 1.7 ต่ำกว่า การขยายตัวร้อยละ 3.6 ในการประมาณการครั้งก่อน
          4) มูลค่าการนำเข้าสินค้า ในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 4.9 เทียบกับการหดตัว ร้อยละ 0.5 ในปี 2556 และเป็นการปรับลดจากการขยายตัวร้อยละ 0.5 ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจาก (1) มูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 2 ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ และ (2) การปรับลดประมาณการการส่งออกและการลงทุนซึ่งส่งผลให้ความต้องการนำเข้าสินค้าทุน และสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปต่ำกว่าการประมาณการในครั้งก่อน ทั้งนี้ คาดว่าปริมาณการนำเข้าสินค้าจะหดตัวร้อยละ 4.4 ปรับลดจากขยายตัวร้อยละ 1.0 ในการประมาณการครั้งก่อน และเมื่อรวมกับการปรับลดประมาณการ การนำเข้าบริการซึ่งมีแนวโน้มลดลงตามการปรับลดประมาณการการนำเข้าและการส่งออกสินค้า  และการปรับลดประมาณการเศรษฐกิจในภาพรวม ทำให้ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการในปี 2557 หดตัวร้อยละ 3.1 ลดลงจากการขยายตัวร้อยละ 1.3 ในการประมาณการครั้งก่อน
          5) ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการค้าในปี 2557 คาดว่าจะเกินดุล 2.18 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับ 6.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2556 และเป็นการปรับเพิ่มประมาณการจาก 1.36 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ในประมาณการครั้งก่อน ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มจะเกินดุล 9.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับการขาดดุล 2.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2556 และเป็นการปรับเพิ่มจากการเกินดุล 1.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในการประมาณการครั้งก่อน ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากการปรับลดประมาณการมูลค่าการนำเข้าที่มากกว่าการปรับลดประมาณการมูลค่าส่งออก
          6) อัตราเงินเฟ้อ คาดว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.9-2.4 เทียบกับร้อยละ 1.9-2.9 ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2557 อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.2 และคาดว่าแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปียังมีแนวโน้มที่จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับครึ่งปีแรก ตามสถานการณ์ ราคาน้ำมันที่ยังมีแนวโน้มทรงตัว การขยายระยะเวลามาตรการลดค่าครองชีพ การตรึงราคาก๊าซหุงต้มสำหรับภาคครัวเรือน และการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจในภาพรวม

