ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก และแนวโน้มปี 2557

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 19, 2014 11:02 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

สำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค          19 พฤษภาคม 2557

ประมาณการเศรษฐกิจปี 2557

ประมาณการเศรษฐกิจปี 2557

(% YOY)                        2555           2556                 2557
                                ทั้งปี     Q3     Q4     ทั้งปี      Q1       ทั้งปี
GDP (ณ ราคาคงที่)                 6.5    2.7    0.6     2.9    -0.6   1.5-2.5
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่)         13.2   -6.3  -11.4    -2.0    -9.8      -1.3
   ภาคเอกชน                    14.4   -3.1  -13.2    -2.8    -7.3      -0.2
   ภาครัฐ                        8.9  -16.2   -4.7     1.3   -19.3      -5.0
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่)         6.8    0.4   -3.3     1.1    -2.1       1.0
   ภาคเอกชน                     6.7   -1.2   -4.1     0.3    -3.0       0.8
   ภาครัฐบาล                     7.5    7.3    0.8     4.9     2.9       1.8
มูลค่าการส่งออกสินค้า                3.1   -1.8   -1.0    -0.2    -0.8       3.7
   ปริมาณ                        2.5   -1.2    0.2     0.2     0.9       4.2
มูลค่าการนำเข้าสินค้า                8.8   -2.9   -7.6    -0.4   -14.8       0.5
   ปริมาณ                        7.1   -0.9   -6.3     1.7   -13.8       1.0
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%)         -0.4    0.5    3.1    -0.6     8.8       0.5
เงินเฟ้อทั่วไป                      3.0    1.7    1.7     2.2     2.0   1.9-2.9
อัตราการว่างงาน                   0.7    0.8    0.6     0.7     0.9       0.7
          - เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2557 หดตัวร้อยละ 0.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.6 ในไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออก เศรษฐกิจหดตัวร้อยละ 2.1  เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (% QoQ SA)
          - ในด้านการใช้จ่าย อุปสงค์ในประเทศและมูลค่าการส่งออกลดลง ในขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐชะลอตัว ในด้านการผลิต ภาคเกษตรขยายตัว แต่ภาคอุตสาหกรรม ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ โรงแรมและภัตตาคาร และค้าส่งค้าปลีกหดตัว
          - เศรษฐกิจไทยในปี 2557 มีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ต่าเนื่องจากการหดตัวของภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสแรก และข้อจำกัดในการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนซึ่งได้รับผลกระทบจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศและการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของฐานรายได้และภาวะเศรษฐกิจในภาพรวม ในขณะที่การจัดตั้งรัฐบาลมีแนวโน้มล่าช้ากว่าที่คาดการณ์และทำให้การเบิกจ่ายภาครัฐและการขับเคลื่อนมาตรการทางเศรษฐกิจที่สำคัญๆ  มีข้อจำกัดมากขึ้น นอกจากนั้น ความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะ ทำให้ภาคการส่งออกขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวดีขึ้นจากปี 2556
          - เศรษฐกิจไทยในปี 2557 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5 - 2.5 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 3.7 การบริโภคภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 0.8 การลงทุนรวม หดตัวร้อยละ 1.3 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วงร้อยละ 1.9 - 2.9 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 0.5 ของ GDP
          - การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี 2557 ควรให้ความสำคัญกับ การเร่งรัดการส่งออกให้สามารถขยายตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มรายได้จากตลาดหลักและตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ รวมทั้งการส่งเสริมการค้าชายแดนและการค้าในภูมิภาค ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการสร้างความเชื่อมั่นและการกระตุ้น การท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันก็ต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2557 ทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน และเตรียมความพร้อมกระบวนการงบประมาณประจำปี 2558 นอกจากนั้น ควรให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูบรรยากาศทางเศรษฐกิจ อย่างต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องการดำเนินนโยบายการเงินที่เอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง การสร้างความเชื่อมั่นโดยใช้ยุทธศาสตร์การสื่อสารและการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์ พร้อมทั้งการเตรียมมาตรการรองรับผู้ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2557 และแนวโน้มปี 2557
          เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2557 หดตัวร้อยละ 0.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ในด้านการใช้จ่าย อุปสงค์ในประเทศและมูลค่าการส่งออกลดลง ในขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐชะลอตัว ในด้านการผลิต ภาคเกษตรชะลอตัว ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรม ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ โรงแรมและภัตตาคาร และค้าส่งค้าปลีกหดตัว และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2557 หดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่สี่ของปี 2556 ร้อยละ 2.1 (QoQ_SA %)

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2557
          (1) การใช้จ่ายภาคครัวเรือน ลดลงร้อยละ 3.0 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 4.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการหดตัวของรายจ่ายในหมวดสินค้าคงทน โดยเฉพาะรถยนต์นั่งที่มีปริมาณการจำหน่ายลดลงร้อยละ 58.2  ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติของการจำหน่ายรถยนต์นั่งภายหลังจากการสิ้นสุดมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรก ในขณะที่การใช้จ่ายอื่นๆ ชะลอตัวตามฐานรายได้ และการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจในภาพรวม รวมทั้งความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและทำให้ประชาชนระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวลดลงจากระดับ 65.0 ในไตรมาสก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 60.0 ในไตรมาสนี้ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 15 ปี (นับตั้งแต่ไตรมาสที่สอง ปี 2542)
          (2) การลงทุนรวม ลดลงร้อยละ 9.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 11.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 19.3 ซึ่งเป็นการลดลงทั้งการลงทุนของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ส่วนการลงทุนภาคเอกชน หดตัว ร้อยละ 7.3 เนื่องจากการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรลดลงร้อยละ 11.6 สอดคล้องกับการลดลงของมูลค่า การนำเข้าสินค้าทุน (ราคาคงที่) ร้อยละ 7.5 รวมทั้งการก่อสร้างภาคเอกชนที่หดตัวร้อยละ 7.8  ในขณะที่ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 10.6 เนื่องจากนักลงทุนรอความชัดเจนของนโยบายส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่ รวมทั้งรอการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนชุดใหม่ (ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2557) เพื่ออนุมัติโครงการที่ค้าง การพิจารณาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 และความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังอยู่ในระดับต่ำกว่าระดับ 50 จากระดับ 46.4 ในไตรมาสก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 47.1 ในไตรมาสนี้
          (3) การส่งออกสินค้า มีมูลค่า 55,573 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยปริมาณการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9  ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ยังฟื้นตัวอย่างช้าๆ และยังคงกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม อย่างไร ก็ตาม ราคาสินค้าส่งออกยังปรับตัวลดลงร้อยละ 1.6 และส่งผลให้มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 0.8 และ เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 2.6 สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง ได้แก่ ยางพารา สินค้าประมง ผลิตภัณฑ์โลหะ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ส่วนสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าขยายตัว ได้แก่ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องจักรและอุปกรณ์ มูลค่าการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นขยายตัว สอดคล้องกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในตลาดหลัก แต่มูลค่า การส่งออกไปยังจีนและอาเซียนปรับตัวลดลงตามภาวะเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเซียในภาพรวมที่ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว
          (4) สาขาเกษตรกรรม ขยายตัวร้อยละ 0.8 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.1 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากการลดลงของผลผลิตข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และราคาสินค้าเกษตร อย่างไรก็ตาม ผลผลิตยางพารา ไม้ผล และปศุสัตว์ขยายตัว และเป็นปัจจัยสนับสนุนให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8
          (5) สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ลดลงร้อยละ 3.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 5.7 ในไตรมาสก่อนหน้า  เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 9 ไตรมาส ตามจำนวนและรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงร้อยละ 5.8 และร้อยละ 4.2 ตามลำดับ โดยมีสาเหตุสำคัญจากสถานการณ์ทางการเมือง มาตรการเพิ่มคุณภาพนักท่องเที่ยวของจีน รวมทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน อย่างไรก็ตาม จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางผ่านท่าอากาศยานในภูมิภาคเพิ่มขึ้น และนักท่องเที่ยวจากยุโรป อเมริกาใต้ และแอฟริกา ยังคงขยายตัว
          (6) สาขาอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 2.7 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 2.8 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นการลดลงติดต่อกัน 4 ไตรมาส เนื่องจากการลดลงของการบริโภคภาคครัวเรือน การสิ้นสุดของมาตรการคืนภาษีสรรพสามิตรถยนต์คันแรก การลดลงของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม และการลดลงของการลงทุนตามสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง สอดคล้องกับการหดตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม และอัตรา การใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยที่ลดลงต่อเนื่องและอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 9 ไตรมาส
          (7) สาขาก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 12.4 ต่อเนื่องจากการหดตัวร้อยละ 8.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการหดตัวของการก่อสร้างภาครัฐและการก่อสร้างภาคเอกชนซึ่งหดตัวร้อยละ 7.8 และร้อยละ 11.8 ตามลำดับ สอดคล้องกับการลดลงของพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างอย่างต่อเนื่องในช่วงสามไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ปริมาณ การจำหน่ายปูนซีเมนต์ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สี่ อย่างไรก็ตาม ปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็กและราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น

แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2557
          สศช. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 1.5 - 2.5  ปรับลดลงจากประมาณการร้อยละ 3.0 - 4.0 ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557 โดยมีเหตุผลหลักในการปรับประมาณการ ประกอบด้วย  (1) เศรษฐกิจในไตรมาสแรกหดตัวมากกว่าที่คาดการณ์ (2) เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวล่าช้าและกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ในขณะที่เศรษฐกิจเอเชียมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ ส่งผลให้การส่งออกขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ (3) ราคาส่งออกสินค้าเกษตรยังคงลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ราคาส่งออกทั้งปีมีแนวโน้มหดตัวร้อยละ  (-1.0) - 0.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.9 - 2.9 ในการประมาณการครั้งก่อน (4) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคและการลงทุนยังมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องในครึ่งปีแรก ในขณะที่การฟื้นตัวในครึ่งปีหลังยังคงมีข้อจำกัดจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศและการชะลอตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้า ซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุรกิจฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ (5) การจัดตั้งรัฐบาลมีแนวโน้มล่าช้าออกไปจากที่คาดการณ์ไว้เดิม จึงเป็นข้อจำกัดมากขึ้นต่อการดำเนินมาตรการเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การเบิกจ่ายงบประมาณ และการจัดเตรียมงบประมาณประจำปี 2558 และ (6) จำนวนนักท่องเที่ยวในไตรมาสแรกของปี 2557 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ ในขณะที่การฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปียังมีความอ่อนไหวต่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ และส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวรวม 27.0 ล้านคน ลดลงจาก 27.5 ล้านคน ในการประมาณการครั้งก่อน โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. จะขยายตัวร้อยละ 3.7 การบริโภคของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 0.8 การลงทุนรวมหดตัวร้อยละ 1.3 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วงร้อยละ 1.9 - 2.9 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 0.5 ของ GDP

