เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2540 นายพายัพ พยอมยนต์ ที่ปรึกษา ด้านนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปแก่เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากประเทศอินเดีย จำนวน 20 คน นำโดย Mr. V. Lakshmi Ratan, Additional Secretary (S&V), Department of Personnel & Training ในเรื่อง "National Policy and Economic Development" ตามที่สำนักงาน ก.พ. ได้ขอความร่วมมือจากสำนักงานฯ
นายพายัพ พยอมยนต์ ได้กล่าวต้อนรับและบรรยายสรุปตอนหนึ่งว่า นับตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ในปี 2540 จนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ซึ่งได้สิ้นสุดลงในปี 2539 นั้น การพัฒนาประเทศได้มุ่งเน้นที่การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยมีเครื่องชี้วัดจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและผลผลิตรวมของประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจในลักษณะนี้อาศัยความได้เปรียบจากการมีแรงงานราคาถูกและทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ในช่วงที่ผ่านมาผลของการพัฒนาดังกล่าวทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยถึงร้อยละ 7.5 ต่อปี รายได้ต่อหัวเพิ่มจาก 2,100 บาทต่อปี ในปี 2504 เป็น 77,000 บาทต่อปี ในปี 2539 ซึ่งทำให้ประเทศไทยพ้นจากการเป็นประเทศยากจนกลายเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางที่มีฐานะการเงินและการคลังที่มั่นคง
อย่างไรก็ตาม จากผลของการพัฒนาประเทศในช่วง 35 ปี ที่ผ่านมา ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติได้เสื่อมโทรมลงมาก พื้นที่ป่าไม้ลดลงจาก 109.5 ล้านไร่ ในปี 2521 เหลือเพียงประมาณ 85 ล้านไร่ ในปี 2537 ในขณะเดียวกันสังคมไทยมีความสับสนวุ่นวายมากขึ้นตามกระแสวัฒนธรรมการบริโภคนิยมและวัตถุนิยมที่เกิดจากกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจ ครอบครัวไทยเริ่มขาดความอบอุ่น แม้เศรษฐกิจของครอบครัวจะดีขึ้น ด้านการกระจายรายได้ก็ยังไม่ทั่วถึง ดังจะเห็นได้จากสัดส่วนของกลุ่มคนที่มีรายได้สูงสุดร้อยละ 20 หลังถึง 16 เท่าในปี 2535
นายพายัพ พยอมยนต์ ได้กล่าวต่อไปว่า การพัฒนาที่ผ่านมาสามารถสรุปได้ว่า เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน ซึ่งจากการระดมความคิดจากคนทุกสาขาอาชีพ เพื่อการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 นั้น ได้กำหนดวิสัยทัศน์ของการพัฒนาขึ้นเพื่อสร้างสังคมและคนที่พึงปรารถนาในอนาคตไว้ดังนี้ 1) เป็นสังคมที่มีสมรรถภาพ มีเสรีภาพ มีความยุติธรรม มีความเมตตากรุณาและเคารพในสิทธิมนุษยชน 2) เป็นสังคมที่คนมีความสุขครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง คนมีความรู้ รู้จักตนเอง และทันโลก 3) เป็นสังคมที่สันติ ไม่มีความขัดแย้งรุนแรง ประเทศชาติมีความมั่นคง 4) เป็นสังคมที่มีการพัฒนาอย่างสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
วิสัยทัศน์ดังกล่าว ทำให้การพัฒนาประเทศจำต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดจากเดิมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ มาเป็นการพัฒนาเพื่อให้คนมีศักยภาพสมบูรณ์ทุกด้าน และให้การพัฒนามีความสมดุลในทุก ๆ ด้าน ฉะนั้น ตามวิสัยทัศน์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 คนทุกคนจะได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ตามศักยภาพของตน มีสุขภาพแข็งแรง สามารถใช้สติปัญญาเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมได้ มีจิตใจที่มั่นคง มีศีลธรรม จริยธรรม มีความสุขและมีความสามารถและโอกาสในการประกอบอาชีพ
ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน ได้กล่าวสรุปในตอนท้ายว่าแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ซึ่งเป็นแผนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้เน้นการพัฒนาคนเป็นหลัก โดยให้การพัฒนาเป็นของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน โดยมุ่งหวังให้คนทุกคนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ และพัฒนาสภาพแวดล้อมทั้งหลายให้เอื้อต่อการพัฒนา โดยที่การพัฒนาเป็นของประชาชนนั้นต้องพัฒนาความสามารถของคนควบคู่กับการเสริมสร้างโอกาสและบริการที่ประชาชนมีสิทธิและสามารถเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกัน ส่วนในการพัฒนาโดยประชาชนนั้น คนจะต้องมีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็น ตัดสินใจ และเข้าร่วมดำเนินการควบคู่กับการเสริมสร้างการปกครองที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง และการพัฒนาเพื่อประชาชนนั้น ก็คือความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนเป็นจุดหมายสำคัญของการพัฒนา ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่น
