แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกรมวิเทศสหการ ได้ร่วมกันจัดการสัมมนา เรื่อง "The 2nd International Seminar on Thai-Mongolian Public and Private Sector Coordination Development" ในวันที่ 2 กันยายน 2541 ณ ห้องประชุม Board Room 1 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
นายวิรัตน์ วัฒนศิริธรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้กล่าวเปิดการสัมมนาว่า การสัมมนาในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของภาคเอกชนในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และความร่วมมือของภาคเอกชนระหว่างประเทศไทยและประเทศมองโกเลียและเพื่อระดมความคิดในการประชุมกลุ่มย่อยเกี่ยวกับการพัฒนาความร่วมมือทางด้านการท่องเที่ยว ด้านอุตสาหกรรมอัญมณี การแปรรูปอาหารและโทรคมนาคม
ในส่วนของประเทศมองโกเลียนั้นได้เปลี่ยนระบบเศรษฐกิจของประเทศจากระบบสังคมนิยมมาเป็นระบบตลาดเสรี เมื่อปี พ.ศ. 2533 ดังนั้นรัฐบาลมองโกเลียจึงมีนโยบายต่างประเทศที่จะเข้าร่วมมือทางเศรษฐกิจการลงทุนการค้า กับกลุ่มประเทศต่าง ๆ ในโลกเสรี รวมทั้งการร่วมมือการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การสร้างเครือข่ายขนส่งทางอากาศ และการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีกับต่างประเทศด้วย ในการนี้ สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดการฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากประเทศมองโกเลีย ซึ่งนับเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยเสริมให้การพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศมองโกเลียได้เป็นไปอย่างเหมาะสมและคล่องตัวขึ้น
นายวิษณุ พูลสุข ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สศช. กล่าวว่า การจัดสัมมนาในครั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่ สศช. และกรมวิเทศสหการได้ร่วมกันจัดการสัมมนาระหว่างประเทศเรื่อง "บทบาทของภาคเอกชนกับการพัฒนาเศรษฐกิจ" ณ กรุงอูลันบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย ระหว่างวันที่ 1-6 กันยายน 2539 โดยมีคณะผู้แทนจากประเทศไทยและประเทศมองโกเลียทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ซึ่งผลจากการสัมมนาในครั้งนั้นทำให้ทั้งสองฝ่ายได้มีโอกาสกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายได้มีการเจรจาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ตลอดจนรับทราบปัญหาข้อจำกัดในอันที่จะนำไปสู่การแก้ไขและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในอนาคต ระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองฝ่ายให้มากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ จากผลสำเร็จของการสัมมนาดังกล่าวทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นถึงความจำเป็นที่จะจัดให้มีการสัมมนาในลักษณะดังกล่าวขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ในประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาลู่ทางการค้าและการลงทุนระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยในการสร้างข้อตกลงที่เอื้อประโยชน์ทางด้านการค้า การลงทุนระหว่างประเทศทั้งสองและลดข้อจำกัดต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งได้มีการหารือถึงแนวทางการพัฒนาการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศไทยและประเทศมองโกเลีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมอัญมณี การแปรรูปอาหารและโทรคมนาคม
สำหรับผู้เข้าร่วมระดมความคิดเห็นในการสัมมนาครั้งนี้นอกเหนือจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐและผู้แทนภาคเอกชนจากประเทศมองโกเลียแล้ว ยังมีเจ้าหน้าที่ผู้แทนไทยจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สศช. กรมวิเทศสหการกระทรวงการต่างประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ฯลฯ
นายวิษณุ พูลสุข กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าของแนวทางความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ดังกล่าว พร้อมทั้งเห็นชอบการกำหนดแนวทางการดำเนินงานต่อไปในแต่ละสาขา โดยเน้นถึงความสำคัญในการประสานงานเพื่อให้แนวทางที่กำหนดไว้ในแผนงานสามารถบังเกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนั้นได้มีการสรุปผลการประชุมเป็นรายสาขา โดยเฉพาะในแง่ระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องภายใต้ความร่วมมือ ตลอดจนการรวบรวมแผนงาน/โครงการความร่วมมือ ทั้งนี้เพื่อให้ความร่วมมือสามารถบังเกิดผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น และก่อให้เกิดความสำเร็จในการพัฒนาความร่วมมือของทั้งสองประเทศนี้อย่างต่อเนื่องในอนาคต
ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายและแผนงาน กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า ผลการสัมมนาในครั้งนี้เป็นขั้นตอนสำคัญในการผลักดันให้ประเทศมองโกเลียและประเทศไทยสามารถสถาปนาเครือข่ายความร่วมมือภาคเอกชนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นทางด้านการรวมพลังความคิด การปฏิบัติและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซึ่งจะนำไปสู่การร่วมขยายด้านการค้าและการลงทุนกันในอนาคตต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 15 ฉบับที่ 10/ตุลาคม 2541--
