คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2540 เห็นชอบในหลักการของกรอบและทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 การปรับกรอบการลงทุนรวมของประเทศและหลักเกณฑ์การปรับกรอบการลงทุนภาครัฐ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้
1. ให้ สศช. ประสานงานกับรองนายกรัฐมนตรี (นายวีรพงษ์ รามางกูร) เพื่อปรับตัวเลขเป้าหมายและกรอบการลงทุน ตลอดจนแนวทางการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับเงื่อนไขและแผนที่รัฐบาลทำความตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
2. การพิจารณาโครงการใหม่ตามหลักเกณฑ์การปรับกรอบการลงทุนภาครัฐ สศช. ควรพิจารณาโดยใช้ความยืดหยุ่นตามสมควร โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน การวิจัยและพัฒนา และโครงการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจำเป็นต้องมีการนำเข้าหรือใช้ส่วนประกอบนำเข้าจากต่างประเทศ โครงการเหล่านี้อาจไม่มีขีดความสามารถในการสร้างรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศโดยตรง แต่ถ้าเป็นโครงการที่สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หรือสนับสนุนให้เกิดรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศโดยทางอ้อม ก็สมควรได้รับการพิจารณาผ่อนผัน หรือจัดลำดับไว้เพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะยาวต่อไป ทั้งนี้ ควรพิจารณาเป็นรายโครงการเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศให้มากที่สุด
3. ขณะจัดทำแผนฯ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ภาวะเศรษฐกิจของประเทศมีความแตกต่างจากปัจจุบันดังนั้น ปัญหาและแนวทางแก้ไขสำหรับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้อาจยังไม่ได้รับการพิจารณาและบรรจุไว้ในแผนฯ เช่น ปัญหาการว่างงาน การสนับสนุนธุรกิจซึ่งจะสามารถดำเนินการไปได้อย่างยั่งยืน การกำกับดูแลและพัฒนาสถาบันการเงินและระบบการเงินการธนาคาร เป็นต้น สมควรที่ สศช. จะได้พิจารณาปรับปรุงกรอบและทิศทางของแผนฯ 8 ร่วมกับหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตด้วย
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 10/ตุลาคม 2540--
1. ให้ สศช. ประสานงานกับรองนายกรัฐมนตรี (นายวีรพงษ์ รามางกูร) เพื่อปรับตัวเลขเป้าหมายและกรอบการลงทุน ตลอดจนแนวทางการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับเงื่อนไขและแผนที่รัฐบาลทำความตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
2. การพิจารณาโครงการใหม่ตามหลักเกณฑ์การปรับกรอบการลงทุนภาครัฐ สศช. ควรพิจารณาโดยใช้ความยืดหยุ่นตามสมควร โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน การวิจัยและพัฒนา และโครงการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจำเป็นต้องมีการนำเข้าหรือใช้ส่วนประกอบนำเข้าจากต่างประเทศ โครงการเหล่านี้อาจไม่มีขีดความสามารถในการสร้างรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศโดยตรง แต่ถ้าเป็นโครงการที่สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หรือสนับสนุนให้เกิดรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศโดยทางอ้อม ก็สมควรได้รับการพิจารณาผ่อนผัน หรือจัดลำดับไว้เพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะยาวต่อไป ทั้งนี้ ควรพิจารณาเป็นรายโครงการเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศให้มากที่สุด
3. ขณะจัดทำแผนฯ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ภาวะเศรษฐกิจของประเทศมีความแตกต่างจากปัจจุบันดังนั้น ปัญหาและแนวทางแก้ไขสำหรับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้อาจยังไม่ได้รับการพิจารณาและบรรจุไว้ในแผนฯ เช่น ปัญหาการว่างงาน การสนับสนุนธุรกิจซึ่งจะสามารถดำเนินการไปได้อย่างยั่งยืน การกำกับดูแลและพัฒนาสถาบันการเงินและระบบการเงินการธนาคาร เป็นต้น สมควรที่ สศช. จะได้พิจารณาปรับปรุงกรอบและทิศทางของแผนฯ 8 ร่วมกับหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตด้วย
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 10/ตุลาคม 2540--