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 2/กุมภาพันธ์ 2540--
นายพายัพ พยอมยนต์ ได้กล่าวต้อนรับและบรรยายสรุปตอนหนึ่งว่า นับตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ในปี 2540 จนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ซึ่งได้สิ้นสุดลงในปี 2539 นั้น การพัฒนาประเทศได้มุ่งเน้นที่การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยมีเครื่องชี้วัดจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและผลผลิตรวมของประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจในลักษณะนี้อาศัยความได้เปรียบจากการมีแรงงานราคาถูกและทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ในช่วงที่ผ่านมาผลของการพัฒนาดังกล่าวทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยถึงร้อยละ 7.5 ต่อปี รายได้ต่อหัวเพิ่มจาก 2,100 บาทต่อปี ในปี 2504 เป็น 77,000 บาทต่อปี ในปี 2539 ซึ่งทำให้ประเทศไทยพ้นจากการเป็นประเทศยากจนกลายเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางที่มีฐานะการเงินและการคลังที่มั่นคง
อย่างไรก็ตาม จากผลของการพัฒนาประเทศในช่วง 35 ปี ที่ผ่านมา ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติได้เสื่อมโทรมลงมาก พื้นที่ป่าไม้ลดลงจาก 109.5 ล้านไร่ ในปี 2521 เหลือเพียงประมาณ 85 ล้านไร่ ในปี 2537 ในขณะเดียวกันสังคมไทยมีความสับสนวุ่นวายมากขึ้นตามกระแสวัฒนธรรมการบริโภคนิยมและวัตถุนิยมที่เกิดจากกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจ ครอบครัวไทยเริ่มขาดความอบอุ่น แม้เศรษฐกิจของครอบครัวจะดีขึ้น ด้านการกระจายรายได้ก็ยังไม่ทั่วถึง ดังจะเห็นได้จากสัดส่วนของกลุ่มคนที่มีรายได้สูงสุดร้อยละ 20 หลังถึง 16 เท่าในปี 2535
นายพายัพ พยอมยนต์ ได้กล่าวต่อไปว่า การพัฒนาที่ผ่านมาสามารถสรุปได้ว่า เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน ซึ่งจากการระดมความคิดจากคนทุกสาขาอาชีพ เพื่อการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 นั้น ได้กำหนดวิสัยทัศน์ของการพัฒนาขึ้นเพื่อสร้างสังคมและคนที่พึงปรารถนาในอนาคตไว้ดังนี้ 1) เป็นสังคมที่มีสมรรถภาพ มีเสรีภาพ มีความยุติธรรม มีความเมตตากรุณาและเคารพในสิทธิมนุษยชน 2) เป็นสังคมที่คนมีความสุขครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง คนมีความรู้ รู้จักตนเอง และทันโลก 3) เป็นสังคมที่สันติ ไม่มีความขัดแย้งรุนแรง ประเทศชาติมีความมั่นคง 4) เป็นสังคมที่มีการพัฒนาอย่างสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
วิสัยทัศน์ดังกล่าว ทำให้การพัฒนาประเทศจำต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดจากเดิมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ มาเป็นการพัฒนาเพื่อให้คนมีศักยภาพสมบูรณ์ทุกด้าน และให้การพัฒนามีความสมดุลในทุก ๆ ด้าน ฉะนั้น ตามวิสัยทัศน์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 คนทุกคนจะได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ตามศักยภาพของตน มีสุขภาพแข็งแรง สามารถใช้สติปัญญาเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมได้ มีจิตใจที่มั่นคง มีศีลธรรม จริยธรรม มีความสุขและมีความสามารถและโอกาสในการประกอบอาชีพ
ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน ได้กล่าวสรุปในตอนท้ายว่าแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ซึ่งเป็นแผนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้เน้นการพัฒนาคนเป็นหลัก โดยให้การพัฒนาเป็นของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน โดยมุ่งหวังให้คนทุกคนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ และพัฒนาสภาพแวดล้อมทั้งหลายให้เอื้อต่อการพัฒนา โดยที่การพัฒนาเป็นของประชาชนนั้นต้องพัฒนาความสามารถของคนควบคู่กับการเสริมสร้างโอกาสและบริการที่ประชาชนมีสิทธิและสามารถเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกัน ส่วนในการพัฒนาโดยประชาชนนั้น คนจะต้องมีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็น ตัดสินใจ และเข้าร่วมดำเนินการควบคู่กับการเสริมสร้างการปกครองที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง และการพัฒนาเพื่อประชาชนนั้น ก็คือความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนเป็นจุดหมายสำคัญของการพัฒนา ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่น
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 2/กุมภาพันธ์ 2540--