แท็ก
สำนักนายกรัฐมนตรี
นายพัฒเดช ธรรมจรีย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมและมอบนโยบาย เรื่อง แนวทางการจัดทำรายงานการดำเนินงานของรัฐต่อสาธารณะรายปี เมื่อ 30 สิงหาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ มหานาค ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานระดับกระทรวงและระดับกรมต่างๆ ซึ่งรับผิดชอบงานด้านการติดตามประเมินผลหรือด้านวางแผนยุทธศาสตร์ และด้านงบประมาณ รวมทั้งหน่วยงานกลาง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ สศช. รวมประมาณ 400 คน
นายพัฒเดช ธรรมจรีย์ กล่าวเปิดการประชุมว่า ในคราวประชุมชี้แจงนโยบายรัฐบาลต่อผู้บริหารระดับสูงในวันที่ 26 มีนาคม 2548 เพื่อจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548-2551 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้มีแนวคิดริเริ่มในการสร้างเครื่องมือที่จะเป็นหนทางให้หน่วยราชการสามารถรู้ว่าตนเองทำงานมีประสิทธิภาพเพียงใด และสามารถใช้วัดประสิทธิภาพของการบริหารราชการแผ่นดินโดยรวม รวมทั้งเป็นเครื่องมือแสดงความโปร่งใสในการบริหารราชการแผ่นดินได้เป็นอย่างดีอีกด้วย เครื่องมือดังกล่าวคือ การจัดทำรายงานประจำปีของกระทรวงในรูปแบบใหม่
ต่อมา ได้มีการแปลงแนวคิดดังกล่าวของท่านนายกรัฐมนตรีไปสู่การปฏิบัติ โดยได้บรรจุไว้ในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548-2551 ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 7 การส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคม ซึ่งได้กำหนดเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญคือ การยกระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกภาคส่วน โดยกำหนดกลยุทธ์หลักประการหนึ่งให้มีการจัดทำรายงานการดำเนินงานของรัฐต่อสาธารณะเป็นรายปี ในทุกระดับของหน่วยงาน เพื่อใช้ประเมินผลภาพรวมของประเทศ
สศช. และกระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพร่วมกัน ได้ประชุมหารือกันพร้อมด้วยหน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้องคือ สำนักงาน กพร. สำนักงาน กพ. และสำนักงบประมาณ จนได้ข้อสรุปร่วมกันในการกำหนดแนวทางการจัดทำรายงานการดำเนินงานของรัฐต่อสาธารณะรายปี สาระสำคัญของรายงานนี้เป็นการนำเสนอผลการปฏิบัติราชการประจำปีภายใต้แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ว่าได้บรรลุพันธกิจของหน่วยงานตามหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคมอย่างมีบูรณาการหรือไม่เพียงใด รวมทั้งเป็นการรายงานการเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งบัญชีต้นทุน บัญชีรายรับรายจ่ายในรอบปีของหน่วยงาน
ทั้งนี้ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ใช้ในการจัดทำรายงาน สามารถใช้ข้อมูลที่มีและต้องจัดทำเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว เพียงแต่บูรณาการข้อมูลดังกล่าวเพื่อรายงานต่อสาธารณะปีละ 1 ครั้ง อีกทั้งในปัจจุบันได้มีการนำระบบ GFMIS เข้ามาใช้ในระบบราชการ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดภาระในการจัดทำรายงานด้านการเงินแล้วยังแสดงถึงประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือ และความโปร่งใสของการปฏิบัติราชการได้อีกด้วย เนื่องจากเป็นระบบที่สามารถแสดงผลตามเวลาจริง
นายอุทิศ ขาวเธียร ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สศช. ชี้แจงกรอบการจัดทำรายงานการดำเนินงานของรัฐต่อสาธารณะรายปีว่า องค์ประกอบของการรายงานประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 : ข้อมูลภาพรวมของหน่วยงาน ประกอบด้วยการรายงานเกี่ยวกับ แผนยุทธศาสตร์หรือแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน (ภารกิจหลัก / วิสัยทัศน์ / พันธกิจ /วัตถุประสงค์หลัก /ยุทธศาสตร์และเป้าหมาย) และ ข้อมูลพื้นฐานของหน่วยงาน (โครงสร้างองค์กร / อัตรากำลัง / งบประมาณ)
