นายกรัฐมนตรี ชี้การจัดทำแผนฯ 10 ต้องมองทุกมิติทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ และ “รู้เรา รู้รอบด้าน และรู้รอบโลก” ในการประชุมประจำปี 2548 ของ สศช. เรื่อง “ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ : 5 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10” เมื่อศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2548 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งปรากฏว่าผู้แทนจากทุกภาคส่วนสนใจเข้าร่วมประชุมเกือบ 2,100 คน
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมและแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ทศวรรษที่ท้าทายแห่งการพัฒนาประเทศ” ว่า การที่ สศช. ปรับบทบาทมาทำแผนยุทธศาสตร์นั้นได้เดินมาถูกทางแล้ว และให้กระทรวง ทบวง กรม นำไปทำแผนปฏิบัติการให้สอดรับกันเพื่อให้ยุทธศาสตร์มีพลัง แต่สิ่งที่ยังเป็นปัญหาคือระบบฐานข้อมูลยังไม่ดีพอ ตั้งแต่ระบบการจัดเก็บข้อมูลจนถึงการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย ซึ่งหากการทำ e-Government สำเร็จก็จะช่วยให้ระบบข้อมูลดีขึ้น โดยจะมีการเชื่อมต่อระบบข้อมูลไปถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สศช. จะต้องมีระบบข้อมูลที่ลึกซึ้งและทันสมัยเพื่อนำไปปรับใช้ในการพัฒนาประเทศ โดยในระยะที่ผ่านมา สศช. ได้เข้าไปสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนแล้ว จะช่วยให้มีความเข้าใจมากขึ้น
สำหรับการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 สศช. ควรจะต้องมองทุกมิติ ทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ต้องเข้าใจปัญหาทุกๆ ด้าน ทั้ง “รู้เรา รู้รอบด้าน และรู้รอบโลก” ถือเป็นภาระที่ สศช. ต้องทำความเข้าใจและวางยุทธศาสคร์
รู้เรา : การวางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาตัวเอง จะต้องมองเรื่องที่จะต้องทำในอีก 4-5 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะปัญหาความยากจน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อม ๆ กัน ทั้งนี้ประเทศจะล้มเหลวหรือรุ่งเรื่องอยู่ที่ “คน” ดังนั้น จะต้องทำให้คนของประเทศเป็นฐานที่เข้มแข็ง
ส่วนเรื่องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ที่ผ่านมามีการปรับโครงสร้างหนี้ของประเทศและภาคธุรกิจ ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ของภาคประชาชน หากปรับโครงสร้างหนี้แล้วไม่ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจจะไม่ยั่งยืน ดังนั้น เราต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจควบคู่กับการปรับโครงสร้างหนี้ โดยด้านการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมต้องพิจารณาว่า อุตสาหกรรมใดที่แข่งขันได้ ทำแล้วมีกำไร และควรทำต่อไป ซึ่งในระยะยาวต้องใช้ Value Creation เพื่อให้แข่งขันได้ ส่วนภาคเกษตร ต้องปรับโครงสร้างการผลิตใหม่ โดยพิจารณาว่าอะไรแข็งแรงจะต้องรักษาไว้ และอะไรต้องแก้ไข ขณะที่ภาคบริการ ต้องพิจารณาว่าอะไรแข่งขันได้และแข่งขันไม่ได้ เพราะแนวโน้มภาคบริการจะอยู่ที่ผู้บริโภคเป็นจุดสำคัญ ต้องพัฒนาเพื่อ ทำให้ผู้บริโภคพอใจ
รู้รอบด้าน : แผนความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งได้แก่ กัมพูชา ลาวและพม่า ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจไทยค่อนข้างมาก เกิดผลกระทบกับไทย ทั้งยาเสพติด การค้ามนุษย์ และแรงงานอพยพ ซึ่งมีปัญหาต่อความมั่นคงตามมา ดังนั้น จึงต้องพิจารณาการสร้างเขื่อนเศรษฐกิจในประเทศเพื่อนบ้าน ให้เป็นการตกลงกันในแบบต่างก็ได้ประโยชน์ทั้งคู่ (Win-Win)
รู้รอบโลก : แผนการรับมือกับโลก วันนี้เรายังไม่ได้แก้ไขปัญหาความไม่รู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ สี่ปีต่อจากนี้ไปต้องสร้าง โดยสร้างรายได้ที่ยั่งยืนและต้องรู้เท่าทันด้วย โดยในเรื่องของการไหลเวียน(Free Flow) ต้องเน้นใน 4 เรื่องหลักคือ 1) การเคลื่อนย้ายของมนุษย์ ต้องพิจารณาการแก้ไขปัญหาการเคลื่อนย้ายคนที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ของประเทศ 2) การเคลื่อนย้ายของเงิน ต้องรู้เท่าทัน และมีการวางนโยบายการเงินรวมทั้งการสร้างกติกา 3) การเคลื่อนย้ายของสินค้าและบริการ ต้องดูในเรื่องการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษี และการส่งเสริมให้มีการผลิตทดแทนการนำเข้า เพราะข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) จะเข้มงวดกฎในเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้า ซึ่งจะต้องมีการดูทั้งระบบ 4) การไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารและความรู้ ซึ่งไทยต้องตามให้ทันเพื่อนำมาต่อยอดในการสร้าง Value Added และ Value Creation
