- สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัว เนื่องจากการเตรียมสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์เพื่อการปิดสำรองสภาพคล่องในวันศุกร์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยส่วนใหญ่ปิดตลาดสูงขึ้นเล็กน้อย
- มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นมาก อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ เป็นไปในทิศทางเดียวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ สหรัฐ ที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นส่วนใหญ่
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากการกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย และการคาดการณ์ในเชิงบวกต่อการปรับขึ้นค่าเงินหยวนของจีน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยบวกเพียงเล็กน้อยจากการปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 ตามการคาดการณ์ของตลาด
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งดำรงเงินสดสำรองไว้ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยก่อนการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันศุกร์ จึงมีความต้องการลงทุนลดลงและมีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นจากระดับเดียวกันที่ร้อยละ 2.21875 ในปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 2.21875 - 2.25 และร้อยละ 2.25 ต่อปี ตามลำดับในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังคงปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 2 - 2.25 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.22 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 30,500 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 และ 15 ปี วงเงินรวม 2,500 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนลดลงค่อนข้างมากโดยเฉพาะในพันธบัตรฯ อายุ 15 ปี และมีการประมูลพันธบัตร ธปท. อายุ 27 62 และ 364 วัน วงเงินรวม 27,000 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมากตอบรับข่าวการออก พันธบัตรธปท. อายุ 2 ปี วงเงิน 30,000 ล้านบาท สำหรับตั๋วเงินคลังได้ประมูลไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากสัปดาห์นี้มีวันหยุดธนาคาร 2 วัน นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตร
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน อายุ 5 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 70,593.41 ล้านบาท หรือเท่ากับ 23,531 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 82 โดยมีการซื้อขายที่เป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 73.6 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield)
ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-9 basis points เพิ่มขึ้นมากในวันจันทร์ ตามการเพิ่มขึ้นของ US Treasury ในวันศุกร์ที่ผ่านมา และส่วนหนึ่งคาดว่าเป็นการปรับตัวขึ้นหลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ
ไทยลดลงมากในสัปดาห์ก่อน สำหรับดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลลดลง 9 basis points หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นมากในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาตามการปรับลดลงของอัตราผลตอบแทน เนื่องจากการประกาศลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. ส่วนดัชนีราคาหุ้นกู้เอกชนปรับลดลง 11 basis points สำหรับตลาดพันธบัตรฯ สหรัฐ ถึงแม้จะมีข่าวการออกพันธบัตรฯ อายุ 30 ปีขึ้นอีกครั้ง หลังจากได้หยุดจำหน่ายไปเมื่อปี ค.ศ. 2001 แต่ไม่ได้ทำให้ US Treasury Yield ปรับตัวสูงขึ้นมากนัก แต่ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ประกาศในวันศุกร์ เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ Yield ปรับตัวสูงขึ้นในพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุ
อัตราแลกเปลี่ยน
สัปดาห์นี้มีวันทำการเพียง 3 วัน เงินบาทจึงเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 39.40 - 39.52 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.45 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนเล็กน้อยร้อยละ 0.1 โดยในวันอังคารซึ่งเป็นวันทำการแรกของสัปดาห์ เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากปลาย
สัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยและปริมาณซึ้อขายในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างเบาบางเนื่องจากนักลงทุนชะลอการลงทุนก่อนการประกาศผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ สำหรับในวันทำการที่
เหลือของสัปดาห์ เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย หลังจากที่มีการขายสุทธิเป็นจำนวนมากในเดือนเมษายน ตลอดจนการ
คาดการณ์การปรับขึ้นค่าเงินหยวนของจีนในระยะเวลาอันใกล้ ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนเงินภูมิภาคและเงินบาทให้แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักหลังจากการ
ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 ตามการคาดการณ์ของตลาด เนื่องจากในรายงานการประชุมของ Fed ระบุว่าแรงกดดันเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในระยะยาวยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ซึ่งส่งผลให้ตลาดคาดการณ์ว่า Fed อาจไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงในระยะต่อไป นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ สรอ. ยังถูกกดดันจากการปรับลดอันดับความน่าเชื่อของบริษัท General Motors และ Ford Motors จากสถาบันจัดอันดับ S&P ส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อย ทั้งนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่ชะลอการลงทุนลงในช่วงปลายสัปดาห์เพื่อรอฟังผลการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในเดือนเมษายน โดยตัวเลขการจ้างงานดังกล่าวที่ประกาศในวันศุกร์ที่ 6 พ.ค. ออกมาสูงกว่าการดาดการณ์ของตลาด ซึ่งคาดว่าจะเป็น