1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2557 ในด้านต่างๆ เป็นดังนี้

          - ด้านการใช้จ่าย
          การใช้จ่ายภาคครัวเรือน: ปรับตัวลดลงตามการหดตัวของการใช้จ่ายในหมวดรถยนต์นั่ง การชะลอตัวของรายได้ และการลดลงของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอันเนื่องมาจากความกังวลต่อสถานการณ์ ความไม่แน่นอนทางการเมืองและการชะลอตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง  ในไตรมาสแรกของปี 2557 การใช้จ่ายภาคครัวเรือนลดลงร้อยละ 3.0 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 4.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลดลงของรายจ่ายในหมวดสินค้าคงทน โดยเฉพาะรถยนต์นั่งที่ปริมาณการจำหน่ายลดลงร้อยละ 58.2 ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งภายหลัง จากการสิ้นสุดมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรก ขณะที่การใช้จ่ายอื่นๆ ชะลอตัวตามฐานรายได้ รวมทั้ง ความระมัดระวังในการใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า และปริมาณการจำหน่ายเบียร์ หดตัวร้อยละ 2.2 8.3 3.2 และร้อยละ 6.0 ตามลำดับ สอดคล้องกับการลดลงของการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ราคาคงที่) ร้อยละ 0.3 และการปรับตัวลดลงต่อเนื่องของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจากระดับ 65.0 ในไตรมาสก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 60.0 ในไตรมาสนี้ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 60 ไตรมาส (นับตั้งแต่ไตรมาสที่สอง ปี 2542)
          การลงทุนภาคเอกชน: ปรับตัวลดลงเนื่องจากการหดตัวของการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักร และ การก่อสร้าง ในไตรมาสแรกของปี 2557 การลงทุนภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 7.3 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 13.2 ในไตรมาสก่อนหน้า การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรลดลงร้อยละ 7.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 15.5 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุน (ราคาคงที่) และปริมาณ การจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศที่ลดลงร้อยละ 7.5 และร้อยละ 41.9 ตามลำดับ การลงทุนก่อสร้างลดลงร้อยละ 7.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 4.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในไตรมาสนี้คิดเป็นมูลค่า 234.0 พันล้านบาท ลดลง ร้อยละ 10.6 เนื่องจากนักลงทุนรอความชัดเจนของนโยบายส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่ รวมทั้งรอการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนชุดใหม่ (ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2557) เพื่ออนุมัติโครงการ ที่ค้างการพิจารณาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 และความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่อยู่ในระดับต่ำกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สาม จากระดับ 47.8 และ 46.4 ในไตรมาสที่สาม และไตรมาสที่สี่ของปีที่แล้ว มาอยู่ที่ระดับ 47.1 ในไตรมาสนี้
          การส่งออก: ปริมาณการส่งออกปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจโลก ที่ยังกระจุกตัว อยู่ในประเทศอุตสาหกรรม แต่มูลค่าการส่งออกยังลดลงเนื่องจากการลดลงของราคาสินค้าส่งออกและปริมาณส่งออกที่ยังเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ รวมทั้งข้อจ่ากัดของภาคการผลิตสินค้าส่าคัญๆ การส่งออกสินค้า ในไตรมาสแรกของปี 2557 มีมูลค่า 55,573 ล้านดอลลาร์ สรอ. หดตัวร้อยละ 0.8 ต่อเนื่องจากการหดตัว ร้อยละ 1.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในขณะที่ราคาสินค้าส่งออกลดลงร้อยละ 1.6  เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 2.6 แต่เมื่อคิด ในรูปของเงินบาท การส่งออกมีมูลค่า 1,814,541 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.4 ในไตรมาสก่อนหน้า
          การส่งออกสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ 2.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 5.9 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากการลดลงของราคาส่งออกเป็นสำคัญ (ลดลงร้อยละ 10.9) โดยเฉพาะราคาข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และน้ำตาล แม้ว่าปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรโดยรวมจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0  แต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรโดยรวมขยายตัว การส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญๆ ประกอบด้วย ข้าว มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เนื่องจากสามารถส่งออกข้าวในปริมาณที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 43.3 จากการเร่งระบายข้าวของรัฐบาล เช่นเดียวกับมูลค่าการส่งออกมันส่าปะหลังที่ขยายตัวร้อยละ 26.9 เนื่องจากปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีนซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญมีความต้องการมันสำปะหลังเพื่อผลิตเอทานอลเพิ่มขึ้น มูลค่า การส่งออกยางพาราลดลงร้อยละ 15.5 ซึ่งเป็นผลจากราคาที่ลดลงร้อยละ 24.3 เนื่องจากสต็อกยางพาราของจีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าหลักของโลกยังอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 มูลค่า การส่งออกน่าตาลลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 ร้อยละ 28.8 เนื่องจากการลดลงของทั้งปริมาณและราคา สินค้าอุตสาหกรรมหดตัวต่อเนื่องตามอุปสงค์ในตลาดโลกที่ยังฟื้นตัวอย่างช้าๆ รวมทั้งข้อจำกัดของ ภาคการผลิตสินค้าสำคัญๆ ที่ยังปรับตัวลดลง เช่น กุ้ง ปูกระป๋องและแปรรูป ซึ่งยังคงประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบสำหรับการแปรรูปเนื่องจากฟาร์มเพาะลูกกุ้งยังมีพ่อแม่พันธุ์จำกัด ประกอบกับผลจากฐานการส่งออกผลิตภัณฑ์โลหะ (เหล็กและเหล็กกล้า) ที่สูงมากในช่วงเดียวกันของปีก่อน จึงทำให้ปริมาณและมูลค่าการส่งออกหดตัวร้อยละ 2.2 และร้อยละ 2.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญๆ เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องจักรและอุปกรณ์ ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ โดยขยายตัวร้อยละ 3.1  0.2  7.2  และร้อยละ 8.7 ตามลำดับ สินค้าประมงหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 แต่ในอัตราที่ช้าลงร้อยละ 9.4 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 22.9 ในไตรมาสก่อนหน้า
          ตลาดส่งออก: การส่งออกไปตลาดหลักขยายตัวทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (15) และญี่ปุ่น แต่การส่งออกไปตลาดอาเซียน (9) จีน ออสเตรเลีย และฮ่องกงหดตัว สอดคล้องกับการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจโลกที่ยังกระจุกตัวอยู่ในประเทศอุตสาหกรรม ในขณะที่เศรษฐกิจจีนและเอเซียยังอยู่ในภาวะชะลอตัว การส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป (15) ขยายตัวร้อยละ 0.6 และร้อยละ 4.8 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 5.2 และร้อยละ 6.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ สอดคล้องกับ การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจยูโรโซน ในขณะที่การส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นเริ่มกลับมาขยายตัวร้อยละ 2.0 หลังจากที่หดตัวติดต่อกัน 3 ไตรมาส สอดคล้องกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่เริ่มมีสัญญาณของการฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยังตลาดอาเซียน (9) และจีน เริ่มกลับมา หดตัวร้อยละ 5.4 และร้อยละ 4.4 หลังจากการขยายตัวร้อยละ 1.2 และร้อยละ 12.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ ตามภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน สิงค์โปร์ และเวียดนาม  ในขณะที่การส่งออกไปยัง ตลาดออสเตรเลียหดตัวต่อเนื่องร้อยละ 17.4 โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเหล็กและเหล็กกล้า เช่นเดียวกับการส่งออกไปยังตลาดฮ่องกงที่ยังคงหดตัวต่อเนื่องร้อยละ 1.8
          การน่าเข้า: ปรับตัวลดลงต่อเนื่องตามการหดตัวของการส่งออกและอุปสงค์ในประเทศ รวมทั้งการลดลงของราคาน่าเข้าและผลจากฐานการน่าเข้าทองค่าที่สูงมากในช่วงเดียวกันของปีก่อน (มูลค่าการน่าเข้าทองค่าในไตรมาสแรกของปี 2556 อยู่ที่ 6,351 ล้านดอลลาร์ สรอ.) ในไตรมาสแรกของปี 2557 การนำเข้ามีมูลค่าทั้งสิ้น 49,054 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 14.8 เนื่องจากปริมาณนำเข้าลดลงร้อยละ 13.8 และเป็น การลดลงในทุกหมวดสินค้า ในขณะที่ราคานำเข้าลดลงร้อยละ 1.4 ตามการลดลงของราคาน้ำมันดิบ ทองคำ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และเหล็กและเหล็กกล้า เมื่อหักการนำเข้าทองคำแล้ว มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 6.4  ในรูปของเงินบาท การนำเข้ามีมูลค่า 1,602,826 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 4.6 ในไตรมาสก่อนหน้า
          ในรายหมวด มูลค่าสินค้านำเข้าลดลงในทุกหมวด โดยมูลค่าการน่าเข้าหมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางลดลงร้อยละ 4.7 สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง ได้แก่ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ สินแร่ และสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มิใช่อุตสาหกรรมการเกษตร เช่น วัสดุก่อสร้าง วัสดุที่ทำด้วยโลหะ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ สอดคล้องกับภาวะการผลิตภาคอุตสาหกรรม  การลงทุนในประเทศ และการส่งออกที่ยังอยู่ในภาวะหดตัว รวมทั้งการปิดซ่อมบำรุง ของโรงกลั่นหลายแห่งซึ่งส่งผลให้มีการนำเข้าน้ำมันดิบลดลง มูลค่าการน่าเข้าหมวดสินค้าทุน ลดลงร้อยละ 11.1 เป็นการลดลงของการนำเข้าสินค้าทั้งในกลุ่มเครื่องจักร อุปกรณ์และเครื่องใช้ประกอบ และกลุ่ม อากาศยาน เรือ แท่นขุดเจาะ และรถไฟ สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง ได้แก่ เครื่องจักรกลอื่นๆ และชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์ อากาศยาน เรือ แท่นขุดเจาะ รถไฟ และชิ้นส่วนอากาศยานและเรือ มูลค่าการน่าเข้าหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ลดลงร้อยละ 7.3 สอดคล้องกับการปรับตัวลดลงของการใช้จ่ายของ ภาคครัวเรือน สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์จากสัตว์และประมง และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เป็นต้น
          อัตราการค้า (Term of Trade): อยู่ในระดับทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากราคาส่งออกลดลงร้อยละ 1.6 ในขณะที่ราคานำเข้าลดลงร้อยละ 1.4 ทำให้อัตราการค้าในไตรมาสแรกของปี 2557 อยู่ที่ 101.2 เทียบกับ 101.1 ในไตรมาสก่อนหน้า
          ดุลการค้า: เกินดุลติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สาม ดุลการค้าในไตรมาสแรกของปี 2557 เกินดุล 6,519  ล้านดอลลาร์ สรอ. (211,715 ล้านบาท) สูงกว่าการเกินดุล 3,849 ล้านดอลลาร์ สรอ. (123,016 ล้านบาท) ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลจากมูลค่าการนำเข้าลดลงเร็วกว่ามูลค่าการส่งออก

