สำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค แถลงข่าว วันที่ 18 พฤษภาคม 2558 เวลา 09.30 น.
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2558
(% YOY) 2556 2557 2558 ทั้งปี Q3 Q4 ทั้งปี Q1 ทั้งปี(f) GDP (CVM) 2.8 1.0 2.1 0.9 3.0 3.0-4.0 การลงทุนรวม -0.8 2.6 3.2 -2.6 10.7 6.2 ภาคเอกชน -0.8 3.2 4.1 -2.0 3.6 3.8 ภาครัฐ -1.0 0.9 -0.5 -4.9 37.8 15.8 การบริโภคภาคเอกชน 0.8 2.5 2.1 0.6 2.4 2.3 การบริโภคภาครัฐบาล 4.7 -1.3 3.6 1.7 2.5 3.8 มูลค่าการส่งออกสินค้า -0.1 -1.7 1.5 -0.3 -4.3 0.2 ปริมาณ 0.2 -1.4 2.7 0.7 -2.6 1.2 มูลค่าการนำเข้าสินค้า -0.2 -0.8 -5.7 -8.5 -7.2 -0.8 ปริมาณ 1.6 -0.4 -0.5 -6.8 4.1 3.2 ดุลบัญชีเดินสะพัด -0.8 -0.5 8.4 3.3 9.6 3.9 ต่อ GDP (%) เงินเฟ้อ 2.2 2.0 1.1 1.9 -0.5 (-0.3) - 0.7
- เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 3.0 ปรับตัวดีขึ้นจาก การขยายตัวร้อยละ 2.1 ในไตรมาสที่สี่ของปี 2557 และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 0.3 จากไตรมาสที่สี่ของปี 2557 (QoQ_SA) - ด้านการใช้จ่าย มีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาครัฐ และการส่งออกบริการ ในด้านการผลิต ปรับตัวดีขึ้นในเกือบทุกภาคการผลิต โดยเฉพาะสาขาก่อสร้าง สาขาโรงแรมและภัตตาคาร สาขาคมนาคมขนส่ง และสาขาอุตสาหกรรมที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง - แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2558 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.0 - 4.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง (2) การใช้จ่ายและการลงทุนของภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ ในภาวะที่ความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจและแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี (3) การขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี (4) การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น และ (5) ราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับต่ำซึ่งเพิ่มอำนาจซื้อและเอื้ออำนวยต่อการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก การอ่อนค่าของเงินยูโรและเงินเยน และความตกต่ำของราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกยังเป็นข้อจำกัดสำคัญที่ทำให้การส่งออก อุปสงค์ภาคเอกชนและเศรษฐกิจในภาพรวมขยายตัวได้ต่ำกว่าที่ได้ประมาณการไว้ และทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภาพรวมยังไม่สามารถกระจายตัวทั่วถึงทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจโดยเฉพาะเกษตรกร และภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคเกษตรและการส่งออก ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัว ร้อยละ 0.2 การบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 2.3 และร้อยละ 6.2 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วงร้อยละ (-0.3) - 0.7 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ร้อยละ 3.9 ของ GDP - ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2558 ควรให้ความสำคัญกับ (1) การเร่งรัดแก้ไขปัญหาด้านการส่งออก โดยในระยะยาวจะต้องปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่า ผลิตภาพการผลิต และเพิ่มสัดส่วนอุตสาหกรรมและบริการในยุคที่สาม ส่วนในระยะสั้นควรให้ความสำคัญกับการดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเร็วกว่าประเทศคู่แข่ง การแสวงหาตลาดและเพิ่มปริมาณสินค้าส่งออกที่สำคัญๆ การลดปัญหาอุปสรรคความล่าช้าและข้อจำกัดในกระบวนการการทำงานและระเบียบปฏิบัติของภาครัฐ รวมทั้งการอำนวยความสะดวกด้านการค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะในแนวด่านชายแดนต่างๆ และการเร่งรัดแก้ปัญหาการค้าแรงงานข้ามชาติและปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย (2) การแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร โดยให้ความสำคัญกับการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจสถานการณ์และเงื่อนไขทางด้านราคาเพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไขด้านราคาในตลาดโลกควบคู่ไปกับการดำเนินการเพื่อสนับสนุนการปรับตัวของการผลิตภาคเกษตรโดยเฉพาะการดูแลต้นทุนวัตถุดิบทางการเกษตร การเพิ่มผลิตภาพการผลิต และการสนับสนุนการส่งเสริมอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือนในภาคเกษตร (3) การบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรและผู้ได้รับผลกระทบจากภาวะซบเซาของการส่งออก และ (4) การเร่งรัด การเบิกจ่ายงบประมาณและการดำเนินการตามโครงการลงทุนที่สำคัญๆ ของภาครัฐ เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2558 และแนวโน้มปี 2558 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 3.0 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.1 ในไตรมาสที่สี่ของปี 2557 ในด้านการใช้จ่าย มีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาครัฐ และการส่งออกบริการ ในด้านการผลิต ปรับตัวดีขึ้นในเกือบทุกภาคการผลิต โดยเฉพาะสาขาก่อสร้าง สาขาโรงแรมและภัตตาคาร สาขาคมนาคมขนส่ง และสาขาอุตสาหกรรมที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2558 ขยายตัวจากไตรมาสที่สี่ของปี 2557 ร้อยละ 0.3 (QoQ_SA) เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2558 1) การใช้จ่ายภาคครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 2.4 เร่งตัวขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.1 ในไตรมาสที่สี่ของปี 2557 สอดคล้องกับการขยายตัวเร่งขึ้นของการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ราคาคงที่) และการใช้จ่ายในหมวดสินค้าอื่นๆ โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ราคาคงที่) ปริมาณการจำหน่ายเบียร์ และการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 1.0 ร้อยละ 15.3 และร้อยละ 7.2 ตามลำดับ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 68.4 ต่ำกว่าระดับ 69.6 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังสูงกว่าระดับ 60.0 ในไตรมาสแรกของปี 2557 2) การลงทุนรวม ขยายตัวร้อยละ 10.7 ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนจากการขยายตัวร้อยละ 3.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดย การลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 37.8 เป็นผลจากการขยายตัวของการลงทุนของรัฐบาลและการลงทุนของรัฐวิสาหกิจซึ่งขยายตัวร้อยละ 40.9 และร้อยละ 31.8 ตามลำดับ โดยการลงทุนในภาคก่อสร้างปรับตัวดีขึ้นมาก โดยเฉพาะการเบิกจ่ายงบลงทุนในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้างของภาครัฐบาลซึ่งขยายตัวสูงถึงร้อยละ 74.1 และโครงการก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจที่ขยายตัวร้อยละ 30.4 ในขณะที่การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวต่อเนื่องทั้งการลงทุนของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.6 โดยการลงทุนในภาคก่อสร้างและหมวดเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวร้อยละ 1.8 และร้อยละ 4.1 ตามลำดับ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจอยู่ในระดับสูงกว่า 50 (ระดับที่นักธุรกิจเริ่มขยายการลงทุน) เป็นครั้งแรกในรอบ 7 ไตรมาส โดยอยู่ที่ระดับ 50.5 สูงกว่าระดับ 48.8 ในไตรมาสก่อนหน้า 3) การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 52,997 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 4.3 โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 2.6 และราคาสินค้าส่งออกลดลงร้อยละ 1.8 เนื่องจากสาเหตุสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ (1) เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักยังชะลอตัว โดยเฉพาะญี่ปุ่น และจีน (2) การแข็งค่าของเงินบาทโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเงินสกุลยูโรและเงินเยน (3) ราคาสินค้าส่งออกลดลงตามราคาน้ำมันดิบและราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก โดยเฉพาะราคาน้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ ยางพารา และข้าว และ (4) การตัดสิทธิพิเศษทางการค้า (GSP) ในสินค้าส่งออกของไทยไปยังยุโรป สำหรับสินค้าส่งออกที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง ได้แก่ ยานยนต์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ แผงวงจรรวมและชิ้นส่วน และวงจรพิมพ์ ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และ ปิโตรเคมี การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ และออสเตรเลีย ขยายตัว แต่การส่งออกไปสหภาพยุโรป (15) ญี่ปุ่น จีน และตลาดอาเซียน (9) ลดลง เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 3.7 และในรูปของเงินบาท มูลค่าการส่งออกรวมลดลงร้อยละ 4.3 ทั้งนี้ การลดลงของการส่งออกไม่ได้มีสาเหตุมาจากการลดลงของการส่งออกในตลาดหลักเท่านั้น แต่การลดลงของการส่งออกและราคาสินค้าส่งออกของประเทศต่างๆ ที่เป็นวงกว้างส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าในภูมิภาคเอเชียชะลอตัวลงและส่งผลกระทบทางอ้อมต่อการส่งออกของไทยอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งจะเห็นได้จากการส่งออกของประเทศต่างๆ ที่เคยขยายตัวอย่างต่อเนื่องแต่กลับมาหดตัวเป็นครั้งแรกในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2557 และในช่วงไตรมาสแรกของปี 2558 และทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศดังกล่าวชะลอตัวลงอย่างชัดเจน โดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพิงการส่งออกสูง 4) สาขาการก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 25.4 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยที่ การก่อสร้างภาครัฐขยายตัวสูงถึงร้อยละ 44.2 ประกอบด้วย การก่อสร้างของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 50.3 ร้อยละ 30.4 และร้อยละ 1.8 ตามลำดับ 5) สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 13.5 ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนตามสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวซึ่งทั้งจำนวนนักท่องเที่ยว รายได้ และอัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้น โดยจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 7.0 ในไตรมาสก่อนหน้า รายรับจากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 และอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 68.5 เทียบกับร้อยละ 60.3 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน นับเป็นอัตราการเข้าพักเฉลี่ยสูงสุดในรอบ 8 ไตรมาส 6) สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 2.3 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศ แต่การผลิตเพื่อการส่งออกยังลดลงตามการลดลงของปริมาณการส่งออก อุตสาหกรรมที่ขยายตัว ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม หลอดอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์เคมี สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่หดตัว ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ สิ่งทอ ยางและผลิตภัณฑ์ยาง อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 62.1 7) สาขาเกษตรกรรม ลดลงร้อยละ 4.8 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 3.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ผลผลิตพืชเกษตรสำคัญลดลงเพราะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ด้านราคาที่ลดลงและสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย โดยผลผลิตยางพารา ปาล์มน้ำมัน และข้าวเปลือกลดลง ส่วนผลผลิตมันสำปะหลัง อ้อย และกลุ่มไม้ผลเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าเกษตรลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ห้า โดยที่ราคาสินค้าเกษตรสำคัญลดลง ทั้งราคาข้าวเปลือก อ้อย ยางแผ่นดิบชั้น 3 ปาล์มน้ำมัน กุ้งขาวแวนนาไม และสินค้าปศุสัตว์ ผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรที่ลดลงส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 12.6 แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2558 สศช. คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 3.0 - 4.0 โดยเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปียังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจภายใต้ข้อจำกัดการขยายตัวของการส่งออกและความตกต่ำของราคาสินค้าในตลาดโลก โดยการขยายตัวในช่วงที่เหลือของปีมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง (2) การใช้จ่ายและการลงทุนของภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ ตามความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจและแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภาพรวม (3) การขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี (4) การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นและสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น และ (5) ราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับต่ำซึ่งเพิ่มอำนาจซื้อของประชาชนและภาคธุรกิจ และเอื้ออำนวยต่อการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้ ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก การเปลี่ยนแปลงของค่าเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. ยูโร และเยน และความตกต่ำของราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกยังเป็นข้อจำกัดสำคัญที่ทำให้การส่งออก อุปสงค์ภาคเอกชนและเศรษฐกิจในภาพรวมขยายตัวได้ต่ำกว่าที่ได้ประมาณการไว้ และทำให้ผลประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภาพรวมยังไม่กระจายตัวทั่วถึงทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกร และภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคเกษตรและการส่งออก โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 0.2 การบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 2.3 และร้อยละ 6.2 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วงร้อยละ (-0.3) - 0.7 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 3.9 ของ GDP 1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2558 ในด้านต่างๆ เป็นดังนี้ - ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายภาคครัวเรือน: ปรับตัวดีขึ้นโดยการใช้จ่ายในหมวดสินค้าอื่นๆ เร่งตัวขึ้นและปริมาณการจำหน่ายรถยนต์หดตัวช้าลง ในไตรมาสแรกของปี 2558 การใช้จ่ายภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 2.4 เร่งตัวขึ้น อย่างช้าๆ จากการขยายตัวร้อยละ 2.1 ในไตรมาสที่สี่ของปี 2557 สอดคล้องกับการขยายตัวเร่งขึ้นของ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ราคาคงที่) และการใช้จ่ายในหมวดสินค้าอื่นๆ โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ราคาคงที่) ปริมาณการจำหน่ายเบียร์ และการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 1.0 ร้อยละ 15.3 และร้อยละ 7.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.9 และการขยายตัวร้อยละ 1.5 และร้อยละ 4.2 ในไตรมาสที่สี่ของปี 2557 ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งหดตัวช้าลง โดยลดลงร้อยละ 3.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 16.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 68.4 เทียบกับระดับ 69.6 ในไตรมาสก่อนหน้า การลงทุนภาคเอกชน: ขยายตัวต่อเนื่องตามการขยายตัวของการลงทุนในหมวดก่อสร้างและการลงทุน ในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร แต่ในอัตราที่ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้าเล็กน้อย ในไตรมาสแรกของ ปี 2558 การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.6 ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากการขยายตัวร้อยละ 4.1 ในไตรมาสสุดท้ายปี 2557 โดยการลงทุนก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 1.8 ชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ การขยายตัวร้อยละ 2.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการลงทุนก่อสร้างในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลและปริมณฑลที่ขอไว้ในช่วงไตรมาสก่อนหน้าซึ่งขยายตัวร้อยละ 18.2 สำหรับการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวร้อยละ 4.1 ชะลอลงเล็กน้อยจากการขยายตัวร้อยละ 4.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยที่การลงทุนใหม่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นสะท้อนจากการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนทั้งจำนวนโครงการและมูลค่าการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนที่ขยายตัวร้อยละ 77.8 และร้อยละ 527.9 ปรับตัวดีขึ้นชัดเจนเมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 และร้อยละ 31.3 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2557 ตามลำดับ รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจซึ่งอยู่ในระดับสูงกว่า 50 (ระดับที่นักธุรกิจเริ่มขยายการลงทุน) เป็นครั้งแรกในรอบ 7 ไตรมาส โดยอยู่ที่ระดับ 50.5 สูงกว่าระดับ 48.8 ในไตรมาสก่อนหน้า การส่งออก: มูลค่าการส่งออกปรับตัวลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก การแข็งค่าของเงินบาท การลดลงของราคาสินค้าส่งออก และผลกระทบจากการตัดสิทธิพิเศษทางการค้า การส่งออกสินค้าในไตรมาสแรกของปี 2558 มีมูลค่า 52,997 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 4.