- คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี เพื่อชะลอความเสี่ยงจากภาวะเฟ้อ ทั้งเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานที่เร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- สถาบันการเงินเน้นการทำธุรกรรมระยะสั้นในตลาด R/P 1 วัน ขณะที่มีการทำธุรกรรมในตลาด R/P 14 วันค่อนข้างเบาบาง ก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันพุธ โดยหลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทปิดตลาดสูงขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- มูลค่าการซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้น โดยอัตราผลตอบแทน (Yield ) ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็น สัปดาห์ที่ 3 จากการคาดการณ์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกันเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วงกลางสัปดาห์ ตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาค ความกังวลต่อปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ และแรงซื้อเงินบาทในตลาดทั้งในและต่างประเทศ ก่อนจะปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ นอกจากนี้ เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นอีกในตลาด offshore หลังจากทางการจีนประกาศปรับขึ้นค่าเงินหยวนเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 20 กรกฎาคม มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ ทั้งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นอีกในระยะต่อไปจากการลอยตัวราคาน้ำมันในประเทศ การปรับขึ้นของราคาสินค้าและการปรับขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำ ขณะที่เศรษฐกิจไทยในช่วง 5 เดือนแรกของปีขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่คณะกรรมการฯ เห็นว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังมีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไป ดอกเบี้ยนโยบายจึงควรอยู่ในทิศทางขาขึ้นเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานให้อยู่ภายในเกณฑ์ที่กำหนด อันจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจในระยะยาว
ในช่วงต้นสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน เพื่อรอโอกาสลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นหากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันที่ 20 ก.ค. อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ระหว่างร้อยละ 2.46875 - 2.5 และ 2.5 - 2.53125 ต่อปี ตามลำดับ โดยในวันจันทร์ไม่มีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน ก่อนจะมีการทำธุรกรรมเพียงเบาบางในวันอังคาร ซึ่งอัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี แต่หลังจากการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธ ความต้องการลงทุนในระยะ 14 วัน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสถาบันการเงินเสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.6875 2.71875 และ 2.75 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 วันและ 14 วัน ตามลำดับ
นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.75 ต่อปี ในวันพุธและพฤหัสบดี ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 2.25 - 2.75 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.48 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 2.68 ต่อปีในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 39,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี และ 14 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 4,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 และ 364 วัน วงเงินรวม 25,000 ล้านบาท แต่พันธบัตรรุ่น
อายุ 364 วันมีผู้เสนอประมูลไม่เต็มวงเงิน จึงมีการจัดสรรพันธบัตร ธปท.เพียง 24,830 ล้านบาท โดยพันธบัตรทุกประเภทมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากนักลงทุนมั่นใจว่า ธปท. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
มูลค่าซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 57,730 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 14,432 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 18 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ยังคงปรับขึ้นอีก 9-22 basis points โดยปรับสูงขึ้นมากในวันพุธก่อนที่จะมีการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) พันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับลดลง 78 และ 35 basis points ตามลำดับ ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ ไทยได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาตลอด 3 สัปดาห์ รวม 44-54 basis points สำหรับ US Treasury Yield ในสัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5-14 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากตลาดคาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 0.25 ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันพุธ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลง หลังจากนักลงทุนมีความกังวลต่อความสามารถในการดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศของสหรัฐฯ เพื่อชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูง สำหรับในช่วงกลางสัปดาห์ เงินบาท
มีทิศทางอ่อนค่าลง โดยมีปัจจัยกดดันจากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และแรงขายเงินบาทในตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงกลางสัปดาห์ไม่ได้ส่งผลต่อค่าเงินบาทมากนัก เนื่องจากนักลงทุนได้คาดการณ์ไว้แล้ว ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ แสดงความคิดเห็นในเชิงบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากในวันพฤหัสบดีซึ่งเป็นวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์