ดร.อำพน กิตติอำพน กล่าวรายงานว่า การประชุมครั้งนี้เป็นปีที่สี่ของการจัดประชุมประจำปี ที่ สศช. ได้ถือฤกษ์ลั่นฆ้องการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่10 ตามที่ได้รับมอบหมายจาก ครม. เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 ซึ่งการจัดทำแผนพัฒนาประเทศ ถือเป็นภารกิจสำคัญของสำนักงานฯ ที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องกว่า 40 ปี แต่การจัดทำแผนพัฒนาประเทศครั้งนี้ แตกต่างจากการจัดทำแผนทั้ง 9 ฉบับที่ผ่านมา 2 ประการ คือ
ประการแรก เป็นการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะยาว เพื่อชี้นำให้แต่ละภาคส่วนของสังคมไทย ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือให้เกิดความยั่งยืน สมดุล และมั่นคงในระยะยาว โดยที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งที่คาดการณ์ได้และคาดการณ์ไม่ได้ ดังนั้น การบริหารการพัฒนาประเทศจึงจำเป็นต้องพึ่งพาทุกภาคส่วนเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ
ประการที่สอง ต้องจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ที่ครม.มีมติเห็นชอบให้ใช้เป็นกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะ 4 ปี (2548-2551) แล้ว
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า การประชุมในครั้งนี้เป็นการทำความเข้าใจ และร่วมกันวิเคราะห์ถึงการนำปรัชญาในการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากำหนดบทบาทในการพัฒนาประเทศของทุกภาคส่วน ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศและโลกที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว
“การประชุมครั้งนี้ จะช่วยให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ในการกำหนดกรอบเพื่อจัดทำรายละเอียดของยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ซึ่งนอกจากจะเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการสนับสนุนการบริหารการพัฒนาประเทศของรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยสนับสนุนบทบาทของทุกภาคส่วนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ให้มุ่งสู่ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน ยังความอยู่ดีมีสุขของคนไทยในอนาคตต่อไป” เลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้าย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมและแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ทศวรรษที่ท้าทายแห่งการพัฒนาประเทศ” ว่า การที่ สศช. ปรับบทบาทมาทำแผนยุทธศาสตร์นั้นได้เดินมาถูกทางแล้ว และให้กระทรวง ทบวง กรม นำไปทำแผนปฏิบัติการให้สอดรับกันเพื่อให้ยุทธศาสตร์มีพลัง แต่สิ่งที่ยังเป็นปัญหาคือระบบฐานข้อมูลยังไม่ดีพอ ตั้งแต่ระบบการจัดเก็บข้อมูลจนถึงการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย ซึ่งหากการทำ e-Government สำเร็จก็จะช่วยให้ระบบข้อมูลดีขึ้น โดยจะมีการเชื่อมต่อระบบข้อมูลไปถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สศช. จะต้องมีระบบข้อมูลที่ลึกซึ้งและทันสมัยเพื่อนำไปปรับใช้ในการพัฒนาประเทศ โดยในระยะที่ผ่านมา สศช. ได้เข้าไปสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนแล้ว จะช่วยให้มีความเข้าใจมากขึ้น
สำหรับการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 สศช. ควรจะต้องมองทุกมิติ ทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ต้องเข้าใจปัญหาทุกๆ ด้าน ทั้ง “รู้เรา รู้รอบด้าน และรู้รอบโลก” ถือเป็นภาระที่ สศช. ต้องทำความเข้าใจและวางยุทธศาสคร์
รู้เรา : การวางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาตัวเอง จะต้องมองเรื่องที่จะต้องทำในอีก 4-5 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะปัญหาความยากจน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อม ๆ กัน ทั้งนี้ประเทศจะล้มเหลวหรือรุ่งเรื่องอยู่ที่ “คน” ดังนั้น จะต้องทำให้คนของประเทศเป็นฐานที่เข้มแข็ง