          - ด้านการผลิต
          สาขาเกษตรกรรม: ชะลอตัวลงเนื่องจากการลดลงของผลผลิตข้าว ปาล์มน้ำมัน และมันสำปะหลัง  ในไตรมาสแรก การผลิตสาขาเกษตรกรรมขยายตัวร้อยละ 0.8 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของผลผลิตข้าวเปลือกนาปรัง ปาล์มน้ำมัน และมันสำปะหลัง เนื่องจากปัญหาภัยแล้งและการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังบางส่วนเป็นการปลูกอ้อย ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่า อย่างไรก็ตาม ผลผลิตสินค้าสำคัญอื่นๆ ยังขยายตัว โดยเฉพาะ (1) ผลผลิตยางที่เพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้น ของเนื้อที่เปิดกรีดหน้ายางใหม่ (2) สภาพภูมิอากาศที่มีฤดูหนาวยาวนานส่งผลดีต่อผลผลิตไม้ผล และ  (3) การเพิ่มขึ้นของการผลิตปศุสัตว์ตามราคาและความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของตลาดในประเทศและต่างประเทศ  สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรร้อยละ 2.9  ดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 0.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของราคาข้าวเปลือก (ร้อยละ 16.8) ยางพารา (ร้อยละ 22.8) และข้าวโพด (ร้อยละ 23.8) เนื่องจาก (1) การเร่งระบายข้าวของรัฐบาลและการสิ้นสุดของโครงการรับจำนำ (2) ผลผลิตยางพาราโลกเพิ่มขึ้น รวมทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและสต็อกยางพาราของจีนมีระดับสูง และ (3) ผลผลิตข้าวโพดเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตต่อไร่และพื้นที่เก็บเกี่ยวเพื่อชดเชยการลดลงของผลผลิตถั่วเหลือง ราคาสินค้าเกษตรสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน (ร้อยละ 53.0) มันสำปะหลัง (ร้อยละ 5.8) และกุ้งขาวแวนนาไม (ร้อยละ 70.4) เนื่องจากความต้องการมันสำปะหลังเพื่อผลิตเอทานอลทั้งภายในประเทศและจีนเพิ่มขึ้น ผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลงเนื่องจากภัยแล้งและผลผลิตประมงยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ในขณะที่ราคาไม้ผล และปศุสัตว์เพิ่มขึ้น ตามความต้องการบริโภค การเพิ่มขึ้นของผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรสำคัญส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 2.8 เทียบกับร้อยละ 3.3 ในไตรมาสก่อนหน้า
          สาขาอุตสาหกรรม: ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สี่ตามการลดลงของการลงทุน การส่งออก และ การบริโภคในประเทศ ในไตรมาสแรก การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 2.7 ต่อเนื่องจากการหดตัวร้อยละ 1.1 ร้อยละ 0.5 และร้อยละ 2.8 ในไตรมาสที่สอง สาม และสี่ของปี 2556 ตามลำดับ โดยมีสาเหตุสำคัญจาก (1) การบริโภคในประเทศชะลอตัว แม้ว่าการส่งออกจะฟื้นตัวแต่ไม่สามารถชดเชยการบริโภค ในประเทศที่หดตัวได้ (2) การผลิตรถยนต์กลับเข้าสู่ภาวะปกติภายหลังมาตรการคืนภาษีสรรพสามิตรถยนต์คันแรกสิ้นสุดลง (3) การปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น โรงยาสูบ และอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ชั่วคราว และ (4) การผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟลดลงตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และความต้องการในตลาดโลก อุตสาหกรรม การผลิตที่หดตัวมาก ได้แก่ อัญมณี (ร้อยละ 20.1) ยานยนต์ (ร้อยละ 26.0) ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ร้อยละ 6.7) เครื่องหนัง (ร้อยละ 10.5) และฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (ร้อยละ 7.8) อุตสาหกรรมการผลิตที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องแต่งกาย (ร้อยละ 7.5) ยางและผลิตภัณฑ์พลาสติก (ร้อยละ 3.7) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า (ร้อยละ 7.5) และหลอดอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 5.0) อัตราการใช้ก่าลังการผลิตเฉลี่ยต่ำสุดในรอบ 9 ไตรมาส ที่ร้อยละ 61.8 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 62.1 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 67.4 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
          สาขาก่อสร้าง: ลดลงทั้งการก่อสร้างภาครัฐและเอกชน ในไตรมาสแรก การผลิตสาขาก่อสร้างลดลงร้อยละ 12.4 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 8.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการก่อสร้างภาครัฐและภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 7.8 และร้อยละ 11.8 ตามลำดับ สอดคล้องกับการลดลงของพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในช่วง สามไตรมาสที่ผ่านมา ที่ลดลงร้อยละ 4.6 ร้อยละ 6.6 และร้อยละ 17.6 ตามลำดับ แม้ว่าพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในไตรมาสนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ก็ตาม ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ชะลอตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ห้าที่ร้อยละ 0.4 อย่างไรก็ตาม ปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็กขยายตัวร้อยละ 12.4 สำหรับราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ตามการเพิ่มขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบและค่าแรง
          สาขาอสังหาริมทรัพย์: ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง ในไตรมาสแรก การผลิตสาขาอสังหาริมทรัพย์หดตัวร้อยละ 0.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ในด้านอุปสงค์ ยอดการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลลดลงร้อยละ 5.8 ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลงต่อเนื่องและความไม่แน่นอนทางการเมือง ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย ประกอบกับธนาคารพาณิชย์เพิ่มความระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อทำให้จำนวนที่อยู่อาศัย ที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อปล่อยใหม่จากธนาคารพาณิชย์ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลลดลงร้อยละ 3.2 ในด้านอุปทาน แม้ว่าที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนในเขตกรุงเทพฯ ขยายตัวร้อยละ 2.4 แต่จำนวนโครงการอสังหาริมทรัพย์เปิดตัวใหม่ลดลงร้อยละ 41.6 โดยเฉพาะจำนวนโครงการอาคารชุดที่ลดลงร้อยละ 50.5 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองและการชะลอตัวของเศรษฐกิจในภาพรวมอย่างต่อเนื่องที่กระทบความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ ในด้านราคาปรับตัวสูงขึ้นทั้งราคาที่ดิน และราคาที่อยู่อาศัย โดยราคาที่ดินทาวน์เฮ้าส์พร้อมที่ดิน บ้านเดี่ยวพร้อมที่ดิน และอาคารชุดเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 ร้อยละ 6.2 ร้อยละ 5.7 และร้อยละ 3.8 ตามลำดับ
          สาขาโรงแรมและภัตตาคาร: หดตัวเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมือง มาตรการเพิ่มคุณภาพนักท่องเที่ยวและการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ในไตรมาสแรก การผลิตสาขาโรงแรมและภัตตาคาร หดตัวร้อยละ 3.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 5.7 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นการหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงเหตุการณ์อุทกภัยในไตรมาสที่สี่ของปี 2554 สอดคล้องกับการลดลงของเครื่องชี้สำคัญๆ ประกอบด้วย (1) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมีจำนวน 6.6 ล้านคน หรือลดลงร้อยละ 5.8 เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 9 ไตรมาส โดยเป็นการลดลงของนักท่องเที่ยวจากเกือบทุกภูมิภาคของโลก ยกเว้น ยุโรป อเมริกาใต้ และแอฟริกา (2) รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติมีมูลค่า 330,082 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 4.2 เป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในไตรมาสที่สองของปี 2553 และ (3) อัตราการ เข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 60.3 ลดลงเทียบกับร้อยละ 72.1 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
          อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า ในขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมือง1 ลดลงร้อยละ 15.0 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางผ่านท่าอากาศยานในภูมิภาคกลับมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 โดยเฉพาะท่าอากาศยาน สมุย เชียงใหม่ กระบี่ และภูเก็ต ที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 174.0 ร้อยละ 73.9 ร้อยละ 46.7 และร้อยละ 6.1 ตามลำดับ นอกจากนั้น นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรป อเมริกาใต้ และแอฟริกายังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ร้อยละ 19.7 และร้อยละ 10.1 ตามลำดับ โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ รัสเซีย ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ ลาว และอิตาลี ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 ร้อยละ 7.3 ร้อยละ 15.0 ร้อยละ 39.2 และร้อยละ 8.9 ตามลำดับ
          สาขาการค้าส่งค้าปลีก: หดตัวตามการลดลงของการลงทุน การท่องเที่ยว และการบริโภค ในไตรมาสแรก การค้าส่งค้าปลีกหดตัวร้อยละ 0.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.2 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นการหดตัว ครั้งแรกในรอบ 18 ไตรมาส ในด้านการค้าส่ง การค้าส่งหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์หดตัวมากขึ้นอย่างต่อเนื่องนับจากไตรมาสที่สามของปี 2556 ตามการหดตัวของการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรและสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่อยู่ในระดับต่ำกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สามจากระดับ 47.8 และ 46.4 ในไตรมาสที่สาม และไตรมาสที่สี่ของปีที่แล้ว มาอยู่ที่ระดับ 47.1 ในไตรมาสนี้ ในขณะที่หมวดวัตถุดิบทางการเกษตร วัสดุก่อสร้าง และเชื้อเพลิงขยายตัว และการค้าส่งหมวดอาหารชะลอตัว ในด้านการค้าปลีก การค้าปลีกหมวดรถยนต์และห้างสรรพสินค้าลดลงตามการสิ้นสุดของมาตรการคืนภาษีสรรพสามิตรถยนต์คันแรกและการหดตัวของภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม การค้าปลีกหมวดอาหารและเครื่องดื่มยังขยายตัวในเกณฑ์สูง
          การจ้างงาน: ลดลงตามการชะลอตัวและหดตัวของเศรษฐกิจ ในขณะที่การว่างงานเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับต่า ในไตรมาสแรก ปี 2557 มีการจ้างงาน 37.81 ล้านคน ลดลงร้อยละ 0.5 ตามการจ้างงานนอกภาคเกษตรซึ่งลดลง 277,650 คน (ลดลงร้อยละ 1.1) ประกอบด้วย (1) สาขาก่อสร้าง จ้างงานลดลง 176,800 คน (ลดลงร้อยละ 6.8) ตามการหดตัวของการก่อสร้างภาครัฐและเอกชนซึ่งเป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจและการลดลงของความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ (2) สาขาค้าส่งค้าปลีก จ้างงานลดลง 102,127 คน (ลดลงร้อยละ 1.6) สอดคล้องกับการหดตัวของดัชนีค้าส่งและค้าปลีกที่ลดลงร้อยละ 16.3 และร้อยละ 9.2 ตามลำดับ และ (3) สาขาอุตสาหกรรม จ้างงานลดลง 88,333 คน (ลดลงร้อยละ 1.3) สอดคล้องกับ การหดตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในขณะที่การจ้างงานภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 88,343 คน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7) ตามการขยายพื้นที่เพาะปลูกและการเพิ่มขึ้นของผลผลิตพืชผลสำคัญ รวมทั้งการฟื้นตัวของผลผลิตกุ้ง
          สำหรับผู้ว่างงานเฉลี่ยในไตรมาสนี้มีจำนวน 344,430 คน เพิ่มขึ้น 75,703 คน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.9

