(ต่อ12)บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday October 13, 2005 14:32 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          อัตราขยายตัวและโครงสร้างการผลิต กทม.และปริมณฑล (ร้อยละ)                           
อัตราขยายตัว โครงสร้าง
2545 2546 2545 2546
เกษตรกรรม 7.2 -0.6 1.3 1.2
นอกเกษตรกรรม 2.0 4.4 98.7 98.8
อุตสาหกรรม -1.6 5.3 41.1 41.5
การเงิน 14.0 22.0 4.4 5.2
สาขาอื่นๆ 3.9 2.2 53.2 52.1
GRP 2.0 4.3 100.0 100.0
การผลิตนอกภาคเกษตร
ขยายตัวร้อยละ 4.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.0 ในปีที่แล้ว เนื่องจากสาขาอุตสาหกรรมซึ่งเป็นสาขาหลักของภาค ขยายตัวร้อยละ 5.3 การผลิตหลายหมวดขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหมวดที่มีสัดส่วนสูง ได้แก่ หมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี หมวดยาง
และผลิตภัณฑ์พลาสติกเครื่องจักรสำนักงานและคอมพิวเตอร์ หมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า และหมวดยานยนต์ ส่วนหมวดที่ชะลอหรือหดตัวลง เช่น หมวดสิ่งทอหมวดเครื่องแต่งกาย หมวดวิทยุ โทรทัศน์ฯ หมวดหนังและผลิตภัณฑ์จากหนัง หมวดอุปกรณ์ การขนส่ง และหมวดเครื่องเรือน ทั้งนี้เป็นไปตามภาวะการส่งออกที่ลดลง ส่วนการผลิตในสาขาอื่นๆ ที่ขยายตัวดี ได้แก่ สาขาการขายส่งการขายปลีก สาขาขนส่งฯ ขยายตั วร้อยละ 1.4 และ 2.0 ตามลำดับ และ สาขาตัวกลางทางการเงินขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 22.0 เนื่องจากสถาบันการเงินต่างๆ มีผลประกอบการดีขึ้นมาก
หลังจากผ่านพ้นช่วงวิกฤตเศรษฐกิจมาแล้วโดยเฉพาะดอกเบี้ยรับสุทธิของสถาบันการเงินสูงขึ้นมากในปีนี้
ภาวะการผลิตรายจังหวัด
ส่วนใหญ่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้นสมุทรปราการและนนทบุรีที่การผลิตชะลอตัวจังหวัดสมุทรปราการ เนื่องมาจากการผลิตนอกเกษตรชะลอตัวลงร้อยละ 2.2 โดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรมซึ่งเป็นสาขาหลัก ของจังหวัดชะลอลงร้อยละ 1.4 มาจากหมวดหลักของจังหวัดได้แก่ สิ่งทอ เครื่องหนัง และโลหะพื้นฐาน มีการผลิตชะลอลง แต่หมวดยานยนต์ยังขยายตัวได้ดี ประกอบกับภาคเกษตรหดตัวด้วยเช่นกัน จังหวัดนนทบุรีชะลอร้อยละ 4.6 เนื่องจากสาขาอุตสาหกรรมในหมวดอาหาร และ หมวดเสื้อผ้าและแต่งกายชลอลงรวมทั้งสาขาอื่นๆ ส่วนใหญ่ชลอลงจังหวัดสมุทรสาครขยายตัวร้อยละ 12.7 นับว่าขยายตัวสูงที่สุด ในภาคเนื่องจากสาขาอุตสาหกรรม และสาขาการไฟฟ้าฯ ขยายตัวสูงร้อยละ 14.7 และ 6.5 ตามลำดับนครปฐม
ขยายตัวร้อยละ 7.9 เป็นผลจากการผลิตนอกภาคเกษตรที่ขยายตัวจากสาขาอุตสาหกรรม และสาขาการขายส่ง การขายปลีกฯ จังหวัดปทุมธานีขยายตัวร้อยละ 9.6 จากปีที่แล้วที่หดตัวถึงร้อยละ 10.0 มาจากสาขาอุตสาหกรรมโดยเฉพาะหมวดเครื่องดื่มที่ขยายตัวสูง และสาขาการขายส่ง การขาย
ปลีกฯ ที่ขยายตัวสูงขึ้นเช่นกัน ส่วนกรุงเทพมหานคร ขยายตัวร้อยละ 3.2 เนื่องจากสาขาอุตสาหกรรม และสาขาการขายส่งการขายปลีกฯ ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.1 และ 0.7 ตามลำดับ รวมทั้ง สาขาตัวกลางทางการเงินที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 23.5 ดังเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
อัตราขยายตัวของ GPP กทม.และปริมณฑล (ร้อยละ)
อัตราขยายตัว สัดส่วนต่อ GRP
จังหวัด 2545 2546 2545 2546
1. กรุงเทพมหานคร 1.3 3.2 62.7 62.1
2. สมุทรปราการ 4.3 2.2 17.0 16.6
3. ปทุมธานี -10.0 9.6 5.7 6.0
4. สมุทรสาคร 9.0 12.7 7.5 8.1
5. นครปฐม 7.7 7.9 3.8 3.9
6. นนทบุรี 5.9 4.6 3.3 3.3
รวมทั้งภาค 2.0 4.3 100.0 100.0
3. ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดต่อหัว
ผลิตภัณฑ์ภาคต่อหัว(Per capita GRP)
เพิ่มขึ้นทุกภาคโดยค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ยังคงเป็นค่าสูงสุดที่ระดับ 230,997 บาทต่อปี และภาคตะวันออก
เฉียงเหนือเป็นค่าต่ำสุดที่ 30,860 บาทต่อปี ค่าความแตกต่าง ประมาณ 7.5 เท่า อยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากโครงสร้างการกระจายการผลิตยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ซึ่งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีสัดส่วนการผลิตสูงที่สุด และสำหรับค่าเฉลี่ยทั้งประเทศในปี 2546 เท่ากับ 93,164 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
(ยังมีต่อ).../ผลิตภัณฑ์ภาค..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