ส่วนเรื่องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ที่ผ่านมามีการปรับโครงสร้างหนี้ของประเทศและภาคธุรกิจ ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ของภาคประชาชน หากปรับโครงสร้างหนี้แล้วไม่ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจจะไม่ยั่งยืน ดังนั้น เราต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจควบคู่กับการปรับโครงสร้างหนี้ โดยด้านการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมต้องพิจารณาว่า อุตสาหกรรมใดที่แข่งขันได้ ทำแล้วมีกำไร และควรทำต่อไป ซึ่งในระยะยาวต้องใช้ Value Creation เพื่อให้แข่งขันได้ ส่วนภาคเกษตร ต้องปรับโครงสร้างการผลิตใหม่ โดยพิจารณาว่าอะไรแข็งแรงจะต้องรักษาไว้ และอะไรต้องแก้ไข ขณะที่ภาคบริการ ต้องพิจารณาว่าอะไรแข่งขันได้และแข่งขันไม่ได้ เพราะแนวโน้มภาคบริการจะอยู่ที่ผู้บริโภคเป็นจุดสำคัญ ต้องพัฒนาเพื่อ ทำให้ผู้บริโภคพอใจ
รู้รอบด้าน : แผนความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งได้แก่ กัมพูชา ลาวและพม่า ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจไทยค่อนข้างมาก เกิดผลกระทบกับไทย ทั้งยาเสพติด การค้ามนุษย์ และแรงงานอพยพ ซึ่งมีปัญหาต่อความมั่นคงตามมา ดังนั้น จึงต้องพิจารณาการสร้างเขื่อนเศรษฐกิจในประเทศเพื่อนบ้าน ให้เป็นการตกลงกันในแบบต่างก็ได้ประโยชน์ทั้งคู่ (Win-Win)
รู้รอบโลก : แผนการรับมือกับโลก วันนี้เรายังไม่ได้แก้ไขปัญหาความไม่รู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ สี่ปีต่อจากนี้ไปต้องสร้าง โดยสร้างรายได้ที่ยั่งยืนและต้องรู้เท่าทันด้วย โดยในเรื่องของการไหลเวียน(Free Flow) ต้องเน้นใน 4 เรื่องหลักคือ 1) การเคลื่อนย้ายของมนุษย์ ต้องพิจารณาการแก้ไขปัญหาการเคลื่อนย้ายคนที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ของประเทศ 2) การเคลื่อนย้ายของเงิน ต้องรู้เท่าทัน และมีการวางนโยบายการเงินรวมทั้งการสร้างกติกา 3) การเคลื่อนย้ายของสินค้าและบริการ ต้องดูในเรื่องการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษี และการส่งเสริมให้มีการผลิตทดแทนการนำเข้า เพราะข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) จะเข้มงวดกฎในเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้า ซึ่งจะต้องมีการดูทั้งระบบ 4) การไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารและความรู้ ซึ่งไทยต้องตามให้ทันเพื่อนำมาต่อยอดในการสร้าง Value Added และ Value Creation
ดร.อำพน กิตติอำพน กล่าวรายงานว่า การประชุมครั้งนี้เป็นปีที่สี่ของการจัดประชุมประจำปี ที่ สศช. ได้ถือฤกษ์ลั่นฆ้องการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่10 ตามที่ได้รับมอบหมายจาก ครม. เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 ซึ่งการจัดทำแผนพัฒนาประเทศ ถือเป็นภารกิจสำคัญของสำนักงานฯ ที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องกว่า 40 ปี แต่การจัดทำแผนพัฒนาประเทศครั้งนี้ แตกต่างจากการจัดทำแผนทั้ง 9 ฉบับที่ผ่านมา 2 ประการ คือ
ประการแรก เป็นการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะยาว เพื่อชี้นำให้แต่ละภาคส่วนของสังคมไทย ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือให้เกิดความยั่งยืน สมดุล และมั่นคงในระยะยาว โดยที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งที่คาดการณ์ได้และคาดการณ์ไม่ได้ ดังนั้น การบริหารการพัฒนาประเทศจึงจำเป็นต้องพึ่งพาทุกภาคส่วนเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ
ประการที่สอง ต้องจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ที่ครม.มีมติเห็นชอบให้ใช้เป็นกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะ 4 ปี (2548-2551) แล้ว
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า การประชุมในครั้งนี้เป็นการทำความเข้าใจ และร่วมกันวิเคราะห์ถึงการนำปรัชญาในการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากำหนดบทบาทในการพัฒนาประเทศของทุกภาคส่วน ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศและโลกที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว
“การประชุมครั้งนี้ จะช่วยให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ในการกำหนดกรอบเพื่อจัดทำรายละเอียดของยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ซึ่งนอกจากจะเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการสนับสนุนการบริหารการพัฒนาประเทศของรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยสนับสนุนบทบาทของทุกภาคส่วนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ให้มุ่งสู่ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน ยังความอยู่ดีมีสุขของคนไทยในอนาคตต่อไป” เลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้าย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-