          - ด้านการคลัง
          การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลต่ากว่าประมาณการและต่ากว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ในไตรมาสที่สองของปีงบประมาณ 2557 (มกราคม - มีนาคม 2557) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 432,470.4 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ และต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.1 และร้อยละ 7.9 ตามลำดับ โดยมีสาเหตุสำคัญมาจาก (1) การปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคลธรรมดา และการขยายฐานภาษีไม่เป็นไปตามเป้าหมาย  (2) การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าหดตัวตามการลดลงของมูลค่าการนำเข้า และ (3) ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ลดลงตามการลดลงของความต้องการซื้อรถยนต์หลังจากที่ขยายตัวสูงในช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายคืนภาษีให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์คันแรก
          รวม 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 935,919.5 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการและช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.2 และร้อยละ 4.3 ตามลำดับ
          การเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ: ในไตรมาสที่สองของปีงบประมาณ 2557 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 642,735.9 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 3.6 แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 483,940.5 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3) และรายจ่ายลงทุน 158,818.7 ล้านบาท (ลดลงร้อยละ 24.9) โดยจำแนกเป็น (1) งบประมาณรายจ่ายประจ่าปีงบประมาณ 2557 จำนวน 482,641.6 ล้านบาท (อัตราเบิกจ่ายร้อยละ 19.1 ของวงเงินงบประมาณ ต่ำกว่าเป้าหมายซึ่งกำหนดไว้ร้อยละ 24) ซึ่งเป็นผลจากการเร่งรัดเบิกจ่ายในช่วงก่อนหน้า โดยแบ่งเป็น รายจ่ายประจำ 448,240.5 ล้านบาท (อัตราเบิกจ่ายร้อยละ 21.4 สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้วร้อยละ 0.2) และรายจ่ายลงทุน 34,401.1 ล้านบาท (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 8.0 ต่ำกว่าเป้าหมายซึ่งกำหนดไว้ร้อยละ 20) ซึ่งส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากอุปสรรคในการจัดประชุมคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการจัดสรรงบอุดหนุนเฉพาะกิจและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการลงทุน เช่น การขาดแคลนผู้รับจ้างและ ความล่าช้าในขั้นตอนการประกวดราคา (2) งบประมาณกันไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี จำนวน 70,456.3 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.1 (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 23.4) (3) เงินกู้นอกงบประมาณจำนวน 7,631 ล้านบาท ประกอบด้วย เงินกู้ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 2,990 ล้านบาท เงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน (Development Policy Loan: DPL) 3,536 ล้านบาท และเงินกู้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 จำนวน 1,105 ล้านบาท และ  (4) งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ (รวมบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  คาดว่าจะเบิกจ่ายงบลงทุนจำนวน 82,045.7  ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,614.4 ล้านบาท หรือเพิ่มจากร้อยละ 13.3 จากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว โดยส่วนใหญ่เป็นการเบิกจ่ายของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยและบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
          รวม 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 การใช้จ่ายภาครัฐอยู่ที่ 1,567,342.8 ล้านบาท หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.2 โดยรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้ 412,524.6 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 18.2 ในขณะที่รายจ่ายประจำเบิกจ่ายได้ 1,154,818.2 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.1 เทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน
          ฐานะการคลัง: ในไตรมาสที่สองของปีงบประมาณ 2557 รัฐบาลขาดดุลการคลังตามระบบกระแสเงินสดจำนวน 111,065.4 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลงบประมาณ 125,648.7 ล้านบาท การขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 52,282.7 ล้านบาท ทั้งนี้รัฐบาลได้มีการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 66,866 ล้านบาท ส่งผลให้ฐานะเงินคงคลัง ณ สิ้นงวด มีจำนวน 213,667 ล้านบาท
          รวม 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557  รัฐบาลขาดดุลงบประมาณ และขาดดุลเงินนอกงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 460,320.7 ล้านบาท และ 60,096.5 ล้านบาท ตามลำดับ โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชย การขาดดุลดังกล่าวไปแล้วทั้งสิ้น 130,160.1 ล้านบาท (กรอบวงเงินการขาดดุลประจำปีงบประมาณ 2557 เท่ากับ 250,000 ล้านบาท)
          หนี้สาธารณะคงค้าง: ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2557 มีจำนวน 5,530,363.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 46.10 ของ GDP โดยเพิ่มจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.3 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.98  ประกอบด้วย หนี้ของรัฐบาล 3,905,865.7 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 1,090,502.5 ล้านบาท และหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 533,422.7 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 70.6 ร้อยละ 19.7 และร้อยละ 9.7 ของหนี้สาธารณะคงค้าง ตามลำดับ

