เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2548 ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้แถลงตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนมิถุนายน 2548 โดยทำการสุ่มสำรวจจากประชาชน 2,236 คน พบว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยเดือนมิถุนายนอยู่ที่ระดับ 80.5 ต่ำสุดในรอบ 37 เดือน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำอยู่ที่ระดับ 79.6 และดัชนีเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 96 สาเหตุที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลง เป็นผลจากการปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลภายในประเทศ รวมถึงความกังวลในเรื่องการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และความมั่นใจในสถานการณ์ทางการเมือง
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นว่า การรายงานผลการสำรวจดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการประเมินภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งควรจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลการสำรวจเพิ่มเติมดังนี้
* การสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นการสำรวจทุกเดือน โดยการสุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไป โดยตั้งคำถาม (1) ความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจปัจจุบัน และ 6 เดือนข้างหน้า (2)ความเชื่อมั่นการมีรายได้จากการจ้างงานเพิ่มขึ้นในปัจจุบันและ 6 เดือนข้างหน้า และ (3) ความเชื่อมั่นที่จะจับจ่ายใช้สอยในปัจจุบันและ 6 เดือนข้างหน้า รวมทั้งมีคำถามเฉพาะ 4 เรื่องคือ (1) ความเหมาะสมในการซื้อรถยนต์ใหม่ (2) ความเหมาะสมในการซื้อบ้านใหม่ (3) ความเหมาะสมในการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว และ (4) ความเหมาะสมในการลงทุนใหม่ ซึ่งทั้งหมดดัชนีชี้ว่า ลดต่ำกว่าเดือนก่อนหน้านี้
* ผลการสำรวจชี้ว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นคือ (1) น้ำมัน ส่งผลต่อความกังวลต่อการบริโภค ซึ่งมีร้อยละ 60 ของผู้ตอบแบบสอบถาม (2) การปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ สศช. จากเดิมร้อยละ 5.5-6.5 เป็นร้อยละ 4.5-5.5 และ (3) ปัจจัยใหม่คือ เสถียรภาพของรัฐบาล
* ผลการสำรวจของมหาวิทยาลัยการค้าไทย เป็นการสำรวจประชาชนโดยการสุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตเมืองเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งดัชนีอาจจะสวนทางกับข้อมูลความเป็นจริงในหลายประการ และมิได้รวม ถึงการสุ่มตัวอย่างจากเกษตรหรือประชาชนที่เป็นกำลังซื้อในภาคชนบท ได้แก่ เกษตรกร ซึ่งข้อมูลเดือน พ.ค. ชี้ให้เห็นว่า ราคาสินค้าเกษตรยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 16.3 (แม้ปริมาณผลผลิตจะลดลงก็ตาม) ทำให้รายได้ในรูปตัวเงินของเกษตรกรเพิ่มขึ้น 6.7 และจะสะท้อนในรายจ่ายจับจ่ายซื้อสินค้า ซึ่งดัชนี การบริโภคของ ธปท. เดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ -0.7 ของเดือน เม.ย.
* ข้อมูลยอดขายรถยนต์รวมทุกยี่ห้อในเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.6 (63,421 คัน) เป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 เดือน แยกเป็นรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 (16,550 คัน) รถกระบะขนาด 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.6 (42,689 คัน) และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.1 (46,871 คัน) แสดงให้เห็นว่าตลาดรถยนต์ยังขยายตัวได้ดี ตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง แม้จะชะลอตัวก็ตาม
* ยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคยังคงจับจ่ายใช้สอยต่อเนื่อง
* ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต้องแยกแยะให้ชัดเจนว่า กระทบต่อรายจ่ายของประชาชนในส่วนไหน กล่าวคือ ปกติรายจ่ายจะแยกเป็น 2 ส่วนคือ รายจ่ายที่จำเป็นต่อการยังชีพ (Committed expenditure) เช่น อาหาร ยารักษาโรค เสื้อผ้า ค่าเดินทาง เป็นต้น และรายจ่ายเพื่อคุณภาพชีวิตหรือเพื่อความพึงพอใจส่วนตัว (Expenditure for quality of life) เช่น รายจ่ายเพื่อการบันเทิง รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคที่คงทนถาวร เช่น มือถือ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ รถยนต์ จักรยานยนต์ เป็นต้น ซึ่งหากพิจารณาจากตัวเลขต่าง ๆ แล้ว ส่วนที่กระทบคงจะเป็นค่าเดินทาง ซึ่งหากเป็นการเดินทางโดยระบบขนส่งมวลชนแล้ว รัฐบาลได้ตรึงราคาค่าโดยสารไว้ รวมทั้งค่ารักษาพยาบาลนั้น รัฐบาลก็ได้ขยายขอบเขตของโครงการ 30 บาท ซึ่งจะเป็นการลดรายจ่ายของประชาชน
* การสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นการสำรวจก่อนที่รัฐบาลจะออกมาตรการเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (หรือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ) เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ซึ่งแนวคิดของมาตรการคือ ต้องการลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ของประชาชน เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระในยามภาวะราคาน้ำมันแพง แม้ว่าจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการพยุงเศรษฐกิจ ก็แล้วแต่จะใช้คำ แต่ประเด็นสำคัญ คือ รัฐบาลต้องการให้ความมั่นใจว่า เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องอย่างน้อยร้อยละ 4.5-5.0 (Worse case คือร้อยละ 3.5-4.0)