นายวิรัตน์ วัฒนศิริธรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้กล่าวเปิดการสัมมนาว่า การสัมมนาในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของภาคเอกชนในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และความร่วมมือของภาคเอกชนระหว่างประเทศไทยและประเทศมองโกเลียและเพื่อระดมความคิดในการประชุมกลุ่มย่อยเกี่ยวกับการพัฒนาความร่วมมือทางด้านการท่องเที่ยว ด้านอุตสาหกรรมอัญมณี การแปรรูปอาหารและโทรคมนาคม
ในส่วนของประเทศมองโกเลียนั้นได้เปลี่ยนระบบเศรษฐกิจของประเทศจากระบบสังคมนิยมมาเป็นระบบตลาดเสรี เมื่อปี พ.ศ. 2533 ดังนั้นรัฐบาลมองโกเลียจึงมีนโยบายต่างประเทศที่จะเข้าร่วมมือทางเศรษฐกิจการลงทุนการค้า กับกลุ่มประเทศต่าง ๆ ในโลกเสรี รวมทั้งการร่วมมือการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การสร้างเครือข่ายขนส่งทางอากาศ และการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีกับต่างประเทศด้วย ในการนี้ สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดการฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากประเทศมองโกเลีย ซึ่งนับเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยเสริมให้การพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศมองโกเลียได้เป็นไปอย่างเหมาะสมและคล่องตัวขึ้น
นายวิษณุ พูลสุข ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สศช. กล่าวว่า การจัดสัมมนาในครั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่ สศช. และกรมวิเทศสหการได้ร่วมกันจัดการสัมมนาระหว่างประเทศเรื่อง "บทบาทของภาคเอกชนกับการพัฒนาเศรษฐกิจ" ณ กรุงอูลันบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย ระหว่างวันที่ 1-6 กันยายน 2539 โดยมีคณะผู้แทนจากประเทศไทยและประเทศมองโกเลียทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ซึ่งผลจากการสัมมนาในครั้งนั้นทำให้ทั้งสองฝ่ายได้มีโอกาสกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายได้มีการเจรจาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ตลอดจนรับทราบปัญหาข้อจำกัดในอันที่จะนำไปสู่การแก้ไขและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในอนาคต ระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองฝ่ายให้มากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ จากผลสำเร็จของการสัมมนาดังกล่าวทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นถึงความจำเป็นที่จะจัดให้มีการสัมมนาในลักษณะดังกล่าวขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ในประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาลู่ทางการค้าและการลงทุนระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยในการสร้างข้อตกลงที่เอื้อประโยชน์ทางด้านการค้า การลงทุนระหว่างประเทศทั้งสองและลดข้อจำกัดต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งได้มีการหารือถึงแนวทางการพัฒนาการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศไทยและประเทศมองโกเลีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมอัญมณี การแปรรูปอาหารและโทรคมนาคม
สำหรับผู้เข้าร่วมระดมความคิดเห็นในการสัมมนาครั้งนี้นอกเหนือจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐและผู้แทนภาคเอกชนจากประเทศมองโกเลียแล้ว ยังมีเจ้าหน้าที่ผู้แทนไทยจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สศช. กรมวิเทศสหการกระทรวงการต่างประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ฯลฯ
นายวิษณุ พูลสุข กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าของแนวทางความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ดังกล่าว พร้อมทั้งเห็นชอบการกำหนดแนวทางการดำเนินงานต่อไปในแต่ละสาขา โดยเน้นถึงความสำคัญในการประสานงานเพื่อให้แนวทางที่กำหนดไว้ในแผนงานสามารถบังเกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนั้นได้มีการสรุปผลการประชุมเป็นรายสาขา โดยเฉพาะในแง่ระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องภายใต้ความร่วมมือ ตลอดจนการรวบรวมแผนงาน/โครงการความร่วมมือ ทั้งนี้เพื่อให้ความร่วมมือสามารถบังเกิดผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น และก่อให้เกิดความสำเร็จในการพัฒนาความร่วมมือของทั้งสองประเทศนี้อย่างต่อเนื่องในอนาคต
ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายและแผนงาน กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า ผลการสัมมนาในครั้งนี้เป็นขั้นตอนสำคัญในการผลักดันให้ประเทศมองโกเลียและประเทศไทยสามารถสถาปนาเครือข่ายความร่วมมือภาคเอกชนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นทางด้านการรวมพลังความคิด การปฏิบัติและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซึ่งจะนำไปสู่การร่วมขยายด้านการค้าและการลงทุนกันในอนาคตต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 15 ฉบับที่ 10/ตุลาคม 2541--