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 2.6 และราคาสินค้าส่งออกลดลง ร้อยละ 1.8 เนื่องจากสาเหตุสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ (1) เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักยังชะลอตัว โดยเฉพาะญี่ปุ่น และจีน (2) การแข็งค่าของเงินบาทโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเงินสกุลยูโรและเงินเยนร้อยละ 17.8 และร้อยละ 13.7 ตามลำดับ (3) ราคาสินค้าส่งออกลดลงตามราคาน้ำมันดิบและราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก โดยเฉพาะราคาน้ำมันสำเร็จรูปซึ่งลดลงร้อยละ 12.9 (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 3.5) ราคาเคมีภัณฑ์ร้อยละ 7.6 (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 3.1) ราคายางพาราร้อยละ 32.8 (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 2.4) ราคาข้าวร้อยละ 1.6 (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 2.1) และราคาน้ำตาลร้อยละ 7.8 (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 1.0) และ (4) การตัดสิทธิพิเศษทางการค้า (GSP) ในสินค้าส่งออกของไทยไปยังยุโรปที่มีผลตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 3.7 และในรูปของเงินบาท การส่งออกมีมูลค่า 1,730 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.7 ในไตรมาสก่อนหน้า มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 15.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 8.5 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากราคาส่งออกสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 6.8 โดยเฉพาะราคาส่งออกยางพารา และปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 9.0 การส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญๆ ประกอบด้วย ข้าว มูลค่าการส่งออกกลับมาหดตัวร้อยละ 5.1 หลังจากที่ขยายตัวต่อเนื่องในช่วง 4 ไตรมาสก่อนหน้า ตามปริมาณการส่งออกข้าวที่ลดลงร้อยละ 3.6 เนื่องจากการลดลงของการส่งออกไปทวีปแอฟริกา และการแข็งค่าของค่าเงินบาทที่ส่งผลให้ข้าวไทยมีราคาแพงกว่าข้าวจากประเทศคู่แข่งโดยเฉพาะอินเดียและเวียดนาม รวมทั้งผลจากราคาส่งออกที่ลดลงร้อยละ 1.6 มูลค่าการส่งออกมันสำปะหลังลดลงร้อยละ 2.7 โดยปริมาณการส่งออกลดลง ร้อยละ 4.8 เนื่องจากการปรับตัวลดลงของการส่งออกไปจีนเป็นสำคัญ แต่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 มูลค่าการส่งออกยางพาราลดลงร้อยละ 36.1 โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 4.8 และราคาส่งออกลดลงร้อยละ 32.8 เนื่องจากสต็อกยางพาราของโลกยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับจีนซึ่งเป็น ผู้นำเข้ารายใหญ่ของไทยได้ชะลอการนำเข้าเนื่องจากสต็อกยางพาราของจีนยังอยู่ในระดับสูง มูลค่า การส่งออกน้ำตาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณการส่งออกร้อยละ 10.0 โดยเฉพาะในตลาดอาเซียนและจีน ในขณะที่ราคาส่งออกลดลงร้อยละ 7.8 มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 2.5 จากที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากอุปสงค์ในตลาดโลกยังฟื้นตัวเพียงช้าๆ รวมทั้งราคาสินค้าส่งออกที่ลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 1.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ราคาสินค้าส่งออกลดลงร้อยละ 1.4 ต่อเนื่องจากที่ลดลงร้อยละ 0.3 ในไตรมาสก่อนหน้า การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญๆ เช่น ยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 4.9 โดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดออสเตรเลียและซาอุดิอาระเบีย ขณะที่การส่งออกเครื่องจักรและอุปกรณ์ แผงวงจรรวมและชิ้นส่วน และวงจรพิมพ์ ขยายตัวร้อยละ 3.8 ร้อยละ 4.5 และร้อยละ 26.9 ตามลำดับ แต่การส่งออกกุ้ง ปูกระป๋องและแปรรูป ปิโตรเคมี และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ลดลงร้อยละ 4.6 ร้อยละ 9.9 และร้อยละ 27.2 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกสินค้าประมงลดลงร้อยละ 13.4 สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง ได้แก่ กุ้ง ปู กั้ง และล็อบสเตอร์ ปลา และปลาหมึก สินค้าส่งออกอื่นๆ ลดลงร้อยละ 30.9 โดยที่ส่วนหนึ่งเป็นผลจากที่การส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปลดลงร้อยละ 31.5 ตลาดส่งออก: การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ และออสเตรเลียขยายตัว แต่การส่งออกไปสหภาพยุโรป (15) ญี่ปุ่น จีน และตลาดอาเซียน (9) ลดลง การส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียขยายตัว ร้อยละ 5.6 และร้อยละ 9.5 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 7.2 และร้อยละ 14.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ ในขณะที่การส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป (15) ญี่ปุ่น และจีน ลดลงร้อยละ 3.9 ร้อยละ 9.2 และร้อยละ 14.4 ตามลำดับ ตามภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น และจีน ในขณะที่เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซนที่ยังฟื้นตัวเพียงช้าๆ รวมทั้งการแข็งค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินเยนและยูโร การส่งออกไปตลาดอาเซียน (9) กลับมาหดตัวร้อยละ 2.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 5.2 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2557 ซึ่งเป็นผลจากการลดลงของการส่งออกไปตลาดอาเซียน (5) โดยเฉพาะประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียแต่การส่งออกไปกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ขยายตัวร้อยละ 10.6 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 6.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะการส่งออกไปเวียดนามที่ขยายตัวร้อยละ 18.1 เร่งขึ้นมากเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดฮ่องกงและตะวันออกกลางลดลงร้อยละ 11.5 และร้อยละ 7.9 ตามลำดับ การนำเข้า: มูลค่าการนำเข้าลดลงตามการลดลงของราคานำเข้าโดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบแต่ปริมาณ การนำเข้าเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ในไตรมาสแรกของปี 2558 การนำเข้ามีมูลค่าทั้งสิ้น 45,572 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 7.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 5.7 ในไตรมาสที่สี่ของปี 2557 โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของราคานำเข้าร้อยละ 10.9 โดยที่ราคาสินค้านำเข้าสำคัญๆ ลดลง ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ทองคำ และเคมีภัณฑ์ ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.1 และเป็นการเพิ่มขึ้นของปริมาณการนำเข้าในทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง เมื่อหักการนำเข้าทองคำแล้ว มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 9.7 ทั้งนี้ หากไม่รวมทั้งการนำเข้าทองคำและน้ำมันดิบ มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 0.7 ในรูปของเงินบาท การนำเข้ามีมูลค่ารวม 1,488 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ในรายหมวด มูลค่าสินค้านำเข้าในหมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง และสินค้าทุนลดลง แต่มูลค่าสินค้านำเข้าในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภคและหมวดอื่นๆ ขยายตัว โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 โดยมูลค่าการนำเข้าหมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง ลดลงร้อยละ 13.9 เนื่องจากราคานำเข้าลดลงร้อยละ 16.6 แต่ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง ได้แก่ น้ำมันดิบ (ลดลงร้อยละ 47.6 ตามการลดลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก) เคมีภัณฑ์ และวงจรพิมพ์ อย่างไรก็ดี สินค้านำเข้าอื่นๆ มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นในหลายรายการ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ วัสดุก่อสร้าง พลาสติก ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า แผงวงจรรวมและชิ้นส่วน มูลค่าการนำเข้าหมวดสินค้าทุนลดลงร้อยละ 1.5 ตามการลดลงของราคานำเข้าร้อยละ 1.9 ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 สินค้านำเข้าที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงได้แก่ คอมพิวเตอร์ เครื่องจักรสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า เครื่องจักรกลอื่นๆ และชิ้นส่วนและอากาศยาน สินค้านำเข้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม และแท่นขุดเจาะน้ำมัน มูลค่าการนำเข้าหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ขยายตัวร้อยละ 6.3 (ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3) โดยปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 ในขณะที่ราคานำเข้าลดลงร้อยละ 0.9 สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์นม ยาและเวชภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน สิ่งทอ และเครื่องประดับ (ยกเว้นไข่มุกและอัญมณี) มูลค่าการนำเข้าหมวดสินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 โดยเฉพาะการนำเข้าทองคำ (ไม่รวมทองรูปพรรณ) ซึ่งมีมูลค่า 2,224 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 100.1 - ด้านการผลิต สาขาเกษตรกรรม:ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง ตามการลดลงของผลผลิตพืชเกษตรสำคัญซึ่งได้รับผลกระทบจากราคาตกต่ำและสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ในไตรมาสแรก การผลิตสาขาเกษตรกรรมลดลงร้อยละ 4.8 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 3.2 ในไตรมาสที่สี่ปี 2557 สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรร้อยละ 5.8 เนื่องจาก (1) พื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรังลดลงจากการงดส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปรังในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและแม่กลอง รวม 26 จังหวัด ส่งผลให้การผลิตข้าวเปลือกลดลงร้อยละ 27.6 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 0.4 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2557 (2) สภาพอากาศที่แห้งแล้งทำให้ยางผลัดใบเร็วขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และกระทบต่อผลผลิตปาล์มน้ำมัน ส่งผลให้การผลิตยางและปาล์มน้ำมันลดลงร้อยละ 9.7 และร้อยละ 31.0 ตามลำดับ (3) การปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวและยางไปปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น มันสำปะหลัง และอ้อย และ (4) นโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมการเพาะปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ซึ่งอยู่ในช่วงการปรับเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม ผลผลิตปศุสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เนื่องจากการขยายการผลิตเพื่อรองรับความต้องการบริโภคในประเทศและการส่งออกที่เพิ่มขึ้น และผลผลิตประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 ตามการฟื้นตัวของการเลี้ยงกุ้งภายหลังการแก้ปัญหาโรคระบาดกุ้ง เช่นเดียวกับผลผลิตอ้อย และมันสำปะหลังที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 และร้อยละ 3.2 ตามลำดับ ราคาสินค้าเกษตรลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ห้าร้อยละ 7.2 เนื่องจากการลดลงของราคาสินค้าเกษตรสำคัญ ทั้งราคาข้าวเปลือก อ้อย ยางแผ่นดิบชั้น 3 ปาล์มน้ำมัน กุ้งขาวแวนนาไม และสินค้าปศุสัตว์ร้อยละ 4.4 ร้อยละ 2.1 ร้อยละ 26.4 ร้อยละ 1.4 ร้อยละ 24.2 และร้อยละ 7.5 ตามลำดับ เนื่องจาก (1) การค้าข้าวในตลาดโลกมีการแข่งขันด้านราคามากขึ้น (2) ราคาน้ำตาลในตลาดโลกลดลงตามอุปทานที่เพิ่มขึ้นและราคาส่งออกที่ลดลงตามการอ่อนค่าของเงินเรียลบราซิล (3) ราคายางลดลงตามความต้องการใช้ที่ลดลง ทั้งนี้ เนื่องจากการลดลงอย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมันดิบและความต้องการใช้ในตลาดโลก (4) ราคาปาล์มลดลงตามคุณภาพผลผลิตในช่วงสภาพอากาศแล้ง และ (5) ผลผลิตกุ้งเพิ่มขึ้น ทั้งผลผลิตในประเทศและผลผลิตของประเทศผู้ผลิตอื่น (อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม) การลดลงของผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 12.6 ในไตรมาสนี้ สาขาอุตสาหกรรม:ขยายตัวเร่งขึ้น ตามการขยายตัวของการผลิตเพื่อการบริโภคในประเทศ ในขณะที่การผลิตเพื่อส่งออกปรับตัวลดลงตามการลดลงของปริมาณการส่งออก ในไตรมาสแรก การผลิตสาขาอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสที่สี่ ปี 2557 สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมซึ่งกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ไตรมาส ร้อยละ 0.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.3 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2557 โดยดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกต่ำกว่าร้อยละ 30 และระหว่างร้อยละ 30 - 60 เริ่มกลับมาขยายตัวร้อยละ 5.0 และร้อยละ 0.9 โดยเฉพาะการผลิตปิโตรเลียม การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องแต่งกาย และการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ไตรมาส สอดคล้องกับการหดตัวช้าลงของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศและปริมาณการส่งออกรถยนต์รายไตรมาสที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่อุตสาหกรรมที่ส่งออกร้อยละ 60 ขึ้นไป ยังคงลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง โดยเฉพาะการผลิตอัญมณีและเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และเครื่องจักรสำนักงานที่ลดลงต่อเนื่อง อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นโดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 62.1 เทียบกับร้อยละ 60.1 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 61.8 ในไตรมาสแรกปี 2557 ตามลำดับ อุตสาหกรรมสำคัญๆ ที่ขยายตัว ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม (ร้อยละ 5.5) เครื่องแต่งกาย (ร้อยละ 7.6) เครื่องหนัง (ร้อยละ 1.8) ปิโตรเลียม (ร้อยละ 10.8) ผลิตภัณฑ์เคมี (ร้อยละ 1.2) หลอดอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 1.3) และยานยนต์ (ร้อยละ 1.5) อุตสาหกรรมสำคัญๆ ที่ลดลง ได้แก่ สิ่งทอ (ร้อยละ 2.5) ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก (ร้อยละ 1.1) ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (ร้อยละ 8.2) และเครื่องจักรและอุปกรณ์ (ร้อยละ 2.8) สาขาก่อสร้าง:ขยายตัวในเกณฑ์สูง ตามการเร่งตัวของการก่อสร้างภาครัฐ ในขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง ในไตรมาสแรก สาขาก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 25.4 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวในเกณฑ์สูงของการก่อสร้างภาครัฐร้อยละ 44.2 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 6.5 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2557 สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของการเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจร้อยละ 123.2 และร้อยละ 43.1 ตามลำดับ ในขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 2.2 ใน ไตรมาสสุดท้ายของปี 2557 ซึ่งเป็นการขยายตัวตามการลงทุนในพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลที่ขอไว้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน (พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลในไตรมาสที่สี่ ปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 18.2) สำหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างลดลงร้อยละ 3.7 เนื่องจากราคาเหล็กและราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง สาขาอสังหาริมทรัพย์: ขยายตัวต่อเนื่อง ในไตรมาสแรก สาขาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.6 ในไตรมาสที่ผ่านมา ในด้านอุปสงค์ ปริมาณการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 และร้อยละ 11.8 ตามลำดับ ในด้านอุปทาน ที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลและยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.1 และร้อยละ 3.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการชะลอการเปิดขายที่อยู่อาศัยใหม่เพื่อประเมินสถานการณ์ภายหลังเศรษฐกิจฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด สอดคล้องกับการลดลงของพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างร้อยละ 20.8 ในด้านราคา ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะราคาอาคารชุดและราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 และร้อยละ 11.7 ตามลำดับ สาขาโรงแรมและภัตตาคาร: ขยายตัวเร่งขึ้น ตามการปรับตัวดีขึ้นของภาคการท่องเที่ยวทั้งจำนวนนักท่องเที่ยว รายได้ และอัตราการเข้าพัก ในไตรมาสแรก สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 13.5 ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สองและขยายตัวเร่งขึ้นจากร้อยละ 3.3 ในไตรมาสสุดท้ายของ ปี 2557 โดยในไตรมาสนี้มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 7.9 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 7.