ผลิตภัณฑ์ภาคต่อหัว
บาทต่อปี อัตราเพิ่ม (ร้อยละ)
ภาค 2545 2546 2545 2546
ตะวันออกเฉียงเหนือ 28,274 30,860 7.4 9.2
เหนือ 43,855 47,371 9.9 8.0
ใต้ 62,577 69,450 8.1 11.0
ตะวันออก 183,032 204,857 10.2 11.9
ตะวันตก 68,527 74,545 6.9 8.8
กลาง 128,744 148,371 8.1 15.2
กทม. และปริมณฑล 223,078 230,997 0.3 3.6
เฉลี่ยทั้งประเทศ 86,249 93,164 5.3 8.0
อัตราการเพิ่มของผลิตภัณฑ์ภาคต่อหัวในปี 2546 นับว่าส่วนใหญ่ มีอัตราสูงขึ้น อันเป็นผลจากภาวะการผลิต โดยรวมขยายตัวได้ดี ประกอบกับภาวะราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้รายได้ผลตอบแทนปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้นตามไปด้วยโดยที่ภาคกลางภาคตะวันออกภาคใต้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 11.9 11.0 9.2 และ 8.8 ตามลำดับ เนื่องจากการขยายการผลิตได้ดีในสาขาอุตสาหกรรมและสาขาการขายส่ง การขายปลีกฯ สำหรับภาคเหนือ มีอัตราการเพิ่มของผลิตภัณฑ์ภาคต่อหัวร้อยละ 8.0 ชะลอลงจากปีก่อน เนื่องจากสาขา อุตสาหกรรมชะลอลงเป็นปัจจัยสำคัญ ส่วนกรุงเทพฯและปริมณฑลมีอัตราเพิ่มของผลิตภัณฑ์ภาคต่อหัวที่ร้อยละ 3.6 เป็นผลจากสาขาอุตสาหกรรม สาขาการขายส่ง การขายปลีกฯ และสาขาตัวกลางทางการเงินขยายตัวสูงขึ้น
ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว (Per capita GPP)
ค่าสูงสุด 10 จังหวัดแรกยังเป็นกลุ่มจังหวัดที่มีการผลิตในสาขาอุตสาหกรรมเป็นสาขาหลัก และมีสาขาการขายส่ง การขายปลีกฯ สาขา
ตัวกลางทางการเงิน และสาขาการให้บริการต่างๆ เป็นสาขาที่สนับสนุนให้ผลิตภัณ ฑ์ จังหวัดมีค่าสูง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคกลาง โดยจังหวัดที่มีค่าสูงสุด 3 จังหวัดแรก คือ ระยอง สมุทรสาคร และสมุทรปราการ เท่ากับ 604,064 393,932 และ 336,452 บาท ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่มีอัตราเพิ่มสูงสุดในปีนี้ คือ จังหวัดกำแพงเพชร ที่ร้อยละ 22.8 เนื่องจากมีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เปิดดำเนินการในพื้นที่ จึงสามารถสร้างรายได้รวมของจังหวัดให้สูงขึ้นจากเดิมมาก
ส่วนทางด้านน้อยสุด 10 จังหวัด ปัจจุบันอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีภาคการผลิตขนาดเล็กและมีการใช้ปัจจัยการผลิต ได้ แก่ ที่ดิน การจ้างงาน เงินทุนและการประกอบการอย่างจำกัด และยังพึ่งพาการผลิตในภาคเกษตรเป็นส่วนใหญ่ รายได้รวมของจังหวัดจึงมีมูลค่าไม่มากนัก ประกอบกับจำนวนประชากรโดยรวมของจังหวัดเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นทุกปี จึงทำให้ค่าเฉลี่ยต่อหัวอยู่ในระดับต่ำ โดยที่ค่าต่ำสุด 3 จังหวัดแรก ในปี 2546 ได้แก่ หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ และสุรินทร์ เท่ากับ 16,350 18,133 และ 22,620 บาท ตามลำดับ
ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว ในปี 2546 ระหว่างจังหวัดที่มีค่าสูงสุด คือ ระยอง และจังหวัดที่มีค่าต่ำสุด คือหนองบัวลำภู เท่ากับ 36.9 เท่ามีทิศทางเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากภาวะขยายตัวของ สาขาอุตสาหกรรมในจังหวัดที่มีค่าสูง
ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว ในปี 2546
10 จังหวัดสูงสุด บาทต่อปี 10 จังหวัดต่ำสุด บาทต่อปี
1. ระยอง 604,064 1. หนองบัวลำภู 16,350
2. สมุทรสาคร 393,932 2. อำนาจเจริญ 18,133
3. สมุทรปราการ 336,452 3. สุรินทร์ 22,620
4. พระนครศรีอยุธยา 335,120 4. ศรีสะเกษ 22,744
5. ชลบุรี 290,342 5. บุรีรัมย์ 24,929
6. กรุงเทพฯ 243,605 6. มุกดาหาร 25,533
7. ปทุมธานี 190,406 7. หนองคาย 25,944
8. ภูเก็ต 172,932 8. ยโสธร 26,009
9. ฉะเชิงเทรา 168,572 9. ร้อยเอ็ด 26,713
10. สระบุรี 140,392 10. สกลนคร 26,822
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