ปัจจัยสนับสนุนค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ในสัปดาห์หน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นมาก อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ เป็นไปในทิศทางเดียวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ สหรัฐ ที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นส่วนใหญ่
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากการกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย และการคาดการณ์ในเชิงบวกต่อการปรับขึ้นค่าเงินหยวนของจีน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยบวกเพียงเล็กน้อยจากการปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 ตามการคาดการณ์ของตลาด
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งดำรงเงินสดสำรองไว้ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยก่อนการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันศุกร์ จึงมีความต้องการลงทุนลดลงและมีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นจากระดับเดียวกันที่ร้อยละ 2.21875 ในปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 2.21875 - 2.25 และร้อยละ 2.25 ต่อปี ตามลำดับในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังคงปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 2 - 2.25 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.22 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 30,500 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 และ 15 ปี วงเงินรวม 2,500 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนลดลงค่อนข้างมากโดยเฉพาะในพันธบัตรฯ อายุ 15 ปี และมีการประมูลพันธบัตร ธปท. อายุ 27 62 และ 364 วัน วงเงินรวม 27,000 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมากตอบรับข่าวการออก พันธบัตรธปท. อายุ 2 ปี วงเงิน 30,000 ล้านบาท สำหรับตั๋วเงินคลังได้ประมูลไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากสัปดาห์นี้มีวันหยุดธนาคาร 2 วัน นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตร
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน อายุ 5 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 70,593.41 ล้านบาท หรือเท่ากับ 23,531 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 82 โดยมีการซื้อขายที่เป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 73.6 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield)
ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-9 basis points เพิ่มขึ้นมากในวันจันทร์ ตามการเพิ่มขึ้นของ US Treasury ในวันศุกร์ที่ผ่านมา และส่วนหนึ่งคาดว่าเป็นการปรับตัวขึ้นหลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ
ไทยลดลงมากในสัปดาห์ก่อน สำหรับดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลลดลง 9 basis points หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นมากในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาตามการปรับลดลงของอัตราผลตอบแทน เนื่องจากการประกาศลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. ส่วนดัชนีราคาหุ้นกู้เอกชนปรับลดลง 11 basis points สำหรับตลาดพันธบัตรฯ สหรัฐ ถึงแม้จะมีข่าวการออกพันธบัตรฯ อายุ 30 ปีขึ้นอีกครั้ง หลังจากได้หยุดจำหน่ายไปเมื่อปี ค.ศ. 2001 แต่ไม่ได้ทำให้ US Treasury Yield ปรับตัวสูงขึ้นมากนัก แต่ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ประกาศในวันศุกร์ เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ Yield ปรับตัวสูงขึ้นในพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุ
อัตราแลกเปลี่ยน
สัปดาห์นี้มีวันทำการเพียง 3 วัน เงินบาทจึงเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 39.40 - 39.52 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.45 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนเล็กน้อยร้อยละ 0.1 โดยในวันอังคารซึ่งเป็นวันทำการแรกของสัปดาห์ เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากปลาย
สัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยและปริมาณซึ้อขายในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างเบาบางเนื่องจากนักลงทุนชะลอการลงทุนก่อนการประกาศผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ สำหรับในวันทำการที่
เหลือของสัปดาห์ เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย หลังจากที่มีการขายสุทธิเป็นจำนวนมากในเดือนเมษายน ตลอดจนการ
คาดการณ์การปรับขึ้นค่าเงินหยวนของจีนในระยะเวลาอันใกล้ ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนเงินภูมิภาคและเงินบาทให้แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักหลังจากการ
ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 ตามการคาดการณ์ของตลาด เนื่องจากในรายงานการประชุมของ Fed ระบุว่าแรงกดดันเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในระยะยาวยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ซึ่งส่งผลให้ตลาดคาดการณ์ว่า Fed อาจไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงในระยะต่อไป นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ สรอ. ยังถูกกดดันจากการปรับลดอันดับความน่าเชื่อของบริษัท General Motors และ Ford Motors จากสถาบันจัดอันดับ S&P ส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อย ทั้งนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่ชะลอการลงทุนลงในช่วงปลายสัปดาห์เพื่อรอฟังผลการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในเดือนเมษายน โดยตัวเลขการจ้างงานดังกล่าวที่ประกาศในวันศุกร์ที่ 6 พ.ค. ออกมาสูงกว่าการดาดการณ์ของตลาด ซึ่งคาดว่าจะเป็น
ปัจจัยสนับสนุนค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ในสัปดาห์หน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-