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากเกือบทุกภูมิภาค ยกเว้นยุโรปและออสเตรเลีย โดยนักท่องเที่ยวเอเชียตะวันออก (สัดส่วนร้อยละ 62.8) ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 55.6 (โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากฮ่องกง จีน และมาเลเซีย ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 144.8 ร้อยละ 96.1 และร้อยละ 70.9 ตามลำดับ) อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวจากยุโรปและออสเตรเลียลดลงร้อยละ 15.9 และร้อยละ 4.3 ตามลำดับ ในขณะที่รายรับจากการท่องเที่ยวอยู่ที่ 403.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 22.3 และอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 68.5 เทียบกับร้อยละ 60.3 ในช่วงเดียวกันของปีก่อนและเป็นอัตราการเข้าพักเฉลี่ยสูงสุดในรอบ 8 ไตรมาส สาขาการค้าส่งค้าปลีก: ปรับตัวดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและภาคการท่องเที่ยวโดยภาคการค้าส่งขยายตัวเร่งขึ้น ในขณะที่ภาคการค้าปลีกหดตัวช้าลงตามการเพิ่มขึ้นของการค้าปลีกในห้างสรรพสินค้า ในไตรมาสแรก สาขาค้าส่งค้าปลีกขยายตัวร้อยละ 3.9 เร่งขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 0.2 ร้อยละ 1.7 และร้อยละ 2.8 ในสามไตรมาสก่อนหน้า ด้านการค้าส่ง ดัชนีการค้าส่งในหมวดอาหารและเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 และร้อยละ 7.8 ตามลำดับ ในขณะที่หมวดวัตถุดิบการเกษตรและอาหาร เชื้อเพลิง และวัสดุก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 6.1 ร้อยละ 17.7 และร้อยละ 1.4 ตามลำดับ ด้านการค้าปลีก ดัชนีการค้าปลีกยังลดลงร้อยละ 1.8 แต่เป็นการหดตัวช้าลง จากร้อยละ 2.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยดัชนีการค้าปลีกในหมวดผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม และการจำหน่ายรถยนต์และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 41.0 และร้อยละ 6.1 ตามลำดับ ในขณะที่ ดัชนีการค้าปลีกหมวดการขายในห้างสรรพสินค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ร้อยละ 10.0 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ในไตรมาสก่อนหน้า การจ้างงาน: การจ้างงานรวมลดลง ตามการลดลงของการจ้างงานในภาคการเกษตร แต่การจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น ในขณะที่อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ ในไตรมาสแรก การจ้างงานรวมลดลง ร้อยละ 0.5 ตามการลดลงของการจ้างงานในภาคเกษตรร้อยละ 4.4 เนื่องจากปัญหาด้านราคาและสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ส่งผลต่อการผลิตสินค้าเกษตร อย่างไรก็ตาม การจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.3 โดยเฉพาะการจ้างงานสาขาโรงแรมและภัตตาคารซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 สอดคล้องกับการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว และการจ้างงานสาขาอุตสาหกรรมซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ตามการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร การผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ทำจากแร่อโลหะ และการผลิตเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี อย่างไรก็ตาม การจ้างงานสาขาค้าส่งค้าปลีกลดลงร้อยละ 2.6 ในไตรมาสแรกของปีมีผู้ว่างงานจำนวนทั้งสิ้น 361,300 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.9 โดยจำนวนผู้ว่างงานที่เป็นแรงงานใหม่ที่เริ่มเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 และจำนวนผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 อัตราการว่างงานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.9 - ภาวะการคลัง การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล ในไตรมาสที่สองของปีงบประมาณ 2558 (มกราคม - มีนาคม 2558) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 466,228.0 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.6 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการจัดเก็บภาษีจากฐานรายได้และการบริโภคที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 และร้อยละ 7.3 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการกลับมาขยายตัวครั้งแรกหลังจากการลดลงอย่างต่อเนื่องนับจากต้นปีงบประมาณ 2557 อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บรายได้สุทธิของรัฐบาลยังต่ำกว่าประมาณการร้อยละ 1.4 รวม 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2558 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 973,646.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 แต่ยังต่ำกว่าประมาณการเล็กน้อยร้อยละ 0.1 การเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ ในไตรมาสที่สองของปีงบประมาณ 2558 (มกราคม-มีนาคม 2558) รัฐบาลมีการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 727,911.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.2 ประกอบด้วย (1) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2558 มีการเบิกจ่ายรวม 557,899.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 15.5 อัตราเบิกจ่ายอยู่ที่ร้อยละ 21.7 ของวงเงินงบประมาณ ต่ำกว่าเป้าหมายซึ่งกำหนดไว้ที่ร้อยละ 23.0 แต่สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 19.1 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำ 481,163.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 (อัตราเบิกจ่ายอยู่ที่ร้อยละ 22.6 สูงกว่าร้อยละ 21.4 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) และการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน 76,736.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 123.2 (อัตราการเบิกจ่ายอยู่ที่ร้อยละ 17.3 ต่ำกว่าเป้าหมายซึ่งกำหนดไว้ที่ร้อยละ 26.0 แต่สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 8.0 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน) และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 85.9 (2) งบประมาณกันไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 59,854.7 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของ ปีก่อนร้อยละ 15.0 (อัตราการเบิกจ่ายอยู่ที่ร้อยละ 17.0 ต่ำกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 23.4 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) (3)เงินกู้นอกงบประมาณ มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 4,156.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.9 ประกอบด้วย เงินกู้ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 1,476.6 ล้านบาท เงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน (Development Policy Loan: DPL) 2,331.1 ล้านบาท และเงินกู้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 จำนวน 349.2 ล้านบาท (4) งบลงทุนรัฐวิสาหกิจคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายงบลงทุน 97,803.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อน โดยส่วนใหญ่เป็นการเบิกจ่ายงบลงทุนของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง และการรถไฟแห่งประเทศไทย สำหรับรัฐวิสาหกิจที่มีการเบิกจ่ายลงทุนลดลง ได้แก่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ (5) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล1 มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 8,196.9 ล้านบาท ประกอบด้วย เงินเหลือจ่ายจากเงินกู้ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง จำนวน 1,447.0 ล้านบาท มาตรการเพิ่มรายได้ชาวนา 2,012.6 ล้านบาท และมาตรการเพิ่มรายได้ชาวสวนยาง 4,737.3 ล้านบาท รวม 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2558 รัฐบาลเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีทั้งสิ้น 1,324,209.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 6.5 (อัตราเบิกจ่ายร้อยละ 51.4 ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 55.0 แต่สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 49.3 ในปีงบประมาณก่อนหน้า) โดยเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนจำนวน 118,009.0 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 21.8 (อัตราเบิกจ่ายร้อยละ 26.6 ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 55.0 และต่ำกว่าอัตราเบิกจ่าย ร้อยละ 35.0 ในปีงบประมาณก่อนหน้า) โดยหน่วยงานที่เบิกจ่ายงบลงทุนสูงสุด ได้แก่ กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย เบิกจ่ายได้จริงคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 33.96 16.75 10.94 และ 10.65 ของการเบิกจ่ายงบลงทุนในครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2558 ตามลำดับ ในส่วนของงบเหลื่อมปี มีการเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 137,646.2 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 39.2 ของงบเหลื่อมปี ที่กันไว้ทั้งหมด เงินกู้นอกงบประมาณ มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 6,722.2 ล้านบาท งบลงทุนรัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 104,939.4 ล้านบาท2 และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลมีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 48,206.2 ล้านบาท ฐานะการคลัง: ในไตรมาสที่สองของปีงบประมาณ 2558 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณรวม 144,700.7 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขาดดุลสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 24.9 และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 2,394.8 ล้านบาท และเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 84,079.0 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดสุทธิ 58,226.9 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 47.6 ทั้งนี้ เมื่อรวมการขาดดุลในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2558 จำนวน 374,650.3 ล้านบาท กับเงินคงคลัง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2557 ที่มีจำนวน 495,746.3 ล้านบาท ส่งผลให้สถานะเงินคงคลัง ณ สิ้นไตรมาสสองของปีงบประมาณ 2558 ลดลงจาก ณ สิ้นปีงบประมาณ 2557 ร้อยละ 75.6 มาอยู่ที่ 121,096.8 ล้านบาท หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นไตรมาสที่สอง ปีงบประมาณ 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,730,519.2 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42.0 ของ GDP 3 (เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 106,545.4 ล้านบาท) ซึ่งเป็นเงินกู้ภายในประเทศ 5,388,803.3 ล้านบาท (ร้อยละ 39.5 ของ GDP) และ เงินกู้จากต่างประเทศ 341,715.9 ล้านบาท (ร้อยละ 2.5 ของ GDP) แบ่งออกเป็น หนี้ของรัฐบาล 4,094,008.6 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 1,051,551.0 ล้านบาท และหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 576,763.0 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 71.5 ร้อยละ 18.4 และร้อยละ 10.1 ของหนี้สาธารณะคงค้าง ตามลำดับ - ภาวะการเงิน อัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลงร้อยละ 0.25 ในไตรมาสแรกของปี 2558 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจากร้อยละ 2.0 ต่อปีเป็นร้อยละ 1.75 ต่อปี เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2558 ซึ่งเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในรอบหนึ่งปี เนื่องจากประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อสนับสนุนการบริโภคและการลงทุน ซึ่งสอดคล้องกับการผ่อนคลายนโยบายการเงินในประเทศต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว สหรัฐฯ ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่จะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายออกไป สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นยังคงดำเนินมาตรการขยายปริมาณเงินอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ประเทศแคนาดา เดนมาร์ก สวิสเซอร์แลนด์ สวีเดน ออสเตรเลียและเกาหลีใต้ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เช่นเดียวกับประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียที่ผ่อนคลายนโยบายการเงินมากขึ้น เช่น จีน อินเดีย และอินโดนีเซียซึ่งปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในไตรมาสแรกของปี 2558 ล่าสุดเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2558 กนง. มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 0.25 ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยลดลงเป็นร้อยละ 1.50 ต่อปี รวมทั้งประกาศผ่อนคลายมาตรการเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่งปรับตัวลดลงตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลงเร็วกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ใน ไตรมาสแรกของปี 2558 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน และอัตราดอกเบี้ย MLR เฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่งปรับตัวลดลงร้อยละ 0.20 และร้อยละ 0.12 เป็นร้อยละ 1.53 และ 6.63 ต่อปี ตามลำดับ ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 58 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดกลาง และสถาบันการเงินเฉพาะกิจปรับตัวลดลงร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.16 เป็นร้อยละ 1.60 ต่อปี และร้อยละ 1.88 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนอัตราดอกเบี้ย MLR ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.13 และร้อยละ 0.09 เป็นร้อยละ 7.04 และ 6.83 ต่อปี ตามลำดับ ล่าสุดในเดือนเมษายน 2558 ภายหลัง กนง. มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์บางแห่งได้มีการปรับลดทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงอีกเล็กน้อย อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าอย่างต่อเนื่องเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อลดลง อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงปรับตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.13 ต่อปี ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นร้อยละ 2.10 ต่อปี สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงจากร้อยละ 6.15 ต่อปี เป็นร้อยละ 7.20 ต่อปี เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง เงินฝากและการลงทุนในตั๋วแลกเงิน (B/E) ของธนาคารพาณิชย์เร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง โดยไตรมาสแรกของปี 2558 เงินฝากและการลงทุนในตั๋วแลกเงิน ขยายตัวร้อยละ 6.8 เร่งขึ้นจาก การขยายตัวร้อยละ 6.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเนื่องจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีนโยบายแข่งขันระดมเงินฝากโดยการออกผลิตภัณฑ์เงินฝากพิเศษ สินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินทั้งระบบ ขยายตัวร้อยละ 5.0 เร่งตัวขึ้นเล็กน้อยจากการขยายตัวร้อยละ 4.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวในสินเชื่อภาคครัวเรือนทั้งของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นสำคัญ โดยในไตรมาสนี้สินเชื่อภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 6.8 เร่งขึ้นเล็กน้อยจากการขยายตัวร้อยละ 6.