6. ประเด็นการบริหารเศรษฐกิจในปี 2557
          เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ในภาวะหดตัวเนื่องจากได้รับผลกระทบจากความยืดเยื้อของสถานการณ์ ทางการเมืองในช่วง 5 เดือนแรก การฟื้นตัวอย่างล่าช้าของการส่งออก และการลดลงจากฐานที่สูงอย่างต่อเนื่องของการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ แม้ว่าในช่วงที่เหลือของปี เศรษฐกิจไทยจะมีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้น ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการปรับตัวดีขึ้นของสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ซึ่งส่งผลให้ความเชื่อมั่นของครัวเรือนและภาคธุรกิจฟื้นตัวและการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐกลับเข้าสู่ ภาวะปกติก็ตาม แต่การขยายตัวในช่วงครึ่งปีหลังยังมีข้อจำกัดทั้งด้านการส่งออก การท่องเที่ยว การลงทุนภาคเอกชนและการผลิตภาคอุตสาหกรรม ดังนั้น การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี 2557 ควรให้ความสำคัญกับ
          1) การเร่งรัดการส่งออกให้สามารถขยายตัวอย่างเต็มศักยภาพ โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มรายได้จากตลาดหลักและตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ รวมทั้งการส่งเสริมการค้าชายแดนและการค้าในภูมิภาคโดย การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการขนส่งผ่านชายแดน ตลอดจนเร่งรัดแก้ไขปัญหาข้อจำกัดในด้าน การผลิตของสินค้าสำคัญๆ
          2) การฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวโดยการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศและการสร้างความเชื่อมั่นให้กับกับนักท่องเที่ยวโดยการเร่งรัดกองทุนช่วยเหลือเยียวยานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเพื่อให้ความคุ้มครองด้านการประกันภัยแก่นักท่องเที่ยวให้มีผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว รวมทั้งจัดรายการส่งเสริมการท่องเที่ยว ในประเทศและการเร่งฟื้นฟูภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวโดยการแก้ไขปัญหาการเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว การลดปัญหาอาชญากรรมและการปรับปรุงภูมิทัศน์ในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ
          3) การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2557 ให้สามารถเบิกจ่ายได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 91.3 และการเร่งรัดเบิกจ่ายในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2558 ให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 31 รวมทั้งการเร่งรัดการเบิกจ่ายและการดำเนินโครงการสำคัญๆ ของรัฐวิสาหกิจ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี
          4) การแก้ไขปัญหาข้อจำกัดของการลงทุน โดยการเร่งรัดอนุมัติส่งเสริมการลงทุนโครงการสำคัญๆ ที่ยังรอการพิจารณาอนุมัติและสนับสนุนให้การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมแล้วเริ่มการลงทุนและมีเม็ดเงินลงทุนเข้าสู่เศรษฐกิจโดยเร็ว รวมทั้งการเร่งรัดการประกาศใช้นโยบายส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่
          5) การสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและภาคธุรกิจ โดยการเร่งรัดดำเนินการโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมในช่วงที่เหลือของปี 2557 และในปี 2558 ซึ่งผ่านการพิจารณาจัดลำดับความสำคัญและบรรจุไว้ในกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีและในงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวม ปตท.) ปี 2557 และงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 จำนวน 259,113 และ 267,895 ล้านบาท ตามลำดับ รวมทั้งการเตรียมแผนดำเนินงานและเตรียมการด้านงบประมาณสำหรับโครงการในส่วนที่เหลือซึ่งยังมีความสามารถในการจัดสรรเงินลงทุนจากเงินงบประมาณ งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ และการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยที่ยังอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง รวมทั้งการเร่งรัดการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจชายแดน
          6) การดำเนินนโยบายการเงินที่เอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการดูแลรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทซึ่งยังมีความเสี่ยงที่จะผันผวนตามเงื่อนไขของเศรษฐกิจโลกและการคาดการณ์ของนักลงทุนเกี่ยวกับ ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของสหรัฐฯ

                                                   ประมาณการเศรษฐกิจปี 2557

                                            ข้อมูลจริง              ประมาณการ ปี 2557
                                       ปี 2555     ปี 2556     19 พ.ค. 57   18 ส.ค. 57
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท)           11,375     11,899        12,424      12,364
   รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี)             167,501    174,337       181,077     180,203
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.)      366        387           382         380
   รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี)      5,389      5,673         5,572       5,545
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %)       6.5        2.9       1.5-2.5     1.5-2.0
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %)                13.2       -2.0          -1.3        -2.0
   ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %)               14.4       -2.8          -0.2        -2.9
   ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %)                   8.9        1.3          -5.0         1.0
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %)                6.8        1.1           1.0         1.3
   ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %)                6.7        0.3           0.8         0.8
   ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %)                7.5        4.9           1.8         3.7
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %)      3.1        4.2           3.6         1.7
   มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.)  225.9      225.4         233.8       229.9
      อัตราการขยายตัว (%)1/                 3.1       -0.2           3.7         2.0
      อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %)1/          2.5        0.2           4.2         3.0
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %)      6.2        2.3           1.3        -3.1
   มูลค่าการนำเข้าสินค้า(พันล้านดอลลาร์สรอ.)    219.9      218.7         220.2       208.1
      อัตราการขยายตัว (%)1/                 8.8       -0.5           0.5        -4.9
      อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %)1/          7.1        1.6           1.0        -4.4
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.)                6.0        6.7          13.6        21.8
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.)          -1.5       -2.5           1.9         9.9
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%)                   -0.4       -0.5           0.5         2.6
เงินเฟ้อ (%)
   ดัชนีราคาผู้บริโภค                          3.0        2.2       1.9-2.9     1.9-2.4
   GDP Deflator                           1.3        1.7       1.9-2.9     1.9-2.4
          ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 18 สิงหาคม 2557
          หมายเหตุ: 1/ ตัวเลขการส่งออกและการนำเข้าเป็นไปตามฐานของธนาคารแห่งประเทศไทย

          --สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