เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้รับเชิญเข้าร่วมอภิปรายในงาน "ประชาพิจารณ์" ในหัวข้อเรื่อง "หนองงูเห่า ควรสร้างหรือไม่ควรสร้าง" ซึ่งจัดโดยคณะกรรมาธิการคมนาคม ณ โรงแรมเซ็นทรัลพลาซ่า กรุงเทพมหานคร
รองเลขาธิการฯ ได้กล่าวว่า จากสภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยมีความเหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ดีท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) มีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้ 25 ล้านคนต่อปี และรองรับปริมาณสินค้าได้1ล้านตันต่อปี ในขณะที่ปัจจุบันมีผู้โดยสารประมาณ 17 ล้านคนต่อปี และจากการประมาณการว่าในปี พ.ศ.2543 จะมีผู้โดยสารใช้บริการถึง 35 ล้านคนต่อปี จึงได้มีการศึกษาเปรียบเทียบพื้นที่ที่เหมาะสมบริเวณรอบกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 15 แห่งเพื่อก่อสร้างท่าอากาศยานสากลแห่งที่ 2 ซึ่งผลการศึกษาสรุปได้ว่าพื้นที่บริเวณหนองงูเห่ามีความเหมาะสมมากที่สุด
ด้วยเหตุผล และความจำเป็นดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจึงได้พิจารณาอนุมัติเห็นชอบ ให้มีการก่อสร้างท่าอากาศยานสากลกรุงเทพฯแห่งที่2 ขึ้น เพื่อจัดบริการให้เพียงพอกับความต้องการทั้งนี้โครงการท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งที่ 2 (หนองงูเห่า) ในระยะแรกมีเป้าหมายดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในปี 2543 และมีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 30 ล้านคนต่อปี และรองรับสินค้าได้ประมาณ 1.43 ล้านตันต่อปี
รองเลขาธิการฯกล่าวต่อไปว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่2(สกท.)อยู่ภายใต้การดูแลของสศช.ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 พ.ศ. 2535 เพื่อทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งที่2 (กทก.) นอกจากนี้ กทก.ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น 5 อนุกรรมการ เพื่อกำกับดูแลงานโครงการในด้านต่าง ๆประกอบด้วย
- คณะอนุกรรมการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 (หนองงูเห่า) โดยมีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานทำหน้าที่กำกับ ดูแล การก่อสร้างภายในสนามบิน และรายงานผลการปฏิบัติงานต่อกทก.
-คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบบริการพื้นฐาน สำหรับรองรับเชื่อมต่อกับท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 (หนองงูเห่า) โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธาน ทำหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานของบริษัทที่ปรึกษา และประสานการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบบริการพื้นฐาน โดยรอบท่าอากาศยานฯ
-คณะอนุกรรมการประสานการโยกย้ายราษฎร และกำหนดเขตเวนคืนที่ดินเพิ่มเติมเพื่อการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 (หนองงูเห่า) และโครงข่ายบริการพื้นฐาน โดยมีอธิบดีกรมการบินพาณิชย์ เป็นประธาน ทำหน้าที่กำหนดแนวทางและดำเนินการโยกย้ายราษฎรออกจากพื้นที่ก่อสร้างเพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ตามเป้าหมาย
-คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์การพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 (หนองงูเห่า) และโครงข่ายบริการพื้นฐานโดยมีผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นประธาน เพื่อทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์โครงการฯ และสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่
-คณะอนุกรรมการประสานแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 (หนองงูเห่า) และโครงข่ายบริการพื้นฐาน โดยมี ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน เพื่อกำกับการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการพิจารณาให้ข้อคิดเห็นผลดีและผลเสียของโครงการฯ
"สำหรับความก้าวหน้าของโครงการฯ ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการออกแบบรายละเอียด ได้แก่ การออกแบบระบบสาธารณูปโภคกลาง ระบบถนนภายในสนามบิน ทางวิ่ง ทางขับและลานจอดอากาศยานอาคารผู้โดยสาร สถานีแปลงไฟฟ้าย่อย ส่วนงานที่ออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว คือ งานออกแบบเตรียมพื้นที่ก่อสร้างงานทดสอบการปรับปรุงคุณภาพดินและงานที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างคือ งานก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วม ก่อสร้างเขื่อนคันดินด้านเหนือ และงานก่อสร้างถนนชั่วคราวทางเข้าพื้นที่ด้านใต้"
นอกจากนี้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อมจุฬาลงกรณ์ศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการศึกษา รองเลขาธิการฯกล่าวในที่สุด