          - ด้านการเงิน
          อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยปรับตัวลดลง ในไตรมาสแรกของปี 2557 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจากร้อยละ 2.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 2.00 ต่อปี เนื่องจากประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงสูงขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังคงมีความไม่แน่นอน อาจส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจต่ำกว่าที่คาดการณ์ ในขณะที่ประเทศอุตสาหกรรมหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยูโร และญี่ปุ่น ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับธนาคารกลางของประเทศในภูมิภาคอาเซียนซึ่งส่วนใหญ่ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม ยกเว้นเวียดนามที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั้ง Refinancing Rate และ Discount Rate ลงร้อยละ 0.50 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในประเทศที่อยู่ในภาวะชะลอตัว ล่าสุด ในเดือนเมษายน 2557 กนง. ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ ร้อยละ 2.00 ต่อปี และจะติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด เพื่อดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมต่อไป เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคที่ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม
          อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจในไตรมาสแรกของปี 2557 ปรับตัวลดลงตามการลดลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นไตรมาสแรก อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลาง และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 2.23 2.37 และร้อยละ 2.60 ต่อปี ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นร้อยละ 1.75 2.02 และร้อยละ 2.49 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ย MLR เฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง และธนาคารพาณิชย์ขนาดกลาง ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 6.85 และ ร้อยละ 7.25 ในไตรมาสที่แล้วเป็นร้อยละ 6.75 และร้อยละ 7.17 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริง2 ซึ่งปรับลดลงจากไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ -0.36 และ 4.64 ต่อปี ตามลำดับ ล่าสุด ในเดือนเมษายน 2557  ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนลงอีกเล็กน้อย แต่ยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ไว้ในระดับเดียวกับเดือนมีนาคม 2557
          เงินฝากและการลงทุนในตั๋วแลกเงิน (B/E) ของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 6.5 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 7.1 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ได้ลดระดับการเร่งระดมเงินฝากลง ตามการปรับลดเป้าหมายสินเชื่อในปี 2557 ตามแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในภาพรวม รวมทั้งผลจากการลดลงของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ภายหลังจาก กนง. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเป็นร้อยละ 2.00 ในเดือนมีนาคม 2557 และผลจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการออมไปเป็นการลงทุนในกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มมากขึ้น
          สินเชื่อภาคเอกชน (ไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับ) ของธนาคารพาณิชย์ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สินเชื่อธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 11.8 ในไตรมาสสี่ของปี 2556 และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สินเชื่อขยายตัวเพียงร้อยละ 0.23 (%QoQ S.A.) ชะลอลงจากการขยายตัว ร้อยละ 2.06 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการชะลอตัวของสินเชื่อภาคครัวเรือน ซึ่งส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภาคครัวเรือนซึ่งทำให้ฐานการขยายตัวสูงและส่งผลให้สินเชื่อเพื่อซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ชะลอตัวลงมาก ประกอบกับการหดตัวของภาวะเศรษฐกิจทำให้ธนาคารพาณิชย์มีความกังวลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนและระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ในขณะที่สินเชื่อภาคธุรกิจขยายตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า โดยขยายตัวได้ดีในสาขาการเกษตร อุตสาหกรรมการผลิต ก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ แต่สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ชะลอตัวลงเล็กน้อย นอกจากนี้ ในไตรมาสนี้ความต้องการสินเชื่อของธุรกิจขนาดใหญ่ลดลง แต่ความต้องการสินเชื่อของ SMEs เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น สำหรับปริมาณการใช้จ่ายบัตรเครดิตหดตัวลงร้อยละ 31.3 สอดคล้องกับการลดลงของความต้องการบริโภค
          สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ตึงตัวน้อยลงจากไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับ สภาพคล่องส่วนเกิน3 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนสินเชื่อ (ไม่รวมเงินให้กู้ยืมผ่านธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร) ต่อเงินฝากที่รวมตั๋วแลกเงินของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสแรกของปี 2557 ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 101.4  เป็นร้อยละ 100.6 ตามการชะลอตัวลงของสินเชื่อ สอดคล้องกับสภาพคล่องส่วนเกินซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 1,310.4 พันล้านบาท ในไตรมาสก่อนหน้า เป็น 1,391.7 พันล้านบาท
          ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. เคลื่อนไหวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2557 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ค่าเงินบาทยังคงอ่อนค่า โดยอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสแรกเฉลี่ยอยู่ที่ 32.67 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เทียบกับ 31.69 และ 29.81 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสก่อนหน้าและช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ประกอบด้วย (1) เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงตามการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ต่ำกว่าคาดการณ์ (2) สถานการณ์การเมืองในประเทศผ่อนคลายความรุนแรงลง (3) ความเชื่อมั่นในกลุ่มประเทศเกิดใหม่และการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจเอเชีย และ (4) มีความชัดเจนในทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ว่าจะยังอยู่ในระดับต่ำต่อไป อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมค่าเงินบาทในไตรมาสแรกของปี 2557 อ่อนค่าลงจากไตรมาสก่อนหน้า ร้อยละ 3.08 ในเดือนเมษายน 2557  เงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 32.32 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. (แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.22 จากเดือนก่อนหน้า) และเฉลี่ยในวันที่ 2-16 พฤษภาคม เท่ากับ 32.46 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
          ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับสกุลเงินของประเทศคู่ค้า/คู่แข่งอื่นๆ4 ปรับตัวอ่อนค่าลงจากไตรมาสก่อนหน้าและช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2557 ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อยู่ที่ 101.53 อ่อนค่าลงร้อยละ 0.08 และร้อยละ 6.10 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าและช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง (REER) ที่อ่อนค่าลงร้อยละ 0.14 และร้อยละ 6.54 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ
          เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออกสุทธิต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ในไตรมาสแรกของปี 2557 มีเงินทุนไหลออกสุทธิ 6.27 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ใกล้เคียงกับการไหลออกของเงินทุนในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นการไหลออกในทุกภาค (ยกเว้นธนาคารแห่งประเทศไทย) ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้นจากต่างประเทศของภาคธนาคาร การขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนต่างชาติ และการออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของผู้ลงทุนไทย ในขณะที่เงินทุนไหลเข้าสุทธิจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 2.89 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับการไหลเข้าสุทธิ 4.28 และ 4.11 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสที่สามและไตรมาสที่สี่ของปี 2556 ตามลำดับ
          ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ (SET index) ผันผวนตลอดทั้งไตรมาส ตามความกังวลของนักลงทุนต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ และปัญหาการเมืองในประเทศที่ยังยืดเยื้อ โดย SET index เคลื่อนไหวในช่วง 1,205.4-1,381.2 และปิด ณ ไตรมาสที่ 1,376.3 จุด เพิ่มขึ้นจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2556 ร้อยละ 6.0 ในขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลงมาอยู่ที่ 29.9 พันล้านบาท โดย นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิรวม 20.8 พันล้านบาท ซึ่งเป็นการขายสุทธิในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ เนื่องจากนักลงทุนกังวลต่อการปรับลดขนาดมาตรการ QE ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ตั้งแต่ต้นปี 2557 ที่จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ จึงได้ลดน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงลง อย่างไรก็ตามนักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิอีกครั้งในเดือนมีนาคม ภายหลังทิศทาง การดำเนินนโยบายการเงินของสหรัฐฯ มีความชัดเจนมากขึ้น และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเกิดใหม่เริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศยังคงเป็นปัจจัยที่กดดันปริมาณการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในไทย
          ในเดือนเมษายน 2557  SET Index ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1,414.9 จุด มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 30.2 พันล้านบาท โดยนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิ 15.9 พันล้านบาท ต่อเนื่องจาก เดือนมีนาคม ตามเงินทุนจากต่างประเทศที่ไหลเข้าสู่ภูมิภาค อย่างไรก็ตามในช่วงวันที่ 2- 16 พฤษภาคม  SET Index ยังคงเคลื่อนไหวผันผวน เนื่องจากปัญหาทางการเมืองในประเทศยังไม่มีข้อยุติ
          มูลค่าการซื้อขายพันธบัตรปรับตัวเพิ่มขึ้น มูลค่าซื้อขายเฉพาะธุรกรรมซื้อขายขาด (Outright Transaction) เฉลี่ยต่อวันในไตรมาสแรก เท่ากับ 75.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 69.9 พันล้านบาท ในไตรมาสที่สี่ ปี 2556  โดยนักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิในไตรมาสแรก 0.3 พันล้านบาท เทียบกับยอดซื้อสุทธิ 7.5 พันล้านบาท ใน ไตรมาสที่สี่ ปี 2556 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการขายสุทธิในเดือนมกราคม (6.0 พันล้านบาท) และกุมภาพันธ์  (1.7 พันล้านบาท) เนื่องจาก (1) นักลงทุนต้องการลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดทุนจากการลดขนาดมาตรการ QE ของสหรัฐฯ (2) ปริมาณพันธบัตรออกใหม่ในตลาดแรกมีแนวโน้มที่จะต่ำกว่าการคาดการณ์เนื่องจากความไม่ชัดเจนในประเด็นทางกฎหมายของ พ.ร.บ. ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และ (3) ความกังวลของ นักลงทุนต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยของ กนง. ภายหลังเศรษฐกิจไทยเริ่มส่งสัญญาณการชะลอตัวลงจากปัญหาการเมืองในประเทศ อย่างไรก็ตามในเดือนมีนาคม นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 7.4 พันล้านบาท ภายหลังทิศทางอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล (Yield) ณ สิ้นไตรมาส ปรับลดลงเกือบทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะพันธบัตรระยะสั้นถึงปานกลาง เนื่องจาก การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและปริมาณพันธบัตรระยะสั้นออกใหม่ลดลง
          ในเดือนเมษายน 2557  มูลค่าซื้อขายเฉพาะธุรกรรมซื้อขายขาดเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 93.6 พันล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกและเดือนมีนาคม 2557 โดยนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิที่ 41.6 พันล้านบาท ต่อเนื่องจากเดือนมีนาคม ภายหลังการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ซึ่งจูงใจเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าสู่ตลาดทุนไทยมากขึ้น ประกอบกับมีแรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันเข้ามามากขึ้น
          ดุลบัญชีเดินสะพัด: ในไตรมาสแรกของปี 2557 บัญชีเดินสะพัดเกินดุล 8,226 ล้านดอลลาร์ สรอ.  (หรือเท่ากับ 267,929 ล้านบาท) สูงกว่าการเกินดุล 2,962 ล้านดอลลาร์ สรอ. (หรือเท่ากับ 95,105 ล้านบาท) ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการเกินดุลการค้า 6,519 ล้านดอลลาร์ สรอ. และการเกินดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิ 1,707 ล้านดอลลาร์ สรอ.
          เงินสำรองระหว่างประเทศ: ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2557 เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 167.45 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (และมี net forward position อีก 23.60 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) ซึ่งคิดเป็นประมาณ 2.8 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น (ณ สิ้นไตรมาสที่สี่ ปี 2556) และเทียบเท่ามูลค่าการนำเข้า 10.2 เดือน (ค่าเฉลี่ยมูลค่าการนำเข้าในไตรมาสแรก ปี 2557)
          อัตราเงินเฟ้อทั่วไป: ในไตรมาสแรกของปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 1.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 3.2 ใน ไตรมาสก่อนหน้า โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาเนื้อสัตว์ และราคาผักและผลไม้ เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดได้น้อยลง รวมทั้งการเพิ่มขึ้นราคาอาหารสำเร็จรูปเนื่องจากการทยอยปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือนตั้งแต่เดือนกันยายน 2556 ในอัตราเดือนละ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม ซึ่งส่งผลให้ราคาอาหารสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2556 จนถึงปัจจุบัน ในขณะที่ดัชนีราคาในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกันกับในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.2 เทียบกับร้อยละ 0.8 ในไตรมาสที่แล้ว5
          ดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสแรกของปี 2557 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาผลผลิตเกษตรกรรม และราคาผลิตภัณฑ์จากเหมืองเป็นหลัก โดยราคาผลผลิตเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาสัตว์มีชีวิตและสัตว์น้ำ และปลาและสัตว์น้ำ ส่วนราคาผลิตภัณฑ์จากเหมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 เร่งตัวขึ้นมากจากร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาลิกไนต์ ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ โดยเฉพาะลิกไนต์ที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดโลก ในขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 โดยเฉพาะราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นจากการอ่อนค่าของเงินบาทเป็นสำคัญ

2. ความเคลื่อนไหวราคาน้ำมันในไตรมาสแรก ปี 2557
          ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสแรกของปี 2557 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย 4 ตลาด (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และเวสท์เท็กซัส) อยู่ที่ 103.76 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ลดลงร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า (%YOY) และอยู่ในระดับต่ำกว่าราคาเฉลี่ย ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2556 และทั้งปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ 105.16 และ 104.52 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ตามลำดับ
          การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก มีสาเหตุสำคัญมาจาก (1) การเพิ่มขึ้นของอุปทานน้ำมันดิบ ในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศที่บริโภคน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลก (ร้อยละ 20.9 ของอุปสงค์รวมของโลก)   (2) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงเป็นไปอย่างช้าๆ (3) การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งเป็นประเทศ ที่บริโภคน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก (ร้อยละ 11.8 ของอุปสงค์รวมของโลก) และ (4) แนวโน้ม การแข็งค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. ซึ่งช่วยลด Speculative demand ในตลาดน้ำมันโลก

3. เศรษฐกิจโลกในไตรมาสแรกของปี 2557
          - เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสแรกของปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 0.1 (%QoQ saar) และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวร้อยละ 2.3 (%YoY) ชะลอตัวลงจากร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากการหดตัวของการส่งออกสุทธิและการลงทุนภาคเอกชน โดยเฉพาะการลงทุนภาคที่อยู่อาศัยซึ่งชะลอลงมากเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นกว่าปกติและการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวอย่างต่อเนื่องและสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสนี้ ซึ่งสอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้น อย่างต่อเนื่องของการจ้างงาน โดยเฉพาะการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับระดับก่อนเกิดวิกฤตในปี 2551 ในขณะที่อัตราการว่างงานลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นร้อยละ 6.7 นอกจากนี้ การใช้จ่ายของรัฐบาลกลางขยายตัว เป็นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส แสดงให้เห็นถึงการลดลงของข้อจำกัดด้านการคลัง ล่าสุด ในเดือนเมษายนภาคอุตสาหกรรมยังส่งสัญญาณขยายตัวเร่งขึ้นหลังจากได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติ  โดยดัชนี ISM ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 เป็น 54.9
          แนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจและการจ้างงาน เมื่อรวมกับการลดลงของข้อจำกัดทางการคลังและเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) มีมติลดขนาดการเข้าซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการ QE ลงจาก 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อเดือน ลงเหลือ 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อเดือน เมื่อวันที่ 29 - 30 เมษายน 2557 ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องกันเป็นครั้งที่ 4 นับตั้งแต่ การประชุมเมื่อเดือนธันวาคม 2556

          - เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซน ในไตรมาสแรกของปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 0.2 (%QoQ SA) เป็น การขยายตัวติดต่อกัน 4 ไตรมาส และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวของปีก่อน เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ  0.9 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการส่งออกสุทธิ ในขณะที่ภาคการผลิตยังคงฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยค่าเฉลี่ยดัชนี PMI รวมในไตรมาสแรกอยู่ที่ 53.1 เพิ่มขึ้นจาก 51.8  ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งในภาคบริการและภาคอุตสาหกรรม ส่วนการบริโภคภายในประเทศยังคงปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ เห็นได้จากยอดค้าปลีกที่ขยายตัวดี และสอดคล้องกับดัชนี ความเชื่อมั่นผู้บริโภคซึ่งปรับตัวเข้าสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 7 ปี ในเดือนมีนาคม อย่างไรก็ตาม อัตรา การว่างงานทรงตัวระดับสูงร้อยละ 11.9 ต่อเนื่องกัน  5 เดือน ในขณะที่แรงกดดันจากภาวะเงินฝืด ยังอยู่ในเกณฑ์สูง โดยอัตราเงินเฟ้อในไตรมาสแรกเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.6 ต่ำกว่าร้อยละ 1.0 ติดต่อกัน 2 ไตรมาส ส่งผลให้ธนาคารกลางยุโรปยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง โดยมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.25 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557

          - เศรษฐกิจญี่ปุ่น ในไตรมาสแรกของปี 2557 ยังคงมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก การเร่งการใช้จ่ายก่อนการเพิ่มอัตราภาษีการบริโภคที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน 2557 และการปรับตัว ดีขึ้นของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งดัชนี PMI เพิ่มขึ้นเป็นระดับ 55.3 สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของการจ้างงาน ซึ่งส่งผลให้อัตราการว่างงานลดลงเป็นร้อยละ 3.6 ต่ำสุดในรอบ 6 ปี อย่างไรก็ดี การส่งออกยังอยู่ในภาวะ ชะลอตัว ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวเร่งขึ้นจากการนำเข้าพลังงานเพื่อชดเชยอุปทานที่ขาดหายไป ส่งผลให้ดุลการค้ายังคงขาดดุล สำหรับอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีค่าเฉลี่ยในไตรมาสแรกอยู่ที่ร้อยละ 1.5 เนื่องจากธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงดำเนินมาตรการทางการเงินเพื่อเพิ่มฐานปริมาณเงินอย่างต่อเนื่อง

          - เศรษฐกิจจีน ในไตรมาสแรกขยายตัวร้อยละ 7.4 (%YoY) ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 7.8 ในไตรมาส ที่แล้ว และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 1.4 (%QoQ) ชะลอลงจากร้อยละ 1.7  ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อสร้างสมดุล ทำให้การลงทุนเพื่อการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างชะลอตัวลง ทั้งนี้การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 8.7 ชะลอลงอย่างชัดเจนจากการขยายตัวร้อยละ 10.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ การส่งออกหดตัว (ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นมูลค่าการส่งออกที่สูงเกินจริงในช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อน) อย่างไรก็ตาม มูลค่าการนำเข้ายังคงเพิ่มขึ้นส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนกุมภาพันธ์ ขาดดุลเป็นครั้งแรกนับจากมีนาคม 2556 เมื่อรวมกับมาตรการขยายกรอบการซื้อขายเงินหยวนและการเข้าซื้อเงินดอลลาร์ในตลาดการเงินของธนาคารกลางทำให้เงินหยวนอ่อนค่าลง อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำร้อยละ 2.3 สอดคล้องกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ

          - เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (Newly Industrial Economies) ในไตรมาสแรกของปี 2557 ประเทศเกาหลีใต้และไต้หวันขยายตัวเร่งขึ้นตามการขยายตัวของการบริโภค ในขณะที่เศรษฐกิจของสิงคโปร์ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 3.9 เร่งตัวขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 3.7  ในไตรมาสก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและการส่งออก ในขณะที่การสะสมทุนและการนำเข้าชะลอลง ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล สำหรับเศรษฐกิจไต้หวันขยายตัวร้อยละ 3.0 โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักมาจากการขยายตัวของการบริโภคในประเทศ ในขณะที่เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 5.1 ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 5.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการชะลอตัวของภาคบริการโดยเฉพาะการค้าส่งค้าปลีก และภาคการเงินและการประกันภัย ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมและภาคก่อสร้างยังคงขยายตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน

          เศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียน ในไตรมาสแรกของปี 2557 เศรษฐกิจอินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซียขยายตัวร้อยละ 5.2 5.0 และร้อยละ 6.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 5.7 6.0 และ 5.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ การชะลอตัวของเศรษฐกิจอินโดนีเซียมีสาเหตุสำคัญมาจากการหดตัวของภาคการส่งออกร้อยละ 0.8 ในขณะที่ค่าเงินรูเปียห์เริ่มมีเสถียรภาพดีขึ้นและอัตราเงินเฟ้อชะลอลง เช่นเดียวกับเศรษฐกิจเวียดนาม ที่ชะลอลงตามอุปสงค์ภายในประเทศที่อ่อนแอ สอดคล้องกับการขยายตัวของสินเชื่อที่ยังอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ในภาคธนาคารมีความคืบหน้าไปมาก ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจ นอกจากนี้ มูลค่าการส่งออกยังขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 14.1 ในขณะที่เศรษฐกิจมาเลเซียยังขยายตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักจากการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งภาคการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีร้อยละ 7.9 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรป ในขณะที่เงินเฟ้อเฉลี่ยยังสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนตามการเพิ่มขึ้นของต้นทุนปัจจัยการผลิตภายในประเทศ เช่นเดียวกับเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ที่ยังขยายตัวดี สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของเงินส่งกลับของแรงงานที่ทำงานอยู่ในต่างประเทศร้อยละ 5.8 ในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุน การขยายตัวของการบริโภคภาคครัวเรือน

4. แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2557
          การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงที่เหลือของปี 2557 มีแนวโน้มที่จะมีความชัดเจนและกระจายตัวมากขึ้น  นำโดยการขยายตัวเร่งขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น ในไตรมาสแรก ขณะที่แนวโน้มการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งมากขึ้นของเศรษฐกิจยูโรโซนซึ่งเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและการเงินปรับตัวดีขึ้นตามความคืบหน้าของมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้แนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก การดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการขยายปริมาณเงินในช่วงที่ผ่านมาแม้ว่าการขยายตัว ทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวตัวลงจากปีก่อนหน้าเนื่องจากการปรับเพิ่มภาษีการบริโภคก็ตาม เศรษฐกิจจีนได้รับแรงสนับสนุนจากการดำเนินมาตรการขยายการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน จากปัจจัยสนับสนุนต่างๆ ข้างต้นคาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกจะเร่งขึ้นในครึ่งปีหลังของปี ซึ่งจะเอื้ออำนวยต่อ การฟื้นตัวของการส่งออกและเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียให้มีความชัดเจนมากขึ้น อย่างไรก็ตามความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังจำกัดอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ในไตรมาสแรก ตลอดจนการดำเนินนโยบายเพื่อสร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจในจีนส่งผลให้เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2557 ขยายตัวต่ำกว่าประมาณการครั้งที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะขยายตัวประมาณ ร้อยละ 3.4 และร้อยละ 4.2 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 3.0 ในปี 2556 และร้อยละ 3.0 ในปี 2556 และเทียบกับ ร้อยละ 3.6 และร้อยละ 4.4 ตามลำดับ ในการประมาณการครั้งก่อน

          - เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2557 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.8 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 1.9 ในปี 2556  ตามแนวโน้มการฟื้นตัวและการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของอุปสงค์ภาคเอกชนในประเทศซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง และทำให้อัตราการว่างงานลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2551 การปรับตัวดีขึ้นของราคาหลักทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ควบคู่กับ การลดลงของภาระในการชำระหนี้ทำให้งบดุลภาคครัวเรือนปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งแนวโน้ม การดำเนินนโยบายการเงินอย่างผ่อนคลายจนถึงสิ้นปี 2557 นอกจากนี้ การบรรลุข้อตกลงร่วม ด้านงบประมาณและการขยายเพดานหนี้สาธารณะจนถึงเดือนมีนาคม 2558 ทำให้ข้อจำกัดการขยายตัว ที่เกิดจากการลดลงการขาดดุลทางการคลังผ่อนคลายลง

          - เศรษฐกิจยูโรโซน ในปี 2557 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.0 ปรับตัวดีขึ้นจากการหดตัวร้อยละ 0.5  ในปี 2556 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา  การขยายตัวของการส่งออกที่ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการเพิ่มขึ้น อย่างล่าช้าของค่าแรงที่แท้จริงในช่วงหลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจซึ่งทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านราคาปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่ความคืบหน้าของการปฏิรูปเศรษฐกิจและการคลังทำให้ความเชื่อมั่น ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นภาคครัวเรือนและบรรยากาศทางธุรกิจครัวเรือนยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบวิกฤตการณ์ในยูเครน

          - เศรษฐกิจญี่ปุ่น คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.2 ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากการขยายตัวร้อยละ 1.5 ในปี 2556 เนื่องจากการขึ้นอัตราภาษีการบริโภคซึ่งคาดว่าจะทำให้การบริโภคภาคเอกชนเริ่มชะลอลง สอดคล้องกับ การปรับตัวลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค รวมทั้งผลจากการลดลงของแรงส่งจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าของเงินเยนและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยูโรโซนคาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของการผลิตและการส่งออกสินค้าและบริการ

          - เศรษฐกิจจีน ในปี 2557 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.4 ชะลอลงจากร้อยละ 7.7 ในปีก่อน เนื่องจาก การดำเนินนโยบายปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อสร้างสมดุลและการสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการเงินส่งผลให้การลงทุนและเศรษฐกิจในภาพรวมชะลอตัวลงในไตรมาสแรก อย่างไรก็ตาม การชะลอตัว ทางเศรษฐกิจทำให้รัฐบาลจีนประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในเดือนมีนาคม โดยเฉพาะการเร่งลงทุนในโครงการระบบขนส่งทางรางตามเขตชนบท การลงทุนก่อสร้างบ้านราคาถูกให้แก่ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย และการขยายมาตรการผ่อนคลายทางภาษีที่ให้แก่ธุรกิจขนาดเล็กออกไปจนถึงสิ้นปี 2559  เพื่อรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและรองรับการจ้างงาน นอกจากนี้เมื่อรวมกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและ การอ่อนค่าของเงินหยวนซึ่งประเทศพัฒนาแล้วและการอ่อนค่าของเงินหยวนคาดว่าจะส่งผลให้การส่งออกปรับตัวดีขึ้นและเป็นปัจจัยสนับสนุนให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งปีอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเป้าหมายของทางการ

