- ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน เพิ่มสูงขึ้นหลังจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายเงิน ธปท. คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมที่ร้อยละ 2 ต่อปี เนื่องจากเห็นว่าแรงกดดัน เงินเฟ้อมีแนวโน้มผ่อนคลายลง ประกอบกับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้น เล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ พันธบัตรฯ ระยะยาวปรับลดลง สำหรับอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯสหรัฐ ปรับลดลงทุกช่วงอายุ
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ตามค่าเงินในภูมิภาค เนื่องจากความต้องการให้ค่าเงินสกุลเอเชียแข็งค่าขึ้น และการคาดการณ์การปรับขึ้นค่าเงินหยวน ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ จากแรงซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออก ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก จากท่าทีของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่สนับสนุนการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ออกมาดี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูงในช่วงต้นและกลางสัปดาห์ โดย สถาบันการเงินมีความต้องการลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ความต้องการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันลดลง เนื่องจากเป็นช่วง ก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วันเคลื่อนไหวระหว่างวันลดลงแต่ยังคงปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง หลังจาก คณะกรรมการฯ ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม ความต้องการลงทุน ในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันกลับเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัว ขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากสถาบันการเงินบางแห่งดำรงเงินสดสำรอง ได้ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย จึงมีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืน ระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อย ละ 1.875 และ 2.0 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วันยังปิดตลาดคงที่ที่ ร้อยละ 2.0 ต่อปี ตลอดสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหว เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.65 - 2.05 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 1.9 ต่อปี ในต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.85 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์
คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมที่ร้อยละ 2 ต่อปี ในการประชุมครั้งที่ผ่านมา (19 ม.ค.) เนื่องจากเห็นว่าแรงกดดันเงินเฟ้อมีแนวโน้มผ่อนคลายลง จากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันและเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคมชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.9 นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ ปัจจัยเสี่ยงด้านราคาน้ำมันที่อาจปรับตัวสูงขึ้นอีกในระยะต่อไป และความผันผวนของตลาดเงินตราต่างประเทศ
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 29,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋ว เงินคลัง อายุ 91 วัน วงเงิน 5,000 ล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ อายุ 182 วัน วงเงิน 5,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 28 และ 364 วัน วงเงินรวม 12,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 5 10 และ 15 ปี วงเงิน 4,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนตราสารส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากกับสัปดาห์ก่อน ยกเว้นพันธบัตรรัฐบาล อายุ 15 ปี ที่มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย และมีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคาร สงเคราะห์อายุ 3 และ 5 ปีที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท มูลค่าซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 62,560 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่า ซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 12,512 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.5 โดย เป็นธุรกรรม Outright 47,474 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 75.9 โดยในต้นสัปดาห์นัก ลงทุนชะลอการลงทุนเพื่อรอความชัดเจนของนโยบายอัตราดอกเบี้ยในการประชุม คณะกรรมการนโยบายการเงินในวันพุธที่ 19 ม.ค. หลังจากที่ประชุมมีมติให้คงอัตรา ดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม จึงมีแรงซื้อกลับเข้ามาในช่วงกลาง-ปลายสัปดาห์ ตราสารหนี้ที่ มีปริมาณการซื้อขายสูงสุดได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาเป็นพันธบัตร ธปท. อัตรา ผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นในขณะที่ระยะ ยาวปรับตัวลดลง โดยพันธบัตรฯอายุ 1-3 ปี อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 3-8 basis point พันธบัตรฯ อายุมากกว่า 5 ปี อัตราผลตอบแทนลดลง 1-4 basis points ดัชนี ราคา (Clean price index) ของพันธบัตรฯ เกือบไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนดัชนีราคาหุ้นกู้ เอกชนเพิ่มขึ้น 12 basis points
สำหรับ US Treasury Yield ในสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลงเป็นส่วนใหญ่ หลังจากปรับตัว สูงขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่กลางเดือนธ.ค. จากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ณ สิ้นสัปดาห์ US Treasury Yield ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 1-8 basis point
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.48 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 1.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทในต้นสัปดาห์แข็งค่าต่อเนื่องจากปลาย สัปดาห์ก่อนหน้า และมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ตามการ แข็งค่าของเงินในภูมิภาค หลังจากที่กลุ่มยูโรต้องการให้ค่าเงินสกุลเอเชียโดยเฉพาะ ค่าเงินหยวนมีความยืดหยุ่นมากขึ้นเพื่อช่วยแบกรับการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ คาดว่าเงินหยวนจะถูกกดดันให้มีการปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. (revaluation) ในการประชุม G-7 ที่จะมีขึ้นในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ ซึ่งจะ ส่งผลให้ค่าเงินสกุลเอเชียปรับแข็งค่าขึ้นอีกในระยะต่อไป ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เงิน บาทแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับและปรับแข็งค่าที่สุดในรอบ 4 ปี 8 เดือนที่ระดับ 38.39 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันพุธ อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องในช่วง ปลายสัปดาห์ เนื่องจากมีแรงซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้นำเข้าและธนาคารพาณิชย์ ในประเทศ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวสนับสนุนนโยบายการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. และยืนยันถึงความพยายามเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ อย่าง จริงจังในเดือนกุมภาพันธ์ โดยจะลดการจัดสรรงบประมาณให้กับบางโครงการ นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ สรอ. ยังได้รับปัจจัยบวกจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ออกมา ดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะตัวเลขเงินทุนไหลเข้าเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ สหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายนซึ่งเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 5 เดือน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้น เล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ พันธบัตรฯ ระยะยาวปรับลดลง สำหรับอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯสหรัฐ ปรับลดลงทุกช่วงอายุ