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อการซื้อที่ดินและเพื่อการอุปโภคบริโภคอื่นๆ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการภาครัฐเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผ่านทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในขณะที่สินเชื่อเพื่อการซื้อและเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ยังลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สี่ ส่วนสินเชื่อภาคธุรกิจขยายตัวร้อยละ 2.6 เท่ากับการขยายตัวในไตรมาสก่อนหน้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวในสาขากิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย และกิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้จากผลการสำรวจภาวะและแนวโน้มสินเชื่อไตรมาสแรกของปี 2558 พบว่า ความต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจโดยรวมยังคงเพิ่มขึ้น แต่สถาบันการเงินเพิ่มมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อแก่ภาคธุรกิจมากขึ้น โดยเฉพาะการปล่อยสินเชื่อให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำหรับมูลค่าการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตขยายตัวร้อยละ 6.7 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 12.6 ในไตรมาสที่สี่ปี 2557 สอดคล้องกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ชะลอตัวลงและการเพิ่มความเข้มงวดในการอนุมัติลูกค้ารายใหม่ สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ปรับตัวลดลง ในขณะที่สภาพคล่องส่วนเกิน4 ในระบบเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยสัดส่วนสินเชื่อ (ไม่รวมเงินให้กู้ยืมผ่านธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร) ต่อเงินฝากที่รวม ตั๋วแลกเงินของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสแรกของปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 96.2 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 97.6 ในไตรมาสที่สี่ ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สาม ตามการชะลอตัวลงของสินเชื่อ และการเพิ่มขึ้นของเงินฝากและการลงทุนในตั๋วแลกเงิน (B/E) สอดคล้องกับสภาพคล่องส่วนเกินในระบบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 1,585.0 พันล้านบาทในไตรมาสที่สี่ ปี 2557 เป็น 1,726.5 พันล้านบาทในไตรมาสแรกของปี 2558 ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. เคลื่อนไหวผันผวน แต่ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับใกล้เคียงกับ ไตรมาสก่อน โดยในช่วงสองเดือนแรกของไตรมาส ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้น เนื่องจาก (1) การคาดการณ์ว่า FED จะชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ย (2) ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมากขึ้นตามการลดลงของราคาน้ำมันและรายได้การท่องเที่ยวที่ขยายตัวสูงและเร่งขึ้น และ (3) การเพิ่มขึ้นของสภาพคล่องในตลาดโลกที่เกิดจากมาตรการผ่อนคลายทางการเงินของประเทศสำคัญๆ โดยเฉพาะญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป ทำให้เริ่มมีเงินทุนไหลเข้ามากขึ้น แต่ในช่วงต้นเดือนมีนาคม ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ก่อนจะกลับมาแข็งค่าอีกครั้งหลังการประชุมของ FED ซึ่งทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนไตรมาสที่สาม โดยค่าเงินบาทเฉลี่ยในไตรมาสแรกของปี 2558 อยู่ที่ 32.64 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าและช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.18 และ 0.07 ตามลำดับ ในเดือนเมษายน ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ยังอยู่ภายใต้แรงกดดันของการแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกและข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งอ่อนแอกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่แข็งค่าขึ้น โดยค่าเงินบาทเฉลี่ยในช่วงวันที่ 1 - 28 เมษายน 2558 อยู่ที่ 32.48 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ลงอีกร้อยละ 0.25 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2558 และการประกาศผ่อนคลายหลักเกณฑ์การเคลื่อนย้ายเงินระหว่างประเทศ ทำให้ค่าเงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว โดย ณ สิ้นเดือนเมษายน 58 ค่าเงินบาทอยู่ที่ 32.86 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าร้อยละ 0.95 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม และในช่วงวันที่ 6 - 15 พฤษภาคม ค่าเงินบาทยังเคลื่อนไหวผันผวน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 33.52 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากเดือนเมษายน อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับสกุลเงินของประเทศคู่ค้า/คู่แข่งอื่นๆ ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า และช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากค่าเงินของประเทศคู่ค้าคู่แข่งที่อ่อนค่าลง โดยเฉพาะค่าเงินยูโร และค่าเงินเยน ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2558 ดัชนีค่าเงินบาท5 (NEER) อยู่ที่ 112.8 แข็งค่าขึ้นร้อยละ 4.0 และร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าและช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ เช่นเดียวกับการเคลื่อนไหวของดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง (REER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 3.0 และร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าและช่วงเดียวกันของปีก่อน เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออกสุทธิต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสแรกของปี 2558 มีเงินทุน ไหลออกสุทธิ 3.99 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับการไหลออกสุทธิ 6.93 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ใน ไตรมาสที่สี่ ปี 2557 โดยเป็นการออกไปลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนไทยเป็นสำคัญ ทั้งที่เป็นการลงทุนทางตรงและการลงทุนในหลักทรัพย์ รวมทั้งธนาคารพาณิชย์มีการชำระคืนเงินกู้ระยะสั้น และนำเงินออกไปฝากในต่างประเทศเพื่อปรับฐานะเงินตราต่างประเทศ ประกอบกับนักลงทุนต่างประเทศยังคงขายสุทธิในหลักทรัพย์ไทยต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ (SET index) เคลื่อนไหวผันผวนและปรับตัวเพิ่มขึ้นตามแรงซื้อของ นักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบันเป็นสำคัญ ตลอดทั้งไตรมาส SET Index เคลื่อนไหวผันผวนตามความกังวลของนักลงทุนต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก และการฟื้นตัวของประเทศเศรษฐกิจหลักเป็นสำคัญ โดยในช่วง 2 เดือนแรก ดัชนีราคาปรับตัวสูงขึ้น ภายหลังการประกาศดำเนินมาตรการขยายปริมาณเงินของธนาคารกลางยุโรป ซึ่งส่งผลให้สภาพคล่องทางการเงินในตลาดทุนโลกเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับแนวโน้มการยืดระยะเวลาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งผลให้ SET Index ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า 1,600 จุด โดยเป็นผลมาจากแรงซื้อของนักลงทุนสถาบัน และบริษัทหลักทรัพย์เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายไตรมาส SET Index ปรับตัวลดลงตามแรงขายทำกำไรของนักลงทุนสถาบันและบริษัทหลักทรัพย์ ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิเป็นเดือนแรกนับจากสิ้นปี 2557 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดอื่นในภูมิภาคที่มีเงินทุนจากต่างประเทศไหลกลับเข้ามามากขึ้น ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2558 SET Index ปิดที่ 1,505.94 จุด เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่สี่ของปี 2557 ร้อยละ 0.6 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 49.3 พันล้านบาทต่อวัน จาก 49.0 พันล้านบาทต่อวัน ในไตรมาสก่อนหน้า ในเดือนเมษายน 2558 SET Index ยังคงเคลื่อนไหวผันผวน โดยปิดที่ 1,527 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม ร้อยละ 1.4 เป็นผลจากนักลงทุนสถาบันกลับมาซื้อสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างมาก ภายหลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินนโยบายทางการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลัก และประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคที่ช่วยสนับสนุนบรรยากาศของการลงทุนให้ดีขึ้น อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล (Yield) ปรับลดลงทุกช่วงอายุตามความต้องการลงทุน ในพันธบัตรรัฐบาลที่ยังอยู่ในระดับสูง และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield) ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2558 ปรับลดลงทุกช่วงอายุ เมื่อเทียบกับไตรมาสที่สี่ของปี 2557 โดยเฉพาะพันธบัตรระยะสั้น เนื่องจาก 1) ปริมาณพันธบัตร ในตลาดมีน้อยกว่าความต้องการลงทุนในพันธบัตรที่ยังอยู่ในระดับสูงทั้งจากนักลงทุนสถาบันและจากนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะในช่วงที่ ECB และ ธนาคารกลางญี่ปุ่นดำเนินนโยบายขยายปริมาณเงินอย่างต่อเนื่องและ FED มีแนวโน้มเลื่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายออกไปทำให้มีเงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดภูมิภาค และ 2) การลดลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินทำให้ความต้องการซื้อของนักลงทุนสถาบันที่อยู่ในเกณฑ์สูง โดยมีการซื้อสุทธิจำนวน 6.7 แสนล้านบาท (ส่งผลให้มูลค่าซื้อขายเฉพาะธุรกรรมซื้อขาด (Outright Transaction) เฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นมากจากไตรมาสก่อนหน้าเป็น 82.4 พันล้านบาทต่อวัน) ในขณะที่ปริมาณพันธบัตรมีจำกัด ทำให้ดัชนีราคาพันธบัตรปรับเพิ่มขึ้นและผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวลดลง รวมทั้งผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่นอกเหนือการคาดการณ์จะทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรใหม่ลดลงต่ำกว่า ตลาดอื่นในภูมิภาค จึงทำให้นักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิเพียง 7.3 พันล้านบาท ในเดือนเมษายน 2558 มูลค่าซื้อขายเฉพาะธุรกรรมซื้อขายขาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 105.0 พันล้านบาทต่อวัน ดัชนีราคาพันธบัตรยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นตามแรงซื้อของนักลงทุนในประเทศ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับลดลงต่อเนื่อง ภายหลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงประกอบกับปริมาณพันธบัตรที่ยังคงมีอยู่จำกัด ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล: ในไตรมาสแรกของปี 2558 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 8,238 ล้านดอลลาร์ สรอ. (หรือเท่ากับ 325,752 ล้านบาท) เทียบกับการเกินดุล 8,683 ล้านดอลลาร์ สรอ. (หรือเท่ากับ 284,512 ล้านบาท) ในไตรมาสก่อนหน้าและการเกินดุล 5,493 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสแรกของปี 2557 ซึ่งเป็นผลมาจากการเกินดุลการค้า 7,425 ล้านดอลลาร์ สรอ. และการเกินดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิ 813 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ: ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2558 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 156.32 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (และมี net forward position อีก 19.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) คิดเป็นประมาณ 2.8 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น (ณ สิ้นไตรมาสที่สี่ ปี 2557) และเทียบเท่ามูลค่าการนำเข้า 10.3 เดือน (ค่าเฉลี่ยมูลค่าการนำเข้าในไตรมาสแรก ปี 2558) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป: ในไตรมาสแรกของปี 2558 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.5 ปรับตัวลดลงจาก ร้อยละ 1.1 ในไตรมาสที่สี่ของปี 2557 (เป็นการลดลงต่ำสุดในรอบ 22 ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของ ปี 2552) เนื่องจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศยังคงลดลงต่อเนื่อง รวมทั้งราคาอาหารสดชะลอตัวลง โดยดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ชะลอลงจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลจากราคาไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลง เช่นเดียวกับราคาผักและผลไม้ในช่วงฤดูกาลที่มีปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ดัชนีราคาในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.02 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากราคาพลังงานลดลง ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศมีการปรับราคาลงตามทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และการปรับลดค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ในรอบเดือนมกราคมถึงเมษายน 2558 ที่ลดลง 10 สตางค์ต่อหน่วยตามต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่ลดลง ซึ่งทำให้ดัชนีราคาในหมวดพลังงานลดลงร้อยละ 12.9 เทียบกับการลดลงร้อยละ 3.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ชะลอลงจากร้อยละ 1.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ดัชนีราคาผู้ผลิต ในไตรมาสแรกของปี 2558 ดัชนีราคาผู้ผลิตลดลงร้อยละ 5.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลจากการลดลงของราคาในทุกหมวดโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากเหมือง และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยราคาผลผลิตเกษตรกรรมลดลงร้อยละ 1.4 ตามการลดลงของราคาปลาและสัตว์น้ำ และราคาผลผลิตการเกษตร ราคาผลิตภัณฑ์จากเหมืองลดลงร้อยละ 8.9 ตามการลดลงของราคาลิกไนต์ ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ และราคาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 5.5 ตามการลดลงของราคาผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก และราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ปรับลดลงมากตามราคาน้ำมันในตลาดโลก 2. ความเคลื่อนไหวราคาน้ำมันในไตรมาสแรกของปี 2558 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 ในไตรมาสแรกของปี 2558 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย 4 ตลาด (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และเวสท์เท็กซัส) อยู่ที่ 52.59 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ลดลงร้อยละ 49.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 5.9 และร้อยละ 28.8 ในไตรมาสที่สาม และไตรมาสที่สี่ของปี 2557 ตามลำดับ และเป็นการปรับตัวลดลง ในทุกตลาด โดยราคาน้ำมันดิบ WTI ดูไบ โอมาน และเบรนท์ปรับตัวลดลงร้อยละ 50.6 50.1 49.4 และ ร้อยละ 49.0 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ราคาน้ำมันดิบในไตรมาสแรกของปี 2558 ลดลงจากไตรมาสที่สี่ของปี 2557 ร้อยละ 30.4 การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในไตรมาสนี้ มีสาเหตุสำคัญมาจาก (1) อุปทานน้ำมันดิบของโลกเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกาเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบมาอยู่ที่เฉลี่ย 14.59 ล้านบาร์เรลต่อวัน (สูงกว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่เฉลี่ย 13.11 ล้านบาร์เรลต่อวัน) ประกอบกับกลุ่มโอเปคไม่มีนโยบายในการลดกำลังการผลิต ส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของโลกใน ไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 93.76 ล้านบาร์เรลต่อวัน และ (2) เศรษฐกิจโลกยังอยู่ในภาวะชะลอตัวโดยเฉพาะญี่ปุ่น และจีน ทำให้อุปสงค์เพิ่มขึ้นช้า 3. เศรษฐกิจโลกในไตรมาสแรกของปี 2558 เศรษฐกิจโลกในไตรมาสแรกชะลอลงจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2557 ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติ รวมทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจสำคัญๆ ในเอเชียตามการลดลงของแรงขับเคลื่อนจากการส่งออก ในขณะที่เศรษฐกิจญี่ปุ่น ฟื้นตัวอย่างช้าๆ ตามการปรับตัวดีขึ้นของการผลิตและส่งออกซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการอ่อนค่าของเงินเยนแต่อุปสงค์ภายในประเทศยังอยู่ในภาวะชะลอตัว เช่นเดียวกับเศรษฐกิจยุโรปที่เริ่มฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำตามการลดลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก ในขณะที่ประเทศสำคัญๆ ยังคงผ่อนคลายนโยบายการเงินเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและลดความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืดอย่างต่อเนื่อง แม้กระนั้นก็ตาม ความแตกต่างในวัฎจักรการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้สหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งหลังของปีและส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวแข็งค่าขึ้นท่ามกลางความผันผวนที่เกิดจากการคาดการณ์ทิศทางนโยบายการเงินของนักลงทุน - เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้าเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติ ในไตรมาสแรกของปี 2558 เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.2 (%QoQ saar) ชะลอลงจากร้อยละ 2.2 ในไตรมาสที่สี่ ของปี 2557 และเป็นการชะลอตัวติดต่อกันสองไตรมาส โดยมีสาเหตุสำคัญ มาจากการชะลอตัวของการบริโภคภาคเอกชนที่ถูกกระทบจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นกว่าปกติและการชะลอตัวของการส่งออกเนื่องจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า แต่การลงทุนในที่อยู่อาศัยขยายตัวต่อเนื่องและสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.0 (%YoY) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core PCE Index) ในเดือนมีนาคม อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ทรงตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และต่ำกว่าเป้าหมายของนโยบายการเงินที่ร้อยละ 2.0 ในขณะที่อัตราการว่างงานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5.6 ต่ำสุดในรอบเกือบ 7 ปี แต่การจ้างงานในเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้น 85,000 ซึ่งตำแหน่ง ต่ำกว่า 2 แสนตำแหน่งเป็นครั้งแรกในรอบ 1 ปี แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำและยังไม่มีแนวโน้มที่จะกลับเข้าสู่เป้าหมายนโยบายการเงินอย่างชัดเจน และการจ้างงานเพิ่มขึ้นน้อยท่ามกลางการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ช่วงร้อยละ 0.0 - 0.25 ต่อไป ในการประชุมเมื่อ วันที่ 28 - 29 เมษายน 2558 - เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซน การฟื้นตัวเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น ในขณะที่แรงกดดันจากภาวะเงินฝืดผ่อนคลายลง ในไตรมาสแรกของปี 2558 เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซนขยายตัวร้อยละ 0.4 (%QoQ, sa) ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 0.3 ในไตรมาสที่ 4 ปี 2557 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 1.0 (%YoY) การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมีปัจจัยสนับสนุนมาจากการปรับตัวดีขึ้นของการผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ รวมทั้งการปรับตัวดีขึ้นของการบริโภคภาคครัวเรือนสอดคล้องกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนอัตราการว่างงานลดลงอย่างช้าๆ เป็นเฉลี่ยร้อยละ 11.3 ในไตรมาสแรก ในขณะที่แรงกดดันจากภาวะเงินฝืดลดลงสะท้อนจากการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อจากร้อยละ -0.6 ในเดือนมกราคมเป็นร้อยละ 0.0 ในเดือนเมษายน การลดลงของแรงกดดันจากภาวะเงินฝืดและการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเริ่มดำเนินการตามมาตรการขยายปริมาณเงิน (QE) มูลค่า 6 หมื่นล้านยูโร ซึ่งส่งผลให้สภาพคล่องปรับตัวดีขึ้นในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรลดลงและ เงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสแรกอ่อนค่าลงร้อยละ 19.0 (%YoY) - เศรษฐกิจญี่ปุ่น ฟื้นตัวได้อย่างช้าๆ ตามการปรับตัวดีขึ้นของภาคการส่งออกซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการอ่อนค่าของเงินเยน แต่อุปสงค์ในประเทศยังอ่อนแอและอัตราเงินเฟ้อลดลงต่อเนื่อง ในไตรมาสแรกของปี 2558 เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการหดตัวร้อยละ 0.8 (%YoY) ในไตรมาสก่อนหน้า แนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกร้อยละ 9.3 ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากร้อยละ 9.