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 / กุมภาพันธ์ 2539--
รองเลขาธิการฯ ได้กล่าวว่า จากสภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยมีความเหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ดีท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) มีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้ 25 ล้านคนต่อปี และรองรับปริมาณสินค้าได้1ล้านตันต่อปี ในขณะที่ปัจจุบันมีผู้โดยสารประมาณ 17 ล้านคนต่อปี และจากการประมาณการว่าในปี พ.ศ.2543 จะมีผู้โดยสารใช้บริการถึง 35 ล้านคนต่อปี จึงได้มีการศึกษาเปรียบเทียบพื้นที่ที่เหมาะสมบริเวณรอบกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 15 แห่งเพื่อก่อสร้างท่าอากาศยานสากลแห่งที่ 2 ซึ่งผลการศึกษาสรุปได้ว่าพื้นที่บริเวณหนองงูเห่ามีความเหมาะสมมากที่สุด
ด้วยเหตุผล และความจำเป็นดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจึงได้พิจารณาอนุมัติเห็นชอบ ให้มีการก่อสร้างท่าอากาศยานสากลกรุงเทพฯแห่งที่2 ขึ้น เพื่อจัดบริการให้เพียงพอกับความต้องการทั้งนี้โครงการท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งที่ 2 (หนองงูเห่า) ในระยะแรกมีเป้าหมายดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในปี 2543 และมีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 30 ล้านคนต่อปี และรองรับสินค้าได้ประมาณ 1.43 ล้านตันต่อปี
รองเลขาธิการฯกล่าวต่อไปว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่2(สกท.)อยู่ภายใต้การดูแลของสศช.ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 พ.ศ. 2535 เพื่อทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งที่2 (กทก.) นอกจากนี้ กทก.ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น 5 อนุกรรมการ เพื่อกำกับดูแลงานโครงการในด้านต่าง ๆประกอบด้วย
- คณะอนุกรรมการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 (หนองงูเห่า) โดยมีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานทำหน้าที่กำกับ ดูแล การก่อสร้างภายในสนามบิน และรายงานผลการปฏิบัติงานต่อกทก.
-คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบบริการพื้นฐาน สำหรับรองรับเชื่อมต่อกับท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 (หนองงูเห่า) โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธาน ทำหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานของบริษัทที่ปรึกษา และประสานการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบบริการพื้นฐาน โดยรอบท่าอากาศยานฯ
-คณะอนุกรรมการประสานการโยกย้ายราษฎร และกำหนดเขตเวนคืนที่ดินเพิ่มเติมเพื่อการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 (หนองงูเห่า) และโครงข่ายบริการพื้นฐาน โดยมีอธิบดีกรมการบินพาณิชย์ เป็นประธาน ทำหน้าที่กำหนดแนวทางและดำเนินการโยกย้ายราษฎรออกจากพื้นที่ก่อสร้างเพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ตามเป้าหมาย
-คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์การพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 (หนองงูเห่า) และโครงข่ายบริการพื้นฐานโดยมีผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นประธาน เพื่อทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์โครงการฯ และสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่
-คณะอนุกรรมการประสานแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 (หนองงูเห่า) และโครงข่ายบริการพื้นฐาน โดยมี ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน เพื่อกำกับการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการพิจารณาให้ข้อคิดเห็นผลดีและผลเสียของโครงการฯ
"สำหรับความก้าวหน้าของโครงการฯ ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการออกแบบรายละเอียด ได้แก่ การออกแบบระบบสาธารณูปโภคกลาง ระบบถนนภายในสนามบิน ทางวิ่ง ทางขับและลานจอดอากาศยานอาคารผู้โดยสาร สถานีแปลงไฟฟ้าย่อย ส่วนงานที่ออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว คือ งานออกแบบเตรียมพื้นที่ก่อสร้างงานทดสอบการปรับปรุงคุณภาพดินและงานที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างคือ งานก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วม ก่อสร้างเขื่อนคันดินด้านเหนือ และงานก่อสร้างถนนชั่วคราวทางเข้าพื้นที่ด้านใต้"
นอกจากนี้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อมจุฬาลงกรณ์ศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการศึกษา รองเลขาธิการฯกล่าวในที่สุด
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 / กุมภาพันธ์ 2539--