          - เศรษฐกิจกลุ่มประเทศ NIEs  มีแนวโน้มฟื้นดีขึ้น โดยคาดว่าในปี 2557 เศรษฐกิจฮ่องกง เกาหลีใต้ และไต้หวัน จะขยายตัวร้อยละ 3.7 3.6 และร้อยละ 3.1 ตามลำดับ เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.5 2.3 และร้อยละ 2.1 ในปี 2556 ตามลำดับ เนื่องจากการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวดี และ การส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและจีน ในขณะที่เศรษฐกิจสิงคโปร์มีแนวโน้มชะลอลงในปี 2557 โดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 ชะลอจากร้อยละ 4.1 ในปีก่อน ตามการชะลอตัวของภาคบริการ

          - เศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียน ในปี 2557 เศรษฐกิจอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์มีแนวโน้มที่จะชะลอตัว ขณะที่เศรษฐกิจมาเลเซียและเวียดนามจะขยายตัวดีขึ้น โดยคาดว่าเศรษฐกิจอินโดนีเซียในปี  2557 จะขยายตัว ร้อยละ 5.4 ชะลอลงจากร้อยละ 5.8 ในปี 2556 ตามการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศเนื่องจาก การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยและแนวโน้มการเร่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อเนื่องจากรัฐบาลยกเลิกการอุดหนุนราคาน้ำมันภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจอินโดนีเซียมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่จะมีความชัดเจนมากขึ้นและจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของความเชื่อมั่นและบรรยากาศทางเศรษฐกิจ ในขณะที่การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและการอ่อนค่าของเงินรูเปีย เศรษฐกิจฟิลิปปินส์คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.5 ชะลอลงจากร้อยละ 7.2 ในปี 2556 อย่างไรก็ดีคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนยังคงเป็นแรงสนับสนุนเศรษฐกิจตามแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของเงินส่งกลับของแรงงานในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจเวียดนามคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.5 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 5.4 ในปี 2556 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความคืบหน้าของมาตรการภาครัฐในการแก้ไขปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ในภาคธนาคาร ซึ่งจะสร้าง ความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจ รวมทั้งภาคการส่งออกที่ขยายตัวดีขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และ ยูโรโซน ส่วนเศรษฐกิจมาเลเซีย คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.0 เร่งขึ้นจากร้อยละ 4.7 ในปี 2556 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

5. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2557
          เศรษฐกิจไทยในปี 2557 มีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ต่ำเนื่องจากการหดตัวของภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสแรก และข้อจำกัดในการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนซึ่งได้รับผลกระทบจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศและการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของฐานรายได้และภาวะเศรษฐกิจในภาพรวม ในขณะที่การจัดตั้งรัฐบาลมีแนวโน้มล่าช้ากว่าที่คาดการณ์และทำให้การเบิกจ่ายภาครัฐและการขับเคลื่อนมาตรการเศรษฐกิจที่สำคัญๆ มีข้อจำกัดมากขึ้น นอกจากนั้น ความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังกระจุกตัวอยู่ในประเทศสำคัญๆ ในไตรมาสแรก มีแนวโน้มที่จะทำให้แรงขับเคลื่อนจากภาคการส่งออกอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
          อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวดีขึ้นจากปี 2556 ทั้งนี้ ปัจจัยสนับสนุน ข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2557 มีดังนี้

          - ปัจจัยสนับสนุน
          1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกซึ่งมีแนวโน้มชัดเจนและขยายตัวเป็นวงกว้างมากขึ้น
          ในช่วงครึ่งหลังของปี ในไตรมาสแรกของปี 2557 แม้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในไตรมาสแรกจะเป็นไปอย่างช้าๆ และยังกระจุกตัวอยู่ในประเทศสำคัญๆ ก็ตาม แต่เริ่มส่งผลให้การส่งออกของไทยเริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากการฟื้นตัวของมูลค่าการส่งออกในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น ยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่เริ่มกลับมาขยายตัว รวมทั้งการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ยุโรปและญี่ปุ่น ดังนั้น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชัดเจนและกระจายตัวมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การส่งออกเริ่มขยายตัวชัดเจนมากขึ้น
          2) แรงกดดันด้านราคาน้ำมันและเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มที่จะอยู่ในเกณฑ์ต่าและเอื้ออ่านวยต่อการดำเนิน
          นโยบายการเงินเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ตามแนวโน้มราคาน้ำมัน ในตลาดโลกที่ยังอ่อนตัวและการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของอุปสงค์ภายในประเทศ

          - ข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยง
          1) ราคาสินค้าส่งออกในตลาดโลกยังคงอยู่ในภาวะอ่อนตัว ซึ่งเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของรายได้จาก การส่งออกสินค้าเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาส่งออกข้าว และยางพาราที่ยังลดลงร้อยละ 27.0 และ ร้อยละ 24.3 ในไตรมาสแรก ตามลำดับ เนื่องจากปริมาณผลผลิตและสต๊อกในประเทศสำคัญๆ ยังอยู่ในเกณฑ์สูง ในขณะที่เศรษฐกิจจีนและภูมิภาคเอเชียในภาพรวมซึ่งเป็นผู้นำเข้าสำคัญๆ ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว เมื่อรวมกับการฟื้นตัวอย่างล่าช้าของราคาสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญๆ ทำให้ดัชนีราคาส่งออกของไทย ในไตรมาสแรกปรับตัวลดลงร้อยละ 1.6 และมีแนวโน้มที่จะทำให้ราคาส่งออกทั้งปีลดลงอย่างต่อเนื่องและเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของมูลค่าและรายได้จากการส่งออกในภาพรวม
          2) แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐมีข้อจำกัดมากขึ้นตามการจัดตั้งรัฐบาลมีแนวโน้มล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งทำให้การเบิกจ่ายจากงบประมาณประจำปี 2557 มีแนวโน้มต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ และส่งผลกระทบต่อกระบวนการจัดทำงบประมาณประจำปี 2558 ให้ล่าช้าออกไป นอกจากนั้น การจัดเก็บรายได้ที่มีแนวโน้มต่ำกว่าเป้าหมายในปีงบประมาณ 2557 ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อ กรอบวงเงินงบประมาณประจำปี 2558 และการเบิกจ่ายงบประมาณในไตรมาสสุดท้ายของปีปฏิทิน 2557
          3) การฟื้นตัวของการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน มีข้อจำกัดจาก (1) ความยืดเยื้อของสถานการณ์ทางการเมืองและการชะลอตัวของเศรษฐกิจในภาพรวมอย่างต่อเนื่องนับจากไตรมาสแรกของปี 2556 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นระดับ 58.7 ในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 12 ปี ดังนั้น เงื่อนไขทางการเมืองซึ่งยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูงมีแนวโน้มที่จะทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและการใช้จ่ายภาคครัวเรือนฟื้นตัวล่าช้ากว่าการคาดการณ์ (2) ฐานการขยายตัวที่สูงกว่าปกติของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในครึ่งแรกของปี 2556 ยังเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในไตรมาสที่สองจะลดลงประมาณร้อยละ  40 - 50 ต่อเนื่องจากการหดตัวร้อยละ 58.2 ในไตรมาสแรก (3) ราคาสินค้าเกษตร ที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ยางพารา และข้าวโพด ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าปีที่ผ่านมาตามแนวโน้มราคา ในตลาดโลกซึ่งเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของรายได้เกษตรกร และ (4) สถาบันการเงินยังมี ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภายใต้เงื่อนไขการหดตัวของเศรษฐกิจใน ไตรมาสแรกและการขยายตัวทั้งปีที่ต่ำกว่าการคาดการณ์
          4) การลงทุนภาคเอกชน มีข้อจำกัดของการขยายตัวจาก (1) อัตราการใช้กำลังการผลิตในไตรมาสแรกที่ยังลดลงต่อเนื่องและอยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 61.8 (2) การลดลงของการขอรับการส่งเสริมและการอนุมัติการลงทุนในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 และไตรมาสแรกของปี 2557 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการรอ ความชัดเจนของนโยบายส่งเสริมการลงทุน และความล่าช้าของการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน (3) แม้ว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนชุดใหม่ เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2557  ก็ตาม แต่โครงการที่ได้รับอนุมัติในช่วงที่เหลือของปีจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ทางกฎหมายก่อนดำเนินการก่อสร้างและสามารถใช้จ่ายเม็ดเงินลงทุนจะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และ (4) สถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองและการชะลอตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ในเดือนมีนาคมอยู่ที่ 49.4 อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 และยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัว ที่ชัดเจน
          5) จำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2557 มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศและการออกกฎหมายควบคุมคุณภาพนักท่องเที่ยวของจีนส่งผลกระทบต่อ การท่องเที่ยวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยในไตรมาสแรกของปีมีจำนวนทั้งสิ้น 6.6 ล้านคน ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.8 และมีแนวโน้มที่จะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวในครึ่งปีแรกหดตัวเทียบกับสมมติฐานการไม่ขยายตัวในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา และแม้ว่าการยกเลิกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และเทศกาลสงกรานต์จะส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวในเดือนเมษายนจะเริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น (หดตัวช้าลงเป็นร้อยละ 1.7) แต่การขยายตัวของนักท่องเที่ยวในช่วงที่เหลือของปียังคงมีความอ่อนไหวต่อพัฒนาการของสถานการณ์ความรุนแรง ทางการเมืองในประเทศ

