-อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ระหว่าง 2.46875 - 2.5 ต่อปี ตามความต้องการกู้ยืม/ลงทุนของธนาคารพาณิชย์ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 7 วัน R/P 14 วัน และอัตราดอกเบี้ย Interbank ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าการซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงเล็กน้อย โดยอัตราผลตอบแทน (Yield ) ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน ส่งผลให้ดัชนีราคาลดต่ำลงมาก สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากแรงขายเงินดอลลาร์ สรอ. ในตลาดต่างประเทศ และการกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินบาทยังคงถูกจำกัดด้วยราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นในช่วงต้นสัปดาห์ทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยความต้องการกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน แต่อัตรา
ดอกเบี้ยทุกระยะยังคงปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม ในช่วงกลางสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการดำรงเงินสดสำรองให้อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยและมีการสำรองเงินเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้า จึงลดความต้องการลงทุนลงและมีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปิดตลาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 2.46875 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ก่อนจะปรับลดลงมาอยู่ในอัตราเดิมในช่วงปลายสัปดาห์ตามความต้องการลงทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังคงปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 2.25 - 2.62 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 46,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี และ 14 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 4,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท แต่พันธบัตรรุ่นอายุ 63 วันมีผู้เสนอประมูลไม่เต็มวงเงิน จึงมีการจัดสรรพันธบัตร ธปท.เพียง 28,029 ล้านบาท โดยพันธบัตรทุกประเภทมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมาก ตามการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธปท. นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้านครหลวง อายุ 8 และ 9 ปี วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท
มูลค่าซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 61,122 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 12,224 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยเพิ่มขึ้นมากในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ เนื่องจากตลาดกังวลว่า ธปท. อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในการประชุมวันที่ 20 ก.ค. นี้ ณ สิ้นสัปดาห์พันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 19-27 basis points ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) พันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับลดลง 155 และ 27 basis points ตามลำดับ
US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5-10 basis points เนื่องจากการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ประกอบกับทางการสหรัฐ ฯ ยังคงส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามค่าเงินเยนและเงินในภูมิภาค โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคเอเชีย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงหลังจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนมิถุนายนออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด ส่งผลให้มีแรงขายเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไร สำหรับในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมีความต้องการซื้อเงินบาทในตลาดต่างประเทศ ตลอดจนการปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ หลังจากที่มีการขายสุทธิเป็นจำนวนมากในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม เงินบาทยังคงถูกกดดันจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ซึ่งส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันพฤหัสบดี ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดี โดยเฉพาะตัวเลขดุลการค้าในเดือนพฤษภาคมที่ขาดดุลต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ทั้งนี้ เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.84 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงอ่อนค่าลงร้อยละ 0.6 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าการซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงเล็กน้อย โดยอัตราผลตอบแทน (Yield ) ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน ส่งผลให้ดัชนีราคาลดต่ำลงมาก สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากแรงขายเงินดอลลาร์ สรอ. ในตลาดต่างประเทศ และการกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินบาทยังคงถูกจำกัดด้วยราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นในช่วงต้นสัปดาห์ทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยความต้องการกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน แต่อัตรา
ดอกเบี้ยทุกระยะยังคงปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม ในช่วงกลางสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการดำรงเงินสดสำรองให้อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยและมีการสำรองเงินเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้า จึงลดความต้องการลงทุนลงและมีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปิดตลาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 2.46875 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ก่อนจะปรับลดลงมาอยู่ในอัตราเดิมในช่วงปลายสัปดาห์ตามความต้องการลงทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังคงปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 2.25 - 2.62 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 46,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี และ 14 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 4,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท แต่พันธบัตรรุ่นอายุ 63 วันมีผู้เสนอประมูลไม่เต็มวงเงิน จึงมีการจัดสรรพันธบัตร ธปท.เพียง 28,029 ล้านบาท โดยพันธบัตรทุกประเภทมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมาก ตามการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธปท. นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้านครหลวง อายุ 8 และ 9 ปี วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท
มูลค่าซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 61,122 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 12,224 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยเพิ่มขึ้นมากในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ เนื่องจากตลาดกังวลว่า ธปท. อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในการประชุมวันที่ 20 ก.ค. นี้ ณ สิ้นสัปดาห์พันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 19-27 basis points ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) พันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับลดลง 155 และ 27 basis points ตามลำดับ
US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5-10 basis points เนื่องจากการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ประกอบกับทางการสหรัฐ ฯ ยังคงส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามค่าเงินเยนและเงินในภูมิภาค โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคเอเชีย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงหลังจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนมิถุนายนออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด ส่งผลให้มีแรงขายเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไร สำหรับในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมีความต้องการซื้อเงินบาทในตลาดต่างประเทศ ตลอดจนการปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ หลังจากที่มีการขายสุทธิเป็นจำนวนมากในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม เงินบาทยังคงถูกกดดันจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ซึ่งส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันพฤหัสบดี ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดี โดยเฉพาะตัวเลขดุลการค้าในเดือนพฤษภาคมที่ขาดดุลต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ทั้งนี้ เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.84 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงอ่อนค่าลงร้อยละ 0.6 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-