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการอ่อนค่าของเงินเยน สอดคล้องกับดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมที่ยังสูงกว่าระดับ 50 อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ภายในประเทศยังอยู่ในภาวะอ่อนแอ โดยยอดการค้าปลีกในไตรมาสแรกลดลงร้อยละ 4.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.7 ในไตรมาสก่อนหน้า (ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งผู้บริโภคเร่งการใช้จ่ายก่อนที่จะมีการปรับขึ้นภาษี ในเดือนเมษายน 2557) สอดคล้องกับการลดลง อย่างต่อเนื่องของอัตราเงินเฟ้อจากร้อยละ 3.3 และร้อยละ 2.6 ในไตรมาสที่สามและสี่ของปี 2557 เป็นร้อยละ 2.3 ในไตรมาสนี้ การฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจท่ามกลางความเปราะบางของอุปสงค์ในประเทศและอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงดำเนินมาตรการขยายปริมาณเงินอย่างต่อเนื่อง - เศรษฐกิจจีนชะลอตัวต่อเนื่องและขยายตัวต่ำสุดในรอบ 6 ปี ส่งผลให้รัฐบาลจีนดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติมเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ในไตรมาสแรกของปี 2558 เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 7.0 (%YoY) ชะลอลงจากร้อยละ 7.3 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นอัตราขยายตัวต่ำสุดในรอบ 6 ปี และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 1.3 (%QoQ sa.) ชะลอลงจากร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อน การชะลอตัวทางเศรษฐกิจมีสาเหตุมาจากการชะลอตัวของการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างที่อยู่อาศัย รวมทั้งการชะลอตัวของการบริโภคและการลดลงของ แรงขับเคลื่อนจากภาคการส่งออก โดยในไตรมาสนี้มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 4.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 8.5 ในไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม มูลค่าการนำเข้าลดลงตามราคาน้ำมันและการชะลอตัวของอุปสงค์ในประเทศส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลต่อเนื่อง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อลดลงเป็นร้อยละ 1.2 จากร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อนหน้า การชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจและการลดลงของอัตราเงินเฟ้อส่งผลให้ธนาคารกลางจีนผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม โดยการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากลงอีกร้อยละ 0.25 หลังจากการปรับลดร้อยละ 0.25 ในเดือนมีนาคม และปรับลดอัตราส่วนเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) สำหรับสถาบันการเงินทุกประเภทเพิ่มเติมอีกร้อยละ 1.0 หลังจากการปรับลดร้อยละ 0.5 ในเดือนกุมภาพันธ์ รวมทั้งการดำเนินมาตรการเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ เช่น การปรับลดวงเงินดาวน์ให้กับผู้ซื้อบ้านหลังที่สอง เป็นต้น - เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (Newly Industrial Economies) ชะลอลงตามการหดตัวของการส่งออก ในไตรมาสแรกของปี 2558 เศรษฐกิจฮ่องกงขยายตัวร้อยละ 2.1 ชะลอลงจากร้อยละ 2.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของการส่งออกสินค้าและการบริโภคภาคเอกชน สำหรับเศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 2.1 (%YoY) เท่ากับอัตราการขยายตัวในไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าขยายตัวร้อยละ 1.1 (%QoQ,sa) ชะลอลงจากร้อยละ 4.9 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2557 โดยเป็นผลมาจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวติดต่อกันสองไตรมาสโดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และวิศวกรรมขนส่ง ในขณะที่ภาคก่อสร้างยังขยายตัวได้ดี นอกจากนี้ เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 2.4 (%YoY) ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการหดตัวของภาคการส่งออกและการชะลอตัวของการลงทุนภายในประเทศ ส่งผลให้เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2558 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 สู่ระดับร้อยละ 1.75 ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ มีเพียงเศรษฐกิจไต้หวันที่เร่งขึ้นเล็กน้อย โดยขยายตัวร้อยละ 3.5 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อนหน้า แรงสนับสนุนมาจากการส่งออกและการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อลดลงในทุกประเทศตามราคาพลังงานและอาหารสดเป็นสำคัญ โดยอัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์และไต้หวันติดลบต่อเนื่อง ส่งผลให้ธนาคารกลางสิงคโปร์ประกาศผ่อนคลายนโยบายการเงินในวันที่ 28 มกราคม 2558 โดยปรับลดช่วงการซื้อขายสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ลง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของฮ่องกงยังอยู่ในระดับสูงเนื่องจากการเร่งตัวขึ้นของราคาสาธารณูปโภค ไฟฟ้า ประปา และราคาที่อยู่อาศัยภายหลังจากการยกเลิกการอุดหนุนของรัฐบาล รวมทั้งราคายาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิต - เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอาเซียน ชะลอตัวลงตามภาคการส่งออก ในไตรมาสแรกของปี 2558 เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัวร้อยละ 6.0 ชะลอลงจากร้อยละ 7.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการส่งออกที่ชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการยังขยายตัวดี ขณะที่เศรษฐกิจอินโดนีเซียขยายตัวร้อยละ 4.7 ชะลอลงจากร้อยละ 5.0 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำสุดในรอบ 6 ปี เป็นผลจากการชะลอตัวของการใช้จ่ายภาครัฐบาลและการหดตัวของการส่งออก ส่วนเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ยังขยายตัวได้ดีตามการขยายตัวของการบริโภคภาคครัวเรือนจากเงินส่งกลับของแรงงานในต่างประเทศ และการลดลงของราคาน้ำมัน รวมทั้งการใช้จ่ายของรัฐบาลที่ขยายตัวเร่งขึ้น สำหรับเศรษฐกิจมาเลเซียขยายตัวร้อยละ 5.6 ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 5.7 ในไตรมาสที่สี่ ของปี 2557 ตามการหดตัวของการส่งออก เนื่องจากผลของราคาส่งออกที่ยังคงลดลง โดยเฉพาะราคาสินค้าโภคภัณฑ์สำคัญ เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน รวมทั้งน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนขยายตัวเร่งขึ้น สำหรับอัตราเงินเฟ้อของประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่ลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก มีเพียงอินโดนีเซียที่อัตราเงินเฟ้อยังทรงตัวในระดับสูงใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนซึ่งเป็นผลจากการปรับลดการอุดหนุนราคาขายปลีกน้ำมันภายในประเทศในเดือนพฤศจิกายน 2557 4. แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2558 เศรษฐกิจโลกในปี 2558 ยังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ต่ำอย่างต่อเนื่องในขณะที่การขยายตัวของปริมาณการค้าโลกชะลอตัวลงจากปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 3.4 ต่ำกว่าการคาดการณ์การขยายตัวร้อยละ 3.5 ในการประมาณการครั้งก่อนหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ เช่นเดียวกับเศรษฐกิจจีนที่ยังชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องในไตรมาสแรกและยังไม่มีสัญญาณของการขยายตัวเร่งขึ้นอย่างชัดเจน ในขณะที่เศรษฐกิจยุโรปและญี่ปุ่นมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามการดำเนินนโยบายผ่อนคลาย แต่การฟื้นตัวยังเป็นไปอย่างช้าๆ และความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืดยังอยู่ในเกณฑ์สูง การฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจโลกและภาวะความตกต่ำของราคาสินค้า ขั้นปฐมส่งผลให้การส่งออกของประเทศสำคัญๆ ชะลอตัวลงและลดลงซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจอินเดีย และประเทศสำคัญๆ ในกลุ่ม NIEs และ ASEAN มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้ แนวโน้มการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจยุโรปและญี่ปุ่นรวมทั้งแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจของประเทศสำคัญๆ ในภูมิภาคเอเชียท่ามกลางการปรับตัวลดลงของอัตราเงินเฟ้อทำให้ประเทศดังกล่าวมีแนวโน้มดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและลดความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืด เช่นเดียวกับสหรัฐฯ ที่ คาดว่าจะเลื่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายออกไปเป็นครึ่งปีหลัง เพื่อรอความชัดเจนในการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อเป้าหมาย (Core PCE Price Indice) และการปรับตัวดีขึ้นของเงินเฟ้อคาดการณ์ที่จะสร้างความมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่เป้าหมายของนโยบายการเงิน ความแตกต่างของแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินดังกล่าวคาดว่าจะทำให้เงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญอื่นๆ ยังคงมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ราคาน้ำมันและสินค้าขั้นปฐมยังอยู่ภายใต้แรงกดดันจากแนวโน้มการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. การเพิ่มขึ้นของผลผลิตในแหล่งผลิตสำคัญๆ และอุปสงค์ในตลาดโลกที่ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ต่ำตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง - เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2558 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 3.0 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 3.3 ในปี 2557 แต่ต่ำกว่าการคาดการณ์การขยายตัวร้อยละ 3.3 ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกยังต่ำกว่าการคาดการณ์ ในขณะที่การขยายตัวในช่วงที่เหลือของปียังมีแรงต้านจากการแข็งค่าของเงินสกุลดอลลาร์และภาวะเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าที่ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว อย่างไรก็ดี การขยายตัวในช่วงที่เหลือของปีมีแนวโน้มเร่งขึ้นโดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเร่งขึ้นของการใช้จ่ายซึ่งได้รับผลกระทบจากอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติในไตรมาสแรก รวมทั้งการจ้างงาน ราคาที่อยู่อาศัยและหลักทรัพย์ และงบดุลภาคครัวเรือนที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้กระนั้นก็ตาม การชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรก การจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนมีนาคมที่เพิ่มขึ้นต่ำกว่าการคาดการณ์ และอัตราเงินเฟ้อเป้าหมาย (Core PCE Price Indice) ที่ยังคงต่ำกว่าเป้าหมายของการดำเนินนโยบายการเงินและยังไม่มีแนวโน้มที่จะเร่งขึ้นอย่างชัดเจน มีแนวโน้มที่จะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ เลื่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายออกไปเป็นในช่วงครึ่งหลังของปี - เศรษฐกิจยูโรโซน ในปี 2558 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.2 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 0.9 ในปี 2557 และสูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 1.0 ในการประมาณการครั้งก่อน โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายซึ่งทำให้สภาพคล่องและความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น รวมทั้งภาคการส่งออกซึ่งมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามการอ่อนค่าของยูโร ในขณะที่การว่างงานปรับตัวลดลงและ อุปสงค์ในประเทศฟื้นตัวอย่างช้าๆ และอัตราเงินเฟ้อเริ่มติดลบช้าลง อย่างไรก็ตามพลวัตรการฟื้นตัวยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากความล่าช้าในการแก้ไขปัญหากรีซและปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ และความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืดยังอยู่ในเกณฑ์สูง ในขณะที่ธนาคารกลางยุโรปยังคงดำเนินการตามแผนการขยายปริมาณเงินมูลค่า 1.1 ล้านล้านยูโรอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์หนี้ของกรีซ เศรษฐกิจกรีซเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคอีกครั้ง หลังจากหลุดพ้นภาวะถดถอยที่ต่อเนื่องยาวนานถึง 6 ปี (ระหว่างปี 2551-2556) ในไตรมาสแรกของปี 2557 โดยไตรมาสแรกเศรษฐกิจของกรีซหดตัวร้อยละ 0.2 (QoQ, sa) เป็นการหดตัวต่อเนื่องจากร้อยละ 0.4 ในไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว ขณะที่อัตราการว่างงานสูงถึงร้อยละ 25.7 และหนี้สาธารณะอยู่ที่ร้อยละ 176 ของ GDP ส่งผลให้สหภาพยุโรปปรับลดอัตราขยายตัวของกรีซในปี 2558 เหลือร้อยละ 0.5 สำหรับผลความก้าวหน้าการเจรจาระหว่างกรีซและกลุ่มเจ้าหนี้ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2558 ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ โดยความไม่แน่นอนของผลการเจรจาส่งผลให้ตลาดการเงินผันผวนในระยะสั้น และกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจยูโรโซนและกรีซ อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2558 กรีซเริ่มยอมรับในเงื่อนไขการแปรรูปรัฐวิสาหกิจท่าเรือและสนามบินในส่วนภูมิภาค รวมทั้งลดรายจ่ายของรัฐบาล ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณบวกว่าการเจรจามีแนวโน้มจะได้ข้อยุติ โดยล่าสุดกรีซได้ชำระหนี้มูลค่า 750 ล้านยูโร ให้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ไปแล้วโดยการยืมเงินจากบัญชีสำรอง IMF จำนวน 650 ล้านยูโร อย่างไรก็ดี ในเดือน มิ.ย. และ ก.ค. กรีซจะต้องชำระหนี้คืนแก่ ECB และ IMF ประมาณ 3.45 และ 1.4 พันล้านยูโร ตามลำดับ ส่งผลให้รัฐบาลกรีซจำเป็นต้องเรียกร้องให้ ECB ขยายระยะเวลาชำระหนี้ มูลค่า 2.7 หมื่นล้านยูโรออกไปก่อน ซึ่งมีกำหนดชำระหนี้ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2558 เนื่องจากหากผิดนัดชำระหนี้ จะทำให้กรีซไม่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF และ ECB ซึ่งในที่สุดแล้วจะนำไปสู่การออกจากยูโรโซน ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจการเงิน รวมทั้งหนี้สาธารณะของกรีซให้สูงขึ้นอีก ดังนั้น ในการเจรจาครั้งต่อไปจึงมีความเป็นไปได้สูงที่กรีซจะยอมทำตามข้อตกลงของกลุ่มเจ้าหนี้ เพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือและยังคงเป็นสมาชิกของยูโรโซน - เศรษฐกิจญี่ปุ่น มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 0.8 ในปี 2558 ฟื้นตัวอย่างช้าๆ จากร้อยละ 0.0 ในปี 2557 ตามแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของการผลิตและการส่งออกซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการอ่อนค่าของเงินเยน ในขณะที่อุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการลดลงของราคาน้ำมัน การเพิ่มขึ้นของราคาหลักทรัพย์และค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำในประเทศ อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังมีแรงต้านจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อลดลงต่อเนื่อง เมื่อรวมกับอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังฟื้นตัวอย่างช้าๆ ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงดำเนินมาตรการขยายปริมาณเงินมูลค่า 80 ล้านล้านเยนต่อปี อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีความเป็นไปได้ที่จะมีการประกาศมาตรการขยายปริมาณเงินเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและลดความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืด - เศรษฐกิจจีน มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 7.0 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 7.4 ในปี 2557 เนื่องจากการชะลอตัวของการลงทุนซึ่งได้รับผลกระทบจากการดำเนินนโยบายปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อปรับสมดุลการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งการชะลอตัวของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ซึ่งประสบปัญหาหนี้เสียเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการปรับตัวลดลงของราคาอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ ในขณะที่การส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัวลง ซึ่งจะเห็นได้จากมูลค่าการส่งออกในไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 4.