เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2541 องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ร่างแผนพัฒนาสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมเพื่อการพัฒนาคนและสังคม (พ.ศ. 2542-2551) ขึ้น ณ โรงแรมปริ๊นซ์ พาเลซ มหานาค
ในการประชุมดังกล่าว นายณรงค์ นิตยาพร รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวรายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการจัดการประชุมว่า คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวางแผนพัฒนาสื่อสารมวลชนและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคนและสังคม โดยมี ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน เป็นประธานเพื่อจัดทำ "แผนพัฒนาสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมเพื่อการพัฒนาคนและสังคม" (พ.ศ. 2542-2551) ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทสำหรับการพัฒนาด้านสื่อสารมวลชนของประเทศ ตลอดจนให้มีความสอดคล้องและสนับสนุนการพัฒนาคนและสังคมตามจุดมุ่งหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
ดังนั้น เพื่อให้แผนพัฒนาสื่อสารมวลชนฯ ดังกล่าวมีความสมบูรณ์ คณะอนุกรรมการฯ จึงเห็นควรให้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์จากหน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นมาใช้ในการปรับปรุงและแก้ไขร่างแผนพัฒนาสื่อสารมวลชนฯ นี้ให้มีความสมบูรณ์ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแผนพัฒนาสื่อสารมวลชนฯ ดังกล่าวร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และใช้เป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคนและสังคมของประเทศต่อไป
นอกจากนี้ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ประธานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวเปิดการประชุมว่า ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนและสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว จนกล่าวขานกันว่าเป็นยุคที่โลกไร้พรมแดน กล่าวคือ ทุก ๆ คนในโลกมีสิทธิได้รับข้อมูลข่าวสารได้อย่างเสรีโดยไม่จำกัดเพศ เชื้อชาติ วัย การศึกษา และศาสนา แต่ในขณะเดียวกัน ข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งขีดความสามารถในการเข้าถึงและกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารแตกต่างกันนั้นมีผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อประชาชน
นายสิปปนนท์ เกตุทัด กล่าวต่อไปว่า สื่อสารมวลชนเทคโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมนั้น นับเป็นเครื่องมือและสถาบันทางสังคมที่มีขนาดใหญ่ มีความสลับซับซ้อนมีอิทธิพลที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในสังคมได้อย่างกว้างขวาง การปฏิรูปสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม จึงเป็นอีกทางหนึ่งที่สามารถก่อประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและใช้เป็นสื่อในการพัฒนาอย่างแท้จริง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ต้องพัฒนาสิ่งเหล่านี้ให้เป็นสื่อของประชาชนที่มาจากประชาชนและเพื่อประชาชนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ด้วยเหตุนี้ บทบาทหน้าที่ของสื่อเพื่อการพัฒนานั้นต้องมีส่วนช่วยให้การพัฒนายกระดับการศึกษ การรับรู้ของประชาชน ส่งเสริมจิตวิญญาณประชาธิปไตย ช่วยให้ประชาชนได้รู้เท่าทันสภาพความจริงในโลกที่เปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหว และมีส่วนช่วยผลักดันให้ประชาชนมีความคิดและมีความสามารถในการตัดสินใจประกอบกิจกรรม ผดุงรักษา และยกระดับศีลธรรมของประชาชน รวมทั้งสร้างจิตสำนึกแห่งการเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าทั้งของตนเองและสังคมด้วย ดังนั้น การจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมเพื่อการพัฒนาคนและสังคมนี้ จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการใช้เป็นกรอบหรือแนวทางการพัฒนาสื่อสารมวลชนของไทยในทุก ๆ ด้านให้มีดุลยภาพร่วมกัน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 15 ฉบับที่ 12/ธันวาคม 2541--
ในการประชุมดังกล่าว นายณรงค์ นิตยาพร รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวรายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการจัดการประชุมว่า คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวางแผนพัฒนาสื่อสารมวลชนและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคนและสังคม โดยมี ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน เป็นประธานเพื่อจัดทำ "แผนพัฒนาสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมเพื่อการพัฒนาคนและสังคม" (พ.ศ. 2542-2551) ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทสำหรับการพัฒนาด้านสื่อสารมวลชนของประเทศ ตลอดจนให้มีความสอดคล้องและสนับสนุนการพัฒนาคนและสังคมตามจุดมุ่งหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
ดังนั้น เพื่อให้แผนพัฒนาสื่อสารมวลชนฯ ดังกล่าวมีความสมบูรณ์ คณะอนุกรรมการฯ จึงเห็นควรให้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์จากหน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นมาใช้ในการปรับปรุงและแก้ไขร่างแผนพัฒนาสื่อสารมวลชนฯ นี้ให้มีความสมบูรณ์ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแผนพัฒนาสื่อสารมวลชนฯ ดังกล่าวร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และใช้เป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคนและสังคมของประเทศต่อไป
นอกจากนี้ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ประธานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวเปิดการประชุมว่า ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนและสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว จนกล่าวขานกันว่าเป็นยุคที่โลกไร้พรมแดน กล่าวคือ ทุก ๆ คนในโลกมีสิทธิได้รับข้อมูลข่าวสารได้อย่างเสรีโดยไม่จำกัดเพศ เชื้อชาติ วัย การศึกษา และศาสนา แต่ในขณะเดียวกัน ข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งขีดความสามารถในการเข้าถึงและกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารแตกต่างกันนั้นมีผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อประชาชน
นายสิปปนนท์ เกตุทัด กล่าวต่อไปว่า สื่อสารมวลชนเทคโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมนั้น นับเป็นเครื่องมือและสถาบันทางสังคมที่มีขนาดใหญ่ มีความสลับซับซ้อนมีอิทธิพลที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในสังคมได้อย่างกว้างขวาง การปฏิรูปสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม จึงเป็นอีกทางหนึ่งที่สามารถก่อประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและใช้เป็นสื่อในการพัฒนาอย่างแท้จริง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ต้องพัฒนาสิ่งเหล่านี้ให้เป็นสื่อของประชาชนที่มาจากประชาชนและเพื่อประชาชนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ด้วยเหตุนี้ บทบาทหน้าที่ของสื่อเพื่อการพัฒนานั้นต้องมีส่วนช่วยให้การพัฒนายกระดับการศึกษ การรับรู้ของประชาชน ส่งเสริมจิตวิญญาณประชาธิปไตย ช่วยให้ประชาชนได้รู้เท่าทันสภาพความจริงในโลกที่เปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหว และมีส่วนช่วยผลักดันให้ประชาชนมีความคิดและมีความสามารถในการตัดสินใจประกอบกิจกรรม ผดุงรักษา และยกระดับศีลธรรมของประชาชน รวมทั้งสร้างจิตสำนึกแห่งการเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าทั้งของตนเองและสังคมด้วย ดังนั้น การจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมเพื่อการพัฒนาคนและสังคมนี้ จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการใช้เป็นกรอบหรือแนวทางการพัฒนาสื่อสารมวลชนของไทยในทุก ๆ ด้านให้มีดุลยภาพร่วมกัน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 15 ฉบับที่ 12/ธันวาคม 2541--