เมื่อเร็ว ๆ นี้ ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ประธานกรรมการประชาพิจารณ์โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาการจัดทำประชาพิจารณ์ภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539 ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพมหานคร
ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการประชาพิจารณ์ฯ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งได้ระบุคำว่า "กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่กฎหมายบัญญัติ" ในมาตราที่ 59 ซึ่งในขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการร่างกฎหมายลูกมารองรับ และขณะเดียวกันก่อนที่จะมีกฎหมายลูกมารองรับดังกล่าว รัฐบาลได้เปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็น โดยมี "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539" ซึ่งเป็นกติกาที่จะนำมาปฏิบัติ ดังเช่นการประชาพิจารณ์โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามที่คณะกรรมการชุดนี้กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้
ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต กล่าวต่อไปว่า คำว่า "ประชาพิจารณ์" เป็นศัพท์ใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การจัดทำประชาพิจารณ์ตามทฤษฎีนั้นมิใช่การทำประชาสัมพันธ์หรือประชามติ แต่เป็นเพียงการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียตามโครงการของรัฐและประเทศไทยเพิ่งจะนำวิธีดังกล่าวมาใช้เป็นครั้งแรกในโครงการโรงไฟฟ้าที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยรัฐบาลได้แต่งตั้งบุคคลต่าง ๆ จากภาครัฐและเอกชนจำนวน 11 คน เป็นคณะกรรมการ ทั้งนี้สัดส่วนหรือที่มาของกรรมการแต่ละท่านได้ถูกกำหนดโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2539 เป็นหลัก
ประธานกรรมการฯ กล่าวย้ำว่าคณะกรรมการชุดนี้ไม่มีบทบาทในการตัดสินใจว่าโครงการดีหรือไม่ดี บทบาทของกรรมการชุดนี้จะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้สรุปความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียทั้งฝ่ายคัดค้านและฝ่ายสนับสนุน เสนอต่อองค์กรที่มีอำนาจในการตัดสินใจ ซึ่งในที่นี้หมายถึงรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ และ คณะรัฐมนตรี โดยคณะกรรมการประชาพิจารณ์จะต้องทำหน้าที่อย่างโปร่งใส และพิจารณาคำนึงถึงเหตุผลของฝ่ายคัดค้านและฝ่ายสนับสนุนเป็นสำคัญ
นอกจากนี้ ประธานกรรมการฯ ยังได้ฝากความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการรับฟังความคิดเห็นว่ามีหลายระดับ ได้แก่
1) การรับฟังความคิดเห็น
2) การสำรวจความคิดเห็น
3) การสื่อสารทำความเข้าใจซึ่งในอดีตมักใช้การประชาสัมพันธ์
4) การประชาพิจารณ์ ซึ่งในปัจจุบันใช้การร่วมปรึกษาหารือ
5) ประชามติ
สำหรับการประชาพิจารณ์โดยอาศัยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2539 นั้น มีขั้นตอนและวิธีการรวมทั้งสิ้น 18 ขั้นตอน ซึ่งทำให้ต้องใช้เวลาค่อนข้างมากในภาคปฏิบัติ ดังนั้นในอนาคตจำเป็นต้องมีการปรับปรุงให้การดำเนินงานเกิดความคล่องตัวให้มากขึ้นต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 7/กรกฎาคม 2542--
ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการประชาพิจารณ์ฯ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งได้ระบุคำว่า "กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่กฎหมายบัญญัติ" ในมาตราที่ 59 ซึ่งในขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการร่างกฎหมายลูกมารองรับ และขณะเดียวกันก่อนที่จะมีกฎหมายลูกมารองรับดังกล่าว รัฐบาลได้เปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็น โดยมี "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539" ซึ่งเป็นกติกาที่จะนำมาปฏิบัติ ดังเช่นการประชาพิจารณ์โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามที่คณะกรรมการชุดนี้กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้
ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต กล่าวต่อไปว่า คำว่า "ประชาพิจารณ์" เป็นศัพท์ใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การจัดทำประชาพิจารณ์ตามทฤษฎีนั้นมิใช่การทำประชาสัมพันธ์หรือประชามติ แต่เป็นเพียงการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียตามโครงการของรัฐและประเทศไทยเพิ่งจะนำวิธีดังกล่าวมาใช้เป็นครั้งแรกในโครงการโรงไฟฟ้าที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยรัฐบาลได้แต่งตั้งบุคคลต่าง ๆ จากภาครัฐและเอกชนจำนวน 11 คน เป็นคณะกรรมการ ทั้งนี้สัดส่วนหรือที่มาของกรรมการแต่ละท่านได้ถูกกำหนดโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2539 เป็นหลัก
ประธานกรรมการฯ กล่าวย้ำว่าคณะกรรมการชุดนี้ไม่มีบทบาทในการตัดสินใจว่าโครงการดีหรือไม่ดี บทบาทของกรรมการชุดนี้จะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้สรุปความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียทั้งฝ่ายคัดค้านและฝ่ายสนับสนุน เสนอต่อองค์กรที่มีอำนาจในการตัดสินใจ ซึ่งในที่นี้หมายถึงรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ และ คณะรัฐมนตรี โดยคณะกรรมการประชาพิจารณ์จะต้องทำหน้าที่อย่างโปร่งใส และพิจารณาคำนึงถึงเหตุผลของฝ่ายคัดค้านและฝ่ายสนับสนุนเป็นสำคัญ
นอกจากนี้ ประธานกรรมการฯ ยังได้ฝากความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการรับฟังความคิดเห็นว่ามีหลายระดับ ได้แก่
1) การรับฟังความคิดเห็น
2) การสำรวจความคิดเห็น
3) การสื่อสารทำความเข้าใจซึ่งในอดีตมักใช้การประชาสัมพันธ์
4) การประชาพิจารณ์ ซึ่งในปัจจุบันใช้การร่วมปรึกษาหารือ
5) ประชามติ
สำหรับการประชาพิจารณ์โดยอาศัยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2539 นั้น มีขั้นตอนและวิธีการรวมทั้งสิ้น 18 ขั้นตอน ซึ่งทำให้ต้องใช้เวลาค่อนข้างมากในภาคปฏิบัติ ดังนั้นในอนาคตจำเป็นต้องมีการปรับปรุงให้การดำเนินงานเกิดความคล่องตัวให้มากขึ้นต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 7/กรกฎาคม 2542--