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 8.5 ในไตรมาสก่อนหน้า การชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่ยังมีความเสี่ยงที่จะมีความต่อเนื่อง ทำให้มีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางจีนจะดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมหลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากลงร้อยละ 0.25 และการลดอัตราส่วนเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลงร้อยละ 1.0 ในเดือนเมษายน - เศรษฐกิจกลุ่มประเทศ NIEs คาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และสิงคโปร์ ในปี 2558 จะขยายตัวร้อยละ 3.5 3.8 2.6 และ 3.0 ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 4.2 4.0 3.5 และ 4.0 ในการประมาณการ ครั้งก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลจากข้อมูลการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าการคาดการณ์และการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปียังมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะความซบเซาของการส่งออกและการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินอย่างต่อเนื่อง เมื่อรวมกับแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำคาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ธนาคารกลางในประเทศสำคัญๆ ยังคงดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง - เศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียน เศรษฐกิจอินโดนีเซียมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 5.2 ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 5.5 ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจในไตรมาสแรกขยายตัวต่ำสุดในรอบ 6 ปี ตามการชะลอตัวของการใช้จ่ายภาครัฐบาลและการลดลงของราคาน้ำมันซึ่งทำให้การส่งออกหดตัว ในขณะที่เศรษฐกิจฟิลิปปินส์คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.4 เท่ากับการประมาณการครั้งก่อนและเร่งขึ้นจากร้อยละ 6.1 ในปี 2557 ตามการขยายตัวของการบริโภคภาคครัวเรือนซึ่งส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของเงินส่งกลับจากแรงงานในต่างประเทศ อัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำและการขยายตัวดีขึ้นของรายจ่ายภาครัฐ ในขณะที่เศรษฐกิจมาเลเซียคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.4 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 6.0 ในปี 2557 ตามแนวโน้มการชะลอตัวของการส่งออกซึ่งได้รับผลกระทบจากการลดลงของราคาน้ำมันและราคาสินค้าเกษตร เช่นเดียวกับการบริโภคภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มชะลอตัวตามการชะลอตัวของสินเชื่อ รวมทั้งผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีสินค้าและบริการ (GST) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2558 และเวียดนามคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.2 เท่ากับการประมาณการครั้งก่อน 5. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2558 เศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปียังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและภาวะความตกต่ำของราคาสินค้าเกษตร โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐที่จะสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง (2) การฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนของภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ ตามความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจและแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภาพรวม (3) การขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะยังมีความต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี (4) การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นและสามารถสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้มากขึ้นตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและการเริ่มกลับมาขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ และ (5) ราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับต่ำซึ่งเพิ่มอำนาจซื้อและเอื้ออำนวยให้สามารถดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายได้ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก การเปลี่ยนแปลงของค่าเงินโดยเฉพาะการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. ยูโร และเงินเยน และความตกต่ำของราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกยังเป็นข้อจำกัดสำคัญที่ทำให้การฟื้นตัวของภาคการส่งออกและอุปสงค์ภาคเอกชนฟื้นตัวล่าช้า และส่งผลให้เศรษฐกิจในภาพรวมขยายตัวได้ต่ำกว่าการคาดการณ์ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังมีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์ดี โดยดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มเกินดุลมากขึ้นตามการขยายตัวของภาคท่องเที่ยวและการลดลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเคลื่อนไหวในแดนลบในช่วงครึ่งปีแรกและมีแนวโน้มที่จะติดลบต่อเนื่องใน ไตรมาสที่สามซึ่งทำให้ยังต้องติดตามเพื่อประเมินสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของเงินเฟ้อและการคาดการณ์เงินเฟ้อของประชาชน รวมทั้งการตอบสนองของภาคธุรกิจต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาอย่างใกล้ชิด - ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ 1) การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นไตรมาสที่สอง ของปีงบประมาณ 2558 มีการเบิกจ่ายเม็ดเงินภาครัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแล้วทั้งสิ้น 1.728 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.8 ในช่วงครึ่งหลังของปีงบประมาณ คาดว่าจะมีการเบิกจ่าย อีกประมาณ 1.467 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14.7 และเร่งขึ้นจากการขยายตัวในครึ่งปีแรก โดยคาดว่าจะมีการเบิกจ่ายจาก (1) งบประมาณรายจ่ายประจำปี 1.075 ล้านล้านบาท (2) งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ 0.223 ล้านล้านบาท (3) งบเหลื่อมปี 0.126 ล้านล้านบาท (4) เงินนอกงบประมาณ 0.0247 ล้านล้านบาท และ (5) งบคงเหลือจากมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่สองประมาณ 0.017 ล้านล้านบาท 2) การลงทุนภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี 2557 และในไตรมาสแรกของปี 2558 โดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรซึ่งสอดคล้องกับปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนที่เริ่มกลับมาขยายตัว ในช่วงที่เหลือของปีคาดว่าการลงทุนภาคเอกชนยังมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การเร่งรัดอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมูลค่าประมาณ 544 พันล้านบาทในช่วงครึ่งหลังของปี 2557 และ 217.6 พันล้านบาทในไตรมาสแรกของปี 2558 ซึ่งจะมีเม็ดเงินบางส่วนเริ่มลงทุนจริงในปีนี้ (2) การใช้กำลังการผลิตของบางอุตสาหกรรมที่เริ่มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นและสูงกว่า ร้อยละ 70 ซึ่งคาดว่าจะเริ่มมีความต้องการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจในไตรมาสแรกที่อยู่เหนือระดับ 50 (ระดับที่นักธุรกิจขยายการลงทุน) เป็นครั้งแรกในรอบ 7 ไตรมาส (3) การดำเนินโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐที่มีความคืบหน้าชัดเจนมากขึ้นและจะกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนมากขึ้นตามลำดับ และ (4) อัตราดอกเบี้ยที่ยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง 3) การผลิตภาคอุตสาหกรรม ยังมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวและสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้นตามลำดับหลังจากที่เริ่มขยายตัวในไตรมาสสุดท้ายของปี 2557 และเร่งขึ้นในไตรมาสแรกของปีนี้ โดยเฉพาะ (1) อุตสาหกรรมรถยนต์ซึ่งการส่งออกขยายตัว ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศหดตัวช้าลง (2) อุตสาหกรรมปิโตรเลียมซึ่งมีการผลิตเพิ่มสูงกว่าฐานการผลิตที่ต่ำในช่วงที่ปิดซ่อมบำรุงใหญ่ในปีที่ผ่านมา (3) การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศ (สัดส่วนการส่งออกน้อยกว่า ร้อยละ 30 ของปริมาณการผลิตรวม) ซึ่งเริ่มกลับมาขยายตัวอย่างช้าๆ ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและภาคการท่องเที่ยว และ (4) การผลิตของอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกในบางสาขายังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้แนวโน้มการฟื้นตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมสอดคล้องกับการเริ่มกลับมาขยายตัวของปริมาณการนำเข้าสินค้าในหมวดวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปในไตรมาสที่สามของปี 2557 ก่อนที่จะเร่งขึ้น อย่างช้าๆ ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2557 และต่อเนื่องในไตรมาสแรกของปี 2558 4) ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกโดยเฉลี่ยในช่วงที่เหลือของปียังมีแนวโน้มที่จะอยู่ในช่วง 55 - 65 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ต่ำกว่าเฉลี่ย 93 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลในช่วงสามไตรมาสสุดท้ายของปี 2557 ซึ่งทำให้ราคาน้ำมันในประเทศยังคงอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งลดแรงกดดันด้านต้นทุนการผลิตและเอื้ออำนวยต่อการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง 5) ภาคการท่องเที่ยว คาดว่าจะยังฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งและเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยในไตรมาสแรกจำนวนนักท่องเที่ยวมีจำนวนทั้งสิ้น 7.9 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 68.5 สูงสุดในรอบ 2 ปี สำหรับในช่วงที่เหลือของปี 2558 จำนวนนักท่องเที่ยวยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องโดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การปรับตัวดีขึ้นของความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ (2) การยกเลิกกฎอัยการศึก นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความคุ้มครองจากการประกันภัยการเดินทางได้ตามปกติ ในขณะที่จำนวนประเทศแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวให้ระมัดระวังการเดินทางมายังประเทศไทยลดลงต่อเนื่อง และ (3) การดำเนินมาตรการแก้ปัญหาและกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ ทั้งมาตรการแก้ไขปัญหาการเอารัดเอาเปรียบและหลอกลวงนักท่องเที่ยวและการจัดระเบียบในสถานที่ท่องเที่ยว ที่สำคัญ และมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในปี 2558 - ข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยง 1) ภาคส่งออกยังเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและส่งผลกระทบต่อฐานรายได้ เนื่องจากได้รับผลกระทบจาก (1) เศรษฐกิจซบเซาในประเทศคู่ค้าสำคัญๆ ที่การฟื้นตัวยังไม่มีแนวโน้มชัดเจน โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่ยังมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง อุปสงค์ภายในประเทศญี่ปุ่นที่ยังอยู่ในภาวะอ่อนแอ และเศรษฐกิจยุโรปที่ยังฟื้นตัวได้ช้า รวมทั้งเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าการคาดการณ์ในช่วงต้นปี (2) การอ่อนค่าของสกุลเงินในประเทศคู่ค้าหลัก โดยเฉพาะในไตรมาสแรกซึ่งเงินเยนและยูโรอ่อนค่าลงร้อยละ 13.7 และร้อยละ 17.8 เมื่อเทียบกับเงินบาท (3) ภาวะความตกต่ำของราคาสินค้าในตลาดโลกซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้าส่งออกลดลงในทุกหมวดสินค้าและทำให้ราคาสินค้าส่งออกรวมในไตรมาสแรกลดลงร้อยละ 1.8 และ (4) การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิตโดยที่การปรับโครงสร้างการผลิตในช่วงที่ผ่านมายังล่าช้า นอกจากนั้นความคืบหน้าในการแก้ปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมายยังเป็นความเสี่ยงเพิ่มเติมที่กระทบต่อการส่งออก 2) การผลิตภาคเกษตรยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะความตกต่ำของราคาสินค้าในตลาดโลกและปัญหาสถานการณ์ภัยแล้ง ในขณะที่การปรับตัวด้านต้นทุนการผลิตและการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตยังมีความล่าช้า ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวยังมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของการผลิตภาคการเกษตร ทำให้สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้น้อยลง ความคืบหน้าในการแก้ปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated: IUU) การประกาศเตือนและให้ใบเหลืองต่อสินค้าประมงของไทย เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2558 คณะกรรมการยุโรปได้ประกาศให้ใบเหลืองแก่ประเทศไทย เนื่องจากผลการประเมินการแก้ไขปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมายขาดการรายงาน และไร้การควบคุม หรือการประมงแบบ IUU (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing) ของไทยไม่สอดคล้องกับกฎระเบียบ IUU ของสหภาพยุโรป (European Union: EU) นัยต่อการส่งออกของไทย ในปี 2557 การส่งออกสินค้าประมงของไทยมีมูลค่า 2,153 ล้านดอลลาร์ สรอ. (คิดเป็นร้อยละ 0.95 ของสินค้าส่งออกทั้งหมด) โดยเป็นการส่งออกสินค้าประมงไปยัง EU 28 (ตลาดส่งออกสินค้าประมงลำดับที่ 3 ของไทย) คิดเป็นมูลค่า 319.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. (สัดส่วนร้อยละ 0.14 ของสินค้าส่งออกทั้งหมด) ทั้งนี้ ในไตรมาสแรกของปี 2558 การส่งออกสินค้าประมงไปยัง EU 28 คิดเป็นมูลค่า 43.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 47.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่สินค้าที่เกี่ยวข้องกับประมง อาทิ อาหารทะเลกระป๋องและอาหารทะเลแปรรูปมีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 7.0 และร้อยละ 17.9 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การประกาศให้ใบเหลืองของ EU จะยังไม่มีผลต่อการส่งออกสินค้าประมงไทยโดยทันที เนื่องจาก EU ให้เวลาไทยอีก 6 เดือน ในการแก้ไขปัญหา ก่อนที่จะประเมินอีกครั้งในเดือนตุลาคม 2558 ทั้งนี้ หากประเทศไทยไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ EU จะประกาศให้ใบแดง ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยไม่สามารถส่งออกสินค้าประมงไปยังสหภาพยุโรปได้ ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหา IUU ของไทย คณะรัฐมนตรีได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม เพื่อกำกับดูแลการแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิด และได้มีการแต่งตั้งศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) เพื่อทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการบูรณาการการแก้ไขปัญหาของทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และจัดทำแผนระดับชาติในการป้องกัน ยับยั้งและขจัดการทำประมงแบบ IUU โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการยกร่างแผนดังกล่าวและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงปัจจุบันพระราชบัญญัติการประมงฉบับแก้ไขได้ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว (อยู่ระหว่างการประกาศในราชกิจจานุเบกษา) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการยกร่างกฎหมายลำดับรอง นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมจำนวน 367.3 ล้านบาท ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าวตามแผนงานเร่งด่วนที่ ศปมผ. เสนอ ซึ่งประกอบด้วย (1) การจดทะเบียนเรือประมงและออกใบอนุญาตทำการประมง (2) การควบคุมและเฝ้าระวังการทำประมง (3) การจัดทำระบบติดตามตำแหน่งเรือ (Vessel Monitoring System: VMS) และ (4) การปรับปรุงระบบการตรวจสอบย้อนกลับ ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหา IUU ของไทย แผนงาน ความก้าวหน้า 1) การจดทะเบียนเรือประมงและออก ปัจจุบันมีเรือประมงที่จดทะเบียนถูกต้องแล้ว จำนวน 50,970 ลำ ใบอนุญาตทำการประมง 2) การควบคุมและเฝ้าระวังการทำประมง มอบหมายให้กรมประมงตั้งศูนย์การควบคุมการแจ้งเข้า - ออกท่าเรือ (PIPO) ให้ครบทุก 22 จังหวัดชายทะเล และจัดตั้งศูนย์ VMS ที่ส่วนกลางให้พร้อมปฏิบัติงานในเดือนพฤษภาคม 2558 3) การจัดทำระบบติดตามตำแหน่งเรือ (VMS) เป้าหมายติดตั้งบนเรือประมงขนาด 30 ตันกรอสส์ขึ้นไป จำนวน 5,532 ลำ ได้แก่ (1) เรือประมงนอกน่านน้ำ จำนวน 74 ลำ ซึ่งมีการติดตั้ง VMS แล้ว จำนวน 49 ลำ (2) กลุ่มเรือประมงขนาดมากกว่า 60 ตันกรอสส์ขึ้นไป จำนวน 1,996 ลำ คาดว่าภายในปีนี้จะติดตั้งได้จำนวน 1,347 ลำ (3) กลุ่มเรือประมงขนาด 30 - 60 ตันกรอสส์ จำนวน 3,462 ลำ ซึ่งจะดำเนินการได้ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติการประมงฉบับใหม่ 4) การปรับปรุงระบบการตรวจสอบย้อนกลับ ได้ออกระเบียบกรมประมงว่าด้วยการยื่นคำขอหนังสืออนุญาตนำเข้าสัตว์น้ำบางชนิดเข้ามาในกำหนดหลักเกณฑ์ และแนวทางให้ผู้ประกอบการถือปฏิบัติ เพื่อให้การตรวจสอบสัตว์น้ำที่ท่ามีความเข้มงวดและเป็นระบบมากขึ้น 5) การปรับปรุงพระราชบัญญัติการประมงและ พระราชบัญญัติการประมงฉบับแก้ไขผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่าง กฎหมายลำดับรอง ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และการยกร่างกฎหมายลำดับรองของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถบังคับ ใช้ได้ภายใน 60 วัน หลังจากที่พระราชบัญญัติการประมงฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ 6) การจัดทำแผนระดับชาติในการป้องกัน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ยกร่างแผน NPOA - IUU และได้จัดรับฟังความคิดเห็นจากภาครัฐและ ยับยั้งและขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ภาคเอกชนแล้ว 1 ครั้ง ซึ่งจะได้นำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงร่างแผนให้มีความสมบูรณ์ต่อไป ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (NPOA - IUU)
