นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้กล่าวอภิปรายในการสัมมนา "วิกฤติเศรษฐกิจไทยกับการปรับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8" ว่า จากวิกฤติการณ์เศรษฐกิจในขณะนี้ นอกจากจะส่งผลให้มีความจำเป็นต้องปรับกรอบเศรษฐกิจมหภาครวมทั้งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ให้สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบันแล้ว ผลที่เกิดจากการปรับกรอบมหภาคใหม่ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาวะการว่างงาน ภาวะความยากจนของคนในประเทศและผลกระทบต่อผู้ด้อยโอกาสในสังคม ดังนั้น จึงควรอาศัยวิกฤติการณ์นี้เป็นโอกาสในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบจากภาวะการว่างงานที่เพิ่มมากขึ้น
ผู้ทรงคุณวุฒิ สศช. กล่าวว่า มาตรการที่จะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าว อาทิ สนับสนุนกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาให้แก่บุตรหลานของผู้ตกงาน หรือได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้าง ได้รับบริการจากกองทุนฯ ซึ่งปัจจุบันยังมีเงินเหลืออยู่ประมาณ 300-400 ล้านบาท รวมทั้งสนับสนุนมาตรการด้านการจัดตั้งกองทุนด้านสังคม ที่จะมีส่วนช่วยเหลือหรือบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งไม่อยู่ภายใต้ระบบงบประมาณปกติ และสามารถให้ทุนกับชุมชน พัฒนาองค์กรเอกชน และสถาบันต่าง ๆ โดยตรง ตลอดจนสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดทำโครงการต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดผลทางด้านรายได้ การจ้างงาน หรือการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในระดับชุมชนและท้องถิ่น เป็นต้น
สำหรับการปรับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้กล่าวว่า นอกจากยังคงเน้นคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาแล้ว ยังจะได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการผลิตและปรับระบบการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยในส่วนของการปรับโครงสร้างการผลิตจะต้องปรับให้สอดคล้องกับสภาพการแข่งขันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และคาดการณ์ได้ยาก โดยมีแนวทางการปรับปรุงในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1) เปลี่ยนจากฐานการผลิตที่ใช้แรงงานไปสู่ฐานการผลิตที่ใช้ความรู้ ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มสูงกว่า
2) เน้นการผลิตที่พึ่งตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3) สนับสนุนภาคบริการและท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
4) เน้นความเป็นเลิศทางการผลิตด้านการเกษตร และส่งเสริมในส่วนที่มีศักยภาพ
5) ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่ม อุตสาหกรรมส่งออกที่มีศักยภาพสูง กลุ่มอุตสาหกรรมที่ส่งเสริมการจ้างงานและเสริมสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและชนบท เป็นต้น
นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ กล่าวด้วยว่า การปรับโครงสร้างการผลิตของประเทศให้เข็มแข็งและมีความสามารถในการแข่งขันกับโลกยุคใหม่นั้น จำเป็นต้องพัมนาคนและเทคโนโลยี อย่างถูกทิศทาง เพื่อให้การผลิตมีความได้เปรียบทั้งด้านราคาและคุณภาพ ตลอดจนมีความสอดคล้องกับเงื่อนไขและกติกาของการค้าโลก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีกองทุนพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันและกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตของประเทศ ซึ่งใช้เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจจากธนาคารโลก และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเซีย โดยมีลักษณะการดำเนินงานแบบบูรณาการโดยการร่วมลงทุนร่วมกับธุรกิจเอกชน หรือเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างเอกชนไทยกับเอกชนต่างชาติ เพื่อให้เป็นรากฐานในการพัฒนาระบบการผลิต การจัดการและการตลาด
ผู้ทรงคุณุฒิ สศช. กล่าวต่อไปว่า สำหรับการปรับระบบการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาประเทศให้มีผลปฏิบัติในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพโดยปรับจาก Top-Down เป็นการมีส่วนร่วมที่ก่อให้เกิดภาคีการพัฒนาจากหลาย ๆ ฝ่าย ตลอดจนทบทนบทบาทภาครัฐมีดังนี้
1. ปฏิรูปบทบาทของภาครัฐให้เล็กลงและเน้นบทบาทการเป็นผู้จัดระบบข้อมูล ดูแล ระวังภัย กระตุ้นส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของภาคอื่น ๆ ในสังคมให้เกิดการผนึกกำลังไปสู่ทิศทางเดียวกัน
2. เพิ่มบทบาทของสังคมและประชาคมในการมีส่วนร่วมมากขึ้น ตลอดจนพยายามสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคมเพื่อก่อให้เกิดการคิดแผนงานร่วมกันโดยยึดพื้นที่เป็นหลัก และใช้แผนงานมากำหนดเครือข่ายการทำงาน เพื่อเป็นการลดการใช้ทรัพยากร