นอกจากนี้ หลังจากการประกาศปรับขึ้นค่าเงินหยวนเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปีของธนาคารกลางจีน ค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศ (offshore) ได้ปรับแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 41.30 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ภายในเวลา 2 ชั่วโมง ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงเช้าของวันศุกร์ที่ 22 ก.ค. แต่เมื่อเทียบกับระดับปิดในวันพฤหัสบดี เงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 1 สอดคล้องกับทิศทางค่าเงินหยวนและค่าเงินในภูมิภาค โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอีกในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้ ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้มีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.85 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อยู่ในระดับใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- สถาบันการเงินเน้นการทำธุรกรรมระยะสั้นในตลาด R/P 1 วัน ขณะที่มีการทำธุรกรรมในตลาด R/P 14 วันค่อนข้างเบาบาง ก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันพุธ โดยหลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทปิดตลาดสูงขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- มูลค่าการซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้น โดยอัตราผลตอบแทน (Yield ) ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็น สัปดาห์ที่ 3 จากการคาดการณ์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกันเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วงกลางสัปดาห์ ตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาค ความกังวลต่อปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ และแรงซื้อเงินบาทในตลาดทั้งในและต่างประเทศ ก่อนจะปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ นอกจากนี้ เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นอีกในตลาด offshore หลังจากทางการจีนประกาศปรับขึ้นค่าเงินหยวนเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 20 กรกฎาคม มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ ทั้งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นอีกในระยะต่อไปจากการลอยตัวราคาน้ำมันในประเทศ การปรับขึ้นของราคาสินค้าและการปรับขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำ ขณะที่เศรษฐกิจไทยในช่วง 5 เดือนแรกของปีขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่คณะกรรมการฯ เห็นว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังมีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไป ดอกเบี้ยนโยบายจึงควรอยู่ในทิศทางขาขึ้นเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานให้อยู่ภายในเกณฑ์ที่กำหนด อันจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจในระยะยาว
ในช่วงต้นสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน เพื่อรอโอกาสลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นหากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันที่ 20 ก.ค. อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ระหว่างร้อยละ 2.46875 - 2.5 และ 2.5 - 2.53125 ต่อปี ตามลำดับ โดยในวันจันทร์ไม่มีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน ก่อนจะมีการทำธุรกรรมเพียงเบาบางในวันอังคาร ซึ่งอัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี แต่หลังจากการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธ ความต้องการลงทุนในระยะ 14 วัน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสถาบันการเงินเสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.6875 2.71875 และ 2.75 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 วันและ 14 วัน ตามลำดับ
นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.75 ต่อปี ในวันพุธและพฤหัสบดี ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 2.25 - 2.75 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.48 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 2.68 ต่อปีในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 39,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี และ 14 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 4,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 และ 364 วัน วงเงินรวม 25,000 ล้านบาท แต่พันธบัตรรุ่น
อายุ 364 วันมีผู้เสนอประมูลไม่เต็มวงเงิน จึงมีการจัดสรรพันธบัตร ธปท.เพียง 24,830 ล้านบาท โดยพันธบัตรทุกประเภทมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากนักลงทุนมั่นใจว่า ธปท. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
มูลค่าซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 57,730 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 14,432 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 18 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ยังคงปรับขึ้นอีก 9-22 basis points โดยปรับสูงขึ้นมากในวันพุธก่อนที่จะมีการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) พันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับลดลง 78 และ 35 basis points ตามลำดับ ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ ไทยได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาตลอด 3 สัปดาห์ รวม 44-54 basis points สำหรับ US Treasury Yield ในสัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5-14 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากตลาดคาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 0.25 ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันพุธ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลง หลังจากนักลงทุนมีความกังวลต่อความสามารถในการดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศของสหรัฐฯ เพื่อชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูง สำหรับในช่วงกลางสัปดาห์ เงินบาท
มีทิศทางอ่อนค่าลง โดยมีปัจจัยกดดันจากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และแรงขายเงินบาทในตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงกลางสัปดาห์ไม่ได้ส่งผลต่อค่าเงินบาทมากนัก เนื่องจากนักลงทุนได้คาดการณ์ไว้แล้ว ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ แสดงความคิดเห็นในเชิงบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากในวันพฤหัสบดีซึ่งเป็นวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์
นอกจากนี้ หลังจากการประกาศปรับขึ้นค่าเงินหยวนเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปีของธนาคารกลางจีน ค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศ (offshore) ได้ปรับแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 41.30 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ภายในเวลา 2 ชั่วโมง ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงเช้าของวันศุกร์ที่ 22 ก.ค. แต่เมื่อเทียบกับระดับปิดในวันพฤหัสบดี เงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 1 สอดคล้องกับทิศทางค่าเงินหยวนและค่าเงินในภูมิภาค โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอีกในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้ ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้มีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.85 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อยู่ในระดับใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-