ที่มา: คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
3) สถาบันการเงินยังคงเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่ออย่างต่อเนื่องในช่วงที่หนี้สินภาคครัวเรือนยังอยู่ในเกณฑ์สูงและเศรษฐกิจยังอยู่ในระยะแรกของการฟื้นตัว ซึ่งทำให้ภาคครัวเรือนและธุรกิจเข้าถึงสินเชื่อได้ยากขึ้น นอกจากนั้น แม้ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินจะมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 2 ครั้ง รวมร้อยละ 0.50 และทำให้ต้นทุนทางการเงินลดลงก็ตาม แต่สถาบันการเงินยังคงปรับลดอัตราดอกเบี้ยช้ากว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เงื่อนไขดังกล่าวทำให้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจได้รับผลประโยชน์จากการผ่อนคลายนโยบายการเงินไม่เต็มที่
สถานการณ์หนี้สินครัวเรือนปี 2557
1. สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ริเริ่มโครงการปรับปรุงวิธีการประมวลผลรายได้ประชาชาติมาตั้งแต่ปี 2548 โดยเป็นการปรับปรุงทั้งด้านการเพิ่มเติมความครอบคลุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์มากขึ้น และการเปลี่ยนวิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติที่แท้จริง จากวิธีปีฐานคงที่ ในอนุกรมเก่า เป็นการวัดแบบปริมาณลูกโซ่ (Chain Volume Measures: CVM) โดย สศช. ได้เผยแพร่อนุกรมใหม่ที่เป็นข้อมูลรายปี ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 และในไตรมาสนี้ สศช. ได้เผยแพร่อนุกรมผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศแบบปริมาณลูกโซ่รายไตรมาส เป็นครั้งแรก ผลจากการปรับปรุงวิธีการประมวลผลรายได้ประชาชาติดังกล่าว ทำให้หนี้สินครัวเรือนเมื่อคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP ณ สิ้นปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 79.4 ต่ำกว่าร้อยละ 85.9 ในการคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP อนุกรมเก่า โดยที่ทิศทางการเคลื่อนไหวของสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP ที่คำนวณจากอนุกรมใหม่ยังคงมีความสอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP ที่คำนวณจากอนุกรมเก่า
2. สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP ของไทยเทียบกับต่างประเทศ หากเทียบกับสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP ร้อยละ 79.4 ของไทยกับเครื่องชี้เดียวกันของต่างประเทศ จะพบว่าประเทศไทยมีสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP สูงเป็นลำดับที่สามในเอเชีย โดยต่ำกว่ามาเลเซีย และเกาหลีใต้ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 87.9 ของ GDP และร้อยละ 81.3 ของ GDP ตามลำดับ แต่สูงกว่าสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP ของ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และอินเดียซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 64.8 17.1 และร้อยละ 8.5 ของ GDP ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม นิยามและความครอบคลุมของหนี้สินครัวเรือนของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน โดยในบางประเทศสินเชื่อครัวเรือนจะไม่ครอบคลุมถึงการกู้เงินเพื่อประกอบธุรกิจ ในขณะที่หนี้สินครัวเรือนของไทย หมายถึง การกู้เงินของบุคคลธรรมดา ซึ่งรวมถึงการกู้เงินเพื่อประกอบธุรกิจและกู้เพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลด้วย และเมื่อพิจารณาจากสัดส่วนการกู้เงินเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ พบว่าร้อยละ 48.5 เป็นการกู้เงินเพื่อซื้อที่ดิน จัดหาที่อยู่อาศัย และซื้ออสังหาริมทรัพย์ ร้อยละ 24.6 เป็นการกู้เพื่อซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ในขณะที่สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลอื่น (รวมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต) จะอยู่ที่ร้อยละ 26.9 ดังนั้นการเปรียบเทียบข้อมูลหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP ของไทยกับต่างประเทศจึงต้องตีความด้วยความระมัดระวัง
4) ตลาดแรงงานยังไม่มีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการจ้างงานในภาคเกษตรและภาคการค้าส่งค้าปลีกที่ยังลดลงและส่งผลให้การจ้างงานในภาพรวมยังลดลงและการว่างงานของผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับจำนวนชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาของผู้มีงานทำที่ยังลดลงแม้ว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมในบางสาขาจะยังมีการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะฝีมือก็ตาม รวมทั้งจำนวนชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยรายสัปดาห์ลดลง
- ข้อสมมติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2558
1) เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกขยายตัวร้อยละ 3.4 และร้อยละ 3.9 ตามลำดับ เทียบกับร้อยละ 3.2 และร้อยละ 3.4 ในปี 2557 และต่ำกว่าร้อยละ 3.5 และร้อยละ 4.4 ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน โดยเป็นผลจากการปรับลดการประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากร้อยละ 3.3 ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อนเป็นร้อยละ 3.0 รวมทั้งการปรับลดอัตราการขยายตัวของอินเดียและประเทศสำคัญ ๆ ในกลุ่ม NIEs และ ASEAN ตามแนวโน้มการชะลอตัวของภาคการส่งออก ในขณะที่เศรษฐกิจจีนและญี่ปุ่นคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.0 และร้อยละ 0.8 เท่ากับสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน
2) ค่าเงินบาทเฉลี่ยในช่วง 32.7 - 33.7 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากเฉลี่ย 32.48 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในปี 2557 และเป็นการปรับจากสมมติฐาน 32.5 - 33.5 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน ซึ่งเป็นไปตาม (1) การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและการผ่อนคลายมาตรการเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศของคณะกรรมการนโยบายการเงินและธนาคารแห่งประเทศไทยในเดือนมีนาคมและเมษายน 2558 ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เงินบาทอ่อนค่า และ (2) แนวโน้มการเลื่อน การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ จากเดิมที่มีแนวโน้มจะตัดสินใจปรับเพิ่มในการประชุมครั้งเดือนมิถุนายนเป็นอาจจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนกันยายน
3) ราคาส่งออกและนำเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากปี 2557 ในช่วงร้อยละ (-1.5) - (-0.5) และร้อยละ (-4.5) - (-3.5) ตามลำดับ เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.0 และร้อยละ 1.8 ในปี 2557 และเป็นการปรับลดจากสมมติฐานเดิมที่คาดว่าจะลดลงในช่วงร้อยละ (-0.5) - (0.5) และร้อยละ (-3.5) - (-2.5) ตามการลดลงของราคาสินค้าส่งออกและนำเข้าที่เป็นครอบคลุมวงกว้างมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากการลดลงของราคาสินค้าส่งออกในไตรมาสแรกที่ลดลงทั้งหมวดสินค้าเกษตร สินค้าประมง และสินค้าอุตสาหกรรมร้อยละ 6.8 ร้อยละ 2.0 และร้อยละ 1.4 ตามลำดับ ซึ่งส่งผลให้ดัชนีราคาการส่งออกรวมปรับตัวลดลงร้อยละ 1.8 เช่นเดียวกับดัชนีการนำเข้าที่ลดลงทั้งในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าวัตถุดิบ และสินค้าทุนร้อยละ 0.9 ร้อยละ 16.6 และร้อยละ 1.9 ตามลำดับ ซึ่งส่งผลให้ดัชนีราคาการนำเข้ารวมลดลงร้อยละ 10.9
4) จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปีอยู่ที่ 29.0 ล้านคนเทียบกับ 24.8 ล้านคนในปี 2557 และเป็นการปรับเพิ่มจากสมมติฐาน 27.0 ล้านคน ในการประมาณการครั้งก่อน ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มตามจำนวนนักท่องเที่ยวในไตรมาสแรกที่ขยายตัวได้สูงกว่าที่คาดไว้ โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 7.9 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 เร่งขึ้นมากเมื่อเทียบกับร้อยละ 7.0 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2557
5) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในช่วง 50 - 60 ดอลลาร์ สรอ. เท่ากับสมมติฐานการประมาณการในครั้งก่อน โดยราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในช่วง 4 เดือนแรกของปีเท่ากับ 53.61 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล สำหรับในช่วงวันที่ 1 - 13 พฤษภาคม 2558 ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย 64.28 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล สูงสุดในรอบ 5 เดือน เนื่องจาก (1) การปรับเพิ่มราคาจำหน่ายทางการ (Official Selling Price) ของประเทศซาอุดิอาระเบียซึ่งทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าปริมาณความต้องการน้ำมันในตลาดโลกกำลังปรับตัวสูงขึ้น (2) แนวโน้มการเลื่อนปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ออกไป ซึ่งทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง และ (3) ความกังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาน้ำมันดิบดูไบในช่วงที่เหลือของปีจะยังเคลื่อนไหวในช่วง 55 - 65 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ทั้งนี้เนื่องจาก (1) ปริมาณน้ำมันดิบสำรองของสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับสูง (2) ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ยังมีแนวโน้มแข็งค่าตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทิศทางนโยบายการเงินในสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นไปได้ในการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงปลายปี (3) การเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตยังมีอิทธิพลต่อตลาดมากกว่าการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์โดยเฉพาะภายใต้เงื่อนไขการไม่ปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC และการปรับเพิ่มกำลังการผลิตของบริษัทน้ำมันในอเมริกาเหนือหากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น และ (4) ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันในตลาดโลกยังมีแนวโน้มฟื้นตัวเพียงช้าๆ ตามแนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศสำคัญๆ
6) การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ประกอบด้วย (1) อัตราเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ร้อยละ 93.2 ของวงเงินงบประมาณ แบ่งเป็นอัตราการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำร้อยละ 98.0 และการเบิกจ่ายงบลงทุนร้อยละ 70.0 (2) การเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจร้อยละ 75.0 (3) การเบิกจ่ายงบเหลื่อมปีร้อยละ 70.0 (4) การเบิกจ่ายงบประมาณปี 2559 ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณร้อยละ 30.0 และ (5) การเบิกจ่ายโครงการเงินกู้เพื่อการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนน ระยะเร่งด่วนประมาณร้อยละ 20.0 ของวงเงินกู้รวม
- ประมาณการเศรษฐกิจปี 2558:
เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.0 - 4.0 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 0.9 ในปี 2557 อัตราเงินเฟ้ออยู่ในช่วงร้อยละ (-0.3) - 0.7 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 3.9 ของ GDP
ในการแถลงข่าววันที่ 18 พฤษภาคม 2558 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.0 - 4.0 ต่ำกว่าช่วงการประมาณการร้อยละ 3.5 - 4.5 ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558 โดยมีเหตุผลหลักจากการปรับลดประมาณการการขยายตัวของการส่งออกสินค้าซึ่งทำให้แรงขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจจากการส่งออกลดลง รวมทั้งส่งผลให้ อุปสงค์ภาคเอกชนขยายตัวได้ต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจากอนุกรมเดิมที่ใช้ราคาในปี 1998 เป็นปีฐาน เป็นฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศแบบปริมาณลูกโซ่ทำให้ผลการประมาณการในครั้งนี้ซึ่งจัดทำบนฐานข้อมูลใหม่กับการประมาณการครั้งก่อนซึ่งจัดทำบนฐานข้อมูลเก่าไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้โดยตรง สศช. จึงไม่ได้แสดงรายละเอียดการประมาณการครั้งที่ผ่านมาไว้ในรายงานการแถลงข่าวฉบับนี้
- องค์ประกอบการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
1) การใช้จ่ายเพื่อการบริโภค การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.3 เร่งขึ้นอย่างชัดเจนจากการขยายตัวร้อยละ 0.6 ในปี 2557 แต่ต่ำกว่าการประมาณการในครั้งก่อนหน้า เนื่องจากการปรับลดการขยายตัวของการส่งออกและราคาสินค้าเกษตรสำคัญๆ ยังลดลงจากปีที่ผ่านมาซึ่งทำให้ฐานรายได้ที่สำคัญของประชาชนฟื้นตัวได้ช้า อย่างไรก็ตาม การลดลงของราคาน้ำมัน การขยายตัวดีขึ้นของการผลิตภาคอุตสาหกรรม และการขยายตัวในเกณฑ์สูงของรายได้จากการท่องเที่ยว รวมทั้งการดำเนินมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรของภาครัฐ ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.7 ในปี 2557 ตามการเบิกจ่ายที่ปรับตัวดีขึ้น
2) การลงทุนรวม คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ6.2 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 2.6 ในปี 2557 โดยการลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 เร่งขึ้นจากการหดตัวร้อยละ 2.0 แต่ต่ำกว่าการประมาณการครั้งก่อนหน้าตามการปรับลดประมาณการการขยายตัวของการส่งออกและเศรษฐกิจในภาพรวม ในขณะที่การลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 15.8 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 4.9 ในปี 2557 และเป็นการปรับเพิ่มจากการประมาณการครั้งก่อน ตามการขยายตัวที่สูงกว่าการคาดการณ์ในไตรมาสแรกและเนื่องจากมีการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมโดยการอนุมัติโครงการเงินกู้เพื่อการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนน ระยะเร่งด่วน ภายในกรอบวงเงินกู้ 78,294.85 ล้านบาท (มติ ครม. วันที่ 17 มีนาคม 2558) และปรับเพิ่มประมาณการการเบิกจ่ายงบประมาณในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2559 ให้สอดคล้องกับกรอบวงเงินงบประมาณ
3) มูลค่าการส่งออกสินค้าคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.2 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 0.3 ในปี 2557 และปรับลดลงจากการประมาณการครั้งก่อน โดยมีสาเหตุจาก (1) การปรับลดประมาณการการขยายตัวของปริมาณการส่งออกจากร้อยละ 3.5 เป็นร้อยละ 1.2 ตามการปรับลดสมมติฐานด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก รวมทั้งการส่งออกในไตรมาสแรกซึ่งลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ และ (2) การปรับลดสมมติฐานด้านราคาสินค้าส่งออกจากร้อยละ (-0.5) - 0.5 เป็นการลดลงร้อยละ (-1.5) - (-0.5) อย่างไรก็ตามปริมาณการส่งออกบริการขยายตัวสูงกว่าการประมาณการครั้งที่ผ่านมาตามการปรับเพิ่มสมมติฐานด้านการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยว
4) มูลค่าการนำเข้าสินค้าลดลงร้อยละ 0.8 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 8.5 ในปี 2557 ซึ่งเป็นการปรับลดจากการประมาณการครั้งที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุมาจาก (1) การปรับลดประมาณการของปริมาณการนำเข้า จากร้อยละ 4.8 เป็นร้อยละ 3.2 ตามการปรับลดประมาณการการขยายตัวของการส่งออกและการปรับลดการขยายตัวของอุปสงค์ภาคเอกชนในประเทศ และ (2) การปรับลดสมมติฐานราคานำเข้าจากการลดลงร้อยละ (-3.5) - (-2.5) ในการประมาณการครั้งก่อนเป็นร้อยละ (-4.5) - (-3.5) ตามการลดลงของราคาน้ำมันและการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศสำคัญๆ ซึ่งทำให้ราคาสินค้านำเข้าลดลงเป็นวงกว้างกว่าที่คาดการณ์
5) ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด คาดว่าดุลการค้าจะเกินดุลประมาณ 26.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากการเกินดุล 24.6 พันล้านดอลาร์ สรอ. ในปี 2557 แต่ต่ำกว่าประมาณการการเกินดุลในครั้งก่อน เนื่องจากการปรับลดมูลค่าการส่งออกสินค้าที่มากกว่าการปรับลดมูลค่าการนำเข้า เมื่อรวมกับการปรับเพิ่มการเกินดุลบริการตามการปรับเพิ่มสมมติฐานจำนวนนักท่องเที่ยวส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 16.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือประมาณร้อยละ 3.9 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.3 ของ GDP ในปี 2557 (และต่ำกว่าประมาณการครั้งก่อนโดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการปรับเปลี่ยนฐานข้อมูล GDP ที่ทำให้มูลค่า GDP เพิ่มสูงขึ้นและการปรับลดมูลค่าการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในประมาณการครั้งนี้)
6) อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี คาดว่าจะอยู่ในช่วง (-0.3) - 0.7 ลดลงจากเฉลี่ยร้อยละ 1.9 ในปี 2557 และต่ำกว่าประมาณการครั้งก่อนเนื่องจากการปรับลดสมมติฐานราคานำเข้าและอุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัวต่ำกว่าประมาณการครั้งที่ผ่านมา
เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามลำดับโดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวเร่งขึ้นของการใช้จ่ายภาครัฐ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และการลดลงของราคาน้ำมันซึ่งช่วยเพิ่มอำนาจซื้อและเอื้ออำนวยต่อการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การลดลงของราคาสินค้าเกษตรและ การส่งออกยังเป็นข้อจำกัดที่ทำให้การขยายตัวในช่วงที่เหลือของปีต่ำกว่าศักยภาพ รวมทั้งทำให้ผลประโยชน์จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจกระจายตัวไม่ทั่วถึงทุกภาคส่วนของระบบเศรษฐกิจ
ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปีจึงควรให้ความสำคัญกับ การเร่งรัดแก้ไขปัญหาด้านการส่งออกและภาคเกษตรซึ่งจะต้องมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในเงื่อนไขเศรษฐกิจโลก การบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรและผู้ได้รับผลกระทบจากภาวะซบเซาของการส่งออก และการรักษาพลวัตรการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศโดยเฉพาะการเร่งรัดการใช้จ่ายและการดำเนินโครงการลงทุนที่สำคัญของภาครัฐ
1) การเร่งรัดแก้ไขปัญหาด้านการส่งออก การหดตัวอย่างต่อเนื่องของมูลค่าการส่งออกในช่วงปี 2555 - ไตรมาสแรกของปี 2558 มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงในช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2552 ที่สำคัญ 4 ประการ คือ (1) การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในเกณฑ์ต่ำอย่างต่อเนื่องทำให้ความต้องการและราคาสินค้าในตลาดโลกลดลง (2) การใช้มาตรการขยายปริมาณเงินของประเทศสำคัญๆ โดยเฉพาะสหรัฐฯ กลุ่มประเทศยูโรและญี่ปุ่นซึ่งส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าและกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของภาคการส่งออกทั้งของไทยและประเทศต่างๆ ในภูมิภาค (3) การเพิ่มขึ้นของต้นทุนโดยเฉพาะค่าแรง อย่างต่อเนื่องในประเทศไทยและประเทศต่างๆ ในภูมิภาค ในขณะที่ต้นทุนการผลิตในประเทศคู่ค้าและคู่แข่งเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ เนื่องจากการว่างงานอยู่ในเกณฑ์สูง (4) การปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าและเพิ่มผลิตภาพการผลิตเป็นไปอย่างเชื่องช้า ในขณะที่การแข่งขันจากประเทศอื่นๆ เพิ่มสูงขึ้น
เงื่อนไขดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของการส่งออกทั้งในช่วงที่เหลือของปี 2558 และในระยะยาว ดังนั้น การแก้ไขปัญหาระยะยาวจะต้องปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่า ผลิตภาพการผลิต และเพิ่มสัดส่วนอุตสาหกรรมและบริการในยุคที่สาม ส่วนการดำเนินการในระยะสั้นควรให้ความสำคัญกับ
(1) การดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเร็วกว่าประเทศคู่แข่งและเคลื่อนไหวสอดคล้องกับระดับการพัฒนาประเทศและความจำเป็นในการพึ่งพาภาคการส่งออกของระบบเศรษฐกิจเพื่อมิให้การแข็งค่าของ เงินบาทเป็นข้อจำกัดในการแข่งขันด้านราคาและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
(2) การประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐและภาคเอกชนในการแสวงหาตลาดและเพิ่มปริมาณสินค้าส่งออกที่สำคัญๆ เพื่อมิให้ปริมาณการส่งออกลดลงและซ้ำเติม การลดลงของราคาส่งออกซึ่งจะทำให้มูลค่าและฐานรายได้จากการส่งออกหดตัวมากขึ้น
(3) การดูแลราคาสินค้าในกลุ่มที่เป็นวัตถุดิบนำเข้าสำคัญๆ ให้เคลื่อนไหวสอดคล้องกับการลดลงของราคาสินค้าในตลาดโลกและการอ่อนค่าของสกุลเงินในแหล่งนำเข้าสำคัญๆ เพื่อให้ต้นทุนการผลิตสามารถลดลงสอดคล้องกับการลดลงของราคาสินค้าส่งออกซึ่งจะช่วยรักษากำไรปกติและสภาพคล่องของผู้ประกอบการให้มีเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ซึ่งมิได้เป็นผู้นำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรอุปกรณ์ด้วยตนเอง
(4) การลดปัญหาอุปสรรคความล่าช้าและข้อจำกัดในกระบวนการการทำงานและระเบียบปฏิบัติของภาครัฐเพื่อลดต้นทุนทางธุรกรรมของผู้ส่งออก รวมทั้งการอำนวยความสะดวกด้านการค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะในแนวด่านชายแดนต่างๆ การเพิ่มขีดความสามารถของด่านศุลกากร และการเร่งรัดให้สามารถใช้ National Single Window ได้สมบูรณ์มากขึ้น
(5) การเร่งรัดแก้ปัญหาการค้าแรงงานข้ามชาติและปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมายเพื่อไม่ให้ ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการผลิตในภาคประมง
(6) การดำเนินนโยบายด้านค่าจ้างและเงินเดือนอย่างระมัดระวังเพื่อมิให้ค่าจ้างและเงินเดือนเพิ่มขึ้นเร็วกว่าผลิตภาพการผลิตและซ้ำเติมต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นในช่วงก่อนหน้า
2)การแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร การปรับตัวของเศรษฐกิจโลกและการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินสกุลหลักส่งผลให้วัฏจักรราคาสินค้าเกษตรและราคาสินค้าเกษตรปรับตัวเข้าสู่ขาลงอย่างต่อเนื่องหลังจากขึ้นสู่ช่วงสูงสุด (Peak) ในช่วงปี 2553-2554 แม้ว่าวัฏจักรขาลงดังกล่าวจะเริ่มเข้าสู่จุดต่ำสุดแล้วในปัจจุบัน แต่ยังไม่มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวและกลับเข้าสู่ราคาเฉลี่ยในช่วงปี 2554 ในขณะเดียวกันต้นทุนการผลิตภาคเกษตรซึ่งปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่วัฎจักรราคาสินค้าเกษตรปรับตัวเข้าสู่จุดสูงสุดยังไม่สามารถปรับตัวลดลง โดยสอดคล้องกับสถานการณ์ด้านราคา
ภายใต้แนวโน้มดังกล่าว การแก้ไขปัญหาในภาคการเกษตรในช่วงที่เหลือของปีจึงต้องให้ความสำคัญกับการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจสถานการณ์และเงื่อนไขทางด้านราคาเพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไขด้านราคาในตลาดโลกควบคู่ไปกับการดำเนินการเพื่อสนับสนุนการปรับตัวของการผลิตภาคเกษตร โดยเฉพาะ
(1) การดูแลต้นทุนวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีส่วนประกอบของปิโตรเคมีและราคาเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่นำเข้าจากประเทศที่ค่าเงินอ่อนค่า ให้เคลื่อนไหวสอดคล้องกับการลดลงของราคานำเข้าและการอ่อนค่าของสกุลเงินในแหล่งนำเข้าสำคัญๆ
(2) การเพิ่มผลิตภาพการผลิต โดยการส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรรายย่อยในลักษณะห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือสหกรณ์เพื่อให้มีการประหยัดต่อขนาด ลดการทำงานต่ำระดับ และเพิ่มรายได้ของแรงงานในภาคเกษตร รวมถึงการจัดการให้สามารถใช้เครื่องจักรกลการเกษตร พันธ์พืชและวัตถุดิบที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม
(3) การส่งเสริมการทำสัญญาเช่าที่ดินทางการเกษตรในลักษณะแบ่งปันผลประโยชน์ มาใช้แทนการทำสัญญาเช่าในลักษณะเหมาจ่ายซึ่งจะทำให้ต้นทุนค่าเช่าที่ดินปรับตัวสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของราคาผลผลิต
(4) การสนับสนุนการส่งเสริมอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือนในภาคเกษตร และการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานในภาคเกษตรเพื่อการปรับเปลี่ยนอาชีพและการทำงานนอกฤดูกาลเพาะปลูก
3)การบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรและผู้ได้รับผลกระทบจากภาวะซบเซาของการส่งออก โดย
(1) การเร่งรัดจัดทำทะเบียนบุคคลที่สามารถจำแนกตามฐานรายได้ กลุ่มอาชีพและกลุ่มพืชผล เพื่อประโยชน์ในการจัดทำมาตรการสนับสนุนตามรายกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติม
(2) การดำเนินมาตรการดูแลธุรกิจ SMEs และการแก้ปัญหาหนี้ประชาชน โดยเฉพาะหนี้สินเกษตรกรรายย่อยและหนี้นอกระบบของประชาชนผู้มีรายได้น้อย
(3) การเร่งรัดและติดตามความคืบหน้าของมาตรการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะมาตรการสินเชื่อที่ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วแต่ยังมีวงเงินเหลืออยู่ ซึ่งจะต้องเตรียมการให้มีความพร้อมที่จะดำเนินการต่อในช่วงฤดูกาลเพาะปลูกที่กำลังจะมาถึง
(4) การเร่งรัดดำเนินการตามโครงการสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งในพื้นที่แล้งซ้ำซาก ซึ่งรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ภัยแล้ง ตำบลละไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 3,051 ตำบล เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2558
4)การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการดำเนินการตามโครงการลงทุนที่สำคัญๆของภาครัฐ เพื่อสนับสนุนให้อุปสงค์ภายในประเทศสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและสร้างความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ ประกอบด้วย
(1) การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำ รายจ่ายลงทุน และงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้สามารถเบิกจ่ายได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 98.0 70.0 และร้อยละ 75.0 ตามลำดับ
(2) การจัดเตรียมงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2559 ให้มีความพร้อมและสามารถเร่งรัดการเบิกจ่ายได้ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2559 โดยมีอัตราการเบิกจ่ายงบรายจ่ายประจำและงบลงทุน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 34.5 และร้อยละ 15.0 ตามลำดับ
(3) การเร่งรัดโครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนน ระยะเร่งด่วน: มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 วงเงินรวม 78,294.85 ล้านบาท ให้สามารถเริ่มดำเนินการและมีการเบิกจ่ายงบประมาณได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50.0
(4) การเร่งรัดดำเนินการตามแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาพื้นที่ที่สำคัญ ที่เริ่มมีความคืบหน้ามากขึ้นตามลำดับอย่างต่อเนื่องและรายงานความคืบหน้าของการดำเนินการดังกล่าวแก่สาธารณชน เพื่อสร้างความมั่นใจและกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน โดยเฉพาะการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โครงการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ โครงการพัฒนาระบบรถไฟรางมาตรฐานร่วมกับประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐประชาชนจีน การพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน และการร่วมมือกับประเทศเมียนมาในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย
สศช. ได้ริเริ่มโครงการปรับปรุงวิธีการประมวลผลรายได้ประชาชาติมาตั้งแต่ปี 2548 โดยปรับปรุงทั้งด้านการเพิ่มเติมความครอบคลุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์มากขึ้น การปรับปรุงเครื่องชี้วัด และการเปลี่ยนวิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติที่แท้จริง จากวิธีปีฐานคงที่ซึ่งใช้ราคาปี 2531 เป็นปีฐานในอนุกรมเก่า เป็นการวัดแบบปริมาณลูกโซ่ (Chain Volume Measures: CVM) ในอนุกรมใหม่ซึ่งเป็นการปรับปรุงภายใต้กรอบแนวคิดการจัดทำรายได้ประชาชาติรายไตรมาส แบบปริมาณลูกโซ่ ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (Quarterly National Accounts Manual: Concepts, Data Sources, and Compilation IMF, 2001) รวมทั้งได้เผยแพร่อนุกรมใหม่ที่เป็นข้อมูลรายปี ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 และในไตรมาสนี้ สศช. ได้เผยแพร่อนุกรมผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศแบบปริมาณลูกโซ่รายไตรมาสเป็นครั้งแรก
1. มูลค่า GDP ของไทย ณ ราคาประจำปีล่าสุดปี 2557 เพิ่มขึ้นจาก 12,141 พันล้านบาท (373.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) ในอนุกรมเดิมเป็น 13,149 พันล้านบาท (404.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) ในอนุกรมใหม่และส่งผลให้รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นจาก 176,958 บาท (5,445 ดอลลาร์ สรอ.) ต่อคนต่อปีในอนุกรมเดิมเป็น 196,239 บาท (6,038 ดอลลาร์ สรอ.) ต่อคนต่อปี
2. การเพิ่มขึ้นของมูลค่า GDP ของไทย ณ ราคาประจำปีดังกล่าว ทำให้เครื่องชี้วัดที่ใช้วิธีการเทียบเป็นสัดส่วนต่อ GDP ทั้งหมดมีค่าสัดส่วนที่ต่ำลง เช่น สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ซึ่งข้อมูลล่าสุด ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2558 มีค่าลดลงจากร้อยละ 46.3 ของ GDP ในอนุกรมเดิมเป็นร้อยละ 42.8 ของ GDP ในอนุกรมใหม่ ในขณะที่สัดส่วนหนี้สินภาคครัวเรือนต่อ GDP ล่าสุด ณ สิ้นปี 2557 มีค่าลดลงจากร้อยละ 85.9 ของ GDP ในอนุกรมเดิมเป็นร้อยละ 79.4 ของ GDP ในอนุกรมใหม่ รวมทั้งฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดล่าสุดในปี 2557 มีค่าลดลงจากร้อยละ 3.5 ของ GDP ในอนุกรมเดิมเป็นร้อยละ 3.3 ของ GDP ในอนุกรมใหม่
3. สัดส่วนขององค์ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจเมื่อคิดเทียบต่อ GDP เปลี่ยนแปลงไปทั้งในข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ณ ราคาประจำปี และในข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศแบบปริมาณลูกโซ่ โดยในข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศแบบปริมาณลูกโซ่ด้านการใช้จ่าย พบว่า สัดส่วนการใช้จ่ายภาครัฐ การลงทุนรวมต่อ GDP เพิ่มขึ้น ในขณะที่สัดส่วนของการส่งออกสินค้าและบริการเพิ่ม แต่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนของการนำเข้าสินค้าและบริการ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลสัดส่วนความสำคัญขององค์ประกอบ GDP ต่อ GDP ในอนุกรมใหม่ต้องตีความด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากการใช้วิธีการวัดแบบ CVM ทำให้อนุกรมใหม่ขาดคุณสมบัติทางด้านการบวก (Non-additive property) นั่นคือผลรวมของการบวกมูลค่าองค์ประกอบสาขาต่างๆ ของ GDP จะไม่เท่ากับมูลค่า GDP
4. ขนาดของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในแต่ละปีมีความแตกต่างกันระหว่างอนุกรมใหม่และอนุกรมเดิม โดยมีค่าสูงสุด (Max) และต่ำสุด (Min) ของความแตกต่างในอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจรายปีเท่ากับ 1.4 และ -2.9 ตามลำดับ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของความแตกต่างของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจรายปีเท่ากับ -0.1 นอกจากนั้น ทิศทางการเคลื่อนไหวในลักษณะของคลื่นวัฏจักรเศรษฐกิจในอนุกรมใหม่กับอนุกรมเก่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ นั่นคือยังคงแสดงถึงความเคลื่อนไหวในลักษณะของคลื่นวัฏจักรเศรษฐกิจเดิม
5. ข้อมูลการประมาณการที่ยืนอยู่บนฐานอนุกรมใหม่กับอนุกรมเก่าไม่สามารถใช้เปรียบเทียบกันได้โดยตรง เนื่องจาก (1) การเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนความสำคัญในองค์ประกอบของ GDP ทำให้น้ำหนักผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของ GDP ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจมีความแตกต่างกัน (2) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในแต่ละไตรมาสและแต่ละปีมีความแตกต่างกันทำให้ผลการประมาณการมีความแตกต่างกัน นอกจากนั้น การขาดคุณสมบัติการบวก (Non-additive property) ยังมีนัยสำคัญต่อการใช้แบบจำลองบางประเภทที่ต้องอาศัยคุณสมบัติการบวกในการประมาณการ รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการคำนวณที่มาของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Source of Growth)
รายละเอียด http://www.nesdb.go.th/Portals/0/eco_datas/account/qgdp/CVM/00_QGDP-CVMBook.pdf
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2558 1/
ข้อมูลจริง ประมาณการ ปี 2556 ปี 2557 18 พ.ค. 58 GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 12,910.0 13,148.6 13,635.1 รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี) 193,394.6 196,239.5 202,794.6 GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 420.1 404.8 410.7 รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี) 6293.0 6041.1 6108.3 อัตราการขยายตัวของ GDP (CVM, %) 2.8 0.9 3.0-4.0 การลงทุนรวม (CVM, %) -0.8 -2.6 6.2 ภาคเอกชน (CVM, %) -0.8 -2.0 3.8 ภาครัฐ (CVM, %) -1.0 -4.9 15.8 การบริโภคภาคเอกชน (CVM, %) 0.8 0.6 2.3 การบริโภคภาครัฐบาล (CVM, %) 4.7 1.7 3.8 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 2.8 0.0 3.7 มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 225.4 224.8 225.2 อัตราการขยายตัว (มูลค่า, %) 2/ -0.1 -0.3 0.2 อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 2/ 0.2 0.7 1.2 ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 1.4 -5.4 3.4 มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 218.7 200.2 198.6 อัตราการขยายตัว (มูลค่า, %) 2/ -0.2 -8.5 -0.8 อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 2/ 1.6 -6.8 3.2 ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 6.7 24.6 26.6 ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) -3.9 13.1 16.0 ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) -0.8 3.3 3.9 เงินเฟ้อ (%) ดัชนีราคาผู้บริโภค 2.2 1.9 (-0.3) - 0.7 GDP Deator 1.6 1.0 (-0.3) - 0.7 ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 18 พฤษภาคม 2558 หมายเหตุ: 1/เป็นข้อมูลที่คำนวณบนฐานบัญชีประชาชาติอนุกรมใหม่ ซึ่ง สศช. เผยแพร่ทาง www.nesdb.go.th
2/ตัวเลขการส่งออกและการนำเข้าเป็นไปตามฐานของธนาคารแห่งประเทศไทย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--