ส่วนที่ 2 : ผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานและความก้าวหน้าของการบูรณาการกับภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ผลการปฏิบัติราชการภายใต้แผนปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงาน (ผลผลิต / ผลลัพธ์ / การบูรณาการภายในหน่วยงาน / ระดับขั้นความสำเร็จตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ / ปัญหาอุปสรรค และเงื่อนไขความสำเร็จ / ข้อเสนอแนะ) และความก้าวหน้าของการบูรณาการกับภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
ส่วนที่ 3 : รายงานการเงิน ประกอบด้วย งบการเงิน (งบแสดงฐานะทางการเงิน งบรายได้และค่าใช้จ่าย และหมายเหตุประกอบงบการเงินรายงาน) ต้นทุนผลผลิตและกิจกรรม และการวิเคราะห์งบการเงิน (การย่อส่วนตามแนวดิ่ง /การวิเคราะห์ตามแนวนอน)
ส่วนที่ 4 : เรื่องอื่นๆ ซึ่งเป็นข้อมูลเพิ่มเติมตามที่ส่วนราชการเห็นสมควรจะรายงานให้สาธารณะได้รับทราบ
ส่วนด้านการประมวลและสังเคราะห์ผล ให้มีการประเมินผล เพื่อปรับปรุงรูปแบบ วิธีการ และรายละเอียดการจัดทำรายงาน รวมทั้งประมวลและสังเคราะห์ผล เพื่อใช้ประเมินผลภาพรวมของประเทศ (National Report) โดย กระทรวง ประมวลและสังเคราะห์ผลรายงานของกรม สศช. ประมวลและสังเคราะห์ผลรายงานของกระทรวงในส่วนที่ 1(ภาพรวม) ส่วนที่ 2 (ผลการปฏิบัติและความก้าวหน้า) และส่วนที่ 4 (เรื่องอื่นๆ) และกรมบัญชีกลาง ประมวลและสังเคราะห์ผลรายงานของกระทรวงในส่วนที่ 3 (รายงานการเงิน)
ทั้งนี้ ในปี 2548 คาดว่าจะมีหน่วยงานระดับกรมที่สมัครใจจะจัดทำรายงานประจำปี ตามรูปแบบและมาตรฐานดังกล่าวไม่ต่ำกว่าร้อย 50 ของหน่วยงาน เนื่องจากมีความพร้อมในการจัดทำบัญชีต้นทุนการดำเนินงานตามภารกิจอยู่แล้ว ส่วนในปี 2549 คาดว่าจะสามารถจัดทำได้ครบทุกหน่วยงาน และภายในไตรมาสแรกของปี 2551 ทุกกระทรวงก็จะมีรายงานการดำเนินงานพร้อมรายงานด้านการเงินประจำปี 2550 อย่างสมบูรณ์แบบ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
นายพัฒเดช ธรรมจรีย์ กล่าวเปิดการประชุมว่า ในคราวประชุมชี้แจงนโยบายรัฐบาลต่อผู้บริหารระดับสูงในวันที่ 26 มีนาคม 2548 เพื่อจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548-2551 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้มีแนวคิดริเริ่มในการสร้างเครื่องมือที่จะเป็นหนทางให้หน่วยราชการสามารถรู้ว่าตนเองทำงานมีประสิทธิภาพเพียงใด และสามารถใช้วัดประสิทธิภาพของการบริหารราชการแผ่นดินโดยรวม รวมทั้งเป็นเครื่องมือแสดงความโปร่งใสในการบริหารราชการแผ่นดินได้เป็นอย่างดีอีกด้วย เครื่องมือดังกล่าวคือ การจัดทำรายงานประจำปีของกระทรวงในรูปแบบใหม่
ต่อมา ได้มีการแปลงแนวคิดดังกล่าวของท่านนายกรัฐมนตรีไปสู่การปฏิบัติ โดยได้บรรจุไว้ในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548-2551 ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 7 การส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคม ซึ่งได้กำหนดเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญคือ การยกระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกภาคส่วน โดยกำหนดกลยุทธ์หลักประการหนึ่งให้มีการจัดทำรายงานการดำเนินงานของรัฐต่อสาธารณะเป็นรายปี ในทุกระดับของหน่วยงาน เพื่อใช้ประเมินผลภาพรวมของประเทศ