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นว่า การรายงานผลการสำรวจดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการประเมินภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งควรจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลการสำรวจเพิ่มเติมดังนี้
* การสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นการสำรวจทุกเดือน โดยการสุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไป โดยตั้งคำถาม (1) ความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจปัจจุบัน และ 6 เดือนข้างหน้า (2)ความเชื่อมั่นการมีรายได้จากการจ้างงานเพิ่มขึ้นในปัจจุบันและ 6 เดือนข้างหน้า และ (3) ความเชื่อมั่นที่จะจับจ่ายใช้สอยในปัจจุบันและ 6 เดือนข้างหน้า รวมทั้งมีคำถามเฉพาะ 4 เรื่องคือ (1) ความเหมาะสมในการซื้อรถยนต์ใหม่ (2) ความเหมาะสมในการซื้อบ้านใหม่ (3) ความเหมาะสมในการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว และ (4) ความเหมาะสมในการลงทุนใหม่ ซึ่งทั้งหมดดัชนีชี้ว่า ลดต่ำกว่าเดือนก่อนหน้านี้
* ผลการสำรวจชี้ว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นคือ (1) น้ำมัน ส่งผลต่อความกังวลต่อการบริโภค ซึ่งมีร้อยละ 60 ของผู้ตอบแบบสอบถาม (2) การปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ สศช. จากเดิมร้อยละ 5.5-6.5 เป็นร้อยละ 4.5-5.5 และ (3) ปัจจัยใหม่คือ เสถียรภาพของรัฐบาล
* ผลการสำรวจของมหาวิทยาลัยการค้าไทย เป็นการสำรวจประชาชนโดยการสุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตเมืองเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งดัชนีอาจจะสวนทางกับข้อมูลความเป็นจริงในหลายประการ และมิได้รวม ถึงการสุ่มตัวอย่างจากเกษตรหรือประชาชนที่เป็นกำลังซื้อในภาคชนบท ได้แก่ เกษตรกร ซึ่งข้อมูลเดือน พ.ค. ชี้ให้เห็นว่า ราคาสินค้าเกษตรยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 16.3 (แม้ปริมาณผลผลิตจะลดลงก็ตาม) ทำให้รายได้ในรูปตัวเงินของเกษตรกรเพิ่มขึ้น 6.7 และจะสะท้อนในรายจ่ายจับจ่ายซื้อสินค้า ซึ่งดัชนี การบริโภคของ ธปท. เดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ -0.7 ของเดือน เม.ย.
* ข้อมูลยอดขายรถยนต์รวมทุกยี่ห้อในเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.6 (63,421 คัน) เป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 เดือน แยกเป็นรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 (16,550 คัน) รถกระบะขนาด 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.6 (42,689 คัน) และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.1 (46,871 คัน) แสดงให้เห็นว่าตลาดรถยนต์ยังขยายตัวได้ดี ตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง แม้จะชะลอตัวก็ตาม
* ยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคยังคงจับจ่ายใช้สอยต่อเนื่อง
* ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต้องแยกแยะให้ชัดเจนว่า กระทบต่อรายจ่ายของประชาชนในส่วนไหน กล่าวคือ ปกติรายจ่ายจะแยกเป็น 2 ส่วนคือ รายจ่ายที่จำเป็นต่อการยังชีพ (Committed expenditure) เช่น อาหาร ยารักษาโรค เสื้อผ้า ค่าเดินทาง เป็นต้น และรายจ่ายเพื่อคุณภาพชีวิตหรือเพื่อความพึงพอใจส่วนตัว (Expenditure for quality of life) เช่น รายจ่ายเพื่อการบันเทิง รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคที่คงทนถาวร เช่น มือถือ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ รถยนต์ จักรยานยนต์ เป็นต้น ซึ่งหากพิจารณาจากตัวเลขต่าง ๆ แล้ว ส่วนที่กระทบคงจะเป็นค่าเดินทาง ซึ่งหากเป็นการเดินทางโดยระบบขนส่งมวลชนแล้ว รัฐบาลได้ตรึงราคาค่าโดยสารไว้ รวมทั้งค่ารักษาพยาบาลนั้น รัฐบาลก็ได้ขยายขอบเขตของโครงการ 30 บาท ซึ่งจะเป็นการลดรายจ่ายของประชาชน
* การสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นการสำรวจก่อนที่รัฐบาลจะออกมาตรการเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (หรือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ) เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ซึ่งแนวคิดของมาตรการคือ ต้องการลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ของประชาชน เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระในยามภาวะราคาน้ำมันแพง แม้ว่าจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการพยุงเศรษฐกิจ ก็แล้วแต่จะใช้คำ แต่ประเด็นสำคัญ คือ รัฐบาลต้องการให้ความมั่นใจว่า เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องอย่างน้อยร้อยละ 4.5-5.0 (Worse case คือร้อยละ 3.5-4.0)
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-