- อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน เคลื่อนไหวตามความต้องการลงทุนและกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ ระหว่างร้อยละ 2-2.03125 และ 2.0625 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองค่อนข้างเบาบางในช่วงวันหยุด อัตราผลตอบแทน (Yield)พันธบัตรฯ ไทยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่มีแรงซื้อพันธบัตรสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ทำให้อัตราผลตอบแทนลดลง
- ค่าเฉลี่ยเงินบาทยังคงอ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน เนื่องจากความกังวลต่อเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ แต่ทิศทางการแข็งค่าของเงินในภูมิภาค การกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย และการเทขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกไทย ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เงินบาทไม่อ่อนค่ามากนัก ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากความกังวลต่อยอดการดุลการค้าในเดือนกุมภาพันธ์ที่เพิ่มสูงขึ้น
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในวันจันทร์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีการเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าก่อนช่วงวันหยุดในเทศกาลสงกรานต์ จึงมีความต้องการกู้ยืม
เพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน จึงปิดตลาดสูงขึ้นจากระดับเดียวกันที่ร้อยละ 2 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.03125 และ 2.0625 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ในวันอังคารซึ่งเป็นวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการสำรองเงินมาลงทุนระยะสั้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปรับตัวลดลงมาอยู่ในระดับเดิมที่ร้อยละ 2 ต่อปี ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี นอกจากนี้
ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือนที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.25 ต่อปี ในวันจันทร์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank เคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ระหว่างร้อยละ 1.95 - 2.125 และอัตรากลาง (Mode) ปิด
ตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 34,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 92 และ 183 วัน วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 24 59 และ 364 วัน วงเงินรวม 26,500 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 และ 15 ปี วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท ตราสารทุกประเภทมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น เนื่องจากในสัปดาห์นี้มีวันทำการเพียง 2 วัน การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่าเพียง 26,941 ล้านบาท หรือเท่ากับ 13,471 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4 โดยมีการซื้อขายที่เป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 82.6 เนื่องจากธุรกรรมค่อนข้างเบาบาง ดัชนีราคา(Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเกือบไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อน
อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ อายุ 1 ปีขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-5 basis points พันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 5-12 basis points เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันที่20 เม.ย. นี้ สำหรับอัตราผลตอบแทนของ US Treasury ปรับตัวลดลงค่อนข้างมากในสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะพันธบัตรช่วงอายุ 2-10 ปี อัตราผลตอบแทนลดลง 23-27 basis points ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีแรงซื้อพันธบัตรสหรัฐฯ เข้ามามาก หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐทรุดลงอย่างรุนแรงในสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาต่ำกว่าที่คาด ทำให้นักลงทุนย้ายเงินลงทุนออกจากตลาดหุ้นมาลงทุนในตลาดพันธบัตรฯ แทน
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 39.60 - 39.62 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และปริมาณการทำธุรกรรมในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างเบาบาง เนื่องจากสัปดาห์นี้มีวันทำการเพียง 2 วัน และ นักลงทุนชะลอการลงทุนก่อนวันหยุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยเงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.61 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคง อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 0.4 เงินบาทในวันจันทร์มีทิศทางอ่อนค่าจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อย จากความกังวลต่อเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ในช่วงเทศกาล อย่างไรก็ตาม
การอ่อนค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยทิศทางการแข็งค่าของเงินในภูมิภาค การกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย และการเทขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกไทย ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันอังคารซึ่งเป็นวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินสกุล
หลักในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนมีการคาดการณ์ว่าตัวเลขดุลการค้าในเดือนกุมภาพันธ์ที่ประกาศในวันอังคารที่ 12 เม.ย. จะออกมาขาดดุลสูงสุดเป็นอันดับ 2 รองจากยอดการขาดดุลสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนพฤศจิกายน 2547 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ตัวเลขดุลการค้าของสหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์มีการขาดดุลถึง 64 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดและเป็นยอดการขาดดุลที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนและเป็นปัจจัยกดดันกดดันเงินดอลลาร์ สรอ. ให้อ่อนค่าลงอีกในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองค่อนข้างเบาบางในช่วงวันหยุด อัตราผลตอบแทน (Yield)พันธบัตรฯ ไทยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่มีแรงซื้อพันธบัตรสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ทำให้อัตราผลตอบแทนลดลง