สศช. และกระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพร่วมกัน ได้ประชุมหารือกันพร้อมด้วยหน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้องคือ สำนักงาน กพร. สำนักงาน กพ. และสำนักงบประมาณ จนได้ข้อสรุปร่วมกันในการกำหนดแนวทางการจัดทำรายงานการดำเนินงานของรัฐต่อสาธารณะรายปี สาระสำคัญของรายงานนี้เป็นการนำเสนอผลการปฏิบัติราชการประจำปีภายใต้แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ว่าได้บรรลุพันธกิจของหน่วยงานตามหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคมอย่างมีบูรณาการหรือไม่เพียงใด รวมทั้งเป็นการรายงานการเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งบัญชีต้นทุน บัญชีรายรับรายจ่ายในรอบปีของหน่วยงาน
ทั้งนี้ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ใช้ในการจัดทำรายงาน สามารถใช้ข้อมูลที่มีและต้องจัดทำเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว เพียงแต่บูรณาการข้อมูลดังกล่าวเพื่อรายงานต่อสาธารณะปีละ 1 ครั้ง อีกทั้งในปัจจุบันได้มีการนำระบบ GFMIS เข้ามาใช้ในระบบราชการ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดภาระในการจัดทำรายงานด้านการเงินแล้วยังแสดงถึงประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือ และความโปร่งใสของการปฏิบัติราชการได้อีกด้วย เนื่องจากเป็นระบบที่สามารถแสดงผลตามเวลาจริง
นายอุทิศ ขาวเธียร ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สศช. ชี้แจงกรอบการจัดทำรายงานการดำเนินงานของรัฐต่อสาธารณะรายปีว่า องค์ประกอบของการรายงานประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 : ข้อมูลภาพรวมของหน่วยงาน ประกอบด้วยการรายงานเกี่ยวกับ แผนยุทธศาสตร์หรือแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน (ภารกิจหลัก / วิสัยทัศน์ / พันธกิจ /วัตถุประสงค์หลัก /ยุทธศาสตร์และเป้าหมาย) และ ข้อมูลพื้นฐานของหน่วยงาน (โครงสร้างองค์กร / อัตรากำลัง / งบประมาณ)
ส่วนที่ 2 : ผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานและความก้าวหน้าของการบูรณาการกับภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ผลการปฏิบัติราชการภายใต้แผนปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงาน (ผลผลิต / ผลลัพธ์ / การบูรณาการภายในหน่วยงาน / ระดับขั้นความสำเร็จตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ / ปัญหาอุปสรรค และเงื่อนไขความสำเร็จ / ข้อเสนอแนะ) และความก้าวหน้าของการบูรณาการกับภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
ส่วนที่ 3 : รายงานการเงิน ประกอบด้วย งบการเงิน (งบแสดงฐานะทางการเงิน งบรายได้และค่าใช้จ่าย และหมายเหตุประกอบงบการเงินรายงาน) ต้นทุนผลผลิตและกิจกรรม และการวิเคราะห์งบการเงิน (การย่อส่วนตามแนวดิ่ง /การวิเคราะห์ตามแนวนอน)
ส่วนที่ 4 : เรื่องอื่นๆ ซึ่งเป็นข้อมูลเพิ่มเติมตามที่ส่วนราชการเห็นสมควรจะรายงานให้สาธารณะได้รับทราบ
ส่วนด้านการประมวลและสังเคราะห์ผล ให้มีการประเมินผล เพื่อปรับปรุงรูปแบบ วิธีการ และรายละเอียดการจัดทำรายงาน รวมทั้งประมวลและสังเคราะห์ผล เพื่อใช้ประเมินผลภาพรวมของประเทศ (National Report) โดย กระทรวง ประมวลและสังเคราะห์ผลรายงานของกรม สศช. ประมวลและสังเคราะห์ผลรายงานของกระทรวงในส่วนที่ 1(ภาพรวม) ส่วนที่ 2 (ผลการปฏิบัติและความก้าวหน้า) และส่วนที่ 4 (เรื่องอื่นๆ) และกรมบัญชีกลาง ประมวลและสังเคราะห์ผลรายงานของกระทรวงในส่วนที่ 3 (รายงานการเงิน)
ทั้งนี้ ในปี 2548 คาดว่าจะมีหน่วยงานระดับกรมที่สมัครใจจะจัดทำรายงานประจำปี ตามรูปแบบและมาตรฐานดังกล่าวไม่ต่ำกว่าร้อย 50 ของหน่วยงาน เนื่องจากมีความพร้อมในการจัดทำบัญชีต้นทุนการดำเนินงานตามภารกิจอยู่แล้ว ส่วนในปี 2549 คาดว่าจะสามารถจัดทำได้ครบทุกหน่วยงาน และภายในไตรมาสแรกของปี 2551 ทุกกระทรวงก็จะมีรายงานการดำเนินงานพร้อมรายงานด้านการเงินประจำปี 2550 อย่างสมบูรณ์แบบ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-