          - ประมาณการเศรษฐกิจปี 2557
          เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวในช่วงร้อยละ 1.5 - 2.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.9 ในปี 2556 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 1.9 - 2.9 เทียบกับร้อยละ 2.2 ในปี 2556 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 0.5 ของ GDP ปรับตัวดีขึ้นจากการขาดดุลร้อยละ 0.6 ในปี 2556
          ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2557 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.5 - 2.5 จากเดิม ร้อยละ 3.0 - 4.0 ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557 โดยมีเหตุผลหลักของการปรับลดประมาณการ ดังนี้
          1) เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกหดตัวร้อยละ 0.6 ต่ำกว่าขอบล่างของช่วงการประมาณการเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งทำให้โอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.0 - 4.0 ลดลง
          2) การปรับสมมติฐานประมาณการเศรษฐกิจที่สำคัญๆ ประกอบด้วย
                    2.1) การปรับสมมติฐานด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกจากร้อยละ 3.6 และ ร้อยละ 4.4 ในการประมาณการครั้งก่อนหน้า เป็นร้อยละ 3.4 และร้อยละ 4.2 ตามลำดับเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน ญี่ปุ่น และประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ในเอเชียมีแนวโน้มล่าช้ากว่าในสมมติฐานการประมาณการครั้งที่ผ่านมา ซึ่งจะส่งผลให้ ความต้องการสินค้าส่งออกขยายตัวช้ากว่าในการประมาณการครั้งก่อนหน้า
                    2.2) การปรับสมมติฐานด้านจำนวนนักท่องเที่ยวจาก 27.5 ล้านคน ในการประมาณการครั้งก่อนหน้าเป็น 27.0 ล้านคน เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ รวมทั้งผลกระทบจากกฎหมายควบคุมคุณภาพนักท่องเที่ยวและการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในไตรมาสแรกมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในขณะที่การฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวในช่วงที่เหลือยังมีความอ่อนไหวต่อสถานการณ์ทางการเมืองและประเทศต่างๆ จำนวน 50 ประเทศ ยังคงมาตรการแจ้งเตือนพลเมืองให้ระมัดระวังในการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยแม้ว่าจะมีการยกเลิกการใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินไปแล้วเมื่อเดือนมีนาคมก็ตาม
                    2.3) การปรับสมมติฐานด้านการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2557 จากร้อยละ 92.4 ในการประมาณการครั้งก่อนหน้า เป็นร้อยละ 90.4 เนื่องจากการเบิกจ่ายในไตรมาสแรกอยู่ที่ร้อยละ 19.1 ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 24.0 และการจัดตั้งรัฐบาลมีแนวโน้มล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้  โดยคาดว่าการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำจะอยู่ที่ร้อยละ 94.4 เทียบกับร้อยละ 96.6 ในการประมาณการครั้งก่อน และการเบิกจ่ายงบลงทุนคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 70.8 ปรับลดลงจากร้อยละ 72.0 ในสมมติฐานการประมาณการครั้งที่ผ่านมา
                    2.4) การปรับสมมติฐานด้านราคาส่งออกจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 - 2.9 ในการประมาณการครั้งก่อนหน้าเป็นร้อยละ (-1.0) - 0.0 ตามการลดลงอย่างต่อเนื่องของราคาส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญๆ โดยเฉพาะข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง ซึ่งลดลงร้อยละ 27.0 24.3 และร้อยละ 10.7 ในไตรมาสแรก ตามลำดับ และส่งผลให้ราคาส่งออกรวมในไตรมาสแรกลดลงร้อยละ 1.6 ในขณะที่ราคาส่งออกสินค้าสำคัญๆ ดังกล่าวยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนในครึ่งปีหลัง รวมทั้งการปรับลดสมมติฐานด้านราคานำเข้าจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 - 1.5 ในการประมาณการครั้งก่อนหน้า เป็นร้อยละ (-1.0) - 0.0 ในการประมาณการครั้งนี้ ตามราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ยังอยู่ในภาวะอ่อนตัว
          3) การใช้จ่ายภาคครัวเรือนยังมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากฐานการขยายตัวที่สูงผิดปกติอย่างต่อเนื่อง ตามแนวโน้มการปรับตัวเข้าสู่เข้าสู่ภาวะปกติของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศซึ่งคาดว่าจะลดลงประมาณร้อยละ 40 - 50 ในไตรมาสที่สอง และเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน นอกจากนั้นความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองซึ่งยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ และการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของฐานรายได้และเศรษฐกิจในภาพรวมยังมีแนวโน้มที่จะทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจฟื้นตัวได้ล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม

          - องค์ประกอบการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
          1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภครวม คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.0 เท่ากับการขยายตัวในปี 2556 ซึ่งเป็นการปรับลดจากการขยายตัวร้อยละ 1.6 ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจาก (1) การปรับลดประมาณการการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคภาคเอกชนจากการขยายตัวร้อยละ 1.4 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา เป็นร้อยละ 0.8 เนื่องจากการใช้จ่ายในหมวดรถยนต์และการใช้จ่ายรวมในไตรมาสแรก ยังหดตัวมากกว่าที่คาดการณ์ รวมทั้งการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นภาคครัวเรือนมีแนวโน้มที่จะล่าช้าออกไปตามความยืดเยื้อของสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และ (2) การปรับลดประมาณการการใช้จ่ายภาครัฐบาลจากการขยายตัวร้อยละ 2.0 เป็นร้อยละ 1.8 เนื่องจากการปรับสมมติฐานการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจ่าจากร้อยละ 96.6 เป็นร้อยละ 94.4
          2) การลงทุนรวม คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 1.3 ต่อเนื่องจากการหดตัวร้อยละ 1.9 ในปีก่อน และ เป็นการปรับประมาณการลงจากการขยายตัวร้อยละ 3.1 ในการประมาณการครั้งก่อนหน้า เนื่องจาก (1) การปรับลดประมาณการการลงทุนภาคเอกชนจากการขยายตัวร้อยละ 3.8 เป็นการหดตัวร้อยละ 0.2 ตามเศรษฐกิจในภาพรวมที่ยังชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง อัตราการใช้กำลังการผลิตที่อยู่ในระดับต่ำและความล่าช้าในการอนุมัติส่งเสริมการลงทุน รวมทั้งความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่ยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน และ (2) การปรับลดประมาณการการลงทุนภาครัฐจากการขยายตัวร้อยละ 0.3 เป็นการหดตัวร้อยละ 5.0 เนื่องจากการปรับลดสมมติฐานการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนจากร้อยละ 72 เป็นร้อยละ 70.8
          3) มูลค่าการส่งออกสินค้า ในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.7 ปรับตัวดีขึ้นจาก การหดตัวร้อยละ 0.2 และเป็นการปรับลดลงจากการขยายตัวร้อยละ 5.0 - 7.0 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากการปรับลดสมมติฐานราคาสินค้าส่งออกจากการขยายตัวร้อยละ 1.9 - 2.9  ในการประมาณการครั้งก่อนหน้า เป็นการหดตัวร้อยละ 1.0 - 0.0 ในการประมาณการครั้งนี้ รวมทั้ง การปรับลดสมมติฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกจากร้อยละ 3.6 และร้อยละ 4.4 เป็นร้อยละ 3.4  และร้อยละ 4.2 ตามลำดับ ซึ่งส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 4.2 เทียบกับร้อยละ 4.0 - 6.0 ในการประมาณการครั้งก่อนหน้า เมื่อรวมกับการปรับสมมติฐานด้านจำนวนนักท่องเที่ยวจาก 27.5 ล้านคน เป็น 27.0 ล้านคน ทำให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 3.6 ปรับลดลงจากการขยายตัวร้อยละ 6.0 ในการประมาณการเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557
          4) มูลค่าการนำเข้าสินค้า ในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.5 เทียบกับการหดตัว ร้อยละ 0.4 ในปี 2556 ซึ่งเป็นการปรับลดประมาณการจากการขยายตัวร้อยละ 5.7 ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจาก (1) การปรับลดสมมติฐานด้านราคานำเข้าจากการขยายตัวร้อยละ 0.5-1.5  ในการประมาณการครั้งก่อน เป็นการหดตัวร้อยละ 1.0 - 0.0 ในการประมาณการครั้งนี้ (2) การลดลงของมูลค่าการนำเข้าทองคำทำให้มูลค่าการนำเข้าในไตรมาสแรกหดตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ และ  (3) การปรับประมาณการการขยายตัวของการส่งออก การบริโภคและการลงทุนส่งผลให้ความต้องการนำเข้าต่ำกว่าการประมาณการในครั้งก่อนหน้า เมื่อรวมกับการปรับลดการนำเข้าบริการทำให้ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 1.3 ลดลงจากร้อยละ 4.6 ในการประมาณการครั้งก่อนหน้า
          5) ดุลบัญชีเดินสะพัด ในปี 2557 คาดว่าจะเกินดุล 1.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับการขาดดุล 2.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2556 ซึ่งเป็นการปรับประมาณการจากการขาดดุล 0.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับลดประมาณการการขยายตัวของมูลค่า การนำเข้าที่เร็วกว่าการปรับลดประมาณการส่งออกซึ่งส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นจากการประมาณการครั้งที่ผ่านมา
          6) อัตราเงินเฟ้อ อยู่ในช่วงร้อยละ 1.9 - 2.9 เท่ากับการประมาณการครั้งก่อน

6. ประเด็นการบริหารเศรษฐกิจในปี 2557
          การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี 2557 ควรให้ความสำคัญกับการเร่งรัดการส่งออกให้สามารถขยายตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มรายได้จากตลาดหลักและตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ รวมทั้ง การส่งเสริมการค้าชายแดนและการค้าในภูมิภาค ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวโดยเฉพาะการสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นการท่องเที่ยวมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2557  ทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน และเตรียมความพร้อมของกระบวนการงบประมาณประจำปี 2558 นอกจากนั้นควรให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูบรรยากาศทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องการดำเนินนโยบายการเงินที่เอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง การสร้างความเชื่อมั่นโดยใช้ยุทธศาสตร์การสื่อสารและการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์  พร้อมทั้งการเตรียมมาตรการรองรับผู้ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ

                                                   ประมาณการเศรษฐกิจปี 2557

                                            ข้อมูลจริง              ประมาณการ ปี 2557
                                       ปี 2555     ปี 2556      17 ก.พ.57   19 พ.ค.57
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท)           11,375     11,897        12,599      12,424
   รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี)             167,501    174,319       183,638     181,077
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.)      366        385           388         382
   รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี)      5,389      5,647         5,650       5,572
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %)       6.5        2.9       3.0-4.0     1.5-2.5
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %)                13.2       -2.0           3.1        -1.3
   ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %)               14.4       -2.8           3.8        -0.2
   ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %)                   8.9        1.3           0.3        -5.0
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %)                6.8        1.1           1.6         1.0
   ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %)                6.7        0.3           1.4         0.8
   ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %)                7.5        4.9           2.0         1.8
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %)      3.1        4.2           6.0         3.6
   มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.)  225.9      225.4         241.2       233.8
      อัตราการขยายตัว (%)1/                 3.1       -0.2       5.0-7.0         3.7
      อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %)1/          2.5        0.2       4.0-6.0         4.2
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %)      6.2        2.3           4.6         1.3
   มูลค่าการนำเข้าสินค้า(พันล้านดอลลาร์สรอ.)    219.9      219.0         231.7       220.2
      อัตราการขยายตัว (%)1/                 8.8       -0.4           5.7         0.5
      อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %)1/          7.1        1.7           5.2         1.0
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.)                6.0        6.4           9.6        13.6
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.)          -1.5       -2.8          -0.6         1.9
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%)                   -0.4       -0.6          -0.2         0.5
เงินเฟ้อ (%)
   ดัชนีราคาผู้บริโภค                          3.0        2.2       1.9-2.9     1.9-2.9
   GDP Deflator                           1.3        1.7       1.9-2.9     1.9-2.9
          ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 19 พฤษภาคม 2557
          หมายเหตุ: 1/ ตัวเลขการส่งออกและการนำเข้าเป็นไปตามฐานของธนาคารแห่งประเทศไทย

          --สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