-คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.5 ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 2 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.75 ต่อปี เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด และเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในประเทศกลับเข้าสู่ระดับที่เหมาะสม
-การทำธุรกรรมในตลาด R/P 14 วัน ค่อนข้างเบาบางก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันพุธ และหลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทปรับตัวสูงขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
-มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยปรับตัวสูงขึ้น ตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวลดลงเล็กน้อย
-เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงกลางสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ตามค่าเงินเยน และการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 19 ตุลาคม มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.5 ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 2 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.75 ต่อปี เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ทรงตัวในเกณฑ์สูงและมีแนวโน้มเร่งตัวเกินระดับเป้าหมายภายในปี 2549 ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องและปัจจัยลบเริ่มคลี่คลายลง อัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงควรอยู่ในทิศทางขาขึ้นต่อไปเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด และเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในประเทศกลับเข้าสู่ระดับที่เหมาะสมต่อการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ธปท. ได้ประเมินว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งที่ผ่านมาจะไม่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ตลอดจนผู้กู้เงิน ผู้ฝากเงิน ภาคเอกชน และสถาบันการเงินในประเทศมากนัก
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีความต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูงเพื่อรอโอกาสลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นหากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธที่ 19 ต.ค. ประกอบกับธนาคารพาณิชย์มีการสำรองเงินเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้า ความต้องการกู้ยืมจึงเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 7 วัน ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 - 3.34375 ต่อปี แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 3.21875 และ 3.25 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ในวันช่วงต้นสัปดาห์ มีการทำธุรกรรมระยะ 14 วัน เบาบางมาก แต่หลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึงร้อยละ 0.5 ในวันพุธ ความต้องการลงทุนในระยะ 14 วัน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสถาบันการเงินเสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.6875 3.71875 และ 3.75 ต่อปี สำหรับระยะ 1 7 วันและ 14 วัน ตามลำดับ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูง โดยสถาบันการเงินส่วนใหญ่มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนทุกระยะยังปิดตลาดในอัตราเดิม สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3 - 3.72 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดสูงขึ้นจากร้อยละ 3.18 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 - 3.76 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 39,860 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 วัน วงเงิน 4,000 ล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงิน อายุ 182 วัน วงเงิน 10,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 4 ปี 6 เดือน 9 ปี 6 เดือน และ 14 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 4,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 17,000 ล้านบาท โดยตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมาก ตอบรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. โดยเฉพาะพันธบัตร ธปท.อายุ 2 ปี มีผู้เสนออัตราผลตอบแทนสูงมาก ธปท. จึงลดวงเงินการจัดสรรลง 700 ล้านบาท ดังนั้น จึงมีพันธบัตร ธปท. ได้รับการจัดสรรทั้งสิ้นเพียง 16,300 ล้านบาท แต่พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน มีอัตราผลตอบแทนลดลงเนื่องจากมีอุปสงค์เพิ่มขึ้นมาก นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์อายุ 3 ปี วงเงิน 2,000 ล้านบาท พันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย อายุ 12 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท และพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อายุ 12 ปี วงเงิน 1,860 ล้านบาท
ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐออกใหม่ 39,160 ล้านบาท ครบกำหนด 10,563 ล้านบาท จึงมีตราสารหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 28,597 ล้านบาท การซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 64,485 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 12,897 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.3 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 74 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. หลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธปท. ในวันพุธ มีแรงเทขายตราสารหนี้จำนวนมาก โดยส่วนใหญ่เป็นตราสารระยะสั้นอายุต่ำกว่า 1 ปี เนื่องจากก่อนหน้านี้นักลงทุนยังไม่มั่นใจว่า ธปท. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ระดับใด เมื่อที่ประชุมมีมติให้ปรับขึ้น 50 bp จึงมีแรงเทขายเพื่อลดผลขาดทุน ทำให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนในสัปดาห์นี้ปรับลดลง 86 และ 21 basis points ตามลำดับ และอัตราผลตอบแทน (yield) ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพันธบัตรฯ ระยะสั้น ในรอบสัปดาห์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 2-23 basis points สำหรับ US Treasury Yield โดยรวมปรับตัวลดลงเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2547 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.ย.48 41.01
เฉลี่ย 10-14 ต.ค.48 40.87
17 ต.ค. 48 40.76
18 ต.ค. 48 40.86
19 ต.ค. 48 40.82
20 ต.ค. 48 40.87
21 ต.ค. 48 40.92
เฉลี่ย 17 - 21 ต.ค. 48 40.85
ค่าเงินบาทในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการคาดการณ์ของนักลงทุนว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อยร้อยละ 0.25 ในช่วงกลางสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยการคาดการณ์ว่า ธปท. เข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเกินไป ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันอังคาร สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทปรับอ่อนค่าลงตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยน นอกจากนี้ ยังถูกกดดันจากการปรับลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง โดยเงินบาทไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึงร้อยละ 0.5 ในวันพุธ เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ได้คาดการณ์ไว้ส่วนหนึ่งแล้ว ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่ออกมาดี ประกอบกับมีการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในช่วงต้นเดือน พ.ย. ทั้งนี้ เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 40.85 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