3. ปฏิรูประบบราชการให้เอื้อต่อการดำเนินงานกับภาคี การพัฒนาต่าง ๆ ในด้านการลดขั้นตอนการทำงานการสร้างภาพในการประสานงานกับเครือข่ายการพัฒนาต่าง ๆ ในระดับพื้นที่ รวมทั้งพัฒนาข้าราชการให้มีภาวะผู้นำที่สมบูรณ์และมีวิสัยทัศน์กว้างไกล
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1/มกราคม 2541--
ผู้ทรงคุณวุฒิ สศช. กล่าวว่า มาตรการที่จะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าว อาทิ สนับสนุนกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาให้แก่บุตรหลานของผู้ตกงาน หรือได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้าง ได้รับบริการจากกองทุนฯ ซึ่งปัจจุบันยังมีเงินเหลืออยู่ประมาณ 300-400 ล้านบาท รวมทั้งสนับสนุนมาตรการด้านการจัดตั้งกองทุนด้านสังคม ที่จะมีส่วนช่วยเหลือหรือบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งไม่อยู่ภายใต้ระบบงบประมาณปกติ และสามารถให้ทุนกับชุมชน พัฒนาองค์กรเอกชน และสถาบันต่าง ๆ โดยตรง ตลอดจนสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดทำโครงการต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดผลทางด้านรายได้ การจ้างงาน หรือการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในระดับชุมชนและท้องถิ่น เป็นต้น
สำหรับการปรับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้กล่าวว่า นอกจากยังคงเน้นคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาแล้ว ยังจะได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการผลิตและปรับระบบการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยในส่วนของการปรับโครงสร้างการผลิตจะต้องปรับให้สอดคล้องกับสภาพการแข่งขันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และคาดการณ์ได้ยาก โดยมีแนวทางการปรับปรุงในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1) เปลี่ยนจากฐานการผลิตที่ใช้แรงงานไปสู่ฐานการผลิตที่ใช้ความรู้ ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มสูงกว่า
2) เน้นการผลิตที่พึ่งตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3) สนับสนุนภาคบริการและท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
4) เน้นความเป็นเลิศทางการผลิตด้านการเกษตร และส่งเสริมในส่วนที่มีศักยภาพ
5) ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่ม อุตสาหกรรมส่งออกที่มีศักยภาพสูง กลุ่มอุตสาหกรรมที่ส่งเสริมการจ้างงานและเสริมสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและชนบท เป็นต้น
นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ กล่าวด้วยว่า การปรับโครงสร้างการผลิตของประเทศให้เข็มแข็งและมีความสามารถในการแข่งขันกับโลกยุคใหม่นั้น จำเป็นต้องพัมนาคนและเทคโนโลยี อย่างถูกทิศทาง เพื่อให้การผลิตมีความได้เปรียบทั้งด้านราคาและคุณภาพ ตลอดจนมีความสอดคล้องกับเงื่อนไขและกติกาของการค้าโลก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีกองทุนพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันและกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตของประเทศ ซึ่งใช้เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจจากธนาคารโลก และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเซีย โดยมีลักษณะการดำเนินงานแบบบูรณาการโดยการร่วมลงทุนร่วมกับธุรกิจเอกชน หรือเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างเอกชนไทยกับเอกชนต่างชาติ เพื่อให้เป็นรากฐานในการพัฒนาระบบการผลิต การจัดการและการตลาด
ผู้ทรงคุณุฒิ สศช. กล่าวต่อไปว่า สำหรับการปรับระบบการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาประเทศให้มีผลปฏิบัติในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพโดยปรับจาก Top-Down เป็นการมีส่วนร่วมที่ก่อให้เกิดภาคีการพัฒนาจากหลาย ๆ ฝ่าย ตลอดจนทบทนบทบาทภาครัฐมีดังนี้
1. ปฏิรูปบทบาทของภาครัฐให้เล็กลงและเน้นบทบาทการเป็นผู้จัดระบบข้อมูล ดูแล ระวังภัย กระตุ้นส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของภาคอื่น ๆ ในสังคมให้เกิดการผนึกกำลังไปสู่ทิศทางเดียวกัน
2. เพิ่มบทบาทของสังคมและประชาคมในการมีส่วนร่วมมากขึ้น ตลอดจนพยายามสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคมเพื่อก่อให้เกิดการคิดแผนงานร่วมกันโดยยึดพื้นที่เป็นหลัก และใช้แผนงานมากำหนดเครือข่ายการทำงาน เพื่อเป็นการลดการใช้ทรัพยากร
3. ปฏิรูประบบราชการให้เอื้อต่อการดำเนินงานกับภาคี การพัฒนาต่าง ๆ ในด้านการลดขั้นตอนการทำงานการสร้างภาพในการประสานงานกับเครือข่ายการพัฒนาต่าง ๆ ในระดับพื้นที่ รวมทั้งพัฒนาข้าราชการให้มีภาวะผู้นำที่สมบูรณ์และมีวิสัยทัศน์กว้างไกล
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1/มกราคม 2541--