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ตามค่าเงินในภูมิภาค เนื่องจากความต้องการให้ค่าเงินสกุลเอเชียแข็งค่าขึ้น และการคาดการณ์การปรับขึ้นค่าเงินหยวน ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ จากแรงซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออก ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก จากท่าทีของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่สนับสนุนการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ออกมาดี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูงในช่วงต้นและกลางสัปดาห์ โดย สถาบันการเงินมีความต้องการลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ความต้องการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันลดลง เนื่องจากเป็นช่วง ก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วันเคลื่อนไหวระหว่างวันลดลงแต่ยังคงปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง หลังจาก คณะกรรมการฯ ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม ความต้องการลงทุน ในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันกลับเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัว ขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากสถาบันการเงินบางแห่งดำรงเงินสดสำรอง ได้ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย จึงมีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืน ระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อย ละ 1.875 และ 2.0 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วันยังปิดตลาดคงที่ที่ ร้อยละ 2.0 ต่อปี ตลอดสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหว เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.65 - 2.05 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 1.9 ต่อปี ในต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.85 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์
คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมที่ร้อยละ 2 ต่อปี ในการประชุมครั้งที่ผ่านมา (19 ม.ค.) เนื่องจากเห็นว่าแรงกดดันเงินเฟ้อมีแนวโน้มผ่อนคลายลง จากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันและเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคมชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.9 นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ ปัจจัยเสี่ยงด้านราคาน้ำมันที่อาจปรับตัวสูงขึ้นอีกในระยะต่อไป และความผันผวนของตลาดเงินตราต่างประเทศ
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 29,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋ว เงินคลัง อายุ 91 วัน วงเงิน 5,000 ล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ อายุ 182 วัน วงเงิน 5,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 28 และ 364 วัน วงเงินรวม 12,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 5 10 และ 15 ปี วงเงิน 4,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนตราสารส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากกับสัปดาห์ก่อน ยกเว้นพันธบัตรรัฐบาล อายุ 15 ปี ที่มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย และมีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคาร สงเคราะห์อายุ 3 และ 5 ปีที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท มูลค่าซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 62,560 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่า ซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 12,512 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.5 โดย เป็นธุรกรรม Outright 47,474 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 75.9 โดยในต้นสัปดาห์นัก ลงทุนชะลอการลงทุนเพื่อรอความชัดเจนของนโยบายอัตราดอกเบี้ยในการประชุม คณะกรรมการนโยบายการเงินในวันพุธที่ 19 ม.ค. หลังจากที่ประชุมมีมติให้คงอัตรา ดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม จึงมีแรงซื้อกลับเข้ามาในช่วงกลาง-ปลายสัปดาห์ ตราสารหนี้ที่ มีปริมาณการซื้อขายสูงสุดได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาเป็นพันธบัตร ธปท. อัตรา ผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นในขณะที่ระยะ ยาวปรับตัวลดลง โดยพันธบัตรฯอายุ 1-3 ปี อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 3-8 basis point พันธบัตรฯ อายุมากกว่า 5 ปี อัตราผลตอบแทนลดลง 1-4 basis points ดัชนี ราคา (Clean price index) ของพันธบัตรฯ เกือบไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนดัชนีราคาหุ้นกู้ เอกชนเพิ่มขึ้น 12 basis points
สำหรับ US Treasury Yield ในสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลงเป็นส่วนใหญ่ หลังจากปรับตัว สูงขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่กลางเดือนธ.ค. จากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ณ สิ้นสัปดาห์ US Treasury Yield ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 1-8 basis point
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.48 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 1.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทในต้นสัปดาห์แข็งค่าต่อเนื่องจากปลาย สัปดาห์ก่อนหน้า และมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ตามการ แข็งค่าของเงินในภูมิภาค หลังจากที่กลุ่มยูโรต้องการให้ค่าเงินสกุลเอเชียโดยเฉพาะ ค่าเงินหยวนมีความยืดหยุ่นมากขึ้นเพื่อช่วยแบกรับการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ คาดว่าเงินหยวนจะถูกกดดันให้มีการปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. (revaluation) ในการประชุม G-7 ที่จะมีขึ้นในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ ซึ่งจะ ส่งผลให้ค่าเงินสกุลเอเชียปรับแข็งค่าขึ้นอีกในระยะต่อไป ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เงิน บาทแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับและปรับแข็งค่าที่สุดในรอบ 4 ปี 8 เดือนที่ระดับ 38.39 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันพุธ อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องในช่วง ปลายสัปดาห์ เนื่องจากมีแรงซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้นำเข้าและธนาคารพาณิชย์ ในประเทศ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวสนับสนุนนโยบายการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. และยืนยันถึงความพยายามเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ อย่าง จริงจังในเดือนกุมภาพันธ์ โดยจะลดการจัดสรรงบประมาณให้กับบางโครงการ นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ สรอ. ยังได้รับปัจจัยบวกจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ออกมา ดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะตัวเลขเงินทุนไหลเข้าเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ สหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายนซึ่งเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 5 เดือน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-