-การทำธุรกรรมในตลาด R/P 14 วัน ค่อนข้างเบาบางก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันพุธ และหลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทปรับตัวสูงขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
-มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยปรับตัวสูงขึ้น ตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวลดลงเล็กน้อย
-เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงกลางสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ตามค่าเงินเยน และการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 19 ตุลาคม มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.5 ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 2 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.75 ต่อปี เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ทรงตัวในเกณฑ์สูงและมีแนวโน้มเร่งตัวเกินระดับเป้าหมายภายในปี 2549 ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องและปัจจัยลบเริ่มคลี่คลายลง อัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงควรอยู่ในทิศทางขาขึ้นต่อไปเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด และเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในประเทศกลับเข้าสู่ระดับที่เหมาะสมต่อการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ธปท. ได้ประเมินว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งที่ผ่านมาจะไม่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ตลอดจนผู้กู้เงิน ผู้ฝากเงิน ภาคเอกชน และสถาบันการเงินในประเทศมากนัก
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีความต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูงเพื่อรอโอกาสลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นหากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธที่ 19 ต.ค. ประกอบกับธนาคารพาณิชย์มีการสำรองเงินเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้า ความต้องการกู้ยืมจึงเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 7 วัน ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 - 3.34375 ต่อปี แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 3.21875 และ 3.25 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ในวันช่วงต้นสัปดาห์ มีการทำธุรกรรมระยะ 14 วัน เบาบางมาก แต่หลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึงร้อยละ 0.5 ในวันพุธ ความต้องการลงทุนในระยะ 14 วัน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสถาบันการเงินเสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.6875 3.71875 และ 3.75 ต่อปี สำหรับระยะ 1 7 วันและ 14 วัน ตามลำดับ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูง โดยสถาบันการเงินส่วนใหญ่มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนทุกระยะยังปิดตลาดในอัตราเดิม สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3 - 3.72 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดสูงขึ้นจากร้อยละ 3.18 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 - 3.76 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 39,860 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 วัน วงเงิน 4,000 ล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงิน อายุ 182 วัน วงเงิน 10,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 4 ปี 6 เดือน 9 ปี 6 เดือน และ 14 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 4,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 17,000 ล้านบาท โดยตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมาก ตอบรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. โดยเฉพาะพันธบัตร ธปท.อายุ 2 ปี มีผู้เสนออัตราผลตอบแทนสูงมาก ธปท. จึงลดวงเงินการจัดสรรลง 700 ล้านบาท ดังนั้น จึงมีพันธบัตร ธปท. ได้รับการจัดสรรทั้งสิ้นเพียง 16,300 ล้านบาท แต่พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน มีอัตราผลตอบแทนลดลงเนื่องจากมีอุปสงค์เพิ่มขึ้นมาก นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์อายุ 3 ปี วงเงิน 2,000 ล้านบาท พันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย อายุ 12 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท และพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อายุ 12 ปี วงเงิน 1,860 ล้านบาท
ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐออกใหม่ 39,160 ล้านบาท ครบกำหนด 10,563 ล้านบาท จึงมีตราสารหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 28,597 ล้านบาท การซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 64,485 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 12,897 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.3 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 74 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. หลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธปท. ในวันพุธ มีแรงเทขายตราสารหนี้จำนวนมาก โดยส่วนใหญ่เป็นตราสารระยะสั้นอายุต่ำกว่า 1 ปี เนื่องจากก่อนหน้านี้นักลงทุนยังไม่มั่นใจว่า ธปท. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ระดับใด เมื่อที่ประชุมมีมติให้ปรับขึ้น 50 bp จึงมีแรงเทขายเพื่อลดผลขาดทุน ทำให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนในสัปดาห์นี้ปรับลดลง 86 และ 21 basis points ตามลำดับ และอัตราผลตอบแทน (yield) ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพันธบัตรฯ ระยะสั้น ในรอบสัปดาห์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 2-23 basis points สำหรับ US Treasury Yield โดยรวมปรับตัวลดลงเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2547 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.ย.48 41.01
เฉลี่ย 10-14 ต.ค.48 40.87
17 ต.ค. 48 40.76
18 ต.ค. 48 40.86
19 ต.ค. 48 40.82
20 ต.ค. 48 40.87
21 ต.ค. 48 40.92
เฉลี่ย 17 - 21 ต.ค. 48 40.85
ค่าเงินบาทในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการคาดการณ์ของนักลงทุนว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อยร้อยละ 0.25 ในช่วงกลางสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยการคาดการณ์ว่า ธปท. เข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเกินไป ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันอังคาร สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทปรับอ่อนค่าลงตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยน นอกจากนี้ ยังถูกกดดันจากการปรับลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง โดยเงินบาทไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึงร้อยละ 0.5 ในวันพุธ เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ได้คาดการณ์ไว้ส่วนหนึ่งแล้ว ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่ออกมาดี ประกอบกับมีการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในช่วงต้นเดือน พ.ย. ทั้งนี้ เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 40.85 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-