บาทต่อปี อัตราเพิ่ม (ร้อยละ)
ภาค 2545 2546 2545 2546
ตะวันออกเฉียงเหนือ 28,274 30,860 7.4 9.2
เหนือ 43,855 47,371 9.9 8.0
ใต้ 62,577 69,450 8.1 11.0
ตะวันออก 183,032 204,857 10.2 11.9
ตะวันตก 68,527 74,545 6.9 8.8
กลาง 128,744 148,371 8.1 15.2
กทม. และปริมณฑล 223,078 230,997 0.3 3.6
เฉลี่ยทั้งประเทศ 86,249 93,164 5.3 8.0
อัตราการเพิ่มของผลิตภัณฑ์ภาคต่อหัวในปี 2546 นับว่าส่วนใหญ่ มีอัตราสูงขึ้น อันเป็นผลจากภาวะการผลิต โดยรวมขยายตัวได้ดี ประกอบกับภาวะราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้รายได้ผลตอบแทนปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้นตามไปด้วยโดยที่ภาคกลางภาคตะวันออกภาคใต้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 11.9 11.0 9.2 และ 8.8 ตามลำดับ เนื่องจากการขยายการผลิตได้ดีในสาขาอุตสาหกรรมและสาขาการขายส่ง การขายปลีกฯ สำหรับภาคเหนือ มีอัตราการเพิ่มของผลิตภัณฑ์ภาคต่อหัวร้อยละ 8.0 ชะลอลงจากปีก่อน เนื่องจากสาขา อุตสาหกรรมชะลอลงเป็นปัจจัยสำคัญ ส่วนกรุงเทพฯและปริมณฑลมีอัตราเพิ่มของผลิตภัณฑ์ภาคต่อหัวที่ร้อยละ 3.6 เป็นผลจากสาขาอุตสาหกรรม สาขาการขายส่ง การขายปลีกฯ และสาขาตัวกลางทางการเงินขยายตัวสูงขึ้น
ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว (Per capita GPP)
ค่าสูงสุด 10 จังหวัดแรกยังเป็นกลุ่มจังหวัดที่มีการผลิตในสาขาอุตสาหกรรมเป็นสาขาหลัก และมีสาขาการขายส่ง การขายปลีกฯ สาขา
ตัวกลางทางการเงิน และสาขาการให้บริการต่างๆ เป็นสาขาที่สนับสนุนให้ผลิตภัณ ฑ์ จังหวัดมีค่าสูง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคกลาง โดยจังหวัดที่มีค่าสูงสุด 3 จังหวัดแรก คือ ระยอง สมุทรสาคร และสมุทรปราการ เท่ากับ 604,064 393,932 และ 336,452 บาท ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่มีอัตราเพิ่มสูงสุดในปีนี้ คือ จังหวัดกำแพงเพชร ที่ร้อยละ 22.8 เนื่องจากมีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เปิดดำเนินการในพื้นที่ จึงสามารถสร้างรายได้รวมของจังหวัดให้สูงขึ้นจากเดิมมาก
ส่วนทางด้านน้อยสุด 10 จังหวัด ปัจจุบันอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีภาคการผลิตขนาดเล็กและมีการใช้ปัจจัยการผลิต ได้ แก่ ที่ดิน การจ้างงาน เงินทุนและการประกอบการอย่างจำกัด และยังพึ่งพาการผลิตในภาคเกษตรเป็นส่วนใหญ่ รายได้รวมของจังหวัดจึงมีมูลค่าไม่มากนัก ประกอบกับจำนวนประชากรโดยรวมของจังหวัดเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นทุกปี จึงทำให้ค่าเฉลี่ยต่อหัวอยู่ในระดับต่ำ โดยที่ค่าต่ำสุด 3 จังหวัดแรก ในปี 2546 ได้แก่ หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ และสุรินทร์ เท่ากับ 16,350 18,133 และ 22,620 บาท ตามลำดับ
ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว ในปี 2546 ระหว่างจังหวัดที่มีค่าสูงสุด คือ ระยอง และจังหวัดที่มีค่าต่ำสุด คือหนองบัวลำภู เท่ากับ 36.9 เท่ามีทิศทางเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากภาวะขยายตัวของ สาขาอุตสาหกรรมในจังหวัดที่มีค่าสูง
ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว ในปี 2546
10 จังหวัดสูงสุด บาทต่อปี 10 จังหวัดต่ำสุด บาทต่อปี
1. ระยอง 604,064 1. หนองบัวลำภู 16,350
2. สมุทรสาคร 393,932 2. อำนาจเจริญ 18,133
3. สมุทรปราการ 336,452 3. สุรินทร์ 22,620
4. พระนครศรีอยุธยา 335,120 4. ศรีสะเกษ 22,744
5. ชลบุรี 290,342 5. บุรีรัมย์ 24,929
6. กรุงเทพฯ 243,605 6. มุกดาหาร 25,533
7. ปทุมธานี 190,406 7. หนองคาย 25,944
8. ภูเก็ต 172,932 8. ยโสธร 26,009
9. ฉะเชิงเทรา 168,572 9. ร้อยเอ็ด 26,713
10. สระบุรี 140,392 10. สกลนคร 26,822
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-