- ค่าเฉลี่ยเงินบาทยังคงอ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน เนื่องจากความกังวลต่อเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ แต่ทิศทางการแข็งค่าของเงินในภูมิภาค การกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย และการเทขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกไทย ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เงินบาทไม่อ่อนค่ามากนัก ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากความกังวลต่อยอดการดุลการค้าในเดือนกุมภาพันธ์ที่เพิ่มสูงขึ้น
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในวันจันทร์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีการเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าก่อนช่วงวันหยุดในเทศกาลสงกรานต์ จึงมีความต้องการกู้ยืม
เพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน จึงปิดตลาดสูงขึ้นจากระดับเดียวกันที่ร้อยละ 2 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.03125 และ 2.0625 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ในวันอังคารซึ่งเป็นวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการสำรองเงินมาลงทุนระยะสั้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปรับตัวลดลงมาอยู่ในระดับเดิมที่ร้อยละ 2 ต่อปี ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี นอกจากนี้
ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือนที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.25 ต่อปี ในวันจันทร์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank เคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ระหว่างร้อยละ 1.95 - 2.125 และอัตรากลาง (Mode) ปิด
ตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 34,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 92 และ 183 วัน วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 24 59 และ 364 วัน วงเงินรวม 26,500 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 และ 15 ปี วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท ตราสารทุกประเภทมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น เนื่องจากในสัปดาห์นี้มีวันทำการเพียง 2 วัน การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่าเพียง 26,941 ล้านบาท หรือเท่ากับ 13,471 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4 โดยมีการซื้อขายที่เป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 82.6 เนื่องจากธุรกรรมค่อนข้างเบาบาง ดัชนีราคา(Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเกือบไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อน
อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ อายุ 1 ปีขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-5 basis points พันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 5-12 basis points เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันที่20 เม.ย. นี้ สำหรับอัตราผลตอบแทนของ US Treasury ปรับตัวลดลงค่อนข้างมากในสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะพันธบัตรช่วงอายุ 2-10 ปี อัตราผลตอบแทนลดลง 23-27 basis points ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีแรงซื้อพันธบัตรสหรัฐฯ เข้ามามาก หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐทรุดลงอย่างรุนแรงในสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาต่ำกว่าที่คาด ทำให้นักลงทุนย้ายเงินลงทุนออกจากตลาดหุ้นมาลงทุนในตลาดพันธบัตรฯ แทน
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 39.60 - 39.62 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และปริมาณการทำธุรกรรมในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างเบาบาง เนื่องจากสัปดาห์นี้มีวันทำการเพียง 2 วัน และ นักลงทุนชะลอการลงทุนก่อนวันหยุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยเงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.61 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคง อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 0.4 เงินบาทในวันจันทร์มีทิศทางอ่อนค่าจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อย จากความกังวลต่อเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ในช่วงเทศกาล อย่างไรก็ตาม
การอ่อนค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยทิศทางการแข็งค่าของเงินในภูมิภาค การกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย และการเทขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกไทย ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันอังคารซึ่งเป็นวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินสกุล
หลักในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนมีการคาดการณ์ว่าตัวเลขดุลการค้าในเดือนกุมภาพันธ์ที่ประกาศในวันอังคารที่ 12 เม.ย. จะออกมาขาดดุลสูงสุดเป็นอันดับ 2 รองจากยอดการขาดดุลสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนพฤศจิกายน 2547 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ตัวเลขดุลการค้าของสหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์มีการขาดดุลถึง 64 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดและเป็นยอดการขาดดุลที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนและเป็นปัจจัยกดดันกดดันเงินดอลลาร์ สรอ. ให้อ่อนค่าลงอีกในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-