เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2539 เวลา 9.30 น. ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายบรรหาร ศิลปอาชา ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น (กนภ.) ครั้งที่ 6/2539 ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
ในการประชุมครั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการได้รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามมติ กนภ. ให้ที่ประชุมรับทราบ ซึ่งมีเรื่องสำคัญคือการจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เพื่อทำหน้าที่เป็นสถาบันกลางทางการเงินและการพัฒนา เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนองค์กรชุมชนให้มีความเข้มแข็ง มีกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและมีทักษะในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ อันเป็นฐานสำคัญในการช่วยให้เศรษฐกิจและสังคมไทยเติบโตอย่างมีคุณภาพ มีการกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างทั่วถึงและยั่งยืน ทั้งนี้ โดยได้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จะได้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยต่อไปซึ่งถือได้ว่าเป็นผลงานแรกที่สำคัญของรัฐบาลชุดนี้
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในเรื่องสำคัญ 2 เรื่อง ดังนี้
1. เห็นชอบกับการจัดตั้งกองทุนร่วมบรรเทาความเสียหายทางการเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาภาระหนี้สินของเกษตรกรผู้ประสบความเสียหายจากภัยธรรมชาติได้รับเงินชดเชยจากกองทุน ซึ่งจะเป็นการลดภาระของธนาคารในการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระ และลดภาระของรัฐบาลในการใช้จ่ายเงินงบประมาณให้กับส่วนราชการต่าง ๆ ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ ซึ่งมีความซ้ำซ้อนและไม่สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรอย่างแท้จริง นอกจากนี้แล้วยังจะช่วยทำให้เกษตรกรเกิดความมั่นใจ และมีกำลังใจในการประกอบอาชีพเกษตร ตลอดจนเกิดความพร้อมที่จะลงทุนทำการผลิตด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งจะช่วยส่งผลให้ได้ผลผลิตและรายได้เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ในส่วนของการบริหารกองทุนนี้จะจัดตั้งกองทุนขึ้นในกรมบัญชีกลาง และให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเป็นหน่วยดำเนินการโดยกำหนดให้มีคณะกรรมการกองทุนเป็นผู้กำหนดนโยบายและดูแลการบริหารทั่วไป ซึ่งประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลังหรือผู้แทนเป็นประธานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือผู้แทนปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน อธิบดีกรมการประกันภัยหรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณหรือผู้แทน กรรมการอื่นที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน และตัวแทนเกษตรกร 2 คน เป็นกรรมการและผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเป็นกรรมการและเลขานุการ ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปร่วมพิจารณาในรายละเอียดการจัดตั้งกองทุนร่วมบรรเทาความเสียหายทางการเกษตร และร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนร่วมบรรเทาความเสียหายทางการเกษตร เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
2. เห็นชอบกับกรอบยุทธศาสตร์ การพัฒนาจังหวัดภูเก็ตให้เป็นเมืองศูนย์กลางของการท่องเที่ยวนานาชาติทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งให้กระทรวง ทบวง กรม เจ้าของโครงการ นำโครงการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่มีความชัดเจนแล้วไปจัดทำแผนปฏิบัติการของกระทรวง ทบวง กรม เพื่อดำเนินการในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) นอกจากนี้ยังเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจภายใต้ กนภ.เพื่อประสานกำกับและเร่งรัดการพัฒนาจังหวัดภูเก็ต ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการดังกล่าว โดยให้เลขาธิการ สศช. เป็นประธานและรองเลขาธิการ สศช.เป็นรองประธาน พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นอนุกรรมการและมีเจ้าหน้าที่ สศช. เป็นฝ่ายเลขานุการ รวมทั้งให้มีการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทฯ เพื่อเป็นกรอบการพัฒนาจังหวัดภูเก็ต ทั้งภาครัฐและเอกชนในระยะยาวต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 11/พฤศจิกายน 2539--
ในการประชุมครั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการได้รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามมติ กนภ. ให้ที่ประชุมรับทราบ ซึ่งมีเรื่องสำคัญคือการจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เพื่อทำหน้าที่เป็นสถาบันกลางทางการเงินและการพัฒนา เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนองค์กรชุมชนให้มีความเข้มแข็ง มีกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและมีทักษะในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ อันเป็นฐานสำคัญในการช่วยให้เศรษฐกิจและสังคมไทยเติบโตอย่างมีคุณภาพ มีการกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างทั่วถึงและยั่งยืน ทั้งนี้ โดยได้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จะได้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยต่อไปซึ่งถือได้ว่าเป็นผลงานแรกที่สำคัญของรัฐบาลชุดนี้
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในเรื่องสำคัญ 2 เรื่อง ดังนี้
1. เห็นชอบกับการจัดตั้งกองทุนร่วมบรรเทาความเสียหายทางการเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาภาระหนี้สินของเกษตรกรผู้ประสบความเสียหายจากภัยธรรมชาติได้รับเงินชดเชยจากกองทุน ซึ่งจะเป็นการลดภาระของธนาคารในการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระ และลดภาระของรัฐบาลในการใช้จ่ายเงินงบประมาณให้กับส่วนราชการต่าง ๆ ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ ซึ่งมีความซ้ำซ้อนและไม่สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรอย่างแท้จริง นอกจากนี้แล้วยังจะช่วยทำให้เกษตรกรเกิดความมั่นใจ และมีกำลังใจในการประกอบอาชีพเกษตร ตลอดจนเกิดความพร้อมที่จะลงทุนทำการผลิตด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งจะช่วยส่งผลให้ได้ผลผลิตและรายได้เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ในส่วนของการบริหารกองทุนนี้จะจัดตั้งกองทุนขึ้นในกรมบัญชีกลาง และให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเป็นหน่วยดำเนินการโดยกำหนดให้มีคณะกรรมการกองทุนเป็นผู้กำหนดนโยบายและดูแลการบริหารทั่วไป ซึ่งประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลังหรือผู้แทนเป็นประธานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือผู้แทนปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน อธิบดีกรมการประกันภัยหรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณหรือผู้แทน กรรมการอื่นที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน และตัวแทนเกษตรกร 2 คน เป็นกรรมการและผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเป็นกรรมการและเลขานุการ ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปร่วมพิจารณาในรายละเอียดการจัดตั้งกองทุนร่วมบรรเทาความเสียหายทางการเกษตร และร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนร่วมบรรเทาความเสียหายทางการเกษตร เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
2. เห็นชอบกับกรอบยุทธศาสตร์ การพัฒนาจังหวัดภูเก็ตให้เป็นเมืองศูนย์กลางของการท่องเที่ยวนานาชาติทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งให้กระทรวง ทบวง กรม เจ้าของโครงการ นำโครงการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่มีความชัดเจนแล้วไปจัดทำแผนปฏิบัติการของกระทรวง ทบวง กรม เพื่อดำเนินการในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) นอกจากนี้ยังเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจภายใต้ กนภ.เพื่อประสานกำกับและเร่งรัดการพัฒนาจังหวัดภูเก็ต ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการดังกล่าว โดยให้เลขาธิการ สศช. เป็นประธานและรองเลขาธิการ สศช.เป็นรองประธาน พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นอนุกรรมการและมีเจ้าหน้าที่ สศช. เป็นฝ่ายเลขานุการ รวมทั้งให้มีการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทฯ เพื่อเป็นกรอบการพัฒนาจังหวัดภูเก็ต ทั้งภาครัฐและเอกชนในระยะยาวต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 11/พฤศจิกายน 2539--